|
![]() |
|
William Shakeseare"s Julius Caesar | |
![]() หมาป่าดำ | ![]() William Shakeseare"s Julius Caesar จากวรรณกรรมของ "เช็คสเปียร์" สู่ บทภาพยนตร์ มีสองเวอร์ชั่นครับ คือปี 1953 และปี 1970 ที่นำมาออกดีวีดีใหม่ เรื่องราวในภาพยนตร์ จะกล่าวถึงช่วงที่ "ซีซาร์" กำลังประสบความสำเร็จสูงสุดของชีวิต ประชาชนพร้อมใจกันยกมงกุฏให้เพื่อเป็นจักรพรรดิ์โรมัน แต่มีสมาชิกสภาบางส่วนไม่เห็นด้วย โดยมี "บลูตัส" และ "แคลซซีส" เป็นแกนนำ ทำการรวบรวมพรรคพวกทำการลอบสังหาร "ซีซาร์" กลางสภา โดยช่วยกันรุมแทงจน "ซีซาร์" สิ้นใจ (บางคนทำเพราะกลัว "ซีซาร์" จะมีอำนาจมากเกินไปจนเป็นทรราช บางคนอิจฉาริษยา) "มาร์ค แอนโทนี่" นายทหารคู่ใจ "ซีซาร์" ได้ทำการล้างแค้นให้ "ซีซาร์" จนเกิดสงครามขึ้นระหว่าง สองฝ่าย สุดท้ายเหล่าผู้ลอบสังหาร "ซีซาร์" ต้องพ่ายแพ้และพบกับจุดจบของชีวิตทั้งสิ้น นำแสดงโดย Charlton Heston และ Jason Robaros เรื่องนี้คงสำหรับแฟนหนังย้อนยุคนะครับ หรือผู้สนใจประวัติศาสตร์โรมัน ฉากรบท้ายเรื่องไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมายเหมือนหนังสงครามโรมันเรื่องอื่น จากที่ติดตามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองมาหลากหลาย สรุปแล้วผมว่าพอกันทุกที่ทั่วโลก ทำกันได้ทุกอย่างเพื่อ อำนาจผลประโยชน์ เรื่องราวของ "ซีซาร์" จะว่าไปก็คล้ายกรณีของไทยเราเหมือนกัน ดีวีดีเพิ่งออกมาครับ หาชมกันได้ |
ผู้ตั้งกระทู้ หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ![]() ![]() |
1 |
ความคิดเห็นที่ 1 (2977339) | |
![]() Don | เลยขอโรมโบราณ และจักรวรรดิโรมัน และเข้าเรื่องของ จูเลียส ซีซ่าร์ครับ |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:36:15 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 2 (2977340) | |
![]() Don | ปล.๑ ลืมบอกว่าเรื่องนี้ผมเขียนเองเล่นๆ ไว้แล้สให้เพื่อนกันเองอ่าน แต่ไม่เคยโพสบอร์ดสาธารณะใดครับ ปล.๒ ชื่อ ซีซาร์ ซึ่งเป็นชื่อของบุคคลนี้แหละได้กลายเป็นชื่อแสดงตำแหน่งจักรพรรดิเหมือนกับคำว่า ฟาโรห์ และต่อมาได้แผลงไปเป็นชื่อตำแหน่งเจ้าในหลายภาษา เช่น ซาร์ ของรัสเซีย และ ไกเซอร์ ของเยอรมัน ขอคุยเรื่องบุคคลสำคัญของยุคที่เกี่ยวข้องกับซีซ่าร์ก่อนแล้วกัน |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:41:08 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 3 (2977341) | |
![]() Don | เพื่อแสดงความกะล่อนของปอมเปยื ก็ต้องท้าวความเรื่องนายของปอมเปย์ ที่ปอมเปย์ไปรับใช้ในเหตุการณืเหล่านี้ก่อนครับ บัดนั้น ๘๐ กว่าปี ก่อนพระเยซูเกิด ในท่ามกลางความขัดแย้งดังกล่าว โรมเกิดมีการศึกกับเจ้าเมืองตะวันออก ก็ต้องจัดทัพ ตั้งแม่ทัพไปสู้ ตอนแรกฝ่ายอนุรักษ์ ออกเสียงแต่งตั้ง ซุลลา ซึ่งเคยเป็นกงสุลเก่าให้เป็นแม่ทัพ แต่ฝ่ายประชานิยมคัดค้าน ต้องการตั้งแม่ทัพเก่าอีกคนแทน โผยังไม่ทันออก ซุลลา ก็ดวยว่า ถึงใครจะเป็นแมทัพ ก็ต้องให้สายทหารเก่าของข้าไปรบและรวบทรัพย์สมบัติที่รบชนะ (ปล้นได้) จากเมืองข้าศึก ยังทะเลาะกันอยู่ ซุลล่า ก็รวมรวบรวมทหารเก่าของตนยกกำลังเข้าโรมแล้วไล่ฆ่าขั้นการเมืองตรงข้ามที่ไม่สนัยสนุนการแต่งตั้นตน ซุลล่า ก็ตั้งตนเป็นผู้เผด็จการโรมตามกฎหมายฉุกเฉิน (มีกฎหมายโรมันจริงๆ ครับ) คุมกรุงโรม และยกทัพไปตีเข้าเมืองตะวันออกดังกล่าว ซุลล่า รบชนะได้ทีพย์กลับมามากมายจริงๆ ก็เข้ากรุงโรม ช่วงไม่อยู่ฝ่ายประชานิยมก็ตั้งกองกำลังรอตีกัน สมัยนั้นเล่นตรงไปตรงมา ซุลล่า ยกทัพกลับมาเลยรบกันจะๆ หน้ากรุงโรมเรียบร้อน ซุลล่า ชนะเข้าเมืองไล่ฆ่าฝ่ายตรงข้ามอีก ซุลล่าก็ขยายอำนาจตนเอง ตั้งตำแหน่งสภาสูงเพิ่ม ตั้งเด็กๆ ไปลงที่ต่างๆ ฯลฯ พอรู้สึกว่ามั่นคงดีแล้วก็เกษียณอายุตัวเองไปนั่งกินนอนกินในบ้านชนบท การเมืองโรมก็ตกเป้นของขั้งอนุรักษ์ต่อมาอีกสิบกว่าปี ที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ ปอมเปย์ เป็นนายกองเด็กของ ซุลล่า อยู่นะครับ |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:41:51 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 4 (2977342) | |
![]() Don | ปอมเปย์หน้าตาเหมือนพ่อค้าร้านชำน้ำมันมะกอกนี้แหละ เป็นนายทหารแววดีตั้งแต่หนุ่ม ด้วยความที่พ่อใหญ่ เส้นดี นับใช้ ซุลล่าได้สมยานามว่า "นักฆ่าหน้าวัยรุ่น" มีความเป็นเลิศทางทหารด้วยอายุแค่ยี่สิบกว่าๆ ก็เป็นแมทัพไปรบในอัฟริกา รบได้ชัยชนะมากมาย ปอมเปย์ ก็ได้รับเลือกเป็นกงสุล พอพ้นตำแหน่งแล้วก็ยังหาทางดังไม่เลิก คือเกิดภัยโจรสลัดขึ้นมา โรมต้องตั้บงทัพไปปราบ ปอมเปย์ก็สมัครเป็นแมทัพ พร้อมกับเสนอแผนการตั้งกองทัพและปฏิบัติการไว้เลิศหรู คืต้องการตั้งทัพเรือตั้ง ๕๐๐ ลำ ทหาร ๑๒๐.๐๐๐ คน และขออนุมัติตำแหน่งบังคับบัญชา ๓ ปี ฝ่านการเมืองก็ฮือฮากัน เอาขนาดนี้นี่จะเล่นเป็นท่านผู้นำเลยเหรอ? แต่ด้วยกลเม็ด กลไก ฯลฯ ปอมเปย์ โรมก็ยอมตั้งกองทัพและแต่งตั้ง ปอมเปย์ ตามข้อเสนอนั้น ปอมเปย์ ก็แสดงฝีมือยิ่งกว่าที่โม้ครับ สามเดือนก็กวาดโจรสลัดราบคาบ ในช่วงสามปีที่ได้รับอนุมัติเป็นแมทัพกองทัพที่มีก็ยกไปตีเมืองทางตะวันออกของเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง ฯลฯ ได้มากมายดังที่เกริ่นมาแล้ว ได้ทรัพย์ส่งมาโรมมากมาย ฯลฯ ทำตัวเจ๋งไม่ผิดอเล๊กซานเดอร์ เข้าของทรงผมที่ปอมเปย์เลียนแบบเลย กรุงโรมแผ่อำนาจโพ้นทะเลไปได้อีกอักโข โรมันมีหน้ามีตา และมีตังค์ขึ้นมาก แต่ฝ่ายการเมืองร้อนๆ หนาวๆ ครับ ปอมเปย์ กลับโรม จะมาท่าไหน กำลังดังและคุมทัพใหญ่ ถ้าเล่นยกทัพเข้าโรมยึดอำนาจละก็ ตัวใครตัวมันละ |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:43:14 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 5 (2977343) | |
![]() Don | พอหมดวาระ ปอมเปย์ ก็ยกทัพกลับ แต่ยังไม่ถึงขึ้นคิดการใหญ่อย่างที่คนอื่นกลัว ปอมเปย์ ยอม สลายกองทัพ ออกจากตำแหน่งแม่ทัพตามระเบียบ แต่ก็เรียกร้องให้สภาโรม ออกกฎหมานจัดสรรที่ทำกินให้ทหารผ่านศึกของตน และให้สัตญาบันในสนธิสัญญา และธุรกรรมต่างๆ ที่ปอมเปย์ไปทำไว้ในดินแดนตะวันออก
การเมืองขั้นตรงข้ามก็โล่งใจ เฮ้ย แม่ทัพนอกราชการแล้ว เราต้องถ่วงมันไว้ ถ้าช่วยทหารของมันๆ ก็จะมีบารมีเพิ่มขึ้น ไอ้ที่มันไปทำอะไรกับใครที่ไหนก็อย่าไปสนับสนุน ปล่อยโมฆะให้มันเป็นตัวตลกไปเลย ปอมเปย์ ก็เคียดแค้น และมองหช่องทางอื่น ก่อนอื่นก็ต้องหาพวก มองไปมองมาเห็นนักการเมืองรุ่นน้องแววดีคนหนึ่งชื่อ ไกอุส จูลิอุส ซีซาร์ อัน ซีซ่าร์ นั้นก็เกิดในปี ๑๐๐ ก่อน ค.ศ. ตระกูลไฮโซโรมันเหมือนกัน ถึงไม่รวยมากแต่สายเลือดนั้นไฮโซโรมันสุดๆ คือต้นตระกูลอ้างว่าสืบเชื้อสายไปถึง เอนิแอส เจ้าชายกรุงทรอยที่หนีกรุงแตกมาตั้งกรุงโรมนั่นแน่ะ ซึ่งตามตำนาน เอนิแอส เป็นลูกของทเพวีนัสซะอีก โอ้ ไปกันใหญ่ครับ โคตรเหง้าขนาดนี้ ใครๆ ก็หรูสู้ไม่ได้ แถมตระกูลซีซ่าร์ก็ล้วยแต่แต่งงานเป็นเครือญาติกับแม่ทัพใหญ่ๆ ทั้งนั้น ซีซ่าร์ มักชอบทำตัวเด่นในวงการเมืองเป็นประจำ และโฆษณาตัวเองเก่งมาก เวลาญาติโยมเสียชีวิตก็จัดพิธีซะเริ่ดสมเกียรติ หรือเกินไปด้วยซ้ำ เน้นย้ำว่าเป็นสายไฮโซโก้สุดๆ ซีซ่าร์ เริ่มสร้างชื่อเสียงทั้งในวงการไฮโซและวงการชาวบ้าน โดยเข้าไปดำรงตำแหน่ง Aedile ของโรม คือตำแหน่งนี้เหมือนกับ รมต. วัฒธรรมและการบันเทิง มีหน้าที่รับผิดชอบจัดงานโชว์ต่างๆ ตามแบบโรมัน จะจัดงานให้ยิ่งใหญ่ สะใจโก๋ มหาชนฮือฮาก็ต้องจัดโชว์ กลาดิเอเตอร์ ครับ สัตว์กินคน คนฆ่ากัน เลือกสาด เลือดนอง โรมันช๊อบชอบ วีซ่าร์ ก็เลยหยิบยืมตังค์ชาวบ้านเป็นการใหญ่ จัดโชว์กลางดิเอเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่คนโรมันเคยเห็นมา สมัยนั้นใช้โคลีเซียมอื่น ไม่ใช่โคลีเซียมใหญ่ที่เราเห็นพังครึ่งหนึ่งในโรมนะครับ โคลีเซียมใหญ่นั้นที่จริงเรียกว่า ฟลาเวียน แอมฟีเธยเตอร์ คือสเตเดี้ยมของฟลาเวียน จักรพรรดิในยุคต่อมา ซีซ่าร์จัดงานใหญ่หลายอาทิตย์ (นานแค่ไหนจำไม่ได้ต้องไปเปิดตำรา) เอากลาดิเอเตอร์เข้ามาโชว์ฆ่ากันมากซะจนสภาโรมตกใจกลัว ว่าจะซ้องสุมกำลังกลาดิเอเตอร์ไว้ยึดอำนาจเรอะไง? ถึงขั้นออกกฎหมายจำกัดจำนวนกลาดิเอเตอร์ที่บุคคลใดจะเอาเข้ามาในกรุงโรม ถึงโดนจำกัดจำนวนนักแสดง แต่ซีซ่าร์ก็จัดงานได้ใหญ่มีหน้ามีตากับรากหญ้าไปมาก ทั้งนี้เวลาจัดงานแบบนี้ ฆ่าคน ฆ่าสัตว์กัน ก็จะมีการแจกเนื้อสัตว์ที่ฆ่านั้นให้ชาวบ้านด้วยครับ เป็นช่องทางหาเสียงกับรากหญ้าแบบโรมันทางหนึ่ง
|
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:45:15 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 6 (2977344) | |
![]() Don | ดูรูปสลักรูปปั้นไหนๆ แล้ว ซีซ่าร์ จะดูดี สุขุม เด็ดขาดกว่า ปอมเปย์ มาก ในความเป็นจริง เรื่อง***มนั้นไม่ต้องห่วง ส่วนบุคลิดอื่นนั้นก็ดี มีความเป็นผู้นำ แถมกันเองเจ๊าะแจ๊ะ โอบหลังลูบไหล่ ตีซี้ชี้นำคนได้อย่างเป็นเลิศ ซีซาร์อยู่ในตำแหน่งเอนเทอเทนเนอร์นี้ก็เป็นหนี้ครับ... จัดงานบันเทิงเริงรมณ์เข้าเนื้อมากไปก็แบบนี้ สมัยนั้นไม่ใช่ของบ ของบ ยิ่งจัดงานยิ่งรวบ ยิ่งรวบ ครับ ตำแหน่งเอนเทอเทนเนอร์โรมันต้องควักกระเป๋าเองเพื่อแสดงความเก๋า |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-13 01:50:57 IP : 83.52.222.56 |
ความคิดเห็นที่ 7 (2977355) | |
![]() Don | อันว่ากรุงโรมยุคซีซ่าร์ หนึ่งศตวรรษก่อน ค.ศ. นั้น ใหญ่โตกว้างขวาง หนาแน่นอย่างไม่น่าเชื่อครับ มีประชากรถึงประมาณ ๑ ล้านคน มีโรงละคร สนามกีฬาแข่งรถม้า บ่อแข่งเรือสู้กัน แหล่งช้อปปิ้ง ซึ่งภาษาลาตินโรมันเรียกว่า เอมโพเรียม นี่แหละ โรงอาบน้ำไฮเทคผนังสองชั้นมีระบบน้ำอุ่นตามท่อ ขนถึงห้องสมุดสาธารณะให้ชาวบ้านยืมไปอ่านได้
สมัยนั้นต้องบอกว่ามากจริงๆ ครับ ใหญ่ที่สุดในโลกตะวันตกจริงๆ หลังกรุงโรมล่มสลาย ต่มาเรื่อยๆ จนถึงยุคกลางก็ไม่มีเมืองใดในยุโรปใหญ่ขนาดนี้อีกเลย ในยุคกลางนั้นเมืองที่มีประชากร ๑-๒ แสนคนถือว่าใหญ่มากๆ แล้ว ส่วนมากมีประชากรไม่กี่หมื่น จนมากระทั่งศตวรรษที่ ๑๙ เชียวครับ กว่า ลอนดอน และปารีส จะมีประชากรถึง ๑ ล้านคน ปลายศตวรรษที่ ๑๙ ลอนดอนก็มีประชากรแค่ ๒ ล้านกว่าคน โรมยุครุ่นเรื่องใหญ่ขนาดนั้น อยู่ได้เพราะระบบสาธารนูปโภคและระบบสาธารณสุขดีมากครับ หนังสือเชอร์ชิลเขียนเองยังบอกว่า ระบบสาธารณสุขของอังกฤาเองนั้นกว่าจะได้มาตรฐานโรมันก็ต้องศตวรรษที่ ๑๙ การที่ฝรั่งเรียกยุคหลังโรมล่มสลาย และยุคกลางตอนต้นๆ ว่ายุคมืดนั้นจึงมีนัยยะพอควรทีเดียว ทั้งทางทางเทคโนโลยี่ และระบบการปกครองรวมศูนย์ครับ
|
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-21 21:01:49 IP : 83.52.230.77 |
ความคิดเห็นที่ 8 (2977356) | |
![]() Don | กลับเข้าเหตุการณ์ ซีซ่าร์คิดดูๆ คิดไปคิดมา ก็เห็ยว่าอย่าไปเก็บเกี่ยวชื่อเสียงอำนาจจากอดีตเลย เสี่ยงสร้างชื่อเสียงและอำนาจให้กับอนาคตดีกว่า (ประโยคนี้ซีซ่าร์ไม่ได้พูด ผมแต่งเองครับ ฮา) |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-21 21:03:00 IP : 83.52.230.77 |
ความคิดเห็นที่ 9 (2977357) | |
![]() Don | ...ครวนี้คูหูคู่ฮา มาหาอำนาจซีซาร์และปอมเปย์ก็วาดลวดลายออกลีลาในสภาโรมอย่างสุดๆ ครับ ซีซาร์มีม๊อบปอมเปย์หนุนหลัง รวมทั้งกลุ่มประชานิยมก็ออกอาการยึดเมืองทันที ซีซ่าร์ส่งร่าง กม. จัดสรรที่ดินให้ลูกน้องของปอมเปย์เข้าสภา พร้อมกับเอาม๊อบมาเตรียมหน้าสภาไว้แล้ว พออภิปรายกันถึงพริกถึงขิง ซีซ่าร์ในฐานะกงสุลเหนือกว่าสมาชิกสภาซีเนตโรมัน ก็ยัดข้อหาผิดระเบียบให้ซีเนตฝ่ายตรงกันข้าง สั่ง จนท. มาจับลากออกไปเข้ากรงไว้ก่อนทันที พออภิปรายถึงหยวกถึงกล้วย ด่ากันชุลมุนซีซ่าร์ก็สั่งไอโฟน เอ๊ย ให้สัญญาณม๊อบบุกเข้าสภา ม๊อบเข้ากลุ้มรุมแบกตัวทั้งนายแมว และลูกเขยที่เป็นกงสุลร่มออกไปโยนบกข้างนอก ซีซ่าร์ ก็ฉวยร่างกฎหมาย เดินหน้าตาเฉยไปให้สภาล่าง ที่ส่วนมากเป็นพวกประชานิยมของตนอนุมัติผ่านร่างออกมาเป็นกฎหมายสมใจปอมเปย์ ยิ่งกว่านั้น ม๊อบของ ซีซาร์-ปอมเปย์ ยังได้เอาอุจจาระทั้งถังราดหัวลูกเขยนายแมว กงสุลร่วมซะอีก การเมืองปาอุจจาระนี่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน ค.ศ. แล้วครับ ไม่ใช่เพิ่งเกิดในศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ หลังจากนั้นไม่ต้องห่วงครับ ซีซ่าร์ก็ยึดทั้งสองสภาสบายไป ม๊อบก็คอนคุกคามฝ่ายตรงกันข้ามไปเรื่อย โดยเพาะพวกนายแมว ลูกเขยนายแมวที่เป็นกงสุลร่วมนั้นถึงขั้นไม่ค่อยกล้าออกจากบ้าน ขากประชุมสภาอยู่บ่อยๆ ตอนนี้นายแมวก็นอนกัดฟันไปพลางๆ ก่อน หนอย ซีซ่าร์ ทำบ้าๆ เล่นการเมืองผิดขั้นตอน ผิดกฎหมายหลายข้อ เดี๋ยวพอแกหมดอำนาจวาระแล้วข้าจะแจ้งฟ้องเอาให้ตายไปเลย... |
ผู้แสดงความคิดเห็น Don วันที่ตอบ 2010-08-21 21:05:07 IP : 83.52.230.77 |
ความคิดเห็นที่ 10 (2977684) | |
![]() masked v | อ้าว จบแค่นี้เหรอครับ อารมณ์ค้างเลย |
ผู้แสดงความคิดเห็น masked v วันที่ตอบ 2010-11-24 22:28:46 IP : 58.9.5.227 |
1 |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 1187852 |