|
![]() |
|
อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับทหารไทยที่ไปรบในสงครามโลกครั้งที่1 | |
![]() PT109 | ทหารไทยกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอยากรู้ข้อมากเลยครับ ช่วยแนะนำหนังสือด้วยครับ |
ผู้ตั้งกระทู้ PT109 ![]() ![]() |
1 |
ความคิดเห็นที่ 1 (2975088) | |
![]() โรจน์ (Webmaster) | สมัยผมทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ยังต้องใช้หนังสืองานศพอยู่หลายเล่ม หลังจากเรียนจบมาก็แทบไม่เคยเห็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ คงต้องหาวิทยานิพนธ์ของผมที่หอสมุดธรรมศาสตร์หรือแผนกวิทยานิพนธ์ที่ม.อื่นอาจจะมีบ้างครับ ไหนๆ ถามแล้ว ขอเล่าให้ฟังจากความทรงจำคร่าวๆ ว่า ทหารไทยที่ไปนั้น เป็นอาสาสมัครเกือบทั้งหมด ไม่ใช่ทหารประจำการ มีอยู่สองกลุ่ม คือ ทหารราบยานยนต์ขนส่ง กับเหล่านักบิน ทหารราบยานยนต์ได้มีส่วนช่วยสัมพันธมิตรในการลำเลียงขนส่งยุทธปัจจัยต่างๆ ในช่วงปลายสงครามอยู่พอสมควร จนได้รับเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกของฝรั่งเศสมาประดับธงชัยเฉลิมพล ส่วนนักบินนั้น ไปเสียเวลากับการฝึกจนสงครามเลิกซะก่อน ไม่ได้ขึ้นบินออกรบอย่างในเรื่อง "รักสยามเท่าฟ้า" หรอกครับ ถ้ายังมีหนังสือเก่าๆ หลงเหลืออยู่ในบ้านหรือนึกอะไรได้เพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบครับ |
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) ![]() |
ความคิดเห็นที่ 2 (2975109) | |
![]() บ้าหนังสงคราม | พอพี่ไทยไป สงครามก็จบพอดี 555 พี่ไทยเลยได้ชื่อว่า ผู้ชนะสงครามไปด้วย เหอะๆ สยามประเทศ หนอ เดินสวนสนามโบกธงช้างเผือกที่ประตูชัย ณ กรุง ปารีส |
ผู้แสดงความคิดเห็น บ้าหนังสงคราม วันที่ตอบ 2008-04-09 20:52:12 IP : 58.9.110.176 |
ความคิดเห็นที่ 3 (2975117) | |
![]() ขาประจำ..เคยได้ยินได้ฟังมา | ม่ายจริงทั้งหมดครับ ฝ่ายที่ไปเป็นนักบินน่ะใช่ แต่ฝ่ายทหารราบน่ะ ยังได้ทันออกรบและเจอแก๊ซพิษ ตายไปเยอะเหมือนกัน ไม่เชื่อไปดูรายชื่อที่อนุสาวรีย์ทหารอาสาที่ หน้าโรงละครแห่งชาติสนามหลวงดูก็ได้ สมัยผมยังเด็ก ยังทันทหารอาสาท่านหนึ่ง เรียกท่านว่า ปู่แดง ยังฟังท่านเล่า ตั้งแต่แรกสมัคร จนได้สวนสนามหน้าพระที่นั่ง ร.6 ทั้งขาไปและขากลับ นั่งเรือรบไปลงที่ยุโรป ไป ปารีส ไปรบข้ามไปในแดนเยอรมัน อากาศหนาวอย่างไร ท่านเล่าละเอียดลออ มีหลักฐานเป็นดาบปลายปืน หมวกเหล็ก เยอรมัน ไฟแช๊ค และอะไรต่อมิอะไรมากมาย น่าศึกษา เล่าจนกระทั่งเรื่องเที่ยวผู้หญิงแหม่มในปารีส |
ผู้แสดงความคิดเห็น ขาประจำ..เคยได้ยินได้ฟังมา วันที่ตอบ 2008-04-16 10:48:23 IP : 118.172.88.167 |
ความคิดเห็นที่ 4 (2975118) | |
![]() โรจน์ (Webmaster) | ครับ อย่างที่ผมบอกไว้ในความเห็นแรกว่าทหารยานยนต์ของไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือเขาพอสมควร ย้ำว่าเป็นทหารยานยนต์ขนส่ง ที่อาจจะไม่เท่เหมือนทหารราบที่ได้ออกรบโดยตรง แต่เป็นงานปิดทองหลังพระที่ขาดไม่ได้จนทางการฝรั่งเศสยังถนอมน้ำใจด้วยการมอบเหรียญกล้าหาญให้ ที่โพสต์นี้ไม่ได้อยากให้มีการเถียงเอาชนะหรือเข้าข้างใคร แต่ขอคัดลอกลำดับเวลาที่เกี่ยวข้องจากวิทยานิพนธ์ของผมเมื่อหลายปีก่อนมาตีแผ่เป็นข้อเท็จจริงประกอบความเข้าใจกัน ดังนี้ 28 พ.ค.1917/2460 ประชุมเสนาบดีสภาของไทย เพื่อทบทวนนโยบายการรักษาความเป็นกลาง และตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม 22 ก.ค.1917/2460 สยามประกาศสงครามกับเยอรมัน มีการจับเชลยชาวเยอรมันและออสเตรียได้เป็นจำนวนมากโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อของฝ่ายใด 20 ก.ย.1917/2460 ออกคำสั่งให้กองบินทหารบกไปราชการสงครามยุโรป และประกาศรับสมัครทหารอาสา 11 ม.ค.1918/2460 ไทยส่งคณะทูตทหารไปปารีส ถึงปลายทางวันที่ 24 ก.พ. 3 มี.ค. 1918/2460 รัสเซียสงบศึกตามสัญญาเบรสท์ลิทอฟ หลังจากการปฏิวัติบอลเชวคเมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย จากนั้นเยอรมันรุกหนักด้านตะวันตกอีก 2-3 ครั้ง จนถึงขนาดเอาปืนบิ๊กเบอร์ธามายิงถล่มปารีสได้ และวันที่ 5 มิ.ย.1918/2461 ถึงแม่น้ำมาร์น ห่างจากปารีส 56 ไมล์ 19 มิ.ย.1918/2461 ทหารอาสาออกเดินทางจากสยามโดยทางเรือ ถึงฝรั่งเศส วันที่ 30 ก.ค. 6 ส.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยเริ่มเข้ารับการฝึก 17 ส.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยไปปฏิบัติหน้าที่ที่แวร์ซายส์ 18 ก.ย. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยไปยังค่ายวิลล์มัวร์ เยนซ์ 14-15 ต.ค. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยย้ายไปตำบลชาร์ลองส์ 3 พ.ย. 1918/2461 ออสเตรียยอมแพ้ 5 พ.ย. 1918/2461 ทหารยานยนต์ไทยย้ายไปนองสตัลส์ 11 พ.ย. 1918/2461 เยอรมันยอมสงบศึก รวมเวลาที่ทหารไทยปฏิบัติหน้าที่จริงในสมรภูมิ (ไม่นับการเดินทางและการฝึก) ประมาณ 3 เดือน หรือนับเป็นเวลาที่ไทยเข้าร่วมสงครามประมาณ 1 ปี 4 เดือนหย่อนๆ แม้จะเป็นการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามจากแนวโน้มว่าสัมพันธมิตรจะชนะ แต่แนวโน้มที่ว่าก็ไม่ได้ชัดเจน 100 เปอร์เซนต์ หลังการเข้าร่วมสงคราม เยอรมันยังกลับรุกหนักไม่ใช่เล่น และบทบาทของไทยจากการจับเชลยในประเทศไทย และการลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ในสมรภูมิประมาณ 3 เดือนนี้ คุณว่าเพียงพอหรือเปล่า? ขอเรียนชี้แจงอีกอย่างหนึ่งว่า ร.๖ ท่านได้พระราชทานทานธงไตรรงค์ให้พวกเราก่อนที่จะส่งทหารไปร่วมรบ ธงที่ไปโบกในกรุงปารีสจึงไม่ใช่ธงช้างเผือกครับ แล้วหลักฐานที่คุณขาประจำว่า เป็นของในพิพิธภัณฑ์หรือสมบัติส่วนตัวของ "ปู่แดง" ครับ พอจะหาภาพมาโชว์กันได้ไหม? |
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) ![]() |
ความคิดเห็นที่ 5 (2975157) | |
![]() PT109 | ขอบคุณมากๆครับ |
ผู้แสดงความคิดเห็น PT109 ![]() |
1 |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 1181447 |