dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Bridge at Remagen อีกยุทธการยึดสะพานที่คำสั่งเป็นพิษ

สะพานมีความสำคัญต่อการสัญจรไปมาในยามสงบฉันใด ยามสงครามมันก็กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่มีผลต่อการแพ้ชนะสงคราม หรือในกรณีที่การรบเริ่มจะรู้ผลแพ้ชนะแล้ว มันก็มีส่วนต่อความช้าเร็วในการเผด็จศึกเช่นกัน

ใน สงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเคยสูญเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมากับยุทธการ MarketGarden เดือนกันยายน 1944 (พ.ศ.2487) ที่มุ่งยึดสะพาน Arnhem เพื่อจะรีบรุกข้ามแม่น้ำไรน์ไปพิชิตศึกเยอรมัน ครั้นต่อมาในเดือนมีนาคมปีถัดมา ก็เกิดการยุทธครั้งสำคัญเพื่อยึดสะพานอีกครั้ง แม้จะไม่ใช่ปฏิบัติการใหญ่โตเท่ากับ MarketGarden โดยเฉพาะฝ่ายเยอรมันที่เหลือกำลังเพียงหยิบมือเดียว แต่ก็ไม่ใช่งานกล้วยๆ สำหรับพันธมิตรซะทีเดียว

มันเป็นอีกยุทธการที่สะท้อนสัจจธรรมบางอย่างเกี่ยวกับคำสั่งทหารในสงคราม

ภาพยนตร์เรื่อง The Bridge at Remagen เนื้อเรื่องเกี่ยวกับยุทการการยึดสะพานทางรถไฟในเมือง Remagen ซึ่งมีชื่อจริงตามประวัติศาสตร์ว่า สะพาน Ludendorff เริ่มเรื่องขึ้นในตอนปลายสงครามเมื่อกองทัพเยอรมันล่าถอยข้ามสะพาน OberKassel แล้วทำลายสะพานทิ้ง ผลคือทางฝ่ายเยอรมันเองไม่พอใจที่กองทัพอเมริกันเกือบจะยึดสะพานได้ และเกรงว่าสะพานที่เมือง Remagen จะเป็นเป้าหมายต่อไป จึงได้สั่งการให้นายพลเอกฟอนบร็อค (Generaloberst von Brock ) เร่งจัดการทำลายทิ้งเสีย แต่ฟอนบร็อคเห็นว่าสะพานยังมีความสำคัญสำหรับการล่าถอยของกองทัพที่ 15 แต่ก็รับคำสั่งอย่างเสียไม่ได้ ขณะที่ทางฝ่ายกองทัพสหรัฐฯ โดยนายพลชินเนอร์ (General Shinner) ก็ต้องการทำลายสะพานรีมาเกนนี้เสียเพื่อที่จะสกัดการถอยของกองทัพเยอรมัน ในการนี้ นายพันตรีบาร์เนส (Major Barnes) ได้ถ่ายทอดคำสั่งมายังกองร้อยของผู้กองโคลท์ เป็นผบ. และพระเอกของเรา นายร้อยโทฮาร์ทแมน (Lieutenant Phil Hartman) และจ่าแองเจิล (Sergeant Angelo) เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งกองร้อยนี้ดูเหมือนจะต้องทำศึกเป็นกองหน้าอยู่เสมอ ต่อมาไม่นาน ผู้กองโคลท์ได้เสียชีวิตจากการซุ่มยิงรถจี๊ปด้วยจรวดต่อสู้รถถังที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ฮาร์ทแมนก็ต้องรับหน้าที่เป็นผบ.ร้อยทำศึกต่อไป

ด้านนายพลฟอนบร็อคได้เรียกตัวนายพันตรีครูเกอร์ (Major Paul Kruger) ให้มาเตรียมการทำลายสะพานรีมาเกนตามคำสั่งหน่วยเหนือ แต่ได้ขอร้องไว้ว่าให้ถ่วงเวลาไว้จนกว่ากองทัพที่ 15 จะข้ามสะพานมาได้เสียก่อน โดยให้ข้อมูลว่าที่รีมาเกนจะมีกำลังพลหน่วยต่างๆ อยู่ประมาณ 1,600 คน และยังสัญญาว่าจะส่งกำลังหน่วยยานเกราะเป็นกองหนุนไปช่วยอีก แต่เมื่อครูเกอร์เดินทางไปถึงสะพาน จึงได้รับรายงานจากผู้กองชมิดท์ (Hauptmann Karl Schmidt) และผู้กองเบามัน (Capt. Otto Baumann) ว่าที่แท้จริงแล้วมีกำลังทหารรักษาสะพานอยู่ประมาณ 200 คนเท่านั้น ครั้นพอจะติดต่อนายพลฟอนบร็อคเรื่องหน่วยยานเกราะก็ยากแสนเข็ญและคำตอบที่ได้คือหน่วยยานเกราะที่ว่าถูกส่งไป "ที่อื่น" เสียแล้ว

ฉากเครื่องบินทิ้งระเบิดใส่สะพาน

ทหารและพลเรือนเยอรมันบนสะพานขณะถูกโจมตีทางอากาศ

การรบอันหนักหน่วงระหว่างฝ่ายสหรัฐฯ ที่มีกองร้อยของฮาร์ทแมนเป็นหัวหอกกับกองกำลังเพียงหยิบมือของครูเกอร์ เป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งจากข้าศึกหรือจากหน่วยเหนือของตนเอง ครูเกอร์นั้นลำบากกับการตัดสินใจเลือกจังหวะเวลาที่จะระเบิดสะพานเนื่องจากต้องรอระเบิดและรอให้ฝ่ายเดียวกันทั้งทหารและพลเรือนผ่านไปก่อน ขณะที่ฝ่ายสหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาโจมตีสะพาน ตามด้วยกองกำลังทหารราบและรถถัง กว่าจะได้ระเบิดจากหน่วยเหนือกว่าจะติดตั้งระเบิดได้ทุลักทุเลเต็มทน พอจะกดระเบิดก็เกิดมีนายร้อยคนหนึ่งควบมอเตอร์ไซค์มาขอให้รถไฟผ่านไปก่อนอีก พอรถไฟผ่านไปไม่ได้จะกดระเบิดก็ไม่สำเร็จเพราะสายเคเบิลถูกยิงขาดไปแล้ว ต้องส่งคนไปจุดฟิวส์ระเบิดบริเวณกลางสะพานอีก แต่แล้วเจ้าระเบิดถูกๆ ที่หน่วยเหนือส่งมาก็ไม่สามารถทำลายสะพานได้ ทางด้านกองร้อยของฮาร์ทแมนเอง เมื่อบุกมาถึงคอสะพานแล้ว นึกว่ารอฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำลายสะพานก็จะหมดเรื่อง กลายเป็นว่าท่านนายพลชินเนอร์เปลี่ยนใจต้องการยึดสะพานเลยต้องทำการรบต่อเพื่อขัดขวางการระเบิดสะพานของครูเกอร์ที่แม้จะมีกำลังเพียงหยิบมือ แต่อยู่ในที่มั่นที่แข็งแกร่งในอุโมงค์รถไฟ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ไม่อาจทราบจำนวนที่แท้จริงได้ ต้องสูญเสียเพื่อนร่วมรบไปมากมายรวมถึงเกือบจะเสียเพื่อนคู่รักคู่แค้นอย่างจ่าแองเจิลไปด้วย

ทหารอเมริกัน โดยการนำของหมวดฮาร์ทแมนพยายามต่อสู้ขัดขวางการระเบิดสะพาน

ฝ่ายเยอรมันสามารถจุดชนวนระเบิดสะพานได้ แต่ระเบิดไม่มีคุณภาพพอที่จะทำลายสะพาน

จุดจบของทางฝ่ายเยอรมันนั้น แม้ครูเกอร์จะไม่ใช่นายทหารเยอรมันที่เป็นผู้ร้ายจ๋าอย่างในหนังบางเรื่อง แต่ความที่มุ่งมั่นกับภารกิจที่แสนกดดันจนไม่คำนึงถึงขวัญของผู้ใต้บังคับบัญชา ตะแกก็เลยบันดาลโทสะยิงทิ้งทหารที่กำลังหลบหนีไปสองคน ทำให้ทหารและพลเรือนในอุโมงค์ที่มั่นของตนปั่นป่วนกันพอสมควร เลยต้องขอแก้ตัวด้วยการเดินทางไปติดต่อขอกำลังเสริมจากนายพลฟอนบร็อค ปรากฏว่าเจ้านายยังเอาตัวไม่รอด คือโดนปลดไปแล้ว ตัวครูเกอร์เองยังถูกทหารหน่วยเอสเอสจับยิงเป้าโทษฐานรอเวลาระเบิดสะพานนานเกินไป หน่วยทหารที่รักษาสะพานได้รบจนหมดทางสู้และผู้กองเบามันต้องตายลง ผู้กองชมิดท์ก็ได้ออกมายอมแพ้ต่อกองทัพสหรัฐฯ ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะได้พบกันในสภาพที่ต่างฝ่ายต่างโทรมเต็มที

ทหารและพลเรือนเยอรมันออกมายอมจำนน

ผู้กองชมิดท์กับผู้หมวดฮาร์ทแมน

นิยายหรือเรื่องจริง?

ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 1969 (พ.ศ.2512) จากนิยายของ Ken Hechler แต่ตัวละครทั้งหลายในเหตุการณ์ก็ไม่ใช่ถูกสมมติขึ้นมาโดยสิ้นเชิง คือตัวละครหลักๆ ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีตัวจริงในประวัติศาสตร์ แต่เปลี่ยนชื่อซะใหม่ เช่น ผู้หมวดฮาร์ทแมนนั้น ตัวจริงคือร้อยโท Karl H. Timmermann ผบ.กองร้อยเอ แห่งกองพันทหารราบยานเกราะที่ 27 ผู้พันครูเกอร์นั้นเป็นตัวแทนของพันตรี Hans Scheller เป็นต้น ส่วนเหตุการณ์และรายละเอียดต่างๆ จะตรงตามประวัติศาสตร์กี่เปอร์เซนต์นั้นไม่อาจทราบได้

โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็น ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่สอง ที่สร้างได้ดีเรื่องหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าทางฝ่ายเยอรมันไม่ได้เป็นผู้ร้ายจ๋าซะทีเดียว ดูแล้วเหมือนเป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมกับทางสหรัฐฯ ที่ต่างกันตรงอยู่กันคนละฝั่ง เป็นเนื้อเรื่องที่ดูแล้วเห็นใจทั้งสองฝ่าย ด้านการสร้างไม่มีการนำรถถังหรืออาวุธสมัยใหม่โผล่มาเข้าฉากอย่างที่มักเห็นในหนังสงครามบางเรื่อง แต่ก็มีสะดุดอยู่หน่อยในตอนแรกๆ ที่พันตรีครูเกอร์เปิดตัวพร้อมกับแว่นเรย์แบน

ส่วนบทภาษาไทยในซับไตเติ้ลก็มีสะดุดหลายที่ เช่น แปล The third Reich ว่า กองทัพที่สาม ซึ่งที่จริงคือ อาณาจักรที่สาม ซึ่ง ฮิตเลอร์ ใช้เรียกประเทศเยอรมันในยุคของตน แปล German Mark ว่า เครื่องหมายเยอรมัน แทนที่จะรู้ว่าเขาหมายถึงเงินมาร์ค ฯลฯ

ข้อคิดส่วนตัวคือดูสถานการณ์ทางฝ่ายผู้หมวดฮาร์ทแมนที่ต้องรบต่อเพราะผบ.เปลี่ยนคำสั่งจากการทำลายสะพานเป็นยึดสะพานแล้ว นึกถึงคำพูดของครูฝึกรด.ที่สอนว่า "คำสั่งทหารนั้นเด็ดขาด แต่ไม่แน่นอน" ซึ่งเขาคงหมายความว่าสั่งให้ทำอะไรให้รีบทำทันที แต่ต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์ด้วย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วจะมายึดมั่นกับคำสั่งทีแรกแล้วหาว่าสั่งกลับไปกลับมาไม่ได้ เหตุการณ์ที่ฮาร์ทแมนเจอมันช่างสาหัสสากรรจ์กว่าที่ผมเคยจินตนาการในสมัยเรียนรด.เหลือเกิน ด้านผู้พันครูเกอร์ ก็น่าเห็นใจตรงที่ตะแกเหมือนถูกหลอกใช้ จนต้องพบจุดจบอย่างน่าอนาถ

เป็นหนังที่ดูได้ดีทั้งฉากยิงเปรี้ยงปร้างเอามันและชีวิตรันทดของคนใส่ชุดทหารครับ

คำคมชวนคิด

  • บาร์นส์ก็โดดคว้าโอกาสเหมือนลูกหมาคว้ากระดูก ฮาร์ทแมนวิจารณ์พันตรีบาร์เนสกับผู้กองโคลท์
  • การยึดสะพานนั่นทำให้สงครามสั้นลง เราเสี่ยงชีวิตคนสักร้อยแต่อาจรักษาคนสักหนึ่งหมื่น อาจถึงห้าหมื่นเลย เป็นโอกาสที่จะสร้างประวัติศาสตร์  นายพลชินเนอร์พูดกับพันตรีบาร์เนส
  • เขาบอกว่าสัตว์ตายเพราะบาดแผลของมันเอง ตอนนี้เรากำลังฆ่าคนของเราเอง ผู้กองชมิดท์พูดกับผู้พันครูเกอร์หลังจากครูเกอร์ยิงทหารที่พยายามหลบหนี

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Bridge at Remagen

ชื่อภาษาไทย :  สะพานเผด็จศึก

เรื่องเดิม :  นวนิยาย โดย Ken Hechler

ผู้สร้าง : David L. Wolper

ผู้กำกำกับ : John Guillermin

ผู้เขียนบท :  Roger O. Hirson (story), William Roberts, Richard Yates

ผู้แสดง :

  • George Segal - Lieutenant Phil Hartman
  • Robert Vaughn - Major Paul Kruger
  • Ben Gazzara - Sergeant Angelo
  • Bradford Dillman - Major Barnes
  • E. G. Marshall - General Shinner
  • Peter van Eyck - Generaloberst von Brock
  • Hans Christian Blech - Hauptmann Karl Schmidt
  • Joachim Hansen - Capt. Otto Baumann
  • Bo Hopkins - Corporal Grebs
  • Steve Sandor - Private Slavek
  • Günter Meisner - SS General Gerlach

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 






Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker