***ฮ่อคือใคร***
avatar
ปติตันขุนทด


***ฮ่อคือใคร***

 

มนุษย์ที่เรียกกันว่า  "ฮ่อ"  นี้  เรามักเข้าใจกันแต่ก่อนว่าเป็นชนชาติหนึ่งต่างหาก    เมื่อครั้งปราบฮ่อ   คราว  พ.ศ.  ๒๔๑๘   พระยามหาอำมาตย์  (ชื่น    กัลยาณมิตร)  จับได้ฮ่อ  ส่งลงมายังกรุงเทพฯ   มีเสียกระซิบนินทากันว่า   พระยามหาอำมาตย์จับเจ๊กส่งลงมาลวงว่า  "ฮ่อ"  เพราะผู้ที่นินทานั้นหารู้ความมจริงไม่ว่า   "ฮ่อ"  มันก็  เจ๊ก  นั้นเอง   เป็นแต่พวกไทยฝ่ายเหนือไม่เรียกว่า  เจ๊ก     เขาเรียกว่า  ฮ่อ  มาแต่โบราณ   แม้ในหนังสือพระราชพงศาวดาร   ซึ่งกล่าววถึงเรื่องจีนตีเมืองพะม่า  เมื่อตอนก่อนศึกอะแซหวุ่นกี้   ก็เรียกว่าฮ่อ   ตามคำไทยข้างฝ่ายเหนือ   บางทีคำที่เรียกว่าฮ่อนี้  ชั้นเดิมทีเดียวจะหมายความว่าพวกมงโกล   ที่ได้เป็นใหญ่ในเมืองจีนครั้งราชวงศ์หงวน   หรือมิฮะนั้น  จะหมายความว่า   พวกเม่งจู   ทีได้เป็นใหญ่ในเมืองจีนครั้งราชวงศ์ไต้เช็ง   เรียกให้ผิดกับจีนก็อาจจะเป็นได้   สแต่ในชั้นหลังมา  พวกชาวล้านช้าง   และลานนา  ในมณฑลภาคพายัพเรียกบรรดาเจ๊ก  (ทั้งจีนและเม่งจู)  ที่ลงมาทางบกแต่ฝ่ายเหนือว่า  "ฮ่อ"  ตามอย่างโบราณ  เรียกพวกเจ๊กที่ขึ้นไปจากกรุงเทพฯว่าจีน  หรือเจ๊ก  ตามคำชาวกรุงเทพฯ  จึงชวนให้ชาวกรุงเทพฯเข้าใจว่าฮ่อเป็นชาติหนึ่งต่างหาก

พวกฮ่อที่มารบกับไทยนั้น  ที่จริงเป็น  จีน   แท้ทีเดียว    เดิมจีนพวกนั้นเป็นกบฎ    เรียกพวกของตนว่า  "ไต้เผง"   หมายจะชิงเมืองจีนจากอำนาจพวกเม่งจู  เกิดรบพุ่งกันในเมืองจีนเป็นการใหญ่หลวง   ในที่สุด  พวกไต้เผงสู้ไม่ได้   ต้องหลบหนีแยกย้ายกันไปเที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ตามป่า  และภูเขาในมณฑลต่งๆ  ทั้งในมณฑลฮกเกี้ยน  กวางไส  กวางตุ้ง  และเสฉวน  มีจีนไต้เผงนั้นพวกหนึ่ง  ประมาณ  ๔๐๐๐  คน  ผู้เป็นหัวหน้าชื่อ  ง่ออาจง  พากันอพยพหนีเข้ามาในแดนญวน    ท่งเมืองตังเกี๋ย  เมื่อปีฉลู  พ.ศ.๒๔๐๘   จีนพวกนี้ที่มาเป็นพวกฮ่อ  ชั้นเดิมมาตั้งอยู่รที่เมืองฮานอย   ญวนเกรงพวกฮ่อจะมาก่อการกำเริบขึ้น  จึงบอกไปขอกำลังจีนที่เองฮุนหนำ  จีนให้กองทัพมีจำนวนพลประมาณ  ๑๐๐๐๐  คน   มาสมทบกับกองทัพญวน    ยกไปตีพวกฮ่อ  ฮ่อสู้ไม่ไหว  ง่ออาจง  นายตายในที่รบ   พรรพวกที่เหลือตายก็พากันแตกหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเทียนวัน   อันเป็นเมืองของพวกแม้ว   ตั้งเป็นอิส่ระอยู่บนภูเขาที่ชายแดนจีน    ต่อกับแดนสิบสองจุไทย   พวกไพร่พลพร้อมกันยกน้องชายของ  ง่ออาจง    ชื่อปวงนันสี   ขึ้นเป็นหัวเหน้า   ตั้งซ่องสุมรี้พลอยู่เมืองเทียนซันนั้น    ครั้นถึงปีขาล  พ.ศ.  ๒๔๐๙   ปวงนันซีได้กำลังมาก   ก็ยกกองทัพฮ่อไปตีเมืองเลากาย    ในแดนญวน  เขตตังเกี๋ย   พวกจีนกับญวนยกกองทัพมารบ   สู้พวกฮ่อไม่ได้    ปวงนันซีตีได้เมืองเลากาย   เมื่อปีมะโรง  พ.ศ. ๒๔๑๑   แต่เมื่อได้เมืองเลากายแล้ว   ปวงนันซีเกิดเป็นอริกับนายทัพคนสำคัญในพวกฮ่อคนหนึ่ง  ชื่อ ลิวตายัน  พวกฮ่อเกิดอริกันขึ้ยนเอง   ปวงนันซีสู้ไม่ได้   ก็พาพรรคพวกรี้พลของตนแยกมาตั้งว่องที่เมืองฮายาง  ในแดนสิบสองจุไทย   ฮ่อพวกลิวตายัน  ใช้ธงดำ  ฮ่อพวกปวงนันซีใช้ธงเหลือง   จึงได้นามว่า  ฮ่อธงดำพวกหนึ่ง   ฮ่อธงเหลืองพวกหนึ่ง  แต่นั้นมา   อยู่มาญวนเกลี้ยกล่อมยอมให้พวกฮ่อปกครองเมืองเลากายขึ้นต่อญวน    ฝ่ายพวกฮ่อธงเหลือง   ไม่มีบ้านเมืองอยู่เป็นหลักแหล่งเหมือนพวกฮ่อธงดำ    จึงประพฤติเป็นโจร  คุมกำลังเที่ยวตีปล้นบ้านเมืองในแดนสิบสองจุไทย   และเมืองพวน  แห่งใดต่อสู้  ถ้าแพ้ฮ่อ  ฮ่อก็จับเอาตัวนายที่เป็นหัวหน้าฆ่าเสีย   แล้วเก็บริบเอาทรัพย์สมบัติ  และจับลูกหลานบ่าวไพร่เป็นเชลย  ใตรมีทรัพย์ยอมเสียค่าไถ่ตัว  ฮ่อก็ปล่อยตัวไป  ที่ไม่สามารถจะไถ่ตัวได้  ก็เอาไปแปลงเป็นฮ่อไว้ใช้สอยเป็นกำลัง   ถ้าแห่งใดยอม  ทู้  ไม่ต่อสู้พวกฮ่อ   เป็นแต่กะเกณฑ์ใช้กำลังพาหนะ   พวกฮ่อธงเหลืองเที่ยวตีบ้านเมือง   โดยอาการดังกล่าวมานี้   ตั้งแต่ปีแรกในรัชกาลที่  ๕  ได้หัวเมืองในแดนสิบสองจุไทย   และแดนเมืองญวนหลายเมือง        ถึงปีระกา  พ.ศ.  ๒๔๑๖   ฮ่อยกลงมาตีเมืองพวน    ท้าวขันตีเจ้าเมืองเชียงขวาง    อันเป็นเมืองหลวงในแดนพวน  ให้ไปขอกำลงญวนมาช่วย   ญวนให้กองทัพมา  ก็พ่ายแพ้ฮ่อ  ฮ่อจึงได้เมืองเชียงบวาง    แล้วปราบปรามแดนพวนไว้ได้ในอำนาจทั้งหมด   แล้วจึงลงมาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ทุ่งเชียงคำ   อันเป็นต้นทางที่จะลงมาทางหัวเมืองริมแม่น้ำโขง    และจะไปตีเมืองหลวงพระบางต่อ

เมื่อปีจอ   พ.ศ.  ๒๔๑๗   เป็นปีที่  ๗  ในรัชกาลที่   ๕   ฮ่อเตรียมทัพที่ทุ่งเชียง่คำ   จะยกลงมาทางเมืองเวียงจันทน์   มาตีหนองคายทัพหนึ่ง  จะยกไปทางเมืองหัวพันห้าทั้งหก   ไปตีเมืองหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง   ข่างที่ฮ่อเตรียมจะยกกองทัพเข้ามาครั้งนี้   กรมการเมืองหนองคายได้ทราบความ   จากพวกท้าวขุนเมืองพวน  ที่แตกหนีเข้ามาอาสัยอยู่เมืองหนองคาย   จึงบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ  ถึงพร้อมกับใบบอกเจ้านครหลวงพระบางขณะนั้น   พระยามหาอำมาตย์   ( ชื่น    กัลยาณมิตร )  เป็นข้าหลวงขึ้นไปสักเลขอยู่ในมณฑลอุบล   จึงโปรดให้พระยามหาอำมาตย์   เกณฑ์กำลังมณฑลอุถดร  มณฑลร้อยเอ็ด   และมรฑลอุบยล   เป็นกองทัพหนึ่ง  ให้พราะยานครราชสีมา  ( เมฆ )  เกณฑ์กำลังนครราชสีมาเป็นกองทัพอีกทัพหนึ่ง   ให้พระยามหาอำมาต์เป็นแม่ทัพใหญ่   ยกขึ้นไปป้องกันเมืองหนองคาย   และโปรดฯให้เกณฑ์กำลังมณฑลพิษณุฤโลก  เข้ากองทัพ   ให้พระยาพิไชย  ( ดิศ )  คุมขึ้นไปช่วยป้องกันเมืองหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง  ฝ่ายทางกรุงเทพฯ  โปรด ฯ ให้เกณฑ์กำลังเข้ากองทัพ   ให้เจ้าพระยาภูธราภัย   ที่สหุหนายกเป็นแม่ทัพ  ยกไปปราบพวกฮ่อทางเมืองหลวงพระบางทัพหนึ่ง   โปรดฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง  เป็แม่ทัพ   ยกไปปราบฮ่อทางเมืองหนองคายอีกทัพหนึ่ง

เมื่อกองทัพพระยามหาอำมาตย์   ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย   ฮ่อก็ลงมาถึงฝั่งน้ำโขงฟากโน้น   ตั้งค่ายอยู่ที่วัดจันทน์  ในเมืองเวียงจันทน์แห่งหนึ่ง   ที่บ้านสีบานแห่งหนึ่ง   ที่บ้านโพนทานาเลาแห่งหนึ่ง   พระยามหาอำมาตย์  กับพระยานครราชสีมา  (เมฆ )  พระพรหมภักดี  (กาจ   สิงหืเสนี  )  ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระยาปลัด   พระยานครราชสีมา   แล้วเป็นพระยานครราชเสนี  ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา  ยกขึ้นไป  ได้รบพุ่งกับพวกฮ่อ  ๆ  ต่อสู้อยู่วันหนึ่ง  ก็แตกหนีไปหมด  จับเป็นได้ก็มาก

กองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง   ยกออกจากกรุงเทพฯ  โดยทางเรือเมื่อวันพุธ   เดือน  ๑๐  แรม  ๘  ค่ำ  พ.ศ.  ๒๔๑๘  ตั้งโขลนทวารที่เหนือท่าขุนนางเสด็จ  ลงส่งกองทัพที่ราชวรดิษฐ์   ตามประเพณีโบราณกองทัพขึ้นไปตั้งประชุมพลที่ตำบลหาดพระยาทด  แขวงเมืองสระบุรี    แล้วยกเป็นกองทัพบกขึ้นไปเมืองนครราชสีมา   ทางดงพระยาไฟ   เมื่อกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ฯ  ยกไปแล้วได้ข่าวมาถึงกรุงเทพฯว่า   พวกฮ่อที่ลงมาทางเมืองหนองคายแตกทัพพระยามหาอำมาต์ไปหมดแล้ว   เห็นไม่จำเป็นจะให้กองทัพใหญ่ขึ้นไป   จึงมีตราให้หากองทัพเจ้าพระยามหินทร์ ฯ กลับมาจากเมืองผไทยสงฆ์  กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยนั้น  ยกกออกจากกรุงเทพฯเหมือนอย่างครั้งกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ ฯ  เมื่อวันอาทิตย์  เดือน  ๑๑  ขึ้น  ๑๑  ค่ำ  ไปตั้งประชุมพลที่พิไชย  แล้วยกกองทัพเดินทางบกต่อไป

ฝ่ายกองทัพพระยาพิไชย  (ดิศ)    ซึ่งได้ยกล่วงหน้าขึ้นไปก่อน  ไปถึงเมืองหลวงพระบาง   ได้ทราบว่ากองทัพฮ่อมาตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัด     ในแขวงหัวพันห้าทั้งหก   พระยาพิไชยก็รีบยกขึ้นไปจากเมืองหลวงพระบาง   ไปพบกองทัพฮ่อ   ได้รบกันเมื่อเดือน  ๑๒  ปีกุน   แต่กำลังกองทัพพระยาพิไชยไม่พอจะตีฮ่อให้แตกไปได้  จึงตั้งมั่นรักษาด่านอยู่    เมือเจ้าพระยาภูธราภัยขึ้นไปถึงเมืองพิไชย   ได้ทราบว่า   พระยาพิไชยรบพุ่งติดพันอยู่กับพวกฮ่อ   จึงจัดกองทัพให้  พระสุริยภักดี    เวก   บุณยรัตพันธุ์  (บุตรเจ้าพระยาภูธราภัย   ภายหลัได้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช )  เจ้ากรมพระตำรวจ   รับยกขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง   ตามไปช่วยพระยาพิไชย   กองทัพพระยาสุริยภักดีขึ้นไปถึง    เข้าตีทัพฮ่อแตกยับเยินไป      เจ้าพระยาภูธราภัยจึงสั่งให้กองทัพพระยามหาอำมาตย์  และกองทัพพระสุริยศักดิ์ภักดี   ติดตามตีฮ่อไปจนทุ่งเชียงคำ   พวกฮ่อก็พากันอพยพหลบหนีไปจากเมืองพวน   เป็นเสร็จการปราบฮ่อในคราวนั้น    กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยได้ยกขึ้นไปตั้งอยู่ที่ตำบลปากลาย   ริมแม่น้ำโขง   ข้างใต้เมืองหลวงพระบาง   จนมีตราให้หากลับมา

 (หลวงวิจิตรวาทการ      ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ  เล่ม  ๕    สำนักพิมพ์เพลินจิตต์  ๒๔๙๔ )

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-05 18:52:39 IP : 125.26.103.175


Copyright © 2010 All Rights Reserved.