dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย?

หลังจากดำเนินการ Copy บทความทั้งหลายแหล่จาก rojn.blogth.com/HistoryMovies/ มาตั้งหลักปักฐานกันที่เว็บไซต์แห่งนี้แล้ว ขอต้อนรับทุกท่านที่มาเยี่ยมชม ด้วย ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทย เกี่ยวกับการตั้งหลักปักฐานของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อชาติบ้านเมืองในอดีต คือ วีรกรรมของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในภาพยนตร์เรื่อง "เจ้าตาก" บทประพันธ์ของ "น้าแอ้ด" ยืนยง โอภากุล แห่ง วงคาราบาว กำกับโดย ธนิตย์ จิตนุกูล ครับ

เนื้อเรื่องเริ่มต้นจากการที่พระยาตากนำกองทัพตีฝ่าวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัย ไปจนจบเพียงแค่การตีเมืองจันทบุรี เพื่อการตั้งหลักนำกองทัพกลับมากอบกู้เอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เรื่องมีความกระชัย สามารถจบเรื่องได้ใน VCD แผ่นเดียว แต่ในแพคเกจก็ได้อุตส่าทำ VCD Karaoke มาให้อีกแผ่นหนึ่งด้วย เทียบกับหนังท่านมุ้ยที่สร้างหนังร่ายยาวตามพงศาวดารเป็นชั่วโมงๆ แล้ว นับว่าเก๋ไปอีกแบบ

สำหรับผู้ที่รักความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์รักพระเจ้าตากสินแล้ว คงจะไม่ชอบการที่หนังเรื่องนี้ได้เอาประวัติศาสตร์มาแต่งเติมเนื้อเรื่องและตัวละคร โดยเฉพาะการเติมตัวละครไส้ศึกสาวชาวพม่านามว่า "มินตะยา" (ถ้าเธอกลับชาติมาเกิดในชื่อเดิมที่เมืองไทย คงได้นิคเนมเป็นฝรั่งตามสมัยนิยมว่า "น้องมิ้น" เป็นแน่)

ฉาก พระยาตาก ฝ่าวงล้อมพม่าออกจาก กรุงศรีอยุธยา

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระยาตากกับทหารเอกสองคนที่ไม่ค่อยจะถูกกันอยู่ คือ หลวงพิชัย (ทองดี) กับหลวงพรหม นำทัพตีฝ่าออกจากกรุงศรีอยุธยามาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้รบกับทหารพม่าที่ยึดครองหมู่บ้านจนได้ชัยชนะ และได้พบน้องมิ้น.. ขออภัย.. ได้พบตะละแม่มินตะยาที่นี่ ขณะที่เธอกำลังจะแขวนคอตาย ท่านจึงได้ห้ามไว้ทัน และในคืนนั้น นางได้ทอดกายให้แก่ท่านก่อนจะออกเดินทางไปกับกองทัพในวันรุ่งขึ้น ระหว่างทางกองทัพของพระยาตากต้องถูกทหารพม่าโจมตีเป็นระยะๆ จนครั้งหนึ่ง เหตุการณ์คับขันจนพระยาตากตัดสินใจสั่งให้ทหารเอก คือ หลวงพิชัย และ หลวงพรหม นำมินตะยาหลบหนีแยกไปอีกทาง และให้ไปพบกันที่เมืองตราด

พระยาตาก กับ มินตะยา ขณะเดินทางโดยเรือ

ระหว่างทาง หลวงพิชัย หลวงพรหม และมินตะยา เกือบถูกทหารพม่าลอบทำร้ายที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง แต่โชคดีที่ได้หัวหมู่ยอดมาช่วยไว้ได้ หัวหมู่ยอดแจ้งความจำนงว่าต้องการไปร่วมทัพกับพระยาตากเพื่อกอบกู้กรุงศรีอยุธยา และได้ร่วมทางไปด้วยอีกคน

เรื่องได้เล่ากระโดดไปยังตอนที่คุณหลวงทั้งสองเดินทางไปพบพระยาตากที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเวลากลางคืน โดยไม่มีหัวหมู่ยอดกับมินตยา โดยหลวงพรหมกล่าวว่าหลวงพิชัยได้สังหารมินตะยาไปแล้ว หลวงพรหมและหลวงพิชัยได้เล่าเรื่องให้พระยาตากฟังใจความทำนองเดียวกัน คือ ในการพักแรมระหว่างทาง มินตะยาได้ลักลอบออกจากถ้ำที่พักไปหาหลวงพรหมที่อยู่เวรยามในคืนหนึ่ง และไปหาหลวงพิชัยที่อยู่เวรยามในคืนถัดมา ซึ่งคุณหลวงทั้งสองต่างก็อ้างว่าตนเองไม่ได้มีอะไรกับมินตะยา แต่นางได้มีความสัมพันธ์กับอีกคนหนึ่ง และแล้วเมื่อนางมินตะยาไปยั่วยวนหัวหมู่ยอดจนลักลอบเป็นชู้กันอีกราย เมื่อหลวงพิชัยไปพบเข้า จึงได้ตัดหัวคนทั้งสอง แล้วนำมวยผมของมินตะยากับตะกรุดของหัวหมู่ยอดมาให้หลวงพรหมดู หลวงพรหมโกรธที่หลวงพิชัยด่วนสังหารนางเองแทนที่จะนำนางมาให้พระยาตากลงโทษ จนเกิดการวิวาทกัน แม้ว่าหลวงพรหมสู้หลวงพิชัยไม่ได้แต่หลวงพิชัยก็ไม่ได้สังหารสังหารหลวงพรหม จนต่างคนต่างมาพบพระยาตากในที่สุด

ฉากการรบทางน้ำ

พระยาตากจึงได้สั่งให้นำตัวหัวหมู่ยอดซึ่งไม่ได้ถูกสังหารตามที่หลวงพิชัยอ้างมาให้การ หัวหมู่ยอดกล่าวว่ามินตะยาได้โปรยเสน่ห์ให้กับทุกคนจริงๆ และยืนยันว่านางได้ลักลอบเป็นชู้กับหลวงพรหมจริง แต่ไม่ได้มีอะไรกับหลวงพิชัย และวันเกิดเหตุนางมินตะยามายั่วยวนหัวหมู่ยอดจนเป็นเรื่องชู้สาวกันนั้น หลวงพิชัยซึ่งมาพบได้ไว้ชีวิตหัวหมู่ยอดทดแทนที่เคยช่วยชีวิต จึงเพียงแต่ขับไล่ตน แต่หัวหมู่ยอดยังมีความมุ่งมั่นที่จะมาร่วมรบกับพระยาตาก จึงดั้นด้นจนกลับมาพบกันอีก

ตอนจบพระยาตากได้กล่าวให้อภัยขุนทหารทั้งสามนาย เพราะเห็นใจในความมุ่งมั่นที่ทั้งสามยังต้องการมาร่วมทัพกับท่านแม้ว่าต่างคนต่างจะมีความผิดติดตัวกันมา ถัดจากนั้นภาพยนตร์จบลงด้วยฉากพระยาตากสั่งให้ทหารทุบหม้อข้าวก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี

ฉากการรบทางน้ำอีกช็อตหนึ่ง

แล้วทำไม "น้าแอ้ด" ถึงอาจหาญสมมติตัวละครตะละแม่มินตะยาขึ้นมาโปรยเสน่ห์บรรดาวีรบุรุษของชาติแบบนี้ ภาพนางมินตยาที่ปรากฏอยู่ข้างกายพระยาตากในขณะเดินทัพ และในยามรบกันนั้น ค่อนข้างจะขัดหูขัดตาอยู่ไม่น้อย และในด้านความสมจริง หากเราเป็นทหารของพระยาตาก เราจะรู้สึกอย่างไรที่ผู้นำของเราควงกิ๊กมาในกองทัพแถมเป็นพม่าอีกต่างหาก ขณะที่คนอื่นเขามาคนเดียว ไม่ได้นำลูกเมียมาด้วย เหตุผลที่นางอ้างกับพระยาตากในการตามพ่อมาในกองทัพก็ฟังไม่ขึ้นเลย

ในด้านหนึ่งก็คงเป็นเหตุผลทางด้านการตลาด เนื่องจากเนื้อเรื่องตามพงศาวดารของเหตุการณ์ช่วงนี้ แม้จะรบกันดุเดือดเลือดพล่าน แต่ชัยชนะเป็นของพระยาตากเกือบตลอด แต่หนังที่จะ "ขายได้" มันต้องมีเหตุการณ์พลิกไปพลิกมา และต้องหาทางให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาททางใดทางหนึ่ง

ประการต่อมา มินตะยายังมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนผลประโยชน์ส่วนบุคคล ที่ "น้าแอ้ด" คงอยากจะบอกคนไทยในทำนองว่า อยากให้คนไทยมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตัวมาทำเพื่อชาติบ้านเมือง เช่นเดียวกับเจ้าตากและขุนทหารทั้งสามที่ยอมตัดใจลืมมินตะยาเพื่อมากอบกู้บ้านเมืองร่วมกัน

อีกประการ มินตะยายังเปรียบเสมือนตัวแทนของชาวพม่าที่ออกมาเตือนคนไทยว่า คนพม่าก็ต้องทำเพื่อชาติบ้านเมืองของตนเช่นกัน ดังปรากฏในคำพูดของมินตะยากับหลวงพิชัย และในเพลงมินตะยาที่ "น้าแอ้ด" แต่งขึ้นมาเป็นเพลงประกอบหนัง และบรรจุไว้เป็นเพลงคาราโอเกะในแผ่นสองด้วย

ประเด็นนี้โดยส่วนตัวผมเห็นว่าสำคัญที่สุด ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมทำให้เราดูถูกประเทศเพื่อนบ้านมามากพอแล้ว การรักประเทศชาติของตัวนั้นดีแล้ว แต่อย่าลืมว่าคนชาติอื่นก็รักชาติบ้านเมืองของตนเช่นกันครับ

คำคมชวนคิด

 

  • "เจ้ารักแผ่นดินของเจ้า ข้าก็รักแผ่นดินของข้าเยี่ยงกัน" มินตะยา พูดกับ หลวงพิชัย
  • "คนตายหาต้องกินไม่ มื้อต่อไป จักไปกินที่เมืองจันทบูรณ์" พระยาตาก กล่าวกับทหารก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี
  • "กษัตริย์นักรบที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น ที่สมควรได้รับการสรรเสริญว่า มหาราช" คำกล่าวตอนจบเรื่อง
     

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย 

ชื่อเรื่องภาษาไทย : เจ้าตาก

ชื่อภาษาอังกฤษ : Taksin War Romance

ผู้สร้าง : บริษัท มองโกล พิคเจอร์ จำกัด และ บริษัท กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด

ผู้กำกับ : ธนิตย์ จิตนุกูล

ผู้เขียนบท : ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว)

 

เนื้อเพลงเจ้าตาก คลิกที่นี่ (http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=511769&Ntype=9)

เนื้อเพลงมินตะยา คลิกที่นี่   (http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=433604&Ntype=9)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 






1

ความคิดเห็นที่ 1 (45543)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

ที่จริงความเห็นที่ 1 นี้น่าจะตั้งเป็นกระทู้ในเว็บบอร์ดนะครับ แนวทางของเว็บไซต์นี้คือการนำภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มาแนะนำพูดคุยเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การจะเขียนเรื่องตามที่คุณต้องการนั้น อาจจะเขียนรวมอยู่ในบทความแนะนำภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับท่านนั้นๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่ามีเรื่องใด หรืออาจเขียนเป็นบทความเสริมความรู้ทั่วไป หรือใน Blog สมาชิก ซึ่งผมเองยังไม่มีโครงการจะเขียนในช่วงนี้ครับ หากตั้งเป็นกระทู้ในเว็บบอร์ด อาจมีสมาชิกที่สนใจหาประวัติย่อมาตอบในกระทู้ หรือเขียนเป็นบทความใน Blog ก็ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-04-20 23:24:03 IP : 124.122.186.76



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker