dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา
วันที่ 19/05/2013   19:46:02

webmaster@iseehistory.com

2 มิ.ย.2550

หลังจากราโรงไปได้ระยะหนึ่ง ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ฟอร์มยักษ์แห่งปีเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา ก็ได้จัดจำหน่ายในรูปแบบ VCD ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ขณะที่เขียนนี้ ( 2 มิ.ย. 2550) ดูเหมือนว่าการจำหน่ายภาพยนตร์รูปแบบ VCD และ DVD ในภาคนี้และภาค ๒ ที่จะตามมาจะเป็นการระดมทุนสำหรับภาค ๓ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ผมจึงไม่อาจรอให้ภาพยนตร์ออกมาครบถ้วนสมบูรณ์ทุกภาคได้ จึงขอนำมาพูดคุยกันทีละภาคครับ ขอเล่าเรื่องย่อสักนิดนึงก่อน แต่อาจจะข้ามประเด็นย่อยบ้างนะครับ เนื้อเรื่องพอจะแบ่งออกได้เป็นสามตอน เกือบจะเป็น VCD แผ่นละตอน ดังนี้

กระทั่งมารบทัพจับศึก บุเรงนองยังทรงนำสนมกำนัลมาด้วย
แฟน www.iseehistory.com คนหนึ่งถึงกับบ่นว่าเหมือน "เถ้าแก่หัวงู" มากกว่าผู้ชนะสิบทิศ

ตอนที่หนึ่ง อยู่ใน VCD แผ่นแรก จนถึงตอนต้น แผ่นที่ 2 กล่าวถึงสาเหตุที่พระนเรศวรตกเป็นองค์ประกัน จนถึงการชนไก่ ภาพยนตร์เริ่มเรื่องในราวปีพ.ศ.๒๑๐๖ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีไทยในสงครามช้างเผือก โดยเริ่มจากการตีหัวเมืองเหนือ ซึ่งมีพิษณุโลกเป็นหน้าด่านสำคัญ แม้ว่าพระมหาธรรมราชา เจ้าฟ้าแห่งเมืองสองแควจะได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ แต่เมื่อทราบข่าวว่าทางกรุงศรีอยุธยาคิดแต่จะเตรียมป้องกันตนเอง ไม่คิดส่งกองทัพมาช่วย (ในประวัติศาสตร์และในสารคดีตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กล่าวว่าระหว่างที่รบกันนั้นได้เกิดโรคระบาดในเมืองพิษณุโลกด้วย) พระมหาธรรมราชาจึงได้ทรงยอมแพ้ต่อกองทัพพระเจ้าบุเรงนอง ๆ ได้ขอพระราชทานสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ ราชบุตรองค์โตของพระมหาธรรมราชาไปเป็นองค์ประกัน โดยทรงสาบานว่าจะเลี้ยงดูเช่นราชบุตร จากนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จกรีธาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา กองทัพไทยโดยการนำของพระราเมศวร ราชบุตรของพระมหาจักรพรรดิ์ ได้ต่อสู้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ แต่ข้าราชการจำนวนมากไม่เห็นด้วย ในที่สุด พระมหาจักรพรรดิ์ ได้ขอเจรจาสงบศึกกับพระเจ้าบุเรงนอง ๆ มีข้อแม้ขอช้างเผือกจากเดิมที่ได้ทูลขอก่อนเกิดสงคราม ๒ เชือก เพิ่มเป็น ๔ เชือก และขอพระราเมศวร ออกญาจักรี และพระสุนทรสงคราม (ซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นแกนนำในการคัดค้านการถวายช้างเผือกแก่พระเจ้าบุเรงนองจนเกิดสงคราม) ไปเป็นองค์ประกันและตัวประกัน ณ กรุงหงสาวดี

บุเรงนองกับพระองค์ดำ คอร์สแรกเป็นการบรรยายการรบท่ามกลางบรรยากาศจริงในสงครามช้างเผือก

เมื่อพระองค์ดำมาประทับ ณ กรุงหงสาวดี ได้ทรงม้าเสด็จประพาสตลาดโยเดีย หรือชุมชนชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยในเมืองหงสาวดี ได้ช่วยเด็กกำพร้าที่เป็นขโมยคนหนึ่งไว้และนำกลับมาเป็นข้ารับใช้ เมื่อกลับเข้ามาในกำแพงวัง พบกับ มังสามเกียด (บางแห่งเขียนเป็น "มังสามเกลียด") ราชบุตรพระมหาอุปราชา หรือพระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ลักไวทำมู ซึ่งตามเสด็จมังสามเกียด ได้พยายามบังคับให้พระองค์ดำถวายบังคมมังสามเกียดจนเกิดการใช้กำลังกัน พระเจ้าบุเรงนองเสด็จมาพบและทรงห้าม พร้อมทั้งมีพระดำรัสให้มังสามเกียดเป็นฝ่ายคารวะพระองค์ดำตามศักดิ์ จากนั้นได้ตรัสให้พระองค์ดำเสด็จไปโรงศัตราวุธในวันรุ่งขึ้น

วันต่อมาเมื่อพระองค์ดำเสด็จไปยังโรงศัตราวุธ ได้พบกับพระมหาเถรคันฉ่อง ๆ ขอให้องค์ดำไปพบที่วัดในวันถัดไป และตั้งชื่อเด็กกำพร้าที่พระองค์ดำทรงช่วยไว้ว่า "บุญทิ้ง" เมื่อพระองค์ดำไปที่วัด ได้รู้จักกับมณีจันทร์ เด็กวัดที่เป็นหญิงเป็นครั้งแรก พระมหาเถรคันฉ่องให้ขอให้พระองค์ดำทรงผนวชเป็นสามเณรโดยมีบุญทิ้งเป็นเด็กวัดทำหน้าที่รับใช้และเรียนวิชาการต่างๆ ไปพร้อมกัน วันหนึ่ง มีไก่ชนตัวหนึ่งหลงเข้ามาในวัด ลุงสีอ่องซึ่งอยู่ข้างวัดเห็นเป็นไก่ไทยลักษณะดี จึงขอให้พระองค์ดำและบุญทิ้งนำไก่ตัวนี้ซึ่งตั้งชื่อว่า "พระเจ้าห้าพระองค์" ไปตีกับไก่ของขุนเดช จนปลดหนี้สินของสีอ่องได้ แม้พระมหาเถรคันฉ่องจะลงโทษพระองค์ดำและบุญทิ้งฐานทรมานสัตว์ แต่เมื่อพระองค์ดำมีพระประสงค์จะนำพระเจ้าห้าพระองค์ไปตีกับไก่ของมังสามเกียด พระมหาเถรฯ ก็ยอมโดยขอให้ทรงสัญญาว่าจะไม่ชนไก่อีก ในการชนไก่หน้าต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าห้าพระองค์สามารถเอาชนะไก่ของมังสามเกียดได้ สร้างความอาฆาตแค้นให้กับมังสามเกียดและลักไวทำมูยิ่งขึ้น

 

ถัดมา ตอนที่ 2 เป็นความขัดแย้งระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพิษณุโลก และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ พระไชยเชษฐาแห่งกรุงศรีสตนาคนหุต (ล้านช้าง) ส่งคณะทูตมากราบทูลขอพระเทพกษัตรีจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ๆ พระราชทานให้ พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเรื่องจากพระมหาธรรมราชา จึงได้ส่งกำลังทหารไปชิงพระเทพกษัตรีกลางทาง พระเทพกษัตรีไม่ทรงยอมเป็นบาทบริจาริกาของพระเจ้าบุเรงนอง จึงปลงพระชนม์พระองค์เองต่อหน้าพระพักตร์ จากนั้นเกิดความขัดแย้งระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองพิษณุโลก โดยพระมหินทร์พระโอรสสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ส่งสาส์นขอให้พระไชยเชษฐา กรุงศรีสตนาคนหุต ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก แล้วพระมหินทร์ทำทีเป็นยกทัพไปช่วย โดยหวังจะจับพระมหาธรรมราชา แต่ขุนนางของพระมหินทร์แปรพักตร์ พระมหาธรรมราชา จึงส่งแพไฟมาโจมตีทัพอยุธยาจนต้องล่าถอยไป จากนั้น พระมหาธรรมราชาทูลขอให้พระเจ้าบุเรงนองนำทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา กองทัพหงสาวดีไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้อย่างที่คิดเกิดเป็นศึกยืดเยื้อ ทำท่าว่าจะไม่สำเร็จก่อนฤดูน้ำหลาก ออกญาจักรีที่ตามเสด็จพระราเมศวรไปหงสาวดีในคราวสงครามช้างเผือกอาสาเป็นไส้ศึก พระมหินทร์ซึ่งครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ที่สวรรคตระหว่างศึกได้ไว้ใจให้ออกญาจักรีบัญชาการการป้องกันกรุงศรีอยุธยา แต่ออกญาจักรีกลับสับเปลี่ยนกำลังคน และลักลอบส่งสัญญาณให้ทหารพม่าเข้ามาเปิดประตูเมือง ทัพพระเจ้าบุเรงนองจึงสามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ (พ.ศ.๒๑๑๒) พระเจ้าบุเรงนองทรงขอให้พระมหินทร์ตามเสด็จไปยังกรุงหงสาวดี โดยมอบให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาแทน ก่อนเสด็จยกทัพกลับยังได้ทูลขอพระสุพรรณกัลยาจากพระมหาธรรมราชาและลงโทษออกญาจักรี โดยอ้างว่าหากทรยศต่ออยุธยาได้ก็อาจทรยศต่อหงสาวดีในภายหน้า

กรุงศรีอยุธยาแตก!

ตอนสุดท้าย ในแผ่นที่ 3 กล่าวถึงการเสด็จกลับจากหงสาวดี พระสุพรรณกัลยาเมื่อตามเสด็จพระเจ้าบุเรงนองมาหงสาวดี ก็ยังไม่ทรงยอมถวายองค์ ฝ่ายพระมหินทร์ได้ทรงพระประชวรและทิวงคตหลังจากพระองค์ดำไปเยี่ยมได้ไม่นาน พระเจ้าบุเรงนองได้โปรดให้นำหีบขนาดใหญ่หีบหนึ่งมาไว้ยังวัดของพระมหาเถรคันฉ่อง พระองค์ดำและบุญทิ้งแอบดูจนรู้ว่าเป็นหีบเครื่องศัตราวุธ ได้แก่ พระแสงปืนต้น และศัตราวุธอื่นๆ ที่นำมาจากกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรฯ ได้ถวายมณีจันทร์แก่พระสุพรรณกัลยา ด้านพระองค์ดำเป็นที่ริษยาของราชนิกูลหงสาวดีมากขึ้น วันหนึ่ง ลักไวทำมู จ้างให้ขุนเดช ส่งลูกน้องไปจับบุญทิ้งเพื่อล่อให้พระองค์ดำมาช่วยแล้วกำจัด แต่ไม่สำเร็จ พระองค์ดำจึงมีพระดำริที่จะเสด็จหนีออกจากหงสาวดี โดยทรงชวนพระสุพรรณกัลยาไปด้วย แต่พระสุพรรณกัลยากลับไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อต่อรองถวายองค์แลกกับอิสรภาพของพระองค์ดำ พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงส่งทหารไปห้ามลักไวทำมูที่กำลังขัดขวางการเสด็จหนี ทำให้พระองค์ดำสามารถเสด็จออกจากหงสาวดีได้สำเร็จ

ข้อสังเกตส่วนตัวของผม ได้แก่

  • พระนเรศวรฯ หรือ พระองค์ดำ ได้เรียนอะไรแค่ไหนและจากใคร(บ้าง)ในระหว่างเป็นองค์ประกัน พระเจ้าบุเรงนองเองน่าจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้ถวายความรู้แก่พระองค์ ดังในเกร็ดประวัติศาสตร์ภายหลังตีเมืองคังสำเร็จ ได้ตรัสกับพระมหาอุปราชามังสามเกียดว่าพระเจ้าบุเรงนองเป็นผู้สอนพระองค์ แต่ในภาพยนตร์ พระมหาเถรคันฉ่องเป็นทั้งผู้ถวายพระอักษรและวิชาการต่อสู้ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ มีแต่ฉากที่พระเจ้าบุเรงนองกับพระองค์ดำประทับช้างร่วมกันในสงครามช้างเผือก และในฉากท้องพระโรงก่อนลงมือชิงพระเทพกษัตรีเท่านั้นที่เหมือนกับว่าพระเจ้าบุเรงนองพยายามสอนอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่เด่นอะไรนัก เทียบกับการฝึกอาวุธของมังสามเกียดที่เห็นในบางฉาก กับคำถามในใจที่ว่าแล้วเจ้าฟ้าเมืองอื่นที่เป็นองค์ประกันอย่างพระนเรศวรล่ะ มีหรือไม่ อยู่ที่ไหน เหมือนบุเรงนองทรง Double หรือ Multi Standard ยังไงก็ไม่ทราบ ในสารคดี ตามรอย ตำนาน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังได้กล่าวถึงภาพวาดการประกวดประชันการใช้อาวุธระหว่างเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ ที่ศึกษาเล่าเรียนด้วยกันในหงสาวดีอีกด้วย แต่ภาพเหตุการณ์ทำนองนั้นไม่มีปรากฏในภาพยนตร์เลย

  • เรื่องการตีไก่นั้น เป็นประเด็นหนึ่งที่หลักฐานประวัติศาสตร์ไทยแย้งกันอย่างมาก ก่อนเขียนบทความนี้ ผมพบว่าใน ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่าเกิดขึ้นระหว่างที่พระนเรศวรประทับในกรุงหงสาวดีหลังจากตีเมืองคังแล้ว หากอ่านในหลักฐานอื่น อาจจะเจอความขัดแย้งมากกว่านี้อีก แต่ภาพยนตร์เลือกที่จะให้ปรากฏเหตุการณ์นี้ในระหว่างเป็นองค์ประกันหงสาตามที่ประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักเชื่อกัน ส่วนที่สมาชิก www.iseehistory.com ท่านหนึ่งบ่นว่าเน้นเรื่องไก่เชลยมากไปหรือเปล่า ผมมองว่าเป็นเทคนิคการแต่งเรื่องในเชิงสัญลักษณ์ครับ

  • การที่พระไชยเชษฐาแห่งกรุงศรีสตนาคนหุตทูลขอพระเทพกษัตรีนั้น มีเบื้องหลังมากกว่าที่กล่าวในภาพยนตร์ คือในปีพ.ศ.2107 พระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จไปปราบเชียงใหม่ที่แข็งเมือง พระเจ้าเชียงใหม่ยอมแพ้ แต่เจ้าเมืองเหนืออื่นๆ หนีไปพึ่งกรุงเวียงจันทน์ พระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องรีบกลับไปปราบกบฎในหงสาวดีมอบให้พระมหาอุปราชายกทัพไปรบกับทางศรีสตนาคนหุต พระไชยเชษฐาเสียเปรียบในระยะแรกต้องทิ้งเวียงจันทน์ไปตั้งหลักในป่า กว่าจะกลับมายึดเมืองคืนได้ ปรากฏว่าพระญาติและนางสนมกำนัลต่างๆ ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเสียมาก การขอพระเทพกษัตรีจึงเป็นทั้งการหาพระมเหสีใหม่และการหาพันธมิตรไปพร้อมกัน เรื่องราวที่เป็นสาเหตุน่าจะมีการกล่าวถึงบ้าง แม้เพียงการบรรยายหรือการบอกเล่าของตัวละครอื่นสักหน่อย
  • ปัญหาเรื่องภาษาพูด หากกำหนดให้ตัวละครพูดภาษาของชาติตนคงจะดูยาก การดำเนินเรื่องจึงต้องใช้ภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ แม้จะขาดความสมจริงไปบ้าง ก็พอรับได้เป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนตัวผมรู้สึกขัดๆ มากที่สุดตรงฉากท้องพระโรงกรุงศรีสตนาคนหุต ที่พระไชยเชษฐาและบรรดาขุนนางต่างก็ "พูดไทย" แทนที่จะ "เว้าลาว" แต่ถ้าฉากนี้ "เว้าลาว" กันแล้ว ฉากเมืองหงสาจะต้องพูดภาษาพม่ามอญก็คงยุ่งกันใหญ่ คงต้องยกผลประโยชน์ให้

  • สถานะของอยุธยากับพิษณุโลกนั้น ความรู้ทางประวัติศาสตร์ในระยะหลังรวมถึงในสารคดีตามรอยสมเด็จพระนเรศวรนั้น อธิบายว่าในเวลานั้นแทบจะเหมือนคนละประเทศหรือคนละแคว้นกันเลย แต่แล้วในภาพยนตร์เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เจ้าหนูมังสามเกียดกลับไปเยาะเย้ย สามเณรพระองค์ดำว่ากำลังจะเสียบ้านเมือง ซึ่งอาจจะถูกในแง่ที่ว่าอยุธยากับพิษณุโลกเป็นคนไทยด้วยกัน แต่จะขัดกับความเป็นจริงดังกล่าวในตอนต้น และขัดกับเหตุการณ์ในภาพยนตร์ที่พระองค์ดำได้ "เสียเมือง" มาตั้งแต่ตอนต้นเรื่องจนต้องมาเป็นองค์ประกัน แต่ในการที่อยุธยากำลังจะเสียกรุงนั้น พระมหาธรรมราชาพระบิดาของพระองค์ดำเป็นผู้มาทูลพระเจ้าบุเรงนองเอง แล้วก็เสด็จร่วมทับไปด้วย และเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว พระบิดาของพระองค์ดำนั่นแหละที่ได้ครองราชย์แทน แล้วอย่างนี้เจ้าหนูมังสามเกียดควรจะเยาะเย้ยอะไรพระองค์ดำด้วยหรือ เด็กเอ๋ยเด็ก
  • ลักไวทำมูซึ่งคงจะเป็นคนเดียวกับที่จะมาถูกพระนเรศวรแทงตกม้าตายหลังการประกาศเอกราช ดูจะ "แก่" เกินกว่าที่จะออกไปบู๊เองอย่างนั้นในภายหลัง สรพงศ์ ชาตรี ก็ยัง "แก่" น้อยไปหากเป็นพระอาจารย์ของบุเรงนองมาก่อน ส่วนตัวละครรุ่นเด็กนั้น จะ "เด็ก" เกินไปในช่วงท้ายเรื่องซึ่งอยู่หงสามาประมาณ 6 ปี หรือจนอายุประมาณ 15-16 ปี นั้นแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวกันแล้ว เจ้าบุญทิ้งถึงได้ไปจีบสาวจนโดนจับตัวเป็นเหยื่อล่อพระองค์ดำ ถ้ายอมลงทุนหาผู้แสดงอีกรุ่นที่อายุช่วงดังกล่าวจะดูสมจริงกว่า แต่ก็ชอบฉากของเด็กๆ ที่ดูกุ๊กกิ๊กน่ารักดี

  • ออกญาจักรี ผู้ร้ายตลอดกาลของประวัติศาสตร์อยุธยานั้น น่าสังเกตว่าเดิมทีเป็นผู้ที่เคยคัดค้านการมอบช้างเผือกให้พระเจ้าบุเรงนองจนเกิดสงครามช้างเผือกขึ้น การที่ท่านกลับมาเป็นไส้ศึกจนเสียชื่อเสียงมาเป็นร้อยๆ ปีเช่นนี้ น่าจะมีเหตุเบื้องลึกที่น่าจะวิเคราะห์อธิบายให้มากกว่าที่เป็นอยู่ และการที่ตะแกถูกพระเจ้าบุเรงนองลงโทษโดยข้ออ้างง่ายๆ เช่นว่านั้น แล้วพระมหาธรรมราชากับใครต่อใครอีกหลายคนที่ร่วมมือกับบุเรงนองล่ะ? สาเหตุการลงโทษน่าจะมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากว่านั้นเช่นกัน เพื่อนผมคนหนึ่งมองว่าบุเรงนองอาจเห็นศักยภาพบางอย่างในการทำให้พระมหินทร์ (และคนอื่นๆในอยุธยา?) เชื่อว่าคำแนะนำต่างๆ หรือหากดูในภาพยนตร์เองตอนที่ออกญาจักรีอาสาได้ยื่นข้อเสนอขอเก็บภาษีผู้ไปแสงบุญเจดีย์ชเวดากอง ทำเอาพระเจ้าบุเรงนองทรงอึ้งไปเลย นี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ต้องกำจัดภายหลังเพราะเรียกร้องสูงเกินไป

  • พูดถึงออกญาจักรีแล้ว อีกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน คือในประวัติศาสตร์นั้น เดิมที พระยาราม เป็นผู้บัญชาการป้องกันกรุงศรีอยุธยา รบกันไปรบกันมา พระมหินทร์ได้เคยขอเจรจาหย่าศึกกันครั้งหนึ่ง บุเรงนองอ้างว่าถ้าส่งพระยามรามให้แล้วจะยอมถอยทัพ แต่พอได้ตัวพระยารามแล้ว บุเรงนองก็ทรงพระเบี้ยวตรัสว่าพระมหินทร์ต้องยอมเป็นองค์ประกันด้วย จึงต้องรบกันต่อ พอพระมหินทร์ได้ออกญาจักรีกลับมาถึงได้เอามา "เสียบ" แทนพระยาราม จนต้องเสียกรุง แต่ในภาพยนตร์ ไม่ได้กล่าวถึงการส่งตัวพระยารามให้พม่าแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ เมื่อออกญาจักรีเข้ามาแล้ว ยังได้ออกคำสั่งกับ "พระยาราม" ที่แต่งชุดขุนศึกไทย แต่พูดจาสำเนียงฝรั่งอีกด้วย โอ้! มายก็อด มานเปนปายด้ายยางงายกัน
  • ในตอนต้นเรื่องเมื่อพระนเรศวรเสด็จมาเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองครั้งแรก ก็มีแต่การพูดจาปะทะคารมกันเล็กน้อย แต่พอตอนหลัง บุเรงนองเล่าเรื่องให้พระมหาเถรคันฉ่องฟังกลายเป็นว่าพอพระนเรศวรเสด็จมาพบก็มีพายุพัดแรงมาก แล้วทำไมไม่โชว์พายุตั้งแต่ตอนแรกของภาพยนตร์?

  • สามเณรพระองค์ดำเรียนกับพระมหาเถรเมืองหงสาวดี แต่ไหงกระโดดเตะผู้ร้ายสองคนพร้อมกันได้ยังกับศิษย์วัดเส้าหลิน?
  • แต่โดยรวมแล้ว การได้ดูภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทยที่พิถีพิถันอลังการอย่างนี้ ก็น่าประทับใจ ชวนให้รักชาติรักวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดีครับ

คำคมชวนคิด

  • ตราบใดที่ไม่สู้ ไก่เชลยก็จะเป็นเชลยตลอดไป บุญทิ้ง กราบทูล สามเณรองค์ดำ
  • ไก่ของหม่อมฉันนี้ใช่เลี้ยงไว้ชนเอาสนุกชั่วครู่ยาม จะตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้ สามเณรองค์ดำ ตรัสกับ มังสามเกียด
  • ข้าทนไม่ได้ที่จะถูกแย่งไปมาประหนึ่งสิ่งของที่ปราศจากวิญญาณ เพียงเพราะเป็นบุตรีของพระสุริโยไท...ไม่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พิชิตไปทั่วทศทิศ แต่พระองค์ก็ไม่สามารถพิชิตวิญญาณของหญิงผู้นี้ได้ พระเทพกษัตรี ทูล พระเจ้าบุเรงนอง ขณะปลงพระชนม์พระองค์เอง
  • สรรพวิทยาทั้งสิ้นทั้งปวงที่อาตมาสอนให้มหาบพิตร หามีความสำคัญไม่ ที่สำคัญที่สุดคือมหามิตรและบริวารที่จะตายแทนพระองค์ได้ เพราะมันรู้ว่าพระองค์จะตายแทนพวกมันได้เช่นเดียวกัน นั่นคือาวุธที่ดีที่สุดที่พระองค์จะมีได้ เหนือสรรพวิทยาทั้งปวงที่อาตมาสอน พระมหาเถรคันฉ่อง ถวายพระพร พระองค์ดำ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ผู้อำนวยการสร้าง : หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา, คุณากร เศรษฐ

ผู้กำกำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

ผู้เขียนบท : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท

ผู้แสดง : (เฉพาะภาคนี้) ฉัตรชัย เปล่งพานิช, ศรัณยู วงศ์กระจ่าง, สมภพ เบญจาทิกุล, สันติสุข พรหมศิริ, สรพงษ์ ชาตรี, เกรซ มหาดำรงค์กุล, จักรกฤษณ์อำมะรัตน์, ปวีณา ชารีฟสกุล, ด.ช.ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์, ด.ช.จิรายุ ละอองมณี, ด.ญ.สุชาดา เช็คลีย์, ด.ช.โชติ บัวสุวรรณ ฯลฯ

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker