dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



อโศกมหาราช (Asoka) จาก ทรราชย์ สู่ ธรรมราชา
วันที่ 19/05/2013   19:18:37

เอ่ยถึงหนังอินเดีย หลายคนอาจนึกถึงความเชยไม่น้อยไปกว่าหนังไทยสมัยก่อน ที่มักจะมีดาราสาวออกมาเต้นวิ่งไล่กันตามเสาหรือตามต้นไม้ หรือดาราบางคนเปล่งเสียง "นาร้าย...นารายณ์" และเนื้อเรื่องที่สุดแสนเศร้าดูแล้วร้องไห้ร้องห่มเป็นเผาเต่า ฯลฯ

เมื่อเว็บไซต์แห่งนี้ต้องการเปิดกว้างไปยัง ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ทุกชาติทุกภาษาทุกยุคทุกสมัย จะไม่นำภาพยนตร์อินเดียมากล่าวสักเรื่องคงไม่ได้ ในเมื่อภาพยนตร์เรื่องที่นำมากล่าวถึงนี้ เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิ์ชาวพุทธผู้ยิ่งใหญ่ ที่พระนามของพระองค์นั้นจารึกใน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา มีความสำคัญถัดมาจากพระพุทธเจ้าและบรรดาพระสาวกทั้งหลาย คือ เรื่อง Asoka อันเกี่ยวข้องกับ พระเจ้าอโศกมหาราช (Asoka หรือ Ashoka) ผู้ทรงนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเผยแผ่ไปยังนอกชมพูทวีป หรือบริเวณอินเดียปัจจุบัน ไปยังอาณาเขตต่างๆ กว้างใหญ่ไพศาล รวมถึงสุวรรณภูมิ หรือประเทศไทยในปัจจุบันนี้ด้วย

เริ่มเรื่องขึ้นเมื่อ พระเจ้าจันทรคุปต์ จักรพรรดิ์แห่งแคว้นมคธ พระอัยกาหรือปู่ของเจ้าชายอโศก(ในบทพากย์ภาษาไทยใช้คำว่า "ราชกุมาร" และ "ราชกุมารี" แทน Prince และ Princess แต่ผมสะดวกที่จะใช้คำว่า "เจ้าชาย" และ "เจ้าหญิง" มากกว่า) ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวชในศาสนาเชน และได้ทิ้งพระแสงดาบที่ทรงเรียกว่า "ดาบอสูร" ลงไปในน้ำตกบริเวณที่ทรงออกผนวชนั้น แต่เจ้าชายอโศกได้ทรงฝ่าฝืนแอบนำดาบนั้นมาเก็บไว้ หลังจากพระเจ้าจันทรคุปต์ออกผนวช ราชสมบัติตกเป็นของพระเจ้าพินทุสาร (Bindusara) พระบิดาของเจ้าชายอโศกได้ครองราชสมบัติ โดยมีพระโอรสต่างมารดาสองพระองค์ที่คาดว่าจะเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ คือ เจ้าชายอโศก และเจ้าชายสุชิม (Susima) (ที่จริงยังมีโอรสอีกหลายพระองค์) เรื่องกระโดดข้ามไปยังเวลาที่เจ้าชายอโศกเจริญพระชันษาเป็นหนุ่มและพึ่งเสด็จกลับจากชัยชนะที่เมืองตักกศิลา ซึ่งทำให้เจ้าชายสุชิมทรงพิโรธที่เจ้าชายอโศกรอดกลับมาอย่างมีชื่อเสียง และส่งคนไปลอบปลงพระชนม์ขณะลงสรง แต่ไม่สำเร็จอีก เจ้าชายอโศกเองก็แสดงความมักใหญ่ถึงกับขึ้นประทับนั่งบนบัลลังก์ขณะที่กำลังปะทะคารมกับเจ้าชายสุชิมและพี่น้อง พระเจ้าพินทุสารซึ่งทรงพระประชวรตำหนิพระมารดาของเจ้าชายอโศก พระมารดาจึงโปรดฯ ให้เจ้าชายอโศกเสด็จออกจากแคว้นมคธ โดยไม่ให้เปิดเผยตัวว่าเป็นใคร

เจ้าชายอโศกได้เสด็จมายังแคว้นกลิงคะ (Kalinga) ณ ที่นี่ได้ทรงรู้จักกับ เจ้าหญิงกรกี (Kaurwaki) เจ้าชายอารยา (Arya) ซึ่งยังทรงพระเยาว์มาก และขุนพล ภีม (Bheema) ซึ่งกำลังลี้ภัยการเมืองอยู่ รวมถึงได้รู้จักกับวิรัตน์ (Virat) นักเลงโตแถบนั้น(ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหญิงและเจ้าชายจากแคว้นกลิงคะ) โดยตลอดเวลาทรงอ้างว่าเป็นเพียงทหารคนหนึ่งของแคว้านมคธชื่อ "ปาวัน" (Pawan) ตามชื่อม้าทรงของพระองค์ เจ้าชายอโศกได้ทรงช่วยเหลือเจ้าหญิงและเจ้าชายแคว้นกลิงคะจากอันตราย และแม้จะทราบความจริงว่าเจ้าหญิงเป็นเพียงเด็กกำพร้าชาวประมงที่พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกลิงคะเก็บมาทรงเลี้ยง และภีมไม่เห็นด้วยกับความรักของทั้งสอง  แต่ในที่สุดเจ้าชายอโศกกับเจ้าหญิงกรกีก็ลักลอบแต่งงานกันตามพิธีชาวบ้าน ยังไม่ทันที่ทั้งสองจะได้อยู่กินกันก็พอดีมีทหารจากแคว้นมคธมาตามเจ้าชายอโศกให้กลับไปเฝ้าพระมารดาที่ทรงพระประชวร ก่อนไปเจ้าชายอโศกสัญญากับเจ้าหญิงและเจ้าชายกลิงคะว่าจะเสด็จกลับมารับในภายหลัง

เมื่อเสด็จถึงวัง เจ้าชายอโศกพบว่าพระมารดาไม่ได้ทรงพระประชวรดังที่อ้าง และพระเจ้าพินทุสารได้บัญชาให้เจ้าชายอโศกไปปราบกบฎที่เมืองอุชเชนนี เจ้าชายอโศกขอให้กองทัพล่วงหน้าไปก่อน เพื่อเสด็จไปหาเจ้าหญิงกรกี แต่ระหว่างที่เจ้าชายอโศกไม่อยู่นั้น ภีมได้เข้าไปยังเมืองกลิงคะเพื่อแจ้งข่าวว่าเจ้าชายและเจ้าหญิงทั้งสองยังไม่สิ้นพระชนม์ แต่มหาเสนาบดีผู้หวังชิงบัลลังก์กลิงคะได้ส่งคนไปลอบทำร้ายภีมและไปปล้นหมู่บ้านที่ซ่อนตัวของเจ้าหญิงเจ้าชายทั้งสอง ชาวบ้านได้ช่วยให้ทั้งสองพระองค์รอดไปได้โดยให้ผู้อื่นรับเคราะห์แทน แต่เมื่อเจ้าชายอโศกมาถึงพบแต่บ้านที่ถูกไฟเผาและภีมซึ่งไม่ได้บอกความจริง เจ้าชายอโศกจึงเข้าพระทัยผิดและเสียพระทัยมาก เมื่อเสด็จไปรบที่อุชเชนนีทรงได้รับบาดเจ็บ แต่วิรัตน์ที่ตามเสด็จไปรบได้ช่วยชีวิตไว้ และนำพระองค์ไปรักษาที่วัดพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง โดยมีหญิงสาวชื่อเทวีคอยดูแลรักษาพระองค์จนในที่สุดได้แต่งงานกัน

เมื่อเจ้าชายอโศกพาพระนางเทวีกลับแคว้นมคธ เจ้าหญิงกรกีได้พยายามตามหา "ปาวัน" แต่คลาดกันโดยตลอด จึงเสด็จตามเจ้าชายอารยาและภีมไปสำเร็จโทษมหาเสนาบดี เจ้าชายอารยาได้ครองราชย์แคว้นกลิงคะทั้งที่ยังทรงพระเยาว์ ด้านพระเจ้าพินทุสารไม่ทรงโปรดสะใภ้ชาวพุทธและโปรดให้เจ้าชายอโศกกลับไปอยู่เมืองอุชเชนนี เมื่อพระนางเทวีทรงพระครรภ์ เจ้าชายสุชิมทรงเกรงว่าหากเจ้าชายอโศกได้พระโอรส จะทำให้ทรงเสียสิทธิในราชบัลลังก์ จึงโปรดให้คนสนิทไปลอบสังหารพระนางเทวี การลอบสังหารแม้จะไม่สำเร็จแต่ได้ทำให้พระมารดาของเจ้าชายอโศกสิ้นพระชนม์ เจ้าชายอโศกทรงพิโรธและนำกำลังทหารไปแก้แค้น (ทั้งในภาพยนตร์และในประวัติศาสตร์ไม่อาจระบุชัดว่าพระเจ้าพินทุสารสิ้นพระชนม์หรือยัง) สุชิมถูกวิรัตน์สังหารขณะลอบทำร้ายเจ้าชายอโศก เจ้าชายอโศกโปรดให้สังหารพระเชษฐาและพระอนุชาทางฝ่ายสุชิมทั้งหมด และได้ราชบัลลังก์ท่ามกลางเสียงครหาของประชาชน และปรากฏว่าสุกัตราพระอนุชาองค์หนึ่งของสุชิมหนีไปได้

พระเจ้าอโศกได้ทรงทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตออกไปมากมาย จนเหลือแต่แคว้นกลิงคะ เมื่อทรงทราบว่าสุกัตราหนีไปพึ่งแคว้นนี้ และไม่ยอมส่งสุกัตราให้ สงครามจึงเกิดขึ้น จัดว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อินเดีย ซึ่งเกิดขึ้นในราว ปี 265-263 ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ พ.ศ.278-280 กองทัพแคว้นมคธกระทำการโหดร้ายต่อชาวบ้านจนเป็นที่หวั่นเกรง ภีมกับสุกัตราพยายามลอบสังหารพระเจ้าอโศกแต่ไม่สำเร็จทั้งสองได้เสียชีวิตลง กองทัพทั้งสองแคว้นจึงต้องรบกันขั้นแตกหัก ณ ที่นี้ เจ้าหญิงกรกีซึ่งทรงร่วมรบด้วยจึงได้ทราบว่า พระเจ้าอโศก ศัตรูผู้โหดเหี้ยม คือ "ปาวัน" คนรักของนางเอง พระเจ้าอโศก ทรงรบชนะกองทัพกลิงคะโดยเด็ดขาด และทราบข่าวจากพระอนุชาว่าพระนางเทวีทรงได้พระโอรสและพระธิดาพร้อมกัน แต่ไม่โปรดให้พระเจ้าอโศกแตะต้องพระโอรสธิดาด้วยพระหัตถ์เปื้อนเลือด พระเจ้าอโศกจึงเริ่มสำนึกและเสด็จกลับไปยังสนามรบ ที่มีแต่ความเสียหาย ซากศพ และคนที่กำลังจะตาย ครั้งนี้ได้ทรงพบกับเจ้าหญิงกรกีที่ทรงบาดเจ็บจากการรบและเจ้าชายอารยาที่ได้รับบาดเจ็บเช่นกันและสิ้นพระชนม์ในอ้อมพระกรของพระเจ้าอโศก ความเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้พระองค์เลิกใฝ่หาสงครามและหันมาทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาตลอดพระชนมชีพ

ด้านข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ แม้ในไตเติ้ลภาพยนตร์จะออกตัวว่าได้มีการแต่งเติมตัวละครขึ้นมาเพื่อความบันเทิง จากการตรวจสอบกับข้อมูลที่วิกิพีเดียคร่าวๆ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ก็สอดคล้องกันค่อนข้างมาก จะมีปัญหาก็ในเรื่องของเวลา เช่น ช่วงที่เจ้าชายอโศกเสด็จลี้ภัยการเมืองไปยังชายแดนกลิงคะนั้นกินเวลาราวสองปี และสงครามกับแคว้นกลิงคะนั้นเกิดขึ้นหลังการครองราชย์และแผ่ขยายพระราชอาณาเขตราว 8 ปี  หากเจ้าชายอารยามีพระองค์จริง ถึงเวลานั้นน่าจะเจริญพระชันษาขึ้นเป็นกษัตริย์หนุ่มเต็มพระองค์แล้ว และก่อนจะทำสงครามกัน พระเจ้าอโศกน่าจะทรงทราบพระนามของผู้ครองแคว้นกลิงคะบ้าง เจ้าหญิงกรกีนั้น ในประวัติศาสตร์กล่าวเพียงว่าเป็นชาวประมงชาวแคว้นกลิงคะที่ได้พบกันระหว่างเสด็จลี้ภัยและภายหลังได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอโศก แต่ไม่ปรากฏว่าได้เคยเกี่ยวข้องกับราชสำนักกลิงคะแต่อย่างใด ส่วนพระนางเทวีนั้น มีพระองค์จริงในประวัติศาสตร์ เป็นผู้รักษาพยาบาลเจ้าชายอโศกตามที่กล่าวในภาพยนตร์ อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์เองกล่าวว่า ในภาพยนตร์ยังให้ความสำคัญกับพระนางน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คือไปหนักทางพระนางกรกีแทน ทั้งที่พระนางเทวีเป็นชาวพุทธมาแต่เดิมซึ่งน่าจะมีบทบาทหลักในการเปลี่ยนพระทัยให้พระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพุทธศาสนา และโดยความรู้สึกส่วนตัวผม ก็เห็นว่าภาพยนตร์ไปกล่าวถึงความรักระหว่างพระเจ้าอโศกกับพระนางกรกีจนไม่ได้กล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย น่าเสียดายยิ่งนัก

ด้านการเขียนบทและการดำเนินเรื่องนั้น เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษามากสำหรับการแต่งเติมสิ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ได้แก่

  • "ดาบอสูร" ของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่พระเจ้าอโศกไปเก็บมาใช้เป็นพระแสง ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้าย ที่ทรงใช้เกือบตลอดเรื่อง ยกเว้นในช่วงที่ประทับอยู่กับเจ้าหญิงกรกี และในที่สุดเมื่อทรงสำนึกบาปก็ได้ทรงโยนดาบอสูรนี้ทิ้งน้ำเช่นเดียวกับพระอัยกา
  • นิทานเรื่องเจ้าหญิงกับเจ้าชายที่ "ปาวัน" เล่าให้เจ้าชายอารยาฟังนั้น เจ้าชายอโศกทรงตั้งพระทัยเล่าเพื่อแสดงความรักความผูกพันระหว่างพระองค์กับเจ้าหญิงกรกีและเจ้าชายอารยา ตอนจบของนิทานที่ว่าเจ้าชายนำทัพช้างทัพม้ากลับมารับเจ้าหญิงกลับไปอยู่ด้วยกันนั้น กลับกลายเป็นความจริงที่แสนเศร้าว่าพระเจ้าอโศกได้กรีธาทัพมารุกรานแคว้านกลิงคะอย่างโหดเหี้ยม
  • คำพูดที่ "ปาวัน" สอนการฟันดาบให้กับเจ้าหญิงกรกี ในตอนแรก ได้หวนกลับมาขณะที่เจ้าหญิงกรกีตั้งพระทัยฝึกดาบอีกครั้งเพื่อต่อสู้กับกองทัพมคธของพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นผู้สอนเอง
  • ม้าทรงของเจ้าชายอโศก หรือ "ปาวันตัวจริง" ซึ่งเจ้าชายอโศกมอบให้เจ้าหญิงกรกีในวันแต่งงาน ได้กลายมาเป็นม้าทรงของเจ้าหญิงกรกีในการรบกับพระเจ้าอโศก และถูกทหารพระเจ้าอโศกยึดได้จนทำให้พระเจ้าอโศกต้องเสด็จกลับไปพบเจ้าหญิงกรกีอีกครั้ง แต่ก็แปลกที่เจ้าหญิงกรกีหรือคนอื่นไม่เคยเอ่ยถามชื่อม้าตัวนี้หรือตั้งชื่อม้าเป็นอย่างอื่นเลย

โดยภาพรวมแล้ว ผมเห็นว่า ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ของอินเดียเรื่องนี้ ไม่ได้น้อยหน้าภาพยนตร์ชาติอื่นใดเลย และหวังว่าภาพยนตร์อินเดียเรื่องแรกของเว็บนี้จะไม่ใช่เรื่องสุดท้ายครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Asoka หรือที่หน้าปกเขียนว่า "aśoka" (มีขีดบนตัวเอส) 

ชื่อภาษาไทย :  อโศกมหาราช

ผู้สร้าง : Shahrukh Khan, Juhi Chawla

ผู้กำกำกับ : Santosh Sivan

ผู้เขียนบท : Santosh Sivan

ผู้แสดง : Shahrukh Khan, Kareena Kapoor, Ajith Kumar, Milind Soman

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ

1911 ใหญ่ผ่าใหญ่ การปฏิวัติซินไฮ่อันนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบศักดินา 3,000 ปีของจีน วันที่ 19/05/2013   18:35:25
สะดุดเลิฟ ที่เมืองรัก (Letters to Juliet) วันที่ 19/05/2013   18:36:43
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ 1980 (คลาสสิค) วันที่ 19/05/2013   18:40:30
5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น เมื่อการปฏิวัติ คือ การหลั่งเลือด วันที่ 19/05/2013   18:39:13
Kingdom of Heaven มหาศึกกู้แผ่นดิน วันที่ 19/05/2013   18:41:31
Chariots of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ ชัยชนะแห่งไฟในหัวใจอันลุกโชน วันที่ 19/05/2013   18:43:04
Master and Commander วันที่ 19/05/2013   18:43:58
FIRST KNIGHT (สุภาพบุรุษยอดอัศวิน) วันที่ 19/05/2013   18:45:00
Legionnaire คนอึดเดือดไม่ใช่คน วันที่ 19/05/2013   18:46:18
ไททานิค ภาพยนตร์ที่ลงตัวทั้งประวัติศาสตร์และนิยายโรแมนติก วันที่ 19/05/2013   18:47:27
Napoleon ศึกรบ ศึกรัก และศึกการเมือง ในชีวิตนโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:48:31
Waterloo ความมโหฬารของสงครามปราบจักรพรรดิ์นโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:49:19
เอลซิด (El Cid) : ประวัติศาสตร์ หรือ ตำนาน วันที่ 19/05/2013   18:50:07
Fearless -> Truthless? วันที่ 19/05/2013   18:50:53
Veer จอมวีรอหังการ์ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:51:25 article
The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:09 article
Nomad: The Warrior (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:53 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (7736)
avatar
คนเล่าเรื่อง

ผมเองได้ดูหนังเรื่องนี้หลายรอบครับ แต่ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจเนื้อหานัก เพราะยังอ่อนด้อยในประวัติศาสตร์อินเดีย

อย่างไรก็ตามครับ สิ่งที่หนังค่อนข้างละเลยก็คือ บทบาทของพระเจ้าอโศกภายหลังที่พระองค์ทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธว่าพระองค์ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาแค่ไหน  ตรงนี้ ถ้าหากหนังเอามาสร้างให้เห็นอย่างจริงจัง ผมคิดว่าจะได้ใจคนดูชาวไทยไปอีกไม่น้อยครับ

อีกอย่างครับ ตัวละครที่มาเล่นเป็นพระเจ้าอโศกนั้น โดยหน้าและบุคลิกนี่ได้ครับ แต่รูปร่างนั้นช่างตรงข้ามเหลือเกิน พี่แกมีแต่กล้ามหลบในกับลงพุงนิดๆ ไม่สมกับที่เป็นกษัตริย์นักรบเลยครับ

อ้อ มีนักวิชาการบางท่านได้ไปอินเดียมา แล้วบอกผมว่า คนอินเดียส่วนใหญ่ยอมรับนับถือศาสนาพุทธและเคารพพระพุทธเจ้า แต่ในฐานะของปรัชญาการคิดและดำเนินชีวิต รวมทั้งการเป็นนักปราชญ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ  ไม่ได้คิดว่าเป็นศาสนา เพราะศาสนาต้องมีพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีฤทธิ์อำนาจปาฏิหารย์  ข้อนี้คงเป็นมุมมองของคนอินเดียที่ผมไม่ขอก้าวล่วงนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง (danai-at-buu-dot-ac-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-11-06 14:26:15



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker