|
![]() |
|
Rommel จอมพลรอมเมล สุภาพบุรุษยุทธภูมิเดือด | |
![]() หมาป่าดำ | ![]() Rommel จอมพลรอมเมล สุภาพบุรุษยุทธภูมิเดือด ผู้เขียน Charles Messenger ผู้แปล ฉัตรนคร องคสิงห์ สนพ. มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2555 232 หน้า สารบัญ บทที่ 1 กว่าจะเป็นนายพล บทที่ 2 ฝรั่งเศส 1940 บทที่ 3 สมรภูมิลิเบีย บทที่ 4 เกรียงไกร บทที่ 5 ข้างแรม บทที่ 6 สมรภูมิสุดท้าย บทที่ 7 มรดกของรอมเมล หนังสือเล่มนี้เขียนถึงชีวิตการรับราชการทหารของรอมเมล เริ่มตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จนเสียชีวิตลงในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นเรื่องของรายละเอียดการปฏิบัติงานทางทหารที่สำคัญๆ ในแต่ละตำแหน่งทุกชั้นยศ ในแต่ละสมรภูมิรบพร้อมทั้งเหรียญตราที่ได้ในแต่ละสมรภูมิ ยุทธวิธีรูปแบบการรบและการฝึกซ้อมที่เขาคิดขึ้น หนังสือทางทหารที่เขาได้แต่ง ความสัมพันธ์กับฮิตเลอร์ ความขัดแย้งกับนายทหารเยอรมันและอิตาลีบางคน มีการยกคำพูดของรอมเมลและจดหมายถึงภรรยามาประกอบเพื่อให้เห็นสภาพการปฏิบัติงานของเขา นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้สอดแทรกยุทธวิธีทางทหารของสหรัฐในสงครามยุคหลังๆ เปรียบเทียบกับของรอมเมลด้วย (หนังสือ "ยุทธวิธีทหารราบ" ที่รอมเมลเขียนกองทัพสหรัฐได้นำไปใช้) ในบทที่ 7 เป็นการสรุปข้อดีข้อเสียของรอมเมล หนังสือเล่มนี้เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์การปฏิบัติงานทางทหารของรอมเมลกันเลย ไม่ใช่เขียนเชิงชีวประวัติตำนานโลดโผนใดๆ เหมาะสำหรับนายทหารที่จะใช้ศึกษาและเป็นแบบอย่างสำหรับผู้มีใจรักการเป็นทหารว่าสุภาพบุรุษนายทหารจะต้องมีลักษณะอย่างไร
ถ้อยคำน่าสนใจจากหนังสือ ว่ากันตามจริง เขาไม่คาดหวังให้ลูกน้องทำอะไรเลย หากว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตัวเขาเองก็ทำไม่ได้ (19) "สำหรับนายทหารวัย 23 ปีแล้ว ไม่มีอะไรดีกว่าการได้เป็นผู้บังคับกองร้อย การจะได้ความเชื่อมั่นจากผู้ใตับังคับบัญชานั้น ตัวผู้บังคับบัญชาเองต้องทำงานให้หนัก ต้องรอบคอบระมัดระวัง ต้องดูแลคนของตัวเองให้ดี ต้องใช้ชีวิตแบบเดียวกันเหนืออื่นใดคือ...ต้องเป็นคนมีวินัย เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาเชื่อมั่นในตัวเรา เขาก็จะยอมทำตาม ไม่ว่าจะต้องบุกป่าฝ่าดงสักเพียงไหน" (25) ผู้พันบรรยายเกี่ยวกับเขาผู้นี้ว่า "เงียบ มั่นคง หนักแน่น รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา และรู้กาละเทศะเสมอ พร้อมกันก็มีพรสวรรค์อันเยี่ยมยอดทางด้านทหาร โดยเฉพาะเรื่องการประเมินภูมิประเทศ" (41) เขาออกปากว่า "นายทหารประจำกองพลพันเซอร์ต้องเรียนรู้ที่จะคิดและลงมือปฎิบัติการภายใต้แผนหลักได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่คอยแต่จะรับคำสั่ง" (64) "แต่การดูแลเป็นพิเศษเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจอมพลจะยอมรับโดยง่าย ดังนั้น เราจึงจะให้ท่านทราบน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะคนเช่นท่านย่อมจะไม่ยอมให้ตัวเองได้รับอาหารอะไรที่พิเศษไปกว่าที่คนอื่นๆ ได้รับ" (132) ฮิตเลอร์จบสารนั้นด้วยข้อความว่า "ดังนั้น...จงบอกเหล่าทหารของคุณว่ามีทางเลือกให้เพียงหนึ่งเดียว-ชัยชนะหรือสละชีพ" (153) "นายทหารที่มีคุณสมบัติและสติปัญญาดีพอใช้ แต่อ่อนแอและอยู่แต่ในกรมกอง ทว่าการบริหารเรื่องการส่งกำลังบำรุง การบัญชาการกำลังรบ และอื่นใดที่เกี่ยวกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น ต้องการมากกว่าแค่การนั่งอยู่กับโต๊ะ แต่้องใช้ทั้งพลังแรงผลักดัน และความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อทำเรื่องนั้นๆ ให้สำเร็จโดยไม่ต้องสนใจกับความเห็นส่วนตัวของตัวเอง" (159) รอมเมลเขียนจดหมายถึงบุตรชาย "ลูกต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยไม่โต้แย้ง อาจจะมีคำสั่งที่ลูกรู้สึกว่าไม่เหมาะสมหรือไม่เข้าใจอยู่บ่อยครั้ง ก็ขอให้ลูกจงปฏิบัติตามโดยไม่ตั้งคำถามใด เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อาจมัวเสียเวลาเจรจากับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ พวกเขาไม่มีเวลามากพอจะมาให้เหตุผลกับทุกคำสั่งที่ออกไป" (195) อย่างไรก็ตาม ยังมีค่ายทหารที่ออกุสต์ดอร์ฟ ใกล้กับเดต์โมลด์ ที่ตั้งชื่อโดยใช้นามของรอมเมล อันเป็นเกียรติยศที่ไม่มีจอมพลคนอื่นใดของฮิตเลอร์ได้รับ (213) รอมเมลไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ แต่เป็นผู้ช่ำชองยุทธการและกลยุทธ์ระดับต่างๆ ในการรบ (223) คณสมบัติของรอมเมลข้อที่นำมาปรับใช้ได้ดีที่สุดในปฏิบัติการยุคปัจจุบัน (ในระดับยุทธวิธี) ก็คือความกล้าหาญและการเตรียมพร้อมที่จะนำทัพจากข้างหน้า (226) |
ผู้ตั้งกระทู้ หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ![]() ![]() |
1 |
ความคิดเห็นที่ 1 (2980636) | |
![]() หมาป่าดำ | ในหนังสือได้กล่าวถึงภาพยนตร์ "ไทรอัมพ์อินเดอะเวสต์" โดยเกอเบิลล์ขอให้รอมเมลได้ช่วยสร้าง นำเสนอการรบในฝรั่งเศสในการข้ามแม่น้ำซอมม์ของกองพลปีศาจโดยเฉพาะ แต่ค้นดูในยูทูปไม่พบครับ มีแต่ Vicotry in the West ผมเลยนำคลิปนี้มาให้ชมแทน http://www.youtube.com/watch?v=Dw9TA7PTVeo |
ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ![]() |
ความคิดเห็นที่ 2 (2980637) | |
![]() โรจน์ (Webmaster) | ชื่อภาพยนตร์เป็นภาษาเยอรมันว่า "SIEG IM WESTEN" น่ะครับ คำว่า "Sieg" นี่แปลว่า "ชัยชนะ" ซึ่งจะเทียบกับคำว่า Victory หรือ Triump ก็ได้ |
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ![]() |
1 |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 1188249 |