dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



แกะรอย อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
วันที่ 19/05/2013   21:47:37

คงเป็นการยากที่จะระบุลงไปให้ชัดว่าใครคือจอมทัพที่เป็นอัจฉริยะทางการยุทธคนแรกของโลก แต่ในบรรดาจอมทัพที่เก่งกล้าคนแรกๆ ของโลกนั้น พระนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) น่าจะอยู่ในใจของผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจังอย่างแน่นอน

National Geographic ได้นำเรื่องราวของพระองค์ท่านมาเรียบเรียงจัดทำเป็นสารคดีให้เราได้ศึกษากันแล้ว ในชื่อเรื่องว่า "Alexander the Great, the Man Behind the Myth" หรือในชื่อภาษาไทยว่า แกะรอย อเล็กซานเดอร์มหาราช โดยให้ความสำคัญกับพระองค์ว่าทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่มีพระอัจฉริยภาพสูงล้น สามารถทำสงครามแผ่ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเปลี่ยนโลกโบราณอย่างสิ้นเชิงโดยการนำโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกมาพบกัน และทรงเป็นแม่แบบให้กับนักรบนักยุทธวิธีในยุคต่อๆ มา

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทรงมีพระบุคลิกภาพที่ไม่ปกตินัก ทรงหลงพระองค์ว่าเป็นเทพเจ้า มีความใฝ่สูงทะเยอทะยาน กระทำสงครามอย่างโหดร้ายทั้งต่อข้าศึกศัตรูและต่อทหารในกองทัพของพระองค์เอง ตอนหนึ่งของสารคดีกล่าวว่าทรงเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพระองค์เองด้วย

อเล็กซานเดอร์ ประสูติที่เมือง Pella แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) ทางตอนเหนือของกรีก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 356 ปี ก่อนคริสตกาล (ประมาณ พ.ศ.188) เป็นพระโอรสของ กษัตริย์ฟิลลิป (King Philip II of Macedon) และ พระนางโอลิมเปียส (Olympias)  และปัจจัยที่หล่อหลอม เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ย่อมเป็นพระบิดาและพระมารดานั่นเอง รวมถึงพระอาจารย์ ซึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีกรีกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น

  • พระเจ้าฟิลลิป ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่ทรงรวบรวมกรีกที่แต่เดิมเป็นนครรัฐต่างๆ ให้มารวมกันเป็นปึกแผ่น ทรงมีพระนิสัยดุร้าย โหดเหี้ยม และทรงสร้างกองทัพที่ดีเยี่ยมที่สุดในเวลานั้น และยังทรงมีคู่รักทั้งหญิงและชายมากมาย เช่นเดียวกับชาวกรีดในเวลานั้น อันจะนำปัญหามาสู่พระองค์ในเวลาต่อมา
  • พระนางโอลิมเปียส ทรงเป็นสาวกของเทพ ไดโอนิซุส เทพแห่งสุราและตัณหา ทรงรักพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง และมักสร้างภาพว่า ทรงครรภ์ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ กับเทพเจ้าซูส (Zeus ที่คนไทยเรียกว่า เซอุส หรือ ซีอุส) อันส่งอิทธิพลให้ อเล็กซานเดอร์ ทรงหลงพระองค์ว่าเป็นเทพเจ้าเสมอมา
  • อริสโตเติล พระอาจารย์ (Tutor) ของ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เป็นผู้สอนตำนาน Eliot อันว่าด้วยสงครามเมืองทรอย (Troy) ซึ่งวีรบุรุษคนสำคัญคือ อะคิลิส (Achilles) กล่าวกันว่า อะคิลิส มีทางเลือกในชีวิตสองทาง คือ อยู่อย่างมีชีวิตยืนยาว (แต่เป็นบุคคลธรรมดา) หรือ มีชื่อเสียงเกียรติยศ (แต่อายุไม่ยืน)  อะคิลิส เลือกทางที่สอง การตัดสินใจของ อะคิลิส ด้วยการเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถได้กลายเป็นแบบอย่างอันสำคัญที่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ชื่นชมและมุ่งหวังจะเลียนแบบ

เมื่อเจ้าชายอเล็กซานเดอร์เจริญพระชนมพรรษา กษัตริย์ฟิลลิป ได้ทรงมีพระมเหสีใหม่และมีพระโอรสด้วย อันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งระหว่างกษัตริย์ฟิลลิปกับพระนางโอลิมเปียส และระหว่างเจ้าชายอเล็กซานเดอร์กับพระบิดา ทำให้เจ้าชายต้องทรงเสด็จลี้ภัยอยู่พักหนึ่ง ต่อมาแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะคืนดีกันได้ในระยะเวลาหนึ่ง เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์ฟิลลิปถูกลอบปลงพระชนม์โดยชายผู้หนึ่ง แล้วฆาตกรผู้นั้นก็ถูกสังหารในที่เกิดเหตุทันที ทิ้งปริศนาไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเขากระทำด้วยเหตุใด หรือใครบงการ คงทราบแต่เพียงว่าเจ้าชายอเล็กซานเดอร์นั่นแหละคือผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการสวรรคตของพระบิดา

เพราะนั่นคือโอกาสให้พระองค์ได้สร้างกรีธาทัพสร้างชื่อเสียงตามแบบอย่างอะคิลิสที่ทรงใฝ่ฝันมานาน อันเป็นเหตุให้พระนามของพระองค์ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชั่วกาลนาน เป็นการเริ่มต้นด้วยพระชนมายุเพียง 20 พรรษา เท่านั้น พระวีรกรรมด้านการสงครามและพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

อาวุธสำคัญอย่างหนึ่งของ Alexander คือการข่มขวัญข้าศึก ทหารของพระองค์จะเอาดาบตีกับโล่พร้อมกับส่งเสียงโห่ร้องใส่ข้าศึกก่อนเข้าทำการรบ

  • การรบกับกองทัพเปอร์เซียของ พระเจ้าดาริอุส ( Darius III ) ครั้งแรกที่เมือง Issus 333 ปีก่อนคริสตกาล ทรงได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พระเจ้าดาริอุสเสด็จหนีไปได้
  • การรบที่เมือง Tyre ซึ่งกินเวลาถึง 7 เดือน ทหารเมืองไทร์สูญเสียกว่า 7,000 นาย พลเมืองกว่า 30,000 คนตกเป็นทาส และยังโปรดให้สังหารทหารเมืองนี้อีก 2,000 คน
  • การรรบที่เมือง Gaza ทรงสังหารผู้ชายทุกคนในเมือง และลงโทษข้าหลวงผู้นำการต่อต้านพระองค์ด้วยการให้ม้าลากไปจนกว่าจะตาย คล้ายกับที่ อะคิลิส ใช้ม้าลาก เฮคเตอร์ (Hector) ในสงครามเมืองทรอย แต่ในตำนานนั้น เฮคเตอร์ ตายแล้ว

ภาพรูปปั้น Alexander ในชุดฟาโรห์ ในอิยิปต์

  • การยึดครองอิยิปต์ มาจากเปอร์เซีย ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีเนื่องจากชาวอิยิปต์ต้องการให้เปอร์เซียปราชัย และยกย่อง อเล็กซานเดอร์ ขึ้นเป็นฟาโรห์ และที่นี่เองที่ตอกย้ำความหลงพระองค์ว่าทรงเป็นเทพเจ้า
  • การรบกับพระเจ้าดาริอุสครั้งที่ 2 ที่เมือง Gaugamela แม้ว่าจะทรงมีกำลังน้อยกว่าถึง 1 ต่อ 3 ก็สามารถมีชัยชนะอีกเช่นเคย สามารถยึดครองกรุงบาบิโลนได้สำเร็จ ขณะที่พระเจ้าดาริอุส แม้จะเสด็จหนีได้อีก แต่ก็ถูกปลงพระชนม์โดยทหารของพระองค์เอง
  • ทรงนำทัพข้ามเทือกเขาฮินดูกุช ที่มีความสูงและหนทางทุรกันดารมาก ได้โปรดให้เกณฑ์ทหารเปอร์เซียเข้ามาร่วมในกองทัพด้วย สร้างความไม่พอใจต่อทหารกรีกเป็นอย่างมาก

กองทัพช้างของอินเดีย Alexander ทรงปราบด้วยกองทหารราบถือหอกยาว
(ผู้สร้างนำฉากจากภาพยนตร์เรื่อง Sikander ของอินเดียที่สร้างในปี 1941 มาประกอบ)

  • การรบที่ Jhelum ในประเทศอินเดีย โจทย์ข้อใหญ่ในการรบครั้งนี้คือข้าศึกที่มีกองทัพช้างกว่า 200 เชือก แต่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และกองทัพอันยอดเยี่ยมที่ทรงรับมรดกมาจากพระบิดาก็สามารถสอบผ่านคือประสบชัยชนะได้อย่างงดงามแม้ว่าจะเป็นการรบที่นองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในพระชนม์ชีพของพระองค์
  • เมื่อบรรดาทหารหาญของพระองค์ปฏิเสธที่จะตามเสด็จไปพิชิตโลกต่อไปอีก จึงได้ทรงนำกองทัพกลับกรุงบาบิโลน สิ่งที่คาดไม่ถึงคือทรงเลือกเส้นทางที่ผ่านทะเลทรายอันทุรกันดาร ซึ่งอาจเป็นพระประสงค์ที่จะลงโทษกองทัพที่ขัดพระบัญชา เป็นผลให้ทหารต้องเสียชีวิตระหว่างทางไปเป็นจำนวนมาก จนเหลือเพียงไม่ถึง 1 ใน 3
  • ที่เมือง Susa ก่อนถึงบาบิโลน ทรงโปรดให้นายทหารกว่า 100 คน แต่งงานกับสาวเปอร์เซีย และพระองค์เองก็ทรงมีเจ้าสาวเปอร์เซียถึง 3 คน ด้วยพระประสงค์ที่จะหลอมรวมอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก

เมื่อเสด็จกลับถึงบาบิโลนได้ไม่นาน ได้ทรงพระประชวรถึง 11 วัน จึงสิ้นพระชนม์อย่างเป็นปริศนาว่าทรงถูกวางยาหรือประชวรด้วยโรคใดกันแน่ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า โรคมาลาเรีย น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด รวมพระชนมายุเพียง 32 พรรษาเท่านั้น

ทรงทิ้งมรดกชิ้นสำคัญให้กับคนรุ่นหลัง ได้แก่ มรดกทางยุทธวิธี ที่ตกทอดมายังนักการทหารยุคต่างๆ เช่น จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน ฮันนิบาล แห่งคาเธจ จอร์จ วอชิงตัน ผู้พลิกสถานการณ์สงครามประกาศเอกราชของอเมริกา นโปเลียน โบนาปาร์ต ผู้ไต่เต้าขึ้นเป็นจักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศสและครอบครองยุโรปได้เกือบทั้งหมด และนายพล จอร์จ แพตตัน ใน สงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ยังรวมถึงมรดกทางด้านอื่น อันได้แก่ เส้นทางการค้าใหม่ ทรงประสานโลกตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ทรงเผยแผ่อารยธรรมกรีกทั้งในอิหร่าน และอินเดีย ซึ่งขยายไปจนถึงศรีลังกา

ยุทธวิธีที่ Alexander ทรงใช้ได้ผลมาตลอด คือ ยุทธวิธี "ค้อนกับทั่ง"
ตามภาพ สี่เหลี่ยมสีแดงคือกองทัพของพระองค์ สี่เหลี่ยมสีน้ำเงินคือข้าศึก กองทหารสีแดงตอนบนคือ "ทั่ง" หรือทหารราบที่ปะทะข้าศึกด้านหน้า กองทหารสีแดงด้านล่างตามลูกศร คือ "ฆ้อน" หรือกองทหารม้าที่จะอ้อมไปโจมตีตลบหลังข้าศึก

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่สมเป็นผลงานของ National Geographic ซึ่งได้นำเราไปเยี่ยมชมโบราณสถานต่างๆ ที่มีคุณค่าอย่างมากมาย มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ถ่ายทำภาพยนตร์จำลองการรบสมัยนั้นได้อย่างยิ่งใหญ่ รวมถึงฉากที่ตัดต่อจากภาพยนตร์เรื่อง Sikander ของอินเดียที่สร้างในปี 1941 (พ.ศ.2484 ชื่อ Sikander หรือ Sikandar เป็นพระนามของ อเล็กซานเดอร์ ตามสำเนียงอินเดีย) ดำเนินเรื่องตั้งแต่พระราชประวัติภูมิหลังมาจนถึงมรดกทางยุทธวิธีและวัฒนธรรมของพระองค์ได้อย่างแทบจะครบถ้วน โดยส่วนตัวผมสงสัยเพียงประเด็นเดียวว่าทำไมไม่สนพระทัยที่จะกรีธาทัพไปยังยุโรปตอนเหนือๆ ขึ้นไปบ้าง ได้แต่เดาเอาเองว่าคงเกี่ยวกับคำสอนของ อริสโตเติล นั่นเอง บทพากย์ภาษาไทยยังบกพร่องเรื่องราชาศัพท์อยู่มาก แต่โดยภาพรวมแล้ว ผู้สนใจประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การทหาร สมควรอย่างยิ่งที่จะสะสมภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ ไม่อย่างนั้นต้องถือว่าขาดองค์ความรู้ที่สำคัญเลยทีเดียว

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Alexander the Great, the Man Behind the Myth

ชื่อภาษาไทย :  แกะรอย อเล็กซานเดอร์มหาราช

ผู้สร้าง : National Geographic

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ

1911 ใหญ่ผ่าใหญ่ การปฏิวัติซินไฮ่อันนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบศักดินา 3,000 ปีของจีน วันที่ 19/05/2013   18:35:25
สะดุดเลิฟ ที่เมืองรัก (Letters to Juliet) วันที่ 19/05/2013   18:36:43
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ 1980 (คลาสสิค) วันที่ 19/05/2013   18:40:30
5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น เมื่อการปฏิวัติ คือ การหลั่งเลือด วันที่ 19/05/2013   18:39:13
Kingdom of Heaven มหาศึกกู้แผ่นดิน วันที่ 19/05/2013   18:41:31
Chariots of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ ชัยชนะแห่งไฟในหัวใจอันลุกโชน วันที่ 19/05/2013   18:43:04
Master and Commander วันที่ 19/05/2013   18:43:58
FIRST KNIGHT (สุภาพบุรุษยอดอัศวิน) วันที่ 19/05/2013   18:45:00
Legionnaire คนอึดเดือดไม่ใช่คน วันที่ 19/05/2013   18:46:18
ไททานิค ภาพยนตร์ที่ลงตัวทั้งประวัติศาสตร์และนิยายโรแมนติก วันที่ 19/05/2013   18:47:27
Napoleon ศึกรบ ศึกรัก และศึกการเมือง ในชีวิตนโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:48:31
Waterloo ความมโหฬารของสงครามปราบจักรพรรดิ์นโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:49:19
เอลซิด (El Cid) : ประวัติศาสตร์ หรือ ตำนาน วันที่ 19/05/2013   18:50:07
Fearless -> Truthless? วันที่ 19/05/2013   18:50:53
Veer จอมวีรอหังการ์ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:51:25 article
The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:09 article
Nomad: The Warrior (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:53 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker