dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



Waterloo ความมโหฬารของสงครามปราบจักรพรรดิ์นโปเลียน
วันที่ 19/05/2013   18:49:19

Webmaster@iseehistory.com

31 พ.ค.2550

เคยพูดกับคุณ countryboy ว่าหลังจากเตรียมบทความต้อนรับการครบรอบ 63 ปีวันดีเดย์แล้ว จะนำภาพยนตร์เกี่ยวกับพระเจ้านโปเลียนมาคุยซะที เนื่องจากนำรูปท่านมาเป็นส่วนหนึ่งของโลโก้เว็บแล้ว ยังไม่เคยทำอะไรให้ท่านเลย ตอนแรกคิดว่าจะนำภาพยนตร์ซีรี่ส์พระประวัติของท่านซึ่งมีความยาว 6 ชั่วโมงมาคุยกัน บังเอิญได้ไปพบ VCD ภาพยนตร์เรื่อง Waterloo (1970/พ.ศ.2513) เข้าที่ร้านแห่งหนึ่งในมาบุญครอง ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่เคยฉายทางทีวีเมื่อหลายปีก่อน จึงคิดว่าคงจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้เร็วกว่า

การรบที่ Waterloo เป็นการรบที่มีชื่อเสียงมากครั้งหนึ่ง เนื่องจากเป็นสงครามครั้งสุดท้ายของพระเจ้านโปเลียนที่ต้องทรงประสบความพ่ายแพ้ จนต้องสละราชบัลลังก์ไปตลอด มูลเหตุของสงครามคงต้องท้าวความไปถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสและการขึ้นครองราชย์ของพระองค์เลย กล่าวโดยพยายามจะให้ย่อคือ หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 (พ.ศ.2332) ล้มล้างราชวงศ์บูร์บอง ฝรั่งเศสเกิดความระส่ำระสายมาตลอด เนื่องจากกลุ่มอำนาจเก่าคือเชื้อสายราชวงศ์บูร์บองก็ยังหวังที่จะกลับคืนสู่อำนาจ (จะเรียกว่าคลื่นใต้น้ำได้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ) บรรดาประเทศรอบข้างซึ่งยังปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ต่างก็กลัวการปฏิวัติจะแพร่ระบาดมายังประเทศตน ในช่วงเวลานี้ นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นวีรบุรุษจากการทำสงครามปราบปรามผู้นิยมราชวงศ์บูร์บอง การรบกับออสเตรีย และการรบในอิยิปต์ ต่อมาได้โค่นล้มคณะผู้อำนวยการ (Directory) ที่ปกครองฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็นกงสุลคนที่หนึ่ง และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ์จากการลงคะแนนในปี 1804 (พ.ศ.2347) จากนั้นได้ทำสงครามขยายพระราชอำนาจเรื่อยมา จนกระทั่งทรงประสบความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญในรัสเซีย ในปี 1812 (พ.ศ.2355) ปีถัดมาทรงพ่ายแพ้ที่เมือง Leipzig ในเยอรมัน และถูกกองทัพพันธมิตร 4 ชาติรุกเข้ามาจนเกือบถึงปารีสในปี 1814 (พ.ศ.2357)

เรื่องราวในภาพยนตร์เริ่มขึ้นตรงนี้ ที่พระราชวัง Fontainbleau วันที่ 30 เมษายน 1814 เมื่อจอมพลเนย์ (ในบทพากย์ภาษาไทย เรียกว่า "ซอเร่" ตลอดเรื่อง ไม่ทราบว่าชื่อนี้มาจากไหน แต่แหล่งข้อมูลอื่นยืนยันว่าเป็นจอมพลเนย์แน่ๆ) ขุนศึกคู่พระทัยได้กดดันให้พระจักรพรรดิ์นโปเลียนยอมรับข้อเสนอของข้าศึกที่จะให้สละราชสมบัติ แล้วเสด็จไปยังเกาะเอลบา (Elba) ในเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมด้วยราชองครักษ์ 1,000 คน ที่สุดก็ต้องทรงยอมเนื่องจากทรงทราบว่าทหารกองสุดท้ายของพระองค์ได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพออสเตรียแล้ว เสด็จไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 1814 แต่แล้วอีก 10 เดือนถัดมา จักรพรรดิ์นโปเลียนได้สเด็จหนีจากเกาะเอลบากลับมายังฝรั่งเศส จอมพลเนย์ได้ทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งครองราชย์แทนนโปเลียน อาสาที่จะไปจับนโปเลียนมาถวาย แต่เมื่อกองทัพของจอมพลเนย์กับกองทหารของนโปเลียนเผชิญหน้ากัน นโปเลียนได้กล่าวกับทหารของจอมพลเนย์ว่า "ถ้าอยากจะฆ่าจักรพรรดิ์ของเจ้า ข้าอยู่นี่แล้ว" ทหารของจอมพลเนย์ไม่ยอมลั่นไกปืนยิงนโปเลียน กลับวิ่งเข้าไปต้อนรับพระองค์ จอมพลเนย์จึงต้องยอมจำนน และพานโปเลียนกลับมาครองราชย์ดังเดิม

ฉากงานเต้นรำที่กรุงบรัสเซล ก่อนศึกใหญ่

สงครามจึงเริ่มต้นปะทุขึ้นอีก เมื่อกองทัพอังกฤษนำโดยดุ๊กออฟเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) กับกองทัพปรัสเซีย (Prussia แคว้นหนึ่งในเยอรมัน มีเบอร์ลินเป็นเมืองหลวง ซึ่งต่อมาจะเป็นแกนนำในการรวมชาติเยอรมัน) นำโดยจอมพลบลือเชอร์ (Gebhard Leberecht von Blücher  ในบทพากย์ภาษาไทยออกเสียงเป็น "บลูเกอร์") ขุนพลวัย 72 นำกองทัพมาที่ประเทศเบลเยียม เพื่อเตรียมทำสงคราม แต่แทนที่จะรวมกำลังกันกลับแยกกันเดินทัพ ในคืนวันที่ 15 มิถุนายน 1815 (พ.ศ.2358) ขณะที่เวลลิงตันกับบรรดานายทหารกำลังมีงานเลี้ยงเต้นรำกันในกรุงบรัสเซล นโปเลียนได้ทรงจัดกองทัพเข้ามาโจมตีกองทัพปรัสเซียของบลือเชอร์ ที่ ชักโตวา (บทความในวิกิพีเดียกลับเขียนว่า Charleroi) เมื่อเวลลิงตันทราบข่าว จึงรีบประชุมขุนศึก ตรวจดูจากแผนที่แล้วจึงตกลงใจที่จะรับศึกครั้งนี้ที่ Waterloo

Duke of Wellington (ชุดน้ำเงิน)

เวลลิงตันเดินทัพมาถึง Waterloo ในขณะที่จอมพลบลือเชอร์กำลังเสียทีกองทัพนโปเลียน และถอนทัพออกสนามรบเพื่อไปสมทบกับอังกฤษ ด้านนโปเลียนทรงไม่พอพระทัยที่แม่ทัพของพระองค์ไม่ได้ติดตามกองทัพปรัสเซียให้ทันท่วงที และสั่งให้นายพลกลูชี่นำกำลังประมาณ 1 ใน 3 ออกตามล่าบลือเชอร์ ทางเวลลิงตันเองก็พยายามประสานงานให้บลือเชอร์นำกองทัพมาสมทบให้ได้โดยเร็วที่สุด ท่ามกลางสภาพอากาศที่มีแต่พายุฝนกระหน่ำตลอด ทั้งฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสต้องตั้งทัพพักแรมรอการรบในวันถัดไป

นโปเลียน (ขวา) กับ จอมพลเนย์ (ซ้าย)

เช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งตามประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 1815 (พ.ศ.2358 - แสดงว่าอังกฤษเดินทัพมาสองวัน ซึ่งในเรื่องกลับไม่มีซับไตเติ้ลบอก) นโปเลียนต้องพบศัตรูหรืออุปสรรครายแรกที่ไม่ใช่อังกฤษหรือปรัสเซีย แต่เป็นสภาพธรรมชาติที่แม้ท้องฟ้าจะแจ่มใสไร้เมฆฝนและพายุ และฝนที่ตกหนักมาทั้งคืนทำให้พื้นดินเต็มไปด้วยโคลน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของปืนใหญ่ ทำเอาไม่เป็นอันเสวยพระกระยาหารเช้า อีกรายหนึ่งคือโรคปวดพระนาภี (ท้อง) ในประวัติศาสตร์ที่เคยอ่านมาระบุว่าเป็นโรคประจำพระองค์ถึงกับมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ภาพวาดของพระองค์ขณะประทับยืนมักจะทรงอยู่ในท่าล้วงกระเป๋า ทรงคลำพระนาภีที่ปวดอยู่บ่อยๆ นั่นเอง เป็นอันว่าต้องรอให้พื้นแห้งซึ่งคาดว่าเป็นประมาณเที่ยง ระหว่างนั้นแต่ละฝ่ายก็มีการตั้งแถวเตรียมพร้อม มีการร้องเพลงและตะโกนปลุกใจต่างๆ นานา

ทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส

กองทหารม้าอังกฤษ

ในที่สุด นโปเลียนได้ตัดสินพระทัยเปิดฉากการโจมตีทางขวาเพื่อหยั่งเชิงข้าศึก เสียงปืนใหญ่ฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 11.35 น. (ใครเรียนโหราศาสตร์มาลองเอาไปผูกดวงดูนะครับ พิกัดของ Waterloo ท่านว่าอยู่ที่แลตติจูด 50 องศา 40 ลิบดา 45 พิลิบดาเหนือ ลองกิจูด 4 องศา 24 ลิบดา 25 พิลิบดาตะวันออก) ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเดินหมากแก้เกมกันไปแก้เกมกันมาอยู่หลายตลบ ส่วนใหญ่นโปเลียนพยายามล่อหลอกให้เวลลิงตันถลำตัวออกมา แต่เวลลิงตันไม่ยอมหลงกลง่ายๆ ทำเอานโปเลียนทรงอึดอัดไม่น้อย แต่ก็ค่อยอัดเวลลิงตันด้วยกลวิธีต่างๆ จนค่อยๆ น่วมไปเรื่อยๆ สิ่งที่แต่ละฝ่ายเครียดเหมือนกันคือ ทางนโปเลียนก็รอว่าเมื่อไหร่กองทัพกลูชี่จะกลับมา ขณะที่ทางเวลลิงตันก็รอบลือเชอร์อยู่เหมือนกัน จนถืงจุดหนึ่ง นโปเลียนทรงปวดพระนาภีขึ้นมาอีกจนแพทย์ต้องนำเสด็จไปพักที่โรงนาแห่งหนึ่ง ในขณะที่กำลังได้เปรียบแท้ๆ ด้านเวลลิงตันเริ่มเห็นท่าจะแย่ สั่งให้ทหารทั้งหมดถอยหลังไป 100 ก้าว จอมพลเนย์เห็นเป็นโอกาสก็นำกองทหารม้าลุยเข้าไป ทางอังกฤษก็เตรียมพร้อมอยู่เหมือนกัน ทหารราบที่ตั้งแถวเป็นรูปสี่เหลี่ยมรออยู่หลายกอง ยิงต่อสู้ทหารม้าฝรั่งเศสอย่างดุเดือด นโปเลียนทรงค่อยยังชั่วกลับมาพบว่าทหารม้าลุยเข้าไปโดยไม่มีกองหนุนก็พิโรธหนัก แต่การรบยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เวลา 18.00 น. กองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดที่มั่นที่ Hougoumont ได้สำเร็จ

ทหารม้าฝรั่งเศส

ภาพทางอากาศในฉากกองทหารม้าฝรั่งเศสโจมตีทหารราบอังกฤษที่ตั้งแถวเป็นรูปสี่เหลี่ยม

ขณะที่เวลลิงตันกำลังจะเสียท่า กองทัพฝรั่งเศสกำลังดาหน้ากันเข้ามาเตรียมบดขยี้ ขุนพลเฒ่าบลือเชอร์กับกองทหารปรัสเซียก็โผล่ออกมาจากป่าพอดี นำทัพตีกระหนาบทหารฝรั่งเศส จังหวะเดียวกันนี้ เวลลิงตันก็ส่งสัญญาณให้ทหารราบกองสุดท้ายที่แอบซ่อนเอาไว้ตั้งนาน โผล่ออกมาระดมยิงใส่กองทัพฝรั่งเศสอีกแรงหนึ่ง เสียงปืนของเหล่าทหารอังกฤษในหนังตอนนี้ช่างดังคล้ายปืนกลซะจริง ทหารฝรั่งเศสที่กำลังดาหน้าเข้ามาล้มตายเป็นใบไม้ร่วง เมื่อสถานการณ์คับขันสุดจะแก้แล้ว บรรดาขุนพลฝรั่งเศสจึงต้องนำพระเจ้านโปเลียนเสด็จหนีออกจากสนามรบไป ที่น่าเศร้ายังมีทหารฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งที่ไม่ยอมหนี ทหารอังกฤษให้โอกาสวางอาวุธก็ไม่ยอม เลยต้องสังหารด้วยปืนใหญ่จนตายหมด ผลของสงครามนองเลือดครั้งนี้ นอกจากจะทำให้นโปเลียนพ่ายแพ้อย่างยับเยินหมดโอกาสครองบัลลังก์ต่อไปแล้ว ยังสร้างความสะเทือนใจให้กับเวลลิงตัน (ในเรื่อง) ซึ่งกว่าจะชนะได้ก็สูญเสียขุนศึกคู่ใจไปทีละคนๆ จนเกือบหมด ถึงกับสาบานว่าจะรบเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว (ประวัติจริงเท่าที่อ่านผ่านๆ ท่านก็ไม่ได้คุมกองทัพรบกับใครอีก แล้วมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1828 หรือ พ.ศ.2371 ครับ)

กองทหารฝรั่งเศสเดินหน้าหมายบดขยี้กองทัพเวลลิงตันก่อนสถานการณ์พลิก

จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้คือฉากการรบที่ยิ่งใหญ่ ใช้กำลังคนจริงนับหมื่นชีวิตจากกองทัพรัสเซียในการแสดง ไม่ใช่ Computer Graphic อย่างสมัยนี้ แทบจะทุกฉากจะเห็นแต่กองทหารมหึมาเคลื่อนที่ไปมาแทบจะล้นจอ ดูจาก VCD ทีแรกๆ ก็รำคาญกับภาพที่เต็มความกว้างแต่มีแถบดำตอนบนและล่างของจอ ถ้าเอาไปฉายกับจอ Wide Screen คงแย่หนักเข้าไปอีก ดีว่าดูกับจอ 17 นิ้วธรรมดา ดูไปดูมาก็ต้องยอมรับว่าภาพหนังแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ แบบนี้เหมาะกับฉากรบในหนังเรื่องนี้แล้ว ได้ใครหา DVD Wide Screen มาดูกับจอ Wide Screen 19-22 นิ้วที่ราคาเริ่มจะถูกลงในช่วงนี้ได้ คงจะได้อรรถรสมากกว่านี้ และเมื่อมีกำลังคนเยอะ ก็ต้องชมไปถึงฝ่าย Costume ที่สามารถจัดเสื้อผ้าใหักับกองทหารอันมากมายหลายชาติหลายกองได้อย่างงดงามตระการตายิ่ง ตลอดจนอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ ที่ดูสมเป็นหนังสงครามจริงๆ ด้านเพลงประกอบนั้น ในฉากรบก็แทบจะไม่ได้ใช้ เพราะลำพังเสียงเพลงดุริยางค์ และเสียงปืนต่างๆ ก็มากพอแล้ว

วงปี่พาทย์ทหารสก็อต อีกหนึ่งความอลังการในภาพยนตร์

ในบางฉากจะเห็นนโปเลียนทรงบ่นคิดถึงลูกหรือพระโอรสอยู่ ก็ขออธิบายไว้นิดนึงว่า เดิมทีนโปเลียนได้แต่งงานกับหญิงหม้ายนามว่า โยเซฟิน (Josephine de Beauharnais) ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นจักรพรรดิ์ เมื่อทรงครองราชย์ปรากฏว่าพระนางโยเซฟินทรงมีพระชนมายุเกินกว่าจะมีพระโอรสหรือธิดาได้อีก จากความกดดันต่างๆ นานา นโปเลียนจึงได้อภิเษกกับพระนางมารีหลุยส์แห่งออสเตรีย (Marie Louise of Austria) จนมีพระโอรส แต่พระนางมารีได้นำพระโอรสเสด็จหนีไปยังออสเตรียในช่วงที่ปารีสกำลังจะถูกโจมตีในปี 1814 (พ.ศ.2357) พระโอรสองค์นี้ต่อมาได้เป็นพระเจ้านโปเลียนที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Napoleon II) ครับ

ก่อนจบขอทิ้งท้ายด้วยเกร็ดความรู้ที่เคยอ่านมาจากพระราชนิพนธ์เรื่องหนึ่งในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร) ได้พระราชทานความรู้ไว้ว่า ชื่อ Waterloo ที่เราเรียกจนเคยปากว่า "วอเตอร์ลู" นั้น ภาษาพื้นเมืองจริงๆ เขาออกเสียงว่า "วาเตอร์โล" ครับ แจ้งเพื่อทราบเป็นความรู้เฉยๆ ใครจะอ่าน "วอเตอร์ลู" ตามความเคยชินต่อไปก็ไม่ว่ากันครับ คราวหน้าจะได้จัดคิวนำหนังซีรีส์เกี่ยวกับพระเจ้านโปเลียนเต็มๆ ที่พูดถึงตอนต้นมาเล่าสู่กันฟังครับ

เวลลิงตัน กับ "ชัยชนะบนซากศพที่น่าเศร้า"

คำคมชวนคิด

  • สิ่งที่ฉันรังเกียจนั้นคือความอกตัญญู นโปเลียนพูดกับจอมพลเนย์
  • ถ้าอยากจะฆ่าจักรพรรดิ์ของเจ้า ข้าอยู่นี่แล้ว นโปเลียนพูดกับกองทหารของจอมพลเนย์ที่มาสกัดจับหลังจากสเด็จหนีจากเกาะเอลบามาขึ้นบกที่ฝรั่งเศส
  • ฉันไม่อยากให้ซาร่าสวมชุดดำก่อนชุดเจ้าสาว Duchess of Richmond พูดกับ เวลลิงตัน
  • ฉันจะเจรจาสงบศึกกับศพของเวลลิงตันบนโต๊ะ นโปเลียนพูดกับเหล่าขุนศึก
  • ฉันก็มีลูกชาย ฉันยอมแลกทุกอย่างในโลกเพื่อเจอเขา แลกด้วยหัวใจและชีวิต แต่ไม่ใช่ที่นี่ ไม่อยากให้เขาเห็นการนองเลือดที่นี่ นโปเลียนพูดกับนายทหารคนหนึ่ง
  • ฉันไม่กลัวอะไรเท่ากับการยืนข้างคนปอดแหก ทหารอังกฤษคนหนึ่งพูดกับเพื่อน
  • ชัยชนะบนซากศพมันเป็นชัยชนะที่น่าเศร้าใจ Duke of Wellington รำพึงหลังจากชนะที่ Waterloo

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Waterloo

ชื่อภาษาไทย : วอเตอร์ลู สมรภูมิสงคราม

ผู้สร้าง : Dino De Laurentiis

ผู้กำกำกับ : Sergei Bondarchuk

ผู้เขียนบท : H.A.L. Craig, Sergei Bondarchuk, Vittori Bonicelli

ผู้แสดง : Rod Steiger, Christopher Plummer, Orson Welles, Jack Hawkins, Virginia McKenna, Dan O'Herlihy, Terence Alexander, Serghej Zakhariadze, Eughenj Samoilov

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ

1911 ใหญ่ผ่าใหญ่ การปฏิวัติซินไฮ่อันนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบศักดินา 3,000 ปีของจีน วันที่ 19/05/2013   18:35:25
สะดุดเลิฟ ที่เมืองรัก (Letters to Juliet) วันที่ 19/05/2013   18:36:43
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ 1980 (คลาสสิค) วันที่ 19/05/2013   18:40:30
5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น เมื่อการปฏิวัติ คือ การหลั่งเลือด วันที่ 19/05/2013   18:39:13
Kingdom of Heaven มหาศึกกู้แผ่นดิน วันที่ 19/05/2013   18:41:31
Chariots of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ ชัยชนะแห่งไฟในหัวใจอันลุกโชน วันที่ 19/05/2013   18:43:04
Master and Commander วันที่ 19/05/2013   18:43:58
FIRST KNIGHT (สุภาพบุรุษยอดอัศวิน) วันที่ 19/05/2013   18:45:00
Legionnaire คนอึดเดือดไม่ใช่คน วันที่ 19/05/2013   18:46:18
ไททานิค ภาพยนตร์ที่ลงตัวทั้งประวัติศาสตร์และนิยายโรแมนติก วันที่ 19/05/2013   18:47:27
Napoleon ศึกรบ ศึกรัก และศึกการเมือง ในชีวิตนโปเลียน วันที่ 19/05/2013   18:48:31
เอลซิด (El Cid) : ประวัติศาสตร์ หรือ ตำนาน วันที่ 19/05/2013   18:50:07
Fearless -> Truthless? วันที่ 19/05/2013   18:50:53
Veer จอมวีรอหังการ์ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:51:25 article
The Last Samurai (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:09 article
Nomad: The Warrior (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   18:52:53 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker