dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



MacArthur ขุนพลอเมริกัน ผู้เป็นดั่ง รัฐบุรุษ ในแดนญี่ปุ่น
วันที่ 19/05/2013   16:38:20

ได้เขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์ชีวประวัติอันห้าวหาญของ นายพลแพตตัน ไปแล้ว ถ้าไม่เขียนเรื่องของ นายพล ดักกลาส แมคอาเธอร์ (General Douglas MacArthur) ที่สร้างเป็นภาพยนตร์แล้วเช่นกัน ในปี 1977 (พ.ศ.2520) ก็คงจะไม่ครบเครื่อง พอดีเริ่มสังเกตด้วยว่ามีการใช้ Google ค้นคำว่า "นายพลแมคอาเธอร์" มาที่เว็บนี้บ้างแล้ว และในช่วงนี้ (มกราคม 2550) น่าจะยังพอหาซื้อ VCD ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ จึงต้องสนองความต้องการของผู้ชมเว็บซะที

ภาพยนตร์เรื่อง MacArthur หรือในชื่อภาษาไทยว่า "แมคอาเธอร์ นายพลผู้ไม่แพ้" ได้ Gregory Peck ดาราใหญ่ในยุคนั้น มาสวมบทบาทนายพลผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ เริ่มเรื่องเมื่อฟิลิปปินส์กำลังถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตี กองทัพสหรัฐฯ ไม่สามารถส่งกำลังบำรุงไปช่วยได้ นายพลแมคอาเธอร์ ได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ให้เดินทางหลบออกจากที่มั่นที่ Corregidor ไปตั้งหลักที่ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งท่านนายพลก็รู้สึกค้านอยู่พอประมาณ ด้วยความเป็นผู้นำที่ไม่ต้องการทอดทิ้งผู้บังคับบัญชา แต่ในที่สุดก็ต้องยอมทำตามคำสั่งในเดือนมีนาคม 1942 (พ.ศ.2485) โดยมอบให้นายพลเปอซิวาล เวลไรท์ บัญชาการแทน โดยกะกันว่า นายพลเวลไรท์ น่าจะสามารถยันกองกำลังญี่ปุ่นที่  Bataan ได้จนกว่า แมคอาเธอร์ จะนำกำลังกลับมาช่วยเหลือในเวลาไม่นานนัก อมตะวาจาที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมจำได้ควบคู่กับชื่อเสียงของท่านนายพลคือ "I shall return."

(ฉากการปราศรัยเมื่อเดินทางไปถึงประเทศออสเตรเลีย)

แต่กว่าท่านจะกลับไปได้จริงๆ ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความกดดันต่างๆ อยู่พอควร พอถึงออสเตรเลียได้ไม่นาน ก็ได้ข่าวกองกำลังในฟิลิปปินส์ที่นายพลเวลไรท์บัญชาการแทนได้ยอมแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่นไปแล้ว ออสเตรเลียเองก็กำลังกลัวญี่ปุ่นบุกอยู่เหมือนกัน และไม่ได้มีกองกำลังมากมายอะไร เรียกว่ายังเอาตัวเองแทบไม่รอด มีแต่แผนการที่จะรอให้ญี่ปุ่นรุกเข้ามาก่อนแล้วค่อยตอบโต้ แต่ แมคอาเธอร์ กลับเห็นว่าการป้องกันออสเตรเลียที่ดีที่สุดคือการบุกไปรบกับญี่ปุ่นบนเกาะนิวกินี เมื่อดำเนินการตามแผน ระยะแรกกองกำลังผสมอเมริกัน-ออสเตรเลียประสบความสูญเสียอย่างหนัก แต่การยืนหยัดอย่างมั่นคงและเฉียบขาดของ แมคอาเธอร์ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ

ลำดับต่อมา ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ได้เชิญ แมคอาเธอร์ ไปร่วมวางแผนการรบ ซึ่งพลเรือเอกนิมิตซ์ มีความเห็นว่า สัมพันธมิตรควรอ้อมเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ไปบุกยึดไต้หวัน เพื่อใช้เป็นฐานในการรุกสู่เกาะญี่ปุ่นต่อไป เมื่อได้ชัยชนะต่อญี่ปุ่นแล้ว ฟิลิปปินส์ก็จะได้รับการปลดปล่อยไปโดยปริยาย แมคอาเธอร์ยอมรับว่าแผนการนี้มีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ ท่านได้แย้งด้วยเหตุผลในเชิงสงครามจิตวิทยาว่า ท่านได้ให้สัญญากับผู้ใต้บังคับบัญชาในฟิลิปปินส์ไว้แล้วว่าจะกลับไปช่วยเหลือ หากอ้อมไปบุกไต้หวันแล้ว กองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์จะโฆษณาชวนเชื่อต่อเชลยศึกอเมริกันและหน่วยกองโจรที่ต่อต้านว่าถูกกองทัพสหรัฐฯ ทอดทิ้ง  ควรที่จะได้ยกพลขึ้นบกบนเกาะลูซอน ที่อ่าวเลเต้ เพื่อเอาชัยทั้งในทางยุทธวิธีและขวัญกำลังใจกองทัพ ในที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่อ่าวเลเต้ในวันที่ 20 ตุลาคม 1944 (พ.ศ.2487) การรบเพื่อปลดปล่อยฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จด้วยดี ทำให้ แมคอาเธอร์ ได้รับการเลื่อนยศเป็น General of the Army (บทภาษาไทยใช้ว่า "นายพลทหารบก" ซึ่งฟังแล้วไม่รู้ว่าต่างจากนายพลทั่วไปตรงไหน แต่ก็ต้องเห็นใจว่าในภาษาไทยก็ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์เทียบให้ชัดเจน คงทราบกันแต่เพียงว่า เป็นยศที่เทียบเท่า "จอมพล" หรือ Field Marshall มักเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า "นายพลห้าดาว" ตามคำศัพท์ Five Star General)

(ฉากการปราศรัยหลังจาก การยกพลขึ้นบก ที่อ่าวเลเต้ เกาะลูซอน)

ก่อนที่ แมคอาเธอร์ จะได้นำทัพบุกแผ่นดินใหญ่ในญี่ปุ่น ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อันดับแรกคือการเสียชีวิตของประธานาธิบดีรูสเวลท์ ทำให้ ทรูแมน (Harry S Truman) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน มรดกสำคัญที่ท่านทรูแมนได้รับจากท่านรูสเวลท์คือ การตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูเพื่อเผด็จศึกญี่ปุ่น ที่ ฮิโรชิมา และ นางาซากิ นายพลแมคอาเธอร์ ซึ่งหมายมั่นปั้นมือที่จะเผด็จศึกญี่ปุ่นด้วยกำลังทหารต้องผิดหวังอย่างมากที่ถูกเทคโนโลยีใหม่อันโหดร้ายนี้ตัดหน้าไป แมคอาเธอร์ได้รับเกียรติให้เป็นผู้รับการลงนามสงบศึกกับญี่ปุ่นบนเรือรบ ก่อนพิธีสำคัญจะเริ่มไม่กี่นาที แมคอาเธอร์ ได้พบกับ นายพลเวลไรท์ ซึ่งพยายามขออภัยต่อการประกาศให้กองทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น ท่ามกลางคำปลอบโยนของ แมคอาเธอร์ ว่า "คุณไม่ต้องพูดอะไรทั้งนั้น" (อ่านตามตัวอักษรอาจตีความได้หลายอย่าง แต่ในเสียง VCD พากย์ไทยเป็นน้ำเสียงปลอบโยนจริงๆ ครับ)

เจ้าปรมาณูทั้งสองลูกที่ฆ่าชาวญี่ปุ่นอย่างโหดร้ายไปจำนวนหนึ่งกลับส่งผลดีให้กับ นายพลแมคอาเธอร์ และประเทศญี่ปุ่นโดยรวม โดยเหตุที่มันถูกใช้ก่อนที่ แมคอาเธอร์ จะนำทัพขึ้นไปรุกรานผลาญชีวิตคนญี่ปุ่น ทำให้ แมคอาเธอร์ เริ่มต้นการฟื้นฟูดูแลประเทศนั้นด้วยภาพลักษณ์ที่ดี ท่านนายพลกล่าวแต่เริ่มแรกว่าจะไม่ใช้อำนาจในการปกครองญี่ปุ่น และยังคงให้พระจักรพรรดิ์ทรงครองราชย์ต่อไปแม้เพียงในเชิงสัญลักษณ์ และได้จัดการปฏิรูปหลายอย่างในญี่ปุ่น เช่น ต่อต้านอำนาจนายทุนที่ดิน ยอมให้มีการจัดตั้งพรรคแรงงาน จัดการเลือกตั้งโดยยอมให้สตรีสามารถลงคะแนนและรับสมัครเลือกตั้งได้ นำวัฒนธรรมตะวันตกหลายอย่างมาสู่สังคมญี่ปุ่น ฯลฯ ในเรื่องมีอยู่ฉากหนึ่งที่นายทหารคนหนึ่งมารายงาน แมคอาเธอร์ ว่ามีโสเภณีนางหนึ่ง (ผมดูจาก VCD พากย์ไทย เลยไม่ทราบว่าจะเป็น "เกอิชา" หรือคุณตัวทั่วๆ ไป) ได้รับการเลือกตั้งด้วย แมคอาเธอร์ ถามว่าเธอได้คะแนนเสียงเท่าไหร่ คำตอบคือนับเป็นแสนเลย ท่านจึงพูดแบบตลกหน้าตายว่า "เธอช่างมีลูกค้าที่ซื่อสัตย์มากมายเหลือเกิน"

คุณูปการที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการที่ท่านนายพล แมคอาเธอร์ ปฏิเสธคำขอของรัสเซียที่จะปกครองเกาะฮอกไกโดทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลว่า "ที่นี่ไม่ใช่เยอรมัน" ตามประวัติศาสตร์ รัสเซียได้เซ็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันกับญี่ปุ่นตั้งแต่ก่อนถูกเยอรมันโจมตี แล้วก็มัวแต่ง่วนกับการปราบเยอรมันเกือบตลอดสงคราม จนกระทั่งอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูนั่นแหละ จึงได้ชุบมือเปิบประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และโจมตีเกาหลีซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ก่อนการยอมแพ้เพียงไม่กี่วัน กลายเป็นปัญหาคาราคาซังในคาบสมุทรเกาหลี จนเกิดสงครามในเวลาต่อมา ถ้าหากปล่อยให้รัสเซียได้ฮอกไกโดไปด้วย ชาวญี่ปุ่นและชาวโลกจะประสบความยุ่งยากขนาดไหน

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง แมคอาเธอร์ กับประเทศญี่ปุ่นเป็นไปด้วยดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับประธานาธิบดีทรูแมน กลับไม่ราบรื่นมาโดยตลอด ทรูแมน ไม่ค่อยพอใจที่ แมคอาเธอร์ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในญี่ปุ่นตามความคิดของตัวเอง ไม่ได้ปรึกษาหารือกับทางรัฐบาลสหรัฐฯ มีคำสั่งเรียกตัวทีไรก็อ้างแต่ว่ามีงานเยอะ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะความบ้างานมากกว่าที่จะแข็งข้อกับประธานาธิบดี แต่ก็เป็นเหตุให้ทรูแมนสะสมความไม่พอใจเรื่อยมา 

และแล้วการศึกครั้งสำคัญอีกครั้งในชีวิต นายพลแมคอาเธอร์ ก็เริ่มขึ้นเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือรุกลงมาใต้เส้นขนาน 38 องศาเหนือ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ปี 1950 (พ.ศ.2493) ละเมิตข้อตกลงระหว่างสัมพันธมิตรที่กระทำไว้หลังสงคราม คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้เปิดประชุมเป็นการฉุกเฉิน และมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ให้ส่งทหารเข้าไปคุ้มครองเกาหลีใต้ (มติดังกล่าวมีเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้กล่าวในภาพยนตร์ที่ท่านควรทราบไว้สักนิดหน่อยว่า เป็นการลงมติในขณะที่ผู้แทนสหภาพโซเวียตไม่อยู่ในที่ประชุม เนื่องจากระยะนั้นมีข้อขัดแย้งกันเรื่องที่โซเวียตต้องการจะให้จีนแผ่นดินใหญ่ได้ที่นั่งในสหประชาชาติ ทำให้ชวดโอกาสที่จะใช้สิทธิในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ออกเสียงคัดค้าน หรือ Veto) และ แมคอาเธอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพสหประชาชาติในการศึกครั้งนึ้ ความขัดแย้งกับประธานาธิบดีเริ่มประทุขึ้นอีกเมื่อ แมคอาเธอร์ ไปเยือนไต้หวันโดยพลการ (ซึ่งขณะนั้นเป็นของนายพลเจียไคเช็คผู้สูญเสียอำนาจจากจีนแผ่นดินใหญ่ให้กับเหมาเจ๋อตง การไปเยือนดังกล่าวจึงเสี่ยงต่อความไม่พอใจของจีนคอมมิวนิสต์ที่จ้องจะเข้ามาช่วยเกาหลีเหนืออยู่)  และเสนอแผนการโจมตีเกาหลีเหนือด้วยการยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ซึ่งทรูแมนกับคณะเห็นว่าเป็นปฏิบัติการที่เสี่ยงมาก เมื่อทรูแมนยอมอนุมัติแผนการที่อินชอน แมคอาเธอร์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามจนทรูแมนเริ่มรู้สึกชื่นชม และยอมละทิฐิเป็นฝ่ายเดินทางไปพบแมคอาเธอร์เองเพื่อเคลียร์เรื่องที่เคยคาใจกันมาก่อน รวมทั้งมอบนโยบายว่าต้องจำกัดขอบเขตของสงครามเกาหลี อย่าดำเนินการใดๆ ให้มหาอำนาจอย่างจีนหรือรัสเซียเข้ามาแทรกแซงอันจะบานปลายเป็นสงครามโลกครั้งใหม่ได้ แต่แล้วกองทัพจีนก็ได้ข้ามแม่น้ำยาลูเข้ามาโจมตีกองทัพสหประชาชาติจนถอยร่นไม่เป็นกระบวน ความขัดแย้งระหว่าง แมคอาเธอร์ กับ ทรูแมน ก็เริ่มก่อตัวขึ้นอีก เนื่องจากคำสั่งข้อห้ามต่างๆ ของ ทรูแมน ที่ไม่ต้องการให้สงครามบานปลายออกไปนั้น ขัดกับความรู้สึกของขุนพลในสนามรบอย่าง แมคอาเธอร์ เป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นคำพูดของ แมคอาเธอร์ วิจารณ์คำสั่งที่กำหนดว่าหากจะระเบิดสะพานที่ทหารจีนจะข้ามแม่น้ำยาลูเข้ามาให้ระเบิดได้เฉพาะสะพานครึ่งเดียวด้านใต้ แมคอาเธอร์ บอกว่าเป็นทหารมา 50 กว่าปีไม่เคยรู้เลยว่าจะระเบิดสะพานเพียงครึ่งเดียวได้อย่างไร

(ฉากขณะถอยทัพใน สงครามเกาหลี เนื่องจากการโจมตีของกองทัพจีน)

ในที่สุด ภาพยนตร์จบลงที่ แมคอาเธอร์ ถูก ประธานาธิบดีทรูแมน เรียกตัวกลับสหรัฐฯ และได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างยิ่งใหญ่เยี่ยงวีรบุรุษ

ก่อนชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมเคยสันนิษฐานเอาเองคร่าวๆ จากการที่ท่านขัดแย้งกับทรูแมนจนถูกปลดว่า นายพลผู้นี้น่าจะเป็นคนมุทะลุโผงผาง อยู่ไม่น้อย แต่ในภาพยนตร์กลับกลายเป็นคนสุภาพ เรียบร้อย พูดจาเนิบนาบ (ตามเสียงพากย์ไทยซึ่งก็น่าจะตามอย่างเสียงในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ น่าสังเกตด้วยว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อายุท่านก็ปาเข้าไปหลักหกแล้ว) และโทนของภาพยนตร์ทั้งเรื่องก็ออกมาในแนวนี้ คือดำเนินเรื่องไปอย่างเรียบๆ  แม้ว่าจะมีฉากการรบอยู่หลายฉากก็เพียงเพื่อบอกว่าเป็นช่วงสงครามจริงๆ ไม่ได้เน้นการรบแบบบู๊ล้างผลาญ ตรงกันข้ามกับโทนของภาพยนตร์เรื่อง Patton อย่างสิ้นเชิง

และน่าชมเชยที่ผู้สร้างสามารถกระชับเรื่องราวของท่านให้จบลงได้ในเวลาประมาณสองชั่วโมง (ถ้าในฉบับ VCD ไม่ได้มีการตัดฉากอะไรออกไปอย่างที่ผมเจอในเรื่อง Battle of the Bulge) แต่นั่นหมายความว่า รายละเอียดต่างๆ ของสมรภูมิหลายแห่งในฟิลิปปินส์ การปกครองดูแลญี่ปุ่น (ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงศาลอาชญากรสงครามเลย ทั้งที่ท่านนายพลน่าจะมีส่วนร่วมไม่น้อย) และสมรภูมิต่างในสงครามเกาหลี เป็นเรื่องที่ผู้สนใจจะต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น

ที่น่าเสียดายคือยังไม่มีบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ใน วิกิพีเดีย เลย คงทราบจากประวัติของ Gregory Peck แค่ว่าหนังสร้างในปี 1977 (พ.ศ.2520) เท่านั้น เท่าที่ดูภาพยนตร์แบบไม่ตั้งใจจะจับผิดอะไรมาก คงสะดุดแต่เพียงบทภาษาไทยบางตอนที่แปลศัพท์ทหารยังไม่ค่อยถูก เช่น กรณี "นายพลทหารบก" ที่กล่าวไปแล้ว และคำว่า "เจ้าหน้าที่" (Officer) ที่ได้ยินบ่อยมาก ควรจะใช้ว่า "นายทหาร"

ในภาพรวมแล้วนับเป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และนอกจากสงครามครั้งสำคัญอย่าง สงครามโลกครั้งที่สอง และ สงครามเกาหลี แล้ว ผมเห็นว่าบทบาทของท่านในการปฏิรูปญี่ปุ่นเป็นอีกเรื่องที่น่าศึกษาอยู่ไม่น้อย

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : MacArthur

ชื่อภาษาไทย :  แมคอาเธอร์ นายพลผู้ไม่แพ้

ผู้แสดง : เกรกอรี่ เป๊ค (Gregory Peck) รับบท นายพล ดักกลาส แมคอาเธอร์

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก YouTube

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



สงครามโลกครั้งที่ 2 - เอเชีย/แปซิฟิก

From Here to Eternity ดรามาชีวิตทหารอเมริกันก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ วันที่ 19/05/2013   16:18:19 article
The Pacific สมรภูมิวีรบุรุษ .. วันที่ 19/05/2013   16:21:18
สามพี่น้องตระกูลซ่งผู้ยิ่งใหญ่ ภาพยนตร์ที่ใฝ่หาความสมานฉันท์แห่งชนชาติจีน วันที่ 19/05/2013   16:24:41
เว่ยตี่ฮองเฮา+สนมเอกนอกบัลลังก์ กับปูยีในมุมมองผู้สร้างหนังฮ่องกง วันที่ 19/05/2013   16:25:33
zero ซีโร่ บินเพชฌฆาต ลูกผู้ชายแห่งแดนอาทิตย์อุทัย วันที่ 19/05/2013   16:26:34
The Last Emperor จักรพรรดิโลกไม่ลืม วันที่ 19/05/2013   16:27:34
Kawashima Yoshiko - ผู้หญิงพันธุ์มหาอำนาจ วันที่ 19/05/2013   16:28:36
Don't Cry, Nanking สงครามอำมหิตปิดตาโลก วันที่ 19/05/2013   16:29:52
Away All Boats อีกแบบฉบับนักบริหารที่น่าศึกษา วันที่ 19/05/2013   16:30:55
Flying Tigers หนังสงครามเรื่องแรกของ John Wayne วันที่ 19/05/2013   16:32:04
Letters from Iwo Jima เมื่อฝรั่งสร้างหนังญี่ปุ่นได้น่าประทับใจ วันที่ 19/05/2013   16:33:04
Flags of our Fathers วันที่ 19/05/2013   16:34:14
The Bridge on the River Kwai สะพานข้ามแม่น้ำแคว วันที่ 19/05/2013   16:35:23
Thin Red Line : มนุษย์กับธรรมชาติ VS มนุษย์กับสงคราม วันที่ 19/05/2013   16:36:25
ยุทธภูมิโหด โอกินาว่า (Battle of Okinawa) มุมมองที่ไม่สมบูรณ์ วันที่ 19/05/2013   16:37:22
Pearl Harbor นวนิยายบนแผ่นฟิล์มที่บิดเบือนประวัติศาสตร์? วันที่ 19/05/2013   16:39:10
The Great Raid 121 แบบฉบับอันยอดเยี่ยมของปฏิบัติการช่วยเชลยศึก วันที่ 19/05/2013   16:40:53
ยุทธนาวีที่ Midway : วีรกรรมคนปนโชคชะตา วันที่ 19/05/2013   16:42:05
Yamato ปรัชญาแห่งการยอมสู้ตายเพื่อการเกิดใหม่ที่ดีกว่า วันที่ 19/05/2013   16:43:00
Tora!Tora!Tora! โศกนาฏกรรมที่ Pearl Harbor ทั้งของผู้แพ้และผู้ชนะ วันที่ 19/05/2013   16:43:44
แฉลับสงครามโหด (Untold Stories of World War II) วันที่ 19/05/2013   16:44:37
นายพลเรือเอก ยามาโมโต ผู้หวังรีบเผด็จศึกเพื่อสันติภาพ วันที่ 19/05/2013   16:45:33
Windtalkers เมื่อคุณกันใช้รหัสลับภาษาอินเดียนแดงในยุทธการที่เกาะไซปัน วันที่ 19/05/2013   16:48:39
Oba: The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:49:22 article
My Way (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:49:51 article
Ip Man ภาค 1-2 (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:50:19 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker