***หริภุญชัย***
avatar
ปติตันขุนทด


***หริภุญไชย***

@   ๑.     เมืองหริภุญไชย   ได้สร้างขึ้น  เมื่อ  พ.ศ.  ๑๑๙๗  พลเมืองเป็นไทย   ซึ่งชั้นเดิมรับวัฒนธรรมมอญ   ใช้หนังสือมอญ   นางจามเทวีวงศ์   ราชธิดากษัตริย์ไทย   เมืองละโว้   ได้ขึ้นไปครองเป็นองค์แรก  สืบกษัตริย์มาได้  ๔๙   พระองค์   ถึงพระยายี่บา  ก็เสียเมืองหริภุญไชยแก่พระยาเมงราย   ราชวงศ์แคว้นจก   เมื่อ  พ.ศ.  ๑๘๒๔     ต้องทิ้งเป็นเมืองร้าง   ถึง  พ.ศ.  ๒๐๕๙   พระเมืองแก้วราชวงศ์เดียวกัน   จึงได้สร้างเมืองลำพูนขึ้นใหม่

@  ๒.    ตามหนังสือจามเทวีวงศ์   กล่าวว่า.....

มีเมืองที่ตั้ง   ณ   ที่ใกล้เชิงเขาว่า       เมืองมิคสังฆนคร  ๑  เมืองบูรณนครทางตะวันออก  ๑  เมืองอวิทุรนครทางตะวันออกเฉียงเหนือ  ๑      แล้วภายหลังย้ายเมืองมิคสังฆนครมาตังเมืองรมยนครทางทิศใต้   ๑   อยู่มาน้ำท่วมเมืองถล่ม  กลายสภาพเป็นเมืองร้างไป

เมืองทั้ง  ๔   ที่ว่านี้   ไม่ปรากฏในตำนานว่าใครสร้าง   และสร้างมาแต่เมื่อใด  แต่ถ้ามีเมืองดังว่า   จะต้องมีชนชาติไทยได้เป็นพลเมืองอยู่เห็นจะเป็นอันมาก   เพราะเป็นสมัยเดียวกับแว่นแคว้นยวนเชียง  ที่อยู่ใกล้ชิดทางตะวันออกนั้น

@   ๓ .  เรื่องการสร้างเมืองหริภุญชัย    จากชินกาลมาลีปกรณ์      มีข้อความดังนี้.......

"ครั้งนั้น   ท่านวาสุเทพเที่ยวพิจารณาดูสถานที่  ซึ่งมีชัยภูมิดีได้เห็นสถานที่เป็นที่ประทับของพระพุทธแห่งเราทั้งหบลาย    จึงตกลงใจว่า   สถานที่นีมมีชัยภูมิดียิ่งนักหนอ   จึงได้สร้างเป็นสนครขึ้นนครหนึ่งในที่นั้น  ริมฝั่งแม่น้ำพิงค์    ทูครั้นสร้างเสร็จแล้ ว  จึงมาคิว่าคนอื่นนอกจากท่าน  สุกกทนต์   สหายของเรา   ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ  มีศีลคุณ  เปผ็นตน  ย่อมไม่มี    นครนี้ควรแก่ท่าน  สุกกทนต์  สหายของเรานั้นโดยแท้  จึงจารหนังสือลงในใบลานผูกติดไว้ที่กอไผ่กอหนึ่ง  ให้ลอยตามน้ำแม่พิงค์ลงไปยังเมืองลวปุระ   ท่านสุกกทนต์ได้อ่านหนังสือใบลานนั้นแล้ว    ขึ้นกอไผ่ลอยทวนน้ำแม่พิงค์มาถึงโดยลำดับ   ท่านวาสุเทพก็เล่าเรื่องทั้งปวงให้ท่านสุกกทนต์ฟัง   ท่านสุกกทนต์จึงกล่าวว่า    ข้าแต่พระคุณเจ้า   ถ้าได้น้เชื้อสายของพระเจ้าจักรพรรดิเมืองลวปุระมายังที่นี้แล้ว   ก็จะมีความสุขตความเจริญ   ครั้นแล้วท่านทั้งสองจึงส่งทูตซื่อนายควายพร้อมกับายฉกรรจ์  ๕๐๐  คนไป  ทูตควายไปถึงแช้วกราบบังคมพระราชาจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในเมืองลวปุระแล้ว  ลเรื่องราวทั้งหมดที่ท่านวาสุเทพสสั่งมา       ทูตควายพักอยู่ในเมืองลวปุระนั้น  ๑  ปี  พอออกพรรษาแล้ว  จึงทูลลพระเจ้ากรพรรดิกลับ    พระเจ้าจักรพรรดิมีพระธิดาองค์หนึ่ง  พระนามว่าพระนางจัมมเทวี   เป็นอัครมเหสีของเจ้าประเทศในเมืองรามัญ    กำลังทรงครรภ์ได้   ๓  เดือน   พระเจ้าจักรพรรดิทรงส่งพระนางจัมมเทวีพระ
ธิดาของพระองค์    ให้มาครองราชสมบัติในที่นี้ (หริปุญชัย)   ฝ่ายพระนางพร้อมด้วยวริวารหมู่ใหญ่  จำพวกละ  ๕๐๐ คน
  กับพระมหาเถรทรงไตรปิฎก   ๕๐๐  องค์  ลงเรือขึ้นมาตามแม่น้ำพิงค์   ๗  เดือน   จึงบรรลุเมืองนี้   ท่านวาสุเทพ   และท่านสุกกทนต์   พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งปวง   ได้อัญเชิญพระนางจัมมเทวีนั้นนั่งบนกองทองคำแล้วอภิเษก   อาศัยเหตุที่พระนางนั่งบนกองทองคำอภิเษกนครนั้น  จึงชื่อว่าหริปุญชัย  มาจนทุกวันนี้"

@  ๔.   พระวาสุเทพฤษี  กับพระสุกกทันตฤษี  สองพระสหาย จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ให้ฃื่อว่า   "ลพุน"    ที่ริมแม่น้ำระมิงหนตะวันตก   เมื่อ  พ.ศ.  ๑๑๙๗   แทนเมืองสุโขทัย   และเมืองชะเลียง   ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ที่ได้ถูกยุทธภัยลงจนเป็นเมืองร้าง  เมื่อราวพุทธศตวรรษที่   ๑๑   นั้น

@  ๕.   เมืองลพุนนี้   ลางแห่งว่า  เดิมชื่อ  พิงคบุรี   แล้วเป็นหริปุญไชย  และหริภุญไชย   ต่อมาต้องเป็นเมืองขึ้นขอมที่เมืองอุมงคเสลา   ขอมได้เรียกชื่อแว่นแคว้นสนี้ว่า   แว่นแคว้นมหารัฐหริภุญไชย  ชื่อหริภุญไชยนี้ภายหลังเรียกันว่า  เมืองลำพูนไชย   แล้วในที่สุดก็เรียกเพียงเมือง  ลำพูน

@  ๖.เมื่อการสร้างเมืองได้สำเร็จลงแล้ว   พระวาสุเทพฤาษีได้จัดให้นายควาย   พร้อมด้วยบริวารประมาณ   ๕๐๐คน   นำบรรณาการลงไปถวายพระเจ้าจักรพรรด์เมืองละโว้   เพื่อขออัญเชิญนางจามเทวีวงศ์  พระราชธิดา   ให้เสด็จขึ้นมาเป็นนางพระยาครองเมืองหริภุญไชย   พระเจ้ากรุงละโว้ก็ทรงอนุญาต   พระนามนางจามเทวีวงศ์จึงได้ไปเป้นนามเขตแคว้นของพระองค์ในภายหลังว่า   สามรัฐ   หรือสามเทศ   และเลื่อนลงมาใช้ถึงเขตเมืองเหนือ  อันเป็นต้นเดิมของคำว่า  สยามประเทศ  ที่เขมรเรียกขึ้น   เพราะคำว่า  จาม  ชาม  สาม   เป็นเสียงเดียวกัน      ในคราวเดียวกันนั้น   พระเจ้ากรุงละโว้ก็ได้ทรงตั้งพระสวามีของนางให้เป็นอุปราชา   ไปกินเมืองรา  หรือเมืองราม    เวลานั้นพระนางทรงครรภ์ได้   ๗  เดือน   เมื่อเสด็จขึ้นมา   ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญของกรุงละโว้ขึ้นมาด้วย  ๒  พระองค์   พระองค์หนึ่ง   คือ  พระแก้วขาว   หรือพระจันทรรัตน์  ที่บัดนี้มีพระนามว่า   พระพุทธบุศยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย   อีกองค์หนึ่ง  คือ  พระพุทธสิขิ  เป็นพระทำด้วยศิลาดำ   เสด็จขึ้นมาโดยขบวนเรือ   พร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพาร  ยังเมืองหริภุญไขย   ได้ทรงตั้งเมืองตามระยะทางโดยลำดับ    พระนามเสด็จถึงเมืองลพุน   ขึ้นครองเมืองเมื่อ  พ.ศ.   ๑๒๐๐

@  ๗.   เมื่อจัดการทำพิธีอภิเษกพระนาง   เป็นนางพระยาแล้วก็ให้เปลียนชื่อเมืองลพุนว่า   เมืองหริภุญไชย   เสวยราชย์ได้เพียง   ๗  วัน   ก็ประสูติสองพระราชโอรสฝาแฝด   ผู้พี่ทรงพระนามว่า  เจ้ามหันยศ   ผู้น้องทรงพระนามว่า  เจ้าอินทรวร   ต่อมาเจ้ามหันตยศ  พระชนม์   ๑๘  พรรษา   ได้เสวยราชย์แทนพระนาง   และเจ้าอินทรวร  ได้มาครองเมืองเขลางค์นคร   ที่พระสุพรหมฤษีเนรมิตให้  ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเมือง   ลัมภกัปปะนครมาแล้ว

@  ๘.   พระนางจามเทวี   ได้เสด็จมาประทับที่เมืองเขลางค์นคร   ๖   เดือน   เสด็จกลับเมืองหริภุญไชย   ก็ทรงประชวร  สวรรคต   พระยามหันตยศ  ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระศพแล้ว   ให้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้ภายในเวียงหริภุญไชย        เรียกว่า  สุวรรณเจดีย์จังโกฏ

@  ๙.   กษัตริย์สืบพระวงศ์ต่อมาจากนางจามเทวีวงศ์ลงมาถึงพระเจ้าอรุโณทัย  รัชกาลที่  ๔  แว่นแคว้นมหารัฐหริภุญไชย   ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโยนกเชียงแสน   และแต่นั้น  ถึงพระเจ้ากุลเทวะ  รัชกาลที่  ๘     เสวยราชย์  พ.ศ.  ๑๔๓๐   ครองสมบัติได้   ๘   ปี   ก็เสียเมืองแก่พระเจ้ามิลักขะไตรราช   พระเจ้ามิลักขะไตรราชครองเมืองหริภุญไชยได้   ๓  ปี   ๓  เดือน   ก็ถูกพระเจ้ามิลักขะมหาราชมาแย่ง   แล้วเข้าไปครองเมือง 

@  ๑๐.    พระเจ้ามิลักขมหาราชนั้น   เดิมครองราชสมบัติอยู่  ณ  เมืองยศมาลามหานคร   (แสนหวี)    ฝ่ายพลโยธาหาญฝ่ายเมืองหริภุญไชย  ปราชัยหนีไปอาศัยอยู่  ณ  เมืองสมิงนคร  พระเจ้ามิลักขะมหาราช ได้นครหริภุญไชยหนึ่งเดือน      ราชโอรสพระเจ้ากุลเทวะ  ซึ่งพ่ายหนีลงไปอยู่เมืองสมิงนคร   รวบรวมกำลังพลได้แล้วก็ยกกองทัพขึ้นมาตีเอาเมืองหริภุญไชยคืนได้   ครองสมบัติได้  ๑  ปี  กับ  ๓  เดือน  ต่อกษัตริย์องค์นั้นมาอีกองค์หนึ่ง  ถึงพระเจ้าพาลราชเสวยราชย์  พ.ศ.  ๑๔๔๒   ครองเมืองได้  ๒  เดือน   ๑๕  วัน  องค์อื่นได้เสวยราชย์ต่อมาอีก  ๒  องค์   ถึงพระเจ้าพาลราช  พ.ศ.  ๑๔๕๖  อีก  ครองเมืองอยู่  ๓  ปี

ถัดจากพระเจ้าพาลราชลงมาอีก  ๓  องค์  ถึงพระเจ้าอัทรสัตถะ  หรือพกราช  เสวยราชย์ พ.ศ.  ๑๔๖๕   ครองเมืองได้  ๒  ปี  ๑๐  เดือน   ยกกองทัพลงไปจะตีเมืองละโว้  แต่มิทัน  ฝ่ายกองทัพเมืองละโว้   ได้ยกออกไปจะต่อสู้ข้าศึกที่ชายแดน   ก็ถูกกองทัพพระเจ้ากรุงสะธัมมนคร  (สะเทิมมอญ)  ได้ยกทัพเข้ามาสกัดหลังไว้     จะกลับเมืองละโว้ก็กลับไม่ได้   จึงยกทัพบ่าขึ้นไปแย่งเอาเมืองหริภุญไชยได้ก่อน   ส่วนพระเจ้ากรุงหริภุญไชยต้องหนีเตลิดลงมาทางใต้

พระเจ้ากรุงละโว้   เคยครองกรุงหริภุญไชยอยู่ได้   ๓  ปี  ในเวลาที่ครองเมืองอยู่นั้น  มีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า   กัมโพช   ได้ยกพยุหโยธามารบ   แต่ต้องพ่ายหนีไป   ทิ้งเครื่องศาสตราวุธและเครื่องมาไว้เป็นอันมาก

เมื่อพระยาละโว้สวรรคตแล้ว   พระยากมลราช   รัชกาลที่   ๒๑   ได้เสวยราชย์   พ.ศ.  ๑๔๗๐   ในปีนี้  เมืองหริภุญไชย  ต้องตกเป็นเมืองขึ้นขอมที่เมืองอุมงคเสลา   ขอมได้เป็นใหญ่เหนือแว่นแคว้นชะเลียง   และได้ตลอดจนอาณาจักรโยนกเชียงแสน

ต่อรัชกาลนี้   ก็ถึงรัชกาลพระเจ้าจุเรละ    เสวยราชย์   พ.ศ.  ๑๔๙๐   เกิดความไข้ขึ้นในเมืองหริภุญไชย    มีคนล้มตายมาก   ชาวเมืองได้หนีความไข้ไปอยู่เมืองสุธรรมาวดีนคร   (สะเทิม)    เป็นอันมาก

ครั้นอยู่มาได้   ๖   ปี   ความไข้นั้นระงับหายไป   ผู้ที่คิดถึงบ้านเมืองเดิมก็พากันกลับยังภูมิลำเนา   พวกที่ไม่อาลัยต่อบ้านเมืองเดิมก็เลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีต่อไป

ชนทั้งหลายที่ได้กลับมายังเมืองหริภุญไชยนี้แล้ว    ระลึกถึงหมู่ญาติยังอยู่เมืองหงสาวดี   ถึงกำหนดปี  เดือน  จึงได้แต่งเครื่องสักการะลอยน้ำไปบูชาทางน้ำ  เรียกว่า   ลอยโขมด   จึงเป็นประเพณีลอยประทีปสืบมา   

อนึ่งเล่า   คนชาวเมืองหงสาวดีก็พากันมาอยู่ในเมืองหริภุญไชยมาก   และได้นำวิธีใช้อักขระหนังสือมาใช้ในเมืองนี้   ซึ่งเป็นเหตุให้ไทยที่เมืองหริภุญไชยรับใช้หนังสือมอญ   แต่นั้น

พ.ศ.   ๑๔๙๖    พระเจ้าเอกุรุจักรวรรดิราช   เสด็จมาจกเมืองถมุนคร   (เชียงรุ้ง)   ขึ้นครองราชสมบัติในเมืองหริภุญไชยได้  ๙  ปีก็สวรรคต

ต่อมาอีก   ๒   องค์   ถึงพระเจ้ามลารยะสุปาลนคร   เป็นรัชกาลที่  ๒๖   เสวยราชย์  พ.ศ.  ๑๕๑๖  

ล่วงรัชกาลมาอีก   ๕  องค์  ก็ถึงรัชกาลที่   ๓๒   พระเจ้าอาทิตยธรรมิกราช   พระชนม์   ๗๖   ขึ้นเสวยราชย์   พ.ศ.   ๑๕๘๖   กษัตริย์พระองค์นี้   ได้ทรงทำศึกกับกษัตริย์ละโว้   คือพระเจ้าจันทโชติ   พระชนกพระนารายณ์  หลายครั้ง    แต่เป็นศึกแบบธรรมยุทธกรรม   คือพนันก่อพระเจดีย์และขุดสระ  เป็นต้น

พระองค์ให้สร้างเจดีย์หลวงลำพูน   สูง  ๑  เส้น  ๓  วา   บรรจุพระบรมธาตุไว้ในนั้น   แล้วให้สร้างศาลาการเปรียญ   ศาลาใหญ่น้อย   เป็นมหาอารามหลักของนครหริภุญไชย

เพราะเหตุที่พระองค์ได้เป็นกษัตริย์   เมื่อล่วงมัชฌิมวัย   จึงทรงขวนขวายแต่ทางธรรมเป็นที่ตั้ง   แม้จะต้องทำสงครามด้วยวิธียุทธกรรม   มีการพนันก่อสร้างปูชนียวัตถุในพระศาสนานั้นเป็นต้น

ส่วนปูชนียวัตถุ   ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญ   ที่ได้มาในรัชกาลนี้   คือพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต   ทรงอัญเชิญเสด็จขึ้นมาแต่เมืองศรีอยุธยาโบราณ   (เมืองอู่ทอง)   พระเจ้าอาทิตย์ธรรมิกราชสวรรคต   พ.ศ.  ๑๕๙๐    เมื่อมีพระชนมายุได้  ๘๐   พรรษา

ต่อจากนี้ไปอีกองค์หนึ่ง  ก็ถึงรัชกาล  ๓๔  พระเจ้าสรรพสิทธิราช   ครองราชสมบัติ   เมื่อ  พ.ศ.   ๑๕๙๖    ครองราชย์ได้  ๓  ปี  เจ้าพรหม   ก็รุกไล่ขอมเมืองอุมงคเสลา   ลงมาได้แว่นแคว้นมหารัฐหริภุญไชย   ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองออกขอม   เมื่อ  พ.ศ.   ๑๕๙๙   แล้วได้แว่นแคว้นชะเลียงด้วย   เปลี่ยนนามแว่นแคว้นมหารัฐหริภุญไชยว่า   แว่นแคว้นลานนาไทย

แล้วมีกษัตริย์สืบต่อพระเจ้าสรรพสิทธิราช   ลงมาอีก   ๖  พระองค์   ถึงรัชกาลที่   ๔๑   พระเจ้าทาตัญญะราชเสวยราชย์   พ.ศ.  ๑๖๙๕   พระองค์เสวยราชย์มาได้   ๗   ปี   อาณาจักรโยนกเชียงแสนก็ถูกพวกไทยในอาณาจักรเมาทำลาย   แว่นแคว้นนี้ไม่ได้ถูกตียับเยินในครั้งนั้นด้วย   จึงได้กลับเป็นอิสระขึ้นแต่นั้นมา

ต่อรัชกาลนี้ถึงรัชกาลที่    ๔๒   ไทยอำมาตย์เสวยราชย์   พ.ศ.   ๑๗๒๕   ต่อจากรัชกาลนี้ไปอีก   ๖   รัชกาล    ถึงรัชกาลที่  ๔๙   พระยายี่  มาครองเมือง  เมื่อ  พ.ศ.๑๘๑๔   ได้ให้พระยาเบิก  โอรส  ไปครองเมืองนครเขลางค์ลัมภปุรี  (ลำปาง)  พระยายี่มาครองเมืองหริภุญไชยได้ราว   ๔  ปี  พระยาเมงรายก็แต่งให้อ้ายฟ้าเข้ามาเป็นไส้ศึกอยู่ในหริภุญไชย   ถึง  พ.ศ.  ๑๘๒๔   พระยาเมงรายก็ตีเมืองหริภุญไชยได้               รี้พลของพระยาเมงราย   ได้เอาเพลิงเผาบ้านเรือนในเมืองหริภุญไชยพินาศครั้งนั้น   แว้นแต่หอพระแก้ววมรกตหาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่    ได้มีผู้ลอบอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นไปไว้เสียที่เมืองเชียงราย   พระยาเมงรายคงได้แต่พระแก้วขาวไปไว้ที่เมืองเชียงใหม่

ราชวงศ์กษัตริย์หริภุญไชย   แต่พระเจ้าอาทิตยราช   ราชงศ์กษัตริย์สุวรรณภูมิลงมา   มีเชื้อพระราชวงศ์ติดต่อกัน   จนกระทั่งเสียเมือง

เมื่อเมืองหริภุญไชยถูกเพลิงเผาพินาศแล้ว   ก็ได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นเมืองร้างอยู่ถึง   ๒๓๖  ปี   พระเมืองแก้วราชวงศ์แคว้นจกจึงได้สร้างเมืองลำพูนขึ้นใหม่   เมื่อ  พ.ศ.  ๒๐๕๙    ตั้งหลักเมือง   ก่อปราการ   ณ  วันพฤหัสบดี   ขึ้น   ๕  ค่ำ   เดือนยี่

@  ๑๑.  แคว้นหริภุญไชย  มีรายพระนามกษัตริย์ปกครองดังนี้

          ๑.   พระนางจามเทวี   เป็นปฐมกษัตริย์   ครองราชย์    ๑๘   ปี

         ๒.   เจ้ามหันตยศ

         ๓.   พญาดูมัญราช    ราชบุตรเจ้ามหันตยศ

        ๔.   พญารุนธัยราช   ราชบุตรพญาดุมัญราช

        ๕.   พญาสุวรรณมัญชนะ  บุตรพญาอรุโณทัย

        ๖.   พญาสังสาราช

        ๗.   พญาปทุมกุมาร

        ๘.   พญากุลเทวะ

        ๙.   พญามิลักขราช

      ๑๐.   พญามิลักขไตรราช

      ๑๑.  พญาโนกะราช

      ๑๒.   พญาทาลราช

      ๑๓.   พญาคุตราช  หรือพญากัลยาณราช

      ๑๔.   พญาเสละราช   หรือพกราช

      ๑๕.   พญาพาลราช

      ๑๖.   พญาโยวราช

      ๑๗.   พญาพรหมทัต

      ๑๘.  พญามุกขราช

      ๑๙.   พญาวัตรสัตกะราช

      ๒๐.   พญาอุจฉิตตจักวัตติ

      ๒๑.   พญากมลราช

      ๒๒.   พญาจุเลระราช

      ๒๓.   พญาเอกุรุจักรพรรดิราช

      ๒๔.    พยาพาสุเทวราช

      ๒๕.   พญาไชยะละราช

      ๒๖.   พญาราชะสุปละนคร

      ๒๗.   พญาเสละราช

      ๒๘.   พญาตาญะราช

      ๒๙.   พญาชิลักกิราช

      ๓๐.   พญาพินธุละราช

      ๓๑.   พญาอินทุวระราช

      ๓๒.   พญาอาทิตยราช

      ๓๓.   พญาธรรมมิกราช

      ๓๔.   พญารัตนราช

      ๓๕.    พญาสัพพสิทธิ์

      ๓๖.   พญาเชษฐราช

      ๓๗.   พญาจักรกายะกราช

      ๓๘.   พญาตันวาญญะราช

      ๓๙.   พญากากยะราช

      ๔๐.   พยาสิริปุญญะ

      ๔๑.    พญาเวทนราช

      ๔๒.   พญาพันโตญญะ

      ๔๓.   ไทยอำมาตย์   ยกกำลังจากเขลางค์นคร   มาปลงพระชนม์แล้วยึดหริ ภุญไชย                     ครองราชต่อมาได้  ๓  ปี

      ๔๔.   อำมาตย์ปะนะ

      ๔๕.   อำมาตย์ทาวนะ

      ๔๖.   พญาตาราชละราช

      ๔๗.   พญาโยทราช

      ๔๘.   พยาอ้าย

      ๔๙.   พญาเสต

      ๕๐.   พญายีบา

@  ๑๒   พงศาวดารชาติไทย  เล่ม  ๑     เขียนไว้ว่า.....

เวลานั้น  ขอมที่เมืองอุมงคเสลาเป็นเอกราช  มีอำนาจเหนือแว่นแคว้นมหารัฐหิภุญชัย   และบ้านเมืองขอมที่อยู่ในที่ต่างๆ ทั่วไป  พระเจ้วสิงหนวัติทรงพระราชดำริเห็นว่า  ขอมมีกำลังเป็นปึกแผ่น  และอยู่ใกล้ชิดกันเช่นนั้น   จะเป็นภัยแก่ราชบัลลังก์ของพระองค์ในอนาคต   ครั้นเสวยราชย์ล่วงได้  ๓   ปี  พอจัดการปกครองเหตุการณ์ภายในบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ใน  พ.ศ.  ๑๓๑๗   ก็เสด็จยกทัพไปรบขอม    ขอมสู้รบต้านทานมิได้  ก็เสียเมืองอุมงคเสลา  และพระองค์ได้แต่งกองทัพไปเที่ยวปราบปรามบ้านเมืองขอมทั้งหลายในที่ต่าง ๆ  รวมทั้งพวกขอมที่อยู่ในแว่นแคว้นมหารัฐหริภุญชัย   ก็ทรงตีได้หมดทุกตำบลในเวลา  ๒๐  ปีต่อมา     (จากพงศาวดารโยนก)

 

@  ๑๓  โคลงนิราศหริภุญชัย

นายทิพ   หรือนายศรีทิพ   เป็นกวีผู้แต่งโคลงนิราศหริภุญชัย    แต่งอย่างช้าที่สุดประมาณ  พ.ศ.๒๒๘๑   ตกในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง

ตามเนื้อเรื่อง   ผู้แต่งได้กล่าวว่า   ตนเป็นชาวเชียงใหม่   จะไปไหว้พระธาตุเมืองลำพูน  (หริภุญชัย)   ได้แวะไหว้พระพุทธสิหิงส์   ที่อยู่เมืองเชียงใหม่ก่อน

โคลงหริภุญชัยนี้นับเป็นโคลงนิราศแรกๆ ในวรรณคดีไทย  แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพอย่างไพเราะ  มีผู้เฃืยนแบบารเขียนในสมัยหลังมาเป็นอันมาก  เนื้อเรื่องกล่าวถึงการที่ตนจะไปไหว้พระธาตูเมืองหริภุญชัย    ก่อนไปได้ลาพระพุทธสิหิงค์แล้วออกเทินทาง   ระหว่างทางได้คร่ำครวญพรรณนาถึงสาตรีที่ตนรัก   เมื่อไหว้พระธาตุเสร็จแล้ว  ก็เดินทางกลับเชียงใหม่    

กัชชมก๋อนแต่งตั้ง     ศีลลา

นบพระธรรมสังฆา    ผ่านเผ้า

สนําสลูเบิกนามมา    ขอมเรียก   รักเอ่

ไท้ลุตำบลเมืองเปล้า   ปล่านไว้วิวอรอัฐ

 

 ( น  ณ  ปากน้ำ         ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา     ต้นอ้อ  แกรมมี    ๒๕๔๐)

(กุหลาบ   มัลลิกมาส     วรรณคดีไทย   รามคำแหง   ๒๕๑๙)



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-24 08:26:31 IP : 125.26.99.188


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2979113)
avatar
heroqwerty

 

เยี่ยมมากจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น heroqwerty วันที่ตอบ 2011-07-30 12:09:17 IP : 180.183.171.83


ความคิดเห็นที่ 2 (2979331)
avatar
nay

เนื้อหาแน่นดีน่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nay วันที่ตอบ 2011-09-10 14:49:58 IP : 180.183.216.145



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.