dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ
วันที่ 19/05/2013   19:34:33


อนุสาวรีย์ พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม หรือ "ทิพย์ช้าง"

โดย webmaster@iseehistory.com

ดึกสงัดคืนหนึ่งในราวปี พ.ศ.2275 ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูนชาวพม่าที่พึ่งได้ชัยชนะจากการยกทัพมาปราบชาวลำปางที่ต่อต้านพม่าแล้วยึดเอาวัดแห่งนี้เป็นค่าย กำลังเล่นหมากรุกอยู่กับนายทหารคนสนิทอย่างเพลิดเพลินใจ โดยหารู้ไม่ว่า "กรรม" กำลังจะตามทัน ประวัติศาสตร์ล้านนาได้จารึกว่า ระหว่างที่ท้าวมหายศครองเมืองลำปาง ได้กดขี่ชาวบ้านชาวเมืองนานาประการ (และอาจจะเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ครองเมืองลำพูนแล้ว) จึงยังมีผู้คิดต่อต้านพม่าอยู่ แม้ว่าจะได้เคยพ่ายแพ้มาแล้วก็ตาม

ขณะที่กำลังเล่นหมากรุกกันอยู่นั้น ได้มีชายผู้หนึ่งเข้ามาถามหาท้าวมหายศกับทหารรักษาการณ์โดยอ้างว่า พระนางศรีเมืองซึ่งเป็นภรรยาของท้าวมหายศ ใช้ให้นำหนังสือด่วนมาให้และต้องให้กับมือ แท้ที่จริงชายผู้นั้นมิได้เข้ามาในค่ายวัดลำปางหลวงโดยอาการปกติ แต่แอบลักลอบเข้ามาโดยทางท่อระบายน้ำ ท้าวมหายศรับหนังสือนั้นมาอ่านโดยไม่ทันระวังตัว คนส่งหนังสือปลอมนั้นก็เอาปืนยิงท้าวมหายศตายคาวงหมากรุก ลูกปืนยังได้ทะลุไปถูกกรงเหล็กที่ล้อมพระธาตุไว้ แล้วผู้ยิงก็หนีกลับออกไปทางท่อระบายน้ำที่เข้ามา จากนั้นทัพของท้าวมหายศก็ถูกกำลังของชาวล้านนาโจมตีแตกพ่ายไปจากลำปาง

 
รอยกระสุนจากการที่ "ทิพย์ช้าง" ยิงท้าวมหายศ

วีรกรรมครั้งนั้นมิได้มีแต่เพียงรอยกระสุนให้เห็นในปัจจุบันเท่านั้น ชาวล้านนายังคงจดจำวีรบุรุษผู้ปลอมเป็นคนส่งข่าวนั้นว่า ท่านคือ ทิพย์ช้าง หรือ หนานติ๊บช้าง เดิมเป็นควานช้างและพรานป่าที่บ้างก็ว่าอยู่แถบข้างวัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง บ้างก็ว่าเป็นชาวบ้านปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จากการที่ท่านมีทั้งความเฉลียวฉลาด กล้าหาญ และชำนาญการใช้อาวุธปืน จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้นำในการต่อสู้กับพม่าในครั้งนี้ ทีแรกทิพย์ช้างเกรงว่า ถ้าได้กู้บ้านเมืองแล้ว จะมีปัญหาเรื่องการครองบ้านเมืองกับเจ้าผู้ครองนครองค์เก่า จึงของคำสัญญาจากชาวบ้าน ชาวเมืองและเจ้าผู้ครองนครองค์เก่าว่า ถ้าทำศึกชนะแล้วจะยกบ้านเมืองให้ครอง เมื่อขับไล่ปราบกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้ว ชาวเมืองลำปางจึงพร้อมใจกันยกหนานทิพย์ช้างขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ในปี พ.ศ.2275 มีนามว่า เจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม  ท่านครองเมืองลำปางได้นาน 27 ปี พอปี พ.ศ.2302 ก็ถึงแก่ทิวงคต รวมอายุได้ 85 ปี มีโอรสธิดากับเจ้าแม่พิมพา (ปิมปา) รวมได้ 6 องค์ แม้ว่าในภายหลังเมืองลำปางได้ตกไปอยู่ใต้อำนาจพม่าอีกระยะหนึ่ง แต่บุตรหลานของพระเจ้าทิพย์จักรหรือเจ้าเจ็ดตน ได้ให้ความร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในการขจัดอิทธิพลพม่าออกจากอาณาจักรล้านนาได้ทั้งหมด และสิ้นสุดยุคประเทศราชของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนได้ครองนครลำปางจนถึง พ.ศ. 2465 ในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต

เกริ่นมาค่อนข้างจะยืดยาว แถมวกวนแบบนิยายนิดหน่อยเพื่อกำลังจะเข้าสู่การแนะนำภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์อีกเรื่อง คือ "ทิพพ์ช้าง" (สะกดตามที่ปรากฎในภาพยนตร์และบนหน้าปก VCD) ที่ออกฉายในปี 2517 ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการนำเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ส่วนกลางมานำเสนอ โดย สอาด ปียวรรณ นายกสมาคมชาวเหนือในเวลานั้น ได้เป็นทั้งผู้อำนวยการสร้างและร่วมแสดง แต่น่าเสียดายว่าในที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ไม่อาจหนีพ้นกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ส่วนกลาง ด้วยการแต่งเติมเรื่องราวตามแนวคิดชาตินิยมของคนไทยในยุคที่สร้างจนคลาดเคลื่อนจากประวัติศาสตร์จริงไปอย่างมากมาย ชนิดที่ต้องทำใจว่า "ทิพพ์ช้าง" (พอพานการันต์) ในภาพยนตร์เป็นคนละคนกับ "ทิพย์ช้าง" (ยอยักษ์การันต์) ในประวัติศาสตร์จริงกันเลยครับ

ท้าวมหายศนำทัพเข้าโจมตียึดเมืองลำปาง

เรื่องในภาพยนตร์เริ่มเมื่อ พ.ศ.227? (คงเป็น 2275 นั่นแหละครับ ตัวเลขมันล้นจอ และอย่าไปสนใจปีพ.ศ.ในเรื่องเลยดีกว่า เพราะในฉากถัดมามีการอ้างถึงการเสียกรุงและการกู้ชาติของพระยาตาก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในปี 2310 ห่างกันร่วม 40 ปี) เมื่อกองทัพพม่าของท้าวมหายศกับทหารเอกสามคน (มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ และหาญฟ้าฟื้น) เข้าโจมตีเมืองลำปางจนได้ชัยชนะ แล้วมาตั้งค่ายอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จากนั้นได้นำนางเม้ยเลิงผู้เป็นภรรยากับม่านเชียงลูกสาวมาด้วย ทางฝ่ายนายทหารของลำปางสามคนได้มาพบกับพ่อเลี้ยงคนหนึ่ง (ขออภัยว่ายังจำไม่ค่อยได้ว่าชื่ออะไรแน่ แต่ทั้งเรื่องมีอยู่คนเดียว ขอเรียกสั้นๆ ว่า "พ่อเลี้ยง" ก็แล้วกันครับ) ได้มาปรึกษาหารือกันเรื่องการกอบกู้บ้านเมือง โดยเห็นว่าจะต้องมีผู้นำ ต่อมาทั้ง 4 กับชาวบ้านอีกจำนวนมากได้ไปกระทำพิธีที่วัดแห่งหนึ่งเพื่อภาวนาขอให้ได้พบผู้ที่จะเป็นผู้นำในการกู้ชาติ โดยมีผู้วิเศษคนหนึ่งจากเมืองพิษณุโลกมาร่วมภาวนาอยู่ข้างนอก กับลูกสาวชื่อนางก้อนกลอยซึ่งปฏิญาณว่าหากพบผู้นำตามที่พ่ออธิษฐานก็จะยอมเป็นภรรยาของชายผู้นั้น และแล้วก็มีช้างเชือกหนึ่งเข้ามาอาละวาด ผู้คนหนีกันอลหม่าน และเกือบจะทำร้ายผู้วิเศษเข้า ก็พอดีพระเอกของเราคือพรานป่านาม "ทิพพ์ช้าง" โผล่เข้ามาช่วยโดยการฉุดหางช้าง และพูดเกลี้ยกล่อมจนช้างเชือกนั้นสงบลงได้

"ทิพพ์ช้าง" หยุดช้างพลายที่มาอาละวาด

แม้ "ผู้นำ" จะโผล่มาแล้วเรื่องก็ไม่ง่ายเหมือนในประวัติศาสตร์จริง อุตส่าภาวนาหาตัวกันแทบตาย พรานป่าผู้นี้กลับพูดจาราวกับนักบุญว่าไม่อยากฆ่าสัตว์ตัดชีวิตรวมถึงมนุษย์ด้วยแม้จะเป็นพม่าที่มาครองเมืองก็ตาม ทำเอา 3 ทหารเสือลำปางหมั่นไส้จนเกิดการต่อสู้กัน แล้วทั้ง 3 ก็สู้พระเอกไม่ได้ตามฟอร์ม ทิพพ์ช้างกลับมาบ้านขณะกำลังจู๋จี๋กับพิมพาผู้เป็นภรรยา ก้อนกลอยก็โผล่เข้ามาเสนอตัวเป็นภรรยาของทิพพ์ช้างตามที่ปฏิญาณไว้ ซึ่งพิมพาก็ไม่รังเกียจ แต่ทิพพ์ช้างกลับไม่พอใจและขับไล่ก้อนกลอยออกไป พอดีทหารพม่ามาถึง กล่าวหาว่าทิพพ์ช้างเป็นหัวหน้ากู้ชาติและพยายามจะทำร้าย แต่ก้อนกลอยช่วยไว้ได้ พม่าจึงจับพิมพาไปเป็นตัวประกัน ทิพพ์ช้างตามไปขอตัวพิมพาคืนที่ค่ายวัดพระธาตุลำปางหลวง ท้าวมหายศได้พยายามทั้งขู่ทั้งเกลี้ยกล่อมให้ทิพพ์ช้างยอมเป็นพวกแต่ไม่สำเร็จ นางม่านเชียงได้ยุให้พ่อสั่งจับทิพพ์ช้างใส่กรงเสือโดยสัญญาว่าหากทิพพ์ช้างรอดมาได้จะยอมคืนนางพิมพาให้ แต่เมื่อทิพพ์ช้างสามารถ "กล่อม" เสือให้สงบลงได้แบบเดียวกับที่กล่อมช้างในตอนแรก ท้าวมหายศกลับสั่งให้ทหารทำร้ายทิพพ์ช้างกับเสือ แต่ทิพพ์ช้างก็แหกกรงเสือออกมาได้ พอดีกับจังหวะที่นางก้อนกลอยพาลูกชายทั้งสี่ของทิพพ์ช้างมาหมายจะช่วย ท้าวมหายศเห็นท่าไม่ดีจึงเอาตัวนางพิมพาหลบเข้าไปด้านในค่าย แล้วให้พลปืนสกัดไว้ ทิพพ์ช้างกับลูกๆ และนางก้อนกลอยจึงต้องกลับออกมาจากค่ายโดยพาลโกรธว่านางก้อนกลอยทำให้เสียเรื่อง


จากซ้ายไปขวา ท้าวมหายศ นางเม้ยเลิง และนางเอกของเรื่อง คือ นางม่านเชียง
แสดงโดย ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ


"ทิพพ์ช้าง" กล่อมเสือได้สำเร็จ แต่ท้าวมหายศไม่รักษาสัญญา

เรื่องตอนนี้ก็คล้ายกับในประวัติศาสตร์ คือทิพพ์ช้างได้ยอมร่วมมือกับบรรดาพวกกู้ชาติด้วยการเล็ดลอดเข้าไปในค่ายท้าวมหายศทางท่อระบายน้ำของวัดในเวลากลางคืน แต่ไม่ได้ปลอมเป็นคนส่งหนังสือเพราะตามเรื่องท้าวมหายศย่อมจำหน้าทิพพ์ช้างได้อยู่แล้ว ทิพพ์ช้างได้แอบอยู่หลังเสาพักหนึ่งแล้วส่งเสียงเรียก พอท้าวมหายศขานรับจึงออกมายิงท้าวมหายศตาย พอดีจังหวะที่กำลังของพวกกู้ชาติเข้ามาถึงเช่นกัน แต่ข่าวร้ายคือนางพิมพาได้ถูกทหารเอกทั้งสามของท้าวมหายศข่มขืนจนตายไปแล้ว กองทัพพม่าที่เหลือรอดได้พากันหนีไปเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในปกครองของพม่า รวมทั้งพานางเม้ยเลิงและนางม่านเชียงไปด้วย ทิพพ์ช้างเสียใจกับการตายของภรรยาและโทษว่าก้อนกลอยมีส่วนทำให้ไม่สามารถช่วยพิมพาได้ตั้งแต่แรก จึงได้ระบายความแค้นด้วยการข่มขืนนางก้อนกลอยซะเลย (มันไงอยู่นะ เยาวชนอย่าได้เอาอย่างเชียว)

"ทิพพ์ช้าง" บุกเข้ามาลอบยิงท้าวมหายศตายคาวงหมากรุก

เช้าวันรุ่งขึ้น ทิพพ์ช้างได้ปฏิเสธการเป็นหัวหน้ากู้ชาติ แล้วออกเดินทางไปเชียงใหม่เพื่อที่จะแก้แค้นตามลำพัง ได้ไปพบนางม่านเชียงและช่วยเธอให้รอดจากเงื้อมมือของนายทหารพม่าที่เป็นทหารเอกของพ่อเธอเอง แต่พอกองทัพพม่าของจอข้องนรธากับโปมะยุง่วนจากเชียงใหม่มาถึง ทิพพ์ช้างก็ต้องหลบหนีไปจนถึงหมู่บ้านชาวเขาแห่งหนึ่ง และได้นางข้อยขิ่นลูกสาวหัวหน้าเผ่าเป็นภรรยา แต่ไม่นานพม่าก็ตามมาถึง ทิพพ์ช้างต้องยอมให้พม่าจับตัวเพื่อความปลอดภัยของหมู่บ้าน ทิพพ์ช้างถูกขังคุกมืด 15 ปี เพราะม่านเชียงอ้างกับแม่ทัพพม่าว่าต้องการทรมานนานๆ  แม้ทางลำปางจะทราบข่าวก็ไม่กล้าตามไปช่วยเพราะเกรงทิพพ์ช้างจะถูกฆ่าเสียก่อน เจ้าอ้ายหรือหนานนั่งฟ้าลูกของทิพพ์ช้างได้นั่งทางในรู้ว่าพ่อติดคุกมืดอยู่ที่เชียงใหม่ กับได้เห็นนางม่านเชียงก็หลงรัก จึงได้ตัดสินใจไปเชียงใหม่ตามลำพัง ทางเชียงใหม่ ทิพพ์ช้างถูกเลือกให้มาทำหน้าที่ลากกระทงให้นางม่านเชียงในงานยี่เป็ง แต่กลับเป็นจังหวะให้ทิพพ์ช้างลักพาตัวนางม่านเชียงหนีไปจนถึงป่าแห่งหนึ่ง ขณะที่ทิพพ์ช้างกำลังข่มเหงนางม่านเชียงเพื่อการแก้แค้นทำนองเดียวกับที่แก้แค้นนางก้อนกลอย พอดีหนานนั่งฟ้ามาพบเข้า พ่อลูกเกิดโต้เถียงกันเหมือนกับว่าลูกจะเห็นนางในฝันดีกว่าพ่อ จนถึงกับเรียกทหารพม่ามาจับทิพพ์ช้างกลับไปได้ แต่นั่นก็เป็นโอกาสให้หนานนั่งฟ้าได้แฝงตัวเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ และรับราชการจนเป็นคนโปรดโปมะยุง่วน เรื่องต่อจากนี้ บรรดาลูกๆ ของทิพพ์ช้างที่เหลือได้มาพบกันและรวบรวมกำลังกันยกทัพไปตีเชียงใหม่ ในเรื่องยังอ้างว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงทราบเรื่องแล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระอุทัยธรรมยกทัพไปช่วย แต่ก็มีฉากรบของทัพกรุงเทพฯ อยู่หน่อยเดียว นอกนั้นก็เป็นฉากช้างศึกบ้าง กองทัพเด็กปล้นค่ายบ้าง มีเรียกน้ำป่ามาท่วมทัพพม่าบ้าง ก่อนจะจบยังอุตส่ามีฉากคลาสสิคของหนังไทย คือ ผู้ร้ายปล้ำนางเอกให้ต้องลุ้นประกอบไปด้วย เรื่องของเรื่องคือขนาดยามหน้าสิ่วหน้าขวาน แม่ทัพพม่ายังอุตส่ามีอารมณ์อยากจะปล้ำนางม่านเชียงขึ้นมา หนานนั่งฟ้าจะเข้าไปช่วยทหารพม่าที่เป็นทหารเอกของท้าวมหายศเดิมก็มาขัดขวาง ลงท้ายก็ต้องช่วยสำเร็จตามฟอร์มพร้อมกับชัยชนะของกองทัพฝ่ายไทยครับ ผลจากชัยชนะ "พ่อเลี้ยง" ก็ได้บวชสมกับที่ได้ตั้งใจมานาน ส่วนทิพพ์ช้างก็ยกนางม่านเชียงให้หนานนั่งฟ้า แต่งตั้งให้ลูกๆ ทั้งสี่ที่เกิดจากนางพิมพาไปครองเมืองต่างๆ ส่วนตัวเองจากไปอยู่กินกับนางก้อนกลอยและนางข้อยขิ่น

นักโทษ "ทิพพ์ช้าง" ถูกเลือกมาทำหน้าที่ลากกระทงให้ม่านเชียงในงานยี่เป็ง แต่ก็สามารถพานางม่านเชียงหนีไปได้พักหนึ่ง

ด้านประวัติศาสตร์นั้น เป็นอันว่าแทบจะเอาสาระอะไรไม่ได้ จัดว่าเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่เพียงแต่ขอยืมวีรกรรมของทิพย์ช้างในประวัติศาสตร์จริงมาแต่งเติมเรื่องเท่านั้น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ควรทราบประกอบการชมภาพยนตร์ได้แก่

  • วีรกรรมของ "ทิพย์ช้าง" นั้น เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2275 ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระในสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนการเสียกรุงศรีอยุธยาและการกู้เอกราชของพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2310 ห่างกันประมาณ 35 ปี แต่ในภาพยนตร์ก็ยังได้โยงเข้าหากันอย่างทื่อๆ เรื่องที่ "พ่อเลี้ยง" อ้างว่าไปเห็นอยุธยาถูกเผา และบอกให้หาผู้นำกู้ชาติเหมือนพระยาตากทางใต้ กับที่อ้างว่ากองทัพกรุงเทพฯ ยกมาช่วยในตอนหลังนั้น ผิดลำดับเวลาโดยสิ้นเชิง
  • ตามประวัติกล่าวว่า "ทิพย์ช้าง" หรือพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม ทิวงคตเมื่อพ.ศ. 2302 (ในวิกิพีเดียว่าพ.ศ.2306) เมื่ออายุได้ 85 ปี นับย้อนไปเมื่อตอนยิงท้าวมหายศในปีพ.ศ.2275 นั้น ท่านจะมีอายุราวๆ 58 ปี
  • การแต่งเรื่องให้ "พิมพา" ถูกทหารพม่าจับไปเป็นตัวประกันและถูกข่มขืนจนเสียชีวิตนั้น นอกจากไม่ตรงตามเรื่องจริงในประวัติศาสตร์แล้ว  ดูไม่ค่อยจะสมควรกับเกียรติยศของ "ทิพย์ช้าง" และ "พิมพา" สักเท่าไหร่ หรือถ้าเจ้าทหารพม่าตระกูลหาญทั้งสามได้เกิดใหม่มารับจ้างใครทำงานแถวๆ นี้แล้วเกิดระลึกชาติได้ก็คงโวยเหมือนกันว่าฉันเปล่านะ ในทัศนะผม การแต่งเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อความบันเทิง น่าจะให้หญิงอื่นเป็นผู้รับเคราะห์แล้วให้ "พิมพา" เป็นนางเอกตัวจริงจะเหมาะสมกว่า
  • "ทิพย์ช้าง" ไม่เคยถูกขังคุกในเมืองเชียงใหม่แต่อย่างใด การแต่งเรื่องให้ "ทิพพ์ช้าง" ถูกขังคุกในเชียงใหม่ตั้ง 15 ปี เป็นแค่ความพยายามที่จะยืดเรื่องให้มาสัมพันธ์กับการกู้ชาติทางส่วนกลาง และให้ลูกๆ ของ "ทิพพ์ช้าง" ที่เกิดทีหลังโตพอที่จะออกรบในตอนท้ายเรื่องได้เท่านั้น
  • การกอบกู้ล้านนาจากพม่าสำเร็จลงได้ในรุ่นหลานของ "ทิพย์ช้าง" คือ เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง โอรสองค์ใหญ่ของ เจ้าฟ้าสิงหราชธานี ชายแก้ว ได้ร่วมกับอนุชาทั้ง 6 (รวมเรียกว่า "เจ้าเจ็ดตน") และ "พระยาจ่าบ้าน" ขุนนางนครเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนทัพหลวงของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2317 ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ "เจ้าพระยาจักรี (ร.1)"และ "เจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)" ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้ "พระยาจ่าบ้าน" ครองนครเชียงใหม่ และ "เจ้ากาวิละ" ครองนครลำปาง


ชาวล้านนานำทัพเข้าตีเชียงใหม่คืนจากพม่า

 เรื่องของไสยศาสตร์และพลังจิต เป็นอีกประเด็นที่ไม่มีกล่าวในประวัติของ "ทิพย์ช้าง" ในประวัติศาสตร์จริงเลย การนำใส่เรื่องเหล่านี้เข้ามาเพื่อความบันเทิงนั้น ตอนแรกในเรื่องที่ "ทิพพ์ช้าง" สามารถกล่อมช้างและเสือให้เชื่องลงได้ดูจะไม่ขัดความรู้สึกเท่าไหร่ ตอนที่ "ทิพพ์ช้าง" กำลังหนีแล้วเสกงูมาไล่กัดพม่าที่ติดตามก็ยังพอทน แต่ถึงตอนที่หนานนั่งฟ้านั่งทางในไปเห็นพ่อกับแม่นางม่านเชียงคนสวย กับตอนลูกคนหนึ่งเสกน้ำป่ามาท่วมทัพพม่า ดูแล้วรู้สึกว่าเรื่องนี้จะใช้ไสยศาสตร์พร่ำเพรื่อแก้ปัญหากันทื่อๆ อยู่เรื่อย

ค่านิยมทางเพศเป็นอีกประเด็นที่น่าสังเกตอยู่ตลอดเหมือนกัน ตั้งแต่กรณีที่นางก้อนกลอยปฏิญาณว่าจะแต่งงานกับผู้นำการกู้ชาติที่จะปรากฏตัว แล้วก็ตามไปตื๊อ "ทิพพ์ช้าง" ถึงบ้าน การแต่งเรื่องว่าแม่นางพิมพาถูกข่มขืนจนตาย แล้ว "ทิพพ์ช้าง" ไปโทษว่าก้อนกลอยกับม่านเชียงเป็นต้นเหตุ แล้วก็แก้แค้นก้อนกลอยด้วยการข่มขืนเป็นรายแรก แล้วก็มุ่งมั่นที่จะตามไปแก้แค้นนางม่านเชียงด้วยวิธีการเดียวกันจนไม่ได้ใส่ใจเลยด้วยซ้ำว่าผู้ที่ทำร้ายพิมพานั้นคือเจ้าสามพี่น้องตระกูลหาญต่างหาก เมื่อตอนได้นางข้อยขิ่นเป็นภรรยานั้น นางข้อยขิ่นเป็นฝ่ายปิ๊ง "ทิพพ์ช้าง" ขึ้นมาก่อน โดยอาจจะมีเหตุประกอบว่าไม่อยากแต่งกับเจ้าผู้ชายในเผ่าอีกคนที่เป็นอันธพาล แต่ก็เป็นรักแรกพบที่ค่อนข้างจะเหลือเชื่อซักหน่อย แล้วก็มาฉากแม่ทัพพม่าปล้ำนางเอกตอนท้ายเรื่องดังที่กล่าวข้างต้น ฯลฯ ค่านิยมทางเพศของหนังไทยและสังคมไทยสมัยนั้นช่างเอาใจผู้ชายเหลือเกิน


ฉากการต่อสู้ของตัวละครสำคัญๆ ภาพซ้ายล่างคือตอนที่หนานนั่งฟ้าชักปืนพกมายิงทหารพม่า

ฉากรบในภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้จะมีการลงทุนสร้างค่าย เกณฑ์คนเกณฑ์ช้างมาเข้าฉากจำนวนมากมาย แต่ก็ยังมีจุดด้อยทั้งในเรื่องของมุมกล้อง การแต่งตัวโดยเฉพาะทางฝ่ายพม่าที่ยังโพกผ้านุ่งโสร่ง หลายคนใส่เสื้อสีชมพูแปร้น ซึ่งตรงนี้คงไม่ต่างจากภาพยนตร์ไทยในยุคเดียวกันมากนัก ในด้านศิลปะการต่อสู้หรือคิวบู๊นั้นนับว่าไม่มีอะไรเด่นเมื่อเทียบกับเรื่องอื่น ตลอดเรื่องไม่มีท่าอาวุธสวยๆ ให้เห็นบ้างเลย มีความพยายามที่จะยัดเยียดบทบู๊ให้นางก้อนกลอยทั้งๆ ที่เธอยังแต่งชุดสาวไทยเหนือที่ไม่มีความทะมัดทะแมงพอจะสู้กับผู้ชายได้เลย ที่แย่คือในตอนท้ายเรื่อง ขณะที่หนานนั่งฟ้ากำลังสู้กับทหารพม่าจนจวนเจียนจะเสียที ก็ควักปืนพกออกมายิงหน้าตาเฉย

โดยรวมแล้ว ถือเป็นแนวคิดที่ดีที่ได้มีการนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมานำเสนอในภาพยนตร์ไทยบ้าง แต่การที่ยังยึดติดกับภาพของประวัติศาสตร์ส่วนกลาง กับข้อจำกัดบางประการของหนังไทยในยุคนั้น ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ไปสู่จุดหมายที่ควรจะเป็น ก็ได้แต่หวังว่าในโอกาสต่อไปจะได้มีใครนำเอาเรื่องราววีรกรรมของคนในท้องถิ่นมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยอีก ซึ่งย่อมจะทำได้ดีกว่าในยุคที่สร้าง "ทิพพ์ช้าง" แน่นอน


ฉากสุดท้าย มอบหมายหน้าที่ให้ลูกๆ แต่ละคน

ปล. เกือบลืมบอกไปว่าเคยเห็น "ทิพย์ช้าง" ในเวอร์ชันการ์ตูนด้วยครับ แต่ยังไม่มีโอกาสได้อ่านสักทีว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร ใครทราบช่วยนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย :  "ทิพพ์ช้าง"(สะกดตามที่ปรากฏในภาพยนตร์) หรือ ทิพย์ช้าง (สะกดตามประวัติศาสตร์จริง)

ผู้กำกำกับ : รัตน์ เศรษฐภักดี

ผู้อำนวยการสร้าง : สอาด ปียวรรณ

ผู้เขียนบท :  ส. อาสนจินดา

ผู้แสดง :

  • สมบัติ เมทะนี
  • ธัญญรัตน์ โลหะนันท์
  • สุชีรา สุภาเสพย์
  • อนันต์ สัมมาทรัพย์
  • คมน์ อรรฆเดช
  • ดลนภา โสภี
  • ประภาศรี เทพรักษา
  • วัลยา วราภรณ์
  • สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช
  • จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์
  • สันติ สันติพัฒนาชัย
  • ปฐมชัย ชมสีเมฆ
  • พิภพ ภู่ภิญโญ
  • แพน บรเพ็ด
  • ประพัฒน์ มิตรภักดี
  • สมชาย สามิภักดิ์
  • สน่ำ สวนสุจริต
  • สอาด ปียวรรณ

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (82922)
avatar
คนเล่าเรื่อง

เท่าที่อ่านดู  หนังไทยเรื่องนี้ก็ไม่ต่างจากหนังไทยในยุคกำลังพัฒนาเรื่องอื่น ๆ ที่ทำกันแบบขาด ๆ เกิน ๆ (ส่วนใหญ่จะขาดเสียมากกว่า) ทั้งในเรื่องของบท ตัวละคร และงานโปรดักชั่น  ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรครับกับความสามารถ และทุนสร้างในยุคนั้น  แล้วหนังไทยเรื่องนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากหนังแนวปลุกใจให้รักชาติแบบตื้น ๆ แต่ค่อนข้างยัดเยียดอย่างจงใจเกินไปครับ

ต้องบอกว่า  การสร้างหนังประวัติศาสตร์ คือ ศิลปะการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่ต้องมีความแยบยลอย่างมากมาย  ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีครับ

แล้วก็เป็นที่น่ายินดีว่า  ทีมงานสร้างหนังไทยประวัติศาสตร์ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาก  แล้วยังมีผู้รู้ ผู้ชำนาญทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่คอยช่วยเหลือทีมงานอย่างมาก  จึงเชื่อว่า  ถ้าจะมีการสร้างหนังประวัติศาสตร์ในแนวนี้อีกในปัจจุบัน คงทำได้ดีกว่านี้อย่างมากแน่นอนครับ

เอ้อ อีกเรื่องครับ ผมยังไม่มีเวลาที่จะเขียนถึงหนังประวัติศาสตร์เรื่องต่อไปของผมเลย  แล้วนี่ก็มีธุระเดินทางประจำอีกแล้ว  ต้องขอเวลาอีกสักพัก  ซึ่งไม่รู้ว่าพักนานแค่ไหน  แล้วตะเขียนเรื่องใหม่มาส่งครับ (เพราะแต่ละเรื่อง  ผมจะต้องทำการบ้านอย่างละเอียดละออให่มากที่สุดครับ)

สุดท้ายครับ  ถ้าไม่เป็นการรบกวนกันมากจนเกินไป  และอาจารย์โรจน์ไม่ขัดข้องละก็  ผมอยากจะขอพบอาจารย์โรจน์แบบเป็นกันเอง สักครั้งหนึ่งเพื่อขอศึกษาและเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์จากอาจารย์โรจน์ได้ไหมครับ  รับรองไม่มีเรื่องการขอดูดวงแน่นอนครับ  ถ้าได้  จะขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-07-06 01:19:03


ความคิดเห็นที่ 2 (83300)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

เรื่องคอมเม้นต์ในภาพยนตร์ผมคงไม่ต้องตอบอะไร ส่วนเรื่องที่จะขอพบนั้น โทร.นัดได้ตามเบอร์ที่ให้ไว้ในเว็บครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-07-06 23:31:53


ความคิดเห็นที่ 3 (92286)
avatar
[ละอ่อนลำปาง]{จ้าดง่าว}

เอาข้อมูลไปไม่ได้อ่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น [ละอ่อนลำปาง]{จ้าดง่าว} (tom_arnan-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-01-08 16:45:34


ความคิดเห็นที่ 4 (92293)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ผมจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้มีการนำบทความในเว็บนี้ไปโพสต์กันเรี่ยราดตามบล็อกส่วนตัวหรือตามเว็บบอร์ดต่างๆ   แต่ถ้ามีเหตุผลความจำเป็นทางวิชาการหรืออย่างไรแล้ว  ขอให้อีเมล์มาคุยกันก่อนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-01-08 20:31:56


ความคิดเห็นที่ 5 (97711)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ขอเพิ่มเติมนิดว่าปัจจุบันผมได้ยกเลิกการป้องกันการ copy แล้ว  อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือในการนำไปเผยแพร่ในเว็บอื่นว่าควรทำเป็นลิงก์ให้เข้ามาดูข้อความที่นี่แทนการคัดลอกบทความทั้งหมดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-24 09:38:44



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker