***เมืองทวาย***
avatar
ปติตันขุนทด


***เมืองทวาย***

เมืองทวายนั้น   บริติช  เบอร์ม่า  กาเซตเตียร์ว่า  เป็นเมืองที่ไทยมาตั้งขึ้นก่อน  เมื่อครั้งหลวงจีนยวนฉ่าง  เดินทางเรือมาถิ่นนั้น   ได้จดหมายไว้ว่า   แถบเมืองเมาะตะมะ  มาถึงเมืองทวาย  มีแว่นแคว้นเกียม้อลั่งเกีย  คือกามลังกะ  เข้าใจว่าหมายถึงเมืองทวาย  หรือเมืองรามบุรี  (เดี๋ยวนี้เรียกเมืองมวลแมน  เป็นเมืองเก่าก่อนเมืองเมาะตะมะ)   แต่เมืองรามบุรีคงจะเป็นงกษัตริย์ ภายหลังเมืองทวาย     เมืองทวายเป็นเมืองกษัตริย์มาแต่เดิม   กระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่า

เมื่อก่อน  พ.ศ.   ๑๘๐๖   มอญเป็นกบฎ  พระเจ้า อลังคจอสู   กษัตริย์พม่ายกกองทัพลงมาปราบมอญ  เลยตีได้เมืองทวายใน  พ.ศ.   ๑๘๐๖   แล้วอพยพเอาครัวชาวยะข่าย (อาระกัน )   เข้ามาอยู่ที่เมืองทวาย   พลเมืองทวายจึงใชภาษาเป็นภาษาพื้นเมืองขึ้นแต่บัดนั้นมา

เมืองทวายขึ้นอาณาจักรสุวรรณภูมิ  ทวาราวดี   แว่นแคว้นสุวรรณภูมิ   และอาณาจักรสุโขทัย   ครั้นพ่อขุนรามกำแหงมหาราชสวรรคตใน  พ.ศ.  ๑๘๖๐   แล้วพระเจ้าแสนเมืองราชบุตรเขยของพระองค์  (โอรสพระเจ้าฟ้ารั่ว)   เป็นกษัตริย์ของมอญ   ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ   ลงมาตีแย่งเอาเมืองทวาย  เมืองตะนาวศรี   ไปจากพระมหาธรรมราชาที่ ๑  (พญาเลอไทย)   เมืองทวาย  เมืองตะนาวศรี  ขึ้นมอญอยู่   ๑๓   ปี   พระยารามไตร  อนุชาพระเจ้าแสนเมืองมิ่งเป็นกษัตริย์   ทิ้งเมืองเมาะตะมะเสีย   แล้วกลับไปตั้งราชธานีขึ้นที่เมืองหงสาวดี   ไทยแคว้นใต้จึงกลับตีเอาคืนมาได้  ใน     พ.ศ.   ๑๘๗๓   เมืองทวายเป็นเมืองกษัตริย์ถวายต้นไม้ทองเงินของกรุงศรีอยุธยามาแต่แรก   แล้วเสียแก่มอญอีก  เห็นจะในราวรับกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ในเวลาที่ติดการศึกทางเมืองเหนือ  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  ๓   ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช  ครองกรุงศรีอยุธยาอยู่   ได้เสด็จออกไปตีกลับคืนเอามาได้

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าหงสาวดี  (บุเรงนอง)  เมืองทวาย  ตะนาวศรี  มะริด  ก็ตกไปเป็นของพม่า  อยู่กับพม่า   ๒๔  ปี        ข้าราชการไทยที่ถูกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรับโทษฐานที่ตามเสด็จไม่ทันในคราวสงครามยุทธหัตถี  กลับตีคืนเอามาได้

ชาวเมืองทวายมีความสามารถในการต่อเรือเดินทะเล   เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะเสด็จยกกองทัพไปตีกรุงหงสาวดีตอบแทนพม่า   ก็ให้เกณฑ์ชาวเมืองทวายต่อเรือใช้ในกองทัพครั้งนั้น

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคตแล้ว   พม่าบังอาจส่งพระเจ้าน้องยาเธอองค์หนึ่งให้ลงมาครองเมือง  เย  หรือ  เร  อยู่เหนือเมืองทวาย   เมืองเย  หรือ  เร  เมืองนี้   กฏหมายหมอบรัดเลพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ตรา  พ.ศ.  ๒๑๗๘  เรียกว่าเมืองสามโคก   เข้าใจว่าเป็นเมืองที่ไทยตั้งขึ้นเช่นเดียวกับเมืองทวาย   เมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของเมืองทวายอยู่ริมทะเล   ตั้งระหว่างเมืองเชียงกรานกับเมืองทวาย

ข้าราชการที่เมืองทวาย   จึงขึ้นไปจับเจ้าพม่าพระองค์นั้นไว้   แล้วส่งตัวเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา  พระเจ้าอังวะจึงยกกองทัพลงมาตีเมืองทวาย  ใน  พ.ศ.  ๒๑๕๖   พระยาทวายได้ต่อสู้เป็นสามารถ   จนต้องอาวุธตายในที่รบ   เมืองทวายก็เสียแก่พม่า   พระเจ้าอังวะจึงลงมาตีเมืองตะนาวศรี   แต่ถูกกองทัพล้อมสกัด   หากพม่าตีหักออกได้   พระเจ้าอังวะจึงคงมีพระชนม์ชีพรอดกลับคืนไปเมืองเมาะตะมะ   ไทยได้ชัยชนะที่เมืองตะนาวศรีแล้ว   ก็ได้เมองทวายกลับคืนมาตามเดิม

ถึง   พ.ศ.   ๒๑๖๕    เป็นเวลารัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม   พม่ายกกองทัพเข้ามาตีเอาเมืองทวายไปไดพ้อีก   ครั้งนี้ต้องไปอยู่กับพม่านาน    ต่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงตีกลับคืนมาได้

พ.ศซ.   ๒๓๐๐  นั้น   พระเจ้าอลองพญาได้ยกกองทัพมาตีเมืองหงสาวดีแตก  เป็นครั้งสุดท่าย   ทรงขัดเคืองว่ามอญมิได้มีความซื่อสัตย์   จึงให้จับมอญไม่ว่าไพร่ผู้ดี   เอาตัวไปเป็นเชลยเสียทั้งสิ้น   แล้วให้เอาไฟเผาเมืองหสงสาวดีเสียด้วย   ต้อนผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองรัตนสิงค์เป็นราชธานี   จึงมีพวกมอญเมืองเมาะตะมะ   หนียุทธภัยลงมาอาศัยอยู่ที่เมืองทวาย  ประมาณ  ๑๐๐๐   เศษ   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นว่า   มอญหนีอยู่ใกล้กับพม่านัก  เกรงจะเป็นภัย   จงให้รับเข้ามาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

ล่วงต่อมา   ๒   ปี   พระเจ้าอลอพญาเสด็จมาฉลองพระเกตุธาตุ  (ซวยดากอง)  ที่เมืองย่างกุ้ง   ซึ่งได้ทรงสถาปนาขึ้นให้ใหญ่โตงดงามแล้ว   ก็ให้ราชโอรสยกทัพมาตีเมืองทวายของไทยได้   เมื่อพม่าเห็นการต่อสู้ของไทยครั้งนั้นอ่อนแอ   ก็เลยลงมาตีเมืองมะริด   ตะนาวศรี   ได้อีก   ๒  เมือง   แล้วเดินทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยาทางด่านสิงขร   แต่ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้

ต่อมาทางราชธานีพม่า   ได้เกิดการจลาจลขึ้นภายใน   หุยตองจาชาวทวาย   ขุนนางเก่าของไทยชิงเอาเมืองทวายคืนได้  ใน   พ.ศ.  ๒๓๐๕   แล้วขอเป็นข้ากรุงศรีอยุธยาดังแต่ก่อน      เมื่อพม่าปราบเหตุการณ์จลาจลภายในได้เรียบร้อยแล้ว   ก็ยกกองทัพลงมาติดเมืองทวายใน   พ.ศ.    ๒๓๐๗    ทางกรุงมิได้ส่งกองทัพออกไปช่วยเหลือ   เพราะเป็นสมัยที่ไทยอ่อนแอเสียแล้ว  หุยตองจาจึงหนีพม่าเข้ามาอยู่ที่เมืองมะริด

เมืองมะริด   เมืองตะนาวศรี   ที่ถูกพม่าตี  ใน  พ.ศ.   ๒๓๐๒   นั้น   พม่ามิได้เข้าปกครอง   แตยงแต่แช่งชิงเอาทรัพย์  จับผู้คนไปแล้วทิ้งตัวเมืองไว้   เมื่อพม่ากลับแล้ว    ไทยก็กลับเข้าปกครองตามเดิม

พม่าขอให้เจ้าเมืองมะริดส่งตัว   หุยตองจา   ไทยไม่ยอมส่งให้   พม่าจึงส่งทัพเรือลงมาตีเมืองมะริด   เมืองตะนาวศรี  ก็ตีได้โดยง่าย   พม่าได้ใจเช่นครั้งก่อน   เพราะเห็นไทยรบพุ่งอ่อนแอมาก  ก็ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา   จนแตกเป็นครั้งที่  ๒  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๑๐

ศึกพม่าเข้ามาตีครังนี้    เป็นเวลาที่ไทยในกรุงศรีอยุธยาเกิดความปั่นป่วนรวนเร   เพราะสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  พระราชอนุชา  ผู้เป็นกษัตริย์เข้มแข็งในการปกครองและการสงคราม   หนีออกทรงผนวชเป็นครั้งที่   ๒   เมื่อ  พ.ศ.   ๒๓๐๔     ใครจะกราบทูลเชิญให้ทรงลาผนวชออกกู้บ้านเมือง   ถึงเขียนหังสือใส่บาตร  เวลาออกบิณฑบาตร   ก็มิพักสนพระทัยเหลียวแล   ขุนนางที่ซื่อตรงต่อหน้าที่  และมีความจงรักภักดีในราชการ   ก็พากันออกบวชในครั้งนั้นเป็นอันมาก     คงอยู่แต่พวกที่เลอะเลือน   มิได้ปลงใจในราชการ   จดหมายเหตุบาดหลวงฝรั่งเศสว่า   การบ้านเมืองปรวนแปร  เพราะฝ่ายในมีอำนาจกับพระเจ้าแผ่นดิน   (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ )   ผู้มีความผิดฐานกบฎ  ฆ่าคนตาย   เอาไฟเผาบ้านเรือน   จะต้องรับโทษประหารชีวิต   แต่ความโลภของฝ่ายในเปลี่ยนเป็นริบทรัพย์   และทรัพย์ที่ริบได้  ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น   พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน   ก็หาประโยชน์กับผู้อื่นที่เป็นถ้อยความให้ได้มากที่สุดที่จะเอาได้บ้าง   ความเดือดร้อนสุมทับถมราษฎร  เห็นจะตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  เสด็จออกทรงผนวชเป็นต้นมา   จึงทำให้กำลังต่อสู้พม่าอ่อนแอ  ขาดทั้งวินัยและหน้าที่เลอะเลือน  ไม่เป็นส่ำ

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ทรงกู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้แล้ว   ก็เสด็จยกกองทัพออกไปตีเมืองทวาย  หนังสือ  "พม่า"    ของเซอร์  ยอช  สกอตต์  แต่งว่าไทยตีได้เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๑๕   ไทยได้เมืองทวายแล้ว  เมืองมะริด  เมืองตะนาวศรี   ก็กลับเป็นของไทยด้วยตามเดิม   เพราะเมืองทวายเป็นเหมือนประตูด่านด้านหน้าทางบกของเมืองมะริด   เมืองตะนาวศรี

เมื่อ   พ.ศ.   ๒๓๑๗   พม่ายกกองทัพเข้ามาตีเมืองไทย   เดินทัพผ่านเมืองทวาย   เข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์   เจ้าเมืองทวายเห็นพม่ามีกำลังมากก็ยอม   แล้วถูกเกณฑ์ให้เข้ามารบไทยด้วย   แต่กองทัพพม่าที่ยกเข้ามาครั้งนั้น   ถูกไทยล้อมจับเป็นเชลยและแตกละเอียดยับเยินออกไป   เมืองทวายก็คงเป็นเมืองของไทยดังเดิม

ครั้น่รัชกาลที่   ๑   ขึ้นปราบดาภิเษก   ผลัดแผ่นดินใหม่   เมืองทวาย็กระด้างกระเดื่อง   ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก    ไทยติดการสร้างกรุงเทพฯ   และการอื่นที่จำเป็นอยู่   ๕  ปี   ถึง  พ.ศ.  ๒๓๓๐   รัชกาลที่   ๑  จึงเสด็จยกกองทัพออกไปปราบเมืองทวาย   พักพลที่ท่าตะกั่ว  แม่น้ำน้อย   ส่งกองหน้าคนหมื่นหนึ่งยกล่วงเข้าไปก่อน   ต่อกองหน้าตีหักค่ายพม่าแตกแล้ว   บลอกเข้ามายังทัพหลววง   ๆ  จึงยกข้ามเขาเข้าไปเมืองทวาย   ทัพหน้าได้เมือง  กลิออง  แล้ว  ล้อมเมืองทวายไว้

นายทัพนายกองหลายคน    กราบทูลจะขอปล้นเอาเมือง   แต่ไม่ทรงเห็นด้วย   เพราะทรงวิตกว่า   ถ้าการไม่สมคะเน   พม่าออกจากเมืองมาปะทะทัพหลวงเข้า   เพราะทัพหลวงตั้งหล่างกองหน้า   ๕๐    เส้น  ระหว่างที่ทรงพระราชดำริในการศึกที่คับขันอยู่นี้   ทรงทราบข่าวว่าสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท   เสด็จยกกองทัพกลับจากเมืองลำปางแล้ว   ก็เลยเลิกกองทัพรีบเสด็จกลับกรุงเทพฯ  เสีย   ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า   เริ่มขัดสนเสบียงอาหารลง

ฝ่ายเมืองทวายถูกพระเจ้าปะดุง   บังคับให้ส่งเงิน  และส่งข้าหลวงมาเปลี่ยนตัว   พวกทวายเดือดร้อนนัก   จึงเป็นกบฎจับพวกพม่าฆ่าเสีย   แล้วกลัวว่าพม่าจะยกกองทัพลงมาตี   พระยาทวายจึงแต่งทูตจเข้ามาอ่อนน้อมไทย  ใน  พ.ศ.  ๒๓๓๔ 

โปรดฯ  ให้พระยายมราชคุมพล  ๕๐๐๐   ออกไปรักษาเมืองทวายใน  พงศ.  ๒๓๓๕   เมื่อกองทัพยกไปถึงเมืองทวายแล้ว  พระยายมราช   ให้พระรองเมืองคุมคนเข้าไปรักษาอยู่ในกำแพงเมือง   ฝ่ายทัพหลวงและทัพสมเด็จกรมพระราชวังบวร ฯ  คงตั้งพักอยู่  ณ  เมืองกาญจนบุรี   แล้วสมเด็จกรมพระราชวังบวร ฯ  ได้เสด็จล่วงเข้าไปเมืองทวาย   ถวายความเห็นว่า   จะรักษาเมืองทวายเอาไว้ไม่ได้    เห็นควรรื้อกำแพงเมืองเสีย   แต่รัชกาลที่  ๑   ไม่ทรงเห็นด้วย   โปรด  ณ  ให้พาเอาพระยาทวาย  และพวกเข้ามาในกรุงเทพ ฯ    นายพัน  โลว์  เขียนไว้ว่า  พวกทวายที่พาเข้ามาครั้งนั้นราว   ๕๐๐๐  คน   ครั้งแรกตั้งอยู่ที่แถววัดสระเกศ   แล้วภายหลังพระราชทานที่ให้อยู่ที่ตำบลคอกควาย   ใกล้วัดยานาวา   เรียกว่าบ้านทวายบัดนี้

ลุ   พ.ศ.   ๒๓๓๖   ทรงพระราชดำริจะยกกองทัพออกไปตีเมืองเมาะตะมะ   และเมืองย่างกุ้ง   ตามพระราโชบายเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสิน   เพื่อแก้แค้นพม่าคราวมีตีกรุงศรีอยุธยา   จึงโปรดฯให้เจ้าพระยามหาเสนา  สมุหกลาโหม   เจ้าพระยารัตนาพิพิธ   ยกทัพล่วงหน้าไปสมทบพระยายมราชก่อน

ส่วนสมเด็จกรมพระราชวังบวร ฯ  เสด็จออกไปทางด่านเมืองสิงขร   ครั้นต่อเรือรบเสร็จแล้ว   ก็เสด็จลงไปประทับอยู่เสียที่เมืองชุมพร   คงให้ส่งเรือรบไปเมืองทวาย   ฝ่ายทัพหลวงรัชกาลที่   ๑  นัน   เสด็จไปตั้งค่ายประทับอยู่ที่หินดาด   ไกลจากเมืองทวายทางถึง  ๒  คืน   เมื่อองทัพเรือผ่านเมืองมะริด   พม่าก็ยิงไทยเป็นกบฏขึ้น   ตอนหลังนี้เจ้าเองมะริด   เจ้าเมืองตะงศรีเป็นพม่า  ทั้งมีพลเมืองพม่าอยู่มากขึ้น   ทางไทยหาได้เปลี่ยนตัวเจ้าเมืองใหม่ไม่

ส่วนที่เมืองทวายก็เป็นกบฏยิงค่ายไทย   กองทัพพม่า   และชาวทวายก็เข้าบุกบั่นรุกไล่ทัพไทยล่าถอยออกมาถึงค่ายพระยาอภัยรณฤทธิ์    ซึ่งเป็นกองหน้าของกองทัพหลวง   ที่ตั้งปิดทางขวางอยู่    พระยาอภัยรณฤทธิ์   ไม่ยอมให้พวกไทยที่แตกลงมาเข้าในค่าย   ให้ตั้งรับไว้แต่นอกค่าย    กองทัพไทยจึงแตกกระจาย   เสียไพร่พลครั้งนั้นเป็นอันมาก   เสียเจ้าพระยามหาเสนาสมุหฏลาโหม   ตายในที่รบ   ซ้ำค่ายของพระยาอภัยรณฤทธิ์เองก็รักษาไว้ไม่ได้   พม่าตีแตกด้วย   รัชกาลที่   ๑   จึงเสด็จยกกองทัพกลับกรุงเทพ ฯ  ส่วนกรมพระราชวังบวร  ฯ  ก็เสด็จยกกองทัพกลับจากเมืองกระบุรี   แต่นั้นมา   ไทยก็มิได้คิดที่จะตีเอาเมืองทั้ง  ๓  นี้  กลับคืนมาอีกต่อไป

เมื่ออังกฤษตีเมืองทั้ง   ๓   ได้จากพม่า   และกองทัพไทยได้ออกไปช่วยดังกล่าวแล้วข้างต้น   อังกฤษให้เรือใช้ตามชายฝั่ง   ๔๐  ลำ     ตามยิงแล้วจับเรือไทย   ๖  ลำ  พร้อมทั้งนายไพร่ที่ไปช่วย   ๑๔๕  คน  มีพระเทพชัยบุรินทร์   เจ้าเมืองท่าแซะ   เอาไปจำไว้ที่เมืองมะริด   กว่าวหาไทยว่า   ได้จับเอาชาวมะริดลงไป   ๔๐๐  คน  ครั้นรับว่าจะปล่อย   ก็ปลอยคืนเพยง   ๙๐  คน   โปรด ฯฯ ให้เรียกกองทัพกลับกรุงเทพ ฯ   แล้วเอาพระยาชุมพรจำไว้  ในความผิดประการใดไม่ปรากฏ   ฝ่ายผู้สำเร็จราชการอินเดีย   ก็มีหนังสือขอบใจไทยที่ได้ช่วยเหลือ  มายังเจ้าพระยาพระคลัง

ครั้งนั้น  พระยามหาโยธามีความชอบ   ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา   แล้วต้องยกกองทัพออกไปช่วยอังกฤษ  ที่จะให้ไปปลอบโยนชาวเมืองเมาะตะมะ   มิให้ตื่นตระหนกตกใจ    ด้วยเกรงว่ามอญจะแตกหนีภัยเข้ามาอยุ่กับไทย   เพราะมอญฝักใฝ่อยู่กับไทยมาแต่โบราณ   เจ้าพระยามหาโยธาเอง  ก็เป็นที่นิยมนับถือของพวกมอญทั่ว ๆ ไป   จึงสมความปรารถนาของอังกฤษ

ใน  พ.ศ.นี้   ผู้สำเร็จราชการอินเดีย  จึงให้กับตัน  พันตรีบารนี  (เฮนรี  เบอร์นี่)   นำเครื่อบรรณการมาถวาย   ขอบใจที่ช่วยอังกฤษรบพม่า   ไทยจัดการรับรองเป็นการใหญ่อย่างรับราชทูตของกษัตริย์

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-08 15:35:50 IP : 125.26.101.59


Copyright © 2010 All Rights Reserved.