(เผยแพร่ครั้งแรกที่ rojn.blogth.com/HistoryMovies/ Mon-24-Apr-2006 )

(เนื่องจาก 2 ใน 3 ของสารคดีนี้เป็นสงครามโลกในซีกตะวันออกจึงนำมาไว้ในหมวด สงครามโลกครั้งที่ 2 เอเชีย-แปซิฟิก)
ภาพยนตร์สารคดีสงครามโลกครั้งที่ 2 ของ National Geographic เรื่องนี้ เล่าเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ คือ
การต่อต้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของนาซีในนอร์เวย์ ปี ค.ศ.1940/พ.ศ.2483 เมื่อเยอรมันยึดครองนอรเวย์ ได้ยึดครองสถานทีสำคัญแห่งหนึ่งด้วย คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่น็อคฮีตโรว์ (ขออภัย ไม่แน่ใจว่าสะกดยังไงถึงจะถูก) ซึ่งที่นี่สามารถผลิตสาร นิวทริเลียมออกไซด์ (ไม่แน่ใจเรื่องตัวสะกดทั้งไทย-อังกฤษเหมือนกัน) หรือ Heavy Water ซึ่งเป็นสารที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้ พวกนาซีได้พยายามเร่งการผลิต ขณะที่สัมพันธมิตรต้องใช้ความพยายามถึง 3 ครั้งในการสกัดกั้นการสร้างอาวุธร้ายแรงนี้ ครั้งแรกใช้หน่วยคอมมานโดชาวนอร์เวย์เข้าไปทำลาย ครั้งที่สอง ใช้ฝูงบินทิ้งระเบิดนับร้อยเครื่อง ทั้งสองครั้งทำได้แค่หยุดการผลิตลงชั่วคราว และทำให้นาซีต้องย้ายสารชนิดนี้กลับไปยังประเทศเยอรมัน ในครั้งที่สาม สัมพันธมิตรต้องลงทุนถึงขนาดวางระเบิดเรือโดยสารพลเรือนที่ใช้ในการลำเลียงสารนี้ ทำให้ผู้บริสุทธิ์ส่วนหนึ่งต้องตายไปพร้อมกับความฝันของฮิตเลอร์ที่จะครองโลกด้วยอาวุธร้ายแรงนี้

โรงงานผลิต Heavy Water ในเทือกเขาอันทุรกันดารของนอร์เวยฺ์ ต้องใช้ความพยายามถึง 3 ครั้ง 3 วิธีในการทำลาย คือ ใช้หน่วยคอมมานโด เครื่องบินทิ้งระเบิด และสุดท้ายคือการจมเรือโดยสารที่ใช้ขนย้ายเครื่องจักรไปยังเยอรมัน
การใช้เรือดำน้ำขนาดจิ่วมิดเจ็ตของญี่ปุ่นในการรบที่ เพิร์ลฮาเบอร์ จำนวน 5 ลำ ซึ่งความจริงไม่ค่อยมีผลอะไรกับการโจมตีครั้งนั้นมากนัก ความสำเร็จในการโจมตีครั้งนั้นขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาความลับในการเคลื่อนทัพเรือและฝูงบินของญี่ปุ่นประกอบกับความประมาทของฝ่ายอเมริกันเอง แต่ทางญี่ปุ่นกลับพยายามสร้างเรื่องว่าบรรดาทหารเรือนในเรือดำน้ำมิดเจ็ตนี้เป็นวีรบุรุษ โดยที่ความจริงเรือเหล่านี้ ถูกระเบิดน้ำลึกจมลงบ้าง หายไปบ้าง ลำสุดท้ายถูกยึดได้พร้อมผู้บังคับการเรือที่กลายเป็นเชลยคนแรกในสงครามแปซิฟิก ตัวเรือมิดเจ็ต่ลำนั้นถูกทางการสหรัฐฯ นำไปตระเวณโชว์ทั่วประเทศ

เรือดำน้ำมิดเจ็ทของญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมในสงครามเพิร์ลฮาเบอร์ ที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่รัฐบาลทหารญี่ปุ่นขณะนั้นคุยโต แลยังมีเรือลำหนึ่งที่ไปเกยตื้นให้ทางการสหรัฐอเมริกานำไปใช้โฆษณาชวนเชื่อเข้าให้บ้าง
เรื่องนี้อาจไม่ใช่ความลับแปลกใหม่สำหรับคนที่พอรู้เรื่องประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองในแปซิฟิก คือ ฝูงบินกามิกาเซ่ของญี่ปุ่น ที่นักบินกล้าบ้าบิ่นยอมพลีชีพขับเครื่องบินเข้าชนเรือรบสหรัฐฯ สิ่งที่เราอาจยังไม่ค่อยทราบคือรายละเอียดจริงๆ ของปฏิบัติการดังกล่าว เช่น หทารเรืออเมริกันสมัยนั้นเรียกเครื่องบินเหล่านี้ว่า "Charlie Oneway" การที่ญี่ปุ่นได้ผลิตเครื่องบินรุ่นพิเศษสำหรับใช้ในปฏิบัติการนี้ และแท้จริงแล้ว กามิกาเซ่ สร้างความเสียหายให้ฝ่ายตรงข้ามแค่ไหน ฯลฯ

ภาพส่วนหนึ่งของปฏิบัติการคามิคาเซ่
ยี่ห้อ National Geographic คงรับประกันคุณภาพของสารคดีชุดนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์เก่าที่บันทึกจากเหตุการณ์จริง บทสัมภาษณ์ผู้อยู่ในเหตุการณ์ บทพากย์ภาษาไทยมีจับผิดได้ที่หนึ่ง ตรงที่บอกว่าทหารเรืออเมริกันคนหนึ่งได้รับ "เหรียญทองแดง" ซึ่งที่จริงน่าจะเป็นเหรียญ Bronze Star เหรียญกล้าหาญอันดับสองรองจาก Silver Star นอกจากนี้รู้สึกจะไม่มีอะไร นับเป็นสารคดีสงครามที่ดูได้เพลิดเพลินไม่แพ้หนัง Action สงครามโลกครั้งที่สองเลยครับ
เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Untold Stories of World War II
ชื่อภาษาไทย : แฉลับสงครามโหด
ผู้สร้าง : National Geographic
กระทู้ที่เกี่ยวข้อง
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ
หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ
ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์