dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี
วันที่ 19/05/2013   19:48:00

ปัจจุบันนี้ เมื่อพูดถึง ประเทศเกาหลี หลายคนอาจนึกถึงอะไรหลายอย่าง เช่น โสม กิมจิ แดจังกึม เนื้อย่างเกาหลี หรือกระแสดาราวัยรุ่นเกาหลีที่เข้ามาแทนกระแสดาราญี่ปุ่นหรือฮ่องกง

แต่ใน ประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะด้านการทหารนั้น เกาหลี คือ มิตรประเทศที่กองทัพไทยได้เคยส่งกำลังไปช่วยเหลือในนามกองทัพสหประชาชาติ ซึ่งนอกจากจะสร้างวีรกรรมสำคัญไว้มากแล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ผู้ชายไกลบ้านจะแอบไปมีอะไรกับสาวที่นั่นบ้าง จนเกิดเป็นภายนตร์นิยายรัก ที่ บริษัทไฟว์สตาร์ โดยผู้กำกับ แจ๊สสยาม สร้างเรื่อง "อารีดัง" เมื่อ พ.ศ.2523 มีการเดินทางไปถ่ายทำถึงประเทศเกาหลีใต้ นักแสดงฝ่ายเกาหลีตั้งแต่นางเอกยันไพร่พลตัวประกอบก็ได้ใช้คนเกาหลีจริงๆ ด้วย

เรียกว่าคนรุ่นปู่เขาไปทำศึกรบศึกรักที่นั่นมาก่อนเมื่อหลายปีมาแล้วจนเป็นทั้งประวัติศาสตร์ทั้งนิยายรัก คนรุ่นหลานพึ่งจะมาเห่อเกาหลีกันเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

พื้นเพทางประวัติศาสตร์คร่าวๆ คือ เกาหลี นั้นได้เคยตกอยู่ในความครอบครองของญี่ปุ่น หลังจากสงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1904 (พ.ศ.2446 ตามปฏิทินเก่าของไทยยุคนั้นที่เริ่มปีใหม่ในเดือนเมษายน) จนกระทั่งปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่ออเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ฮิโรชิมา รัสเซียก็ฉวยโอกาสประกาศสงครามกับญี่ปุ่นแล้วส่งกองทัพเข้าสู่ตอนเหนือของเกาหลี แล้วต่อมาเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ที่จะแบ่งเขตอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลีกันที่เส้นขนาน (Latitude) 38 องศาเหนือ ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งแยกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือ เกาหลีเหนือ และ สาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้

เริ่มเรื่องด้วยฉากการรบทางอากาศระดับน้องๆ Battle of Britain เลยทีเดียว

วันร้ายคืนร้ายก็มาถึง เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 1950 (พ.ศ. 2493) กองทัพเกาหลีเหนือ ได้เคลื่อนกำลังผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงมายังเกาหลีใต้โดยที่เกาหลีใต้ไม่ทันรู้ตัว คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้เปิดประชุมเป็นการฉุกเฉิน เมื่อ 25 มิถุนายน 1950 เวลา 14.00 น. ที่นครนิวยอร์ค ได้ประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ และมีมติให้เกาหลีเหนือถอนกำลังกลับไปอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 และต่อมา ได้ลงมติฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 27 เดือนเดียวกัน ให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ส่งทหารไปช่วยเกาหลีใต้ต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ซึ่งประเทศไทยก็ได้ร่วมส่งกำลังไปรบกับเขาด้วย จำนวนหลายผลัดด้วยกัน รายละเอียดขอให้ตามไปอ่านที่ลิงค์ต่างๆ ข้างท้ายนะครับ

ส่วนชื่อ "อารีดัง" นั้น มีการอธิบายที่สับสนปนเป ทั้งชื่อเพลง ชื่อสาวเกาหลีที่เป็นแฟนทหารไทย และชื่อสถานที่ ที่แน่ๆ คือเป็นชื่อทำนองเพลงพื้นเมืองหรือเพลงประจำชาติของเกาหลี แบบเดียวกับเพลงฉ่อยเพลงอีแซวของไทย คือไม่ใช่ชื่อเพลงใดเพลงหนึ่ง และที่จริงชื่อที่ถูกของเขา คือ "อารีรัง" แต่คนไทยมาฟังเพี้ยนเป็น "อารีดัง" เรื่องที่จะเป็นชื่อคนนั้นน่าจะจำกันมาผิดๆ เอง ส่วนจะเป็นชื่อสถานที่ที่ไหนด้วยหรือไม่นั้นก็ไม่น่าจะใช่ แต่ยังไม่มีข้อมูลจะฟันธงครับ

เรื่องย่อของ ภาพยนตร์ "อารีดัง" มีอยู่ว่า ในระหว่างสงครามเกาหลีปี 2496 หน่วยทหารไทยของ ร.อ. พงษ์พันธ์ เทวาพิทักษ์ ได้ทำการรบอย่างห้าวหาญ แต่แล้วในคืนวันหนึ่ง หน่วยของผู้กองพงษ์พันธ์ที่พึ่งซุ่มโจมตีข้าศึกได้รับชัยชนะถูกข้าศึกที่รอดตายตามมาซุ่มยิงด้วยปืนกลจนตายเกือบหมด เหลือแต่ผู้กองพงษ์พันธ์ซึ่งถูกยิงบาดเจ็บ และร้อยโทโชติ พลอยแสง ที่ได้นำผู้กองพงษ์พันธ์มารักษาตัวที่หมู่บ้าน โทนัมดวง ตำบลอารีดัง ซึ่งเป็นที่อยู่ของ โอบุนริ นางเอกของเรา และแน่นอนว่าผู้กองพงษ์พันธ์ได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านของ โอบุริ โดยเธอเป็นผู้พยาบาลจนเกิดความรักต่อกัน และแต่งงานกันทั้งๆ สงคราม แม้ว่าร.อ.ชู วาน ฮอง (ซึ่งพงษ์พันธ์คิดว่าเป็นคนรักของโอบุนริ แต่เธอบอกว่าเป็นแค่พี่ ) จะไม่ค่อยเห็นด้วยนัก ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกาคม ค.ศ. 1953 สงครามได้สงบลง พระเอกของเราได้กลับเมืองไทยโดยไม่สามารถนำครอบครัวโอบุนริกลับมาด้วย (ถ้าเป็นสมัยนี้ สายการบินโลว์คอสต์ อาจเป็นคำตอบได้) จึงได้แต่สัญญาว่าจะกลับมารับภายใน 3 เดือน เอาเข้าจริงๆ ผู้กองเจอปัญหาติดงานราชการอยู่เรื่อย ไม่มีจังหวะจะไปหาลูกเมียได้ จน 3 ปีผ่านไป พงษ์พันธ์ตัดสินใจออกจากราชการ และเดินทางไปรับโอบุนริ แต่ก็ยังเจออุปสรรคอีกเป็นชุด ไม่ว่าคุณแม่ประสบอุบัติเหตุ พาครูลีลานุชไปเที่ยวร้านอาหารเกาหลีก็โดน ชู วาน ฮอง ถ่ายรูปส่งไปให้โอบุนริ เมื่อแม่และครูลีลานุชรู้ความจริงแอบไปมีเมียที่เกาหลีก็เกิดปัญหาแง่งอนกันนิดหน่อย พอมาถึงเกาหลีได้ก็มาเจอจังหวะกำลังมีพายุอีก โดยเฉพาะหมู่บ้านของนางเอกเรา ซึ่งเธอกำลังเสียใจเพราะภาพถ่ายที่ได้รับจาก ชู วาน ฮอง แล้วหลบไปเก็บตัวตามลำพังในบ้านที่เชิงเขา ไม่ยอมหนีหิมะที่กำลังถล่ม พ่อตาเห็นลูกเขยพึ่งจะโผล่หน้ามาก็ต้อนรับด้วยปืนซะสองนัด กว่าจะไปถึงบ้านที่โอบุนริอยู่ได้ ก็พอดีเธอโดนหิมะถล่มตายไปแล้ว

ฉาก ทหารไทย ซุ่มโจมตีข้าศึกที่ริมแม่น้ำ

เนื้อเรื่องทั้งหมดที่ว่ามานี้มีความจริงอยู่กี่เปอร์เซนต์ เรื่องทหารไทยจะไปได้เมียที่เกาหลีน่าจะมีอยู่หลายราย แต่ชื่อตัวละครที่มีการระบุถึงทั้งยศ ชื่อ นามสกุล กันเลยนั้น จะมีตัวตนอยู่จริงหรือสมมติชื่อขึ้นมาแทนตัวจริง หรือเพียงแค่เอาพล็อตเรื่องความรักต่างแดนที่ต้องพลัดพรากกันมาสวมกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ณ เวลานี้ผมยังไม่มีข้อมูลจะฟันธง แต่พอจะมีข้อสังเกตส่วนตัวดังนี้

ประเด็นคนเกาหลีพูดภาษาไทย ผู้สร้างได้กรุณากำหนดให้ตัวละครฝ่ายเกาหลี 3 คนใช้ภาษาไทยสื่อสารกับตัวละครฝ่ายไทยได้ อันช่วยลดความยุ่งยากทั้งของผู้สร้างและผู้ชมในเรื่องซับไตเติ้ลไปพอสมควร โดยเหตุผลในการพูดภาษาไทยได้ของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป คือ

การละเล่นของชาวเกาหลี

- โอบุนรินางเอกของเรานั้นพระเอกเป็นผู้สอนให้ ทำให้นางเอกเกาหลีของเราดูน่ารักึ้นมากในสายตาผู้ชมไทย แต่หากจะคิดลึกกันสักหน่อยแล้ว พระเอกของเราผู้เข้าไปอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของเขาต่างหากที่ควรเป็นฝ่ายหาโอกาสเรียนภาษาเกาหลีเพื่อสื่อสารกับคนพื้นเมือง การให้พระเอกเป็นผู้สอนภาษาไทยแก่นางเอกอาจเป็นมุมมองที่ดูจะชาตินิยมไปสักนิด เอาเถอะ เมื่อพระเอกเราอยากสอน นางเอกเต็มใจเรียนก็ไม่อยากขัดใจ แต่อุปกรณ์ที่พระเอกจะใช้สอนได้ก็คงมีเพียงสมุดกับดินสอ กับระยะเวลาตามเรื่องที่น่าจะมีเวลาสอนกันไม่กี่เดือน แต่นางเอกสามารถพูดได้จนเหมือนอยู่เมืองไทยมาเป็นปี ออกจะเหลือเชื่ออยู่

- นายลี ล่ามที่มากับทหารไทย ดูเหมือนความเป็นล่ามจะเป็นเหตุผลง่ายๆ ว่าทำไมเขาถึงพูดไทยได้ แต่ลองคิดเล่นๆ แต่ลึกๆ คนเกาหลีในปี 2493 จะมีใครเคยเดินทางมาเมืองไทยหรือจะสนใจเรียนภาษาไทยก่อนเกิดสงครามด้วยเหตุอันใด? ความเป็นไปได้ที่พอมีอยู่บ้างคืออาจได้เรียนจากหน่วยทหารไทยตั้งแต่สงครามเริ่มในปี 2490 ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวถึง

- ร.อ. ชู วาน ฮอง คนที่ในเรื่องยังคลุมเครือว่าตกลงเป็นคนรักเก่าของนางเอกหรือเป็นแค่พี่อย่างที่เธอบอก มองโลกในแง่ดีไว้ก่อนก็ได้ว่า "นางเอก" คงไม่โกหก ทีนี้มาในเรื่องความสามารถในการพูดภาษาไทย ดูทีแรกก็งงมากว่าทำไมพูดภาษาไทยได้ ต้องย้อนกลับไปดูที่ฉากหนึ่งที่พระเอกนึกถึงความหลังว่าเคยพอกับทหารอากาศคนนี้มาก่อนที่อาคารที่ติดป้ายว่า "Thai Liaison Group UNC" (Liaison ตามดิคชันนารีให้ความหมายหนึ่งไว้ว่า "นายทหารติดต่อระหว่างสองกองทัพที่ร่วมมือกัน") จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่พอกล้อมแกล้มได้ว่า เขาอาจจะเรียนภาษาไทยจากหน่วยทหารไทยเพื่อการประสานงานแบบเดียวกับนายลีผู้เป็นล่าม แต่ถ้านายทหารคนนี้แกจะพูดภาษาอังกฤษกับพระเอกเราจะดูสมจริงกว่า

พิธีแต่งงานระหว่างร้อยเอกพงษ์พันธ์กับโอบุนริตามแบบเกาหลี

หมู่บ้านของนางเอกอยู่ที่ไหน อันนี้ไม่ได้หมายความในแง่ว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ แต่มีประเด็นที่ยิ่งคิดลึกยิ่งรู้สึกไม่สมจริงเช่นกัน การที่ผู้หมวดโชติ พลอยแสง แบกผู้กองพงศ์พันธ์มาจนถึงหมู่บ้านดังกล่าวได้ มันคล้ายกับว่าหมู่บ้านนั้นอยู่ไม่ห่างจากแนวหน้ามากนัก หากอยู่ไกลแนวหน้ามากๆ กว่าจะแบกมาถึงพระเอกน่าจะตายเสียก่อน เมื่อมาถึงหมู่บ้าน การที่ไม่สามารถส่งพระเอกไปโรงพยาบาลได้ การที่แพทย์ทหารบอกว่าพระเอกบาดเจ็บมาก และปล่อยให้อยู่ในหมู่บ้านต่อไป เหมือนกับว่าหมู่บ้านห่างไกลจากค่ายทหารหรือห่างจากเมืองมาก แต่การปล่อยให้ทหารบาดเจ็บอยู่ในความดูแลของพลเรือนเป็นเวลาค่อนข้างนาน แทนที่พอค่อยยังชั่วแล้วจะมารับกลับ ดูไม่ค่อยน่าเชื่อนัก และพอพระเอกเริ่มเดินกับไม้ค้ำยันได้บ้าง ร.อ. ชู วาน ฮอง ก็ได้มาขอนัดพระเอกไปพบเพื่อเคลียร์เรื่องนางเอกกันที่ "วังจักรพรรดิ์" ซึ่งน่าจะอยู่ในตัวเมือง แล้วจู่ๆ พระเอกจะแอบหลบนางเอกเดินทางไปตามนัดโดยนางเอกไม่รู้ได้อย่างไร? ดูคล้ายผู้สร้างอยากจะโชว์สถานที่สวยงามของเกาหลีเกินไป ทั้งที่ยังมีโอกาสต่อมาในฉากที่นางเอกพาพระเอกมาเที่ยว

ในตอนที่ ร.อ. ชู วาน ฮอง มาโผล่ในงานครบรอบร้านอาหารของนายลีในเมืองไทย จนสามารถถ่ายรูปพระเอกกับครูลีลานุชในงานได้ แล้วเอารูปกลับไปให้นางเอกดูที่เกาหลีนั้น มันคล้ายกับว่านายคนนี้แกสามารถแว่บไปแว่บมาระหว่างไทยกับเกาหลีได้อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งน่าจะมีทางออกในการทำให้อะไรมันเนียนกว่านี้สักหน่อย เช่นอาจจะให้ส่งรูปที่ว่าไปทางไปรษณีย์

การเต้นรำแบบเกาหลีเพื่อฉลองพิธีแต่งงาน

อีกเรื่องที่ต้องบ่นหน่อย แต่ไม่ใช่ความผิดของผู้สร้าง คือ VCD ที่จัดจำหน่ายโดย โซล่าร์มาเก็ตติ้ง นั้น ภาพไม่ค่อยชัด เหมือนใช้ต้นฉบับที่เป็นวีดีโอเทป VHS ปัญหาอาจจะเนื่องมาจากว่าสมัยก่อนภาพยนตร์ไทยต้องไปล้างฟิล์มที่แล็บฮ่องกง แล้วฟิล์มต้นฉบับที่เป็นมาสเตอร์ก็ไปค้างอยู่ที่นั่น ไม่สามารถนำมาเป็นต้นฉบับในการจัดทำ VCD ได้ ทางหอภาพยนตร์และมูลนิธิหนังไทยเคยมีโครงการที่จะนำฟิล์มภาพยนตร์เหล่านี้กลับมา ไม่ทราบว่าปัจจุบันได้มีความคืบหน้าไปอย่างไรแล้ว

จุดเด่นของเรื่องนี้ประการแรกได้แก่การยกกองไปถ่ายทำในสถานที่ที่สวยงามในเกาหลีหลายแห่ง ทั้งป่าเขาที่เป็นสนามรบ หมู่บ้านนางเอก และวัดวังที่ตัวละครได้ไปเที่ยวกัน ความสามารถสร้างฉากรบที่ใหญ่โตได้โดยมีตัวประกอบไพร่พลทั้งคนไทยและเกาหลีตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ เข้าฉากได้ ไหนจะฉากการรบทางอากาศตอนต้นเรื่องอีกต่างหาก แม้จะไม่ได้รบกันสมจริงมากนัก แต่ความใหญ่โตของฉากก็พอเทียบหนังฮอลลีวู้ดบางเรื่องได้ ฉากที่แสดงวัฒนธรรมเกาหลีในพิธีแต่งงานของพระเอกนางเอก และที่สำคัญคือเพลงประกอบภาพยนตร์ทั้งภาษาไทยและเกาหลีที่ไพเราะหลายเพลงด้วยกัน

ในแง่การให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์แล้ว ภาพยนตร์เรื่อง "อารีดัง" อาจจะยังมีข้อกังขาที่ต้องตรวจสอบอีกมาก ในแง่ประวัติศาสตร์การสร้างภาพยนตร์ไทยแล้ว จะอ่อนก็แต่เรื่องความสมจริงในเนื้อเรื่องบ้าง แต่ในด้านการสร้างถือว่าทำได้ดีแล้วสำหรับยุคนั้น (พ.ศ.2523) และเพลงประกอบเป็นจุดเด่นที่สุดครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย : อารีดัง

ผู้กำกับ :    แจ๊สสยาม 

ผู้อำนวยการสร้าง : เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร

ผู้เขียนบท :   บทประพันธ์ของ พลาย มะลิวัลย์, แจ๊สสยาม บทภาพยนตร์โดย อนันต์ ชลวนิช

ผู้แสดง :

  • จตุพล ภูอภิรมย์ เป็น ร.อ.พงษ์พันธ์ เทวาพิทักษ์
  • วาสนา สิทธิเวช เป็น ลีลานุช น้อยนิด
  • มิส.ชอง ซุน-มี เป็น โอบุน-ริ
  • มิน วู เป็น ร.อ. ชู วาน-ฮอง
  • ไกรลาศ เกรียงไกร เป็น ร.ท.โชติ พลอยแสง
  • คาง เค-ซิก เป็น โอ ชอง-แฮง

ควรอ่านเพิ่มเติม

เนื้อเพลงประกอบภาพยนตร์

ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์ได้ที่เว็บ "บ้านเพลงเก่า" http://music.oldsonghome.com/album_song.php?album_id=325 หรือชมคลิปเพลงประกอบภาพยนตร์จาก YouTube ข้างล่าง ประกอบด้วยเพลง "อารีดัง" หรือ "อารีรัง", "รักคุณเข้าแล้ว", "เสียงครวญจากเกาหลี" และ "เสียงครวญจากทหารไทย"

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101639)
avatar
Amorn@invethailand.com

เรื่องรักระหว่างรบ ผมก็เคยชมภาพยนต์ฝรั่งเมื่อ ๕๐ ปี  ส่วนทหารชาติต่างๆที่ไปร่วมรบในกองทัพสหประชาชาติ จะไปมีรักกับสาวเกาหลีนั้น หากจะเป็นห้วงของการรบหนักในปี ๑๙๕๐ น่าจะไม่สมจริง  ผมไปที่นั่นหลังการรบผ่านไป ๑๕ปี ก็มีแต่ทหารที่อยู่ในกรุงโซล มีโอกาสได้สัมผัสกับชาวเกาหลี จนนำไปสู่การสมรสในที่สุด  ผมว่าหากจะมีท่านใดคิดจะสร้างภาพยนต์อีกสักเรื่องโดยเปลี่ยนเป็นสมรภูมิ เวียดนาม ละก็ผมขอเชียร์นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Amorn@invethailand.com (amorn-at-invethailand-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-20 21:01:58



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker