เตรียมขุดเครื่องบิน พี 51 ที่ปทุมธานี
avatar
หมาป่าดำ


เตรียมขุดเครื่องบินโบราณ รุ่น พี 51 ของมะกันที่ถูกญี่ปุ่นสอยร่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่2

จากกรณีที่บริเวณที่ดินของนางเบญจมาศ อัครเดชเดชาชัย อายุ 76ปี  อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ที่ซื้อต่อจากนายบุญส่ง ใจทน เมื่อ10ปีที่ผ่านมา  ต่อมาวันที่ 3 เม.ย.  ที่ผ่านมา นางเบญจมาศ ได้ว่าจ้างให้รถแบคโฮมาขุดดินจนลึกลงไปประมาณ 4-5 เมตร จึงพบส่วนห่างของเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างสหรัฐกับประเทศญี่ปุ่น แต่ยังไม่ทราบชนิดของเครื่องบินนั้น

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ทหารอากาศจำนวนหนึ่ง ได้นำรถเกรด รถแบ๊กโฮ พร้อมทั้งกางเตนท์ และติดไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณที่ดินของนางเบญจมาศ โดยมีเจ้าหน้าที่หลายนายเตรียมงานเพื่อขุดเครื่องบินโบราณที่คาดว่าถูกยิงตกช่วงปี 2488 ขึ้นมา



น.อ.ชูชัย ดุลยโกเมศ รองเจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ กล่าวว่า เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินรบของสหรัฐ รุ่น พี 51 (มาสแตง) โดยวันที่ 2 มิ.ย. เวลาประมาณ 09.00 น.  จะมีพิธีบวงสรวงบริเวณจุดพบเครื่องบินตก เพื่อจะขุดและนำเครื่องขึ้นมา คาดว่าคงใช้เวลาประมาณ 10 วัน โดยมีเจ้ากรมสารบรรณกองทัพอากาศ มาเป็นประธานในพิธี

น.ส.วัฒนา จักรปั่นอายุ 38 ปี บุตรสาวของนายบุญส่ง กล่าวว่า  บิดาเคยเล่าให้ฟังว่าครั้งเมื่อตอนอายุ 11 ขวบซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  มีเครื่องบินขับไล่ยิงกันบนท้องฟ้าและมีลำหนึ่งตกลงมาที่ทุ่งนาหลังบ้าน พ่อได้วิ่งไปดูและเก็บซากถังออกซิเจนของเครื่องบินมาไว้ในบ้าน โดยรอบๆถังออกซิเจนดังกล่าวมีอักษรเขียนว่า รุ่นมัสแตง เครื่องบินสหรัฐ ปี 2488 เจ้าหน้าที่จึงได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน ตามวันเวลาที่พบคือ วันอังคารที่ 24 เม.ย. 2488 เวลาที่พบ 12.35 น. จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 66 แล้ว.


   http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=142530
 



ผู้ตั้งกระทู้ หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-02 05:40:40 IP : 223.204.200.105


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2978718)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ข่าวเพิ่มเติม จาก กรุงเทพธุรกิจ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-06 09:38:21 IP : 203.114.104.114


ความคิดเห็นที่ 2 (2978723)
avatar
หมาป่าดำ

ม้าป่าผยองแห่งน่านฟ้ายุโรป "P-51D มัสแตง"

ย้อนอดีตกับตำนานสุดยอดเครื่องบินขับไล่อันดับ 1 ของโลก นอร์ธ อเมริกัน พี-51  มัสแตง

สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา เคยเข้ามาใช้กำลังทางอากาศ ในประเทศไทยเพื่อโจมตี  และทำลายฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่น เนื้องจากสมัยนั้น ประเทศไทยยอมให้ ญี่ปุ่นใช้ไทย เป็นเส้นทางเดินทัพผ่านไปยังประเทศพม่า และมีการใช้สนามบินร่วมกัน อีกทั้ง กองทัพอากาศไทย ขณะนั้น ก็ได้รับเครื่องบินขับไล่จากญี่ปุ่นเป็นการตอบแทนเช่นเดียวกัน ทำให้เครื่องบิน ทอ. ไทย และเครื่องบินขับไล่กองทัพญี่ปุ่น มีแบบคล้ายกัน สีคล้ายกัน

การใช้กำลังทางอากาศของสหรัฐฯ ที่รู้จักกันดี ถ้าไม่นับการทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพฯ โดยเครื่องบิน บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ และ บี-29 ซุปเปอร์ฟอเทรส แล้ว ก็จะมีการโจมตีสะพานข้ามแม่น้ำแคว การบินโจมตีสนามบินเชียงใหม่ การทำยุทธเวหา 21-5 เหนือนครสำปาง ที่ล้วนเป็นการโจมตีจากเครื่องบินขับไล่สหรัฐฯ ทั้งพี-40 โทว์มาฮอว์ก ของฝูงนักบินอาสาของสหรัฐ ที่เรียกว่า "หน่วยเสือบิน" อันแสนโด่งดัง เครื่องบินขับไล่ 2 เครื่องยนต์ พี-38 ไลท์นิ่ง และ พี-51 มัสแตงที่มีฐานปฏิบัติการในจีน

สำหรับที่มาของ เครื่องบิน นอร์ธ อเมริกัน พี-51 มัสแตง สุดยอดเครื่องบินขับไล่ของโลก อันดับที่ 1 จากการจัดอันดับของฮิสทอริ ชาแนลนั้น มาจากความต้องการเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง มีความเร็ว ปรวดเปรียว ติดอาวุธหนัก บินได้ระยไกล เพื่อใช้คุ้มกันฝูงบินทิ้งระเบิด ที่บินไปจากอังกฤษโจมตีกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน เนื่องจากในช่วงต้นสงครามกองทัพสหรัฐฯ ไม่มีเครื่องบินขับไล่พิสัยการบินไกล พอจะคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส ที่ปฏิบัติการในเวลากลางวันได้ ส่วนมากเชื้อเพลิงจะหมดก่อน เข้าถึงน่านฟ้าเยอรมัน ทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดต้องเผชิญการต่อต้านจาก เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของลุฟฟ์วาฟเฟ หรือ ทอ. เยอรมัน ทั้ง เมเซอร์ชมิตท์ BF-109 ฟอกเกอร์-วูล์ฟ FW-190 เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างหนัก และการโจมตีไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะต้องทิ้งระเบิดก่อนถึงเป้าหมาย

ทั้งหน่วยบินทหารบกของสหรัฐฯ และ ทอ. อังกฤษ ในเวลานั้น เครื่องบินที่มีอยู่ อย่างเครื่องบินขับไล่ พี-40 ก็ไม่ตอบโจทย์ในด้านการครองอากาศ และพิสัยการบิน จะมีก็แค่ พี-38 และพี-47 ดี ทันเดอร์โบลต์ ที่มีถังเชื้อเพลิงแบบปลดทิ้งได้ แต่ก็อุ้ยอ้ายเมื่อต้องเข้าต่อสู้ระยะประชิด ขณะที่เครื่องบินขับไล่ต้นแบบในดวงใจของฝั่งอังกฤษ อย่าง ซุปเปอร์ มารีน สปิตไฟร์ (Super marine SpitFire) มีสมรรถนะการต่อสู้ทางอากาศยอดเยี่ยมอาวุธหนัก อัตราการไต่สุดยอด เพราะได้ขุมพลังเป็นเครื่องยนต์ โรลซ์ รอยล์ Rolls-Royce Merlin 45 supercharged V12 ที่ให้กำลังแรงม้าถึง 1,470 hp แต่บินได้ไม่ไกล จึงเหมาะเป็นเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศของอังกฤษมากกว่า

ความต้องการเหล่านี้นำมาสู่การออกแบบ เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ในยุคนั้น ที่มีทั้งอากาศพลศาสตร์ (แอร์โร ไดนามิก) ที่ดี ใช้วัสดุสังเคราะห์ ติดตั้งเกราะ และถังเชื้อเพลิงที่อุดรอยรั่วได้เอง ติดตั้งอาวุธหนักรุ่นใหม่ ที่แต่เดิมใช้ปืนกลขนาด .30 คาลิเบอร์ หรือ 7.7 มม. เปลี่ยนมาเป็นปืนกลอากาศ บราวน์นิ่ง M2 ขนาด .50 คาลิเบอร์ หรือ 12.7 มม.6 กระบอก พร้อมกระสุนรวมกว่า 1ม800 นัด พร้อมทั้ง เครื่องยนต์ที่ทรงพลงอย่าง แอลิสันแรงม้า ทำความเร็วได้ 784 กม./ชม. บินได้ไกล 1,865 กม. เมื่อติดถังเชื้อเพลิงภายนอก อัตราการไต่ 3,300 ฟิตต่อนาที บินได้สูง 41,600 ฟิต

พี-51 มัสแตงเริ่มถูกส่งเข้าสู่สงครามในยุโรป และแอฟริกา ในรุ่น P-51B ที่ห้องนักบินยังเป็นแบบเดียวกับ P-40 ในช่วงปี 1942 การใช้ถึงแบบปลดเริ่มเป็นที่นิยม ซึ่งทำให้เครื่องบินมีเชื้อเพลิงมาก พอที่จะทำการในระยะไกล เชื้อเพลิงเพิ่มเติมถูกจนในถึงอะลูมิเนียมใต้เครื่องบิน และถังจะถูกปลดออกเมื่อหมดเชื้อเพลิง นวัตกรรมใหม่นี้ทำให้เครื่องบินขับไล่ของอเมริกาบินถึงเยอรมัน และญี่ปุ่นได้ หลังจากนั้นจึงมีการนำเอามัสแตงรุ่นดี ที่มีการยกห้องนักบินให้สูงขึ้น และใช้ฝาครอบห้องนักบินแบบรูปหยดน้ำ เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น และเครื่องยนต์ที่เพิ่มแรงม้ามากกว่าเดิม

ในปี 2487 เมื่อสงครามดำเนินไป เครื่องบินขับไล่พร้อมนักบินของฝ่ายสัมพันธมิตร ก็มีประสบการณ์มากขึ้น เหนือกว่านักบินกองทัพเยอรมัน ถึงแม้ว่าจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีเจ็ท และจรวดของกองทัพอากาศเยอรมันก็ตาม การสูญเสียนักบินที่มีประสบการณ์จำนวนมากของเยอรมัน ก็ทำให้ต้องฝึกนักบิน ใหม่อย่างเร่งรีบ เพื่อทดแทนนักบินที่เสียไป ในขณะที่นักบินหน้าใหม่ของสัมพันธมิตรในยุโรปได้รับการฝึกมาอยางดี นักบินของกองทัพอากาศเยอรมันนั้นไม่ได้รับการฝึกที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในฤดูร้อนปีเดียวกัน ทั้งนี้การฝึกบินในกองทัพอากาศเยอรมันต้องหยุดชะงัก เพราะการขาดเชื้อเพลิงในเดือน เม.ย. 2487 เท่ากับว่าเยอรมันสูญเสียอำนาจในการครองอากาศเหนือดินแดนตัวเองไปแล้ว

ในสมภูมิแปซิฟิก และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องบิน มิตซูบิชิ เอ-6 เอ็ม ซีโร่ รุ่นล่าสุดของพวกเขาเพื่อครอบครองท้องฟ้า ในขณะที่กองทัพอากาศ ฝ่ายสัมพันธมิตรมักใช้เครื่องบินที่ล้าสมัย เพราะคิดว่าญี่ปุ่นนั้นไม่อันตรายเท่าเยอรมัน นั่นทำให้พวกเขาถูกบังคับให้ต้องล่าถอย จนกระทั่งฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเหนื่อยล้า ทั้งจากความพ่ายแพ้ในสมรภูมิมิดเวย์ ทะเลคอรัล กัวดัลคาแนล โซโลมอน ฟิลิปปินส์ อิโวจิมา และโอกินาวา ทำให้ญี่ปุ่นต้องตกเป็นฝ่ายล่าถอยจนเหลือแค่แผ่นดินแม่ และสหรัฐฯ ก็มีฐานบินสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 29 เพื่อบินไปถล่มโตเกียว โดยมีเครื่องมัสแตงบินคุ้มกัน

ขณะที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามพร้อมนักบินที่ฝึกมาอย่างดี พวกเขาก็ไม่เคยทดแทนนักบินที่เสียไปได้โดยมีคุณภาพเท่าเดิม แตกต่างจากโรงเรียนของสหัรัฐฯ ได้ฝึกนักบินออกมานับพันคนที่มีความสามารถเพียงพอ เครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นนั้นมีความเร็วและพิสัยไกลและตอนนั้นนักบินฝ่ายสัมพันธมิตรได้พัฒนายุทธวิธีเพื่อใช้อาวุธที่เหนือกว่าของพวกเขาตั้งแต่กลางปี 2485 เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของสัมพันธมิตรทั้ง พี-51 มัสแตง ของกองทัพอากาศ และครื่องเอฟ-6 เอฟ-5 เฮลล์แคท ของกองบินนาวีสหรัฐฯ ก็มีความรวดเร็วกว่าและมีอาวุธที่ดีกว่าของญี่ปุน ผนวกับยุทธวิธีใหม่ๆ ช่วยให้พวกเขาจัดการกับเครื่องซีโร่ และนากาจิมา เคไอ-43 ฮายาบูสะ หรือ ออสการ์ ที่ เร็วกว่าได้ อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างการผลิตได้มากเท่ากับของฝั่งตะวันตก และเครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นก็ถูกกำจัดออกจากท้องฟ้ากลางปี 2487 เมื่อเครื่องมัสเเตงได้โบยบินครองน่านฟ้าเหนือแผ่นดินญี่ปุ่น

สำหรับในประเทศไทยมีการรายงานว่า เครื่องบิน แบบ P-51D มัสแตง สังกัด 2 Air Commando Group ที่เข้าโจมตีสนามบินดอนเมือง และสนามบินต้นสำโรง จ, นครปฐม เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2488 และถูกหน่วย ปตอ. ป้องกันสนามบินยิงจนเครื่องเสียหาย ตกที่ จ. ปทุมธานี นอกจากนี้ยังมียุทธเวหา เหนือนครลำปาง ที่นักบิน ทอ.ไทย ต้องขับเครื่องบิน คิ-27 โอตะ ของฝูงบินขับไล่ที่ 16 กองบินน้อยผสมที่ 85 กองบินใหญ่ภาคพายัพ ณ สนามบินพระบาท ของนครลำปาง ที่บินขึ้นสกัดกั้นผู้รุกาน ในยุทธเวหา 5 ต่อ 21 อันลือลั่น ว่าลูกทัพฟ้าไทยต้องรับมือกับฝูงบิน พี-51 มัสแตง จากฝูงบินขับไล่ที่ 25 และเครื่องบินขับไล่ 2 เครื่องยนต์ แบบ พี-38 ไลท์นิงจากฝูงบินขับไล่ที่ 449 กองทัพอากาศที่ 14 แห่งกองกำลังทางอากาศของกองทัพบกสหรัฐฯ และสามารถยิงมัสแตงตก ได้ 4 เครื่อง แต่สหัรัฐฯ ออกมายอมรับว่ามีการสูญเสียมัสแตงไปเครื่องเดียว ขณะที่ ทอ. ไทยเสียเครื่องโอตะไปทั้งหมด

เครื่องบินพี-51 ดี มัสแตง เมื่อหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีบทบาทในการใช้เป็นเครื่องบินโจมตีในช่วงสงครามเกาหลี และมีอีกหลายชาติ นำเอาเครื่องมัสแตงไปใช้งาน อาทิ อังกฤษ ออสเตรเลีย ไต้หวัน อิสราเอล และ แคนนาดา เป็นต้น

 

ข้อมูลอ้างอิง

วิกิพีเดีย เครื่องบิน นอร์ธ อเมริกัน พี-51 มัสแตง

วิกิพีเดีย เครื่องบินขับไล่

ยุทธเวหาเหนือฟ้าลำปาง...โดย...พ.อ.อ. รัชต์ รัตนวิจารณ์ จากเว็บบล็อก "Skyman"

 

http://www.thairath.co.th/content/tech/176823

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-06 12:27:05 IP : 223.204.200.105


ความคิดเห็นที่ 3 (2978935)
avatar
หมาป่าดำ

การขุดค้น ดำเนินไปถึงไหนแล้ว ไม่มีข่าวความคืบหน้าเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-06 06:57:46 IP : 223.205.172.52



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.