dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



นายพลเรือเอก ยามาโมโต ผู้หวังรีบเผด็จศึกเพื่อสันติภาพ
วันที่ 19/05/2013   16:45:33

(เผยแพร่ครั้งแรกที่ rojn.blogth.com/HistoryMovies/  Mon-19-Jun-2006)

ช่วงนี้นั่งรถผ่านบางแห่ง เห็นมีป้ายโฆษณาหนังเรื่อง Yamato ซึ่งตั้งตามชื่อเรือรบลำสำคัญลำหนึ่งของญี่ปุ่นใน สงครามโลกครั้งที่สอง  ก็เลยนึกถึงหนัง DVD อีกเรื่องที่ชื่อคล้ายๆ กัน แต่เป็นชื่อของนายพลเรือที่มีชื่อเสียงมากของญี่ป่นใน สงครามโลกครั้งที่สอง เช่นเดียวกัน แต่เป็นหนังเก่าของบริษัท TOHO ของญี่ปุ่นที่พึ่งเอามาทำลง DVD นั่นคือ หนังประวัติของ นายพลเรือเอก ยามาโมโต อิโซเรกุ (Yamamoto Isoroku)ซึ่งหากคนอ่อนประวัติศาสตร์นึกไม่ออกว่าบุคคลสำคัญอย่างไรแล้วละก็ ขอบอกว่าท่านผู้นี้แหละคือผู้วางแผนโจมตี อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ (Perl Habour) ของอเมริกา จนดังกระฉ่อนโลกนั่นเอง

แต่ภาพของ นายพลเรือเอก ยามาโมโต ที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้ กลับไม่ใช่ผู้กระหายสงครามเอาเลย (จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ พอเขียนเรื่องหนังสงครามมากๆ ชักไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ ซะแล้ว ไม่รู้พี่ยุ่นแกหวังสร้างภาพลักษณ์ท่านยามาโมโตเพื่อล้างภาพลักษณ์ไม่ดีช่วงสงครามหรือเปล่า เท็จจริงอย่างไรฝากผู้ที่เข้าใจประวัติศาสตร์ญี่ป่นช่วยตอบด้วย) เริ่มจากการที่ท่านคัดค้านการที่ญี่ป่นจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมันและอิตาลีอย่างชนิดแทบจะหัวชนฝา จนถูกขู่ปองร้าย โดยท่านได้ประเมินแล้วว่า สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มีกำลังที่เข้มแข็งกว่าญี่ป่นอย่างมาก ญี่ปุ่นเองยังจะต้องพึ่งทรัพยากรจากสองประเทศนี้ด้วยซ้ำไป

แต่ในที่สุด เมื่อฝ่ายขวาจัดขึ้นมาเป็นรัฐบาลและเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะได้สมอยาก ท่านนายพล ยามาโมโต กลับเสนอสิ่งที่รัฐบาลฝ่ายขวายังตะลึง แทบไม่กล้าตัดสินใจ นั่นคือแผนการนำทัพเรือขนาดใหญ่พร้อมฝูงบินนับร้อยลอบโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ณ อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ แบบไม่ให้ตั้งตัว เพื่อที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐฯ ในแปซิฟิกให้อ่อนกำลังลง อันจะเป็นการบีบให้สหรัฐฯ ต้องยอมเจรจาสันติภาพกับญี่ปุ่น

ในที่สุด ปฏิบัติการตามแผนก็ได้เริ่มต้นขึ้นในรุ่งเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) (ตรงกับเวลาที่กองทัพบกโจมตีดินแดนต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์รวมทั้งภาคใต้ของไทย ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี่) แผนการที่ เพิร์ลฮาเบอร์ ดูเหมือนจะได้ผลสำเร็จด้วยดี สามารถจมเรือที่จอดอยู่ได้หลายลำ รวมทั้งเครื่องบินที่จอดอยู่จำนวนมาก ยกเว้นอยู่อย่างเดียว คือ เรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรบทางเรือไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้นเลย กลายเป็นชัยชนะที่ไม่สมบูรณ์ทำนองเดียวกับการตีงูให้หลังหักเท่านั้นเอง

ฉากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ที่เรือและอาคารต่างๆ เป็นสิ่งจำลองขึ้นมา

จากการที่สหรัฐฯ ยังเข้มแข็งถึงขนาดที่สามารถส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาล้วงคอญี่ปุ่นได้ จึงเกิดความพยายามครั้งถัดมา คือ การวางแผนการโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ที่เกาะมิดเวย์ (Battle of Midway: 4-7 June 1942 หรือพ.ศ.2485) ด้วยจุดประสงค์ในการตัดกำลังสหรัฐฯ ในลักษณะเดียวกับแผนโจมตี เพิร์ลฮาเบอร์ แต่คราวนี้ย่อมจะยากกว่าเดิม และดูเหมือนท่านนายพลจะแพ้ทางเรือบรรทุกเครื่องบินข้าศึกอยู่เรื่อย ตามแผนเดิมเมื่อส่งฝูงบินชุดแรกเข้าโจมตีฐานทัพที่เกาะมิดเวย์แล้ว ชุดที่สองจะต้องติดตอร์ปิโดเข้าโจมตีเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ในช่วงแรกเมื่อทางญี่ปุ่นยังหาเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ ไม่เจอ ก็ได้เปลี่ยนจากตอร์ปิโดเป็นระเบิดเพื่อเตรียมโจมตีเกาะเป็นระลอกสอง ยังไม่ท้นเสร็จ เครื่องบินลาดตระเวณพึ่งพบเรือบรรทุกเครื่องบินข้าศึก ต้องเสียเวลาเปลี่ยนเป็นตอร์ปิโดใหม่ เหตุการณ์โดยละเอียดขอให้ดูจากในหนังหรืออ่านจากประวัติศาสตร์เอาเองนะครับ สรุปว่าในที่สุดกองเรือญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เสียเรือและเครื่องบินในการรบครั้งนี้เป็นจำนวนมาก จนถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามในแปซิฟิก

เรื่องต่อจากนี้ ดูเหมือนท่านนายพลจะผิดหวังอย่างมากกับสถานการณ์การรบที่ยืดเยื้อออกไป นอกจากการรบทางเรือแล้ว บ่อยครั้งที่ต้องนำเรือรบไปใช้ในการส่งกำลังบำรุงให้กับกองทัพบกบนเกาะสำคัญๆ แล้วก็มีแต่จะสูญเสียไปเรื่อยๆ และแล้วันดีคืนดี ท่านนายพลก็ได้ออกเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งในหนังกล่าวว่าเป็นเจตนาของท่านเองที่จะไปตาย โดยเครื่องบินของท่านถูกยิงตกจนถึงแก่กรรมในวันที่ 18 เมษายน 1943 (พ.ศ.2487)

วาระสุดท้ายของยามาโมโต

น่าคิดเหมือนกันว่า หากท่าน นายพลเรือเอก ยามาโมโต ไม่ถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว จะเกิดปฏิบัติการบ้าเลือดของ ฝูงบิน คามิกาเซ หรือเปล่า

พูดถึง "ยามาโมโต" (หรือที่หน้าปกเติมไม้โท เป็น "ยามาโมโต้" ตามเสียงพูดคนไทย) ในฐานะที่เป็นหนังแล้ว การดำเนินเรื่องค่อนข้างจะธรรมดา คือ เดินเรื่องไปเรื่อยๆ เรียบๆ แม้จะมีพล็อตเรื่องย่อยของตัวละครรองๆ บ้าง ก็ไม่มีอะไรหวือหวา ด้านเทคนิคก็อย่าหวังอะไรมากกับหนังที่คงสร้างสมัยไล่ๆ กับก็อดซิล่าหรืออุลตร้าแมนรุ่นแรกๆ ฉากโจมตี เพิร์ลฮาเบอร์ นั้น เป็นฐานทัพจำลองชัดๆ เครื่องบินในหลายช็อตก็น่าจะเป็นเครื่องบินจำลอง คิดซะว่าทำให้ดูหนังสงครามได้โดยไม่เครียดก็แล้วกัน ทางด้านบทภาษาไทย ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ทำการบ้านเกี่ยวกับยศทหารเรือ ประเภทเรือ และประเภทเครื่องบินต่างๆ เอาเสียเลย

หนังเรื่องอื่นเกี่ยวกับสงครามทางเรือที่ควรดูประกอบ ได้แก่เรื่อง Tora! Tora! Tora! และ Midway (ยุทธภูมิมิดเวย์) ส่วนเรื่อง Pearl Harbor ที่พึ่งสร้างเมื่อไม่กี่ปีมานี้ รู้สึกจะโดนแฟนหนังทั้งไทยและเทศถล่มเละเทะ จนผมเองพลอยไม่อยากดูไปด้วย แต่ในโอกาสต่อไปก็จะพยายามนำแต่ละเรื่องมาพูดคุยกันต่อครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Admiral Yamamoto

ชื่อภาษาไทย :  ยามาโมโต้ นายพลใจเพชร

ผู้แสดง : โตชิโร มิฟูเน่ (Toshiro Mifune) แสดงเป็น นายพลยามาโมโต้

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



สงครามโลกครั้งที่ 2 - เอเชีย/แปซิฟิก

From Here to Eternity ดรามาชีวิตทหารอเมริกันก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ วันที่ 19/05/2013   16:18:19 article
The Pacific สมรภูมิวีรบุรุษ .. วันที่ 19/05/2013   16:21:18
สามพี่น้องตระกูลซ่งผู้ยิ่งใหญ่ ภาพยนตร์ที่ใฝ่หาความสมานฉันท์แห่งชนชาติจีน วันที่ 19/05/2013   16:24:41
เว่ยตี่ฮองเฮา+สนมเอกนอกบัลลังก์ กับปูยีในมุมมองผู้สร้างหนังฮ่องกง วันที่ 19/05/2013   16:25:33
zero ซีโร่ บินเพชฌฆาต ลูกผู้ชายแห่งแดนอาทิตย์อุทัย วันที่ 19/05/2013   16:26:34
The Last Emperor จักรพรรดิโลกไม่ลืม วันที่ 19/05/2013   16:27:34
Kawashima Yoshiko - ผู้หญิงพันธุ์มหาอำนาจ วันที่ 19/05/2013   16:28:36
Don't Cry, Nanking สงครามอำมหิตปิดตาโลก วันที่ 19/05/2013   16:29:52
Away All Boats อีกแบบฉบับนักบริหารที่น่าศึกษา วันที่ 19/05/2013   16:30:55
Flying Tigers หนังสงครามเรื่องแรกของ John Wayne วันที่ 19/05/2013   16:32:04
Letters from Iwo Jima เมื่อฝรั่งสร้างหนังญี่ปุ่นได้น่าประทับใจ วันที่ 19/05/2013   16:33:04
Flags of our Fathers วันที่ 19/05/2013   16:34:14
The Bridge on the River Kwai สะพานข้ามแม่น้ำแคว วันที่ 19/05/2013   16:35:23
Thin Red Line : มนุษย์กับธรรมชาติ VS มนุษย์กับสงคราม วันที่ 19/05/2013   16:36:25
ยุทธภูมิโหด โอกินาว่า (Battle of Okinawa) มุมมองที่ไม่สมบูรณ์ วันที่ 19/05/2013   16:37:22
MacArthur ขุนพลอเมริกัน ผู้เป็นดั่ง รัฐบุรุษ ในแดนญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   16:38:20
Pearl Harbor นวนิยายบนแผ่นฟิล์มที่บิดเบือนประวัติศาสตร์? วันที่ 19/05/2013   16:39:10
The Great Raid 121 แบบฉบับอันยอดเยี่ยมของปฏิบัติการช่วยเชลยศึก วันที่ 19/05/2013   16:40:53
ยุทธนาวีที่ Midway : วีรกรรมคนปนโชคชะตา วันที่ 19/05/2013   16:42:05
Yamato ปรัชญาแห่งการยอมสู้ตายเพื่อการเกิดใหม่ที่ดีกว่า วันที่ 19/05/2013   16:43:00
Tora!Tora!Tora! โศกนาฏกรรมที่ Pearl Harbor ทั้งของผู้แพ้และผู้ชนะ วันที่ 19/05/2013   16:43:44
แฉลับสงครามโหด (Untold Stories of World War II) วันที่ 19/05/2013   16:44:37
Windtalkers เมื่อคุณกันใช้รหัสลับภาษาอินเดียนแดงในยุทธการที่เกาะไซปัน วันที่ 19/05/2013   16:48:39
Oba: The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:49:22 article
My Way (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:49:51 article
Ip Man ภาค 1-2 (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:50:19 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (93873)
avatar
หมาป่าดำ

เพิ่งได้ดีวีดีเรื่องนี้มาครับ นำออกมาวางจำหน่ายใหม่ ให้ชื่อภาษาไทยว่า "เผด็จศึกมิดเวย์"

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-04-10 00:20:12


ความคิดเห็นที่ 2 (93878)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ขอบคุณครับที่แจ้งข่าว เสียดายที่ชื่อภาษาไทยชื่อใหม่นี้มันไม่ครอบคลุมสมรภูมิอื่นในเรื่องเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-04-10 11:31:58



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker