dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Bridge on the River Kwai สะพานข้ามแม่น้ำแคว

เว็บไซต์ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงภาพยนตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมรภูมิที่นับว่าอยู่ไกลมาหลายเรื่องแล้ว คราวนี้ถึงคิวของเรื่องในประเทศไทยเราเองบ้างแล้ว แม้จะยังคงเป็นภาพยนตร์ฝรั่ง แต่ก็เกี่ยวข้องกับฝรั่งที่มาตกทุกข์ได้ยากในเมืองไทย นั่นคือเรื่องของการสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำแคว อันเป็นส่วนหนึ่งของทาง รถไฟสายมรณะ ที่ว่ากันว่า ทางรถไฟสายนี้ ใช้แรงงานและชีวิตเชลยศึกเปลืองประมาณว่า 1 ไม้หมอนต่อ 1 ชีวิตเลยทีเดียว แต่จะเป็นเรื่องน่าเสียดายหรือน่ายินดีก็ไม่ทราบ ที่ภาพยนตร์เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว หรือ The Bridge on the River Kwai (สร้างในปี 1957/พ.ศ. 2500 ) นี้ ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงอันโหดร้ายทารุณถึงขนาดที่กล่าว รวมถึงความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงอื่นๆ ทั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างจากนวนิยายทหารผ่านศึกชาวฝรั่งเศส ที่เป็นหนึ่งในเชลยศึกที่ถูกจับมาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควนั้นเอง เขามีนามว่า Pierre Boulle นวนิยายมีชื่อเรื่องในภาษาอังกฤษว่า The Bridge over the River Kwai (ตกลงมันจะใช้ Preposition อะไรกันละเนี่ย?) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1952 (พ.ศ.2495) ส่วนเรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์ มีดังนี้

เรื่องเริ่มขึ้นในฉากที่เชลยศึกสองคนกำลังฝังศพเพื่อนเชลยรายหนึ่ง (เดาจากเหตุการณ์ในเรื่องว่าเป็นเดือนมกราคม 1943 หรือ พ.ศ.2486) เชลยหนึ่งในสองคนดังกล่าวนั้นเป็นนายทหารเรือผู้มีนามว่านาวาโท เชียร์ส (Navy Commander Shears) หลังจากฝังศพดังกล่าว เขาได้ติดสินบนนายทหารญี่ปุ่นให้นำเขากับเพื่อนไปพักใน "โรงพยาบาล" ของค่ายเชลยศึก (ซึ่งที่จริงเป็นแค่เรือนนอนของคนไข้ทำด้วยไม้) เมื่อทั้งสองไปถึงโรงพยาบาล เป็นเวลาเดียวกับที่เชลยศึกกลุ่มใหม่ซึ่งเป็นทหารอังกฤษโดยการนำของพันเอกนิโคลสัน (Colonel Nicholson) เดินทางมาถึง ผู้บัญชาการค่ายเชลยนามว่าผู้การไซโตะ (Colonel Saito) ได้ออกมากล่าวชี้แจงระเบียบของค่ายรวมถึงภารกิจที่เชลยศึกทุกคนทุกชั้นยศจะต้องเป็นแรงงานในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งมีความสำคัญต่อทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยังกรุงร่างกุ้ง วันรุ่งขึ้น ความขัดแย้งระหว่างผู้การหัวหน้าค่ายกับผู้การหัวหน้าเชลยศึกเริ่มขึ้น เมื่อทางฝ่ายผู้การนิโคลสันปฏิเสธการที่ตนเองและนายทหารอังกฤษทุกคนจะต้องไปเป็นแรงงานในการสร้างสะพาน โดยอ้างถึงสนธิสัญญากรุงเจนีวา ผู้การไซโตะไม่พอใจถึงกับเตรียมรถปืนกลมาเพื่อยิงนิโคลสันกับพรรคพวก แต่นายพันตรีคลิปตัน (Major Clipton) ผู้เป็นเสนารักษ์หรือหมอได้มาห้ามไว้ ผู้การไซโตะจึงสั่งให้นำนายทหารอังกฤษที่ประท้วงไปขังและแยกผู้การนิโคลสันไปขังเดี่ยวในที่ซึ่งผมไม่รู้จะใช้คำภาษาไทยว่าอะไร ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Box ภาพที่เห็นในหนังมันเหมือนเพิงขนาดบ้านหมาที่เป็นไม้ทั้งหลังเมื่อปิดฝาด้านหน้า ผู้การนิโคลสันจะต้องเข้าไปนั่งขดตัวอยู่ในนั้นโดยไม่เห็นแสงเดือนแสงตะวัน แต่ในเวลากลางวันนั้นคงไม่ต่างจากเตาอบเลย ในระหว่างที่ผู้ชมกำลังลุ้นว่าผู้การนิโคลสันจะเป็นตายอย่างไรต่อไปนั้น คืนหนึ่ง เชียร์ส กับเชลยอีกสองคนได้พยายามหลบหนี เพื่อนเชลยทั้งสองถูกยิงตาย ส่วนเชียร์สถูกยิงตกน้ำลอยไปขึ้นฝั่งที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านได้มอบเรือลำหนึ่งให้เชียร์สใช้หลบหนีต่อไปจนถึงปากอ่าว และได้รับความช่วยเหลือให้ไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่กรุงโคลัมโบ ณ ศรีลังกา (ณ เวลานั้นคงเรียกว่า "ประเทศ" ได้ไม่เต็มปากเต็มคำขอเรียกอย่างนี้ก็แล้วกันครับ)

ผู้การไซโตะ (ซ้าย) และผู้การนิโคลสัน (ขวา)

ปัญหาจากการสร้างสะพาน ณ จุดที่ญี่ปุ่นกำหนดเอง

ย้อนกลับมาที่ค่ายเชลยศึก แม้ว่าผู้การไซโตะจะดูเหมือนถือไพ่เหนือผู้การนิโคลสัน แต่ปัญหาคือไซโตะได้รับเส้นตายให้สร้างสะพานให้เสร็จในวันที่ 12 พฤษภาคม ซึ่งหากไม่สำเร็จตะแกจะต้องคว้านท้องฆ่าตัวตายตามกฎบูชิโด เมื่อปรากฏว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากเชลยศึกเท่าที่ควร ไซโตะจึงได้เรียกนิโคลสันมาพบเพื่อบีบให้ยอมให้ความร่วมมือ แต่นิโคลสันก็ยังคงดื้อเหมือนเดิม ในที่สุด วันหนึ่งไซโตะต้องยอมแพ้โดยอ้างวันครบรอบวันที่เริ่มสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย (10 กุมภาพันธ์ 1904 - 5 กันยายน 1905 แต่ตามปฏิทินแบบไทยสมัยนั้นที่ขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน จะเป็น 10 ก.พ.2446 ถึง 5 กันยายน 2448) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ ในการผ่อนปรนยอมตามต้องการของนิโคลสัน เมื่อนิโคลสันกับคณะนายทหารซึ่งมีประสบการณ์การสร้างสะพานหลายแห่งในอินเดียเริ่มสำรวจงานสร้างสะพานเพื่อเสนอรายงาน ไซโตะก็ต้องหน้าแตกซ้ำสองเมื่อปรากฏว่าดินใต้ท้องน้ำตรงที่สร้างสะพานนั้นเป็นโคลน ไม่สามารถรองรับน้ำหนักสะพานได้ แม้สร้างสะพานได้ก็จะพังในทันทีที่รถไฟขบวนแรกมาถึง จึงเสนอให้ย้ายจุดที่สร้างสะพานไปอีกประมาณ 400 หลาทางปลายน้ำ พร้อมทั้งเห็นว่าควรจัดระบบระเบียบแรงงานในการสร้างสะพานเสียใหม่ ซึ่งไซโตะก็ต้องยอมตามทั้งหมดเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา ด้านผู้พันหมอคลิปตันได้พยายามเตือนนิโคลสันว่าการกระทำของเขาเป็นเหมือนการให้ความร่วมมือกับข้าศึก แต่นิโคลสันให้เหตุผลว่าการประท้วงของเขาแต่แรกจนถึงขณะนี้นั้น เป็นการรักษาเกียรติของทหารอังกฤษในอันที่จะสร้างผลงานในฐานะที่เป็นทหาร ไม่ใช่ในฐานะเชลยหรือแรงงาน คล้ายกับว่าวิธีการของเขาจะพิสูจน์ว่ากองทัพอังกฤษมีประสิทธิภาพและศักดิ์ศรีเหนือกว่ากองทัพญี่ปุ่นและเป็นมรดกตกทอดต่อคนรุ่นหลังอะไรประมาณนั้น เล่นเอาผู้พันหมอคลิปตันกับคนดูอย่างผมงงๆ อยู่เหมือนกัน

ผู้การนิโคลสันกับคณะ ตรวจการก่อสร้างสะพาน

ทางด้านเชียร์สมีความสุขอยู่ที่โรงพยาบาลในศรีลังกาได้ไม่นาน ความหวังที่จะได้กลับบ้านที่อเมริกาก็พังลงเมื่อนายพันตรีวอร์เดน (Major Warden) แห่งกองทัพอังกฤษขอให้เชียร์สร่วมทีมกับเขาในการที่จะกลับไปทำลายสะพานข้ามแม่น้ำแควอันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญดังกล่าว ตอนนี้ความได้แตกออกมาแล้วว่ายอดชายนายเชียร์สของเราแท้จริงเป็นแค่พลทหารชั้นสองในเรือลำหนึ่ง ที่ก่อนถูกจับได้เอาเครื่องแบบของนายทหารที่ตายมาสวมเพื่อหวังว่าความเป็นอยู่ในค่ายเชลยจะดีกว่า แต่อีตาผู้การไซโตะแกคิดแต่จะใช้แรงงานเชลยโดยไม่สนใจยศดังที่กล่าว เมื่อพระเอกของเรารอดมาได้ ทางกองทัพเรือสหรัฐฯ ค่อนข้างกระอักกระอ่วนใจที่จะรับกลับฐานแอบอ้างเป็นนายทหาร เลยยกตาคนนี้ให้กองทัพอังกฤษไปซะเลย ผู้พันวอร์เดนได้เสนอให้เชียร์สทำงานกับเขาแลกกับยศนายพันตรี ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า " "simulated rank" of major" บทพากย์ภาษาไทยใช้ว่า "พันตรีเทียม" (จะตรงกับ "ว่าที่พันตรี" หรือเปล่าไม่ทราบ แต่คำที่ผมคิดได้นี้ก็ฟังดูดีเกินไปสำหรับคนที่ก้าวกระโดดจากพลทหารแบบไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไหร่) อีตาพระเอกของเราก็ต้องจำยอมร่วมทีมปฏิบัติการพิเศษของวอร์เดนกลับมากระโดดร่มที่เมืองไทยที่หมู่บ้านเดิมที่เคยช่วยเขาไว้ นายเชียร์สของเราอุตส่ารอดตายมาได้แม้ว่าจะไม่เคยกระโดดร่มมาก่อนเลย คนที่ตายกลับเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งในทีม คงเหลือเพียง วอร์เดน เชียร์ และจอยส์ และมีชาวบ้านร่วมสมทบ ประกอบด้วย "ใหญ่" (คงจะเป็นผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง จะบังเอิญชื่อ "ใหญ่" ด้วยหรือเปล่าก็ช่างเถอะ) กับลูกหาบสาวหน้าแฉล้มแช่มช้อยอีก 6 คน (ในเรื่องบอกว่าคนหนุ่มๆ ถูกญี่ปุ่นเกณฑ์ไปเป็นแรงงานหมด ทำให้ใหญ่ไม่ชอบญี่ปุ่นและยอมช่วยทีมในการนำทางและขนของให้กับคณะของวอร์เดน)

วอร์เดนกับคณะวางแผนกันที่ศรีลังกา

คณะของวอร์เดนพักการเดินทางในป่า

วางแผนเมื่อถึงที่หมาย

ทางด้านนิโคลสันยังคงตั้งอกตั้งใจสร้างสะพานจนถึงขนาดต้องขอร้องให้คนเจ็บที่ยังพอทำอะไรได้บ้างออกมาช่วยงานที่พอจะทำไหว และตัวเองกับนายทหารที่เคยปฏิเสธจะเป็นแรงงานก็ต้องออกแรงด้วย เพื่อให้ทันตามกำหนด ด้านวอร์เดนกับคณะพบอุปสรรคเล็กน้อย คือวอร์เดนได้รับบาดเจ็บที่ท้าวขณะตามไปฆ่าปิดปากทหารญี่ปุ่นที่มาพบคณะของตน แล้วก็อุตส่าประคองกันมาจนถึงที่หมายในวันที่สร้างสะพานเสร็จพอดีเหมือนกัน พอตกกลางคืน ขณะที่คณะของนิโคลสันกำลังฉลองความสำเร็จในการสร้างสะพาน เชียร์สกับจอยส์ก็ลอบลอยแพนำระเบิดไปวางตามเสาสะพาน ลากสายไปยังที่กำบังซึ่งจอยส์รับหน้าที่กดระเบิด ณ ฝั่งตรงข้ามกับที่คนอื่นในคณะคอยคุ้มกันอยู่ กำหนดที่จะกดระเบิดในวันรุ่งขึ้นเมื่อรถไฟขบวนแรกจะมาถึง เช้าขึ้นมาปัญหาที่ทีมระเบิดพบคือน้ำลดลงอย่างมากจนสายชนวนที่อุตส่าซ่อนไว้ใต้น้ำแต่แรกโผล่ขึ้นมา แล้วก็เป็นปัญหาขึ้นมาจริงๆ แต่ผู้ที่พบความผิดปกติไม่ใช่บรรดาทหารญี่ปุ่นที่ยืนเฝ้าเป็นเสาหินบนสะพานหรอกครับ แต่เป็นยอดชายนายพันเอกนิโคลสันผู้ลงทุนลงแรงสร้างสะพานเพื่อเกียรติยศตามแนวคิดของแกนั่นเอง แล้วยังได้ลากผู้การไซโตะเดินตามสายชนวนไปจนเกือบถึงตัวจอยส์ ๆ จึงกระโดดออกมาใช้มีดเก็บผู้พันไซโตะ และเกิดการต่อสู้กับนิโคลสัน คราวนี้เลยเกิดการต่อสู้และยิงกันยกใหญ่ระหว่างฝ่ายวางระเบิดกับฝ่ายทหารญี่ปุ่น ผลสรุปคือฝ่ายวางระเบิดต้องสูญเสีย เชียร์ส จอยส์ และใหญ่ ส่วนนิโคลสันถูกระเบิดจากกระสุนปืนค.ของวอร์เดนจนเกิดอาการมึนๆ เบลอๆ มองไปที่สะพานแล้วรำพึงว่า "นี่เราทำอะไรลงไป" ก่อนจะล้มลงขาดใจตายบนที่กดระเบิดของจอยส์ขณะที่รถไฟกำลังข้ามสะพานพอดี เลยไม่รู้ว่าคุณนิโคลสันแกตั้งใจทำลายผลงานตัวเองด้วยความสำนึกผิดหรือเปล่า เป็นอันว่าวอร์เดนปฏิบัติการสำเร็จแบบค่อนข้างฟลุ้คและเสียเพื่อนร่วมทีมที่เป็นชายไปหมด เหลือแต่ลูกหาบสาวสวย 6 คนที่ต้องพากันกลับบ้านแบบที่ไม่น่าจะมีความสุขนัก ภาพยนตร์ปิดฉากสุดท้ายด้วยคุณหมอผู้พันคลิปตันที่วิ่งมาดูเหตุการณ์พร้อมกับคำอุทานว่า "บ้าชมัด!" (Madness)

กระทั่งป้ายสะพานก็บอกถึงความตั้งใจของนิโคลสัน

การแสดงส่วนหนึ่งของเชลยหลังจากสร้างสะพานเสร็จ

ผลสุดท้ายก็ถูกทำลายซะก่อน

ถือว่าคุณปิแอร์ บูล แต่งเรื่องได้สนุกสนานดีเหมือนกัน เมื่อสร้างเป็นภาพยนตร์ก็ได้รับถึง 7 รางวัลเสียด้วย แต่ผมมีข้อสังเกตว่า

  • ถ้าทหารพี่ยุ่นสมัยนั้นใจอ่อนกับเชลยศึกอย่างคุณไซโตะแล้ว ทางรถไฟเส้นนี้คงไม่ใช่ "ทางรถไฟสายมรณะ" ที่ว่ากันว่าหนึ่งไม้หมอนคือหนึ่งศพแน่ๆ ตามที่เล่าลือกัน เชลยศึกตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บและการอดอาหารกันซะมากต่อมาก และคงจะไม่มีโรงพยาบาลแม้ในสภาพตามที่เห็นในหนัง
  • ผู้ที่ถูกเกณฑ์แรงงานในการทำสะพานก็ไม่ได้มีแต่เชลยศึกชาวอังกฤษ-อเมริกัน แต่ยังมีเชลยทหารอีกหลายชาติ ทั้งเนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศสของคุณปิแอร์ รวมถึงชาวบ้านไทย และกุลีจีน แต่ในหนังมีแต่เชลยอังกฤษแทบจะทั้งนั้น
  • สะพานที่สร้างนั้น เขาว่าได้สร้างเป็นสะพานไม้เพื่อข้ามไปอีกฟากหนึ่งก่อน แล้วจึงสร้างสะพานเหล็กคู่กันไป ต่อมาสะพานไม้ถูกทำลายไป เหลือแต่สะพานเหล็กที่ยังซ่อมมาใช้งานกันจนทุกวันนี้ และระยะเวลาที่สร้างทางรถไฟสายมรณะทั้งเส้นทางนั้น ใช้เวลาตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 แต่ในหนังระบุว่ามีแต่การสร้างสะพานไม้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1943 (2486) จนเสร็จเปิดใช้งาน 12 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
  • นักวิจารณ์เขาบอกว่าถ้ามีนายทหารอย่างผู้การนิโคลสันจริง คงถูกลูกน้องรุมอัดตายไปแล้ว มีอย่างที่ไหน ไปช่วยญี่ปุ่นสั่งงานลูกน้องทำงาน ในประวัติศาสตร์ นายทหารเชลยในการสร้างสะพานนั้นมีนามว่า พันโทฟิลลิป ทูสซี่ (Lieutenant Colonel Philip Toosey) ซึ่งได้พยายามถ่วงเวลาการสร้างสะพานเอาไว้ด้วยครับ
  • เคยฟังเขาเล่าว่าเดิมทีทีมผู้สร้างก็ต้องการจะมาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเทศไทยเมืองกาญจนบุรีตามท้องเรื่อง แต่จะติดปัญหาประการใดไม่ทราบ ต้องย้ายไปสร้างที่ศรีลังกาแทน ณ บริเวณแม่น้ำ Kelani Ganga ซึ่งก็มีอะไรคล้ายบรรยากาศของแม่น้ำแควเมืองกาญจนบุรีอยู่ไม่น้อย เหตุที่รัฐบาลไทยยุคนั้นไม่อนุญาตนี่ยังค้นไม่เจอครับ ขอติดหนี้ไว้ก่อน ส่วนผู้แสดงเป็น "ใหญ่" มีชื่อในหนังเป็นภาษาอังกฤษว่า "M.R.B. Chakrabandhu" แต่ยังหาชื่อนามสกุลเต็มเป็นภาษาไทยไม่เจอ ใครทราบช่วยบอกทีครับ
    (8 ส.ค.2550 มีข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียภาษาไทยเพิ่มมาอีกหน่อยว่า ดาราไทยที่แสดงเป็นลูกหาบหญิง ได้แก่ วิไลวรรณ วัฒนพานิช, งามตา ศุภพงษ์, ชวนารถ ปัญญโชติ และกรรณิกา ดาวคลี่ ครับ ดูที่ http://th.wikipedia.org/wiki/The_Bridge_on_the_River_Kwai)

ภาพบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควของจริงในปัจจุบัน ซึ่งผมถ่ายเองจากรีสอร์ทแถวนั้นเมื่อเดือนกันยายน 2547
ลูกหลานของ "ใหญ่" และบรรดาลูกหาบหญิงอาจจะทำงานอยู่แถวนี้ก็เป็นได้???

สรุปว่าเป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองของฝรั่งที่เล่าเหตุการณ์ใกล้ตัวคนไทยได้อย่างสนุกมาก แต่น่าเสียดายที่ยังอ่อนด้อยเรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกินกว่าที่จะนำไปอ้างอิงอะไรได้ ยิ่งดูหนังหลายเรื่องในลักษณะนี้ก็เหมือนจะปลง แต่คิดอีกที แสดงว่า www.iseehistory.com ของเรายังมีงานทำอีกเยอะ ตราบเท่าที่ท่านสมาชิกยังสนับสนุนครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Bridge on the River Kwai

ชื่อภาษาไทย : สะพานข้ามแม่น้ำแคว

เรื่องเดิม : The Bridge over the River Kwai บทประพันธ์ของ Pierre Boulle

ผู้สร้าง : Sam Spiegel

ผู้กำกำกับ : David Lean

ผู้เขียนบท : Carl Foreman & Michael Wilson

ผู้แสดง :

  • Alec Guinness as Lieutenant Colonel Nicholson
  • Sessue Hayakawa as Colonel Saito.
  • William Holden as Commander Shears.
  • Jack Hawkins as Major Warden.
  • James Donald as medic Major Clipton.
  • Geoffrey Horne as Lieutenant Joyce.
  • Peter Williams as Captain Reeves.
  • Andre Morell as Colonel Green.
  • John Boxer as Major Hughes.
  • Percy Herbert as Private Grogan.
  • Harold Goodwin as Private Baker.
  • Heihachiro Okawa as Captain Kanematsu.
  • Keiichiro Katsumoto as Lieutenant Miura.
  • M.R.B. Chakrabandhu as Yai.
     

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 






Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker