dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Longest Day การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
วันที่ 19/05/2013   16:10:08

(เผยแพร่ครั้งแรกที่ rojn.blogth.com/HistoryMovies/ Sat-29-Apr-2006)

ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง แม้จะมีการรบครั้งสำคัญอยู่หลายครั้งด้วยกัน คงไม่มีเหตุการณ์ใดสำคัญเกินไปกว่าการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่สุดในโลกของฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 (พ.ศ.2487) ณ ชายหาดนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นถูกกองทัพเยอรมันยึดครองอยู่ ในเมืองไทยเองซึ่งห่างไกลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก ก็ยังเกิดสำนวนติดปากว่า "ดีเดย์" อันหมายถึงการเริ่มต้นทำงานสำคัญครั้งใหญ่

เหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น Cornelius Ryan นักเขียนสารคดีสงครามได้เคยสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในเหตุการณ์นั้นรวบรวมเป็นหนังสือชื่อ The Longest Day และฮอลลีวู้ด ได้เคยนำหนังสือเรื่องนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์แล้วครั้งหนึ่ง ในชื่อเดียวกับหนังสือเล่มดังกล่าว

ตั้งใจที่จะกล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้นานแล้ว แต่ด้วยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะเขียนถึงได้ง่ายๆ จึงต้องรอมาพอสมควร ก่อนจะเริ่มเขียนได้นำหนังเรื่องนี้ ซึ่งยาวถึง 3 ชั่วโมงมานั่งดูทบทวนอีกครั้ง ก็พบว่ามีรายละเอียดมากมายจริงๆ เพราะเขาก็พยายามกล่าวถึงกองทัพทั้งสองฝ่ายในหลายๆ หน่วย ไม่ได้ยกเอาหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่งมาเป็นพระเอกเหมือนในหนังที่มาสร้างกันในสมัยหลังๆ ในที่นี้จะพยายามเล่าในประเด็นที่น่าสนใจเท่าที่จะทำได้ ขาดเกินอย่างไรก็ขออภัยไว้ก่อนนะครับ

วันนั้นใครต้องทำอะไรบ้าง?

  • เริ่มจากเวลากลางคืน จะส่งข่าวเป็นรหัสทางวิทยุกระจายเสียงให้หน่วยใต้ดินชาวฝรั่งเศสเริ่มงานต่างๆ เช่น การตัดการสื่อสารระหว่างหน่วยทหารเยอรมัน การระเบิดทางรถไฟ
  • หน่วยคอมมานโดอังกฤษจะโจมตีสะพานที่แม่น้ำออร์น ก่อนที่ทหารเยอรมันจะทำลายทิ้ง และรักษาไว้จนกว่า ทหารอังกฤษที่ยกพลขึ้นบกจะยกมาช่วย
  • หน่วยพลร่มของอเมริกันจะกระโดดร่มลงหลังแนวข้าศึกที่เมืองแซงแมร์เอกลิส (Ste.-Mere-Eglise) โดยกองพลอากาศโยธินที่ 82 และคาเรนแทน (Carentan) โดยกองพลอากาศโยธินที่ 101 ในภาพยนตร์จะเน้นที่กองพลที่ 82 ที่จะต้องยึดแซงแมร์เอกลิสเป็นหลัก 
  • การยกพลขึ้นบกบนชายหาดนอร์มังดี ทั้งหมด 5 จุด ใหญ่หรือ 5 ชายหาด กับปฏิบัติการอีก 2 จุดย่อย 5 ชายหาดที่ว่า เป็นชื่อรหัส ได้แก่ ซอด (Sword) โดยทหารอังกฤษ จูโน (Juno) โดยทหารแคนาดา โกลด์ (Gold) โดยทหารอังกฤษ โอมาฮ่า (Omaha) และ ยูท่า (Utah) โดยทหารอเมริกัน ส่วนอีกสองจุด ได้แก่ หน่วยคอมมานโดฝรั่งเศสที่ขึ้นบกจากหาดซอดไปยัง Ouistreham  และที่หน่วยแรงเยอร์อเมริกันขึ้นบกที่ Pointe du Hoc เพื่อหน้าที่ในการกำจัดหน่วยปืนใหญ่ที่จะสนับสนุนทหารที่ป้องกันหาดโอมาฮ่า

(แผนที่แสดง การยกพลขึ้นบก และ กระโดดร่ม ของหน่วยต่างๆ ภาพจาก http://www.talkingproud.us/HistoryDDAY60th.html)

สมรภูมิที่รบกันดุเดือดนองเลือดที่สุดต้องยกให้ชายหาดโอมาฮ่า อันเป็นสมรภูมิเดียวกับฉากเริ่มต้นของหนังเรื่อง Saving Private Ryan นั่นแหละครับ หากดูจากในหนังอาจคิดว่าสาเหตุเพียงแค่การตั้งรับของเยอรมันบนหน้าผาสูง แต่จากที่ผมเคยข้อมูลจากที่อื่นมามันมีมากกว่านั้น ไม่ว่าทหารเยอรมันที่นั่นเป็นหน่วยที่มีประสบการณ์การรบอย่างช่ำชองจากสมรภูมิรัสเซีย ความผิดพลาดด้านการข่าวและการลาดตระเวณของสัมพันธมิตรที่ทำให้ไม่เห็นและไม่ได้ทำลายปราการสำคัญๆ ลงเสียก่อน รถถังสะเทิ้นน้ำนสะเทิ้นบกที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเตรียมไว้สนับสนุนทหารราบถูกปล่อยห่างจากชายหาดเกินไป ทำให้จมทะเลไปหมด ฯลฯ รายละเอียดหากกล่าวในที่นี้เกรงจะนอกเรื่องเกินไป ไว้จะหาโอกาสมาเล่าเพิ่มเติม ย้อนกลับมาในหนัง เรื่องนี้ไม่มีการติดเศษกระจกกับดาบปลายปืนอย่างใน Saving Private Ryan ผู้บัญชาการกองพลที่ 29 ได้แก้ปัญหาด้วยความเป็นผู้นำในการรวบรวมขวัญและกำลังใจของทหาร และสั่งการให้ทหารช่างที่ยังเหลือมาดำเนินการทำลายเครื่องกีดขวางที่เป็นอุปสรรคอยู่จนสำเร็จและตีฝ่าออกไปได้ แม้ว่าจะต้องแลกด้วยชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่งก็ตาม

อีกฉากที่รบกันดุเดือดน่าเต้น คือฉากการรบที่ Pointe du Hoc ที่ทหารอเมริกันต้องปีนหน้าผาขึ้นไปโดยใช้อุปกรณ์ทั้งเครื่องยิงตะขอที่ผูกเชือก และบันได ทางฝ่ายเยอรมันก็ใช้ทั้งปืนและระเบิดขว้างคอยสกัดจากข้างบน ทำให้ดูคล้ายการรบแบบปีนกำแพงเมืองในสมัยโบราณ เคยอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บ Wikipedia  บอกว่าการรบที่นี่ทหารอเมริกันจำนวนสองร้ายกว่าคนเหลืออยู่เพียงประมาณ 90 คนเท่านั้น และไม่มีการจับเชลยกันเลย

ฉากที่น่าประทับใจอีกฉากคือการโจมตีของหน่วยคอมมานโดฝรั่งเศสที่ Ouistreham โดยจุดเด่นอยู่ที่ความเป็นผู้นำของผู้บังคับบัญชา ที่ในตอนบุกก็วิ่งออกหน้าเป็นคนแรก ตอนถอยเข้าที่กำบังก็อยู่รั้งท้าย เมื่อสถานการณ์แย่ลงก็เป็นคนเสี่ยงชีวิตวิ่งออกไปตามหารถถังฝ่ายเดียวกันมาพลิกสถานการณ์เป็นฝ่ายชนะได้อย่างงดงาม

ดูหนังเรื่องนี้แล้วได้อะไรมากกว่าฉากยิงกัน?

จากมุมมองของฝ่ายสัมพันธมิตร ภารกิจอันยิ่งใหญ่มโหฬารครั้งนี้ สำเร็จลงได้ด้วยโดยต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ นับตั้งแต่สภาพอากาศอันเลวร้าย ตามเรื่องปรากฏว่าการบุกได้ถูกเลื่อนมาวันสองวันแล้ว ก่อนจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายฝนตกอย่างหนักที่เกาะอังกฤษเกือบทั้งวัน โดยมีรายงานอากาศครั้งสุดท้ายก่อนตัดสินใจว่าในวันบุกจะมีสภาพอากาศดีช่วงสั้นๆ และหากไม่โจมตีในวันที่ 6 จะต้องรอให้ระดับน้ำและตำแหน่งดวงจันทร์พอเหมาะเช่นนี้ต้องรอไปอีกประมาณหนึ่งเดือน เมื่อตัดสินใจปฏิบัติการแล้วก็ใช่ว่าทุกอย่างจะสมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ มีความผิดพลาดที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการที่ทหารพลร่มหนึ่งส่วนหนึ่งถูกปล่อยลงผิดจุดล้ำหน้าไปยังกองบัญชาการทหารเยอรมัน และโบสถ์แห่งหนึ่งที่กำลังถูกไฟไหม้ กลายเป็นเป้านิ่งให้ทหารเยอรมันที่กำลังช่วยชาวบ้านดับไฟยิงตายไปเกือบทั้งหมด ส่วนพลร่มหน่วยอื่นๆ ก็กระจัดกระจายกันไปหมด แต่ก็ต้องชื่นชมความมีวินัยของทหารเหล่านั้นที่พยายามออกหาพรรคพวก ค่อยๆ รวมตัวกันจนเป็นกลุ่มเป็นก้อนพอที่จะสามารถปฏิบัติการจนสำเร็จได้เช่นกัน สรุปว่า ความสำเร็จเกิดจากความกล้าตัดสินใจ และต้องแลกด้วยความสูญเสียบ้าง

ทางมุมมองของฝ่ายเยอรมันนั้น ปัญหาสำคัญที่สุดคือการข่าวสาร ว่าทางฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีการยกพลขึ้นบกที่ไหนเมื่อไหร่ คาดการณ์กันไว้ว่าจุดที่เป็นไปได้มากที่สุดในกาายกพลขึ้นบกที่ Calais ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะอังกฤษมากที่สุด ทหารเยอรมันได้มีความพยายามที่จะดักฟังข้อความต่างๆ ที่เป็นรหัสของสัมพันธมิตรตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร และเชื่อว่าสภาพอากาศอันเลวร้ายในช่วงนั้นจะทำให้ข้าศึกไม่กล้าตัดสินใจบุก ดังเช่น จอมพลรอมเมล (Erwin Rommel) จิ้งจอกทะเลทรายผู้โด่งดังและเป็นผู้สั่งการให้วางระเบิดไว้ตามชายหาดให้ได้ 6 ล้านลูก ได้เดินทางไปอวยพรวันเกิดภรรยาในคืนก่อนการบุก จอมพล ฟอน รุนเสต็ด (von Rundstedt) ออกอาการหัวเสียกับความเชื่อของหน่วยข่าวกรองที่พยายามคาดการการบุกจากข่าววิทยุสัมพันธมิตร นายพลอีกหลายนายตัดสินใจออกไปเล่นเกมสงครามในแนวหลังกัน จนกระทั่งเมื่อหน่วยพลร่มสัมพันธมิตรเริ่มออกปฏิบัติการกันแล้ว นายทหารบางส่วนก็ยังไม่เชื่อว่าจะมีการโจมตีครั้งใหญ่ ที่น่าสมเพชคือขณะนั้นหน่วยรถถังส่วนใหญ่ของเยอรมันถูกเก็บไว้ในแนวหลังโดยมีแต่ฮิตเลอร์เท่านั้นที่จะมีสิทธิสั่งการ (ในหนังไม่ระบุเหตุผลไว้ จากข้อมูลด้านอื่น เป็นเพราะความขัดแย้งระหว่างจอมพลรอมเมลกับจอมพล ฟอน รุนเสต็ด) และเมื่อสถานการณ์ถึงจุดวิกฤตในตอนดึก ข่าวปรากฏว่าท่านผู้นำได้กินยานอนหลับพักผ่อนไปแล้ว ใครจะปลุกไม่ได้! เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนที่สถานการณ์แย่ลงไปอีก ก็มีข่าวว่าท่านผู้นำเอาแต่โมโหเป็นฟืนเป็นไฟ ไม่มีใครกล้าเอ่ยเรื่องการใช้หน่วยรถถัง ฟอน รุนเสต็ดทราบข่าวจากทส.ก็เอาแต่โกรธท่านผู้นำ ไม่ยอมโทรไปพูดเรื่องนี้กับฮิตเลอร์เช่นกัน เรียกว่าเป็นความพ่ายแพ้เพราะระบบการบริหารโดยแท้

หลายปีก่อน ผมเคยเห็นช่อง 7 นำหนังเรื่องนี้ที่เป็นขาวดำมาฉายคืนวันเสาร์ ต่อมาราวปีสองปีตอนที่ผมซื้อ VCD เรื่องนี้ปรากฏว่ามันกลายเป็นหนังสีไปได้ ไม่ทราบว่าตอนสร้าง (ปี 1962 หรือพ.ศ.2505) เขาทำเป็นสองเวอร์ชันแต่แรก หรือว่ามาใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกทำหนังขาวดำให้เป็นสีได้ อีกอย่างคือ ตลอดทั้งเรื่องไม่เห็นมีเลือดแม้แต่หยดเดียว ไม่ทราบว่าเป็นปัญหาทางเทคนิคหรือทางกฎหมายสมัยที่สร้างอย่างไรกัน ด้านดีคือทำให้เป็นหนังสงครามที่ไม่โหดร้ายน่าสพรึงกลัวเหมือนหนังรุ่นหลังๆ ที่นองเลือดกันสมจริงเหลือเกิน

ด้านรายละเอียดของเรื่องนั้น ก็ต้องเห็นใจผู้สร้างว่าต้องเก็บรายละเอียดของยุทธการครั้งนี้ไว้มากมายเหลือเกิน แม้กระนั้นเมื่อเทียบกับหนังหรือหนังสืออื่นๆ ก็ยังขาดรายละเอียดอีกมาก เช่น ปฏิบัติการของพลร่มที่เน้นแต่กองพล 82 ไม่ค่อยพูดถึงกองพล 101 ที่หาดโอมาฮ่าก็กล่าวพึงแต่กองพลที่ 29 ไม่กล่าวถึงกองพลที่ 1 (The Big Red One) ซึ่งเป็นกองพลที่สำคัญกองพลหนึ่ง และไม่กล่าวถึงการรบของทหารแคนาดาเลย แต่ถ้าเก็บรายละเอียดการรบของทุกหน่วยทั้งสัมพันธมิตรและเยอรมันได้ครบก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหนังจะยาวไปอีกกี่ชั่วโมง

และแม้ว่าจะเป็นหนังสงคราม แต่ก็มีบทตลกเล็กๆ น้อยๆ แทรกอยู่หลายที่ เช่น

  • ตอนเริ่มแรกชาวบ้านฝรั่งเศสคนหนึ่งแสดงความสังเวชที่เห็นจ่าทหารเยอรมันอ้วนๆ คนหนึ่งขี่ม้าขนเสบียงไปให้พลปืนที่ชายฝั่ง ตอนหลังเมื่อเรือรบเริ่มระดมยิงที่ตั้งของเยอรมันขณะที่จ่าอ้วนคนนี้กำลังจะไปส่งเสบียงพอดี ทำเอาจ่าอ้วนหนีเผ่นหนีแบบล้มลุกคลุกคลานน่าขันมาก
  • ตอนที่คอมมานโดอังกฤษยึดสะพานแม่น้ำออร์น ทหารเสนารักษ์หรือหมอหลงทางไปทางฝั่งของเยอรมันแล้ววิ่งกลับมา โดยบอกผู้กองว่า "คนเราก็มีผิดพลาดกันได้" 
  • ชาวบ้านคนหนึ่ง กำลังจะกินอาหารค่ำที่ภรรยา (ซึ่งคงไม่รู้ว่าสามีเป็นหน่วยใต้ดิน) นำมาเสิร์ฟ ทานไปได้คำเดียวได้ยินเสียงวิทยุลอนดอนแจ้งรหัสว่า "จอห์นไว้หนวดยาว" ก็ตื่นเต้นยินดี รีบใส่หมวกสวมเสื้อนอกผลุนผลันออกประตูบ้านไปได้ก้าวสองก้าวก็วิ่งกลับมาเก็บวิทยุเข้าตู้ แล้วออกไปใหม่ ภรรยาได้แต่งงๆ แล้วหยิบถ้วยซุปมาชิมเหมือนจะหาว่ามีอะไรผิดปกติ ผ่านไปอีกไม่กี่ฉากจะเห็นชายคนนี้กับเพื่อนอีกคนออกไปวางระเบิดทำลายสายโทรศัพท์ของเยอรมัน

บทแปลภาษาไทย ต้องขอตินิดนึงเถอะ ว่าเล่นแปล Division ว่า "หน่วย" ตลอด จะโทษว่าเป็นผู้หญิงแล้วมาแปลเรื่องทหารก็ไงอยู่ แต่ในเมื่อรู้จัก "กองร้อย" กับ "กองพัน" แล้วทำไมไม่รู้จัก "กองพล" ก็ไม่ทราบ แต่ในภาพรวมถือว่าทำได้ดีแล้ว

คำคมส่วนหนึ่ง

  • "พระเจ้าอยู่ข้างใคร?" ครั้งแรกผู้บัญชาการหน่วยพลร่มที่ 82 พูดกับผู้บังคับบัญชา ครั้งที่สอง ทส.ของ ฟอน รุนเสต็ด พูดกับผู้ใต้บังคับบัญชา
  • "ทำร้ายใจข้าด้วยความหงอยเหงาอันจำเจ" เป็นรหัสลับวรรคหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตรในการแจ้งข่าวกับหน่วยใต้ดินฝรั่งเศส หน่วยข่าวเยอรมันทราบแต่เพียงว่าเมื่อวิทยุลอนดอนประกาศกลอนบทนี้ จะมีการบุกภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังทส.ของ ฟอน รุนเสต็ด ได้รำพึงกลอนบทนี้ออกมาอย่างหมดหวังเมื่อ ฟอน รุนเสต็ด ปฏิเสธที่จะโทรศัพท์ไปขอให้ฮิตเลอร์ส่งหน่วยรถถังออกมาช่วย 
  • "มีคนอยู่สองจำพวกที่จะอยู่บนหาดนี้ต่อไปได้ คือพวกที่ตายไปแล้ว กับพวกที่กำลังจะตาย" ผู้บัญชาการกองพลที่ 29 กล่าวกับทหารก่อนรวบรวมกำลังโจมตีหาดโอมาฮ่าครั้งสุดท้ายจนได้ชัยชนะ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ :  The Longest Day

ชื่อภาษาไทย :  วันเผด็จศึก

เรื่องเดิม :  The Longest Day by Cornelius Ryan

ผู้สร้าง : Darryl F. Zanuck

ผู้กำกำกับ : Ken Annakin (British exterior episodes), Andrew Marton (American exterior episodes), Bernhard Wicki (German episodes)

ผู้เขียนบท :  Romain Gary, James Jones, David Pursall, Cornelius Ryan, Jack Seddon

ผู้แสดง :  John Wayne, Henry Fonda, Robert Mitchum, Sean Connery, Curd Jurgens, Paul Hartmann, Irina Demick, etc.

เนื้อเพลงประกอบภาพยนตร์ http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=408853&Ntype=9

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



สงครามโลกครั้งที่ 2 - ยุโรป

Inglourious Basterds ยุทธการเดือดเชือดนาซี วันที่ 27/05/2013   23:02:43 article
The World at War สารคดีที่ช่วยให้เห็นภาพรวมสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 19/05/2013   11:26:48
The Boy in the Striped Pyjamas เด็กชายในชุดนอนลายทาง วันที่ 19/05/2013   11:30:27
สารคดีชุด The History Channel World War II จาก BBC วันที่ 19/05/2013   11:32:15
Escape from Sobibor แหกค่ายนรกนาซี วันที่ 19/05/2013   14:49:41
Defiance วีรบุรุษชาติพยัคฆ์ (กลุ่มนักสู้ยิวในเบลารุส) วันที่ 19/05/2013   14:50:16
Brother's War ยุทธการสกัดแผนการหลังม่านเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:51:09
Life Is Beautiful ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง(?) วันที่ 19/05/2013   14:52:30
Stauffenberg ในเวอร์ชันของเยอรมันเอง วันที่ 19/05/2013   14:54:02
Valkyrie : ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:55:25
Kelly's Heroes การเสียดสีความเป็นวีรบุรุษของอเมริกัน วันที่ 19/05/2013   14:57:02
Enigma รหัสลับพลิกโลก วันที่ 19/05/2013   14:58:01
The Fallen หลายฝ่ายหลายชีวิตกับความไร้สาระของสงคราม วันที่ 19/05/2013   14:59:09
ป้อมปืนนาวาโรน หนามแหลมมีพิษที่ยอกอกอังกฤษ วันที่ 19/05/2013   15:02:34
La Grande Vadrouille: หนังสงครามแนวตลกชั้นครู วันที่ 19/05/2013   15:04:14
Saints and Soldiers รบกันแต่อย่าเกลียดกัน??? วันที่ 19/05/2013   15:05:31
The Devil's Brigade กองพลน้อยปีศาจลูกผสมอเมริกัน-แคนาดา วันที่ 19/05/2013   15:06:55
The Battle of the River Plate วันที่ 19/05/2013   15:08:04
Das Boot U – 96 เรือล่มเมื่อจอด วันที่ 19/05/2013   15:11:04
Mosquito Squadron นิยายรักนักบิน วันที่ 19/05/2013   15:12:40
Where Eagles Dare วันที่ 19/05/2013   15:14:27
THE EAGLE HAS LANDED (แผนสิบหกอินทรีเหล็ก) วันที่ 19/05/2013   15:15:36
The Pianist ความวิปโยคจากอคติทางเชื้อชาติ วันที่ 19/05/2013   15:17:06
The Last Armored Train ว่าด้วยรถไฟหุ้มเกราะในสงครามโลก วันที่ 19/05/2013   15:18:21
Days of Glory เมื่อพี่(ฝรั่ง)เศสยังติดหนี้คนอาหรับ วันที่ 19/05/2013   15:19:32
To Hell And Back สงคราม...สร้างวีรบุรุษ วันที่ 19/05/2013   15:21:01
The Great Escape แหกค่ายมฤตยู วันที่ 19/05/2013   15:22:20
Combat! คัมแบ็คในรูปแบบ VCD วันที่ 19/05/2013   15:23:45
D-Day the Sixth of June นิยายรักวันดีเดย์ วันที่ 19/05/2013   15:24:52
D-Day 6.6.44 สารคดี จาก BBC วันที่ 19/05/2013   15:25:59
The Atlantic Wall ปราการชายฝั่งยุโรป ของ ฮิตเลอร์ วันที่ 19/05/2013   15:27:09
Saving Private Ryan วันที่ 19/05/2013   15:28:34
Von Ryan's Express ด่วนนรกเชลยศึก วันที่ 19/05/2013   15:29:52
Memphis Belle ป้อมบินเย้ยฟ้า วันที่ 19/05/2013   15:30:55
Land and Freedom ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายใน สงครามกลางเมืองสเปน วันที่ 19/05/2013   15:34:12
633 ฝูงบินมัจจุราช วันที่ 19/05/2013   15:35:21
Cross of Iron อิสริยาภรณ์ แห่ง ความกล้า กับ ความบ้าเกียรติ วันที่ 19/05/2013   15:36:41
Kill Rommel การต่อต้านสงครามด้วยมนุษยธรรม วันที่ 19/05/2013   15:37:39
The Bridge at Remagen อีกยุทธการยึดสะพานที่คำสั่งเป็นพิษ วันที่ 19/05/2013   15:38:46
Donwfall (Der Untergang) ปิดตำนานบุรุษล้างโลก (ฮิตเลอร์) วันที่ 19/05/2013   15:52:54
Band of Brothers บทเรียนเรื่อง "ภาวะผู้นำ" วันที่ 19/05/2013   15:53:55
Nuremberg: ศาลยุติธรรม ระดับโลก หรือ ปาหี่ของผู้ชนะ? วันที่ 19/05/2013   15:55:43
Sophie Scholl กับ ขบวนการต่อต้านนาซี ใน เยอรมัน วันที่ 19/05/2013   15:56:49
โอมาร์ มุกตา ผู้หาญสู้ เผด็จการ ฟาสซิสต์ อิตาลี วันที่ 19/05/2013   15:58:04
แพตตัน การรบกับข้าศึก VS การแข่งขันกับพันธมิตร วันที่ 19/05/2013   15:59:18
Hitler the Rise of Evil ชีวิตของจอมเผด็จการที่เสมือนนิยายอมตะ วันที่ 19/05/2013   16:00:23
A Bridge Too Far ศึกสะพานนรก เพราะการวางแผนผิดพลาด วันที่ 19/05/2013   16:01:54
D-Day: Men and Machines สารคดี เบื้องหลัง การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   16:03:14
ทัวร์ สงครามโลกครั้งที่สอง กับ กองพลที่ 1 สหรัฐฯ (The Big Red One) วันที่ 19/05/2013   16:04:20
Battle of the Bulge ยุทธภูมิรถถังที่อาศัยการตีความข้อมูลข่าวกรอง วันที่ 19/05/2013   16:05:30
Battle of Britain สงครามอินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   16:08:59
ยุทธภูมิเลือด Stalingrad วันที่ 19/05/2013   16:11:23
Enemy at the Gates : วีรบุรุษสามัญชนจากอูราลในสมรภูมิ สตาลินกราด วันที่ 19/05/2013   16:12:27
Dark Blue World (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:14:45 article
Hart's War (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:15:49 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (94834)
avatar
คนเล่าเรื่อง

หนังเรื่องนี้ อาจมีรายละเอียดมากมายที่น่าสนใจ การดำเนินเรื่องที่เป็นขั้นตอนนำไปสู่ฉากใหญ่ของเรื่อง คือ การยกพลขึ้นบก ซึ่งเป็นหัวใจ อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ไปเก็บรายละเอียดในสมรภูมิอื่น ๆ มากเกินไป (กิจกรรมของหน่วยพลร่ม พวกใต้ดิน ฯลฯ) ทำให้ฉากยกพลขึ้นบกที่โอมาฮ่าน้อยไปหน่อย ไม่เร้าใจหรือสะกดคนดูได้อย่างที่ควรเป็น

เมื่อดูฉากยกพลขึ้นบกในหาดอื่น ๆ ที่สะดวกโยธินอย่างหาดยูท่าแล้ว  (ซึ่งของจริงคงไม่สะดวกสบาย และบรรยากาศบางหาดราวกับยกพบมาปิกนิก เช่น มีพลปี่สก็อตบรรเลงเพลงปลุกใจประกอบ) ก็เกิดความสงสัยครับว่า ในเมื่อยึดหาดอื่น ๆ ได้สบายแบบนั้น ในขณะที่ต้องสูญเสียอย่างมากที่โอมาฮ่า  แล้วทำไม ผบ. หน่วยกับแม่ทัพจะทนกับการยิงกดดันให้เกิดการสูญเสียต่อไปอีก สู้ถอยกำลังกลับไปเพื่อรอไปสมทบกับหน่วยอื่น ๆ ในหาดอื่น  หรือให้หน่วยจากหาดอื่นนำกำลังพลมาลุยข้าศึกจากบนบกไม่ดีกว่าหรือครับ (นี่คงเป็นความสงสัยโง่ ๆ ส่วนตัวนะครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-06-02 09:57:19


ความคิดเห็นที่ 2 (94836)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

เรื่องที่ว่าทำไมบางหน่วยขึ้นบกได้ง่ายๆ นี่ อยากให้ดูเรื่องอื่นโดยเฉพาะที่เป็นสารคดีประกอบ  คือ ในการวางแผนเขาก็อยากให้ทุกหน่วยได้สบายหรือลำบากกันน้อยที่สุด ซึ่งพอขึ้นบกได้แล้วยังมีภารกิจอื่นต้องทำต่ออยู่ดีครับ  ทีนี้มันไปเกิดความผิดพลาดในการเตรียมการหลายๆ อย่างที่หาดโอมาฮ่าเข้า  อยากให้ลองนึกถึงว่า  ถ้ามีงานใหญ่ชิ้นหนึ่ง จะเป็นเรื่องรบราฆ่าฟันเรื่องอะไรก็ตาม  งานชิ้นนี้ได้แบ่งเป็นส่วนย่อยๆ ให้หลายๆ คนหรือหลายๆ หน่วยแบ่งกันทำแบบน่าจะเท่าๆ กันแล้ว ถึงเวลาลงมือจริงมีใครพบว่างานของตนเองหินกว่าที่คิดเอาไว้แล้วจะถอดใจถอนตัวออกมา  มันก็จะเป็นภาระกับคนอื่นที่ต้องรับผิดชอบงานของตัวเองอยู่แล้ว ประมาณว่าเสี่ยงกับการถูกกล่าวหาว่ากินแรงเพื่อน ดังนั้นแทนที่จะตัดสินใจถอนตัวโดยพลการ  ด้านหนึ่งก็ควรจะทำงานของตนเท่าที่ทำได้ไปก่อน  อีกด้านก็รายงานให้ผู้รับผิดชอบเหนือขึ้นไปได้รับทราบเพื่อตัดสินใจว่าจะช่วยเราได้แค่ไหนอย่างไร  อย่างหน่วยรบที่โอมาฮานี่พอดีมีข้อจำกัดว่าติดต่อหน่วยเหนือไม่ได้  โดยรวมผมว่าท่านผบ.ก็ตัดสินใจถูกแล้วที่ยังใช้ความพยายามและการตั้งสติแก้ปัญหาจนสำเร็จ  ส่วนหน่วยอื่นที่เราดูว่าขึ้นบกง่ายๆ นั่นเขาก็มีภารกิจอื่นที่จะต้องรุกต่อไปยึดที่นู่นที่นี่  ถ้ายังไม่ขยับไปไหนก็ต้องระวังการตีโต้ (Counter Attack) ของข้าศึก คงไม่ง่ายที่จะถูกแบ่งไปช่วยหน่วยอื่นซึ่งอาจทำให้แผนที่วางไว้เดิมรวนไปหมดครับ

เรื่องนี้ถ้าเราคิดอย่างพลเรือนเราคงเห็นว่าทำไมแม่ทัพนายกองไม่สงสารทหารชั้นผู้น้อย  แต่ในหนังสงครามอีกหลายเรื่องเขาเคยพูดไว้ประมาณว่าผู้บังคับบัญชาต้องใจแข็งชนิดสั่งลูกน้องไปลุยได้แม้จะรู้ว่าเขาอาจจะไม่รอดกลับมา  สงครามย่อมเป็นเช่นนี้แหละครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-06-02 13:13:09



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker