เรื่อง Battle of the River Plate วีรกรรมน่าชื่นชมความเป็นลูกผู้ชาย
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์


 

หนังเรื่อง Battle of the River Plate เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรือรบอังกฤษ3ลำ 1อาแจ็ส2อาคีลิส(2ลำเเรกเป็นเรือลาตะเวนเล็ก)3เอกซีเตอร์(เรือลาตตะเวนใหญ่)เข้าประจัญบาญกับเรือพิฆาตกราฟ เป แต่เอกซีเตอร์เละไม่เป็นท่าเลย แล้วกราฟ เป หนีไปได้ก็ขอความช่วยเหลือกับอูรุกวัย(เป็นกลาง)แต่ปัญหามากดดัน สุดท้ายเรือพิฆาตกราฟ เป ก็ระเบิดตัวเองครับ [ส่วนลูกเรือเยอรมันถูกอูรุกวัยกักกันไว้ แต่กัปตันแลงดอฟก็ยิงตัวตาย(ไม่มีในหนังครับ)]หน้าปกหนังเรื่องนี้                                                            

วาระสูดท้ายของกราฟ เป                          



ผู้ตั้งกระทู้ นายพล ไอเซนฮาวน์ กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-26 20:55:58 IP : 210.203.186.193


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2975075)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

อ่อ ขอเสริมนิดนึงกัปตันแลงดอฟมีน้ำใจงาม จนกัปตันโดฟ (เป็นเชลยในเรือกราฟ เป) ชื่นชมความเป็นลูกผู้ชายของกัปตันแลงดอฟ

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-26 21:07:09 IP : 210.203.186.193


ความคิดเห็นที่ 2 (2975076)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

อ่อ ขอเสริมนิดนึง อันลูกเรือเยอรมันที่ถูกอูรุกวัยกักกันไว้ ถูกปล่อยหลังสงครามจบ บางคนหนีไประหว่างสงคราม ส่วนเชลยอังกฤษในเรือกราฟ เป ทางอูรุกวัยปล่อยตัวไปเพราะสนธิสัญญาเจนีวาช่วยไว้

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-26 21:14:24 IP : 210.203.186.193


ความคิดเห็นที่ 3 (2975077)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

หลังสงคราม อาคีลีสของนิวซีแลนด์ขายให้อินเดีย ส่วนอาแจ็ซขายให้ใครไม่ทราบ แต่เอ็กซีเตอร์เรือดำน้ำของยุ่นจมในแปซิฟิกคัรบตอนปี1942ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-26 21:34:25 IP : 210.203.186.193


ความคิดเห็นที่ 4 (2975078)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

 

ผมจะนำรายระเอียดของศึกBattle of the River Plate มาลงในอีกไม่นานครับ

แผนที่การสู้รบในRiver Plate

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-27 18:02:32 IP : 210.203.186.37


ความคิดเห็นที่ 5 (2975079)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

สามสหาย (เรียงหน้าไปหลัง) 1.เอ็กซีเตอร์ 2.อาแจ็ซ 3.อาคีลิส

กัปตันเบลล์(กางเกงขาว)ของเรือเอ็กซีเตอร์ขณะถูกโจมตี

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-27 18:17:33 IP : 210.203.186.37


ความคิดเห็นที่ 6 (2975080)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

 รูปข้างบนนั่นในหนังนะครับ               และนี่รูป กัปตัน แลงดอฟ(ตัวจริง)

เพียงสามวันหลังจากที่เรือได้สิ้นสภาพลง..ผู้การเรือ นายพล Langsdorff ได้ปลิดชีวิตตัวเองด้วยกระสุนปืน ในชุดเครื่องแบบเต็มยศ และ ได้สิ้นลมลงบนธงชาติของเยอรมันที่ตัวเองปูรอเอาไว้(เขาตั้งใจใช้ธงไกเซอร์แบบเก่าที่ไม่มีเครื่องหมายสวัสดิกะ) อันเป็นการเลือกทางออกแบบชายชาตินาวี  ที่ถือว่า สิ้นเรือก็สมควรสิ้นลม การเสียชีวิตของนายพล Langsdorff ครั้งนี้ ต่างได้รับการสดุดีในความกล้าหาญจากทหารเรือทุกฝ่ายแม้กระทั่ง ฝ่ายตรงข้าม พิธีศพได้จัดทำอย่างสมเกียรติ  เพราะการสู้รบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการสู้รบกันอย่างชายชาติทหารที่มีการเคารพในกฎเกณฑ์และเต็มไปด้วยจริยธรรม
อันสมควรแก่การจารึกไว้ในประวัติศาสตร์..
(อ่อ)ลืมบอกอีกอย่าง เรือกราฟ เป จมเมื่อ17 ธันวาคม 1939       เวลา17.30น.

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-27 18:35:23 IP : 210.203.186.37


ความคิดเห็นที่ 7 (2975081)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

ตามที่สัญญาครับ

เรือรบหลวงจาไมก้า"ติ๊งต่าง"เป็นเอ็กซีเตอร์ ในหนัง

 

 

 

 

 


    แต่กระนั้น ท่านนายพลกราฟสปรีก็ยังเดินหน้าปฏิบัติตามคำสั่ง นั่นคือการไล่ล่าเรือสินค้าของชาติพันธมิตรเพียงลำพัง โดยจมเรือสินค้ามาได้ถึง ๙ ลำโดยที่ไม่มีใครเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานครั้งนี้เลยแม้แต่คนของเรือทั้ง ๙ ลำที่ถูกจมก็ตาม แปลกนะ.


    แต่อย่างว่าครับ อังกฤษขึ้นชื่อลือชาในด้านกองทัพเรือมาตั้งแต่ควีนเอลิซาเบธแล้ว ประกอบกับการมีชาติในเครือจักรภพคือออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นเอก ทำให้อังกฤษได้สั่งสอนเยอรมันให้รู้ซะบ้างว่า น้ำเป็นของตูเฟ้ย

    เครดิตอันนี้ก็ต้องยกให้ Commandore Harwood ผู้บังคับหน่วย Force G ที่เป็นคนเดาเส้นทางของท่านนายพลกราฟสปรีออกว่าจะไปไหนหลังจากจมเหยื่อลำที่ ๙ สำเร็จ เพราะตอนนั้นทั่นฮาร์วูดกำลังเดาใจกัปตันลองสดอร์ฟอยู่ว่า......

    ๑. กัปตันลองสดอร์ฟจะเอาท่านนายพลกราฟสปรีล่องเหนือ กลับบ้านที่เยอรมัน
    ๒. เอ๊ะ เดี๋ยวๆๆๆ ถ้าเกิดอีตาลองสดอร์ฟยังมันส์มือ มาไล่จมเรือสินค้าเรา แล้วมันจะไปไหนกันฝ่า
    ๓. ถ้าลองส์ดอร์ฟบุกต่อ จาไปแถวไหนกันน้ออออ จะไปรอล่อเรือสินค้าเราที่ท่าเรือที่ริโอ เดอจาเนโร หรือว่าที่ริเวอร์เพลต แถวๆอาร์เจนติน่ากะอุรุกวัย
    ๔. ตูว่าริเวอร์เพลตนี่แหละฟะ ทีมฟุตบอลเจ๋งดี


    ปรากฏว่ากัปตันฮาร์วูดของเราเดาถูกเผงๆครับ และในวันที่ 13 ธันวาคม 1939 นี่แหละครับ ที่เป็นวันเกิดของยุทธนาวีริเวอร์เพลต ได้เปิดฉากการรบทางทะเลแบบเป็นการเป็นงานเต็มรูปแบบของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระหว่างกองทัพเรือในเครือจักรภพอังกฤษกับเรือลำเดียวของเยอรมัน

    ผมเห็นว่านี่เป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของลองสดอร์ฟ ที่ประเมินในเรือรบของตนเองสูงไปหน่อย ด้วยว่ามั่นใจในเกราะของเรือที่หนาเป็นพิเศษ ประกอบกับพิสัยการยิงปืนใหญ่ขนาด 11 นิ้วทั้ง 6 กระบอกของตนเอง

    ทางฝ่ายกองทัพเรืออังกฤษโดยเรือ Exeter, Ajax กับ Achilles (อ่านว่า อาคิลิส ฮับ ชื่อนี้สำคัญนะครับ เพราะว่าเป็นชื่อที่เอามาจากพระเอกของมหากาพย์อิเลียด เจอบ่อยๆแน่คับ ส่วนอาแจ๊กซ์อาจจะดังกว่าเพราะมีทีมบอลยืมชื่อไปตั้ง แต่ก็แค่กุลีแบกศพเองอ่ะ) ทำการ”รุมยำ” ท่านายพลของเราครับ แต่กระนั้นด้วยฝีมือการสั่งการของลองสดอร์ฟ หรือฝีมือการออกแบบของวิศกรเยอรมันที่ออกแบบเรือกราฟสปรีก็ไม่ทราบ การต่อสู้ครั้งนี้ ผลจึงออกมาแบบ กินกันไม่ลง นั่นก็คือ

    ในส่วนของเรือฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น เรือ HMS Eeter เสียหายยับจากการต่อสู้ในยุทธนาวีครั้งนี้ นั่นคือ เหลือเพียงแค่ป้อมปืนใหญ่อันเดียวเท่านั่นที่ยังทำงานได้ แถมเสียชีวิตลูกเรือไป โดยเฉพาะหน่วยตอร์ปีโดของตัวเองและเรืออาแจ๊กซ์นั้น ป้อมปืน ๒ แห่งถูกทำลายใช้งานไม่ได้ มีแต่เรืออาคิลิสเท่านั้น ที่ปรากฏว่าไม่เสียหายอะไรเลย ( สงสัยแลงสดอร์ฟต้องเอาธนูพิษไปยิงใส่ที่ส้นเท้าเรือมั้งคับ หุๆๆ )

    แม้ตัวนายพลกราฟสปรีจะโดนซัลโวซะจนมีรูโบ๋เต็มลำเรือ โดยเฉพาะหอบังคับการพังยับ ก็ยังอยู่ในสภาพที่พอ แล่นเรือต่อได้ แต่ตัวกัปตันลองสดอร์ฟก็รู้แล้วว่า หมดหวังกับชัยชนะครั้งนี้ เพราะสภาพเรือก็เรียกว่าอยู่ในสภาพร่อแร่เต็มทนแม้จะยัง อยู่ในสภาพที่พอต่อสู้ได้ แต่ก็ไม่สามารถจะแล่นเรือในสภาพอากาศที่มีคลื่นแรงได้ โดยเฉพาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือซึ่งเป็นเส้นทางกลับบ้านตนเอง จึงต้องหาทางบ่ายหน้าเข้าสู่ท่าเรือของประเทศอุรุกวัย ซึ่งเป็นประเทศที่วางตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายในในสงครามครั้งนั้น เพื่อหาทางซ่อมแซมนายพลกราฟสปรี

    ซึ่งตลอดทางที่ลองสดอร์ฟบังคับเรือกราฟสปรีหนีการต่อสู้นั้น กัปตันฮาร์วูดก็สั่งเรืออาร์คิลิสกับอาแจ๊กซ์คู่สหายไล่ติดตามท่านนายพลกราฟสปรีตลอดทาง แต่ด้วยอำนาจการยิงของเรือกราฟสปรีที่เหนือกว่า ที่คอยยิงขู่เรือทั้งสองเมื่ออยู่ใกล้ระยะเกิน ทำให้เรือทั้งสองไม่สามารถเข้าใกล้ได้

    การไล่จับครั้งนี้มีตลอดจนกระทั่งเรือกราฟสปรีเทียบท่าที่ Montevedio ของอุรุกวัย กัปตันลองส์ดอร์ฟได้สั่งให้เรือทอดสมอ และยุทธนาวี River plate ครั้งนี้จึงสิ้นสุดลงครับ    กัปตันแลงสดอร์ฟเมื่อจอดเทียบท่าที่ประเทศอุรุกวัยเรียบร้อยแล้ว  ปัญหาใหญ่ที่ตัวกัปตันแลงสดอร์ฟต้องเผชิญก็คือเรือกราฟสปรีต้องการเวลาที่ใช้ในการซ่อมแซม ๑๕ วัน   แต่ตามข้อตกลง Hague Convention ซึ่งได้กำหนดไว้ว่าเรือพิฆาตสามารถที่จะจอดเทียบท่าเรือในประเทศที่ดำรงตนเป็นกลางได้ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น  แน่นอนว่าหากัปตันแลงสดอร์ฟยอมทำตามข้อตกลง   ก็ต้องออกไปเผชิญกับกองทัพเรือของกัปตันฮาร์วูดที่เรียกเรือ HMS Cumberland ที่จอดเทียบท่าอยู่ที่เกาะฟอล์กแลนด์มาเสริมกำลัง เท่านั้นไม่พอ ยังสร้างข่าวลือว่าเรือ HMS Renown กับเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Ark Royal  ได้มาจอดรออยู่หน้าปากอ่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอันที่จริงเรือทั้งสองลำอยู่ห่างไปตั้งพันไมล์ครับ

    ซึ่งทางออกตรงนี้ ทางฝ่ายเบอร์ลินและกัปตันแลงสดอร์ฟก็ได้ขออุทธรณ์ไปยังรัฐบาลอุรุกวัยว่าเรือกราฟสปรีนั้น ไม่ได้อยู่ในสภาพ “เดินทะเล( Seaworthy )” จึงขอยกเว้นให้เทียบท่าเป็นเวลา ๑๕ วันเพื่อทำการซ่อมแซม

    คราวนี้ครับ  ทั้งทางฝ่ายอังกฤษและทางฝ่ายเยอรมัน ต่างเล่นบททนายความ มาตีความว่านายพลกราฟสปรีของเราอยู่ในสภาพที่จะ “เดินทะเล” ได้หรือไม่

    ซึ่งทางฝ่ายกงสุลอังกฤษประจำอุรุกวัย นาย Eugene  Millington-Drake นั้นก็ออกมาเถียงว่าเรือกราฟสปรีหนีเรืออังกฤษมาตั้งสามร้อยไมล์  แล้วจะมาอ้างบอกว่าเดินทะเลไม่ได้เนี่ย มันซุงแหลกันชัดๆ   และในที่สุดแล้วทางรัฐบาลอุรุกวัยก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพเรือกราฟสปรี แล้วออกมาประกาศว่า ให้จอดได้เพียงแค่ ๗๒ ชั่วโมงขาดตัว หรือไม่ก็ให้ทางรัฐบาลอุรุกวัยยึดเรือกราฟสปรีเอาไว้ในฐานะเชลยสงครม

    และตอนนี้ทางกัปตันแลงสดอร์ฟมีตัวเลือกอยู่ ๒ ทางนั่นคือ จะจมเรือกราฟสปรีเอง หรือว่าให้ทางรัฐบาลอุรุกวัยยึดเรือไป    ส่วนการบ่ายหน้าออกมหาสมุทรแอตแลนติกนั้น   แทบเป็นไปไม่ได้เพราะเท่ากับเอาเรือทั้งลำพร้อมด้วยลูกเรือไปตายด้วยน้ำมือเรือรบอังกฤษเปล่าๆ

    ท้ายที่สุดกัปตันแลงสดอร์ฟตัดสินใจติดต่อกลับไปยังเบอร์ลิน  ซึ่งทางฮิตเลอร์ก็ให้คำตอบมาว่า  จมเรือกราฟสปรีสถานเดียว

    และในวันที่ ๑๗ ธันวาคม เรือกราฟสปรีก็จมลงต่อหน้ากะลาสีเรือทั้ง ๗๐๐ คนครับ  

    ลูกเรือกราฟสปรีทั้ง ๗๐๐ ชีวิตก็ได้ถูกส่งตัวไปยังกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนติน่าในฐานะเชลยสงครามของอังกฤษ จนกระทั่งหลังสงครามเลิกในปี ๑๙๔๖ จึงได้อนุญาตให้กลับสู่มาตุภูมิ  ส่วนกะลาสีเรือระดับนายทหารส่วนใหญ่นั้นต่อมาไม่นานก็ได้ทำการหลบหนีกลับสู่เยอรมันกลับไปสู้รบสงครามต่อไป

    สุดท้าย ในส่วนกัปตันแลงสดอร์ฟ  อย่างที่คุณวิวันดาว่าเอาไว้ครับ  สุภาพบุรุษนักรบผู้นี้ได้เลือกทางตาย   ภาษิตฝรั่งได้บอกไว้ว่าชัยชนะนั้นมีร้อยพ่อพันแม่ แต่ความพ่ายแพ้นั้นคือกำพร้า  แต่สำหรับชายชาติทหารอย่างกัปตันแลงสดอร์ฟได้ยืดอกรับความสูญเสียนี้ไว้แต่เพียงผู้เดียว  ซึ่งท่านกัปตันผู้นี้ได้ก่อนตายได้เขียนจดหมายลาไว้ว่า..

    “เมื่อถึงตอนนี้ ข้าพเจ้าสามารถพิสูจน์ตนเองได้ด้วยความตาย ที่ข้าพเจ้าพร้อมเสมอที่จะสละชีพภายใต้ผืนธงแห่งอาณาจักรไรค์ที่ ๓ ข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียวที่จะแบกรับความรับผิดชอบต่อความหายนะแหงเรือพิฆาต Graff Spree ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะใช้ชีวิตของข้าพเจ้าปกป้องเกียรติภูมิของผืนธงแห่งอาณาจักรข้าพเจ้า”

    ตายอย่างสุภาพบุรุษนักรบ   กัปตันแลงสดอร์ฟได้เลือกที่จะจบชีวิตตนเองด้วยคมกระสูนปืนเช่นชายชาติทหารในเครื่องแบบเต็มยศ    และร่างไร้วิญญาณของกัปตันแลงสดอร์ฟก็ได้ถูกจัดพิธีศพอย่างสมเกียรติ โดยมีเหล่าประดากะลาสีเรืออังกฤษหกสิบสองคนที่ถูกแลงสดอร์ฟจับเป็นเชลยศึกระหว่างยุทธนาวีนั้น  ได้เข้าร่วมพิธีศพครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง    

    และกัปตันแลงสดอร์ฟก็ได้หลับใหลตลอดกาลภายใต้ธงแห่งกองทัพเรือเยอรมัน   ที่กรุงบัวโนส ไอเรสนั่นเอง


    ในส่วนผู้ชนะศึกกัปตันฮาร์วูดนั้นก็ได้รับบรรดาศักดิ์อัศวิน และเลื่อนตำแหน่งเป็น Rear Admiral จากชัยชนะครั้งนี้


    ปล. การปฏิบัติของกัปตันแลนสดอร์ฟที่มีต่อเชลยสงครามอย่างให้เกียรตินั้น  ตามธรรมเนียมฝรั่งเขาถือว่าเป็นการกระทำที่ "จิตใจอัศวิน (Chivalry)" อย่างยิ่ง

    อันที่จริงเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติสากลต่อเชลยสงครามอย่างให้เกียรติในปัจจุบันนั้น  มีต้นกำเนิดมาจากธรรมเนียมปฏิบัติของเหล่าอัศวินในยุคกลาง   ซึ่งในตอนนั้นตามธรรมเนียมของการต่อสู้สงครามระหว่างอัศวินนั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยงพล้ำ  อัศวินผู้ชนะ(ที่ดี)จะไม่ฆ่าให้ตาย   มีการละเว้นชีวิตและปฏิบัติต่อผู้แพ้เสมือนสหาย  และจับคุมตัวไว้เป็นนักโทษเรียกเอาเงินประกันตัวจากทางครอบครัวของอัศวินนั่นเอง   ตลอดจนอัศวินในตอนนั้นก็ถูกสั่งสอนให้มีความเชื่อด้วยว่าอัศวินจะต้องปกป้องคนอ่อนแอ นั่นคือ ผู้หญิง เด็ก และคนชรา ครับ

    ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัตินี้ก็พัฒนามาเรื่อยๆครับ  จนมาเป็นธรรมเนียมสากลในการปฎิบัติกับฝ่ายตรงข้ามอย่างให้เกียรติในปัจจุบัน   หรือในวงการกีฬาที่เค้าเรียกกันว่า น้ำใจนักกีฬา ครับ   ธรรมเนียมปฏิบัติเหล่านี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก จิตใจอัศวิน ในยุคกลางขอรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-27 19:07:16 IP : 210.203.186.37


ความคิดเห็นที่ 8 (2975082)
avatar
นายพล ไอเซนฮาวน์

ขอโทษครับ เมื่อกี้ รูปไม่ออก

เรือรบหลวงจาไมก้า"ติ๊งต่าง"เป็นเอ็กซีเตอร์ ในหนัง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นายพล ไอเซนฮาวน์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-03-27 19:17:42 IP : 210.203.186.37



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.