dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ห้วยโก๋น ๒๕๑๘ (๑) ลาลาว . . . กลับบ้านเกิด

 

*  *  *

ห้วยโก๋น  ๒๕๑๘
 
ความเป็นมา  .  .  .  

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑  พฤษภาคม  -  ๓๑  ตุลาคม  ๒๕๑๕


          ภูแก้ว และผม เข้ารับการศึกษาต่อ ให้ครบถ้วนตามที่ทางราชการกำหนด  เมื่อศึกษาสำเร็จทุกประการแล้วก็ต้องกลับไปปฏิบัติภารกิจตามสัญญากับกองทัพพระราชอาณาจักรลาวให้ครบถ้วนต่อไป คือ เรามีสัญญากันว่าผมจะอยู่ในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว มีกำหนด ๑ ปีเต็ม     จากการตรวจสอบแล้ว  ภูแก้ว และผมยังเหลือเวลาอีก  คนละ  ๘๒ วัน   จึงจะครบ  ๑ ปีเต็ม

 

๑๑  พฤศจิกายน  ๒๕๑๕

          ภูแก้ว และผมเดินทางไปถึง  บก.ฉก.วีพี ("สิงหะ")  ซึ่ง บีเอ ๖๓๖ ได้ครบกำหนดตามแผนของ ทชล.๒ แล้ว  ตั้งแต่เดือน  กรกฎาคม  ๒๕๑๕   ประกอบกับห้วงเวลานั้นสถานการณ์ไม่  อันตราย  รุนแรง  เหมือนต้นปี  

          ดังนั้น   แสน  ผบ.ฉก.วีพี จึงสั่งการให้เราทั้งสองปฏิบัติงานในกองบัญชาการฯ   คือให้ ภูแก้ว  ปฏิบัติงานในกองส่งกำลังบำรุง     และผม ปฏิบัติงานในกองกำลังพล     เรื่องการปฏิบัติงานไม่มีเรื่องตื่นเต้นที่ควรนำมาเล่าสู่กัน เพราะเราเป็นผู้น้อย หรือ นับว่า เด็กมากในกองบัญชาการ   มีผู้ที่รับผิดชอบเหนือไปอีก ๒ - ๓ ชั้น ก่อนถึงหัวหน้ากอง      บางวันก็ได้ติดตามผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ ไปตรวจแนวรบบ้าง หรือไปศึกษาภูมิประเทศ บ้าง 

          ผมได้เคยติดตามคณะฝ่ายเสนาธิการไปเมืองวังเวียง  เพื่อตรวจภูมิประเทศ  และเตรียมที่ตั้งสำรอง  สำหรับกองบัญชาการฯ  และคลังสิ่งอุปกรณ์    
 
 

ธันวาคม  ๒๕๑๕  -  มกราคม  ๒๕๑๖

          สถานการณ์ไม่ตื่นเต้นเร้าใจเหมือนปีที่ผ่านมา  ฝ่ายเราควบคุมสถานการณ์ได้    "สิงหะ"ไม่ต้องอพยพไปวังเวียง    ภูแก้ว และผมครบกำหนด  ๑ ปีเต็มใน  ๓๑  มกราคม  ๒๕๑๖ นี้  ผู้บังคับบัญชาท่านชักชวนให้เราอยู่ปฏิบัติงานกันต่อไป     ภูแก้ว ยอมอยู่ปฏิบัติงานต่ออีก  ๑ ปี     ส่วนผมขณะเมื่อเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ  ได้ถวายบังคมพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานในโรงเรียนฯ

          ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมคุ้มครองให้ปฏิบัติงานในกองทัพพระราชอาณาจักรลาวอย่างปลอดภัย    เมื่อครบกำหนด  ๑ ปีแล้ว ขอกลับมาสนองพระเดชพระคุณปราบปรามอริราชศัตรูให้บ้านเกิดเมืองนอน

                       จาก    "คนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว"  ตอนที่ ๑๑. ดอกป๊อปปี้และแตรนอน

 

*     *     *     *     *     *     *     *     *

 

ความเป็นไป  .  .  .

ลาลาว  .  .  .  กลับบ้านเกิด

          ครับ  .  .  .  ผมลาลาว เดินทาง  กลับบ้านเกิด ใน   ๓๑  มกราคม  ๒๕๑๖

          เมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว  งานชิ้นแรกคือการขอกลับเข้ารับราชการต่อ  ซึ่งกองทัพบกก็อนุเคราะห์ดำเนินการให้ผมได้กลับเข้ารับราชการต่อในหน่วยเดิม  คือกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐  (ป.พัน ๒๐) จังหวัดอุตรดิตถ์  ตั้งแต่  ๑  มีนาคม  ๒๕๑๖    (เดือนกุมภาพันธ์  ว่างงานอยู่เดือนหนึ่ง)    

          ระยะนั้นเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองมีภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์    ซึ่งสามารถจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งฝ่ายรัฐเรียกกองกำลังเหล่านี้ว่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)  และกำลังขับเคี่ยวกับกำลังทหาร  ตำรวจ  อย่างรุนแรง  พีน้องประชาชนก็ไม่ได้อยู่เป็นปรกติสุขโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตอิทธิพลของ ผกค.   หน่วยทหารหลายหน่วยต้องจัดกำลังออกปฏิบัติราชการสนามชายแดน  (ปราบปราม ผกค.)  ตามแนวชายแดน และในพื้นที่ซึ่งมี ผกค.ปฏิบัติการอยู่   

          ป.พัน ๒๐  ก็ต้องจัดกำลังออกปฏิบัติราชการสนามชายแดนในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อสนับสนุนกองพลทหารม้าส่วนหน้า (พล.ม.สน.)    เรียกชื่อหน่วยอย่างเป็นทางราชการว่า  กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐  กองพลทหารม้าส่วนหน้า  (ป.พัน ๒๐ พล.ม.สน.)  ตั้งกองบังคับการกองพันอยู่ที่อำเภอเชียงกลาง  จังหวัดน่าน  และจัดส่งหน่วยปืนใหญ่ออกไปสนับสนุนหน่วยทหารราบ  หน่วยทหารม้าที่ดำเนินกลยุทธในพื้นที่จังหวัดน่าน  จึงทำให้มีนายทหารอยู่ประจำที่หน่วยน้อยมาก  โดยเฉพาะนายทหารชั้นผู้น้อยหนุ่มๆ  ไม่มีอยู่ที่หน่วยเลย  .  .  .  ออกปฏิบัติราชการสนามชายแดนกันหมด

 

.  .  .  งานรออยู่   

          เมื่อผมกลับเข้ารับราชการในเดือนมีนาคม    ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐  (ผบ.ป.พัน ๒๐)  ท่านเห็นว่า  ผมเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยหนุ่มๆ  ที่ยังว่างภารกิจอยู่  จึงได้มอบภารกิจให้เป็นผู้ฝึกทหารใหม่ รุ่น พ.ศ.๒๕๑๖  ผลัดที่ ๑  ซึ่งจะเข้ารับราชการในเดือนพฤษภาคม  ๒๕๑๖      ก็พอดีครับ  .  .  .  เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน  ก็เป็นการฝึกครูทหารใหม่    คือจัดนายสิบ  จำนวนหนึ่ง (ตามสัดส่วนกับทหารใหม่ที่จะได้รับ)  เป็นครูฝึก  และพลทหารปี ๒  อีกจำนวนหนึ่ง  เป็นผู้ช่วยครูฝึก     เมื่อฝึกครูทหารใหม่เสร็จ  ก็เป็นการเตรียมการทางธุรการ  เช่น  การจัดเตรียมสถานที่อยู่  ที่กิน  ที่นอน  การรับและเตรียมแจกจ่ายเครื่องแต่งกาย  เครื่องใช้ต่างๆ  สารพัด    เสร็จแล้ว  .  .  .

          ๑  พฤษภาคม  ๒๕๑๖  ก็ไปรับทหารที่จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์   (สัสดีอำเภอต่างๆ  ในจังหวัดอุตรดิตถ์  แพร่และน่าน จะรวบรวมทหารแล้วนำมาส่งให้สัสดีจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ - จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์  มีความรับผิดชอบครอบคลุมจังหวัดแพร่  และจังหวัดน่านด้วย)    ก็ทะยอยรับและนำมาที่หน่วยละครับ     กว่าจะรับมาถึงหน่วยได้ครบถ้วนก็ค่ำ  .  .  .  เป็นอันว่า  กลางเดือนกรกฎาคม  ๒๕๑๖    ทหารรุ่นปี ๒๕๑๖  ผลัดที่ ๑  หรือ  ผลัด ๑/๑๖  ก็ได้ฝึกตามหลักสูตรเบื้องต้น  เสร็จเรียบร้อย  (หลักสูตร  ๑๐ สัปดาห์)    กองพันท่านก็ให้ทั้งเจ้าหน้าที่ฝึกทั้งหลาย และผู้รับการฝึกได้พักเหนื่อย  เป็นเวลา ประมาณ  ๒ สัปดาห์    เมื่อทหารกลับมาในเดือนสิงหาคม  ก็จะแยกย้ายกันฝึกเฉพาะหน้าที่  เช่น  ฝึกเป็นพลประจำปืนใหญ่บ้าง  เป็นพนักงานสื่อสารบ้าง  พลสูทกรรม (ครัว) บ้าง  เป็นต้น    ซึ่งการฝึกช่วงนี้ไม่ค่อยเหนื่อยเหมือน  ๑๐ สัปดาห์แรกแล้วครับ  .  .  .  การฝึกทหารใหม่นี่ก็มีเรื่องสนุกๆ  มากครับ  แต่เรารีบไปปฏิบัติราชการสนามชายแดนกันก่อนดีกว่านะครับ

 

ราชการสนามชายแดน  .  .  .  สนองพระเดชพระคุณปราบปรามอริราชศัตรูให้บ้านเกิดเมืองนอน

          ๑  สิงหาคม  ๒๕๑๖    ผู้บังคับกองพันฯ  ท่านพิจารณาว่า  หากให้ผมอยู่ที่หน่วยปรกติ (คือไม่ได้ทำศึกสงคราม  หรือไปราชการสนามชายแดน) โดยไม่มีภารกิจเฉพาะกิจ  (เช่นการฝึกทหารใหม่)  อาจจะทำให้ผมครั่นเนื้อครั่นตัวมิใคร่สบายได้    ท่านจึงให้ผมปฏิบัติราชการสนามชายแดนในตำแหน่ง ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่  กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐  กองพลทหารม้าส่วนหน้า  (ผบ.ร้อย ป. ป.พัน ๒๐  พล.ม.สน.)   แทนผู้บังคับกองร้อยท่านเดิมซึ่งสูงอายุ  และกรำศึกชายแดนมานาน  ให้ท่านได้กลับมาปฏิบัติราชการที่หน่วยปรกติ

 

ป.พัน ๒๐  พล.ม.สน.

           กองบังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐  กองพลทหารม้าส่วนหน้า  (บก.ป.พัน ๒๐  พล.ม.สน.)  ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินเชียงกลาง  ริมแม่น้ำน่าน  รี้พลสกลไกรก็พักอยู่ภายในหน่วย  ใช้ไม้ไผ่ปลูกเป็นกระท่อมเล็กๆ    เว้นตัว บก.พัน. จึงปลูกด้วยไม้จริง   ที่พักของผมอยู่ริมแม่น้ำน่านจริงๆ  ผมมีภาพถ่ายครับ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 (ซ้าย)  หน้าที่พักริมลำน้ำน่าน  ตอนนี้น้ำน้อย  ตลิ่งสูง 

น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายภาพ "กระท่อมริมน่าน" ไว้ด้วย

 

(ขวา)  น่าจะเป็นฤดูหนาว    ดอยสูงข้างหลังคือ ดอยภูคา    สัญลักษณ์สำคัญของเมืองน่าน    

 

 

          ที่เชียงกลางนี้ มีแต่  บก.และ ร้อย.บก.ป.พัน ๒๐ สน. กับ บก.ร้อย.ป.  ไม่มีปืนใหญ่อยู่เลย  เพราะจัดออกสนับสนุนหน่วยในพื้นที่ทั้ง  ๓  ชุด ป.  (กองร้อยปืนใหญ่  มี  ๓ ชุด ป.  แต่ละ  ชุด ป.มีอาวุธหลักคือ  ปบค.ขนาด  ๗๕ มิลลิเมตร  จำนวน  ๒ กระบอก)    

          เมื่อเหลือแต่  บก.ร้อย.  เมื่อเสร็จงานธุรการประจำวันแล้ว  ผบ.ร้อย. ก็ต้องออกตรวจเยี่ยม ชุด ป. ที่จัดออกไปบ้าง  นำคณะนายทหารออกศึกษาภูมิประเทศบ้าง  พบปะผูกมิตรพัฒนาสัมพันธ์กับประชาชนในย่านใกล้เคียงหน่วยบ้าง   

          เชิญชมภาพภูมิประเทศอำเภอเชียงกลาง  สมัย  สิงหาคม  ๒๕๑๖  ครับ

 

 

ศึกษาภูมิประเทศ   รยบ.๑/๔ ตัน  ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุสามารถติดตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 (ซ้าย)  สะพานแบร์ลี  (Barely bridge)  ข้ามน้ำกอน  ในอำเภอเชียงกลาง

(ขวา)  สะพานแขวน  ข้ามน้ำเปือ  ที่บ้านสบเปือ  ตำบลเปือ  อำเภอเชียงกลาง

 

 

          นอกจากการปราบปราม ผกค.ซึ่งเป็นงานหลักของทหารแล้ว  ในด้านการพัฒนาสร้างความเจริญให้ท้องถิ่น  รัฐบาลมีโครงการสร้างถนนหลายสาย  โดยกรมทางหลวงว่าจ้างบริษัทให้รับเหมาก่อสร้างถนน  แต่เหล่า ผกค.ก็พยายามขัดขวางการสร้างทาง    ทางราชการจึงอนุญาตบริษัทต้องจัดให้มีกำลังถืออาวุธจำนวนหนึ่งเพื่อการระวังป้องกันตนเอง  และคุ้มกันการสร้างทาง    ซึ่งบริษัทได้รับงบประมาณในส่วนนี้ไปด้วย     ดังนั้น  ทหารจึงไม่มีภารกิจในการคุ้มครอง  หรือ คุ้มกันการสร้างทางนี้นะครับ    แต่การปฏิบัติจริง    พล.ม.สน.ก็ออกแผนยุทธการให้หน่วยออกปฏิบัติการบริเวณหัวงานก่อสร้างนั่นเอง    กองกำลังของบริษัทก็มีไว้  ครับ 

 

 

 

มกราคม  ๒๕๑๗    ตรวจเยี่ยม  ชุด ป. ที่ออกสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ 

ที่ตั้งยิงฐานฯ บ้านน้ำยาว

 

พัน ป.๒๐๑  พล.ม.สน.

           บก.ป.พัน ๒๐ พล.ม.สน. ตั้งที่ข้างสนามบินเชียงกลาง  ริมแม่น้ำน่าน  อำเภอเชียงกลางจนถึงเดือนกันยายน  ๒๕๑๗    พล.ม.สน.จึงให้ย้ายที่ตั้งไปที่ อำเภอปัว  และเปลี่ยนนามหน่วยเป็น   กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐๑  กองพลทหารม้าส่วนหน้า  (พัน ป.๒๐๑ พล.ม.สน.)  และกองร้อยปืนใหญ่ก็เปลี่ยนชื่อเป็น    กองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐๑๑  กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๐๑  กองพลทหารม้าส่วนหน้า  (ร้อย.ป.๒๐๑๑ พัน ป.๒๐๑ พล.ม.สน.)  (เป็นกองร้อยปืนใหญ่เพียงกองร้อยเดียวในกองพลทหารม้าส่วนหน้า  หรือในจังหวัดน่าน)

 

 

 

 

 

 พัน ป.๒๐๑  พล.ม.สน. อยู่บนเนินข้างสนามบินปัว   เห็นถนนทางขึ้นอยู่ทางซ้ายของภาพ

 

 

 

 

๒๗  กันยายน  ๒๕๑๗   เคลื่อนย้ายจากอำเภอเชียงกลางเข้าที่ตั้งในอำเภอปัว 

(ต้องใช้หมวกเหล็ก และไม้ถือให้มัน  .  .  .  เข้าไว้)


ที่ตั้งยิง  กม.๒๑

          สมัยนั้น  ถนนหนทางจากจังหวัดน่าน  มีถนนแอสฟัลสต์ไปเพียงอำเภอปัวเท่านั้น  ต่อไปเป็นถนนลูกรังซึ่งกำลังปรับปรุงให้เป็นถนนแอสฟัลตส์  ผ่านอำเภอเชียงกลาง  ไปถึงอำเภอทุ่งช้าง  และกำลังสร้างเส้นทางถนนจากอำเภอทุ่งช้างต่อไปยังชายแดนไทย - ลาวที่บ้านห้วยโก๋น    ที่บ้านห้วยโก๋น มีทหารราบตั้งฐานปฏิบัติการอยู่หนึ่งหมวด  คือ ร้อย ร.๒๑๒๓/๓   และ พัน ป.๒๐๑ พล.ม.สน. ต้องส่งชุด ป. ไปสร้างที่ตั้งยิงที่ กม.๒๑   บนเส้นทาง  อ.ทุ่งช้าง - บ.ห้วยโก๋น  เพื่อสนับสนุน ร้อย ร.๒๑๒๓/๓   นี้    ร้อย.ร.๒๑๒๓  ตั้งฐานปฏิบัติการที่ กม.๒๑  นี้  และมีภารกิจระวังป้องกัให้ที่ตั้งยิงปืนใหญ่ที่ กม.๒๑  นี้ด้วย 

          ผมเคยไปตรวจเยี่ยมชุด ป.นี้ระหว่างการสร้างที่ตั้งยิง  โดยรถบรรทุกเทท้ายของบริษัทสร้างทาง  ชมภาพดีกว่านะครับ

 

 

 

 

 


 

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บนเส้นทาง  อ.ทุ่งช้าง - บ.ห้วยโก๋น

                            
 

การสร้างที่ตั้งยิงที่ กม.๒๑

 


 

ที่ตรวจการณ์ และที่ตั้งปืนกล ๙๓  ขนาด  .๕๐ นิ้ว  ซึ่งมีอยู่รอบที่ตั้งยิง

 

 

 

 

การสร้างศูนย์อำนวยการยิง  (ศอย.)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเตรียมจุดที่จะวางปืนใหญ่จริงๆ

 

 

 


 ทำความสะอาดปืนใหญ่


 

 

 

เรียบโร้ย

ปบค.ขนาด  ๗๕ มิลลิเมตร

 

 

 

 

การปฏิบัติงานของช่างยานยนตร์  ร้อย.ป.๒๐๑๑ฯ  ในที่ตั้งอำเภอปัว

 

 

          ครับ  .  .  .  มาถึงเมืองน่าน  เมืองปัว    เห็นการปฏิบัติงานในที่ตั้งต่างๆ  ทั้งในส่วนบังคับบัญชา  ส่วนสนับสนุน  และส่วนที่ปฏิบัติการในสนามจริงๆ กันแล้ว    เพื่อไม่ให้เสียเที่ยวว่าได้มาถึงแล้ว    และตอนนี้เขายังไม่รบกัน    เชิญศึกษาความเป็นมาของเมืองน่านกันเสียหน่อย  นะครับ  

ตอนนี้พักกันก่อนครับ

 

ความต่อไป  .  .  .  เมืองน่าน

ความต่อไป  .  .  .  เมืองน่าน

ความต่อไป  .  .  .  เมืองน่าน 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (677)
avatar
นักรบรับจ้าง

ในช่วงปี2519-2521

            ผมขึ้นไปปฏิบัติภารกิจที่ อ.เชียงกลาง จ.น่าน  โดยอยู่ฐานขุนน้ำพริก ใกล้กับดอยผาจิ และ

ดอยป่าซางเหลือง  กลางฐานซึ่งเป็นlสนาม ฮ. จะมีเบิร์มหนึ่งที่แข็งแรงและใหญ่มากเชื่อมติดกับ

หลุมขนาดพอสมควร  ผบ.ฐาน ร.อ.สุรชัย  อรุณบุตร และรอง ผบ.ฐาน ร.ท.ทรงกิตติ  จักร์กราบาตร์

(ปัจจุบันท่านเป็น ผบ.สส.)ใช้เป็นที่พัก  ทราบว่าเป็น ศอย.และหลุมปืนใหญ่  ผมเคยถกเถียงกันว่าน่าจะ

เป็นหลุม ค.4.2 นิ้ว  เพราะอยู่ในลาวหลุมยิงปืนใหญ่ ขนาด 105 ม.ม.ยังใหญ่กว่านี้  พึ่งทราบวันนี้เอง

ว่าที่ชายแดนน่าน ปืนใหญ่ที่ยิงคุ้มครองพวกเราใช้ปืนใหญ่ขนาด 75 ม.ม.  ถึงว่า....ตอนที่พวกเราปะทะ

กับ ผกค.ที่ดอยผาจิปืนใหญ่จึงยิงไม่ถึง  ไม่สามารถช่วยพวกเราได้เลย  แปลกใจจนถึงทุกวันนี้  เพิ่งถึง

บางอ้อวันนี้เอง.....

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-26 11:36:19 IP : 182.53.120.37


ความคิดเห็นที่ 2 (678)
avatar
สัมพันธ์

          ครับ     เดือนตุลาคม  ๒๕๑๘ - มีนาคม ๒๕๑๙   ผมเข้าเรียนชั้นนายพัน    เรียนจบแล้ว  ครูบาอาจารย์ท่านก็เลยเอาเข้าเป็นอาจารย์ส่วนวิชาทหาร ฯ  เสียเลย  เป็นได้ปีเดียว   ก็ต้องเรียนต่ออีก    แล้วไม่ได้กลับมา ป.พัน ๒๐  อีกเลย    ไม่ทราบว่า  เขาได้จัดปืนใหญ่มาทางนี้บ้างหรือไม่   แต่เท่าที่จำได้  ช่วงที่ผมอยู่   พล.ม.สน.ไม่ได้จัดปืนใหญ่ไปสนับสนุนทางนั้นเลย   ส่วนมากจะอยู่ในแนวเส้นทางสายเลียบชายแดน  (ซึ่งจะได้ว่าต่อไป)

          สมัยผมอยู่นั้น  มี พัน.ม.๑๑๓  พล.ม.สน.   ซึ่งจัดจาก  ม.๑ รอ. สนธิกำลังจาก  ม.พัน ๓ (กรุงเทพฯ) และ ม.พัน ๑๑ (สระบุรี)    คุณนักรบรับจ้างซึ่งอยู่  ม.พัน ๓  คงอยู่ในส่วนนี้นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-26 13:43:46 IP : 124.121.39.164


ความคิดเห็นที่ 3 (679)
avatar
นักรบรับจ้าง

พัน ม.๑๑๓ พล.ม.สน.ประกอบด้วย ม.พัน ๑ รอ. สนามเป้า ม.พัน ๓ รอ. เกียกกาย และ ม.พัน ๑๑ รอ. สระบุรี ซึ่งทั้งสามกองพันขึ้นตรงกับ ม.๑ รอ. เกียกกาย จัดกำลังหน่วยละ ๑ กองร้อยทหารม้า ในส่วนของผมเป็นกองร้อยทหารม้าที่ ๒ (ม.พัน ๓ รอ.)  ประจำฐานขุนน้ำพริก ฐานผาหลัก ฐานป่ารวก และสับเปลี่ยนไปทางแม่จริม ฐานบ้านแพะ  ฐานบ้านผึ้งบ้านตอง ฐานบ้านป่ารวก อ.สา วนเวียนไปมาแถวๆ อ.เชียงกลาง อ.แม่จริม อ.สา  ไม่ค่อยสนุกเหมือนกับที่ลาว  เพราะไม่มีลูกยาวให้ได้ลงเดิมพัน  แต่กับเยอะมาก  ลว.แต่ละครั้งเสี่ยงกับการที่อวัยวะไม่ครบ32  การส่งกำลังบำรุง 10 วันต่อครั้ง แต่ละฐานอยู่ห่างกันมากจนไม่สามารถใช้อาวุธหนักประจำหน่วยช่วยเหลือกันได้ บางฐานก็แค่ระดับหมวด  เสี่ยงต่อการละลายมาก ดูดูไปเหมือนกับถูกปล่อยเกาะ  ภาระกิจหลักคือลาดตะเวนพิสูจน์ทราบ  การซุ่มโจมตี  และมวลชนสัมพันธ์  เคยอยู่แบบตื่นเต้น มาอยู่แบนี้เป็นเซ็งๆ บอกไม่ถูก

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-26 16:27:03 IP : 182.53.122.119


ความคิดเห็นที่ 4 (680)
avatar
สัมพันธ์

          ครับ  ผม  ตก  ม.พัน ๑ รอ.  ไปหน่วยหนึ่ง   

          แม้ว่าไม่เร้าใจเหมือนอดีต  แต่ก็เป็นการได้  .  .  .  ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า  .  .  .  จริงๆ    เป็นประสบการณ์ในการรบอีกรูปแบบหนึ่ง    เขียนๆ ไว้ให้  เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่อนุชนบ้าง  ก็เป็นการดีนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-26 22:18:04 IP : 124.121.39.164


ความคิดเห็นที่ 5 (681)
avatar
sleepcat

สวัสดี ท่านนักรบรับจ้าง และท่านสัมพันธ์ครับ

ขอบคุณ ท่านสัมพันธ์ ที่กรุณาเขียนเรื่องนี้ให้คนไทยได้อ่านอีกครับ

ผมสนใจปืนใหญ่ 75ม.ม.ทั้ง 6กระบอกนั่นอยู่เรื่องหนึ่งครับ..ว่าจะใช่เจ้าของหัวกระสุนที่ไปตกในทุ่งกะโล่ จ.อตรดิตถ์หรือไม่  เดี๋ยวนี้เขาเก็บเศษชิ้นส่วนไปเป็นวัตถุโบราณอยู่ที่วัดทุ่งเศรษฐีแล้ว

ที่บ้านเกิดผมเห็นมีปลอกกระดาษใส่กระสุนปืนใหญ่ใว้เก็บเอกสารด้วยครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sleepcat วันที่ตอบ 2010-12-04 21:42:29 IP : 124.122.225.150


ความคิดเห็นที่ 6 (683)
avatar
สัมพันธ์

คุณ sleepcat

          ถูกต้องครับ    ดีใจที่ได้พบคนอุตรดิตถ์  สมัยผมแย ป.พัน.๒๐  ก็ไปฝึกภาคภองร้อย ภาคกองพัน  ที่บึงกะโล่   เขาเรียก  บึง  แต่สภาพก็เป็นทุ่ง นั่นแหละ  ปัจจุบันเรียกเป็นทุ่ง ซะแล้ว    ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ไปฝึกยิงด้วยกระสุนจริงกันที่ไหน   

          ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๙-๒๐  ป.พัน.๒๐  ก็เปลี่ยนอาวุธหลัก  เป็น  ขนาด  ๑๐๕ มม.   แต่ยังคงมี ขนาด ๗๕  มม.  ไว้จำนวนหนึ่ง  เดี๋ยวนี้ ก็ไม่ทราบอีกครับว่ายังมีอยู่หรือไม่    ป.ขนาด  ๗๕ มม.  นี้  ตั้งยิงแล้ว  บางท่านว่าดูเหมือนกบ  เลยเรียกว่า  ปืนกบ  หรือ  ไอ้กบ    แต่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงมาก  เพราะถอดบรรทุกไปใน รยบ. ๓/๔ ตัน (รถจี๊พ กลาง)  ก็ได้  (คันละกระบอก  พลประจำปืนก็นั่งไปในรถ)   บรรทุกไปใน  เฮลิคอปเตอร์  หรือเครื่องบินก็ได้    บรรทุกสัตว์ต่าง  ก็ได้    ใช้คนหาบหามไปก็ยังได้   สามารถเข้าไปได้ทุกหนทุกแห่งที่มีแผ่นดิน    คล่องตัวกว่า ป.๑๐๕ มม.  ซึ่งต้องลากจูง  ด้วย รยบ. ๒ ๑/๒ ตัน  (รถใหญ่)    พวกเราเคยคิดทำเครื่องบรรทุกด้วยจักรยานยนตร์    แต่ผมย้ายเสียก่อน  เลยไม่มีคนบ้าต่อ 

          ครับ  ก็เปลี่ยนไปตามกาล นะครับ    เชื่อไหมครับ  พวกเราไม่มี  สะเก็ด หรือเศษกระสุน  ไว้เลย    เพราะไม่ได้อยู่ในบริเวณตำบลกระสุนตก    พวกที่อยู่ใกล้ตำบลกระสุนตก มากที่สุดคือชุด  ผู้ตรวจการณ์หน้า  ก็เข้าไปไม่ทันครับ    พี่น้องแถวนั้น  เก็บไป เรียบโร้ย

          คุยเรื่องเก่าๆ  ตามประสาคนแก่  สนุกดีนะครับ                  สวัสดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-05 07:20:51 IP : 124.121.12.192


ความคิดเห็นที่ 7 (686)
avatar
นักรบรับจ้าง

ช่วงปี 2520-2521 ผมมีโอกาสเข้าไปสิงสถิตย์ในค่ายพิชัยดาบหัก  ได้เจออดีตผู้บังคับบัญชาที่เคยอยู่ในลาว(ผมโชคดีอยู่เสมอ เช่น พอมาอยู่ ม.พัน 3 รอ. ก็เจอ ป๋าเล็ก แสงบัว , หมวดวิเชียร  โยคะนิตย์) คือ ร.ต.จักรชัย  นิมิตรศิลป์ รอง ผบ.ร้อย 1 บี.ซี.603 เอ  ท่านลงเป็นผู้ฝึกทหารใหม่ ม.พัน 7 พอดี  ข้างๆห้องพัก มีท่านหนึ่ง สังกัด ป.พันซาว ก็เรียกกันแต่ ป.พันซาวเรื่อยมาเวลาสังสรรกันตอนเย็น  วันหนึ่งผมเลยลองถามว่า ป.พันซาวใช่ ป.พัน20หรือไม่ พวกหัวเราะกัน และว่าบักง่าว คนขอนแก่นบ่ฮู้คำว่าซาวไอ๊...ที่อุตรดิตถ์เขาเรียกกันอย่างนี้  ผมใช้ชีวิตชายโสดที่ค่ายพิชัยดาบหักพอสมควร  ช่วงนั้น พ.อ.อร่าม ศรายุทธ เป็น ผบ.จทบ.และ ผบ. ม.2 ...ไม่มีอะไร... เล่าสู่กันฟัง 

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 10:22:32 IP : 182.53.113.172


ความคิดเห็นที่ 8 (688)
avatar
สัมพันธ์

          ครับ    ช่วงนั้น    ๒๕  ม.ค.๒๐  ทหารออกมากระทำสัตย์ฯ  นอกค่ายได้แล้ว    ที่อุตรดิตถ์  ทำที่ถนนหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัย    ผมเดินเป็น ผบ.ร้อย.    แล้วประมาณ  ปลาย มี.ค. - ต้น เม.ย.  ก็ย้ายเข้าเป็นอาจารย์  (โรงเรียนฯ เปิด  ๑ พ.ค.)    ได้จังหวะพอดี

          ป.พัน. ๒๐    อยู่ที่ลับแล  ปัจจุบันได้รับพระราชทานชื่อค่าย  พระศรีพนมมาศ   ตามชื่อท่านนายอำเภอลับแลที่สร้างความเจริญให้มาก             ปอ พัน ซาว ก็เป๋น เงี้ย  ละ เก๊ย  (แบบคนลับแล - หาดเสี้ยวครับ)

          พ.อ.อร่าม ศรายุทธ   ท่านสนุก  และร้องเพลงเพราะครับ  พวกเราเรียกท่านว่า  ป๋าหร่าม

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 13:27:18 IP : 110.168.16.84


ความคิดเห็นที่ 9 (690)
avatar
sleepcat

ดีใจมากเลยครับ  ที่ได้เจอ ประวัติศาสตร์ตัวจริงที่นี่

ตอนนั้นเพิ่งเรียนมัธยม  เป็นลูกศิษย์อาจารย์ ต๊ะ ท่าอิฐ (ก้องหล้า สุรไกร)ครับ   เลยพาให้สนใจเรื่องราวของทหารด้วย ผมมีความรู้สึกว่า ที่อุตรดิตถ์น่าจะมีทหารผ่านศึกในลาว เยอะนะครับ เพื่อนๆที่อยู่ในค่าย มีเป้ติดตราUS ใช้กันเกลื่อน   ชาวบ้านก็เห็นมีแจ็คเก็ตฟิลล์ใช้กันเยอะ  เวลามีงานวัดเขาเอาลูกแฟร์มากระทุ้งให้ตื่นเต้นบ่อยๆ...สมัยได้เรียน ร.ด. ที่ จทบ.อุตรดิตถ์ ประทับใจครูฝึกครับ  เวลาเรียนเรื่อง ปจว.ท่านก็เอาอดีตเสือพรานมาเล่าเรื่องให้ฟังด้วย   ....แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีเรื่องราวให้เด็กๆเดี๋ยวนี้ได้อ่านกันเลยครับ  ผมขออนุญาติทำลิงค์ไปให้คนอุตรดิตถ์อ่านด้วยนะครับ

เรื่องฝึกทหารใหม่ที่อุตรดิตถ์ น่าสนุกจริงๆนะครับ เพราะมีคนหลายเผ่าพันธุ์(ดั้งเดิม)หลายภาษา...เลยมีเรื่องขบขันเกี่ยวกับภาษาถิ่นเยอะ..อย่างเช่น หลามแจ้ง..หมายถึงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์  ถ้าท่านสัมพันธ์ เอามาเล่าไว้บ้าง ผมคิดว่าสนุกแน่นอนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sleepcat วันที่ตอบ 2010-12-06 20:10:20 IP : 124.121.180.215


ความคิดเห็นที่ 10 (692)
avatar
สัมพันธ์

          ผมเพียงแต่ชอบเรื่องเก่าๆ  เท่านั้นครับ   ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ตัวจริงหรอก    ประวัติศาสตร์ตัวจริงต้องเว็บมาสเตอร์เราซีครับ    (ขออนุญาตพาดพิงดีๆ หน่อยนะครับ)

          ยินดี  และขอบคุณมากครับที่จะเผยแพร่ออกไปให้แพร่หลาย  เป็นการเผยแพร่เกียรติคุณท่านที่ได้เสียสละเหล่านั้นด้วย    ครับ  ก็เรื่องมันผ่านไปนาน    คนที่เกี่ยวข้องก็ผ่านไป  พ้นไป  เป็นธรรมดาครับ

          เรื่องหลามแจ้ง  นี่    เข้าชุดกับ  ห้องแถววิ่งได๊  และ  แป้นะไอ๊    แม่นก่อ     ก็ม่วนดีเนอะ   แต่คนแป้เปิ้นจะว่าใดบ้าง  บ่ฮู้เนอะ

      

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 22:35:14 IP : 110.168.47.177



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker