ดีกว่าที่หวังครับ "มือปื่น 2 สาละวิน"
avatar
Jo_ThaiKickOff


user image

ผมสนใจเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็กแล้วครับ ด้วยว่าผมได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้ตอนประมาณ ป.6 แต่ไม่อาจได้ดูเพราะตอนนั้นซื้อตั๋วหนังยังไม่เป็นเลย (อิอิ) จนมาได้เจอ DVD แบบทำใหม่นั่นแหล่ะ (ขอบคุณ Mangpong มากๆ ครับ แม้จะเอา Version ฉายเมืองนอกมาทำก็เถอะ)

ด้วยทีแรก ผมคิดว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนังสงครามประวัติศาสตร์ครับ (อ่านจากเรื่องย่อหลังแผ่น) ปรากฏว่า "อ้าว นี่มัน ยุคปัจุบันเลยนี่หว่า" แต่เป็นผลพวงจากประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ก็ดีครับ ได้รู้อะไรๆ ที่สงสัยตามแถบชายแดนมากขึ้น

ผมชอบมากๆ ในฉากที่ ทหารพม่า โจมตีฐานของกะเหรี่ยงของฉัตรชัย เปล่งพาณิชย์ แบบเต็มกำลัง ทั้งระเบิด ทั้ง ฮ. จนทหารและชาวบ้านกะเหรี่ยงล่าถอยมาถึงแม่น้ำสะละวิน ซึ่ง "ตำรวจ" ของไทย คุมเชิงอยู่ โดยที่ตอนนั้นต้องตัดสินใจว่า จะทำเพื่อ "ความถูกต้อง" (ต้านไม่ให้ทหารกะเหรี่ยงเข้าประเทศ) หรือ "มนุษยธรรม" (ช่วยทหารกะเหรี่ยง) บอกตามตรงว่า ฉากนี้ ทั้งเสียง ดนตรีประกอบ และอารมย์นักแสดง สุดยอดจริงๆ ครับ ท่านมุ๊ย....

หนังจบ ผมรู้สึกรักชาติ ขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ก็มีข้อสงสัยมาถามผู้รู้นิดหน่อยครับ

1. ทหารพม่า กับกะเหรี่ยงนี่ รบกันมาตั้งแต่ยุคสมัยใดครับ
2. กะเหรี่ยงนี้ นำโดยกลุ่ม นศ. เพื่อหวังให้พม่าเป็นประชาธิปไตย ใช่ไหมครับ (เหมือนกัน นศ.ไทย สมัย 2516-2519)
3. หนังเรื่องนี้ ถือเป็นหนังสงคราม (เหตุการณ์สมมติ) หรือ หนังประวัติศาสตร์ ครับ แล้วได้ฉายกี่ประเทศครับ เมืองนอกเขาดูกันไหม
4. (อันนี้สงสัยมากๆ) สมัยนั้น (2536) ทำไมคนรักษาชายแดนกลายเป็น ตำรวจ ไม่ใช่ทหารครับ หรือควบ 2 หน้าที่เลย

ขอบคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Jo_ThaiKickOff (thaikickoff-at-gmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-01 15:27:12 IP : 58.10.18.86


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2976518)
avatar
pap

ข้อ4 ............ปี 2496 เป็นช่วงหลังส่งครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงใหม่ๆ ประเทศเพื่อนบ้านในแถบตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่กำลังจะแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำ จนผู้คนเกิดปัญหาความขัดแย้งทางความคิดแบ่งฝักแบ่งฝ่าย รบร่าฆ่าฟันกันเอง ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นต้องตระหนักคิดหาลู่ทางและมาตรการป้องกัน เพื่อมิให้คนไทยต้องตกเป็นเหยื่อของลัทธิดังกล่าว แต่มอบหมายให้หน่วยทหารที่มีอยู่ดำเนินการ ก็ติดเงื่อนไขขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ระบุไว้ห้ามมิให้ นำกำลังทหารไปวางไว้ในระยะ 25 กิโลเมตร ของบริเวณแนวชายแดนไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา  หากจะใช้กำลังตำรวจภูธร ก็มีไม่เพียงพอ เพราะภารกิจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ก็หนักหน่วงอยู่แล้ว รัฐบาลและกรมตำรวจจึงตัดสินใจตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อปกปักษ์ รักษาสถานการณ์บริเวณแนวชายแดนโดยตรง จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “ตำรวจตระเวนชายแดน”
 

ผู้แสดงความคิดเห็น pap วันที่ตอบ 2009-09-02 16:15:12 IP : 58.137.89.33


ความคิดเห็นที่ 2 (2976519)
avatar
pap

 

ข้อ 1............สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กะเหรี่ยงเคเอ็นยู (อังกฤษ:The Karen National Union,ตัวย่อ KNU) คือ กลุ่มติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงในพม่าที่ทำการสู้รบกับรัฐบาลพม่าตามแนวชายแดนไทย ในบริเวณอาณาเขตของพื้นที่ที่เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "กอซูเล" (Kawthoolei) ฝ่ายเคเอ็นยูได้สู้รบกับพม่ามานานเกินกึ่งศตวรรษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยร่วมกับกองกำลังย่อยที่มีชื่อว่า กะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอ (Karen National Liberation Army - KNLA)
 
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลโบเมียะมานานกว่า 30 ปีซึ่งได้ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2543 (นายพลโบเมียะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ในโรงพยาบาลในประเทศไทย) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงสามาถเลี้ยงตนเองโดยการควบคุมตลาดมืดที่ทำการค้าชายแดนกับประเทศไทย
 
หลังจากการลุกฮือต่อต้านเผด็จการของประชาชนชาวพม่าที่เรียกว่า "เหตุการณ์ 8888 ทมิฬ" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้ล้มเหลวยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลังเหตุการณ์นี้ รัฐบาลพม่าได้หันไปขอความช่วยเหลือจากจีน มีการให้สัมปทานทางการค้าหลายอย่างแก่จีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับอาวุธจำนวนมากทำให้กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่และเข้มแข็งจากเดิมเป็นอันมาก และในช่วงนี้รัฐบาลพม่าก็ได้เริ่มเปิดการเจรจากับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต่อสู้กับรัฐบาลและเปิดโอกาสให้มีการเจรจาเพื่อให้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลหรือมิเช่นนั้นจะต้องถูกทำลายลงทั้งหมด แต่ฝ่ายกะเหรี่ยงไม่ยอม
 
กองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอ่อนแอลงมากจากการปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลและได้เสียกองบัญชาการที่ "มาเนอพลอ" ใกล้กับชายแดนไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 รวมทั้งการยอมเข้าร่วมมือกับรัฐบาลกองกำลังย่อยส่วนหนึ่งของกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอที่เป็นกะเหรี่ยงฝ่ายนับถือพุทธที่เรียกตนเองว่า กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กองกำลังกลุ่มนี้ได้รับมอบอาณาเขตพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ปกครองตนเองเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยอมร่วมมือกับรัฐบาล กองกำลังกระเหรียงพุทธนี้เองที่มีส่วนสำคัญช่วยรัฐบาลทหารพม่ายึดกองบัญชาการเคเอ็นยูที่มาเนอพลอได้ เหตุผลที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้อ้างในการเข้ากับฝ่ายรัฐบาลคือการถูกเอาเปรียบ เหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกะเหรี่ยงฝ่ายเคเอ็นยูซึ่งนับถือศาสนาคริสต์
 
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกับกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอยังคงร่วมกันต่อสู้กับรัฐบาลพม่าต่อไป โดยจัดตั้งกองกำลังเป็นหน่วยทหารกองโจรขนาดเล็กหลบซ่อนอยู่ตามแนวชายแดนไทยโดยใช้วิธีตั้งค่ายแบบชั่วคราวที่เคลื่อนย้ายหนีได้สะดวก มีการประทะกันประปรายโดยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้กองทัพฝ่ายรัฐบาลจะมีขีดความสามารถที่จะกวาดล้างกองกำลังกระเหรี่ยงได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็จะเสียกำลัง ยุทธโปกรณ์และงบประมาณไปมาก ซึ่งอาจทำให้กองทัพพม่าโดยรวมอ่อแอลง ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าจึงยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปก่อน
 
การสู้รบของชาวกะเหรี่ยงนับเป็นการสู้รบเพื่ออิสรภาพที่ยาวนานที่สุดในโลก คือนานมากถึง 59 ปี
ผู้แสดงความคิดเห็น pap (nuttawutengineer-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-02 16:37:11 IP : 58.137.89.33


ความคิดเห็นที่ 3 (2976520)
avatar
pap

ข้อ2............ตั้งแต่ปี 2530 นักศึกษาและประชาชนพม่า เคลื่อนไหวกดดันให้รัฐบาลทหารเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงถูกกวาดล้างปราบปรามอย่างหนัก ทำให้ชาวพม่าเหล่านี้หลบหนีมาอาศัยอยู่กับชนกลุ่มน้อยบริเวณแนวตะเข็บชายแดน และบางส่วนหนีเข้ามาในฝั่งไทย

รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ชาวพม่าที่หนีเข้ามาในประเทศไทย โดยรัฐบาลสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้จัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าขึ้นที่บ้านมณีลอย ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534 และเริ่มรับนักศึกษา นักการเมือง และข้าราชการชาวพม่า เข้ามาพักพิงในศูนย์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2535 เป็นต้นมา จนมีจำนวนมากกว่า 3,000 คน โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)

ขณะที่บริเวณตะเข็บชายแดนไทยพม่าตั้งแต่ จ.กาญจนบุรี ไล่ไปจนถึง จ.ชุมพร เป็นพื้นที่อิทธิพลของกองกำลังกะเหรี่ยงกู้ชาติเคเอ็นยู (KNU : Kaaren National Union) ภายใต้การนำของนายพลโบเมียะ ซึ่งสู้รบกับทหารพม่ามาอย่างยาวนาน กระทั่งถูกทหารพม่าตีเมืองหลวงของกองกำลังกะเหรี่ยง (มาเนอปลอร์) แตก เมื่อปี 2538 กองกำลังกะเหรี่ยงจึงแตกแยกออกเป็นกลุ่มๆ

เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ทหารพม่าบดขยี้กองกำลังกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง จนต้องถอยร่นมาประชิดชายแดนไทย โดยตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่บ้านแม่ทะมี่ ฝั่งตรงข้ามรอยต่อ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี แต่ก็ถูกทหารพม่าตีแตกหลังจากตั้งฐานได้เพียงเดือนเดียว

กองทัพกะเหรี่ยงจึงถอยร่นมาตั้งฐานที่บ้านท่ามะพริ้ง ตรงข้ามบ้านตะโกล่าง อ.สวนผึ้ง แต่ในเดือนเมษายนปีเดียวกันก็ถูกทหารพม่าตีแตกอีก กะเหรี่ยงต้องย้ายฐานที่มั่นอีกครั้งมาอยู่ที่บ้านแม่เพี้ยเล็ก และบ้านแม่เพี้ยใหญ่ ฝั่งตรงข้ามเขากระโจม อ.สวนผึ้ง ซึ่งครั้งนี้ด้วยชัยภูมิที่ได้เปรียบ ทำให้ทหารกะเหรี่ยงสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้นานกว่า 2 ปี
ต่อมากะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งได้แตกออกจากการปกครองของนายพลโบเมียะ ตั้งกองกำลังขึ้นมาใหม่ใช้ชื่อว่า "ก็อดอาร์มี" หรือนักรบพระเจ้า มีกองกำลังทั้งเด็กและผู้ใหญ่ประมาณ 200 คน สู้รบกับทหารพม่าแบบกองโจร มีผู้นำเป็นเด็กแฝดลิ้นดำ 2 คน คือ จอห์นนี่ และ ลูเธอร์ ฮะทู มีฐานที่มั่นอยู่ที่หมู่บ้านกัมปรอ ฝั่งตรงข้ามเขากระโจม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

กองกำลังกะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มนักศึกษาพม่า ที่พักพิงอยู่ในศูนย์มณีลอย มีการใช้พื้นที่ศูนย์นักศึกษาพม่าบ้านมณีลอย ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อสู้กับรัฐบาลพม่า
 

ผู้แสดงความคิดเห็น pap (nuttawutenginer-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-02 16:43:13 IP : 58.137.89.33


ความคิดเห็นที่ 4 (2976525)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ขอความร่วมมือว่าโปรดใช้วิจารณญาณในการคัดลอกข้อความจากที่อื่นมาโพสต์ หากเห็นว่าจำเป็นควรแจ้งแหล่งข้อมูลหรือทำลิงก์ให้เขาด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com)ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2009-09-04 07:23:43 IP : 124.120.171.161


ความคิดเห็นที่ 5 (2976527)
avatar
Jo_ThaiKickOff

อย่างไรก็ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Jo_ThaiKickOff (thaikickoff-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-09-05 10:30:57 IP : 202.28.182.12


ความคิดเห็นที่ 6 (2976529)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ในทัศนะผมแล้ว แนวคิดที่ว่าประเทศนั้นประเทศนี้ ซึ่งมีเขตแดนตามแผนที่ตั้งแต่ตรงนั้นถึงตรงนี้ เป็นของชนชาติใดชาติหนึ่งนั้น  เป็นแนวคิดที่พึ่งพัฒนามาเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้  ดินแดนแต่ละแห่งล้วนประกอบด้วยหลายชนชาติ ที่ผสมผสานกันได้มากบ้างน้อยบ้าง  ดินแดนที่เป็น "ประเทศพม่า" ในปัจจุบันเอง ก็ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติในทำนองนี้  แต่คนเชื้อชาติพม่าอาจจะอ่อนด้อยในเรื่องการสมานฉันท์กับเชื้อชาติอื่นสักหน่อย จึงต้องมีปัญหาต่อกันไม่จบไม่สิ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-09-05 21:19:46 IP : 124.122.97.31


ความคิดเห็นที่ 7 (2976541)
avatar
คนเล่าเรื่อง

หนังเรื่องนี้ ผมดูตอนจบ ป.ตรี แล้วกำลังจะเรียน ป.โท ต่อ (คงพอเดาได้นะครับว่า  ผมเป็นคนรุ่นไหนแล้วครับ) ตอนนั้น ไม่ได้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ ชนกลุ่มน้อย หรือกระเหรี่ยงแต่อย่างใด  แต่ยอมรับว่าท่านมุ้ยทำหนังเรื่องนี้ได้ยอดเยี่ยมมาก ที่สำคัญ คือ ไปถ่ายทำในเขตรัฐฉานและได้ถ่ายทำภาพชีวิตของชาวไทใหญ่ในรัฐฉานรวมทั้งนายพลโบเมี้ยะตัวจริงด้วย  นับเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซเลยครับ  หนังเรื่องนี้คอบเครื่อง  ตั้งแต่ แอ็คชั่น ชีวิต ปลุกใจ  และอื่น ๆ ครับ  และนับเป็นต้นแบบของหนังแอ็คชั่นไทยสมัยใหม่เลยละครับ (คือ เป็นจุดสิ้นสุดของการระเบิดภูเขา เผากระท่อมครับ)

ในแง่ประวัติศาสตร์  คงมีน้อยมากน่ะครับ แค่เป็นการอ้างอิงเล็กน้อยเท่านั้น จะหยิบยกมาเขียนคงยาก แต่ถ้าใครสนใจก็น่าลองนะครับ เดี๋ยวผมคงจะไปหามาดูอีกทีเหมือนกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-09-12 13:11:37 IP : 202.28.78.24


ความคิดเห็นที่ 8 (2976560)
avatar
เจิด

ในข้อความของคุณ Pap ที่ว่ากะเหรี่ยงเลี้ยงตัวเองด้วยธุรกิจมืดนั้นไม่เคยปรากฏในความเป็นจริงแต่อย่างใด

มีแต่พม่าเท่านั้นที่กล่าวหาพวกเขาอย่างนี้ ทั้งที่พม่าเองสนับสนุนหว้าแดงให้ขายยาเสพติด หลังสงครามโลกกะเหรี่ยงได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศษเรื่องอาวุธที่ใช้ต้านทหารพม่า แต่ไม่ใช่อาวุธเท่านั้นที่ยันพม่าได้  แต่การชำนาญพื้นที่ในการรบต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญที่พวกเขาทำได้ดี

ก็เหมือนกับเวียดนาม ที่ยันอเมริกาได้ ด้วยการชำนาญพื้นที่ ทั้งที่อาวุธของเวียดนามเทียบอเมกาไม่ได้เลย 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เจิด (vic1635-at-Gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-26 03:13:58 IP : 115.130.1.69



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.