เราสูญเสียดินเเดนจริงหรือ?
avatar
ฅนไทย


ในเหตุการณ์ต่างๆตลอดมาจนกระทั่ง ร.ศ.112 ไทยเราเสียดินเเดนให้กับฝรั่งเศษเเละอังกฤษจริงหรือ?

ในมุมของคนบางส่วนมองว่า "ดินเเดนดังกล่าวไม่ใช่ดินเเดนของเรามาเเต่ก่อนเเล้วการที่เราเสียไปนั้นไม่ใช่เราเสียดินเเดนไทยโดยตรง หากเเต่เสียดินเเดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของไทย"

ซึ่งนั่นอาจหมายถึงดินเเดนดังกล่าวเป็นดินเเดนที่เราได้มาด้วยประการใดๆก็ตามเเต่  ดินเเดนเหล่านั้นที่เราเสียไปอยู่ในช่วงล่าอาณานิคม ของอังกฤษ กับฝรั่งเศษ  ดินเเดนดังกล่าวในสมัยนั้นต่างมีกษัตริย์ปกครองอยู่มีชนชาติเป็นของตนเอง ต่างภาษากับเราเเต่อยู่ใต้การปกครองของสยาม!  นั่นหมายความว่าดินเเดนเหล่านั้นเป็นประเทศราชของสยามอยู่ใต้อาณัติการควบคุมดูเเลของสยาม

ประเทศาราชของเราเหมือนกับอาณานิคม ของอังกฤษ เเละ ฝรั่งเศษหรือเปล่า   ถ้าหากว่าเหมือนกันเเล้วดินเเดนดังกล่าวอยู่ในฐานะไหน        ดูเเล้วเหมือนชิงกันไปชิงกันมา ?

ในใจชาติที่เป็นเจ้าของดินเเดนจริงๆ  (คนที่อาศัยในดินเเดนนั้นๆ) ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วมิใช่คนไทย ต่างทั้งภาษาเเละวัฒนธรรมเขาจะคิดอย่างไร.............

เเล้วที่เรามาเสียใจกันว่าสยามต้องเสียดินเเดนไปในครั้งนั้นเพื่ออะไร?............................................        หากว่ามันมิใช่ของของเราเเต่ต้น     

"ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่เราต้องจดจำเเละเเก้ไข

จะมีประโยชน์อะไรถ้า ไทย  ยังทำร้ายกันเอง"

หมายเหตุ *** ข้อความในข้างต้นที่กล่าวมาเเล้วทั้งหมดตั้งเเต่ต้นจนจบเป็นเเต่ข้อสงสัยในทางประวัติศาสตร์  หากมีข้อความที่ไม่เหมาะสม หรือมีสิ่งผิพลาดต่างๆประการใดก็ขออภัยไว้   ณ ที่นี้ด้วย.

 



ผู้ตั้งกระทู้ ฅนไทย (ddddd-at-hotmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-16 21:44:52 IP : 183.89.17.184


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2977652)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

สมัยผมเรียนประวัติศาสตร์ก็เคยอ่านงานวิจัยของท่านอาจารย์ธงชัย วินิจจะกุล ซึ่งก็กล่าวไว้ประมาณนี้

แต่ว่าเว็บบอร์ด "หนังสือประวัติศาสตร์" นี้แยกมาจากเว็บบอร์ดหลักเพื่อการแนะนำหนังสือโดยเฉพาะ  หากท่านผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้มีความประสงค์จะกล่าวถึงหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งหรือหลายเล่มผมคงต้องขอย้ายกระทู้ไปไว้ในหมวดทั่วไป (คุยกันหลังฉาก) นะครับ

ปล. ประเทศฝรั่งเศสนั้นต้องสะกดด้วย ส เสือ นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-11-17 17:05:33 IP : 203.114.104.114


ความคิดเห็นที่ 2 (2977653)
avatar
”ซวไœŸ” "2O…฿เ‚ทHt๑ลป7A,h‹ค{7๕v’v…ิpุMวnA{ฺnF

ใช่มันผิด..................ต้อง         ส ..... เสือ.......คับ

*** ผมว่าเว็บบอร์ดนี้ดี***

เเต่ผมคิดว่าน่าจะมีเว็บบอร์ดที่คุยกันในเรื่องประวัติศาสตร์โดยตรงเพิ่มมาซักอีกบอร์ดหนึ่งครับ

รบกวนพี่ โรจน์  พิจารณาด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ”ซวไœŸ” "2O…฿เ‚ทHt๑ลป7A,h‹ค{7๕v’v…ิpุMวnA{ฺnF (iii-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-17 18:14:24 IP : 183.89.17.184


ความคิดเห็นที่ 3 (2977654)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

 คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องแยกบอร์ดหรอกครับ  ถ้าบอกเหตุผลด้วยคงยาวจนไม่ได้คุยตามประเด็น "การเสียดินแดน" ตามที่ตั้งไว้แต่แรก 

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com)ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2010-11-17 22:32:27 IP : 124.120.251.191


ความคิดเห็นที่ 4 (2977655)
avatar
ชงต๊ะ_เสนาบดีสกุลซื่อหม่า

ผมคิดว่า การจะพูดเรื่องประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่นั้น[ในทุกๆเรื่อง] อย่างเเรกคือต้องยอมรับในเรื่องความเป็น "กึ่งนามธรรม"

มันเเตะต้องไม่ได้ เเต่ถ้ามีหลักฐาน ที่พิสูจน์เเน่ชัดเเล้วว่า มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงปัจจุบันสิ่งนั้นอาจเรียกว่าประวัติศาสตร์

[ทั้งๆที่จริงในบางเรื่องมีหลักฐานเเต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ลงตัวได้] เมื่อผมพูดเช่นนี้เเล้ว เราจะถือว่าเป็นการเสียดินเเดนหรือไม่ ??

มันขึ้นอยู่กับว่า เราจะนิยามความเป็น"ชาติ" [ชาติคือความหมายในด้านเชื้อชาติเผ่าพันธ์ตามหลักรัฐศาสตร์]ในยุคหรือสมัยใด สมมุติถ้า

เรานิยามความเป็นไทยในสมัย กรุงธนบุรี เเล้วล่ะก็เเน่นอนมันคือการเสียแผ่นดินอย่างมหาศาล [เกือบๆจะเท่าประเทศไทนใยปัจจับัน5เเสนตร.ก.ม.] ในทางกลับกันถ้าเรานิยามความเป็นไทย ใยสมัยปี2475[เป็นไทยเเลนด์ยุคใหม่ด้วยประชาธิปไตย] นั่นจะหมายความว่าเราได้"เสียดินเเดน" เเต่ทว่า ไม่มากเท่ายุคธนบุรี เพราะในยุคหลังเราเสียเเค่[พระตะบอง เสียมราฐ สมัยจอมพลป.  เขาพระวิหาร สมัยจอมพล.สฤษดิ์]

เเละอันที่จริง ผมเข้าใจที่จขกข.จะถาม คือในเมื่อเเผ่นดินที่ว่านั่น ปัจจุบัน มันไป"ทับซ้อน"กับเขตประเทศอื่นๆ อยู่ เเละด้วยความหลากหลาย

ทางเชื่อชาติ9ล9 เเต่อันที่จริงผมถือว่าเราเสียเเผ่นดินครับ เพราะว่า เดิมทีดินเเดนใดก็ตาม ตามหลัก "ก่อนที่"จะมีการสถปนารัฐชาติ

ปี1648 หรือหลังก็ตาม มันไม่ได้เป็นไปตามหลักสากล มันเป็นเรื่องของ"ใครดีใครได้"พูดง่ายๆคือว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เเน่นอนว่า

ไทยเราก็เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในยุค พระเจ้าตากสิน เข้าใจว่าครองดินเเดนได้มากที่สุด {เกือบๆ มากกว่า8เเสนตรก.ม.} เเละเรายังใช้ กฏหมาย หรือ อธิปไตยเหนือแผ่นดินนั้นๆ เเละในเเผ่นดินนั้นๆก็ยังอยู่ในลักษณะ"ไม่มีหลักปกครอง" ใครจะเข้า-ออกเเล้วเเต่กำลังรบ 9ล9

เเต่ในปัจจับนเราทำแบบเมื่อก่อนไม่ได้[ถ้าคงมีWW III]เพราะหลักการต่างๆที่พัฒนาขึ้นของมนุษย์ จึงทำให้เรื่อง"ชาติ รัฐ หรือ ประเทศ"เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะต้องเป็นไปตามหลัก ที่โลกร่วมกันสร้างขึ้น ฉะนั้นจึงมีการกำหนดอาณาเขตที่เเน่นอน กำหนดอำนาจอธิปไตยต่าง ส่งเสริมในลักษณะที่เรียกว่า"ชาตินิยม" โดยเเม้จริงเเล้ว เราเองก็ยังไม่ทราบเเน่ชัดว่า เรา"คนไทย" มาจากที่ไหนกันเเน่

ผู้แสดงความคิดเห็น ชงต๊ะ_เสนาบดีสกุลซื่อหม่า (joejo2534-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-11-18 00:01:19 IP : 192.168.1.111


ความคิดเห็นที่ 5 (2977659)
avatar
Naris

ร่วมสนทนาด้วยนะครับ

ประเด็นในเรื่องนี้อยู่ตรงที่ การให้คำนิยามคำว่า "ดินแดน" ครับ ซึ่งท่านเจ้าของกระทู้ กล่าวว่า "ดินเเดนดังกล่าวไม่ใช่ดินเเดนของเรามาเเต่ก่อนเเล้วการที่เราเสียไปนั้นไม่ใช่เราเสียดินเเดนไทยโดยตรง หากเเต่เสียดินเเดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของไทย"

คำว่า "ดินเเดนของเรามาเเต่ก่อน" จะหมายถึง ดินแดนใด ? ถ้าจะให้หมายถึง ดินแดนดั้งเดิมของ "ชนเผ่าไท" ผมคิดว่า จะเป็นการตีความอย่างแคบไปครับ อาจจะต้องย้อนกลับไปดูทฤษฎีต้นกำเนิดชนชาติไทยกันอีกครั้ง เพื่อหาว่า ดินแดนดั้งเดิมของเผ่าไท อยู่ที่ไหน

ประการที่สอง ถ้านำหลักนี้ ไปพิจารณาจากฝั่งผรั่งเศส หรือจากฝั่งกัมพูชา ผมก็ไม่รู้ว่า กัมพูชาจะอ้างได้หรือไม่ ว่า ดินแดนตรงนั้น เป็น "ดินแดนของชาวกัมพูชามาแต่ก่อน" ดีไม่ดี ก็อ้างไม่ได้เหมือนกัน เพราะแต่เดิม เป็นดินแดนของชาวเจนละ หรือชาวฟูนั้น ก็ไม่รู้ได้เช่นเดียวกัน

สรุปว่า ถ้าใช้หลัง ดินแดนดั้งเดิมของชนเผ่า อาจจะไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิในพื้นดินตรงไหนได้เลย

โดยส่วนตัว ผมมองว่า การพิจารณาว่า ดินแดนใด เป็นของใคร ต้องพิจารณาจาก "การอ้างการครอบครอง" ของคนในที่นั่นๆ ในเวลานั้นครับการสามารถอ้างการครอบครองที่ใดได้ ก็ต้องแปลว่า คนที่อ้าง มี "สิทธิ" หรือ "อำนาจ" เหนือที่ดินนั้นๆ นั่นเอง ในสมัยโบราณ อำนาจในที่นี้ อาจจะหมายถึง "พระบรมเดชานุภาพ" ของพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองแว้นแคว้น ในกรณีของ รัฐ อำนาจในที่นี้ก็หมายถึง "อำนาจอธิปไตย" ของรัฐนั้นๆ ถ้าในกรณีของบุคคลธรรมดา ก็อาจจะหมายถึง "กรรมสิทธิ" หรือสิทธิต่างๆเกี่ยวกับที่ดิน 

สมมุติว่า ผมไปซื้อที่ดินมาแปลงหนึ่ง มีโฉนดที่ดินถูกต้อง  เมื่อผมมีกรรมสิทธิเหนือพื้นดินแปลงดังกล่าวแล้ว ผม่อมสามารถอ้างได้ว่า ที่ดินผืนนั้น "เป็นที่ดินของผม"  ถ้าผมถูกรุกล้ำ แล้วต่อมาผมอาจจะต้องเสียบางส่วนหรือทั้งหมดของที่ดินแปลงนั้นไป ผมก็น่าจะเรียกว่า ผม "สูญเสียที่ดินของผม" ได้  ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อ รัฐ A มีอำนาจเหนือดินแดนใด รัฐ A ก็ย่อมมีอำนาจอ้างได้ว่า ดินแดนนั้น "เป็นของรัฐ A " ได้เช่นกัน

คำว่า "ดินเเดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของไทย" กับ "ดินแดนของไทย" จึงมีความหมายเดียวกัน ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Naris วันที่ตอบ 2010-11-18 14:55:31 IP : 203.170.19.2


ความคิดเห็นที่ 6 (2977682)
avatar
soontorn1

สรุปแล้วดินแดนเท่าที่เหลือเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ น่าจะน้อยกว่าในอดีตมากๆ ไม่รู้จะโทษใครดีว่าเป็นผู้ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น soontorn1 (soontorn1-at-sanook-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-11-24 21:16:05 IP : 125.26.210.14


ความคิดเห็นที่ 7 (2977776)
avatar
Maj Nick

ในแต่ละครั้งที่มีการสูญเสียดินแดนจากการกดขี่และอุบายของมหาอำนาจ  ผู้ที่ต้องแบกรับความรู้สึกของความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงได้แก่พระมหากษัตริย์  นอกนั้นได้แก่พลเรือนที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน และการแยกจากญาติไม่สามารถไปมาหาสู่ได้อย่างสะดวก

ณ ปัจจุบัน  หากเรามองดูสถานการณ์รอบบ้านเราแล้ว  หากเรามีดินแดนกว้างใหญ่ แต่คนในแต่ละท้องถิ่นมีหลายเชื้อชาติ ภาษาแตกต่างกันชัดเจน  ก็อาจไม่แตกต่างอะไรกับพม่า ที่มีการต่อต้านรัฐบาลกลางอย่างเปิดเผย  รบและสร้างความไม่ปลอดภัยแก่ชนในชาติ 

เท่าที่มีอยู่ก็ควรรักษาไว้  ตรงไหนไม่ชัดเจนก็ต้องรีบตกลงกัน  รัฐบาลต้องเสนอข้อมูลที่เป็นจริง  อันไหนว่าเสียแล้วก็ต้องเสีย   อันไหนที่ยังพิพาทต้องรีบปรึกษากัน  

แต่บางทีก็เซ็งเหมือนกัน ที่เพื่อนบ้านยังมาอ้างสิทธิในบางพื้นที่ ทั้งๆที่ ราชการของไทยไปทำนุบำรุงโบราณสถานมานานนม  แต่เขายังบอกเป็นของเขา

ผู้แสดงความคิดเห็น Maj Nick วันที่ตอบ 2011-01-05 18:51:55 IP : 119.46.151.82


ความคิดเห็นที่ 8 (2977790)
avatar
Naris

เรื่องดินแดน พูดไปมันก็ละเอียดอ่อนนะครับ แล้วจะว่ากันจริงๆ ชายแดนของทุกที่ ก็มีปัญหาความไม่ชัดเจนแทบทั้งนั้นแหละครับ

ขนาดว่า มีแผนที่เขียนไว้ชัดๆเลยนะครับ แต่พอลงไปในพื้นที่จริงๆ เจ้าเส้น _.._.._.._ ที่หนา 1 มิลลิเมตรในแผนที่นั่นหนะ เทียบมาตราส่วนลงไปในพื้นดินจริง อาจจะกว่างตั้ง สิบหรือยี่สิบเมตรก็ได้ แล้วตรงไหนของแถบดำ 20 เมตรนี่หละ ที่มันเป็นเส้นแบ่งแดน ? ไม่มีหรอกครับ ที่จะมีเส้นคมกริบ ราวเอามีดกรีดลงบนพื้นดินแบบชี้ชัดได้เลยว่า เนี่ยฝั่งนี้ของนาย ฝั่งนีของฉัน อะไรยังงั้น 

การกำหนดแนวเขตแดน จึงต้องอาศัยการเจรจากัน ความสุจริตจริงใจต่อกัน ซึ่งในแต่ละท้องที่ เขาก็มีวิธีการแก้ปัญหาต่างๆกันไป บางที่เขาก็ใสมารถหาพิกัดที่ชัดเจนได้ เขาก็ตกลงกันได้เลย จะสร้างสิ้งก่อสร้างอะไรเป็นหลักที่หมายก็ว่ากันไป ในขณะที่บางท้องที่ ก็ใช้การอลุ่มอล่วยกันก็มีครับ ประมาณว่า ในเมื่อไม่รู้ว่า มันอยู่ตรงไหนกันแน่ เราก็อย่ามากำหนดมันเลย เอาว่า มันอยู่ราวๆนี้แหละ แบ่งๆกันใช้ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันดีกว่า ฯลฯ อย่างนี้ก็มีครับ 

แต่ที่แน่ๆ การแก้ปัญหาเขตแดนด้วยการทำสงคราม สมัยนี้ ทำไม่ได้แล้วหละครับ    

ผู้แสดงความคิดเห็น Naris วันที่ตอบ 2011-01-17 15:47:13 IP : 203.170.19.2


ความคิดเห็นที่ 9 (2979207)
avatar
เราทุกคน

เราทั้งหลายจะไม่ยอมให้ผู้ใด   บุกรุกแผ่นดินไทยเราอีก

ผู้แสดงความคิดเห็น เราทุกคน วันที่ตอบ 2011-08-18 13:38:34 IP : 125.26.201.157



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.