|
![]() |
|
***ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา*** | |
![]() ปติตันขุนทด | ***ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา*** ประเทศไทยซึ่งมีภูเขาอยjางสูงๆล้อมรอบนั้น ในเวลานั้นมีเขตแดนต่อกับลาว เขมร มอญ และอังวะ ในระหว่างเข้าเหล่านั้นก็มีแม่น้ำเจ้าพระยา บางแห่งกว้างตั้งแต่ ๘๐ถึง ๑๐๐ ไมล์ และลำคลองและลำรางตกมาเป็นอันมาก ซึ่งทำให้ลำแม่น้ำเจ้าพระยาใหญ่ขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยานี้ไหลตกในอ่าวไทย มีปากน้ำ ๓ ปาก แต่ปากน้ำที่เรือเดินได้สะดวกนั้นก็ปากน้ำทางทิศตะวันออก ทางใต้นั้นแม่น้ำนี้ใหญ่โตและสง่างดงามมาก ลึกหลายวา และในปีหนึ่งน้ำคงท่วมตามทุ่งนาราว ๓ - ๔ เดือน ถ้าจะเทียบแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยานี้ เหมือนกับเป็นแม่น้ำไนล์ของเมืองอิยิปต์ ในเวลาน้ำท่วมนั้น ก็เท่ากัเอาปุ๋ยมาใส่ตามไร่นาอันมีมากมายอย่างที่สุด และในเมืองไทยนี้นอกจากนาซึ่งเป็นการเพาะปลูกอันเจริญนั้น ยังมีไร่พริกไทย เครื่องเทศ ใบชา และฝ้าย ในประเทศไทยนี้ยังมี บ่อแร่ทองแดง ดีบุก เหล็ก และตะกั่ว บ่อทองคำเป็นสาย ๆ แม่เหล็ก พลอยต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำหรับทำให้คนบริบูรณ์ และถึงจะมีพลเมืองมากกว่าที่มีอยู่ในเวลานี้สัก ๑๐ เท่า ของต่างๆ ที่มีในเมืองไทย ก็ยังพอสำหรับทำให้คนบริบูรณ์ได้ทั่วหน้า แต่พลเมืองชาวไทย ต้องอยู่ในความกดขี่ของเจ้าแผ่นดิน อันมีอำนาจสิทธิขาด ซึ่งเป็นนายและเจ้าของชีวิต และทรัพย์สมบัติของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั่วไป การที่ไทยต้องเสียส่วยสาอากร ก็เพื่อประโยชน์ของพระเจ้าแผ่นดิน การใช้จ่ายในทางราชการจะมากน้อยสักเท่าไร ก็แล้วแต่พระทัยของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง คนไทยต้องถูกเกณฑ์ทำการของเจ้าแผ่นดิน ๖ เดือน ทำการของตัวเอง ๖ เดือน เป็นดังนี้ทุก ๆ ปีและการที่ทำงานหลวงนั้นก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตัวเอง ของหลวงหาออกให้ไม่ ส่วนการสินค้า ที่ติดต่อกับต่างประเทศ ก็ตกอยู่ในอำนาจพระเจ้าแผ่นดินทำแต่ผู้เดียวเท่านั้น คนอื่นจะทำไม่ได้เป็นอันขาด การที่เจ้าแผ่นดินกดขี่บีบคั้นราษฎรเช่นนี้ กระทำให้การหัตถกรรมทั้งปวงเสียหายไปหมด และเป็นเครื่องกีดขวางในความเจริญของบ้านเมือง อันได้เป็นประเทศใหญ่มาช้านานแล้ว และซึ่งฝึกหัดเป็นทาสมาตั้งแต่ดั้งเดิม (ฝรั่งวิจารณ์เศรษฐกิจไทย ผูกขาดโดยพระเจ้าแผ่นดิน ในสม้ยนั้น ยุโรปเจริญในด้านเศรษฐกิจการพาณิชย์นานแล้ว แต่ไทยยังเป็นสังคมเกษตร อยู่ง่ายกินง่ายสันโดษ ไม่โลภมาก และไม่มีความรู้เรื่องการค้าระหว่างประเทศ พอที่จะทำการค้าข้ามชาติได้ --- ปติ ตันขุนทด คอมเมนท์)
ทำเลอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยนั้น ดูก็จะเป็นทำเลอันเป็นท่ามกลางสำหรับทำการค้าขายในเมืองต่างๆ ในประเทศอินโดจีน เพราะเมืองไทยอยู่ในท่ามกลางเมืองอินเดีย เมืองจีน เมืองญี่ปุ่น และเกาะฟิลิปปินส์ และอยู่ตรงกับเกาะสุมาตรา เกาะยะวา เกาะบอนิโอ และเกาะต่างๆในแหลมมลายู ทั้งมีอ่าวถึงสองอ่าว อันเรือจะเดินได้อย่างสะดวก และอยู่ตรงกับปากช่องอันเป็นหนทางสำคัญ ซึ่งสินค้าทั่วโลกจะผ่านทางนั้น ทั้งชายทะเลของประเทศไทย ก็มียืดยาวด้วย เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจึงเป็นทำเลอันเหมาะ สำหรับการที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะหาที่มั่นในฝ่ายทิศตะวันออก สำหรับจะต่อสู้ทางฝ่ายทะเลกับอังกฤษและฮอลันดา และจะทรงหาที่สำหรับให้บริษัทฝรั่งเศส ในฝ่ายอินเดียตะวันออก ได้ตั้งห้างสำหรับต่อสู้ในการค้าขายกับบริษัทอังกฤษและฮอลันดาด้วย อนึ่งตามชายทะเลของประเทศไทยนั้น ก็มีท่าเรือที่เป็นทำเลเหมาะและมั่นคงหลายแห่ง คือเมืองตะนาวศรี เมืองมะริด เมืองภูเก็ต อยู่ทางอ่าวทะเลเบงคอล ตรงที่ตั้งค้าขายของฝรั่งเศสคอรอมันเดล เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเพ็ชรบุรี ก็อยู่ทางอ่าวไทย และบางกอก ซึ่งเท่ากัยเป็นลูกกุญแจของประเทศไทยฝ่ายใต้ ก็เป็นทำเลอันสินค้าทั้งหลายทั้งปวงต้องมารวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่า บางกอกตั้งอยู่ใกล้กับปากน้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองซึ่งอาจแข่งกับบาตาเวีย ทั้งสิงคโปร์ซึ่งในทุกวันนี้เป็นที่ประชุมของเรืองทั้งปวงในทวีปทั้งสอง ในเวลานั้นก็เป็นแต่เกาะเล็ก ไม่มีมนุษย์อยู่ หรือเป็นที่ชุมนุมของเรือเท่านั้น ข้างฝ่ายทางบกนั้นเล่า อาณาเขตของประเทศไทยก็มีชายแดนอันอุดมไปด้วยสรรพสิ่งต่าง ๆ ข้างฝ่ายตะวันตก ก็มีเมืองกาญจนบุรี ข้างเหนือนั้น ก็มีเมืองพิษณุโลก ข้างตะวันออก ก็มีเมืองนครราชสีมา และเมืองจันทบุรี เมืองเหล่านี้ ก็ล้วนแต่ส่งสินค้าไปแลกเปลียนกับเมืองมอญ เมืองจีน เลืองลาว เมืองเขมร และเกาะต่าง ๆตามแหลมมลายูสินค้าที่ส่งไปแลกเปลี่ยนนั้นมีงาช้าง ข้าวสาร ข้าวเปลือก พริกไทย นอแนด หนังสัตว์ต่าง รงค์ อ้อย ยาสูป หนังต่าง ๆ ฝ้าย พิมเสน ครั่ง ไหม ดีบุก ตะกั่ว ไม้ มีราคาต่างๆ ไข่มุก เพ็ชร และของอื่นๆอีกหลายอย่าง เวลานั้นเจ้าแผ่นดินเขมร ยะโฮร์ ปัตตานี ไทรบุรี และยำปี ก็ล้วนแต่เป็นเมืองขึ้นของกรุงไทยทั้งนั้น และทุก ๆ ปี ก็ต้องส่งต้นไม้ทอง เงิน และเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระเจ้ากรุงไทย ด้วยเหตุทั้งปวงเหล่านี้ จึงเป็นข้อสำคัญ ที่ฝรั่งเศสจะต้องไปตั้งอยู่ในประเทศไทย และจะต้องจัดการแข่งขึ้นหน้าพวกฮอลันดา และอังกฤษ ซึ่งมีความริษยาพวกฝรั่งเศสมาก การที่พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ได้แต่งทูตไปเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์นั้น ก็ต้องเชื่อใจได้แน่ว่าไทยคงจะจัดการต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะการที่แต่งทูตไปคราวนี้ ก็โดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ ชึ่งได้รับคำแนะนำของคนโปรด ผู้ที่มีความรักใคร่นับถือพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ มากนั่นเอง (หลวงวิจิตรวาทการ พงศาวดารฉบับความสำคัญ เล่ม ๕ สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ พิมพ์ที่บริษัทศิริอักษรจำกัด 2494) |
ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) ![]() ![]() |
1 |
ความคิดเห็นที่ 1 (2976897) | |
![]() โรจน์ (Webmaster) | "ประเทศไทย" ที่เราอยู่อาศัยกันในเวลานี้ เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดก็ตอนที่รัชกาลที่ 5 ท่านทรงปฏิรูปการปกครอง สมัยกรุงศรีอยุธยาเรายังอยู่กันเป็นอาณาจักร หลายจังหวัดในปัจจุบันสมัยนั้นยังเป็นแว่นแคว้นหรือนครรัฐที่ไม่ขึ้นกับอยุธยาเลยครับ ถ้าใช้คำกลางๆ ว่า "เมืองไทย" อาจจะเหมาะกว่ามั๊ง? หนังสือของหลงงวิจิตรวาทการท่านก็มีคุณค่าในบริบทหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการค้นคว้าที่ต่อยอดออกไปมากแล้วครับ |
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ![]() |
ความคิดเห็นที่ 2 (2976901) | |
![]() ปติตันขุนทด | ***คำว่าไทยนี้ คือคนไทย ถ้าเป็นเรียกอาณาจักร สมัยก่อน เรียกว่า สยาม ต่างชาติเรียกเมืองไทยว่า สยาม อาณาจักรสยาม ***เพลงสยามมานุสสติ ในรัชการที่หก ทรงพระนิพนธ์ว่า "หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง แสดงว่า ในรั๙กาลที่ ๖ ยังเรียกเมืองไทยว่า สยาม คำว่าประเทศไทย จำได้คลับคล้ายว่า เรียกในสมัยจอมพล ป. จะค้นคว้าว่า ไทยแลนด์นี้ เปลี่ยนเมื่อวันเดือนไปใด แต่ว่า ความมีลักษณะเป็นไท รักอิสรเสรี คงเป็นลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของคนไทย จึงเรียกทั้งคนและประเทศว่า ประเทศไทย คงจะมีมานานแล้ว ก่อนรัชกาลที่ ๕ ครับผม |
ผู้แสดงความคิดเห็น ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) ![]() |
1 |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 1187851 |