ผลวิจัย Batter Angels of Our Nature โลกยุคปัจจุบันความรุนแรงน้อยลง
avatar
หมาป่าดำ


อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือเล่มหนาถึง 700 กว่าหน้าที่ชื่อว่า Better Angels of Our Nature เขียนโดย สตีเวน พิงเกอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอันโด่งดังของสหรัฐ อเมริกา สวนกระแสว่าโลกในยุคพวกเราๆ ท่านๆ นั้น "รุนแรงน้อยกว่า" และ "มีสันติ สุขมากกว่า" ยุคที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ มนุษย์เสียอีก

พิงเกอร์นำเสนอข้อมูลที่น่าทึ่งว่าประ ชากรโลกร้อยละ 15 ในยุคหินต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือผู้อื่น (เช่น ฆาตกรรมหรือ สงครามระหว่างเผ่า) แต่เมื่อเวลาผ่านไปตัวเลขนี้กลับลดลง

ในศตวรรษที่ 17-20 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามดุเดือดที่สุดระหว่างรัฐในยุโรปนั้น มี ผู้เสียชีวิตในสงครามเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น

ขณะเดียวกันอัตราการฆาตกรรมในยุโรปยุคกลางคือ 1 คดีต่อประชากร 100 คนต่อปี แต่ในยุคปัจจุบันนั้นลดลงมาเหลือเพียง 1 คดีต่อประชากร 100,000 คนต่อปี

ถึงแม้ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ "ฆ่าหมู่" เช่น ยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2 (6 ล้านคน) รวันดา (2 ล้านคน) เขมรแดง (1 ล้าน 7 แสนคน) สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นก็ฆ่าคนไปทั้งหมด 55 ล้านคนทั่วโลก

แต่ในอดีตนั้นการฆ่าหมู่มีจำนานมหาศาลกว่ามากมายนัก นับเฉพาะกองทัพมองโกล ฆ่าคนไปถึง 45 ล้านคนในการแผ่ขยายอำนาจในศตวรรษที่ 12 ทั้งนี้ในสมัยมองโกลประชากรโลกมีเพียง 1 ใน 7 ของยุคปัจจุบันเท่านั้น 45 ล้านคนถือเป็นตัวเลขที่เยอะมาก

พิงเกอร์ชี้ว่าตามจริงแล้วตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปีพ.ศ.2488 โลกไม่มีสงครามขนาดใหญ่ระหว่างประเทศมหาอำนาจดังเช่นในอดีตเลย นับเป็น 65 ปีเต็มแห่งสันติภาพ นอกจากนี้สิทธิของสตรี เด็ก ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ (เช่นคนรักเพศเดียวกัน) หรือแม้แต่สัตว์ ก็ได้รับการปกป้องมากขึ้น

ทำไมพิงเกอร์มองว่าโลกจึงรุนแรงน้อยลง?

ความเบื่อหน่ายสงครามและการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำให‰สงครามระหว่างรัฐมีน้อยลง

นอกจากนี้ การเปิดรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่เน้นเหตุผลมากกว่าอารมณ์ สื่อมวลชนที่พร้อมประจานความรุนแรงในสังคมหนึ่งๆ ให้ชาวโลกเห็นการสร้างความเท่าเทียมกันทางเพศ คือส่วนที่ทำให้สังคมรุนแรงน้อยลงเชˆน

แต่ที่น่าสนใจคือข้อเสนอของพิงเกอร์ว่า "อำนาจรัฐที่มากขึ้น คือส่วนที่ทำให้การฆาตกรรมน้อยลง"

จากเดิมในสังคมโบราณมีแนวคิดอย่าง "ลูกผู้ชายแค้นต้องชำระ" เมื่อเกิดการขัดแย้งระหว่างบุคคลก็มักจบลงด้วยการชักดาบหรือปืนออกมาดวลกัน ณ ตรงนั้น แต่เมื่อรัฐมีอำนาจขึ้นนั้นก็ริบอาวุธ (จนสมัยนี้ไม่มีใครเดินสะพายดาบได้อย่างซามูไรแล้ว) พร้อมตั้งหน่วยตัดสินความขัดแย้งระหว่างบุคคล เช่น ตำรวจ ศาล และ เรือนจำ

ที่แห่งใดที่มีการพกอาวุธ(ปืน)และอำนาจรัฐส่วนกลางน้อย อย่างเช่นรัฐเท็กซัสในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชื่อว่าเป็น "ถิ่นคาวบอย" อัตราฆาตกรรมก็สูง และส่วนใหญ่เป็นการฆาตกรรมโดยการบันดาลโทสะ มิใช่ปล้นฆ่า

อย่างไรก็ตาม มีผู้คัดค้านงานวิจัยของ พิงเกอร์ว่า เพราะประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น อัตราส่วนความรุนแรงต่อประชากรจึงน้อยลงเป็นธรรมดา หากเกิดสงครามนิวเคลียร์จนมี ผู้เสียชีวิต 2,000 ล้านคนในโลกอนาคตที่มีประชากร 20,000 ล้านคน ก็จะนับเป็นอัตราส่วนน้อยนิดอย่างนั้นหรือ

จึงมีเสียงวิจารณ์ว่าความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไปในโลก เราทุกคนควรหาทางยุติลง มิใช่เทียบตัวเลขความรุนแรงกับจำนวนประชากรเพื่อให้รู้สึกดีอย่างเดียว

ที่สำคัญคือ อำนาจรัฐนั้นไม่ควรประหัตประหารประชาชนเสียเอง

 

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlNVEl4TURFMU5RPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5TVE9PQ==

อยากเห็นรายละเอียดงานวิจัย เป็นการเปรียบเทียบแต่ละยุคสมัย



ผู้ตั้งกระทู้ หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-21 10:22:26 IP : 223.206.31.178


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2979932)
avatar
soontorn1

ผมว่าปัจจุบันนี้ การที่มีระบอบการเลือกตั้งผู้นำ จากพลเมืองของแต่ละประเทศ มีส่วนช่วยลดการทำลายประชากรของโลกลงมาก ผู้ที่อยากเป็นผู้นำไม่จำเป็นต้องทำสงครามก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น soontorn1 (soontorn1-at-sanook-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-22 00:47:10 IP : 110.77.238.222



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.