อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับทหารไทยที่ไปรบในสงครามโลกครั้งที่1
avatar
PT109


ทหารไทยกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอยากรู้ข้อมากเลยครับ ช่วยแนะนำหนังสือด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ PT109 กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-02 12:33:29 IP : 58.8.167.220


1

ความคิดเห็นที่ 1 (2975088)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

สมัยผมทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ยังต้องใช้หนังสืองานศพอยู่หลายเล่ม หลังจากเรียนจบมาก็แทบไม่เคยเห็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ คงต้องหาวิทยานิพนธ์ของผมที่หอสมุดธรรมศาสตร์หรือแผนกวิทยานิพนธ์ที่ม.อื่นอาจจะมีบ้างครับ

ไหนๆ ถามแล้ว ขอเล่าให้ฟังจากความทรงจำคร่าวๆ ว่า ทหารไทยที่ไปนั้น เป็นอาสาสมัครเกือบทั้งหมด ไม่ใช่ทหารประจำการ มีอยู่สองกลุ่ม คือ ทหารราบยานยนต์ขนส่ง กับเหล่านักบิน ทหารราบยานยนต์ได้มีส่วนช่วยสัมพันธมิตรในการลำเลียงขนส่งยุทธปัจจัยต่างๆ ในช่วงปลายสงครามอยู่พอสมควร จนได้รับเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกของฝรั่งเศสมาประดับธงชัยเฉลิมพล ส่วนนักบินนั้น ไปเสียเวลากับการฝึกจนสงครามเลิกซะก่อน ไม่ได้ขึ้นบินออกรบอย่างในเรื่อง "รักสยามเท่าฟ้า" หรอกครับ

ถ้ายังมีหนังสือเก่าๆ หลงเหลืออยู่ในบ้านหรือนึกอะไรได้เพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-04-02 14:04:30 IP : 61.7.253.227


ความคิดเห็นที่ 2 (2975109)
avatar
บ้าหนังสงคราม

พอพี่ไทยไป สงครามก็จบพอดี 555 พี่ไทยเลยได้ชื่อว่า ผู้ชนะสงครามไปด้วย เหอะๆ สยามประเทศ หนอ เดินสวนสนามโบกธงช้างเผือกที่ประตูชัย ณ กรุง ปารีส

ผู้แสดงความคิดเห็น บ้าหนังสงคราม วันที่ตอบ 2008-04-09 20:52:12 IP : 58.9.110.176


ความคิดเห็นที่ 3 (2975117)
avatar
ขาประจำ..เคยได้ยินได้ฟังมา

ม่ายจริงทั้งหมดครับ ฝ่ายที่ไปเป็นนักบินน่ะใช่ แต่ฝ่ายทหารราบน่ะ ยังได้ทันออกรบและเจอแก๊ซพิษ ตายไปเยอะเหมือนกัน ไม่เชื่อไปดูรายชื่อที่อนุสาวรีย์ทหารอาสาที่ หน้าโรงละครแห่งชาติสนามหลวงดูก็ได้  สมัยผมยังเด็ก ยังทันทหารอาสาท่านหนึ่ง เรียกท่านว่า ปู่แดง ยังฟังท่านเล่า ตั้งแต่แรกสมัคร จนได้สวนสนามหน้าพระที่นั่ง ร.6 ทั้งขาไปและขากลับ นั่งเรือรบไปลงที่ยุโรป ไป ปารีส ไปรบข้ามไปในแดนเยอรมัน อากาศหนาวอย่างไร ท่านเล่าละเอียดลออ  มีหลักฐานเป็นดาบปลายปืน หมวกเหล็ก เยอรมัน ไฟแช๊ค และอะไรต่อมิอะไรมากมาย น่าศึกษา เล่าจนกระทั่งเรื่องเที่ยวผู้หญิงแหม่มในปารีส

ผู้แสดงความคิดเห็น ขาประจำ..เคยได้ยินได้ฟังมา วันที่ตอบ 2008-04-16 10:48:23 IP : 118.172.88.167


ความคิดเห็นที่ 4 (2975118)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ครับ อย่างที่ผมบอกไว้ในความเห็นแรกว่าทหารยานยนต์ของไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือเขาพอสมควร ย้ำว่าเป็นทหารยานยนต์ขนส่ง ที่อาจจะไม่เท่เหมือนทหารราบที่ได้ออกรบโดยตรง แต่เป็นงานปิดทองหลังพระที่ขาดไม่ได้จนทางการฝรั่งเศสยังถนอมน้ำใจด้วยการมอบเหรียญกล้าหาญให้ ที่โพสต์นี้ไม่ได้อยากให้มีการเถียงเอาชนะหรือเข้าข้างใคร แต่ขอคัดลอกลำดับเวลาที่เกี่ยวข้องจากวิทยานิพนธ์ของผมเมื่อหลายปีก่อนมาตีแผ่เป็นข้อเท็จจริงประกอบความเข้าใจกัน ดังนี้

28 พ.ค.1917/2460 ประชุมเสนาบดีสภาของไทย เพื่อทบทวนนโยบายการรักษาความเป็นกลาง และตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม

22 ก.ค.1917/2460 สยามประกาศสงครามกับเยอรมัน มีการจับเชลยชาวเยอรมันและออสเตรียได้เป็นจำนวนมากโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อของฝ่ายใด

20 ก.ย.1917/2460 ออกคำสั่งให้กองบินทหารบกไปราชการสงครามยุโรป และประกาศรับสมัครทหารอาสา

11 ม.ค.1918/2460 ไทยส่งคณะทูตทหารไปปารีส ถึงปลายทางวันที่ 24 ก.พ.

3 มี.ค. 1918/2460 รัสเซียสงบศึกตามสัญญาเบรสท์ลิทอฟ หลังจากการปฏิวัติบอลเชวคเมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย

จากนั้นเยอรมันรุกหนักด้านตะวันตกอีก 2-3 ครั้ง จนถึงขนาดเอาปืนบิ๊กเบอร์ธามายิงถล่มปารีสได้ และวันที่ 5 มิ.ย.1918/2461 ถึงแม่น้ำมาร์น ห่างจากปารีส 56 ไมล์

19 มิ.ย.1918/2461 ทหารอาสาออกเดินทางจากสยามโดยทางเรือ ถึงฝรั่งเศส วันที่ 30 ก.ค.

6 ส.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยเริ่มเข้ารับการฝึก

17 ส.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยไปปฏิบัติหน้าที่ที่แวร์ซายส์

18 ก.ย. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยไปยังค่ายวิลล์มัวร์ เยนซ์

14-15 ต.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยย้ายไปตำบลชาร์ลองส์

3 พ.ย. 1918/2461 ออสเตรียยอมแพ้

5 พ.ย. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยย้ายไปนองสตัลส์

11 พ.ย. 1918/2461 เยอรมันยอมสงบศึก

รวมเวลาที่ทหารไทยปฏิบัติหน้าที่จริงในสมรภูมิ (ไม่นับการเดินทางและการฝึก) ประมาณ 3 เดือน หรือนับเป็นเวลาที่ไทยเข้าร่วมสงครามประมาณ 1 ปี 4 เดือนหย่อนๆ

แม้จะเป็นการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามจากแนวโน้มว่าสัมพันธมิตรจะชนะ แต่แนวโน้มที่ว่าก็ไม่ได้ชัดเจน 100 เปอร์เซนต์ หลังการเข้าร่วมสงคราม เยอรมันยังกลับรุกหนักไม่ใช่เล่น และบทบาทของไทยจากการจับเชลยในประเทศไทย และการลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ในสมรภูมิประมาณ 3 เดือนนี้ คุณว่าเพียงพอหรือเปล่า?

ขอเรียนชี้แจงอีกอย่างหนึ่งว่า ร.๖ ท่านได้พระราชทานทานธงไตรรงค์ให้พวกเราก่อนที่จะส่งทหารไปร่วมรบ ธงที่ไปโบกในกรุงปารีสจึงไม่ใช่ธงช้างเผือกครับ

แล้วหลักฐานที่คุณขาประจำว่า เป็นของในพิพิธภัณฑ์หรือสมบัติส่วนตัวของ "ปู่แดง" ครับ พอจะหาภาพมาโชว์กันได้ไหม?

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-04-16 13:12:11 IP : 124.120.173.206


ความคิดเห็นที่ 5 (2975157)
avatar
PT109

ขอบคุณมากๆครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น PT109 ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-05-28 10:41:26 IP : 210.213.44.46



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.