***ยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔***
avatar
ปติตันขุนทด


***ยุคของพระเจ้หลุยส์ที่  ๑๔***

 วอลแตร์  เขียนไว้    มีข้อความตอนหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมาก   ว่า.....

"วีรบุรุษ  และนักการเมือง   เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย    ทุกประเทศได้   ทุกประเทศได้ผ่านการปฏิวัติมาด้วยกันทั้งนั้น      และประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็มีเรื่องคล้าย ๆ กัน     สำหรับผู้ที่อ่านประวัติศาสตร์เพียงเพื่อต้องการจะประดับความจำด้วยเหตุการณ์ต่ง ๆ        แต่ผู้ที่มีความคิด    และผู้ซึ่งมีรสนิยมดี   จะสนใจแต่เพียงสี่ยุค   ในประวัติศาสตร์โล    ยุคที่รุ่งเรืองทั้งสี่นี้   ก็คือยุคที่ศิลปะทุกชนิดได้เจริญจนไม่มีที่ติเป็นสมัยทองที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ชาติ     และควรเป็นสมัยที่เป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง

ยุคแรก    ของสี่ยุค    ที่กล่าว    และเป็นยุคที่มีความเจริญแท้จริงก็คือ    ยุคของพระเจ้าฟิลิปส์และอเล็กซานเดอร์      หรือของเพริคลิส    เดมอนเทนิส   อาริสโตเติล    เพลโต   อะเพลิส  ฟิดิอส   และพราซเทลิส

ยุคที่สอง    ก็คือ   ยุคของซีซาร์  และออกัสตัส    ซึ่งประกอบด้วยบุคคลเด่น ๆ  เช่น  ลูคริทีอุส   ซิเซโร  เวอร์จิล   ฮอเรส   โฮวิด  วาโร      และวิทรูวิอุส

ยุคที่สาม    คือยุคที่   ต่อจากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล   โดยสุลต่านมะหะเหม็ดที่  ๒   พวกเมดิซีทำห้ฟลอเรนส์เป็นศูนย์กลางของศิลปะกรีกทั้งหลาย     ที่ถูกพวกเตอร์กทำลย        วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ  กลับคืนชีวิตขึ้นมาใหม่   ทุกสิ่งทุกอย่างโน้มเอียงไปสู่ความดีอย่างไม่มีที่ติ   ไมเคิลแอนเจโล    ราฟาเอล  ทิเชียน    ทัสโซ   รุ่งเรืองขึ้นในสมัยนี้    สถาปัตยกรรมที่สวยงามเกิดขึ้นมาอีก     ที่ศิลปแบบกอธิค   ทีน่าเกลียดสิ้นสุดลงในส่วนต่าง ๆ  ของอิตาลี  และศิลปะที่สวยงาม    และมีรสนิยมดีกว่ามแทนที่   

ยุคที่สี่  ยุคสุดท้าย   คือยุคที่เรียกว่า   สมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔    ซึ่งรู้สึกว่าจะเป็นสมัยทึใกล้ความดีอย่างสมบูรณ์มากที่สุด   ในสี่สมัย     ปรัชญาที่แท้จริงเพิ่งจะถูกค้นพบในสมัยนี้เอง   และเกือบจะกล่วได้ว่า   ตั้งแต่ปลายสสมัยของริเชอลิเออ   และพระเจ้าหลุยส์ที่  ๑๔  นี้เอง   ที่การปฏิวัติโดยทั่วไป   เกิดขึ้นไม่แต่เฉพาะในการปกครอง    แต่ในศิลปะ  ความคิด  และมารยาทด้วย    และอิทธิพลนี้  หาได้มีอยู่แต่เฉพาะในฝรั่งเศสไม่      แต่ได้แพร่เข้าไปในอังกฤษ  และกระตุ้นให้เกิดความต้องการแข่งขัน    ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติเจ้าความคิด  และมีเหตุผลอย่างอังกฤษกำลังต้องการอยู่ในเวลนั้น    รสนิยมแบบฝรั่งเศสแพร่เข้าไปในเยอรมัน   ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ แพร่เข้าไปในรุสเซีย    และยังสามารถทำให้อิตลีที่ซบเซา   กลับคืนชีวิตขึ้นมาได้    ยุโรปโดยทั่ว ๆไปเป็นหนี้ฝรั่สเศส  สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  ในด้านมารยาทของสังคม"



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-21 17:04:27 IP : 125.26.89.143


Copyright © 2010 All Rights Reserved.