dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้
วันที่ 19/05/2013   19:50:22

แม้ว่าโดยส่วนตัวผมจะชอบและต้องการเน้นภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การที่ได้ย้ายบทความจากในบล็อกมายังเว็บไซต์แห่งนี้ในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นเดือนที่ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" กำลังจะเข้าฉาย ทำให้อยากเขียนบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเพิ่มเติมไว้สักหน่อย จึงได้หยิบเอาภาพยนตร์เรื่อง "พิชัยดาบหัก" มาดู โดยคาดว่าภาพยนตร์ไทยระยะหลังๆ มีคุณภาพมากขึ้นไม่น้อยแล้ว และรู้สึกว่าการนำเสนอจุดจบของทหารเอกท่านนี้ที่ได้ยอมสละชีวิตตาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังพอสมควร จึงอยากรู้ว่าผู้สร้างแก้โจทย์อย่างไร ผลที่ได้ปรากฏว่ายังผิดหวังในหลายๆ เรื่อง

การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์นั้น ส่วนหนึ่งก็ยอมรับว่าผู้สร้างได้พยายามดำเนินตามตำนานชีวประวัติของท่าน พระยาพิชัยดาบหัก ที่ปรากฏเล่าขานกันอยู่ คือ เริ่มจากการที่นายจ้อยไปมีเรื่องกับลูกเจ้าเมืองพิชัย แล้วหนีไปเรียนมวยกับครูเที่ยง (ได้ชื่อว่า นายทองดี ฟันขาว ในตอนนี้) ครูเมฆ การสร้างชื่อเสียงในการชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ การชกมวยในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อหน้า พระยาตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในเวลาต่อมา) จนได้เป็นทหารเอกของท่าน การรบป้องกันกรุงศรีอยุธยา การรบป้องกันเมืองพิชัยซึ่งต้องต่อสู้กับแม่ทัพชื่อโปสุพลาจนดาบหัก และวาระสุดท้ายของชีวิต

เมื่อมีการนำชีวประวัติของท่านมาสร้างหนังที่ปกติมีความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงนั้น เป็นธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งที่ "ขาด" และ "เกิน" ดังเช่นที่ผมได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้กับภาพยนตร์บางเรื่องมาแล้ว ปัญหาคือเมื่อมีการตัดแต่งเติมเรื่องเข้ามาแล้ว ผลงานที่ออกมาพอยอมรับได้หรือไม่

ในทัศนะผมแล้ว ยังไม่น่าพอใจครับ

การแต่งเรื่องในแบบไทยๆ ที่จะต้องมี นางเอก ผู้ร้าย และ ตัวตลก ให้ครบสูตรนั้น ค่อนข้างจะขัดความรู้สึกพอควร กล่าวคือ

  • จริงอยู่ว่าตามตำนาน ลูกเจ้าเมืองพิชัยคนเก่ากับพวก และบรรดาลูกศิษย์ครูเที่ยงนั้นเป็นอริกับนายจ้อยหรือนายทองดีจริงๆ แต่วิธีการนำเสนอคงตามแบบละครไทยแบบน้ำเน่าเหลือเกิน
  • เรื่องของนายบุญเกิด ตามตำนานบอกว่าได้มาเป็นลูกศิษย์นายทองดีภายหลังการชกมวยที่พระแท่นศิลาอาสน์นั้น ในเรื่องกลับแต่งให้นายบุญเกิดเป็น "ตัวตลก" โดยรู้จักกันก่อนที่นายทองดีจะมาเรียนกับครูเมฆ แล้วก็ได้แต่เฝ้าดูนายทองดีฝึกวิชาเฉยๆ ดูขัดกับความเป็นจริงที่ว่าวิชาการต่อสู้ทั้งหลาย นอกจากจะมีครูดีแล้ว ยังจะต้องมี "คู่ซ้อม" ที่ดีด้วย แล้วพอถึงตอนศึกโปสุพลา อยู่ๆ นายบุญเกิดก็นึกฮึดอยากจะออกรบขึ้นมาจนต้องไปเสียชีวิตในสนามรบนั้น กลายเป็นเรื่องที่อ่อนเหตุผลเอามากๆ 
  • นางเอกของเรื่องนั้น อยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นมา แล้วก็แต่งเรื่องให้ได้แต่งงานกับหลวงพิชัยอย่างรวบรัดมาก
  • ในช่วงที่หลวงพิชัยอาสา ไปร่วมรบกับ พระยาตาก ในการป้องกันกรุงศรีอยุธยานั้น ย่นย่ออย่างให้อภัยไม่ได้เลย ดูในเรื่องแล้ว มีแต่ฉากรบสองสามฉาก เหมือนกับว่ารบกับพม่าสักพักก็ได้ชัยชนะ แล้วหลวงพิชัยอาสาก็ได้เป็นพระยาไปครองเมืองพิชัย ดูราวกับว่ากรุงศรีอยุธยาไม่เคยแตก ไม่เคยมีการฝ่าวงล้อมพม่าไปตั้งหลักเมืองจันทบุรี แล้วเอากำลังกลับมากู้กรุงศรีอยุธยา ไม่รู้เลยว่ามีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วพระยาตากได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่เมื่อไหร่ การปราบปรามก๊กต่างๆ และรบกับพม่าอีกไม่รู้กี่ครั้งหายไปไหน เรื่องเหล่านี้นอกจากจะเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรหายไปเฉยๆ แล้ว ต้องไม่ลืมด้วยว่า การที่คนเราจะจงรักภักดีกันถึงขนาด "ไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย" นั้น ย่อมจะเกิดจากการที่ได้ร่วมศึกร่วมทุกข์ร่วมสุขเห็นความเป็นผู้นำของเจ้านายมาเป็นปีๆ

ด้านเหตุการณ์อื่นๆ ในเรื่องปรากฏว่า

  • ไม่ทราบว่าผู้เขียนบทมีเหตุผลอะไรที่แต่งให้เกิดเหตุ "ดาบหักครั้งแรก" ในช่วงสงครามที่อยุธยา แทนที่จะเก็บไว้เป็นจุดไคลแม็กซ์ตอนท้ายเรื่อง
  • ฉากทหารพม่าของโปสุพลาปล้นฆ่าชาวบ้านนั้น ไม่มีความจำเป็นและไม่เหมาะกับยุคสมัยนี้ ที่จะต้องระวังความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านไว้ด้วย และสงครามในยุคนั้น เขาน่าจะเน้นการกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยมากกว่าการฆ่าทิ้งแบบไร้เหตุผล
  • ฉากการรบระหว่างพระยาพิชัยกับโปสุพลาจนดาบหักนั้น ไม่ได้ยิ่งใหญ่สมกับที่ควรจะเป็นฉากไคลแม็กซ์เลย เหมือนกับว่าฝ่ายไทยมี พระยาพิชัย กับ นายบุญเกิด อยู่สองคน รบกับพม่าทั้งกอง เอานายบุญเกิดมารบด้วยท่าตลกๆ สักพักก็ถูกรุมตาย แล้วตอนที่ดาบท่านเจ้าคุณหักก็ธรรมดาไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเลย
  • วาระสุดท้ายของพระยาพิชัยก็พอจะรอดปัญหาเซ็นเซอร์ได้อย่างกล้อมแกล้ม และเป็นฉากที่ไม่ค่อยจะโศกอย่างที่ผู้สร้างพยายามให้เป็น

ที่น่าผิดหวังอีกประการคือผู้สร้างยังลงทุนเรื่องการสร้างฉากน้อยมาก ดูเหมือนจะใช้โลเกชั่นวนเวียนอยู่ที่ป่าและหมู่บ้านที่ไหนสักแห่ง ไม่เห็นภาพเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ บ้างเลย ฉากงานชกมวยที่พระแท่นศิลาอาสน์เป็นแค่ลานกว้างริมแม่น้ำแทนที่จะเป็นงานวัดที่ใหญ่โต ฉากการชกมวยต่อหน้าพระยาตากในในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาก็ไปอาศัยวัดที่ไหนไม่ทราบ และยังถ่ายไปติดอาคารที่ใช้ประตูโครงเหล็กอย่างที่เห็นในภาพที่สาม ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีแน่ๆ กำแพงกรุงศรีอยุธยาก็สร้างอย่างลวกๆ

ส่วนดีของหนังที่พอจะนึกได้ คงเป็นเจตนาดีของผู้สร้างที่พยายามจะถ่ายทอดเรื่องราวของวีรบุรุษไทยสมัยก่อนให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ แต่ขออภัยที่ต้องเรียนตามตรงว่า ผู้สร้างยังทุ่มเทให้กับผลงานชิ้นนี้น้อยเกินไปครับ

ควรอ่านเพิ่มเติม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101550)
avatar
คนเล่าเรื่อง

เท่าที่อ่านดู หนังเรื่องนี้ก็แค่หนังแผ่นดค้นทุนต่ำเรื่องหนึ่งนั่นแหลครับ  จะไปหวังฉากที่ยิ่งใหญ่อลังการหรือสมจริงสมจังอะไรได้มากครับ ส่วนบทนั้นก็คงยำเอาตามใจชอบแล้วนำเสนอแบบลวก ๆ โดยไม่คำนึงถึงความสมเหตุสมผลและความเข้มข้นของเนื้อหาทางประวัติศาสตร์หรอกครับ

อันที่จริง ท่านพระยาพิชัยคือขุนทหารคู่พระทัยของพระเจ้าตากมาตั้งแต่ต้น และร่วมรับใช้ราชการสงครามกับพระเจ้าตากมาโดยตลอด  เพียงแต่ในช่วงท้าย ๆ บทบาทของท่านในราชการสงครามไกล ๆ กลับหดหายไป  กลายเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกที่นำทัพออกไปรบห่างไกลแทน เช่น กัมพูชา จนเมื่อผลัดแผ่นดินและย้ายเมืองหลวง    และก็น่าคิดครับว่า ทำไมท่านจึงเลือกถวายชีวิตตามพระเจ้าตากแทนที่จะถวายตัวรับใช้เจ้านายในเชื้อสายของพระเจ้าตากต่อไป  หรือว่าจริง ๆ แล้วท่านอาจเป็นก้อนกรวดในรองเท้าที่สร้างปัญหาถ้าหากปล่อยเอาไว้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-13 23:23:42



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker