dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สะดุดเลิฟ ที่เมืองรัก (Letters to Juliet)
วันที่ 19/05/2013   18:36:43

ชาญชัย (Leo53)

หมายเหตุจาก Webmaster@iseehistory.com : แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในยุคสมัยใดโดยตรง แต่ได้มีการกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนต้องการนำเสนอแง่คิดบางประการ ในที่นี้จึงขอนำมา "ฝาก" ไว้ในกลุ่มบทความภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ ไว้ก่อน

“A time for us, some day there'll be
When chains are torn by courage born of a love that's free
A time when dreams so long denied can flourish
As we unveil the love we now must hide
A time for us, at last to see
A life worthwhile for you and me
And with our love, through tears and thorns
We will endure as we pass surely through every storm
A time for us, some day there'll be a new world
A world of shining hope for you and me”

                                     Love Theme From Romeo and Juliet

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์รักโรแมนติคแบบเบาๆ เดินเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อน ผู้ชมสามารถคาดเดาเรื่องราวว่าจะดำเนินไปอย่างไรได้แทบจะทุกขั้นทุกตอน จุดเด่นของเรื่องนี้อยู่ตรงที่การเดินเรื่องโดยอิงกับ “บ้านของจูเลียต” ในเมืองเวโรน่า ประเทศอิตาลี ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอิตาลี ทุกปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไปเยี่ยมชมประมาณปีละกว่า 500,000 คน และเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนไปเยี่ยมชมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองลงมาจากพิพิธภัณฑ์วาติกัน ซึ่งหลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายไปทั่วโลกแล้วตัวเลขอาจพุ่งแรงแซงพิพิธภัณฑ์วาติกันเลยก็ได้! มีผู้หญิงทุกวัยตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยชราพากันไปเขียนจดหมาย หรือบันทึกข้อความ ระบายความทุกข์ ความในใจ เรื่องราวปัญหาความรัก ความสับสน และขอคำแนะนำจากจูเลียต แปะไว้ที่กำแพงใต้ระเบียงบ้านที่เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ซึ่งโรเมโอแอบเข้าไปพบจูเลียตในค่ำคืนแรกหลังจากที่ได้พบกันในงานเลี้ยงตอนหัวค่ำ และถ้าโชคดีก็จะได้รับจดหมายตอบกลับจาก "จูเลียต" อีกด้วย!


รูปที่ 1  บ้านของจูเลียต ในเมืองเวโรน่า อิตาลี  ทุกปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจำนวนมากกว่า 500,000 คนไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ จากรูปจะเห็นคู่รัก ไปถ่ายรูปกันตรงระเบียงที่เชื่อกันว่าโรเมโอแอบเข้าไปพบจูเลียตเป็นครั้งแรก ส่วนรูปทางขวาเป็น บันทึกข้อความต่างๆเกี่ยวกับความรัก และจดหมายที่บรรดาผู้หญิงที่มีทุกข์ในรัก เขียนถึงจูเลียตเพื่อขอคำแนะนำ แปะติดไว้ที่กำแพงบ้าน  และถ้าโชคดีอาจได้รับจดหมายตอบกลับจาก “จูเลียต” ด้วย

นางเอก โซฟี ฮอล (อาแมนดา ไซเฟรด) ทำงานเป็นผู้ตรวจหาข้อเท็จจริง (Fact Checker) .ให้กับนิตยสารเดอะนิวยอร์คเก้อร์ ในอเมริกา เธอเดินทางไปพักผ่อนที่อิตาลีกับคู่หมั้นของเธอ วิคเตอร์ (กาเอล กาเซีย เบอร์นัล) นัยว่าเพื่อกระตุ้นความรักให้สดใสซาบซ่าอีกครั้งก่อนที่จะกลับมาเข้าพิธีแต่งงาน เมื่อถึงอิตาลีแล้ววิคเตอร์ก็มัวแต่ใช้เวลาจดจ่ออยู่กับการติดต่อหาสูตรอาหารและไวน์เด็ดๆของอิตาลี่เพื่อจะนำกลับไปใช้กับภัตตาคารของเขาที่อเมริกา โซฟีเบื่อที่จะต้องเดินทางเป็นเพื่อนเขาไปติดต่อเรื่องสูตรอาหารสูตรไวน์ทุกวัน เธอจึงใช้เวลาท่องเที่ยวไปดูสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในอิตาลี่


รูปที่ 2      โซฟี ฮอล  นางเอกทำงานเป็นผู้ตรวจสอบความจริงของนิตยสารแห่งหนึ่ง  คู่หมั้นของเธอ  วิคเตอร์  เป็นเจ้าของภัตตาคารแห่งหนึ่ง เขาหมกมุ่นอยู่กับการคิดสูตรอาหารและสูตรไวน์ต่างๆ    เขาชวนเธอไปเที่ยวอิตาลีด้วยกันเพื่อพักผ่อนก่อนจะกลับมาเข้าพิธีแต่งงาน

เธอเดินไปตามถนนในเมืองจนกระทั่งพบ “บ้านของจูเลียต” ซึ่งทำให้เธอรู้สึกแปลกใจและประทับใจ เพราะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกันมาก มีทั้งคู่รักที่ไปถ่ายรูปกันโดยเฉพาะตรงระเบียงที่เชื่อกันว่าเป็นระเบียงที่โรเมโอแอบไปพบจูเลียตเป็นครั้งแรก และผู้หญิงจำนวนมากกำลังเขียนจดหมายเพื่อแปะไว้ที่กำแพง บางคนก็กำลังร้องไห้ ในขณะที่กำลังจะเดินกลับออกมานั้นเธอก็เผอิญเห็นผู้หญิงคนหนึ่ง “อีซาเบลล่า” ถือตะกร้าเดินเก็บจดหมายทุกฉบับที่แปะอยู่บนกำแพง เธอจึงเดินตามไปจนถึงห้องทำงานของอีซาเบลล่า เธอจึงได้ทราบว่าที่บ้านของจูเลียตนั้น ทางการของอิตาลีได้จัดให้มีมีอาสาสมัครหลายคนมานั่งทำงานทุกวันในฐานะ “เลขาของจูเลียต” ผู้หญิงเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญคือช่วยกันอ่านจดหมายทุกฉบับที่เขียนถึงจูเลียต และถ้าฉบับใดเห็นว่าสมควรจะต้องให้คำแนะนำก็จะตอบจดหมายฉบับนั้นในนามของ “จูเลียต”


รูปที่ 3      เมื่อไปถึงอิตาลี  วิคเตอร์เอาแต่ออกไปติดต่อหาสูตรทำอาหาร สูตรไวน์  ฯลฯ เพื่อนำกลับไปพัฒนารายการอาหารที่ภัตตาคารของเขา  โซฟีจึงขอไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองแทน  และเธอก็เดินมาถึง “บ้านของจูเลียต”

อีซาเบลล่าและทีมงานชวนโซฟีไปทานอาหารเย็นวันรุ่งขึ้น เมื่อโซฟีไปถึงและช่วยอีซาเบลล่าเก็บจดหมายใส่ตะกร้านั้น อิฐก้อนหนึ่งหลุดออกมาพร้อมกับจดหมายที่เธอดึงออก เมื่อเธอมองเข้าไปก็พบจดหมายฉบับหนึ่งเขียนไว้โดย “แคลร์ วาเนสซ่า เรดเกรฟ)” ซึ่งเขียนทิ้งไว้ 50 ปีแล้ว เมื่อเธออ่านจดหมายของแคลร์แล้วเธอรู้สึกต้องการจะตอบจดหมายฉบับนี้ซึ่งอีซาเบลล่าและเพื่อนๆก็อนุญาต หลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์ ชาลี (คริสโตเฟอร์ อีแกน) หลานชายของแคลร์ก็พาแคลร์มาอิตาลี และพบกับโซฟี


รูปที่ 4   พวกผู้หญิงพากันเขียนโน้ตบ้างจดหมายบ้างบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักของพวกเธอ บางฉบับก็เป็นจดหมายขอคำแนะนำจากจูเลียต  หลายคนก็กำลังร้องไห้อยู่ด้วย


รูปที่ 5  อาสาสมัครที่ทำหน้าที่เลขาของจูเลียตจะเก็บจดหมายและโน้ตที่กำแพงมาทุกวันและอ่านดูถ้าพบว่ามีฉบับใดสมควรได้รับคำแนะนำก็จะเขียนตอบและลงชื่อผู้ตอบว่า “จูเลียต” ภาพทางขวาโซฟีไปช่วยเก็บจดหมายและก้อนอิฐก็ตกลงมาขณะที่เธอดึงจดหมาย (ผู้เขียนคือแคลร์) ออกมา เมื่อมองเข้าไปเธอพบจดหมายถึงจูเลียตฉบับหนึ่งซึ่งอยู่ที่นั่นมาแล้ว 50 ปี เมื่ออ่านเนื้อความเธอต้องการที่จะตอบมาก และบรรดาเลขาของจูเลียตก็อนุญาตให้เธอเขียนตอบได้


รูปที่ 6   โซฟีอาสาไปช่วยแคลร์ตามหาลอเรนโซ (คนรักเก่าของแคลร์)ให้   ทักษะที่เธอมีในฐานะผู้สอบหาความจริงทำให้เธอช่วยแคลร์ได้มาก

เนื่องจากแคลร์บังคับให้ชาลีพาเธอมาอิตาลีเพื่อพบกับเลขาของจูเลียตคนที่ตอบจดหมายของเธอ  เขาต่อว่าเธอว่าจดหมายของเธอไม่เหมาะสมกับเวลาขณะนี้มันควรจะมาถึงย่าของเขาเมื่อ 50 ปีก่อน  และเขาไม่เห็นด้วยกับการที่ย่าของเขาจะมาตามหาคนรักเก่า (ลอเรนโซ)ในขณะนี้เพราะอาจทำให้เธอเสียใจได้ในหลายๆกรณีเช่น ลอเรนโซ (คนรักเก่าของย่าเขา ไม่ต้องการพบเธอ,  เขาป่วยหนักและเสียชีวิตไปแล้ว ฯลฯ เขาปฏิเสธไม่ให้โซฟีพบย่าเขา แต่นางเอกก็ติดตามเขาไปจนกระทั่งได้พบกับแคลร์  โซฟีขอร่วมเดินทางติดตามหาลอเรนโซ กับแคลร์ด้วยเนื่องจากคู่หมั้นของเธอยุ่งอยู่กับงานเขาและเธอมีเวลาพอที่จะเดินทางไปด้วย  และเธอเห็นว่าเรื่องของแคลร์น่าสนใจมาก เธออยากนำไปเขียนเป็นบทความต่อไป  ซึ่งแคลร์ดีใจและยินดีให้เธอร่วมทางไปด้วย


รูปที่ 7  มีคนนามสกุลลอเรนโซหลายคนในเมืองนี้  แคลร์ต้องผิดหวังหลายครั้ง และเมื่อเธอตามไปจนพบหลุมศพของผู้ชายที่ชื่อลอเรนโซคนหนึ่ง เธอจึงถอดใจยอมแพ้และตั้งใจจะเดินทางกลับอังกฤษ


รูปที่ 8  ในระหว่างเดินทางกลับนั้นเอง  โดยไม่คาดคิด และอาจเป็นสวรรค์บันดาล แคลร์ก็ได้มีโอกาสพบคนรักของเธอ ลอเรนโซ  

ในระหว่างการติดตามหาลอเรนโซ  โซฟีได้ใช้ความรู้ในการสืบหาบุคคลในฐานะที่เธอมีอาชิพเป็นผู้ตรวจหาความจริงช่วยในการติดตามหาลอเรนโซ อย่างไม่ย่อท้อแม้จะผิดหวังหลายครั้งหลายครา  โดยทั้งแคลร์และโซฟีไม่หมดกำลังใจแม้ว่าชาลีจะไม่เห็นด้วยก็ตาม จนกระทั่งได้พบกับลอเรนโซในที่สุด  ในขณะนั้นลอเรนโซก็เป็นพ่อม่ายเช่นเดียวกันทั้งสองคนดีใจมากที่ได้พบกันอีกและตกลงแต่งงานกัน   ในระหว่างนั้นชาลีเองก็เกิดหลงรักโซฟีขึ้นมาเช่นกัน  แต่เขาไม่กล้าเอ่ยปากแสดงความในใจออกมา จนกระทั่งแคลร์ต้องบอกเขาว่าถ้าไม่อยากต้องเสียเวลาในชีวิตไปสูญเปล่าเหมือนย่าเขาก็ให้รีบตามไป  หลังจากนั้นพระเอกก็ติดตามนางเอกไปแต่ก็มีเหตุบังเอิญให้ต้องคลาดกันและเข้าใจผิดกันจนพระเอกถอดใจยอมแพ้  แต่ในที่สุดนางเอกก็รู้สึกว่าจริงๆแล้วตัวเองไม่ได้รักคู่หมั้นอีกต่อไปแล้วแต่รักพระเอก  เธอจึงบอกยกเลิกการแต่งงานและเดินทางไปพบชาลีในงานวันแต่งงานของแคลร์กับลอเรนโซ  แล้วเรื่องก็จบลงด้วยความสุขแฮปปี้เอนดิ้งตามที่ผู้ชมทุกคนสามารถคาดได้


รูปที่ 9  .ในงานแต่งงานของแคลร์กับลอเรนโซ  โซฟี่บอกเลิกกับคู่หมั้นของเธอและเดินทางไปร่วมงานแต่งงาน และหลังจากความเข้าใจผิดระหว่างกันได้รับการแก้ไขแล้ว เรื่องก็จบลงด้วยความสุข แฮปปี้เอนดิ้ง ตรงระเบียงบ้านทำนองเดียวกับที่โรเมโอได้เคยพบและบอกรักกับจูเลียตนั้นเอง

ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าประเด็นที่น่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ตรงที่การเดินเรื่องโดยอิงกับ “บ้านของจูเลียต” เป็นฉากหลังที่สำคัญ  บ้านของจูเลียตนี้นับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของทางการท้องถิ่นในเมืองเวโรนาที่ รู้จักใช้ประโยชน์จากวรรณกรรมชิ้นเอกของโลกที่กล่าวถึงเรื่องราวในตำนานที่อิงถึง จูเลียต คาปูเล็ท และบ้านของเธอในเมืองเวโรน่า  ความจริงแล้วไม่มีหลักฐานแน่ชัดใดๆเลยที่ชี้บอกว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของจูเลียต ในวรรณกรรมอมตะของเช็คเสปียร์  บ้านหลังนี้เป็นบ้านของตระกูล  Capello ในราวศัตวรรษที่ 13 ซึ่งอยู่ในเมืองเวโรน่า  และอ่านออกเสียงใกล้เคียงกับ Capulet :ซึ่งเป็นนามสกุลของจูเลียต โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเช็คสเปียร์นำนิยายพื้นบ้านปรัมปราที่เคยเกิดขึ้นในเมืองเวโรน่าไปแต่งเป็นบทละครเรื่อง Romeo and  Juliet ขึ้นมา (ทำนองเดียวกับที่ไทยเราก็มีการแต่งเรื่องแม่นาคพระโขนง และแผลเก่า ฯลฯ จากนิยายพื้นบ้านเช่นกัน) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยโต้แย้งว่าบ้านหลังนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆกับจูเลียตในวรรณกรรมอมตะของเช็คสเปียร์ โดยเฉพาะระเบียงบ้านที่อ้างว่าเป็นสถานที่ที่โรเมโอแอบเข้าไปพบกับจูเลียตเป็นครั้งแรกนั้น ไม่ได้มีมาพร้อมกับตัวบ้านแต่เพิ่งจะมาสร้างขึ้นในภายหลัง!


รูปที่ 10 โอลิเวียร์ ฮัซซีย์  “จูเลียต” ใน Romeo and Juliet เวอร์ชั่น ปี 1968  ที่ถือกันว่าเป็นเวอร์ชั่นคลาสสิค และ จูเลียตในเรื่องเป็นจูเลียตที่สวยที่สมบทบาทที่สุดในทุกๆเวอร์ชั่นที่เคยมีการสร้างกันมา  ในภาพ จูเลียตกำลังรำพึงรำพรรณความในใจของตนที่เกิดรักแรกพบ และคร่ำครวญถึงโรเมโอ

การลงทุนของทางการอิตาลีที่สร้าง “บ้านของจูเลียต” ขึ้นมาจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มเกินคุ้ม  เพราะบ้านหลังเดียวไม่กี่สตางค์ กับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้าน และการจัดให้มีอาสาสมัครมาทำหน้าที่เลขาของจูเลียตนั้น เมื่อเทียบกับรายได้มหาศาลที่ประเทศอิตาลีได้จากนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย  เหตุผลที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแห่กันมามากมายนั้นน่าจะเป็นเพราะความขลังของ “จูเลียต” ในวรรณกรรมเรื่อง “โรเมโอกับจูเลียต” ที่ประทับตราตรึงอยู่ในใจของคนเกือบทั้งโลกมากกว่าที่จะเป็นตัวบ้านที่ถูกกำหนดให้เป็น “บ้านของจูเลียต” นับว่าอิตาลีสามารถใช้ประโยชน์จากวรรณกรรมเรื่องโรเมโอกับจูเลียตที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงเมืองเวโรน่า ได้อย่างดีที่สุด  

สำหรับคนไทยเราอาจรู้สึกแปลกๆที่คู่แต่งงานในเรื่องคือ แคลร์กับลอเรนโซนั้น อายุอยู่ในราว 70 ปีด้วยกันแล้วทั้งคู่  สามารถอธิบายได้ด้วยคำคมที่งดงามในภาพยนตร์  คือประโยคที่ โซฟี ตอบ ชาลี ตอนที่เขากล่าวโทษเธอว่าการตอบจดหมายของเธอไร้สาระเพราะควรจะตอบมาตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว  โซฟีตอบว่า “I’m sorry. I didn’t know true love had an expiration date (ดิฉันขอโทษคะ ดิฉันไม่ทราบว่ารักแท้มีวันหมดอายุด้วย)” ส่วนที่ผมแปลกใจก็คือผู้หญิงที่มีทุกข์ในรักจำนวนมากเหล่านี้ คิดได้ยังไงถึงเขียนจดหมายขอคำแนะนำจากจูเลียต สำหรับคนไทยเราอาจรู้สึกแปลกๆที่คู่แต่งงานในเรื่องคือ แคลร์กับลอเรนโซนั้น อายุอยู่ในราว 70 ปีด้วยกันแล้วทั้งคู่  สามารถอธิบายได้ด้วยคำคมที่งดงามในภาพยนตร์  คือประโยคที่ โซฟี ตอบ ชาลี ตอนที่เขากล่าวโทษเธอว่าการตอบจดหมายของเธอไร้สาระเพราะควรจะตอบมาตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว  โซฟีตอบว่า “I’m sorry. I didn’t know true love had an expiration date (ดิฉันขอโทษคะ ดิฉันไม่ทราบว่ารักแท้มีวันหมดอายุด้วย)” ส่วนที่ผมแปลกใจก็คือผู้หญิงที่มีทุกข์ในรักจำนวนมากเหล่านี้ คิดได้ยังไงถึงเขียนจดหมายขอคำแนะนำจากจูเลียต จูเลียตจะช่วยพวกเธอได้ยังไง ในเมื่อจูเลียตเองนั้น ตัวเธอเองยังเอาตัวไม่รอดเลย?


ภาพปกของภาพยนตร์

หมายเหตุ:
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Letters to Juliet

ชื่อภาษาไทย :  สะดุดเลิฟที่เมืองรัก

ผู้กำกำกับ :  Gary Winick

บทภาพยนตร์ :  Jose Rivera, Tim Sullivan

ผู้สร้าง : Summit Entertainment, Applehead Pictures

ผู้แสดง :

  • Amanda Seyfried                    Sophie
  • Marcia DeBonis                    Lorraine
  • Gael García Bernal                    Victor
  • Giordano Formenti                    Viti Coltore
  • Paolo Arvedi                        Signor Ricci (Olive Farmer)
  • Dario Conti                        Cheese Supplier
  • Ivana Lotito                        Young Girl
  • Luisa Ranieri                    Isabella    
  • Marina Massironi                    Francesca
  • Lidia Biondi                        Donatella (as Lydia Biondi)

 

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ

1911 ใหญ่ผ่าใหญ่ การปฏิวัติซินไฮ่อันนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบศักดินา 3,000 ปีของจีน วันที่ 19/05/2013   18:35:25
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ 1980 (คลาสสิค) วันที่ 19/05/2013   18:40:30
5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น เมื่อการปฏิวัติ คือ การหลั่งเลือด วันที่ 19/05/2013   18:39:13
Kingdom of Heaven มหาศึกกู้แผ่นดิน วันที่ 19/05/2013   18:41:31
Chariots of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ ชัยชนะแห่งไฟในหัวใจอันลุกโชน วันที่ 19/05/2013   18:43:04
Master and Commander วันที่ 19/05/2013   18:43:58
FIRST KNIGHT (สุภาพบุรุษยอดอัศวิน) วันที่ 19/05/2013   18:45:00
Legionnaire คนอึดเดือดไม่ใช่คน วันที่ 19/05/2013   18:46:18
ไททานิค ภาพยนตร์ที่ลงตัวทั้งประวัติศาสตร์และนิยายโรแมนติก วันที่ 19/05/2013   18:47:27
Napoleon ศึกรบ ศึกรัก และศึกการเมือง ในชีวิตนโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:48:31
Waterloo ความมโหฬารของสงครามปราบจักรพรรดิ์นโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:49:19
เอลซิด (El Cid) : ประวัติศาสตร์ หรือ ตำนาน วันที่ 19/05/2013   18:50:07
Fearless -> Truthless? วันที่ 19/05/2013   18:50:53
Veer จอมวีรอหังการ์ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:51:25 article
The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:09 article
Nomad: The Warrior (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:53 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker