dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Atlantic Wall ปราการชายฝั่งยุโรป ของ ฮิตเลอร์
วันที่ 19/05/2013   15:27:09

ขณะที่เขียนนี้เป็นวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ในเดือนหน้าอีกราว 3 สัปดาห์ ก็จะถึงวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งจะครบรอบวันดีเดย์ (D-Day) ปฏิบัติการ ยกพลขึ้นบก ของสัมพันธมิตรเมื่อปี 1944 (พ.ศ.2487) อีกครั้งหนึ่ง พอดีก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ ผมได้ไปเจอ ภาพยนตร์สารคดี เกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ถึง 2 เรื่อง ด้วยกัน เรื่องแรก คือ The Atlantic Wall ที่กำลังจะคุยกันในครั้งนี้

ในตำราบางเล่ม ภาพยนตร์บางเรื่อง และเกมคอมพิวเตอร์ เมื่อกล่าวถึง D-Day อาจพูดถึงแต่ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตรจากการยกพลขึ้นบก ณ หาดที่มีเครื่องกีดขวางมหาโหดอยู่เบื้องหน้า ถัดเข้าไปก็จะเป็นทหารเยอรมันในบังเกอร์ที่หนาแน่นพร้อมด้วยอาวุธสารพัดชนิด แต่นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของฝ่ายตั้งรับ แท้จริงแล้ว ทางฝ่ายเยอรมันได้มีการเตรียมการต้อนรับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างใหญ่โตมโหฬารมานานนับเป็นปี ไม่น้อยไปกว่าการวางแผนบุกของสัมพันธมิตรเลย

สารคดีเริ่มกล่าวถึงความเป็นมาของ Atlantic Wall โดยย้อนไปตั้งแต่เยอรมันเริ่มก่อสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1939 (พ.ศ.2482) โดยได้ชัยชนะมาตลอด ทั้งในโปแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก ไปจนถึงฝรั่งเศส ในปี 1940 (พ.ศ.2483) แต่คราวนี้เยอรมันมาถึงทางสองแพร่งของการศึก เมื่อจะต้องเลือกว่าจะจัดการกับศัตรูสำคัญรายใดก่อน ระหว่าง อังกฤษทางตะวันตก กับรัสเซียทางตะวันออก ฮิตเลอร์ ได้เลือกที่จะจัดการกับอังกฤษก่อน แต่จากความล้มเหลวของศึกเวหา Battle of Britain (10 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 1940) และการที่เยอรมันไม่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งพอจะบุกเกาะอังกฤษได้ ฮิตเลอร์ จึงต้องหันเหเป้าหมายมาเริ่มการบุกรัสเซีย ในเดือนมิถุนายน 1941 (พ.ศ.2484) โดยระหว่างนี้ก็เพียงแต่เตรียมการป้องกันชายฝั่งยุโรปไว้บ้าง โดยหวังว่าคงจะชนะรัสเซียได้ในเวลาไม่นาน แต่เมื่อสงครามในแนวรบตะวันออกนี้ยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องเสริมการป้องกันชายหาดยุโรปตะวันตกให้มากขึ้น ทั้งที่มีระยะทางที่ยาวไกลเหลือเกิน ตั้งแต่ตอนบนสุดของนอร์เวย์เกือบจรดขั้วโลกเหนือเรื่อยมาผ่านชายฝั่งของ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ฝรั่งเศส ไปจนจรดประเทศสเปน ใครเก่งภูมิศาสตร์ช่วยตอบทีว่ากี่กิโลเมตรหรือกี่ไมล์ ตามแผนที่ข้างล่างยังมีแถมชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้อีกด้วย เพราะตอนหลังสัมพันธมิตรชนะในอาฟริกาเหนือ และบุกมาถึงอิตาลีด้วย

เยอรมันได้เริ่มการสร้าง Atlantic Wall ในปี 1942 (พ.ศ.2485) โดยบริษัท Organisation Todt ของนาย Fritz Todt และมีผลงานสำคัญก่อนสงครามโลกระเบิด คือ การสร้างทางหลวง Autobahn ทั่วประเทศเยอรมัน และแนวซีกฟรีด (Siegfried Line) ที่กั้นระหว่างพรมแดนเยอรมัน-ฝรั่งเศส (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ในสารคดีไม่ได้กล่าวถึงแนวซีกฟรีด) เป็นงานก่อสร้างที่ใหญ่โตมโหฬารมาก ไม่ว่ากำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กหนาเป็นฟุตๆ ป้อมปืนและบังเกอร์คอนกรีตขนาดต่างๆ เป็นระยะทางยาวไกล โดยเน้นมากที่สุด ณ เมือง Pas-de-Calais ซึ่งเป็นจุดที่มีความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีมากที่สุด เนื่องจากอยู่ตรงส่วนแคบที่สุดของช่องแคบอังกฤษ และจากจุดนี้ไปยังประเทศเยอรมันเป็นระยะทางใกล้ที่สุด

ต่อมา เมื่อ จอมพลรอมเมล (Field Marshall Erwin Rommel) พ่ายศึกในสมรภูมิอาฟริกาเหนือ ในปี 1943 (พ.ศ.2486) จิ้งจอกทะเลทราย ผู้นี้ก็ยังได้รับความไว้วางใจจาก ฮิตเลอร์ ให้เป็นผู้ตรวจสอบแนวปราการแอตแลนติคนี้ รอมเมล พบว่า Atlantic Wall ยังไม่เข้มแข็งพอ ชายหาดหลายแห่งยังไม่มีสิ่งใดป้องกัน รอมเมล จึงได้กลายมาเป็นผู้มีบทบาทในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับปราการอันแสนยาวเหยียดนี้ ด้วยการเสริมป้อมปราการต่างๆ ให้มากขึ้น เพิ่มเติมเครื่องกีดขวางต่างๆ ที่จะขัดขวางการขึ้นบกของสัมพันธมิตร โดยเฉพาะทุ่นระเบิดที่ แม้จะวางได้เพียง 5 ล้านลูก จากที่ รอมเมล ออร์เดอร์ไว้ 50 ล้านลูก ก็ทำให้ปราการแห่งนี้เข้มแข็งขึ้นอีกมาก แม้กระนั้น รอมเมล ก็ไม่ได้หวังสูงขนาดว่าจะชนะสงครามได้ แต่รอมเมลเชื่อว่า หากสกัดการบุกของสัมพันธมิตรได้แล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้เยอรมันกับสัมพันธมิตรเจรจาสงบศึกกันได้โดยไม่มีเงื่อนไขที่จะทำให้เยอรมันเสียเปรียบหรือเสียศักดิ์ศรี ในสารคดีอ้างปากคำของ Manfred Rommel บุตรชายของ จอมพลรอมเมล ว่า ท่านจอมพลรับรู้และพยายามจะไม่ให้ข่าวคราวเกี่ยวกับค่ายกักกันชาวยิวรั่วไหลไปถึงสัมพันธมิตรจนเกินไป นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญของ รอมเมล คือความขัดแย้งในแผนการป้องกันระหว่างเขากับ จอมพล ฟอน รุนด์เสต็ดท์ (Gerd von Rundstedt) ซึ่งเห็นว่าควรเตรียมหน่วยพานเซอร์ (Panzer) ไว้เป็นกองหนุนด้านหลัง เมื่อชายฝั่งถูกโจมตีที่ใดจึงจะให้หน่วยนี้เคลื่อนที่ไปช่วย แต่รอมเมลเห็นว่ากว่าหน่วยพานเซอร์จะเคลื่อนที่ไปถึงแนวหน้าจะถูกกำลังทางอากาศดักโจมตีเสียก่อน ควรนำมาไว้ใกล้ชายฝั่งเพื่อถล่มข้าศึกตั้งแต่แรกเริ่ม ฮิตเลอร์ แทนที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ กลับแทงกั๊กด้วยการเข้ามาเป็นผู้บัญชาการเองในการมีอำนาจว่าจะสั่งเคลื่อนพลหน่วยพานเซอร์เมื่อใด

จอมพลรอมเมล (Field Marshall Erwin Rommel) ขณะตรวจ Atlantic Wall

ทางด้านสัมพันธมิตร ได้ตัดสินใจแต่งตั้งนายพล ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการการบุก มีการปรับแผนจากเดิมที่จะใช้กองกำลัง 3 ส่วน (ใน VCD ภาษาไทยใช้คำว่า "กองพล" ไม่ทราบว่ามาจาก "Division" จริงๆ หรือเปล่า) มาเป็น 5 ส่วน ขึ้นบก 5 จุดของชายหาด มีชื่อรหัสต่างๆ กันคือ ซอด (Sword) โดยทหารอังกฤษ จูโน (Juno) โดยทหารแคนาดา โกลด์ (Gold) โดยทหารอังกฤษ โอมาฮ่า (Omaha) และ ยูท่า (Utah) โดยทหารอเมริกัน รายละเอียดต่างๆ คล้ายๆ กับบางส่วนที่ปรากฏใน "The Longest Day" และ "D-Day: Men and Machines" ขออนุญาตเล่าข้ามไปก่อนนะครับ ผู้สนใจสามารถอ่านบทวิจารณ์ได้จากลิงค์รายชื่อบทความในหมวด "สงครามโลกครั้งที่ 2 - ยุโรป" ข้างล่าง เอาเป็นว่าสารคดีเรื่องนี้เล่าเรื่องการเตรียมตัวทำการบ้านของทั้งสองฝ่ายอย่างเสมอภาคดีแท้ๆ ผลที่สุด สัมพันธมิตร ได้ประสบความสำเร็จในการทลาย "กำแพงแอตแลนติค" นี้ ด้วยปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) ในเช้าตรู่วันที่ 6 มิถุนายน 1944 (พ.ศ.2487) ณ ชายหาดนอร์มังดี ซึ่ง สตีเฟน แอมโบรส (Stephen E. Ambrose คนเดียวกับที่เขียนเรื่อง Band of Brothers นั่นแหละครับ) สรุปไว้ในตอนท้ายสารคดีว่า กำแพงแอตแลนติค ล้มเหลว ก็เพราะคนที่บุกทะลวงเข้าไป

ภาพปัจจุบันของป้อมปืนแห่งหนึ่ง เห็นแล้วนึกถึงคำพูดในหนัง Patton ที่ว่า "ป้อมปราการเป็นอนุสาวรีย์ของผู้แพ้"

ผมมีข้อข้องใจส่วนตัวเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และการจัดจำหน่ายสารคดีเรื่องนี้ตรงที่ว่า เดิมทีใครเป็นผู้ผลิตต้นฉบับสารคดีเรื่องนี้ เห็นที่หน้าปกซีดีมีคำว่า Century ตัวเบ้อเริ่มเทิ่ม หลังปกตอนล่างมีตัวหนังสือบอกที่อยู่ของบริษัท Century ว่าอยู่แถวบางซื่อ ด้วยตัวหนังสือขนาดจิ๋ว คงเป็นบริษัทผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายในเมืองไทย ในตัวภาพยนตร์ทั้งเรื่อง จะมีตัว C ในสี่เหลี่ยมที่มุมซ้ายบน กับ ตัว T ในสี่เหลี่ยมที่มุมขวาล่างปรากฏอยู่ตลอด หาข้อมูลไม่ได้เลยว่าฝรั่งท่านใด ใครผลิต ถ่ายทำ เขียนบท ฯลฯ กระทั่งหาข้อมูลในวิกิพีเดีย หรือเสิร์ช Google ก็ไม่เจอ ใครมีข้อมูลช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Atlantic Wall

ชื่อภาษาไทย : กำแพงแอตแลนติคของฮิตเลอร

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่างจาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



สงครามโลกครั้งที่ 2 - ยุโรป

Inglourious Basterds ยุทธการเดือดเชือดนาซี วันที่ 27/05/2013   23:02:43 article
The World at War สารคดีที่ช่วยให้เห็นภาพรวมสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 19/05/2013   11:26:48
The Boy in the Striped Pyjamas เด็กชายในชุดนอนลายทาง วันที่ 19/05/2013   11:30:27
สารคดีชุด The History Channel World War II จาก BBC วันที่ 19/05/2013   11:32:15
Escape from Sobibor แหกค่ายนรกนาซี วันที่ 19/05/2013   14:49:41
Defiance วีรบุรุษชาติพยัคฆ์ (กลุ่มนักสู้ยิวในเบลารุส) วันที่ 19/05/2013   14:50:16
Brother's War ยุทธการสกัดแผนการหลังม่านเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:51:09
Life Is Beautiful ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง(?) วันที่ 19/05/2013   14:52:30
Stauffenberg ในเวอร์ชันของเยอรมันเอง วันที่ 19/05/2013   14:54:02
Valkyrie : ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:55:25
Kelly's Heroes การเสียดสีความเป็นวีรบุรุษของอเมริกัน วันที่ 19/05/2013   14:57:02
Enigma รหัสลับพลิกโลก วันที่ 19/05/2013   14:58:01
The Fallen หลายฝ่ายหลายชีวิตกับความไร้สาระของสงคราม วันที่ 19/05/2013   14:59:09
ป้อมปืนนาวาโรน หนามแหลมมีพิษที่ยอกอกอังกฤษ วันที่ 19/05/2013   15:02:34
La Grande Vadrouille: หนังสงครามแนวตลกชั้นครู วันที่ 19/05/2013   15:04:14
Saints and Soldiers รบกันแต่อย่าเกลียดกัน??? วันที่ 19/05/2013   15:05:31
The Devil's Brigade กองพลน้อยปีศาจลูกผสมอเมริกัน-แคนาดา วันที่ 19/05/2013   15:06:55
The Battle of the River Plate วันที่ 19/05/2013   15:08:04
Das Boot U – 96 เรือล่มเมื่อจอด วันที่ 19/05/2013   15:11:04
Mosquito Squadron นิยายรักนักบิน วันที่ 19/05/2013   15:12:40
Where Eagles Dare วันที่ 19/05/2013   15:14:27
THE EAGLE HAS LANDED (แผนสิบหกอินทรีเหล็ก) วันที่ 19/05/2013   15:15:36
The Pianist ความวิปโยคจากอคติทางเชื้อชาติ วันที่ 19/05/2013   15:17:06
The Last Armored Train ว่าด้วยรถไฟหุ้มเกราะในสงครามโลก วันที่ 19/05/2013   15:18:21
Days of Glory เมื่อพี่(ฝรั่ง)เศสยังติดหนี้คนอาหรับ วันที่ 19/05/2013   15:19:32
To Hell And Back สงคราม...สร้างวีรบุรุษ วันที่ 19/05/2013   15:21:01
The Great Escape แหกค่ายมฤตยู วันที่ 19/05/2013   15:22:20
Combat! คัมแบ็คในรูปแบบ VCD วันที่ 19/05/2013   15:23:45
D-Day the Sixth of June นิยายรักวันดีเดย์ วันที่ 19/05/2013   15:24:52
D-Day 6.6.44 สารคดี จาก BBC วันที่ 19/05/2013   15:25:59
Saving Private Ryan วันที่ 19/05/2013   15:28:34
Von Ryan's Express ด่วนนรกเชลยศึก วันที่ 19/05/2013   15:29:52
Memphis Belle ป้อมบินเย้ยฟ้า วันที่ 19/05/2013   15:30:55
Land and Freedom ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายใน สงครามกลางเมืองสเปน วันที่ 19/05/2013   15:34:12
633 ฝูงบินมัจจุราช วันที่ 19/05/2013   15:35:21
Cross of Iron อิสริยาภรณ์ แห่ง ความกล้า กับ ความบ้าเกียรติ วันที่ 19/05/2013   15:36:41
Kill Rommel การต่อต้านสงครามด้วยมนุษยธรรม วันที่ 19/05/2013   15:37:39
The Bridge at Remagen อีกยุทธการยึดสะพานที่คำสั่งเป็นพิษ วันที่ 19/05/2013   15:38:46
Donwfall (Der Untergang) ปิดตำนานบุรุษล้างโลก (ฮิตเลอร์) วันที่ 19/05/2013   15:52:54
Band of Brothers บทเรียนเรื่อง "ภาวะผู้นำ" วันที่ 19/05/2013   15:53:55
Nuremberg: ศาลยุติธรรม ระดับโลก หรือ ปาหี่ของผู้ชนะ? วันที่ 19/05/2013   15:55:43
Sophie Scholl กับ ขบวนการต่อต้านนาซี ใน เยอรมัน วันที่ 19/05/2013   15:56:49
โอมาร์ มุกตา ผู้หาญสู้ เผด็จการ ฟาสซิสต์ อิตาลี วันที่ 19/05/2013   15:58:04
แพตตัน การรบกับข้าศึก VS การแข่งขันกับพันธมิตร วันที่ 19/05/2013   15:59:18
Hitler the Rise of Evil ชีวิตของจอมเผด็จการที่เสมือนนิยายอมตะ วันที่ 19/05/2013   16:00:23
A Bridge Too Far ศึกสะพานนรก เพราะการวางแผนผิดพลาด วันที่ 19/05/2013   16:01:54
D-Day: Men and Machines สารคดี เบื้องหลัง การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   16:03:14
ทัวร์ สงครามโลกครั้งที่สอง กับ กองพลที่ 1 สหรัฐฯ (The Big Red One) วันที่ 19/05/2013   16:04:20
Battle of the Bulge ยุทธภูมิรถถังที่อาศัยการตีความข้อมูลข่าวกรอง วันที่ 19/05/2013   16:05:30
Battle of Britain สงครามอินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   16:08:59
The Longest Day การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   16:10:08
ยุทธภูมิเลือด Stalingrad วันที่ 19/05/2013   16:11:23
Enemy at the Gates : วีรบุรุษสามัญชนจากอูราลในสมรภูมิ สตาลินกราด วันที่ 19/05/2013   16:12:27
Dark Blue World (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:14:45 article
Hart's War (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:15:49 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker