dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ ๑๒ - สงครามท่าดินแดง

*  *  *

สงครามท่าดินแดง

สถานการณ์เดิม  .  .  .  เนื่องจากพระเจ้าปดุงทำสงครามไม่เคยแพ้ใคร  เพิ่งมาแพ้ไทยเป็นทีแรก คราวสงครามเก้าทัพ ซึ่งยกมา  ๕  ทาง  เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘     มีความอัปยศอดสูด้วยเกรงคนทั้งหลายจะดูหมิ่น  จึงพยายาม "ล้างตา"  ด้วยการมาตีเมืองไทยอีกครั้ง

สถานการณ์ต่อไป

           พอพระเจ้าปดุงกลับไปก็ให้เตรียมทัพในต้นปี  มะเมีย  พ.ศ.๒๓๒๙

          และเนื่องจากความปราชัยในสงครามครั้งก่อน พระเจ้าปดุงจึงแก้ไขข้อบกพร่องจากบทเรียนที่ได้รับดังนี้

          ๑. แนวทางการเคลื่อนที่

               เดิม    ใช้แนวทางการเคลื่อนที่ถึง  ๕  ทาง  ทำให้กองทัพต่างๆ  เข้าถึงกรุงเทพฯ ไม่พร้อมกัน    และขาดน้ำหนักในการรุก

               การแก้ไข    ใช้แนวทางการเคลื่อนที่ทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพียงทางเดียว    และมีแผนต่อเรือรบที่ปลายน้ำไทรโยค เพื่อให้การเดินทัพสู่กรุงเทพฯ  ได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น

           ๒. ปัญหาการส่งเสบียงอาหาร

               เดิม    ใช้การรวบรวมเสบียงอาหารจากดินแดนพม่า  และลำเลียงสู่กองทัพในแนวหน้า  ซึ่งถูกฝ่ายไทยซุ่มโจมตี และสกัดตัด ช่วงชิง เอาเสบียงอาหารไปได้

               การแก้ไข     สร้างยุ้งฉาง  (คลังเสบียง)  ไว้ที่เมืองเมาะตะมะเป็นอันมาก  และเกณฑ์เสบียงอาหารจากหัวเมืองมอญ และยะไข่ เก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมาก

                                  จัดวางคลังเสบียง ไว้ตามเส้นทางเดินทัพเป็นระยะๆ  จนถึง  ท่าดินแดง  และสามสบ

          ๓. การเตรียมพล

               ให้กองทัพที่กลับไปจากราชบุรี  และนครศรีธรรมราชพักฝนอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ  และเมืองทวาย 
 
                ปลายฤดูฝน  ให้กำลังพลที่เรียกเกณฑ์เพิ่มเติมเข้าที่ชุมนุมทัพเมืองเมาะตะมะ

          ๔. การเตรียมพื้นที่การรบ

              ให้ขุดสนามเพลาะขวากหนาม แน่นหนา     และทำสะพานเรือกข้าม  ลำน้ำ ห้วยธาร ทั้งปวง  ให้คน และม้าเดินไปมาได้สะดวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

        การเตรียมการของพระเจ้าปดุงครั้งนี้  หมายจะตั้งรบพุ่งอยู่ค้างปีทีเดียว

          ตรัสให้เกณฑ์พลระดมรวม  ๕๕,๐๐๐  (ไทยรบพม่าว่า  ๓๐,๐๐๐)  ยกไปประชุมพล  ณ  เมืองเมาะตะมะ    ยกออกจากกรุงอมรปุระ  ในวันขึ้น  ๘ ค่ำ เดือน  ๑๐  ปีมะเมีย จ.ศ.๑๑๔๘    ตรงกับวันพฤหัสบดี  วันที่  ๓๑  สิงหาคม  พ.ศ.๒๓๒๙   (การตรวจสอบของ  http://www.payakorn.com/moondate.php)  

          ครั้น เดือน  ๑๒    อินแซะราชบุตรองค์ใหญ่  มหาอุปราช  ยกกองทัพเรือมาที่เมืองเมาะตะมะ   มีจำนวนพล  ๕๐,๐๐๐    แล้วให้  กองทัพหน้า  จำนวน  ๓๐,๐๐๐   ยกเข้ามาก่อน     กองทัพหน้านี้ยกล่วงแดนเข้ามาตั้ง  ณ  ท่าดินแดง  และสามสบ

          ส่วนมหาอุปราชยกทัพ  ตามเข้ามาอีก  ๒๐,๐๐๐   ตั้งค่ายอยู่ ณ  ริมลำน้ำแม่กษัตริย์  ใกล้ด่านพระเจดีย์สามองค์อีก แห่งหนึ่ง 

          ฝ่ายชาวด่านเมืองกาญจนบุรี  เมืองศรีสวัสดิ์  เมืองไทรโยค  ออกไปลาดตระเวนสืบราชการตามแนวชายแดน  รู้ข่าวว่า  พม่ายกกองทัพมาตั้งค่ายอยู่  ณ  ท่าดินแดง  และสามสบก็รีบกลับมาแจ้งแก่เจ้าเมือง ๆ  ก็บอกข้อราชการข่าวศึกเข้ามายังกรุงเทพมหานคร ในข้างแรม  เดือนอ้าย

 

 

 

 

 

 

 

แนวความคิดในการป้องกันประเทศของไทย

           ไม่ให้ข้าศึกล่วงล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขต  ดังคราวก่อน     จะใช้กำลังทั้งหมดเข้าทำลายกองทัพข้าศึกตามแนวชายแดน


ให้ยกพลขึ้นทางไทรโยคสถาน  ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา
จะสังหารอริราชพาลา                อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง

          วันพฤหัสบดี  ขึ้นสิบสี่ค่ำ  เดือนสาม   ปีมะเมีย  จ.ศ.๑๑๔๘   ตรงกับ  วันที่  ๑  กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๓๒๙    (ปีใหม่สมัยนั้น เริ่ม เดือน ๕  คือสงกรานต์ หรือเดือนเมษายน)  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์  ก็เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราทางชลมารคออกจากกรุงเทพมหานคร    โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล   และพระยารัตนาพิพิธ  ว่าที่สมุหนายก  เป็นกองหน้า  พลโยธาหาญ  เป็นคนสามหมื่น  ยกล่วงหน้าไปก่อน    แล้วจึงเสด็จยกพยุหโยธาทัพหลวงตามไป  พร้อมสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์   เป็นพลสามหมื่นเศษ     องเชียงสือ ซึ่งหนีพวกไกเซินจากกรุงญวน มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยเสด็จด้วย

 

สามสบ

          กองทัพสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ   เดินทัพทางเรือจนถึงเมืองไทรโยค  แล้วปรับกำลังเป็น  ๔  กองทัพ  คือ    เจ้าพระยารัตนาพิพิธ   พระยากลาโหมราชเสนา    พระยาจ่าแสนยากร แยกกองทัพไป  ๓  กอง   รวมพลประมาณ  ๒๐,๐๐๐

          กองหน้ายกไปถึงค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่  ณ  สามสบ  ก็ให้ตั้งค่ายลงเป็นหลายค่าย

          สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จยกทัพหลวงจำนวน  ๑๐,๐๐๐   ตามไป    ตั้งค่ายหลวงห่างจากค่ายของกองหน้าลงมาห้าสิบเส้น   (ประมาณ  ๒๐๐  เมตร)

          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เสด็จทางน้ำไปจนถึงเมืองไทรโยค     จากนั้นยกเป็นกองทัพบกขึ้นไปตามทางริมแม่น้ำ    โปรดให้ตั้งค่ายหลวงที่เมืองท่าขนุน  ตั้งค่ายหลวงห่างจากค่ายหลวงของสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ลงมาเจ็ดสิบเส้น  (ประมาณ  ๓๐๐  เมตร)  แล้วให้แม่ทัพนายกองคุมกำลังยกไปตั้งประชิดค่ายพม่าที่ท่าดินแดง

 

ทัพพม่าอยู่ยังท่าดินแดง       แต่งค่ายรายไว้เป็นถ้วนถี่
ทั้งเสบียงอาหารสารพันมี     ดังสร้างสรรค์ธานีทุกประการ

          ในพระราชพงศาวดารพม่า  กล่าวถึงการศึกตอนนี้ว่า  .  .  .  กองทัพไทยแยกกันเป็น  ๒  กอง  ซุ่มเดินกองทัพมิให้มีปากเสียง    ครั้นถึงตำบลอะลันแด ก็กรูกันเข้าโจมตีค่ายใหญ่พม่า  แมงญีนันทจอถิงแม่ทัพใหญ่กำลังบงการปรองดองการเสบียงอยู่ มิทันรู้ตัว  ขับทหารเข้าต่อสู้ก็รบรับไม่ไหว  เพราะเสียขบวนเสียแล้ว  ก็แตกพ่ายถอยหนีไปยังเมืองเมาะตะมะ  .  .  .

          แต่ในไทยรบพม่า  ดูน่าจะสมจริงมากกว่า  .  .  .  ดังนี้ครับ
 
          เมื่อกองทัพทั้งสองพร้อมแล้ว  ในวันขึ้น  ๕ ค่ำ เดือน  ๔ ปีมะเมีย จ.ศ.๑๑๔๘   ตรงกับวันพุธ   วันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๓๒๙    กองทัพไทยทั้งสองก็เข้าตีค่ายพม่าพร้อมกัน

          กองทัพสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เข้าตีค่ายที่สามสบ    กองทัพหลวงเข้าตีค่ายที่ท่าดินแดง   การรบดำเนินไปสามวัน   ทัพไทยขุดสนามเพลาะเข้าตั้งประชิดค่ายพม่า  ต่างยิงปืนใญ่น้อยตอบโต้กัน  ทั้งกลางวันกลางคืนมิได้หยุดหย่อน  เสียงปืนสนั่นลั่นสะเทือนสะท้านไปทั่วทั้งป่า   

 

ให้ทหารเข้าหักโหมโรมรัน     สามวันพวกพม่าก็พังพ่าย
แตกยับกระจัดพลัดพราย      ทั้งค่ายคอยน้อยใหญ่ไม่ต่อตี
 

        ครั้นถึง  วันศุกร์ ที่  ๒๓  กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๓๒๙    พลทัพไทยยกหนุนเนื่องกันเข้าไปหักค่ายปีนค่ายเย่อค่ายพม่า  พม่าต่อรบเป็นสามารถ    ตั้งแต่เวลาบ่ายทหารไทยก็เข้าค่ายพม่าได้    ฝ่ายพม่าพยายามต่อสู้อยู่จนค่ำ  จึงแตกพ่ายไปทุกค่าย    กองทัพไทยติดตามตี สามารถฆ่าฟัน และจับเป็นทหารพม่าได้เป็นอันมาก

          อินแซะ มหาอุปราช  เมื่อทราบว่ากองหน้าแตกเสียแล้ว   ก็สั่งถอนทัพกลับไปเมืองเมาะตะมะ  ไม่ได้สู้รบ

 

ให้ติดตามไปจนแม่กษัตร     เหล่าพม่ารีบรัดลัดหนี
บ้างก็ตายก่ายกองในปัถพี    ด้วยเดชะบารมีที่ทำมา
 
          กองทัพไทยตามตีไปจนถึงค่ายพระมหาอุปราช  ที่ริมลำน้ำแม่กษัตริย์   เก็บได้เครื่องศัสตราวุธมากมาย   แม้ปืนใหญ่ของพม่าที่นำมา  ไทยก็ได้ไว้หมด    ทรงสั่งกองหน้าให้เผายุ้งฉางคลังเสบียงของพม่าซึ่งใส่ข้าวสารเสบียงเสียทุกตำยล  แล้วให้ถอนมายังกองทัพหลวง
 
 

ตั้งใจจะอุปถัมภก                 ยอยกพระพุทธศาสนา
จะป้องกันขอบขัณฑสีมา    รักษาประชาชนแลมนตรี


          กองทัพพระเจ้าปดุงแตกแพ้ไทยกลับไปครั้งนี้  ผู้คนในเมืองพม่าตื่นตกใจกันมาก    บาทหลวงท่านหนึ่งถึงกับออกความเห็นว่า  ถ้ากองทัพไทยยกติดตามออกไปก็เห็นจะตีได้จนถึงอมรปุระ   .  .  .   ก็เป็นความเห็นของบาทหลวง และความรู้สึกของผู้ที่ได้ข่าว และอาจจะได้เห็นสภาพการปราชัยของกองทัพพม่า เท่านั้น นะครับ    แต่หากกองทัพไทยติดตามออกไปโดยไม่มีการวางแผน  และเตรียมการไว้ล่วงหน้า   ผมว่าจะเป็นการเสี่ยงที่ไม่ได้ใคร่ครวญ และไม่ฉลาดเลย   

          ในการสงครามของไทยคราวนี้ก็ทรงพระราชปณิธาน ไว้เพียง  .  .  .

.  .  .  ตั้งใจจะอุปถัมภก                 ยอยกพระพุทธศาสนา

จะป้องกันขอบขัณฑสีมา    รักษาประชาชนแลมนตรี  .  .  .
 

 

 

 

 

 

 

 

 

ครั้นเสร็จการผลาญราชไพรี        ก็ให้กรีธาทัพกลับมา

          ครั้นมีชัยชนะแก่อริราชสงครามพุกามปัจจามิตรเสร็จแล้ว  ก็ดำรัสให้เลิกกองทัพทางชลมารคสถลมารคกลับคืนยังพระมหานคร  บวรรัตนโกสินทรมหินทรอยุธยา  ในแรมเดือนสี่  ปลายปีมะเมีย  อัฐศกนั้น       (ประมาณ มีนาคม    พ.ศ.๒๓๒๙)

 

นานาทัศนะ

          นักประวัติศาสตร์พม่าท่านหนึ่งให้ความเห็นในสงครามของพระเจ้าปดุงว่า  .  .  .  ไทยนั้นผิดกับพม่า   ในข้อที่อาจซื้ออาวุธและกระสนปืนได้จากเรือสินค้าต่างชาติ  แม้แต่จากเรืออเมริกัน    พระเจ้าโพธิพญาทรงทราบว่าไทยมีอาวุธที่เหนือกว่า  ก็ทรงเลิกความคิดมาตีไทย  .  .  .


          ครับ  .  .  .  ก็เป็นข้อมูลหนึ่งในสายตานักประวัติศาสตร์พม่า  แต่คงไม่ใช่สาเหตุหลัก   คราวนี้ลองดูความเห็นของนักประวัติศาสตร์ไทยบ้าง  

          .  .  .  ผลของการสงครามครั้งรบกันที่ท่าดินแดงคราวนี้    พิเคราะห์ดูตามหนังสือจดหมายเหตุทั้ง  ๒  ฝ่าย    ดูข้างพม่ารู้สึกว่าเป็นการสำคัญยิ่งกว่าที่รู้สึกกันทางข้างฝ่ายไทย  .  .  . คือ สงครามพม่าครั้งนั้น  ๒  คราวติดกันใน  ๒  ปี    คราวแรกพม่ายกมามากมายใหญ่หลวง  กว่าไทยจะเอาชัยชนะได้ ต้องรบพุ่งลำบากมาก  ครั้งหลังนี้รบกันครั้งเดียวไทยก็ชนะสงคราม    ฝ่ายไทยจึงเห็นว่าไม่สำคัญเหมือนครั้งก่อน    แต่ข้างฝ่ายพม่าเมื่อยกมาครั้งก่อน  ถึงว่ามาแพ้ไทย  ในที่สุด  ก็มีเหตุพอเป็นข้อแก้ตัวว่า ตีหัวเมืองเหนือใต้ของไทยได้หลายเมือง    ที่ไม่สำเร็จเพรากองทัพหลวงขาดเสบียงอาหารเป็นต้น    แต่ครั้งหลังนี้ไม่มีข้อแก้ตัวอย่างหนึ่งอย่างใด  เพราะพม่าได้คิดอ่านแก้ไขข้อขัดข้องมาแต่ต้นจนหมดทุกอย่าง    ความปรากฏโด่งดังว่าจะตีเอาเมืองไทยให้ได้     ครั้นกลับมาพ่ายแพ้ไทยยับเยิน  ต้องแตกหนีกลับไปหมดทุกทัพ    คนทั้งหลายก็ต้องคิดเห็นอย่างเดียวแต่ว่าสู้ฝีมือและความคิดไทยไม่ได้    ที่พม่ามาแพ้ไทยครั้งรบกันที่ท่าดินแดงพม่าจึงรู้สึกว่าสำคัญมาก    แต่นี้ก็มิได้พยายามที่จะมาตีกรุงเทพฯ อีกต่อไป 

 ฯลฯ

"ไทยรบพม่า"   พระนิพนธ์  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ผลต่อพระราชอาณาจักรพม่า

          ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม    สงครามเก้าทัพ และสงครามท่าดินแดง  ใน พ.ศ.๒๓๒๘ และ ๒๓๒๙  นี้   มีผลอย่างมากต่อการเมืองภายในพระราชอาณาจักรพม่า  ดังที่นักประวัติศาสตร์พม่าท่านเดิม กล่าวไว้ว่า

          .  .  .  การที่พระเจ้าโพธิพญาทรงยกกองทัพไปไทย  ก็ทำให้พระเกียรติยศเสื่อมลง  และยังทำให้ชาวยะไข่ต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น  เพราะชาวยะไข่ถูกเกณฑ์ไปในกองทัพดังกล่าวแล้วด้วย 

 ฯลฯ

บทเรียนจากการรบ

          การสงครามคราวนี้    ท่านว่า

          ฝ่ายพม่า  ได้แก้ไขข้อบกพร่องจากสงครามปี ๒๓๒๘     ก็เพียงแต่ปรับในสองเรื่องดังกล่าวแล้วเท่านี้น    แต่ไม่ได้แก้ไขหลักการสำคัญอยู่ดี   คือ  ไม่สามารถนำกำลังส่วนใหญ่ทำการรบได้พร้อมกัน  คงเข้าทำการรบได้ทีละหน่วย  คือเฉพาะ กองหน้าที่ท่าดินแดง และสามสบ เท่านั้น   กำลังของมหาอุปราชอินแซะ  ที่ค่ายแม่กษัตริย์  และกองทัพหลวงของพระเจ้าปดุง  ไม่ได้เข้าทำการรบด้วย  

          กองทัพหลวงของพระเจ้าปดุง นั้น  อาจจะยังไม่ได้เคลื่อนจากเมืองเมาะตะมะด้วยซ้ำไป  หรือหากเคลื่อนออกมาแล้วต้องยังไม่ถึงลำน้ำแม่กษัตริย์อย่างแน่นอน

          ดังนั้น  การมีกำลังมากกว่าก็ไม่เป็นประโยชน์

          ฝ่ายพม่า  คงจะประมาณสถานการณ์ว่าฝ่ายไทยจะตั้งรับที่ทุ่งลาดหญ้าเช่นเดิม  จึงให้กองหน้าหยุดที่ท่าดินแดง และสามสบ หรืออาจจะรอกองทัพหลวงของพระเจ้าปดุง ก็เป็นได้

          ฝ่ายไทย  นั้น    ได้ปรับแผนการตั้งรับในเรื่องพื้นที่การรบ    ด้วยการรุกออกไปปะทะข้าศึกที่ท่าดินแดง และสามสบ  แทนที่จะรอรับที่ทุ่งลาดหญ้า  นับว่าได้ผลทางการจู่โจม

          ในประวัติศาสตร์พม่าของหม่อง ทิน อ่อง   กล่าวสั้นๆ เพียงว่า  ในปีต่อมา  (หมายถึง พ.ศ.๒๓๒๙ - ผู้เขียน)   พระองค์ทรงส่งกองทัพไปอีกกองหนึ่ง  แต่ก็ถูกตีพ่ายกลับมาอีก

            สรุปว่า  .  .  .  เนื่องจากแม่ทัพนายกองเลินเล่อ  จัดเตรียมกองทัพไม่พร้อม   ประกอบกับพระองค์เองก็ขาดประสบการณ์ในการรบ  .  .  .  ตามที่หม่องทินอ่องกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์พม่า   ก็ยังนำมาใช้ได้ในการพระราชสงครามท่าดินแดง

            .  .  .  ถึงแม้ว่า พระเจ้าปดุงจะมิได้พยายามที่จะมาตีกรุงเทพฯ อีกต่อไป ก็ตาม    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า  กราศึกสงคราม พม่ารบไทยจะยุติ  เพราะการทำสงครามกับไทยใน พ.ศ.๒๓๒๘ และ ๒๓๒๙  ทำให้พระเกียรติยศเสื่อมลง  และยังทำให้ชาวยะไข่ต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น     นอกจากขาวยะไข่แล้ว  หัวเมืองขึ้นข้างเหนือ  ได้แก่  ประเทศราชลื้อ เขิน   มีเมืองเชียงรุ้ง  เมืองเชียงตุง  เป็นต้น   ก็พากันกระด้างกระเดื่องขึ้นด้วย    พระเจ้าปดุงจึงหันมาสนพระทัยเมืองไทยอีก  .  .  . 

          พ.ศ.๒๓๓๐  พม่าตีเมืองนครลำปาง และเมืองป่าซาง - ไทยตีเมืองทวาย

 

 

 

 

 

สถานการณ์ค่อไป  .  .  .  พม่าตีเมืองนครลำปาง และเมืองป่าซาง - ไทยตีเมืองทวาย

สถานการณ์ค่อไป  .  .  .  พม่าตีเมืองนครลำปาง และเมืองป่าซาง - ไทยตีเมืองทวาย

สถานการณ์ค่อไป  .  .  .  พม่าตีเมืองนครลำปาง และเมืองป่าซาง - ไทยตีเมืองทวาย

 

 

 บรรณานุกรม

           -  ไทยรบพม่า    พระนิพนธ์  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

          -  ไทยรบพม่า    เอกสารอัดสำเนาวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม  กองวิชาสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๔

          -  พระราชพงศาวดารพม่า    พระนิพนธ์  กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์    พิมพ์ครั้งที่  ๒  พ.ศ.๒๕๕๐  สำนักพิมพ์ศรีปัญญา   

          -  พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี   ฉบับหมอบรัดเล    พิมพ์ครั้งที่  ๓  พ.ศ.๒๕๕๑    สำนักพิมพ์โฆษิต    บางแค  กรุงเทพฯ

           -  ประวัติศาสตร์พม่า    หม่องทินอ่อง    เพ็ชรี  สุมิตร  แปล    โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มิถุนายน  ๒๕๔๘

           -  ข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

 

 

 

 

 







แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker