|
![]() |
|
***อาริสตอเติล*** | |
![]() ปติตันขุนทด | ***อาริสตอเติล*** อาริสตอเติล ท่านได้เคยเป็นพระอาจารย์ประจำพระองค์ของ ...อเล็กซานเดอร์มหาราช... มหาราชได้ช่วยเหลือ เกี่ยวกัยการงานของท่านเป็นอย่างมาก อาริสตอเติลมิได้ทำตนให้ลำบากลำบนไปกับปัญหาต่าง ๆ ของปรัชญา เช่น โซคระติส และพลาโต ท่านทุ่มเทความสนใจไปในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และในการเข้าใจวิธีการต่างๆ ของธรรมชาติมากกว่า นี้เรียกกันว่า ปรัชญาทางธรรมชาติ ที่เดี๋ยวนี้มักเรียกกันเนือง ๆว่า วิทยาศาสตร์ โดยประการฉะนี้ อริสตอเติลจึงเป็นคนหนึ่ง ในจำนวนนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกๆ อาริสตอเติล ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาวิชาการปกครองเปรียบเทียบ ท่านได้ตระเวนศึกษาการปกครองของเมืองต่าง ๆ ถึง ๑๕๘ เมือง และได้นำมาวิเคราะห์เป็นการปกครอง ๒ รูปแบบใหญ่ๆ คือการปกครองที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม และการปกครองที่รับใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของคนคนเดียว หลายคนหรือคนข้างมาก แต่ละแบบจะมีชื่อต่างกัน แล้วแต่ว่าจะจัดการปกครองโดยคน้อย หรือคนมาก อาริสตอเติล แยกรูปแบบการปกครองออกเป็น ๖ รูป คือ รูปที่แท้จริง ๓ รูป คือ ราชาธิปไตย ๑ อภิชนาธิปไตย ๑ และแบบรัฐธรรมนูญ ๑ แบบรัฐธรรมนูญ คือปกครองบ้านเมืองโดยถือประโยชน์ของส่วนรวม และรูปแบบที่ปลอม เพราะผันแปรเสื่อมทรามลงไปเพราะยึดถือประโยชน์ส่วนตัวของผู้ปกครอง ซึ่งควรจะเรียกว่าเป็นระบบ ทรราช ๑ คณาธิปไตย ๑ และ ประชาธิปไตย ๑ อาริสตอเติล ไม่นิยมชมชอบการปกครองแบบประชาธิปไตยล้วน ซึ่งเขาหมายถึงการปกครองโดยคนจน เพื่อคนจน เพราะจะขัดกับความมีเสถียรภาพทางศีลธรรม และการเมืองของสังคมสมัยนั้น เพราะถ้าทุกคนถือว่าเท่าเทียมกันหมดแล้ว ต่างคนก็จะทำการอะไรตามใจตนเอง ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวมจะเกิดขึ้นได้ยาก อาริสตอเติล ได้ให้คำจำกัดความ ประชาธิปไตยไว้ดังนี้..... "ประชาธิปไตยคือ สภาวะที่คนที่เป็นไทและคนยากจน ซึ่งมีจำนวนข้างมากในสังคม ได้รับมอบหมายให้กำอำนาจของรัฐไว้ในมือ ประชาธิปไตยที่บริสุทธ์ที่สุดได้รับการเรียกเช่นนั้นได้ก็เพราะมีสภาพแห่ง่ความเสมอภาคปรากฎอยู่ในที่น้น และกฎหมายของรัฐมมุ่งรับรองความเสมอภาคนั้น และเพราะว่าคนยากจนจะไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายต่ำต้อยกว่าคนร่ำรวย หรือว่าอำนาจสูงสุดจะไม่ต้องอยู่ในกำมือของฝ่ายใด แต่ทั้งสองฝ่ายจะมีส่วนใชอำนาจนั้นด้ยกัน ถ้าตามที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเสรีภาพและความเสมอภาคจะมีอยู่ในประชาธิปไตยแล้วทุกแผนกการของรัฐบาลก็จะต้องเปิดประตูให้แก่ทุกคน ดังนั้นที่ใดที่เป็นประชาชนฝ่ายข้างมาก และสิ่งที่พวกเขาบลวงคะแตนแล้วจะป็นกฎหมาย จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ในสภาวะเช่นนั้น ก็ควรจะเรียกได้ว่าเป็น ประชาธิปไตย" (เนรูห์ มองประวัติศาสตร์โลก แปลโดย เพื่อน ทวยประชา) (อมร รักษาสัตย์ ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน) |
ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) ![]() ![]() |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 1187857 |