***เจ้าพระยาวิไชเยนทร์***
avatar
ปติตันขุนทด


หมอแกมป์เฟอร์     ได้เขียนเล่าถึงประวัติเจ้าพระยาวิไชเยนทร์  หรือคอนสแตนติน   ฟอลคอน  ไว้ดังนี้.........

""ฟอลคอน   เป็นสัญชาติกรีกโดยกำเนิด  เป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด    มีกิริยามารยาทเข้าไหนเข้าได้   พูดคล่องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับการศึกษเล่าเรียนอะไรมาเลยก็ตามที   ชีวิตเมื่อยังเด็กผ่านไปด้วยการออกทะเลปนเปไปกับคนชาติต่าง ๆ   เป็นพื้น   มีชาติอังกฤษเป็นอาทิ   ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วย   ฟอลคอน  เข้ามาในเมืองไทยในฐานะเป็นนายท้ายเรืออังกฤษ    และมาฝากตัวทำงานอยู่ในราชสำนัก   ด้วยความเฉลียวฉลาดดังกล่าวแล้ว   ประกอบกับความสามมารถในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทำ   ซึ่งในชั้นแรกก็เป็นเพียงงานเล็ก ๆ  น้อย ก่อน  แต่ค่อยเป็นล่ำเป็นสันยิ่งขึ้นทุกที   ในชั่วระยะ  ๙ ปี  ก็มีอำนาจวาสนาเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นถึงที่สุด   ได้ว่าการคลังของแผ่นดิน   และว่าการในพระราชฐานอีกด้วย    กิจการบ้านเมืองที่สำคัญ ๆ  จึงมักกระทำไปตามคำแนะนำของฟอลคอนเกือบทั้งสิ้น   ใครมีอะไรจะพึงปรึก ษา ก็เลยต้องมาหาฟอลคอน   เพื่อที่จะประคับประคองตน   ให้มีในอำนาจดังกล่าวมั่นคงยิ่งขึ้น"

***ถ้าวิเคราะห์ตามหลัก  อิทธิบาทสี่  ของพระพุทธเจ้า   ก็กล่าวได้ว่า   เจ้าพระยาวิไชเยนทร์มีฉันทะ   วิริยะ   จิตตะ  วิมังสา   อย่างสมบูรณ์   จึงประสบความสำเร็จในการงาน   และเป็นคนรู้โลกกว้างมาก่อน  จำทำงานเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนารายณ์   เป็นนักบริหารมืออาชีพ ถ้าจะกล่าวเปรียบเทียบในสมัยปัจจุบัน  ที่ต่างชาติ  จ้างโคชฟุตบอลฝีมือดีมาฝึกทีมฟุตบอลชาติของตน  เพื่อประสบชัยชนะในการแข่งขัน     พระนารายณ์นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาจ้างมาทำงานให้กับชาวไทย   นับว่าพระองค์ทรงปรีชามากๆ   แต่อย่างว่า   การเมืองไม่เคยปรานีใคร   ในที่สุดก็ต้องตายด้วยน้ำมือของพระเพทราชา   (ปติ  ตันขุนทด   คอมเมนท์)

พงศาวดารชาติไทย  เล่ม  ๑    ฉบับโรงพิมพ์ประจักษ์วิทยา   กล่าวไว้ว่า......

 ไทยได้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์    (ฟอลคอน    ชาติกรีก)   เข้ามารับราชการในกรมพระคลังสินค้า    แต่  พ.ศ.   ๒๒๑๘    ฟอลคอน  เคยเป็นลูกจ้างอยู่กับรอชไวท์   พี่ชายแซมเมียลไวท์   คนอังกฤษมาก่อน   แซมเมียลไวท์ได้เดินทางจากอินเดียเข้ามาหาพี่ชายที่กรุงศีอยุธยา   ฟอลคอนจึงชวนแซมเมียลไวท์ให้เข้ารับราชการอยู่กับไทย   ไทยจัดให้อังกฤษเดินเรือสินค้าหลวงทางด้านตะวันตกกับประเทศอินเดีย  ใน  พ.ศ.   ๒๒๒๓  แทนแขก

รุ่งขึ้น   พ.ศ.   ๒๒๒๔   ฟอนคอนชวนริชาร์ด   เบอร์นาบี   และไอวัทท์   ให้เข้าทำราชการด้วย   เพราะริชาร์ด  เบอร์นาบี  ผู้จัดการสาขาบริษํทอีสต์อินเดียที่กรุงศรีอยุธยา   ได้ผิดใจกันขึ้นกับบริษัท   ฟอลคอลจึงกราบบังคมทูล   ขอพระราชทานแซมเมียลไวท์   ซึ่งเวลานั้นยังเป็นเพียงนายเรือ   ให้เป็นหัวหน้าควบคุมการค้าอยู่ที่เมืองมะริด   โปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นตำแหน่งออกหลวง   เจ้าท่า  กำกับการพระคลังสินค้าดูแลเรือสินค้าของหลวงที่เมืองมะริด   ริชาร์ด  เบอร์นาบี   เป็นออกพระมะริด    เจ้าเมืองมะริด   ไอวัทท์เป็นข้าหลวงการค้าอยู่ที่เมืองมาสลิปาตัม  ประเทศอินเดีย    เพื่อจัดการค้าสินค้าของหลวงที่งออกไป   แล้วซื้อสินค้าที่ประเทศนั้นเข้ามาจำหน่ายใประเทศไทย   เวลานั้นเจ้าเมืองตะนาวศรี  เชื้อสายแขกเปอร์เซีย   เป็นพระยาตะนาวศรี  ก็เป็นเจ้าเมืองอยู่   และยังคงเป็นใหญ่กว่าเมืองมะริด

ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ   เล่ม  ๕   กล่าวว่า......

คอนซตันซ์    หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า  คอนซตันติน  ฟอลคอน   เป็นคนชาติกรีกแต่กำเนิด   เกิดที่เกาะเซฟาโลนี   เมื่อปี  ค.ศ.   ๑๖๔๘   ( พ.ศ.  ๒๑๙๑ )  บิดามารดานั้นจะเป็นใครแน่   เป็นข้อความแย้งกันอยู่   มองสิเออร์  เดลานต์นันกล่าวว่า    บิดามารดาของคอนซคันติน  ฟอลคอน  เป็นคนไม่มีชื่อ   และไม่มีใครรู้จัก   ส่วนมองสิเออร์ฟอร์แบง  กล่าวว่า   บิดามารดาของคอนซตันตินฟอลคอน  เป็นผูออกร้านขำสำหรับขายสุรา   แต่บาดหลวงตาชา  กับบาดหลวงดอเลียง   ซึ่งเป็นผู้แต่งตำนานเรื่องคอนซตันติน  ฟอลคอน  กล่าวว่า   บิดามารดาเป็นคนมีตระกูลในเมืองเวนิช   และเป็นเจ้าเมืองเวนิชด้วย    การที่คอนซตินติน  ฟอลคอนต้องทิ้งชาติบ้านเมือง   เพราะเหตุใดนั้น     ยากที่จะทราบได้    แต่เมื่อมาพิเคราะห์ดูตำนานของคอนซตันติน  ฟอลคอนแล้ว    ก็พอจะคาดคะเนได้ว่า   การที่คอนซตันติน  ฟอลคอน   ต้องเตร็จเตร่เที่ยวไปอยู่ในที่ต่างๆ นั้น   ก็เพราะเป็นมีนิสสัยทะเยอทะยาน  อยากหาชื่อเสียง   และไม่เป็นคนชอบอยู่ในที่เดียว   ต้องการจะเที่ยวเตร่ในที่ต่างๆ   เมื่อคอนซตันติน  ฟอลคอน  อายุได้   ๑๐  ขวบ   ได้ลงไปอยูในเรือกับนายเรืออังกฤษผู้หนึ่ง   และได้ทำการอยูในเรือลำนี้นาน   เรือเดินได้หลายเที่ยว   ภายหลังคอนซตันติน  ฟอลคอน   เกิดบาดหมางแตกร้าวกับนายเรือผู้นั้น   ตอนซตันติน  ฟอลคอน  จึงออกจากเรือ   ในเวลาที่ออกเรือนั้น   คอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้เก็บหอมรอมริบ  จนมีทรัพย์ขึ้นบ้างเล็กน้อยแล้ว  จึงได้เช่าเรือเป็นส่วนตัวลำหนึ่ง   แต่เผอิญเรือลำนีก็ไปแตกเสีย  ที่ฝั่งเมือง  มาลาบา   เมื่อคอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้รอดพ้นมาจากการที่เรือแตกได้   ก็ได้เลยไปตั้งภูมิลำเนาอยู่เมืองไทย   ได้ทำทังการค้าขาย   และทั้งรับราชการของไทยด้วย     ในเวลานั้นพระเจ้าแผ่นดินไทยได้ทำการค้าขายอยู่   และสินค้าทั้งปวงที่ตกเข้าไปในพระราชอาณาจักรไทย    ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียว   เหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินไทยได้ผูกขาดในสินค้าทั้งปวง    แต่องค์เดียวก็ว่าได้   ฝ่ายมองสิเออร์  คอนซตันติน  ฟอลคอน  เป็น คนที่มีไหวพริบฉลาดเฉลียว   เป็นคนใจดี    ร้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว    กิริยาท่าทางโอนอ่อนสุภาพ   ทั้งเป็นคนเข้าใจการงานได้ง่าย    จนพวกราชทูตฝรั่งเศส   ได้รับรองเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นคนที่ดี     ใครเห็นก็ต้องชอบทุกคน    เมื่อนิสสัยคอนซตันติ  ฟอลคอน  เป็นเช่นนี้แล้ว    ก็เป็นที่พอใจของท่านอัครมหาเสนาบดี    ท่านอัครมหาเสนาบดีจึงได้เอาคอนซตันติน  ฟอลคอน  ไปเลี้ยงไว้   และไว้วางใจทุกอย่าง  ภายหลังท่านอัครมหาเสนาบดีเห็นว่า   ตอนซตันติน  ฟอลคอน  เป็นคนที่จะทำราชการได้ดีคนหนึ่ง  จึงได้นำตัวถวายต่อพระเจ้ากรุงไทย

เมื่อคอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้ทำราชการแล้ว   สมเด็จพระนารายณ์ก็พลอยหลงโปรดปรานมาก   เพราะเป็นคนที่มีคุณวุฒิทำการงานมากได้ดี   ส่วนท่านพระยาพระคลังเป็นคนเกียจคร้าน   เกิดมาจากนิสสัยชอบหาความสนุกเพลิดเพลิน   จึงมอบหน้าที่ของตัวให้คอนซตันติน  ฟอลคอน  ทำแทน    คอนซตันติน  ฟอลคอน  ก็พยายามรวบเอาอำนาจของพระยาพระคลัง   เข้าในกำมือของตัวเองีละเล็กละน้อย    ไม่ช้า  คอนซันติน  ฟอลคอน  ก็ทำให้สมเด็จพระนารายณ์เห็นความจงรักภักดี   ซื่อสัตย์สุจริตของตัว   และได้ทรงเห็นความฉลาดไหวพริบของตัว   โดยกราบทูลให้ทรงทราบถึงความทุจริตของพวกแขกมหะหมัด   เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงมอบให้พวกแขกมหะหมัดเป็นธุระดูแลการค้าขายแทนพระองค์    แต่พวกนี้ทุจริตคบคิดกันยักยอกเอาพระราชทรัพย์มาเป็นประโยชน์ของตัวเอง   เมื่อคอนซันติน  ฟอลคอน  ได้กราบทูลให้ทรงทราบดังนี้   สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง  จึงทรงมอบให้คอนซตันติน  ฟอลคอน  เป็นธุระดูและตรวจตราการงานทั้งปวง   ต่อมาไม่ช้าเท่าไรนัก    จะเป็นด้วยเหตุพระยาพระคลังถึงอนิจกรรม   หรือเป็นด้วยเหตุที่คอนซตันติน  ฟอลคอนได้ทำให้สมเด็จพระนารายณ์เกิดความสงสัย   ไม่ไว้พระทัยพระยาพระคลัง   อย่างใดอย่างหนึ่ง    คอนซตันติน  ฟอลคอน  ก็ได้ทำการในหน้าที่อัครมหาเสนาบดี    แต่หาได้รับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีไม่    ตอนซตันติน  ฟอลคอนจึงจัดการกราบทูล  ขอให้ตั้งพระยาพระคลังขึ้นใหม่อีกคนหนึ่ง           และคอนซตันตินฟอลคอน   ก็ระวังมิให้อำนาจตกไปอย่กับพระยาพระคลังคนใหม่ได้   เป็นแต่ให้มีชื่อว่า   เป็นพระยาพระคลังเท่านั้น  ในส่วนทางราชการนั้น   คอนซตันตินฟอลคอน  ได้ทำการเอาพระทัยสมเด็จพระนารายณ์  จนทรงเชื่อฟังถ้อยคำทุกอย่าง    และในที่สุด    คอนซตันติน  ฟอลคอน   ได้พยายามทุกอย่าง   จนถึงกับใช้การกดขี่ก็มี   จนบรรดาข้าราชการ   ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยกลัวเกรง  นบนอบ  คอนซตันติน  ฟอลคอนทุกคน    และคอนซตันติน  ฟอลคอนได้บังคับบัญชาการงานทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด 

แต่การที่คอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้เป็นใหญ่เช่นนี้  ก็หาได้หลงในยศของตัวไม่  คงรูสึกตัวเสมอว่า   การที่เป็นใหญ่เช่นนี้  มิเป็นการถาวรหลกฐานอย่างใดเลย   ทางที่ตัวจะหมดอำนาจมีหลายอย่างนัก   เช่นถ้าพระเจ้ากรุงไทยได้เสด็จสวรรคตเสียแล้ว  การที่เคยทรงโปรดปรานก้จะหมดลงไปทันที   หรืดถ้าได้เกิดขบถขึ้นเวลาใด   หรือถ้าพระเจ้แผ่นดินสิ้นโปรดลงเวลาใด  ก็อาจทำให้คอนวตันติน  ฟอลคอน  หมดอำนาจวาสนาลงทันที   เพราะฉะนั้น  คอนซตันติน  ฟอลคอน  จึงต้องคิดการสำหรับวันหน้าต่อไป  ก็ตกลงเห็นว่าถ้าได้จัดการให้ประเทศใหญ่อันมีอำนาจได้มาตั้งอยู่ในเมืองไทยแล้ว   ประเทศนั้นก็อาจจะเป็นที่พึ่งแก่ตัวได้   คอนซตันติน  ฟอลคอน  จึงพยายามกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์  อธเบายเหตุผลต่างๆว่า   การที่จะเปิดอนุญาตให้นานาประเทศได้เข้ามาตั้งอยู่ในพระราชอาณาเขต  และทำการติดต่อกับนานาประเทศ  ทั้งบางแห่งก็ควรให้ชาวยุโรปได้เป็นผู้ว่าราชการในที่นั้น   จะเป็นหนทางอันดีสำหรับความเจริญของบ้านเมืองเป็นอันมาก   สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงฟังคอนซตันติน  ฟอลคอน  กราบทูล   ก็ทรงเชื่อเอาง่าย ๆ  และเมื่อทรงเลือกว่าจะควรเป็นไมตรีกับประเทศใดจึงจะดี   ก็ทรงตกลงได้โดยเร็ว  เพราะในเวลานั้น   สมเด็จพระนารายณ์ไม่โปรดพวกฮอลันดาเลย   เราะการที่พวกฮอลันดาแผ่การค้าออกกว้างขวางเช่นนี้ทำให้ทงพระวิตกเป็นอันมรก   ส่วนคอนซตันติน  ฟอลคอนเอง   ก็ไม่ไว้ใจพวกอังกฤษและพวกสเปญ   กับพวกปอร์ตุเกต ในเวลานั้นก็หมดกำลังแล้ว   จะเอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้  เพราะฉะนั้น  จึงตกลงเลือกเอาชาติฝรั่งเสส   สำหรับจะได้เปผ้นไม่ตรีกันต่อไป  ในชั้นต้น  ตอนซตัติน  ฟอลคอน  ได้ไปทำไมตรีกับพวกฝรั่งเศส   ที่มาอยู่ในเมืองไทย   และได้ไปตีสนิทกับมองสิเออร์  บูโล  เดลานต์   และสังฆราชฝรั่งเศส  ๓   คน  วึ่งได้เข้ามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว   คอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้จัดการให้สมเด็จพระนารายณ์  พระราชทานสิทธิต่าง ๆ ให้แก่บริษัทฝรั่งเศส   และสัญญาว่า  จะให้สิทธิแก่บริษัทยิ่งกว่านี้ไปอีก   แล้วคอนซตันติน  ฟอลคอ  ได้เปลี่ยนศาสนากลับมาเข้ารีตถือลัทธิโรมันคาธอลิค  ในเวลาที่เข้ารีตนั้น   ได้ทำพิธีใหญ่โตอื้อฉาวมาก  และเมื่อเข้ารีตเสร็จแล้ว   คอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้แสดงอย่างเปิดเผย   ว่าต่อไปตัวจะเป็นผู้ปกครองและบำรุงศาสนาคาธอลิค

ฝ่ายมองสิเออร์  เดลานต์  ก็หาโอกาสที่จะยกย่องสรรเสริญความดีของฟอลคอนอยู่เสมอ  เพราะฟอลคอนก็หาหนทางที่จะประจบประแจง  มองสิเออรื  เดลานต์อยู่เสมอเหมือนกัน  จนที่สุด  มองสิเออร์  เดลานต์  ไม่ทราบว่าจะตอบบุญคุณของฟอลคอนได้อย่างไร

คอนซตันตินฟอลคอน  ทำการค้าขายเฉพาะแต่คนเดียว  มากกว่าพ่อค้าทั้งหลายรวมกันทั้งหมด   และมีหน้าที่ต้องไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินวันละ ๒  ครั้ง  ทุกวัน  ท เพราะสมเด็จพระรารายณ์โปรดฟัฟอลคอนทราบทูลการต่าง ๆ  และบางที่ก็โปรดให้คอนซตันติ  ฟอลคอน  กราบทูลเรื่องต่าง ๆ  ถวายคราวละ ๒  -  ๓  ชั่วโมงก็มี   เพราะฉะนั้น  มองสิเออร์เดลานตฺเห็นว่า   การที่จะเป็นมิตรกับออกพระสำคัญ  และมีอำนาจอันใหญ๋ยิ่งผู้นี้  จะเป็นคุณประโยชน์ต่อบริษัทมาก  จึงได้ตีสนิทเข้าหาฟอลคอน   เลยเป็นเพื่อนรักชอบกันอย่างสนิท   และเมื่อได้เป้นเพื่อนกับฟอลคอนเช่นนี้แล้ว  มองสิเออร์  เดลานต์ก็เอาฟอลคอน  เป็นสาย   สำหรับเข้าถึงสมเด็จพระนารายณ์ได้ง่าย  ในเวลาที่มองสิเออร์  เดลานต์เป็นเพื่อนกับฟอลคอนนั้น  มองสิเออร์เดลานต็ก็ฝากฝังพวกมิชชันนารี   ขอให้ฟอลคอนเป็นธุระช่วยด้วย   จนที่สุด   เมื่อพวกมิชชันนารีจะคิดการอย่างไร   หรือจะทำการอย่างใด  ก็ต้องไปกปรึกาหารือ  คอนซตันติน   ฟอลตอน  เสียก่อน แล้วให้ฟอลคอนจัดการเรื่องนั้นๆ ต่อไป

 

ไม่ช้า  สมเด็จพระนารายณ์ก็เสด็จสวรรคตจริงๆ  แต่ที่สวรรคตนั้นจะมีพระโรค  หรือพระอาการอย่างใด ไม่มีใครอาจจะทราบได้     ส่วนสมเด็จพระอนุชานั้นก็ถูกปลงพระชนม์   โดยเอาพระองค์ใส่กระสอบผ้าแดง  แล้วเอาท่อนไม้จันทน์ทุบจนกว่าจะสิ้นพระชนม์   วิธีฆ่าคนอย่างนี้เป็นแบบของเมืองไทยสำหรับปลงชนม์คนชั้นสูง ๆ

เมื่อพระเพทราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว   ก็ได้รับพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์   เป็นพระมเหสี   เพราะเหตุว่าพระราชธิดาองค์นี้เป็นผู้ที่สมควรจะได้ครองราชสมบัติ  จะได้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป   ส่วนพระปีย์  และฟอลคอนนั้น  ได้ถูกฆ่าก่อนใคร ๆหมด  ในเวลาที่ฟอลคอนจะตายนั้นก็ได้ตายโดยกิริยากล้าหาญองอาจ  ซึ่งเป็นข้อลบล้างการผิดและความหยิ่งในชั้นหลังได้   เพราะการที่ได้เป็นมาถึงเพียงนี้จะโทษใครไม่ได้   นอกจากโทษตัวของตัวเอง   เพราะได้คิดมักใหญ่ใฝ่สูงเกินไป  และคิดการทุจริตต่าง ๆ  จึงได้มีคนคิดพยาบาทมาตรร้ายจนที่สุดต้องเสียชีวิตของตัวเอง   เพราะฉะนั้นเมื่อจะตาย    ก็ยังมีน้ำใจฝักฝ่ายอยู่กับฝรั่งเศสมิได้เว้นเลย   พระเพทราชฃาได้สั่งให้เอาตัวฟอลคอนไปยังป่าแห่ง  ๑ ใกล้กับเมืองลพบุรี   และเมื่อได้ทรมานเสียทุกอย่างแล้ว   จึงได้ให้เพชรฆาตฆ่าเสียโดยหาว่าเป็นกบฎ  คิดประทุษร้ายต่อเจ้าแผ่นดินของตัว   

เมื่อจะตายนั้น  ฟอลคอนมิได้สะทกสะท้านอย่างใดเลย   และเมื่อจะขาดใจ   หน้าตาก็ยังแช่มชื่นปรกติอยู่

ผู้ที่เที่ยวเตร็จเตร่หากินได้ตายไปด้วยประการดังกล่าวมานี้   และฟอลคอนคนนี้  ได้กลับชาติได้ต่างๆ  หลายอย่างเพื่อจะหาทรัพย์สมบัติ  และหาชื่อเสียง  

คือได้เป็นชาติไทยเพราะเหตุจำเป็น  

เป็นชาติฝรั่งเศสเพื่อหาหนทางข้างหน้า  

ได้เป็นคริสเตียนสำหรับเป็นหนทางป้องกันตัวของตัว  

และได้เป็นทั้งชาติฮอลันดาอังกฤษ  หรือปอตุเกต   แล้วแต่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น   ซึ่งจะเป็นประโยชน์ของตัวเฉพาะคราวและสมัยที่ควรจะเป็น  

แต่ในน้ำใจจริง    ก็คงยังเป็นชาติกรีกจนวันตายนั้นเอง

ครั้นเมื่อวันที่  ๔  เดือนตุลาคม  หญิงชื่อ  ดอญากู  โยมาร์เดอปีญา   ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติปอตุเกต  ได้มถึงบางกอก   หญิงผู้นี้เป็นภริยาของ    คอนซตันติน    ฟอลคอน      นายทหารฝรั่งเศสคน ๑  ชื่อ  แซนต์มารี    เป็นผู้พามาพร้อมทั้งบุตร  และเข้ารีตอีกสามคน    การที่ภรรยาฟอลคอนได้ลงมาที่บางกอกนั้น  เป็นเรื่องที่พวกบาดหลวงคณะเยซูวิต  ที่กรุงศรีอยุธยาได้ห้ามนักหนาว่า   ไม่ควรจะออกจากกรุง   เพราะเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้บาดหมางกันขึ้นกับไทย   แต่ฝ่ายภรรยาฟอลคอนได้ถูกรังแกข่มเหงต่างๆ  ทั้งบุตรพระเพทราชาเกลียดนัก  ด้วยบุตรพระเพทราชาได้ไปเกี้ยวภรรยาฟอลคอน     แต่ภรรยาฟอลคอนไม่ยอม   บุตรพระเพทราชาจึงเกลียด  และขู่ว่าจะทำร้ายต่างๆ   เพราะเหตุฉะนั้นภรรยาฟอลคอนอดรนทนไม่ได้  จึงได้ตกลงใจจะมาของพึ่งธงฝรั่งเศสดุจเป็นสำนัก   ซึ่งจะพ้นอันตรายต่างๆ ได้  การที่ภรรยาฟอลคอนได้เชื่อใจในพวกฝรั่งเศสอย่างน่าชมเชยเช่นนี้   มองสิเออร์เดฟาซ์กลับตอบแทนอย่างน่าชังมาก   เพราะมองสิเออร์เดฟาซ์   ไม่ใช่แต่ไม่ยอมช่วยอย่างเดียว   แต่ไม่ยอมพบกับภรรยาฟอลคอนเสียด้วยซ้ำไป    ใช่แต่เท่านี้   มองสิเออร์เดฟาซ์ได้กลับนำความไปแจ้งต่อพระยาพระคลังว่า  ภรรยาฟอลคอนได้ลงไปอยู่ที่บางกอก   และได้จับมองสิเออร์แซนต์มารีคุมขังไว้   โดยหาว่ามีความผิดที่ได้ช่วยเหลืออุดหนุนให้ภรรยาฟอลคอนหนีมาได้   แล้วจึงเรียกนายทหารทั้งปวงมาประชุมอธิบายชี้แจงว่า  ถ้าพวกฝรั่งเศสเกิดใจดีขึ้นจะไม่ยอมส่งตัวภรรยาฟอลคอนให้แก่ไทยแล้ว   ก็น่ากลัวจะต้องเกิดเหตุอันร้ายแรงมาก"

ซึ่งมองสิเออร์  เดฟาซ์ทำการดังนี้   กระทำให้บรรดานายทหารพากันขัดเคืองทุกคน  นายทหารผู้  ๑ ซึ่งอยู่ในที่นั้นแล  ได้ทราบเรื่องนี้โดยละเอียด   ได้เขียนเล่าว่าดังนี้

"คำอธิบายคำขี้แจงของมองสิเออร์เดฟาซ์นี้ก็น่าฟังอยู่  แต่พวกเราทั้งหมดผู้เป็นผู้บังคับกอง  ได้พร้อมกันเห็นว่า   ไม่ควรจะส่งตัวมาดามคอนซตันซ์   คืนให้แก่ไทย   และในข้อนี้พวกเราทั้งหมดได้ทำคำชี้แจงยื่นไว้ต่อมองสิเออร์เดฟาซ์   และมองสิเออร์  เอดรารอชดูวิเยีย   ในเรื่องนี้บรรดาพลทหารโดยมากก็มีความเห็นพ้องกับพวกเรา   และพวกนายทหาร  เมื่อได้ประชุมกันในเรื่องนี้อีกเป็นครังที่ ๒  ได้แสดงตัวทุกคนว่า  จะยอมตายดีกว่าจะส่งตัวมาดามคอนซตันซ์คืนให้แก่ไทย"

มองสิเออร์   เดอฟาซ์   จึงได้เอาตัว  มาดามคอนซตันซ์  ขังไว้ในป้อม  และปิดความไม่บอกให้ใครรู้เลยว่าตัวได้รับไว้   ฝ่ายพวกสังฆราชก็มีใจกรุณาต่อมาดามคอนซตันซ์  จึงได้แนะว่า  จะได้หาชาวปอตุเกตที่มีชื่อเสียงดีในเมืองไทยสักคน ๑  เพื่อให้มาเป็นสามีของมาดามคอนซตันซ์ต่อไป   แต่ในข้อนี้  มาดามคอนซตันซ์มิได้ยอมฟังเป็นอันขาด   แล้วมาดามคอนซตันซ์  จึงเอามองสิเออรืเดอลาซาลเป็นพยานในข้อที่ตัวได้รับความเดือดร้อน   แลข่มเหงต่างๆ  และได้ร้องไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและราชสำนักฝรั่งเศส  ในข้อที่ฝรั่งเศสไม่ยอมให้ตัวได้พึ่งธงของชาติฝรั่งเศส   และคนฝรั่งเศสที่ไม่ยอมรับช่วยมาดามคอนซตันซ์นั้น   ก็เป็นคนที่เคยได้รับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับสามี  ทั้งเป็นคนที่สามีได้เคยให้ป้นสิ่งของต่าง ๆ  และได้ยกย่องไว้เนื้อเชื่อใจมากด้วย  แต่ถึงมาดามคอนซตันซ์จะขอร้อง  และอธิบายชี้แจงสักเท่าไร  มองสิเออร์เดฟาซ์ก็หาฟังไม่   จึงได้นำตัวมาดามคอนซตันซ์ส่งให้แก่ไทย     ในตำนานของมองสิเออร์คอนซตันซ์  ซึ่งมองสิเออร์เดลานต์แต่งไว้นั้น  มีความว่าดังนี้

"มาดามคอนซตันซ์ได้ออกจากบางกอก  โดยทำทางกิริยาองอาจ  และดูสีหน้ารู้สึกว่ามาดามคอนซตันซ์มิได้กลัวตายเท่าใดนัก   แต่มีความดูถูกพวกฝรั่งเศสมากกว่า   เจ้าพนักงานได้พามาดามคอนซตันซ์ลงเรือ  และพวกเราก็ตกตลึง  ต่างคนต่างดูหน้ากัน  โดยไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร"

เมื่อมองสิเออร์เดฟาซ์  ได้ส่งตัวมาดามคอนซตันซ์ให้แก่ไทย   ก็นับว่าหมดข้อกีดขวางแล้ว  จึงได้เจรจากันในเรื่องกองทหารฝรั่งเศส  จะออกจากบางกอกต่อไป        ตามหนังสีอสัญญาที่ได้ทำกัน  เมื่อวันที่  ๑๘  เดือนตุลาคมนั้น.....

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าหลุยส์  ที่  ๑๔  แล้ว  ฝอยของการขบถในเมืองไทยได้มีมาถึงประเทศฝรั่งเศสอีก   คือ  ดอญากูโยมา  เดอ   ปีญา   ภรรยาของคอนสตันตินฟอลคอน   กับลูอีซานา  ภรรยาของ  ยอช  ฟอลคอน  ผู้เป็นบุตรของฟอลคอน  เสนาบดีเก่าของไทย  ได้ถวายเรื่องราวต่อพระเจ้าหลุยศ์  ที่ ๑๕  ร้องขอให้บริษัทฝรั่งเสศส  ฝ่ายอินเดีย   ได้คืนเงินซึ่ง  คอนซตันตินฟอลคอน  ได้จ่ายให้แก่บริษัท  และขอให้คืนทุนที่คอนซตันติน  ฟอลคอนได้เข้าหุ้นกับบริษัท    ทั้งขอให้ใช้ดอกเบี้ยด้วย    ในเรื่องนี้ผู้รับทรัพย์มรดกของฟอลคอนได้อ้างหนังสือสัญญาที่ได้ทำกัน  ในระหว่างมองสิเออร์เซเบเรต์   และคอนซตันติน  ฟอลคอน  เมื่อปี  ค.ศ.  ๑๖๘๗   (พ.ศ.  ๒๒๓๐ )  และอ้างในข้อที่คอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้เป็นผู้อำนวยการของบริษัทผู้  ๑  ด้วย   พวกผู้อำนวยการได้โต้เถียง  คัดค้านในเรื่องราวนี้อยู่ช้านาน   และอ้างว่าภรรยาของฟอลคอนผู้ตาย  ได้เป็นคนโปรดอยู่ในราชสำนักไทยมานานแล้ว

*****และในเวลานี้ก็ได้รับตำแหน่งอันได้ผลประโยชน์มาก    โดยเป็นพระพี่เลี้ยงของพระราชโอรสแล้ว***

เพราะฉะนั้น  ไม่ควรที่พระเจ้าหลุยส์ที่  ๑๕   จะทำพระทัยอ่อนยอมตามเรื่อวงราวฉบับนี้    ส่วนภรรยาของ  ยอช  ฟอลคอน   ผู้ถึงแก่กรรมนั้น  ก็ได้สามีใหม่แล้ว   โดยได้แต่งงานกับชาวเมืองไอร์แลนด์  ชื่อ มองสิเออร์  คูลี  ซึ่งเป็นที่มีทรัพย์มาก   เพราะฉะนั้นการที่ภรรยาของบุตรฟอลคอน  ถวายเรื่องรางเช่นนี้ไม่มีมูลอันใดเลย   และคณะผู้อำนายการของบริษัทฝรั่งเศสได้ชี้แจงต่อไปว่า    คอนซตันติน  ฟอลคอน  มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อความที่ได้สัญญาไว้   เงินที่สัญญาว่าให้นั้นก็ได้ให้แต่ครึ่งเดียวเท่านั้น   เพราะฉะนั้เนผู้รับทรัพย์มรดกของคอนซตันติน  ฟอลคอน  มิได้เกี่ยว     ในการได้เสีย  ของบริษัท   จึงไม่ควรจะได้ประโยชน์จากบริษัทอย่างใด   แต่ควรจะต้องใช้เงินให้แก่บริษัทจึงจะถูก   และข้อที่ขอร้องในเรื่องราวนั้นไม่มีแก่นสารอย่างใดเลย

แต่ความเห็นของที่ปรึกษาราชการแผ่นดินฝรั่งเศส มิได้เห็นพ้องด้วยกับผู้อำนวยการของบริษัท  เมื่อวันที่  ๒๖  เดือนมิถุนายน  ค.ศ.  ๑๗๑๗  ( พ.ศ.  ๒๒๖๐ )  รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ออกประกาศให้ภรรยาของคอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้รับส่วนแบ่งก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ของบริษัท  คือให้ได้รับเงินเลี้ยงชีพ   ๓๐๐๐   ปอนด์  (ฝรั่งเศส )  และให้ภรรยาคอนซตันติน  ฟอลคอน  กับภรรยาบุตรคอนซตันติน  ฟอลคอน  ได้รับประโยชน์เท่ากับเจ้าหนี้อื่น ๆ  ของบริษัท  ในเวลาที่แบ่งกำไรต้นทุนที่ได้ออกไปแล้ว   การที่เสนาบดีของพระเจ้าหลุยส์  ที่  ๑๕  ได้ทำใจดีเช่นนี้  ถ้าดูเผิน ๆ  ก็เป็นข้อน่าจะคัดค้านอยู่   แต่ก็เป็นการแก้ในความปฎิบัติอันน่าเสียใจของมองสิเออร์  เดฟาซ์อยู่บ้าง

***นักกฏหมายฝรั่งเศสนี่ตัดสินคดีแน่นอน  เที่ยงธรรมจริงๆ   ถึงว่าคนถึงนิยมไปเรียนกฎหมายที่ผรั่งเศสนัก  (ปติ  ตันขุนทด  คอมเม้นท์)

(ปติตันขุนทด   ร.ร.  ชุมชนบ้านห้วยยายจิ๋ว   เทพสถิต   ชัยภูมิ )

 (น  ณ  ปากน้ำ    ศิลปกรรมแห่งศรีอยุธยา     ต้นอ้อ  แกรมมี  ๒๕๔๐)

(หลวงวิจิตรวาทการ    ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ   เพลินจิตต์  ๒๔๙๔)



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-24 14:30:15 IP : 113.53.198.212


Copyright © 2010 All Rights Reserved.