German Film ภาพยนตร์เยอรมัน ค.ศ. 1895-2011
avatar
หมาป่าดำ


user image

 German Film

ภาพยนตร์เยอรมัน ค.ศ. 1895-2011
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกช อัตตวิริยะนนุภาพ เขียน
 
สนพ. มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์   2555
 
178 หน้า
 
หนังสือที่เขียนถึงเรื่องราวภาพรวมวงการภาพยนตร์เยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895-2011 โดยแบ่งเป็นสองภาค 
 
ภาคแรกเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของภาพยนตร์เยอรมัน ตั้งแต่ต้นกำเนิด ภาพยนตร์เยอรมันยุคสาธารณรัฐไวมาร์ ยุคนาซี ยุคของการถูกแบ่งประเทศ จนถึงการรวมประเทศในปัจจุบัน ในแต่ละยุคจะแสดงให้เห็นถึงแนวของภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างหนังประกอบ ผู้เขียนสามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปของการกำเนิดภาพยนตร์แต่ละแนวได้ชัดเจน พูดถึงสภาพสังคม การเมือง และปัจจัยต่างๆ ต่อการกำเนิดแนวภาพยนตร์และภาพยนตร์ที่ได้ยกตัวอย่างประกอบ หลายเรื่องเป็นต้นแบบหรือมีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ในปัจจุบัน (โดยเฉพาะภาพยนตร์จากฮอลลีวูีด)
 
ส่วนในภาคที่สองเป็นภาพยนตร์ 25 เรื่องที่น่าสนใจ โดยไม่ให้ซ้ำผู้กำกับเพื่อผู้อ่านจะได้รู้จักแนวทางการทำภาพยนตร์ที่หลากหลายขึ้น แต่ละเรื่องมีเนื้อเรื่องย่อ บริบทในการสร้าง ความสำคัญและน่าสนใจของภาพยนตร์พร้อมประวัติและผลงานของผู้กำกับ ดังนี้
 
The Cabinet of Dr. Caligari (1920)
Nosferatu (1926)
Metopolis (1926)
The Adventure of Prince Achmed (1926)
The Blue Angel (1930)
Triumph of the will (1934)
The Murderers Are Among Us (1946)
Aguirre,the Wrath of God (1972)
The Legend of Paul and paula (1973)
Ali:All Fear Eats the Soul (1974)
Jacob the Liar (1974)
The Tin Drum (1979)
The German Sisters (1981)
The BoaT (Das Boot) (1981)
Wing of Desire (1987)
Europa Europa (1990)
Run Lola Run (1997)
Nowhere in Africa (2001)
The Flying Classroom (2002)
Good Bye Lenin! (2003)
Go for Zucker (2005) 
One Day in Europe (2005)
Life of the Others (2006)
The Egde of Heaven (2007)
Cherry Blassoms (2008)
 
รายชื่อสีแดงจะเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามและการเมือง
 
ทั้ง  25 เรื่องเคยจัดฉายในไทยแล้วทั้งในโรงภาพยนตร์หรือในโครงการของสถาบันต่างๆ และสามารถหาดูได้ในแบบดีวีดีหรือยืมจากห้องสมุดของสถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
 
รายชื่อภาพยนตร์เยอรมันที่สำคัญที่สุดรวม 132 เรื่อง สามารถดูรายชื่อและข้อมูลได้ที่ www.filmportal.de
 
ถ้อยคำน่าสนใจจากหนังสือ
 
รัฐบาลเยอรมันเห็นว่า ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ดีอย่างหนึ่งในการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) (15)
 
กิบเบิลส์เชื่อว่าความบันเทิงจากแสงสีสามารถใช้ได้ทั้งในทางทำลายล้างอุดมคติหรือเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อถือในอุดมการณ์ใหม่ได้ เขายังมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างบุคคลตัวอย่างที่น่าเชื่อถือขึ้นมาได้โดยผ่านสื่อภาพยนตร์ (26)
 
"ชั่วโมงเลขศูนย์" (Stunde Null/zero hour) ซึ่งหมายถึงวันที่เยอรมนียอมพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (31)
 
"ดูเพื่อตัวคุณเอง ฟังเพื่อตัวคุณเอง ตัดสินเพื่อตัวคุณเอง" (47)


ผู้ตั้งกระทู้ หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-13 00:44:15 IP : 49.49.155.47


Copyright © 2010 All Rights Reserved.