***อโยธยา***
avatar
ปติตันขุนทด


 

อโยธยา

อโยธยา   เป็นเมืองเก่าแก่ก่อนอยุธยา    มีเกิดขึ้น   ตั้งอยู่  แปรปรวน  เปลี่ยนแปลง   และแตกดับไปเป็นธรรมดาโลก     แล้วจึงมีอยุธยาเกิดขึ้นสืบต่อมา

พระราชพงศาวดารเหนือ     กล่าวถึงอาณาจักรหนึ่งมีความเก่าแก่ยิ่งกว่ากรุงศรีอยุธยา   และเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน    ในสถานที่แห่งเดียวกัน   คือเมืองอโยธยา   ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเมืองใหญ่ไม่น้อยด้วยมีบันทึกอ้างอิงหลายแห่งด้วยกัน    จากคำให้การชาวกรุงเก่า   กล่าวว่า   พระเจ้าอู่ทองผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานขึ้นใหม่นั้น    ทรงเป็นกษัตริย์อค์ที่   ๑๖   ของอโยธยา  

ณ   ภาพสลักนูน    บนผนังภายในเทวสถานนครวัตอันสลักขึ้นระหว่างปี    พ.ศ.   ๑๖๕๐  -  ๑๗๒๕      รูปกองทัพไทยกษัตริย์ประทับนั่งบนหลังช้าง   ทหารเดินเท้าสวมเกราะทำด้วยหวาย  มีตัวอักษรจารึกว่า   "ห้องสยาม"   ชาวสยามก็คือชาวอโยธยานั่นเอง

อโยธยาสมัยโบราณมีอำนาจอันเกรียงไกร   ได้ทิ้งร่องรอยศิลปะวัตถุไว้เกลื่อนทั่วอยุธยา  ตลอดจนภาคกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ละโว้   และสุพรรณบุรี   ซึ่งยังคงเหลือร่องรอยมากมาย  เป็นประจักษ์พยานพอเพียงว่า        อาณาจักรอโยธยา   เคยเป็นเพชรน้ำเอก  จรัสแสงรุ่งโรจน์ที่สุดในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   พร้อมกับอาณาจักรพุกาม   และอาณาจักรขอมที่ขนาบอยู่สองข้าง

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ   บันทึกไว้ในตอนต้นว่า.......

"แรกสถาปนาพ่ระพุทธเจ้า    เจ้าพแนงเชิง"

พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่   ๒๖   ปี   มีพระพุทธลักษณะพระพักตร์สี่เหลี่ยม   เป็นแบบอู่ทองรุ่นหลังกว่าพระปราธานวัดธรรมิกราชมากที่เดียว   กรุงอโยธยาจะต้องร้างในระหว่าง   พ.ศ.  ๑๘๖๗   -  พ.ศ.   ๑๘๙๓   อาจจะหลังจากการสถาปานาพระพุทธรูปองค์ใหญ่วัดพนัญเชิงไปหลายปีก็ได้  จนถึง  พ.ศ.  ๑๘๙๓   พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จลงมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่     ซึ่งขณะนั้นเมืองอโยธยาอันรุ่งโรจน์มานับหลายร้อยปี   ได้ดับรัศมีไปหมดสิ้น   กลายเป็นเมืองร้างอย่างสมบูรณ์  (น  ณ  ปากน้ำ   -   คอมเม้นท์)

 หลักฐานศิลปะวัตถุที่แสดงความเป็นอโยธยา  คือ

พระเจดีย์  ๘  เหลี่ยมแบบละโว้  สมัยนางจามเทวี  ที่วัดกู่กุฎ   หรือวัดจามเทวี  ลำพูน

เจดีย์  ๘  เหลี่ยม  ทรงสูงแบบอโยธยา  สุพรรณภูมิ   ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน   ฝีมือประณึตที่วัดสุวรรณาวาส   ข้างวัดราชประดิษฐาน  อยุธยา

เจดีย์วัดพระแก้วเมืองสรรค์  ชัยนาท  เป็นเจดีย์แบบอโยธยาสุพรรณภูมิ   รับอิทธิพลจากเจดีย์ทวาราวดีตอนปลาย   เจดีย์แบบนี้งแบบให้เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล   อยุธยา

เจดีย์วัดขุนเมืองใจ   สมัยทวาราวดีตอนปลาย   หรืออโยธยาตอนต้น  ใตวเกาะอยุธยา   ไม่สอปูน

เจดีย์  ๘   เหลี่ยม  มีซุ้มประดิษฐานพระยืน  ๘  ทิศ  อยู่ในกลางบึงพระราม  อยุธยา  เป็นเจดีย์สมัยอโยธยาตอนต้น  เป็นเจดีย์รุ่นเก่า   ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน

ใบเสมาสมัยอโยธยาตอนปลาย  มีลวดลายขมวดแบบธรรมชาติประดับมาเอวเสมาคอดเข้า  ทำด้วยหินทรายแดง  อยู่วัดพระจันทร์ลอย   นครหลวง  อยุธยา

เจดีย์สมัยอโยธยาสพรรณภูมิ  ที่วัดมหาธาตุ  ลพบุรี  ก่อด้วยอิฐไม่สอสปูน  เสาคู่  เป็นเสา  ๘  เหลี่ยมอย่างเก่า  ส่งอิทธพลให้แก่ศิลปะสสุโขทัย

วัดมหาธาตุลพบุรี  และเจดีย์แบบอโยธยาสุพรรณภูมิ

เจดีย์ช้างล้อม  วัดมเหยงคณ์  อยุธยา  สมัยอโยธยาตอนปลาย

ลายปูนปั้นรูปพระยืน  ๗  องค์เป็นแถว  ที่เจดีย์อโยธยาสุพรรณภูมิ  ก่ออิฐไม่สอปูน  เป็นศิลปะอโยธยาตอนกลาง  อยู่ที่วัดมหาธาตุ  ลพบุร

ลายปูนปั้นผนังด้านหน้าพระอุโบสถวัดไลย์   จังหวัดลพบุรี  ศิลปะสมัยลพบุรี  ฆรืออโยธยาสุพรรณภูมิ  สมัยกลาง  พระอุโบสถเป็นแบบอู่ทอง

เจดีย์แบบลังกา  สมัยอโยธยาตอนปลาย  เป็นแบบลังกาแท้   ตัวระฆังเตี้ยจรดดิน  ที่วัดพลับพลาไชย   อยู่ข้างวัดราชบูรณ  ในอยุธยา

ใบเสมาสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ  ทำด้วยหินทรายสีขาว  วัดบางลี่เจริญธรรม  ราชบุรี   เป็นแบบสมัยอโวยธยาตอนปลาย  ใบเสมาทรงสูง  มีลวดลายตกแต่ง  ละเอียดและสวยงามมากใบเสมาสมัยลพบุรีตอนปลาย  หรืออโยธยาสมัยกลาง   ลักษณะป้อม ๆ  ทำด้วยหินทรายสีแดง  อยู่ที่วัดถ้ำเขางู   ราชบุรี

ใบเสมาอโยธยาตอนปลาย  วัดบางลี่เจริญธรรม   ราชบุรี  ทำด้วยหินทรายสีขาว   เป็นแบบอันงดงามที่สุดของใบเสมารุ่นนี้

หลักฐานต่าง ๆเหล่านี้   แสดงถึงความมีความ  เป็นอโยธยา  ที่เป็นรุ่นพี่  รุ่นพ่อของอยุธยา

ศิลปะวัตถุ  อันอ้างอิงว่าสถาปนาในสมัยอโยธยา   คือ  วัดธรรมิกราช  วัดโปรดสัตว    วัดกุฎีดาว  วัดมเหยงคณ์   แต่วละแห่งล้วนใหญ่โตมโหฬารยิ่งนัก   ยังไม่มีวัดแห่งใดในสมัยอยุธยาสมัยต่อมา  จะใหญ่เท่าเทียม   ทั้งเทคโนโลยีการก่อสร้าง   ความประณีตในการประกอบศิลปะ  ก็อยู่ในขั้นรุ่งเรืองอย่างสุดขีด

อโยธยา   ได้สถาปนาเมืองละโว้เป็นเมืองลูกหลวง   ก่อนที่จะเป็นเมืองลูกหลวงพระเจ้าจันทโชติเคยเสด็จขึ้นไปครองเองละโว้เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๓๘๖   ต่อมาพระราชโอรของพระองค์คือพระนารายณ์ได้ขึ้นไปสร้างพระปรางค์เมืองละโว้   เมื่อได้ตรวจเทคิคการก่อสร้างด้วยเทคิ่คโบราณแบบก่ออิฐไม่ใช้ปูนสอ   ข้างในเป็นโพรง   พระเจดีย์ทรงสูงเป็นศิลปะแบบอู่ทองตอนปลาย  หรืออาจจะเป็นสมัยลพบุรีตอนปลายก็ได้ทั้งสองอย่าง  ด้วยสองสมัยนี้อยู่ร่วมกันย่อมส่งอิทธิพลาทางศิลปะถึงกันอย่างใกล้ชิด   ศิลปะอโยธยา  เป็นศิลปะอันปูรากฐานใหส้แก่ศิลปะอยุธยาโดยตรง   และอโยธยาเองนั้นก็รับวัฒนธรรมสืบช่วงมาจากทวาราวดีอีกต่อหนึ่ง

วัดต่างๆ   อันสถาปนาขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น   วางระเบียบหันหน้าสู่ทิศตะวันออก  เช่น  วัดมหาธาตุ  วัดราชบูรณะ   วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดพระราม   และวัดพุทไธสวรรค์   แต่ว่าวัดเก่าแก่บนตัวเกาะอยุธยา   ซึ่งเป็นวัดที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา  มิได้ถือระเบียบว่าวัดจะต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  เช่น 

วัดธรรมิกราช   พระวิหารใหญ่เดิมหันหน้าไปทางทิศตะวันตก   สู่ลำน้าเจ้าพระยา  

วัดโลกยสุธา   พระวิหารใหญ่ตั้งขวางตัวเกาะอยุธยา   เป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยอโยธยาตอนปลาย  

วัดราชประดิษฐาน  พระอุโบสถหันออกสู่ทิศเหนือ  คือสายน้ำลพบุรีเดิม    

วัดหน้าพระเมรุ  หันหน้าออกสู่สายน้ำลพบุรีทางด้านทิศใต้

และวัดใหญ่ ๆในสมัยอยุธยาตอนต้น   ล้วนนิยมสร้างพระปรางค์เป็นหลักของวัด   แต่วัดเก่าสมัยอโยธยามักทำเป็นเจดีย์กลมแบบลังกา  มีสิงห์ล้อม  เช่นที่อยู่นอกตัวเกาะอยุธยา    มี   วัดโคกช้าง   วัดหน้าพระเมรุ  วัดจงกลม  วัดกะซ้าย   และวัดอโยธยา  เป็นต้น

ในจารึกศิลาเข้ากบ   เมืองพระบาง  (นครสวรรค์)  จารึกว่า

"สีหลที่ปรอดพระพุทธศรีอารยไมตรี   เฝ้าบุรีราชบรมอโยทยา  ศรีรามเทพนคร       พิสรอรพิรุณาศ   ตรงป่าตาลพระ"

เดิมเมืองนี้มีชื่อว่าเมืองราม   ดังปรากฎในหนังสือชินการมาลีปกรณ์ว่า

"พระนางจัมมเทวี  เป็นอัครมเหสีของเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ"

นายศรีศักดิ์  วัลลิโภดม   กล่าวว่า.....

ตำนานมูลศาสนา   เป็นตำนานที่มีความเชื่อถือได้มากกว่าตำนานอื่น  เพราะมีข้อความตอนที่กล่าวถึงพระสุมณะเถระ   เดินทางจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปสั่งสอนพุทธศาสนาในลานนาไทย   ตรงกันกับข้อความในจารึกหลักที่  ๖๒   ศิลาจารึกวัดพระยืนเมืองลำพูน  

ในตอนต้นของตำนานกล่าวถึงเรื่องกาลของอาณาจักหริภุญไชย   มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า   เมื่อพระฤาษีวาสุเทพสร้างนคาลำพูน  หรือหริภุญไชยเสร็จแล้ว   ก็ส่งทูตไปเชิญพระนางจามเทวี   ซึ่งเป็นพระธิดาพระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองกรุงละโว้มาเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย    พระนามจามเทวีทรงมีพระสวามีอยู่แล้ว   พระบิดาทรงตั้งให้เป็นพระมหาอุปราชครองอยู่เมืองราม   เมืองรามในที่นี้ฟ้องกันกับนครราม   หรืออโยธา  ตามที่ปรากฎในศิลาจารึก   เหตุการณ์ในสมัยพระนางจามเทวีตามตำนานนั้น   เป็นสมัยพุทธศตวรรษที่ท ๑๓   ในระยะนี้  เมืองรามคือ   อโยธยา   มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงละโว้   หรือลพบุรี  "

พ.ศ.  ๑๖๒๔   พระนารายณ์เสด็จจากเมืองละโว้ลงไปครองเมืองวัดเดิม    เรียกนามเมืองใหม่ว่า   เมืองอโยธยา

ในแว่นแคว้นละโว้    เดิมมีท่าเรือค้าขายอยู่ที่เมืองอโยธยา  ฝั่งลำน้ำแม่สัก   แล้วจึงเลื่อนออกมาตั้งที่เมืองเสนาราชนคร   ที่ปากแม่น้ำแม่เบี้ยใต้วัดพะแนงเชิง   เมื่อภายหลัง      พ.ศ.  ๑๘๒๖   นั้น  แว่นแคว้นละโว้ได้เข้ารวมอยู่ในราชอาณาจักรสุโขทัย  รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์  ในสมัยอโยธยา 

เริ่มตั้งแต่  จุลศักราช    ๕๐๑   ตรงกับ  พ.ศ.  ๑๖๘๒    มีรายพระนามดังต่อไปนี้

 ๑. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์        ปฐมกษัตริย์  

 ๒. พระเจ้าอินทราชา         โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์

 ๓. พระเจ้าจันทราชา          โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์

 ๔. พระร่วง                         โอรสพระจันทราชา  

 ๕. พระเจ้าลือ           อนุชาพระเจ้าร่วง

 ๖. พระมหาพุทธสาคร  เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น

 ๗. พระยาโคตรบอง     โอรสพระมหาพุทธสาคร

 ๘. พระยาแกรก            พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่

 ๙. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง         พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่

๑๐.พระยาธรรมิกราช      โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง  

(ประวัติขาดช่วงไป  ๒๐๐  กว่าปี)

๑๑.พระเจ้าพิไชยราช

๑๒.พระพิษณุราช

๑๓.พระศรีแสน      โอรสพระพิษณุราชา

๑๔.พระชัยนาท      พระอนุชาพระศรีแสน

๑๕.พระสุรินทรราชา

๑๖.พระอนุชราชา    พระอนุชาพระสุรินทราชา

๑๗.พระอินทราชา   โอรสพระอนุชราชา

*****เหตุการณ์สำคัญ  ในสมัยอโยธยา   มีดังต่อไปนี้

พ.ศ.   ๑๔๐๑          

สร้างวัดกุฎีทอง    โดยพระเจ้าจันทโชติ  พระมเหสีสร้างวัดคงคาวิหาร

พ.ศ.   ๑๔๒๓  

เกิดสงครามระหว่างอโยธยา  ในแผ่นดินพระนารยณ์แห่งอโยธยา   กับพระนเรศวรแห่งสุธรรมนคร     เป็นสงครามธรรมยุทธ  สร้างเจดีย์แข่งกัน    อโยธยาสร้างเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล   มอญร้างเจดีย์ภูเขาทอง

พ.ศ.   ๑๔๓๕  

สร้างพระปรางค์เมืองละโว้   ขนานนามเมืองใหม่ว่าเมืองลพบุรี

พ.ศ.   ๑๔๓๕

พระนารายณ์แห่งอาณาจักรอโยธยาสวรรคต   สร้างวัดนารายณ์อิศรา  ตรงที่ดวายพระเพลิง

พ.ศ.  ๑๔๓๕  -  ๑๔๙๒  

บ้านเมืองว่างเปล่า   อำมาตย์  ๙  คน  รบฆ่าฟันชิงราชสมบัติกัน

พ.ศ.  ๑๔๙๒

พระเจ้าหลวงได้ราชสมบัติ   ถวายวังเป็นวัดเรียกวัดเดิม(วัดอโยธยา)

พ.ศ.   ๑๕๔๑

ลงไปสร้างเมืองใหม่  สร้างวัดโปรดสัตว์

พ..ศ.   ๑๕๗๖

พระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเมืองจีน

พ.ศ.   ๑๕๘๗

สถาปนาวัดพระเจ้าพระนางเชิง

พ.ศ.   ๑๖๐๐

สร้างวัดหน้าพระธาตุ  ถวายพระอาจารย์   สร้างวัดมงคลบพิตร

พ.ศ.   ๑๖๐๘

พระเจ้าสายน้ำผึ้งสวรรคต

พ.ศ.   ๑๖๑๐

สร้างวัดมุขราช  (วัดธรรมิกราช)  โดยพระยาธรรมิกราชา

พ.ศ.   ๑๖๒๔

พระนารายณ์เสด็จจาเมืองละโว้  ลงไปครองเมืองวัดเดิม  เรียกนามเมืองใหม่ว่า  อโยธยา

 ราว  พ.ศ.๑๖๓๐

พระนารายณ์ได้เสด็จจากเมืองอโยธยาขึ้นมาบรณะพระปรางค์  เมืองละโว้  แล้วพระราชทานนามเมืองละโว้เสียใหม่ว่า  เมืองลพบุรี   ในภายหลังนี้ได้ว่ากษัตริย์ลง

พ.ศ.   ๑๖๓๙

ขุดคลองตะเคียนไปออกบางยี่หน

ภายหลัง  พ.ศ.๑๖๔๙

พระเจ้าไกรสรราช   ราชโอรสเจ้าพระเจ้าพรหมมหาราช    สมเด็จพระชนกนแต่งให้ลงมาครองเมืองลพบุรี   ในคราวที่พระองค์เสด็จลงมา   สร้างเมืองพิษณุโลก  หล่อพระพุทธชินราช   พระพุทธชินสีห์  และพระศรีศาสดา

ต่อมาเมืองลพบุรี  ได้ว่างกษัตริย์ปกครองอีก   เพราะเมื่อพระเจ้าไกรสรราชสวรรคตแล้ว   พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช  (พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ) พระราชโอรส  ก็คงเสวยราชย์อยู่เสียที่เมืองเสนาราชนคร   หาได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองลพบุรีไม่   ท้องที่เมืองลพบุรีจึงรวมเข้ากับเมืองแพรกศรีราชา

ระยะเวลาต่อไปนี้   ๒๑๑  ปี  พงศาวดารอโยธาขาดหายไป

พ.ศ.   ๑๘๕๒

สร้างวัดกุฎีดาว   และวัดมเหยงคณ์

พ.ศ.  ๑๘๖๗

สร้างวัดพนัญเชิง

พ.ศ.   ๑๘๙๓

สถาปนากรุงศรีอยุธยาโดยพระเจ้าอู่ทอง

(พงศาวดารชาติไทย  เล่ม ๑  ฉบับของโรงพิมพ์ประจักษ์วิทยา)

(น  ณ  ปากน้ำ     ศิลปกรรมแห่งอาณาจักร ศรีอยุธยา   ต้นอ้อ  แกรมมี่  ๒๕๔๐)

*****ดังนั้น   จะเห็นภาพธรรมดาว่า   อโยธยาก็คือบรรพบุรุษ  รุ่น  พ่อแม่  ปู่ย่า   ตายาย   ปู่ทวด  ย่าทวด   ตาทวด  ยายทวด  ของกรุงศรีอยุธยา

การที่อยุธยา   อยู่ๆก็โผล่ขึ้นมา  โดยไม่มีที่มาที่ไป   ย่อมเป็นไปไม่ได้    การเขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา   เด่นชัดในคำให้การขุนหลวงหาวัด   แต่มีอะไรที่ไม่ได้เขียนอีกมากมาย   และข้อมูลสูญหายในกองเพลิงเมื่อครั้งเสียกรุงอีกมากมาย   ทำให้เราเห็นภาพยุค อโยธยาลางเลือน

ถ้าเราเป็นคนในยุคแรกสถาปนาอยุธยา   เราจะไม่สงสัยว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นใคร  มาจากไหน   แต่เมื่อนานมาถึงตอนปลายกรุงศรีคนคงจะลืมหมดแล้ว   จะเรียนรู้ก็เฉพาะในราชสำนัก  ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองบ้านเมืองเท่านั้น     และเมื่อมาถึงยุคเรานี้   พ.ศ.นี้   ก็เป็นอันว่า   อดีตของเราลางเลือนเต็มที

***พงศาวดารเหนือ  เรียกชื่อกษัตริย์ไม่เหมือนกับในพงศาวดารชาติไทย  เล่ม  ๑

ผมสนใจที่จะรู้อดีต   จึงนำมาฝากไว้เพื่อท่านที่สนใจอ่านเล่น  ครับผม

(ปติ  ตันขุนทด        คอมเม้น)

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-26 12:28:30 IP : 113.53.199.2


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2977640)
avatar
อรจิรา

ขอบคุนมากค่ะ สำหรับเนื้อหาเรื่องอโยธนา อยากให้คุรช่วยเรื่องประเพณีอะค่ะ ในสมัยนั้นมีอะไรบ้าง ฝากหน่อยน่ะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อรจิรา วันที่ตอบ 2010-11-13 07:22:13 IP : 183.88.114.108


ความคิดเห็นที่ 2 (2977641)
avatar
สุวิมล

ขอบคุณมากน่ะค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิมล (kkcom-dot-12-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-13 13:00:54 IP : 124.120.211.20


ความคิดเห็นที่ 3 (2977733)
avatar
K-T

เหตุใดอโยธยาจึงรุ้มเรืองอย่างรวดเร็วๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น K-T (aomlove_2552-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-12 12:28:35 IP : 223.205.30.147


ความคิดเห็นที่ 4 (2977817)
avatar
pooh

 ขอบคุณมากคะ่ที่ให้ความรู้

ผู้แสดงความคิดเห็น pooh วันที่ตอบ 2011-02-02 06:56:08 IP : 110.49.193.91


ความคิดเห็นที่ 5 (2977900)
avatar
คนศรีวิชัย

 

ผมชอบประวัติศาสตร์ มากๆ ขอบคุณมากๆๆ ที่ให้ความรู้ใหม่ ๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนศรีวิชัย (B-dot-thanongkait-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-19 13:22:00 IP : 58.8.143.0


ความคิดเห็นที่ 6 (2979726)
avatar
วรารัตน์

ขอบคุณค่าาาาาาาาาาา

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วรารัตน์ วันที่ตอบ 2011-12-05 20:36:07 IP : 180.210.216.74


ความคิดเห็นที่ 7 (2980728)
avatar
ณัฐญาณินท์

 ขอบคุณเช่นกันค่ะ ที่ให้คำตอบ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐญาณินท์ วันที่ตอบ 2015-01-21 20:25:11 IP : 101.51.254.163



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.