dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สารคดี The True Story of Marco Polo : มาร์โค โปโล ไม่เคยไปเมืองจีนจริงๆ ?
วันที่ 19/05/2013   19:17:46

 

หลายคนอาจเคยเชื่อว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นเรื่องอดีตอันเป็นความจริงแท้แน่นอน เมื่อบันทึกกันไว้อย่างไรแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่โดยแท้จริง ประวัติศาสตร์ก็แทบไม่ต่างจากวิทยาการต่างๆ ที่ย่อมมีความก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง ครั้งหนึ่งเราเคยมีความเชื่ออย่างหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีเอกสารหลักฐานหรือทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาหักล้างความเชื่อนั้นๆ ลงได้

ดังกรณีของ มาร์โค โปโล ซึ่งเคยเชื่อกันว่าเป็นชาวยุโรปรายแรกที่บันทึกการเดินทางไปยังประเทศจีนในยุคจักรวรรดิ์มองโกลของกุบไลข่าน แต่ผลจากการตรวจสอบของนักวิชาการรุ่นหลัง ได้เริ่มสั่นคลอนความเชื่อดังกล่าวลงไปมาก ดังปรากฏในสารคดีเรื่อง The True Story of Marco Polo

เรื่องเกี่ยวกับ มาร์โค โปโล ตามที่ปรากฏจากหลักฐานประวัติศาสตร์ เขาเกิดในราวปี ค.ศ.1254 (พ.ศ.1797) ในเมืองเวนิซ แต่ตระกูลของเขาน่าจะอพยพมาจากแถบยูโกสลาเวีย ในยุคนั้น ชาวยุโรปยังไม่รู้จักดินแดนทางตะวันออกที่เลยแดนอาหรับออกไป นึกว่าเป็นแถบนั้นคงเป็นสวนอีเดนหรือแดนมนุษย์ประหลาดอะไรไปนู่น แม้จะมีการค้าตามเส้นทางสายไหม ก็เป็นการค้าแบบส่งสินค้าต่อกันมาเป็นทอดๆ จากเขตหนึ่งไปอีกเขตหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งในราวปี 1269 (พ.ศ.1812) บิดาและลุงของมาร์โค คือ นิโคโล และ มัฟเฟโอ (Niccolo and Maffeo Polo) ได้เดินทางไปค้าขายทางตะวันออก ทางแถบอาหรับ จนได้พบกับผู้แทนของจักรพรรดิ์กุบไลข่าน ผู้ซึ่งเชิญพี่น้องทั้งสองให้ติดตามไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิ์ซึ่งไม่เคยรู้จักชาวยุโรปมาก่อน นิโคโล และมาฟาเอลรับคำเชิญและตามผู้แทนดังกล่าวไปจนถึงเมืองจีน และได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่าน (มาร์โค โปโล จึงมิใช่ชาวยุโรปคนแรกที่ไปเมืองจีนอย่างที่ผมและใครอีกหลายคนเคยเข้าใจ) กุบไลข่านทรงพอพระทัยสองพี่น้องนี้มาก และได้ขอให้ทั้งสองนำสาส์นไปถวายองค์พระสันตปาปาเพื่อขอนักปราชญ์ 100 คน ใน 7 สาขา มาเพื่อช่วยการปกครองจีน เมื่อทั้งสองกลับมาถึงเวนิซในอีก 9 ปีถัดมา เขาพบว่าพระสันตปาปาพึ่งสิ้นพระชนม์ และทางวาติกันยังไม่ได้ดำเนินการเลือกพระสันตปาปาองค์ใหม่

ภาพวาดคาราวานของ มาร์โค โปโล

สองพี่น้องรอจนปี 1271 (พ.ศ.1814) จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปเฝ้ากุบไลข่าน ครั้งนี้ มาร์โค โปโล วัย 17 ปี จึงได้เดินทางไปด้วย ระหว่างการเดินทางได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปาองค์ใหม่ที่พึ่งได้รับเลือก ณ กรุงเยรูซาเล็ม พระสันตปาปาได้มอบหมายให้พระโดมินิกันเดินทางไปด้วย เพียง 2 รูป ซึ่งทั้ง 2 ได้เปลี่ยนใจเดินทางกลับในเวลาต่อมา คณะของครอบครัวโปโลจึงได้เดินทางข้ามทะเลทรายโกบี ไปจนถึงเมืองจีนได้สำเร็จ ได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่านที่พระราชวังเมืองชางตู มาร์โค โปโล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการเดินทางทั่วแผ่นดินจีนตอนใต้ รวมถึงเป็นเจ้าเมืองหยางโจว ถึง 3 ปี หลังจากรับใช้ราชสำนักมองโกล 17 ปี จึงเดินทางกลับโดยทางเรือ ระหว่างทางไปติดมรสุมอยู่ถึง 5 เดือน จึงได้เดินทางกลับผ่านศรีลังกา อินเดีย ไปจนถึงเวนิซ

ภาพวาด มาร์โค โปโล ขณะเข้าเฝ้า กุบไลข่าน

ภาพวาด กุบไลข่าน ขณะประพาสอุทยานในบริเวณพระราชวัง

เมื่อ มาร์โค โปโล กับบิดาและลุงเดินทางกลับถึงเวนิซ ในปี 1295 (พ.ศ.1838) ปรากฏว่าญาติๆ จำพวกเขาไม่ได้เลย และคิดว่าพวกเขาตายไปแล้ว มีเรื่องเล่าว่าพวกเขาได้นำทรัพย์สมบัติมีค่ากลับมาด้วย หลังจากนั้น นครรัฐเวนิซได้แพ้สงครามแก่รัฐเจนัว มาร์โค โปโล ได้ถูกขังคุกรวมอยู่กับ รัสติเชลโล (Rustichello da Pisa) นักเขียนเรื่องราวเพ้อฝันประเภท กษัตริย์อาเธอร์ ณ ที่คุมขังนี้เองที่รัสติเชลโลได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของมาร์โค โปโล ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามคำบอกเล่าของเขา จนเป็นเล่ม ชื่อว่า Il Milione หรือ หลังจากทั้งสองพ้นจากคุกในปี 1299 (พ.ศ.1842) จึงเริ่มมีการแจกสำเนาหนังสือนี้จากการคัดลอกด้วยมือ ได้รับการแปลถึง 4 ภาษา นักอ่านมองว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง และไม่ได้รับการยอมรับจากทางการเวนิซเท่าที่ควร เหตุการณ์ทั้งในยุโรปและในจีนเองในระยะต่อมาก็เป็นอุปสรรคในการที่จะเดินทางติดต่อกัน กล่าวคือในจีนเอง จักรพรรดิ์กุบไลข่านสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ปี 1294 (พ.ศ.1837) ตั้งแต่ มาร์โค ยังเดินทางกลับไม่ถึงเวนิซ ชาวมองโกลเกิดการแตกแยกสู้รบกันเองจนอาณาจักรแตกสลาย และถูกขับออกจากจีน ในยุโรปได้เกิดกาฬโรคระบาด คร่าวชีวิตผู้คนไปถึงกว่าครึ่ง จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปจีน ส่วน มาร์โค โปโล นั้น ถึงแก่กรรมในปี 1324 (พ.ศ.1867)

หนังสือของ มาร์โค โปโล ได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ในยุโรปในศตวรรษที่ 15 อิทธิพลสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือแรงบันดาลใจให้โคลัมบัสต้องการเดินทางไปจีนโดยเส้นทางอื่นจนไปพบทวีปอเมริกาในที่สุด หนังสือเล่มนี้จัดได้ว่ามีทั้งส่วนที่เป็นคุณูปการและส่วนที่สร้างความสับสนให้กับคนรุ่นหลังปนเปนุงนังกันอยู่พอสมควร คือ

  • เส้นทางการเดินทางที่อ้างถึงคลุมเครือ ไม่ชัดเจน มีผู้พยายามทดลองเดินทางตามเส้นทางในหนังสือแล้วไม่สำเร็จ แต่ความคลุมเครือนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พยายามหาเส้นทางไปจีนทางอื่น คือทางทะเล จนเป็นเหตุให้มีการค้นพบทวีปอเมริกา
  • มีการเล่าถึงรายละเอียดความเป็นอยู่ และอารยธรรมของชาวจีนที่ขณะนั้นเหนือกว่าชาวยุโรปมาก เช่น การศาสนา การใช้เงินกระดาษ การใช้ถ่านหินทำความร้อน ชีวิตที่หรูหราของราชสำนักมองโกล การสร้างถนนและคลอง การสวมผ้าไหม สุขอนามัยต่างๆ แต่บางเรื่องกลับไม่พูดถึงเลย เช่น การดื่มน้ำชา การใช้ตะเกียบ การมัดข้อเท้าเด็กหญิง กำแพงเมืองจีน และการพิมพ์ที่จีนมีมาก่อน Gutenberg หลายปี ฯลฯ

กำแพงเมืองจีน สิ่งมหัศจรรย์ที่ มาร์โค โปโล ไม่เคยกล่าวถึง

  • ไม่มีเอกสารหรือวรรณกรรมใดๆ ของจีนหรือมองโกล กล่าวถึง มาร์โค โปโล เลย ผู้ที่ยังเชื่อว่า มาร์โค โปโล ไปจีนจริง กล่าวแก้ว่าเขาอาจใช้ชื่ออื่น แต่ในสารคดีไม่ได้กล่าวว่าใช้ชื่ออะไร
  • ฝ่ายที่ไม่เชื่อการเดินทางของ มาร์โค โปโล แสดงความแปลกใจที่กุบไลข่านทรงแต่งตั้งชาวต่างประเทศที่อายุน้อยอย่าง มาร์โค โปโล เป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ แต่ฝ่ายที่ยังเชื่อ มาร์โค โปโล เห็นว่าไม่แปลก เพราะจักรวรรดิ์มองโกลมักใช้นโยบายการสอดแนมเช่นนี้เป็นปกติอยู่แล้ว
  • ในหนังสือเล่าเรื่องส่วนตัวของ มาร์โค โปโล น้อยมาก และมีการสงสัยว่าทำไมอยู่ดีๆ ตระกูลโปโลซึ่งอยู่ในจีนเป็นสิบปีถึงคิดจะเดินทางกลับบ้านเกิด ทำไมไม่แต่งงานมีครอบครัวที่นั่น มีคำอธิบายว่า อาจเป็นเพราะจักรพรรดิ์กุบไลข่านใกล้จะสิ้นพระชนม์ มาร์โคกับพ่อและลุงอาจเกรงว่าจะมีภัยการเมืองมากระทบต่อสถานะของตน
  • หนังสือของ มาร์โค โปโล มักเรียกชื่อต่างๆ เป็นภาษาเปอร์เซีย หรือตุรกี ทำให้เกิดความสงสัยว่า เรื่องของเขาอาจเป็นเพียงการปะติดปะต่อคำบอกเล่าต่อๆ กันมาของบรรดาพ่อค้าชาติต่างๆ
  • ความเชื่อที่ว่า มาร์โค โปโล เป็นผู้นำให้กำเนิดพาสต้า อันที่จริงหนังสือของเขาไม่เคยอวดอ้างเลย ชาวอาหรับเป็นผู้นำข้าวสาลีและพาสต้าเข้ามายังยุโรปหลายร้อยปีก่อน มาร์โค โปโล เกิดด้วยซ้ำ
  • ฯลฯ

แผนที่โลกฉบับแรกๆ ที่วาดตามข้อมูลในหนังสือของ มาร์โค โปโล

ทั้งนี้ ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่า มาร์โค โปโล เดินทางไปเมืองจีนจริงๆ เช่น Frances Wood ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Did Marco Polo Go to China?  ก็ไม่ได้ประณามว่าเขาโกหกมดเท็จซะทีเดียว ในสารคดี Wood ได้อธิบายว่า หนังสือของ มาร์โค โปโล กำเนิดโดย รัสติเชลโล เป็นผู้จดบันทึกขณะอยู่ในคุกเมืองเจนัวด้วยกัน และในระยะแรก การเผยแพร่หนังสือดังกล่าวกระทำโดยการคัดลอกต่อๆ กันมา ซึ่งอาจเกิดความผิดเพี้ยนแต่งเติมขึ้นได้ และยังมีความเป็นไปได้ด้วยว่า มาร์โค โปโล อาจจะไม่มีตัวตนจริงๆ เป็นเพียงตัวละครที่ รัสติเชลโล สมมติขึ้นมาในหนังสือ ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า รัสติเชลโล จะเป็นคนปลิ้นปล้อนหลอกลวง แต่ว่าเป็นการเขียนหนังสือภูมิศาสตร์โลกหรือหนังสือท่องเที่ยวโดยการแต่งเติมสีสัน ขอให้ลองนึกเปรียบเทียบกับแบบเรียนชั้นประถมของบ้านเราสมัยหนึ่ง ที่มีการสมมติ สุดา คาวี หรือ มานี มานะ ฯลฯ ขึ้นมาเป็นตัวเดินเรื่อง หรือการที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สมมติแม่พลอยกับพ่อเปรมขึ้นมาเล่าประวัติศาสตร์สี่แผ่นดินนั่นแหละครับ

ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเชื่อเรื่อง มาร์โค โปโล เพียงใดก็ตาม สิ่งที่สรุปตรงกันคือ ทุกฝ่ายยังคงยอมรับความสำคัญในหนังสือของเขา ที่ได้ทำให้ชาวยุโรปได้เปิดหูเปิดตา เห็นว่ายังมีชนชาติอื่นอย่างเช่นจีนที่มีอารยธรรมเหนือกว่าตน และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเดินทางรุ่นหลังๆ ได้ออกมาเผชิญโลกภายนอก จนเกิดการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ต่อๆ มา

โคลัมบัส ผู้ค้นพบอเมริกา ด้วยแรงบันดาลใจจากหนังสือของ มาร์โค โปโล

ในส่วนตัวภาพยนตร์ นับเป็นสารคดีเรื่องที่ 2 ของ CENTURY ที่ผมนำมาพูดคุย โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าต้นฉบับเดิมใครเป็นผู้ผลิต จากที่พยายามหาจากอินเตอร์เน็ต ได้แต่เดาว่าอาจจะเป็นเรื่องเดียวกับที่ปรากฏใน http://www.cduniverse.com/productinfo.asp?pid=6869428 และ http://www.imdb.com/title/tt1045121/ ซึ่งก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเพิ่มเติมพอจะยืนยันได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ที่จริงเราควรยกย่องที่ CENTURY นำสารคดีดีๆ มาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก แต่ก็ควรให้เครดิตกับผู้ผลิตเดิมบ้างตามสมควร

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The True Story of Marco Polo

ชื่อภาษาไทย : เรื่องจริงของ มาร์โค โปโล

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



เอเชียโบราณ

มังกรระห่ำ ดาบปราบพยัคฆ์ (Sino Dutch war 1661) แบบฉบับของการต้านชิงกู้หมิง วันที่ 19/05/2013   18:58:36
Jodhaa Akbar ภาพยนตร์เพื่อความสมานฉันท์ทางศาสนา วันที่ 19/05/2013   19:00:10
ฌ้อปาอ๋อง ขุนศึกลำน้ำเลือด วันที่ 19/05/2013   19:01:17
ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน ภาค 1-2 (The Water Margin/All Men are Brothers) วันที่ 19/05/2013   19:02:10
ฤทธิ์จักรพญายม ภาค 1-2 วันที่ 19/05/2013   19:03:07
ทัชมาฮาล รักเราเป็นนิรันดร์ วันที่ 19/05/2013   19:09:43
สามก๊ก ตอน โจโฉ แตกทัพเรือ มหากาพย์แห่งภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์สามก๊กอีก 1 เรื่อง วันที่ 19/05/2013   19:10:42
Mongol แต่งประวัติศาสตร์ใหม่กันอีกแล้ว! วันที่ 19/05/2013   19:11:32
Genghis Khan เวอร์ชันญี่ปุ่น : สงคราม กับ ผู้หญิง และ ครอบครัว วันที่ 19/05/2013   19:12:31
Genghis Khan BBC "จอมโหด" หรือ "ผู้พิชิต" วันที่ 19/05/2013   19:13:25
Marco Polo 2007 เมื่อครั้งตะวันออกยังเจริญกว่าฝรั่ง วันที่ 19/05/2013   19:14:31
Marco Polo ฉบับบู๊ลิ้ม วันที่ 19/05/2013   19:15:27
อโศกมหาราช (Asoka) จาก ทรราชย์ สู่ ธรรมราชา วันที่ 19/05/2013   19:18:37
ตามรอยพระพุทธเจ้า : คู่มือชาวพุทธฉบับ DVD วันที่ 19/05/2013   19:19:44
ขุนศึกหญิงตระกูลหยาง (Legendary Amazons) (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:20:26 article
Genghis Khan (2004 TV series) (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:21:12 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker