***กรุงศรีอยุธยากับต่างชาติ***
avatar
ปติ ตันขุนทด


***กรุงศรีอยุธยากับต่างชาติ***

เดิมการไปมาค้าขาย   ในระหว่างนานาประเทศที่อยู่ในยุโรป    กับประเทศทั้งหลายทางตะวันออกนี้    ต้องเดินทางบก   พวกกฝรั่งโปรตุเกส   พยายามหาทางแล่นเรีอกำปั่น   อ้อมทวีปอฟริกา    มาถึงอินเดียได้ก่อนชาติอื่น   พมื่อ  พ.ศ.  ๒๐๔๑   ในสมัยนั้น   พวกชาวประเทศทงตะวันออกยังไม่สันทัดใช้ปืนไฟเหมือนฝรั่ง   พวกโปรตุเกสก็อาศัยใช้อาวุธปืนไฟเป็นกำลัง   เที่ยวปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ชายทะเล   ได้เมื่องขึ้นแต่อินเดียเป็นระยะมถึงเมืองมะละกา ในแหลมมลายู   และตลอดไปจนเหล่าเกาะชะวา  และมืองมาเก๊าแดนจีนเป็นที่สุด     แต่พวกโปรตุเกสหมเบียดเบียนได้ถึงเมืองไทยไม่    เป็นแต่ให้มาทำทางพระราชไมตรี   ในครั้งรัชกาลสมเด็จพระรมธิบดีที่   ๒    ณกรุงศรีอยุธยา   เมื่อ  พ.ศ.  ๒๐๖๐      แต่นนั้นมาก็มีพวกปอร์ตุเกสตั้งค้าขายอยู่ในเมืองไทย   (สืบเชื้อสายมาจนถึงพวกที่เข้ามาอยู่ที่ตำบลกุฎีจีนมาในบัดนี้ )   

เมื่อพวกปอร์ตุเกสเข้ามาตั้งค้าขายอยู่ไม่ช้านัก    มาอาสาเป็นทหารเข้ากองทัพหลวงสมเด็จพระไชยราชาธิราช   ไปรบพม่ามี่เมืองเชียงตราน   มีบำเหน็จความชอบ     สมเด็จพระไขยราชาราช   จึงพระราชทานที่ตำบลบ้านดิน    ที่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันตกเหนือปากตะเคียน   ให้พวกปอร์ตุเกสตั้งบ้านเรือนเป็นภูมิลำเนา     และพระราชทานอนุญาตให้สร้างวัดศาสนาคริสตังในที่นั้น   จึงมีตำบลบ้านฝรั่งปอร์ตุเกสที่กรุงศรีอยุธยาแต่นั้นมา

พวกปอร์ตุเกสใช้เรือไปมาค้าขาย   ถึงประเทศทางตะวันออก    ได้กำไรร่ำรวยอยู่แต่ชาติเดียวเกือบ  ๑๐๐  ปี   จนราว  พ.ศ.๒๑๓๙    พวกฮอลันดากับพวกอังกฤษ   สืบรู้หนทางที่พวกปอร์ตุเกสเดินเรือ   จึงพยายามแล่นเรืออ้อมทวีปอาฟริกาออกมาถึงประเทศตะวันออกได้บ้าง   พวกฮอลันดามาถึงเมืองไทย   ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พมื่อ  พ.ศ.  ๒๑๔๑   พวกอังกฤษมาถึงเมืองไทย  ในต้นรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ  เมื่อ  พ.ศ.๒๑๕๕  ต่างเชิญพระราชสาส์นขอเป็นทางพระราชไมตรีมาจากเจ้านายของตน  เพื่อจะได้ไปมาค้าขายทางเมืองไทย     ก็โปรดฯพระราชทานอนุญาตให้ไปมาค้าขาย  ได้เหมือนพวกปอร์ตุเกตได้

แต่พวกปอร์ตุเกต  เป็นอริกับพวกฮอลันดา  และอังกฤษที่ยุโรป     สาเหตุเกิดแต่ถือลัทธิศาสนาคริสตังต่างกัน  พวกปอร์ตุเกตถือลัทธิโรมันคาธอลิค   ซึ่งยอมอยู่ในโอวาทของโป๊ป  ณ  กรุงโรม   ฝ่ายพวกฮอลันดา  และอังกฤษนั้น   ถือลัทธิโปรเตสแตนต์  ของพวกที่เอาใจออกห่างจากโป๊ปไป   ตั้งเป็นลัทธิใหม่   เลยวิวาทถึงรบพุ่งกัน   เมื่อฮอลันดากับพวกอังกฤษออกมาได้ถึงประเทศทางตะวันออก  ก็มาร่วมมือกันรุกรานแย่งชิงบ้านเมือง  และสมบัติที่ปอร์ตุเกตมาได้ไว้ทางตะวันออกนี้   พวกปอร์ตุเกตก็อ่อนกำลัลงเป็นอันดับมา  อังกฤษตั้งหน้าหาอำนาจทางอินเดีย   ส่วนฮอลันดามาตั้งหน้าหาอำนาจทางเหล่าเกาะชะวา    เกาะชะวาอยู่ใกล้เมืองไทยกว่าอินเดีย   จึงมีพวกฮอลันดาเข้ามาตั้งค้าขายอยู่  ณ  กรุงศรีอยุธยาก่อพวกอังกฤษ  พวกฮอลันดามาทำความชอบในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ   ด้วยอาสาสงครามเป็นต้น ก็ได้พระราชทานที่ให้ตั้งภูมิลำเนาทางริมฝั่งแม่น้ำ  ฟากตะวันออก  ใกล้ปากน้ำแม่เบี้ย   ตรงกับบ้านพวกปอร์ตุเกส  ครั้งต่อมาถึงแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม   พวกฮอลันดาทำความชอบยิ่งขึ้น    จึงได้พระราชทานที่ๆ  ปากน้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก  ตรงริมคลองบางปลากด  ข้างเหนือเมืองสมุทรปราการ  ให้สร้างเป็นสถานีที่ไว้สินค้าอีกแห่งหนึ่ง   พวกฮอลันดาก็ก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ ขึ้น   ณ  ที่นั้น  เป็นทำนองเมืองพวกฮอลันดา  เรียกชื่อว่า          เมืองแอมสเตอร์แดมใหม่  (เดี๋ยวนี้น้ำเซาะพังลงน้ำไปหมดแล้ว )  พวกฮอลันดาก็มีกำลังยิ่งขึ้นในประเทศนี้    

ก็และลักษณะการค้าขายของพวกฮอลันดา  ในชั้นแรกที่มาตั้งในเมืองไทยนั้น   ต้องอาศัยไทยเป้นกำลังอยู่หลายอย่าง   เป็นต้นว่า  ข้าวปลาอาหารที่พวกฮอลันดาต้องการใช้เป็นเสบียง   ณ  เมืองบันตัม  ซึ่งฮอลันดาตังเป็นที่มั่น  ที่เกาะชะวา   ก็ต้องมาหาซื้อไปจากเมืองไทย   อีกประการหนึ่งที่จะค้าขายต่อไปทางเมืองจีน  เมืองญี่ปุ่น  พวกฮอลันดาจะไปค้าขายโดยลำพังไม่ได้  เพราะแต่ก่อนมา   พวกปอร์ตุเกตได้เคยไปทำรุกรานไว้ทางนั้น  จนจีนและญี่ปุ่นเกลียดชังคนผมแดง  ( คือฝรั่งทั่วไป )  ไม่ว่าชาติไหน ๆ ไม่ยอมให้เข้าไปค้าขายใตนเขตแดนทั้งนั้น    และในสมัยนั้น  มีเรือไทยไปมาค้าขายกับเมืองจีน  สาเมืองญี่ปุ่นอยู่เป็นนิตย์  พวกฮอลันดาได้อาศัยฝากสินค้าของตน   ที่ซื้อขายทางเมืองจีน  เมืองญี่ปุ่น  ไปมาด้วยเรือไทย   จึต้องพยายามเอาใจดีต่อไทย    มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถจนตลอดรัฐกาลพระเจ้าทรงธรรม    ครั้นถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง   ฮอลันดาได้บ้านเมืองทางเกาะชะวา  มีอำนาจยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน   และไปคิดอ่านว่ากล่าวทางเมืองจีน  เมืองญี่ปุ่น   ขออนุญาตให้เรือของฮอลันดาไปค้าขายได้เอง   ยังคงต้องอาศัยเมืองไทยแต่ในการซื้อหาเสบียงอาหารบ้างเล็กน้อย  กับที่จะซื้อขายสินค้าหากำไรในเมืองไทย  ไม่ต้องพึ่งไทยมากเหมือนแต่ก่อน  ครันพระเจ้าปราสาททองให้ตั้งคลังสินค้าของหลวงขึ้น   รับซื้อสินค้าที่เป็นสิ่สำคัญของราษฎรในพื้นเมือง   ขายให้ชาวต่างประเทศ   และเลือกวื้อสินค้าจากขาวต่างประเทศ  ไปจำหน่ายในพื้นเมืองเป็นการหลวง   พวกฮอลันดาก็ไม่พอใจ   ในชั้นแรกดูเหมือนจะตังหน้าฝ่าฝืน  จนเป็นเหตุให้พระเจ้าปราสาททองทรงขัดเคืองพวกฮอลันดา   ถึงทรงพระราชดำริจะให้กองทัพเรือยกลงไปตีเมืองบันตัม  ซึ่งเป็นที่มั่นของพวกฮอลันดา   ณ  เกาะชะวา   มีความปรากฏในจดหมายเหตุของพวกฮอลันดาว่า  ในครั้งนั้น   พระเจ้าปราสาททองมีรับสั่งให้เรียกตัวพวกแขกและจีนที่ชำนาญการเดินเรือ   ไปไต่ถามเอาความรู้แผนที่ทะเล   สำหรับจะให้กองทัพเรือยกไป   ความที่กล่าวนี้ประหลาด   มีหลักฐาน  ด้วยแผนที่อันแสดงเค้าเงื่อนว่าได้ทำขึ้นในราวสมัยนั้น  มีปรากฏอยู่ในท้ายหนังสือไตรภูมิฉบับที่มีอยู่ในหอพระสมุดฯ บัดนี้  จึงเห็นว่าจะเป็นความจริงดังพวกฮอลันดากล่าว   แต่เหตุที่ไทยเกิดเป็นอริกับพวกฮอลันดา  ครั้งแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น  ลงที่สุดก็ระงับกลับคืนดีกันไปได้   หาถึงต้องรบพุ่งกันไม่

มาถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   เมื่อพวกอังกฤษตั้งมั่นได้ในอินเดียแล้ว   ก็เริ่มเข้ามาตั้งค้าขายในเมืองไทย   คอนสตันติน  ฟอลคอน   ที่มาได้เป้นเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เข้ามาเมืองไทยกับพวกอังกฤษในครั้งนั้น  ด้วยเป็นลูกจ้างของพ่อค้าอังกฤษ    ออกมาจากยุโรป  แต่ส่วนตัวเป็นชาติกรีก  มิได้เป็นอังกฤษ   ครั้นมาเห็นประโยชน์ที่จะค้าขายอยู่ในเมืองไทย   แต่ลำพังตนเอง  จึงเลิกรับจ้างอังกฤษ   แล้วสมัครเข้ามารับราชการในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

การที่อังกฤษมาตั้งค้าขายในเมืองไทย   ต้องไปมาติดต่อกับอินเดีย  ซึ่งเป็นที่มั่น   ทางที่จะไปมาได้ใกล้นั้น มาจอดเรือกำปั่นที่เมืองมะริด  อันอยู่ปากน้ำเมืองตะนาวสรี   ซึ่งในเวลานั้น   อยู่ในอาณาเขตกรุงสยาม   แล้วลงเรือถ่อพายขึ้นทางลำน้ำตะนาวศรี   จนถึงปลายน้ำ  แล้วขึ้นเดินบก   ข้ามเขาบรรทัดเข้ามาทางด่านสิงขร  ลงชายทะเลอ่าวสยามที่ตรงเกาะหลัก ( อันตั้งที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์บัดนี้ )  แล้วเดินเลียบชายทะเลขึ้นมา   จนถึงเมืองเพชรบุรี  จึงลงเรือเข้ามาพระนครศรีอยุธยา   ทางเส้นนี้เป็นทางสำคัญในการไปมาค้าขายในระหว่างกรุงสยามกับประเทศต่าง ๆ ทางทิศตะวันตก เช่น  อินเดีย  ประเทศเปอร์เซีย   ประเทศอาหรับ  ตลอดยุโรปมาแต่โบราณ   เพราะการที่จะแล่นเรืออ้อมแหลมมลายูเข้ามาอ่าวสยาม  มาได้แต่บางฤดู  แต่อังกฤษเข้ามาตั้งค้าขายในกรุงศรีอยุธยา  การไปมาค้าขายทางเมืองตะนาวศรีมีมากขึ้น   เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด  ซึ่งเป็นเมืองท่าปลายทางนี้  ก็ยิ่งสำคัญขึ้น 

ทางพระราชไมตรีที่ไทยเคยมีกับฮอลัดา  และอังกฤษ   มาเกิดปัจจัยให้แปลกแปลง   ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์หลายอย่าง   ว่าเฉพาะส่วนพวกอังกฤษกรที่อังกฤษออกมาค้าขายทางประเทศตะวันออก   แต่เดิมเป็นการที่พวกพ่อคาเข้าทุนกันเป็นบริษัทมาค้าขาย   รัฐบาลอังกฤษเป็นแต่อุดหนุนอำนาจอังกฤษ   ที่มาเจจิญขึ้นทางตะวันออก  ตกอยู่ในมือบริษัทนั้น   บริษัทไม่ยอมให้คนอังกฤษ   นอกจากที่ทำการให้บริษัททำการค้าขายโดยลำพัง    เพื่อประโยชน์ของตนเอง  พวกอังกฤษที่มารับจ้างบริษัท    มาเห็นช่องทางที่จะคาขายหาผลประโยชน์ได้มากกว่าที่บริษัทให้ค่าจ้าง   ก็เกิดไม่พอใจ  ที่จะอยู่กับบริษัท   แต่จะออกไปค้าขายโดยลำพังตน   กลัวจะถูกกบริษัทรังแกกดขี่ต่าง ๆ          เมื่อวิชเยนทร์เข้ามารับราชการของไทย   ได้มีตำแหน่งอยู่ในกรมพระคลังสินค้า   ซึ่งมีหน้าที่อำนายการค้าขายของหลวง   วิชเยนทร์รู้วิธีการค้าขายของพวกชาวต่างประเทศ  คิดเห็นว่า  ถ้าได้ฝรั่งมาเดินเรือ   และทำการคาขายของหลวง  การค้าขายก็จจะเริญ   ได้กำไรเข้าพระคลังยิ่งขึ้นอีกเป็นอันมาก   จึงเกลี้ยกล่อมพวกอังกฤษ   ที่เอาใจออกหากจากบริษัท  มารับราชการในการเดินเรือค้าขายของหลวง   สัญญายอมอนุญาตให้พวกอังกฤษเหล่านั้นฝากสินค้าของตนเองไปในเรือหลวงได้   ก็มีคนอังกฤษเข้ามารับราชการตั้ง   ๑๐๐   คน   การอันนี้ย่อมไม่เป็นที่พอใจของบริษัทอังกฤษ 

ส่วนพวกฮอลันดานั้น   มาในตอนนี้   พวกฮอลันดา  มีทั้งกำลังเรือรบ  และเรือค้าขาย   เจริญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน  ก็คิดจะรวบเอาการค้าขายในระหว่างเมืองไทย  เมืองจีน  กับเมืองญี่ปุ่นที่ไปมาทางทะเล  ไว้ในมือของพวกฮอลันดาให้หมด    เมื่อเห็นไทยจัดการค้าขายของหลวงแช็งแรงขึ้นก็ไม่พอใจ   อังกฤษกับฮอลันดา   เคยเข้ามือกันมาแต่ก่อน   ครั้นมาผิดใจขึ้นกับไทยด้วยกัน    ต่างก็คิดตั้งขึงแข็งเอาแก่ไทย      พอไทยเกิดรบกับพะม่าขึ้น   เมื่อ  พ.ศ.  ๒๒๐๗   ฮอลันดาเห็นไทยทำสงครามอยู่ทางอื่น   ก็หาเหตุเอากองทัพเรือปิดปากน้ำ   สมเด็จพระนารายณ์จำต้องยอมสัญญาว่า   จะไม่ค้าขายแข่งขันพวกฮอลันดาทางตะวันออก   ฝ่ายข้างอังกฤษเห็นพวกฮอลันดาแข็งขึงขึ้นแก่ไทยทางนี้   ก็แข็งขึงขึ้นแก่ไทยทางตะวันตกบ้าง   ได้ความปรากฏมาว่า  อังกฤษจะคิดยึดเอาเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด   ซึ่งเป็นเมืองท่าข้าขายของไทย    ทางตะวันตกเป็นของอังกฤษเสีย  มิให้ไทยมีช่องทางที่จะค้าขายแข่งอังกฤษด้วยเหมือนกัน   ในขณะนั้น     ทางยุโรป   พระเจ้าเลยส์ ที่  ๑๔  มีอานุภาพขึ้น   พระเจ้าหลุยส์ที่  ๑๔ เป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงศาสนาลัทธิโรมันคาธอลิค   เป็นข้าศึกกับพวกอังกฤษ  และฮอลันดา   ซึ่งถือลัทธิโปรเตสแตนต์  ให้มาขอเป็นทางพระราชไมตรี  สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงรับทางพระราชไมตรี  ของพระเจ้าหลุยส์ที่  ๑๔   หวังจะเอาเป็นสัมพันธมิตร   มิให้พวกฮอลันดาและอังกฤษมารุกรานเมืองไทย

ส่วนความมุ่งหมายของฝรั่งเศส  ที่สมัครมาเป็นไมตรีกับไทยครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์นั้น   ที่จริงทีเดียวจะเป็นอย่างไร  ก็ทราบไม่ได้แน่ในเวลานี้   แต่สังเกตความตามที่ปรากฏอยู่ในเรื่องราวที่พิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้   ดูเหมือนส่วนพระเจ้าหลุยส์ ที่  ๑๔  เอง  กับพวกบาดหลวง  จะมุ่งหมายแต่เพียงจะเกลี้ยกล่อมไทย   ตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์เป้นต้น  ให้เข้ารีตถือศาสนาคริศตัง   ตามลัทธิโรมันาคาธอลิค   ให้เป็นเกียรติยศในการศาสนูปถัมภกอย่างหนึ่ง   กับจะอาศัยเมืองไทยหาผลประโยชน์ในการค้าขาย   ของฝรั่งเศสแข่งอังกฤษและฮอลันดาอย่างหนึ่ง   หาได้คิดที่จะมุ่งหมายทำลายอิสรภาพของเมืองไทย  เอาไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสไม่   แต่มีฝรั่งเศสอีกพวกหนึ่ง   คิดมุ่งหมายถึงจะเอาเมืองไทยไปเป็นเมืองขึ้น    บางทีข้อความที่ว่ามานี้เอง  จะเป็นมูลเหตุให้พวกฝรั่งเศสมาเดินอุบายแตกกันในประเทศนี้   มีความประหลาด   อยู่ในสมุดเล่มนี้แห่งหนึ่ง   ซึ่งยังมิเคยปรากฏเค้าเงื่อนในที่อื่น   คือที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์รู้สึกตัวมาช้านานว่า   ทางที่ตัวปฏิบัติราชการ   อาจเกิดเป็นภัยอันตรายแก่ตนได้ในเวลาหนึ่ง  จึงได้ซื้อบ้านช่องและส่งทรัพย์สมบัติไปเตรียมไว้ในประเทศฝรั่งเศส    และยังมีความข้ออื่น   อยู่ในสมุดเล่มนี้อีกหลายแห่ง   ที่ชวนให้คิดเห็นว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งตอนปลายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ยังจะคิดค้นหาความจริง   ให้พิศดารยิ่งกว่าที่เรารู้กันอยู่บัดนี้ได้อีก

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในช่วงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

๑๙๑๘    ยุโรปมีปืนใหญ่ใช้

๒๐๒๗   ฮอลันดาเอากองทัพเรือปิดปากอ่าวไทย

๒๐๖๐    ปอร์ตุเกตได้เมืองมะละกา   แล้วขอเป็นไมตรีกับไทย

๒๑๔๑    อังกฤษเข้ามาถึงเมืองไทยเป็นครั้งแรก

๒๑๕๐    สมเด็จพระเอกาทศรถส่งทูตออกไปฮอลแลนด์

๒๑๙๑    ปีเกิดเจ้าพระยาวิชเยนทร์  (ฟอลคอน )

๒๒๐๕    พวกมิชชันนารีคาธอลิค   เข้ามาถึงเมืองไทย

๒๒๒๐    พวกมิชชันนารี  ส่งบาดหลวงเพิ่มเติมเข้ามาจากยุโรป

๒๒๒๔    ทูตไทยไปฝรั่งเศสครั้งแรก  เรือแตก   คนสูญหมด

๒๒๒๖    ทูตไทยไปฝรั่งเศสครั้งที่  ๒

๒๒๒๙   โกษาปานไปฝรั่งเศส

๒๒๓๐    โกษาปานกลับ

๒๒๓๑    ทูตไทยไปฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย  ในสมัยพระนารายณ์

 

 

 

                                                *************************

(พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เรื่อง   อธิบายเบื้องต้นที่ไทยจะเป็นไมตรีกับฝรั่งเศส   )

(หลวงวิจิตรวาทการ    ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ   เล่ม  ๕     สำนักพิมพ์เพลินจิตต์   ๒๔๙๔)



ผู้ตั้งกระทู้ ปติ ตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-06 14:20:00 IP : 125.26.85.167


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2977782)
avatar
7ร้นาม

อืมม~ ได้รู้ เรื่อง มากมายเลย แต่คนเขียนพิมพ์ตกล้นไปเยอ เลย นะ

ผู้แสดงความคิดเห็น 7ร้นาม วันที่ตอบ 2011-01-11 15:03:13 IP : 125.26.148.156


ความคิดเห็นที่ 2 (2977855)
avatar
เด็กเกาะไร้

มีความรู้มากเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กเกาะไร้ วันที่ตอบ 2011-02-24 15:30:45 IP : 125.27.138.95



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.