dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ
วันที่ 19/05/2013   19:45:12

webmaster@iseehistory.com

4 ก.ค.2550

เดือนก่อน (มิ.ย.2550) คุยกันถึงภาค ๑ ไปแล้ว เดือนนี้ (ก.ค.2550) มาคุยกันเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ ก่อนที่จะต้องรอไปอีกหลายเดือนสำหรับภาค ๓ ซึ่งไม่ทราบจะเสร็จฉายสมบูรณ์เมื่อไหร่ และจะจบที่ตรงไหน มีภาคต่อๆ ไปอีกหรือไม่

เนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญในพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การตีเมืองคัง การประกาศอิสรภาพ และการกวาดต้อนเชลยไทยจากหงสาวดีกลับเมืองไทยโดยการข้ามแม่น้ำสะโตง ขยายความอีกหน่อยคือ

ส่วนที่หนึ่ง งานพระบรมศพพระเจ้าบุเรงนองและการตีเมืองคัง จากภาคก่อน หลังจากสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จจากเมืองหงสาวดีกลับมาเมืองไทยแล้ว ได้ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ในเรื่องได้มีการเปิดตัวตัวละครระดับรองๆ หลายตัว ได้แก่ พระชัยบุรี กับ พระศรีถมรรัตน์ ที่ต่างก็เดินทางมาถวายตัวโดยไม่รู้จักพระองค์มาก่อน พระราชวังสัน หัวหน้าทหารอาสามัวร์ ออกญาเสนาภิมุข หัวหน้าทหารอาสาญี่ปุ่น ฯลฯ จากนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้สวรรคตลง (พ.ศ.2124) พระมหาอุปราชาหงสาวดีขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้านันทบุเรง แลทรงตั้งพระโอรส คือมังสามเกียดในภาคแรก เป็นพระมหาอุปราชา ตามราชพระเพณีได้มีการเรียกบรรดาหัวเมืองขึ้นน้อยใหญ่ให้มาร่วมงานพระศพพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน และถวายความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ สมเด็จพระนเรศวรได้กราบบังคมทูลขอพระบิดาคือพระมหาธรรมราชามาเป็นผู้แทนกรุงศรีอยุธยา เพื่อทดแทนพระคุณของพระเจ้าบุเรงนองเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จงานพระราชทานเพลิงศพ ทางหงสาวดีเช็ครายพระนามเจ้าเมืองประเทศราชต่างๆ แล้ว ปรากฏว่าขาดเจ้าฟ้าเมืองคังแห่งไทยใหญ่ไปหนึ่งพระองค์ ปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าเป็นการแข็งเมืองแน่ๆ พระเจ้านันทบุเรงจึงทรงบัญชาให้กะเกณฑ์กำลังกันไปปราบรวม 3 ทัพ คือทัพหงสาวดีของพระมหาอุปราชา ทัพเมืองตองอูของพระสังคทัต หรือนัดจินหน่อง และทัพกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระนเรศวร โดยทีแรกทางหงสาวดีพูดเหมือนกับว่าจะหวังยืมมือทางเมืองคังในการกำจัดพระนเรศวร แต่พอแม่ทัพทั้งสามปรึกษากัน ก็เป็นไปตามประวัติศาสตร์ คือ พระมหาอุปราชาได้ขอนำทัพออกตีเมืองคังก่อน หากไม่สำเร็จจึงจะเป็นทีของพระสังคทัต และพระนเรศวรตามลำดับ ผลก็คือทั้งพระมหาอุปราชาและพระสังคทัตที่มุ่งโจมตีคังซึ่งอยู่บนยอดเขาจากทางขึ้นด้านหน้าประสบความพ่ายแพ้ยับเยิน และด้วยพระปรีชาญาณของพระนเรศวรฯ ซึ่งได้ทรงตรวจสอบชัยภูมิเมืองคังจนพบทางขึ้นเมืองอีกทาง ก็ทรงตีเมืองได้สำเร็จ

อันที่จริง ก่อนการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง นั้น สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจด้านการสงครามบ้างแล้ว ได้แก่ การรบกับเขมร (พ.ศ.2113) และเวียงจันทน์ (พ.ศ.2117) กับการรบทางเรือกับพระยาจีนจันตุ (พ.ศ.2121) ที่เคยมีข่าวว่าจะนำฉีเส้าเฉียนมารับบทนี้ ไปๆ มาๆ ก็ไม่ปรากฏในภาพยนตร์

ในเหตุการณ์การรบระหว่างกองทัพทั้งสาม กับเมืองคังนั้น ต้องยอมรับว่าทีมงานสามารถสร้างฉากรบเหล่านี้ได้ยิ่งใหญ่มโหฬารอย่างยิ่ง จุดที่ขัดความรู้สึกของผมเป็นอย่างมากๆ กลับเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระราชมนู (ตามเรื่องในภาคแรกคือไอ้บุญทิ้ง เด็กขี้ขโมยที่พระนเรศวรทรงรับมาชุบเลี้ยง) กับเจ้านางเลอขิ่น ขุนศึกหญิงแห่งเมืองคัง ที่ผู้เขียนบทคล้ายกับจะยังคงยึดมั่นกับ "มุก" ของหนังไทยรุ่นเก่าๆ ที่พระเอกกับนางเอกอยู่คนละฝ่ายกัน แต่ดันมารบกันไปรักกันไปจนลงเอยกันได้ พอมาสวมลงในความสัมพันธ์ของคนทั้งสองในเรื่องนี้แล้ว โดยส่วนตัวผมรับไม่ได้ มันกลายเป็นการลวนลามผู้หญิงอย่างไร้ความเป็นสุภาพชนไม่ว่าจะวัดกันด้วยมาตรฐานของคนยุคไหนก็ตาม ไม่ว่าการที่พระราชมนูจะปล้ำกอดจูบเจ้านางตั้งแต่รบกันบนเขา ตอนกวาดต้อนกันไปเมืองหงสาก็จับเจ้านางขึ้นมากอดบนหลังม้า มาถึงเมืองหงสาเจ้านางพยายามหนีก็ยังตามไป "ปล้ำ" กันอีก

ทีมผู้สร้างหรือผู้เขียนบทจะเคยทราบหรือตระหนักบ้างไหมว่า พระราชมนู นี้เป็นวีรบุรุษคนสำคัญผู้หนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมรุ่นเก่าอย่างหลวงวิจิตรวาทการ ท่านเคยประทับใจจนถึงกับโปรโมทท่านอย่างใหญ่โต ไม่ว่าจะเป็นบทละครเรื่องพระราชมนู หรือใส่ชื่อท่านไว้ในเพลงต้นตระกูลไทย เอาหละ การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมอาจจะมีอะไรเว่อไปอีกแบบ แต่ผมเองไม่เคยจินตนาการว่าจะมีขุนศึกวีรชนไทยรายไหนจะลวนลามผู้หญิงอย่างโจ๋งครึ่มแบบนี้มาก่อน นึกไม่ออกเลยจริงๆ ว่าก่อนที่พระราชมนูจะไปช่วยเชลยชาวไทยใหญ่ให้หนีออกจากหงสาวดีแล้ว มีเหตุผลอะไรที่เจ้านางเลอขิ่นจะไปหลงรักผู้ชายที่ลวนลามเธอขนาดนั้นได้ เจ้าฟ้าเมืองคังกับหมอกมูคนสนิทของเลอขิ่นก็ได้แต่มอง ไม่ยักโวยวายอะไร แทนที่จะมาใส่มุกตีกันไปรักกันไปแบบนี้ หากจะมีการแต่งบทสนทนาระหว่างฝ่ายอยุธยากับฝ่ายเมืองคังในเรื่องเกี่ยวกับการเป็นเอกราชแล้ว จะทำให้แนวคิดเรื่องการประกาศอิสรภาพเด่นชัดกว่านี้

การประกาศอิสรภาพ หลังจากตีเมืองคังได้ระยะหนึ่ง คราวนี้เมืองอังวะเป็นฝ่ายแข็งเมืองบ้าง กรุงหงสาวดีได้บัญชาให้กรุงศรีอยุธยานำทัพไปช่วยอีกเช่นเคย โดยพระเจ้านันทบุเรงเสด็จกรีธาทัพล่วงหน้าไปก่อน มอบให้พระมหาอุปราชารักษาเมือง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ ยกทัพมาถึงเมืองแครง พระมหาอุปราชาได้ส่งขุนนางมอญคือพระยาเกียรติ์กับพระยารามทำทีไปรับเสด็จ แต่ได้แอบสั่งการให้หาทางกำจัดพระนเรศวรฯ เสีย พระยาเกียรติ์กับพระยารามกลับนำความไปบอกแก่พระมหาเถรคันฉ่อง ความทราบถึงพระนเรศวรฯ จึงทรงถือโอกาสนี้ ประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นกับกรุงหงสาวดีอีกต่อไป (พ.ศ.2127)

ข้อสังเกตส่วนตัวผมประการแรก คือ น่าแปลกตรงที่ในช่วงนี้ได้มีการโชว์พูดภาษามอญของพระยาเกียรติ์พระยารามและพระมหาเถรคันฉ่องอยู่หลายนาที ทั้งที่เรื่องตั้งแต่ภาคแรกมา ก็ได้อนุโลมให้ตัวละครฝ่ายพม่าพูดภาษาไทยมาตลอด ไม่ว่าพูดกันเองหรือพูดกับฝ่ายไทย แล้วจะต้องมาโชว์การพูดภาษามอญให้ยุ่งยากทำไม

ถัดมาคือในฉากพิธีประกาศอิสรภาพ พอทรงเทน้ำเสร็จแล้ว พระราชมนูได้เป็นต้นเสียงร้องตะโกนพระนาม "พระนเรศวรฯ ๆ ๆ ๆ " แล้วคนอื่นก็ตะโกนตามกันยกใหญ่ เท่าที่ผมพยายามนึกดูแล้ว ธรรมเนียมไทยไม่ว่าสมัยไหนเราจะไม่เอ่ยพระนามของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายพระองค์ใดในลักษณะนั้นเป็นแน่ ทีนี้ถ้าไม่ตะโกนพระนามพระนเรศวรฯ แล้วน่าจะตะโกนว่าอะไร? คงไม่ใช่ "ไชโย!" อีกเหมือนกัน เพราะคำนี้เริ่มจากพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เป็นไปได้ไหมที่จะตะโกนกันว่า "ทรงพระเจริญ" ดังเช่นในปัจจุบัน?

การศึกที่แม่น้ำสะโตง เมื่อประกาศอิสรภาพแล้ว สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้เสด็จมาหงสาวดีเพื่อชักชวนบรรดาครอบครัวเชลยไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาตั้งแต่การศึกครั้งก่อนๆ กลับไปยังเมืองไทย รวมถึงส่งข่าวให้พระสุพรรณกัลยาตามเสด็จด้วย แต่พระสุพรรณกัลยาทรงปฏิเสธด้วยเกรงว่าพระองค์และพระโอรสที่ยังเยาว์วัยจะเป็นตัวถ่วง ส่วนมณีจันทร์นางเอกของเราได้ตัดสินใจตามเสด็จไปด้วย ด้านพระราชมนูก็ได้ขอพระราชานุญาตนำกำลังไปช่วยบรรดาเชลยไทยใหญ่เมืองคังออกจากที่คุมขัง จากนั้นทางฝ่ายไทยจึงได้วางแผนเตรียมการที่จะนำกองทัพและครอบครัวไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับไปยังเมืองไทย แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ทั้งฝ่ายสร้างสะพาน ฝ่ายตั้งทัพสกัดกั้นพม่าเป็นด่านๆ ฝ่ายพม่ามีความขัดแย้งกันระหว่างสุรกัมมาที่เห็นว่าควรรีบส่งทัพไปติดตามกองทัพอยุธยากับฝ่ายพระมหาอุปราชา ที่ใช้พวกนาคาเข้าไปลอบทำร้ายพระนเรศวร ด้านชาวไทยใหญ่ที่กำลังกลับเมืองคัง เจ้าฟ้าเมืองคังได้ประทานอนุญาตให้เจ้านางเลขิ่นแยกกลับไปหาพระราชมนูได้ โดยมีหมอกมูและผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่งคอยคุ้มกัน คณะของเจ้านางเลอขิ่นได้ต่อสู้กับพวกนาคาจนหมอกมูได้รับบาดเจ็บ เลอขิ่นสามารถนำหมอกมูไปจนถึงค่ายของพระราชมนูได้ เมื่อพวกนาคาไม่สามารถปลงพระชนม์พระนเรศวรได้สำเร็จ กองทัพพม่าจึงเริ่มการโจมตี เอาเป็นว่าหลังจากรบกันหนักหน่วงอยู่หลายฉาก ฝ่ายไทยก็สามารถข้ามแม่น้ำสะโตงได้สำเร็จ โดยสูญเสียไพร่พลบ้าง รวมถึงหมอกมูที่ชิงฆ่าตัวตายเพราะเกรงจะเป็นภาระกับกองทัพ แม้กระนั้นฝ่ายพม่าก็ยังใช้ความพยายาม ทั้งระดมยิงปืนใหญ่และจองสะพานหมายจะข้ามไปรบกับฝ่ายไทยต่อให้ได้ จนพระมหาเถรคันฉ่องต้องนำพระแสงปืนมามอบให้พระนเรศวรยิงสังหารสุรกัมมาตกลงมาจากคอช้าง การศึกจึงได้ยุติลง

ด้านหนึ่ง ก็ต้องถือว่าผู้สร้างได้เพียรพยายามสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเหตุการณ์นี้เป็นอย่างมาก โดยแต่งเรื่องให้พระนเรศวรฯ ทรงแสดงพระปรีชาญาณในการวางกำลังทหารสกัดกั้นทัพพม่าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน กลายเป็นการศึกอันยิ่งใหญ่ที่เสียเลือดเนี้อทั้งสองฝ่ายไปไม่น้อย แต่โดยส่วนตัวผม เท่าที่จำได้ว่าเคยอ่านจากในพระราชพงศาวดาร เหตุการณ์มันไม่ได้รบกันวุ่นวายขนาดนั้น คือไม่ได้กล่าวถึงการรบพุ่งใดๆ จนกระทั่งเมื่อฝ่ายไทยข้ามแม่น้ำได้แล้ว ฝ่ายพม่าจึงตามมาถึงที่อีกฝั่งพอดี แล้วมีการยิงปืนข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ไม่ถูกกันเพราะแม่น้ำกว้างมาก จนกระทั่งพระนเรศวรนำพระแสงปืนเก้าคืบมาและทรงยิงถูกสุรกัมมา การศึกจึงยุติแบบ "โป้งเดียวจอด" สุรกัมมาตายอยู่คนเดียว โดยส่วนตัวจึงรู้สึกเหมือนกับว่าผู้สร้างจะทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่เกินไปหรือเปล่า แม้จะเป็นเรื่องใหญ่ที่ยิ่งใหญ่อลังการอย่างยิ่งก็เถอะ

เพิ่มเติม ณ วันที่ 10 พ.ย. 2554 ขอคัดลอกข้อความจาก "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล" มาเพื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในภาพยนตร์ ดังนี้ครับ

"ครั้น ณ วันศุกร์เดือนหกแรมสามค่ำ, เพลาสิบเอ็ดทุ่ม ให้เอาพระคชาธาร เทียบเกย, ทอดพระเนตรเห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จปาฏิหาริย์แต่ประจิมทิศ ผ่านพระคชาธารไปโดยบูรพทิศ. จึงเสด็จพยุหยาตราทัพออกจากเมืองแครง พระมหาเถรคันฉ่อง พระราม พระยาเกียรติ แลญาติโยมก็มาโดยเสด็จ. ฝ่ายนายทัพนายกองทั้งปวง ก็แยกย้ายกันตีครัวมาได้ประมาณหมื่นเศษ ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำสโตง ก็เที่ยวเก็บเรือหาไมผูกพ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้า ทั้งปวงถึงฟากน้ำสิ้นก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย. พอพระเจ้าหงสาวดีแจ้งก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลแสนหนึ่ง สุรพกรรมาเป็นกองทัพหน้า ตามมาถึงแม่น้ำสโตงฟากหนึ่ง. สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉ่อง กับครอบครัวรีบยกออกไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้น ยังรออยู่ริมฝั่ง ตรัสให้ทหารปืนหามแล่นนกสับคาบชุดยิงระดมไป ทหารยิงระดมไปเป็นอันมากก็มิได้ถึง. สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ. ยิงไปต้องสุระกรรมาตายตกจากคอช้าง. รี้พลมอญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ แม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน กลัวพระเดชเดชานุภาพ แลพระมหาอุปราชมิอาจจะตามมาเลิกทัพกลับไป. สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ยกมาโดยทางเมืองกาญจนบุรี."

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล.-- กรุงเทพฯ : โฆษิต, ๒๕๔๙ หน้า ๑๐๗

สรุปในภาพรวมแล้ว ก็ต้องชื่นชมที่คนไทยสามารถสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ให้ยิ่งใหญ่อลังการขนาดนี้ได้ รวมถึงความพิถีพิถันในด้านต่างๆ ดังที่เคยคุยกันมาบ้างแล้วในภาพยนตร์สารคดีเบื้องหลัง และสารคดีตามรอยสมเด็จพระนเรศวรฯ ปัญหาคงไม่ใช่เรื่องการติดกลิ่นนมเนยมาจาก The Lord of the Rings แต่เป็นเรื่องของการเขียนบทที่ไม่ได้มุ่งตรงไปยังเหตุผลของกาประกาศอิสรภาพ เอาเรื่องออกพระราชมนูกับเจ้านางเลอขิ่นมาใส่ไว้โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรนัก แล้วก็เหมือนกับว่าต้องประกาศอิสรภาพเพราะพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีทรงพระกวนปนริษยาตามจารีตผู้ร้ายในหนังไทย แทนที่จะชี้ปัญหาของการเป็นเมืองขึ้นหงสาให้ชัดเจน เป็นอุธาหรณ์ว่าภาพยนตร์ที่ดีน่าประทับใจ ไม่ใช่เพียงแค่ทุนสร้าง เทคนิค การรวบรวมข้อมูล หรือความอลังการอื่นใด เท่านั้น แต่ความสมเหตุสมผลและเป็นเอกภาพของการเขียนบทก็มีส่วนสำคัญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าอย่างไรก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้สร้างหนังไทยทุกรายพัฒนาการสร้างให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ผู้อำนวยการสร้าง : หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา, คุณากร เศรษฐ

ผู้กำกำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

ผู้เขียนบท : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท

ผู้แสดง : (เฉพาะภาคนี้) พ.ต.วันชนะ สวัสดี, พ.ท. วินธัย สุวารี, นพชัย ชัยนาม, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, พ. ต. คมกริช อินทรสุวรรณ, โกวิท วัฒนกุล, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, อินทิรา เจริญปุระ,อภิรดี ทศพร, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, สมภพ เบญจาทิกุล, สรพงษ์ ชาตรี, เกรซ มหาดำรงค์กุล, จักรกฤษณ์อำมะรัตน์, นภัสกร มิตรเอม ฯลฯ

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (733)
avatar
jabe

สำหรับผมดูหนังเรื่องนี้เเล้วก็รู้สึกชื่นชมที่คนไทยเราสร้างได้ยอดเยี่ยม เเต่ประเด็นในหนังเรื่องนี้ยังมีที่ติดขัดมาก  ตอนที่เริ่มเเรกหนังได้ตัดมาจากภาคเเรกมาเมื่อพ.ศ.2120 เเล้วก่อนหน้านั้นพระนเรศวรทำอะไรอยู่ครับ  พระองค์ทรงรบกับพระยาจีนจันตุเเห่งเขมรอยู่ตามประวัติศาสตร์  เเต่ในหนังกลับไม่กล่าวถึง  ผมว่ายังมีอะไรคาดเคลื่อนครับในหนังเรื่องนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น jabe (jabeday-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-06-16 12:30:11


ความคิดเห็นที่ 2 (38461)
avatar
Benjamin

หนังเรื่องนี้สำหรับผมแล้วเนื้อเรื่องที่มีการแต่งเติมเรื่องราวที่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ลงไปให้น่าดู อันนี้ผมพอรับได้ แต่ที่ดูแล้วรู้สึกขวางหูขวางตามากๆก็คือ ชุดเกราะที่ทหารไทยใส่ ผมไม่เชื่อเลยว่าทหารไทยสมัยโบราณจะใส่เสื้อที่ถักจากโซ่ และ เสื้อเกราะเหล็ก ตั้งแต่เรียนรู้ประวัติศาตร์ชาติมาจากหนังสือ หรือ ภาพเขียนที่มีอยู่ตามวัดวาอาราม สมุดโบราณ เครื่องแบบทหารไทยสมัยก่อนไม่ใช่อย่างนี้แน่ๆ

ผมเคยเรียนกระบี่กระบองมาก่อน ซึ่งหัวใจหลักในการต่อสู้นั้น มันอยู่ที่ความเร็วและความคล่องตัวในการรบ ถ้าไปใส่ชุดเกราะหนักๆแบบนั้น จะยิ่งทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เพราะมันหนัก อีกอย่างขนาดร่างกายของคนไทย ก็ไม่ได้ใหญ่แบบพวกยุโรป ผู้กำกับก็ไม่ควรจะเลียนแบบหนังอิงประวัติศาสตร์ในยุคกลางจนเกินไป

ผู้แสดงความคิดเห็น Benjamin (ben_dog99-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-04-12 00:02:14


ความคิดเห็นที่ 3 (72302)
avatar
AumJumba

ก็ ถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของผู้กำกับ

เพราะถ้าทำหนังให้ ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ เป๊ะ หนังก็คงเหมือนวิชาประวัติศาสตร์ที่สอนตามโรงเรียนหรือมหาลัย

ที่น้อยคนนักจะ หันมาสนใจ ก็ถือเป็นข้อดี ข้อหนึ่งที่ ได้มีการสอดเเทรกความ กุ๊กกิ๊ก ของ พระราชมนู กับเจ้านางเลอขิ่น

ให้คนดู ได้ประทับใจ ในความตึงเครียดของหนัง เรียกว่า ยิ้มได้

ผู้แสดงความคิดเห็น AumJumba (watsuwach_w-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-06-11 21:17:51


ความคิดเห็นที่ 4 (81588)
avatar
อ่อนน้อม

พระแสงปืนต้นข้ามแม่นน้ำสะโตงเป็นปืนคาบชุดครับไม่ใช่ปืนคาบศิลา ปืนคาบศิลาถือกำเนิดขึ้นถัดจากยุคสมเด็จพระนเรศวร 90 ปีครับ อีกอย่างพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงที่รัชกาลที่1 ทรงจำลองไว้ก็เป็นปืนคาบชุดครับ ท่ายมุ้ยเองก็ทรงทราบและเห็นมาแล้วครับ แต่ท่านก็ไม่ยอมเปลี่ยนด้วยเหตุผลที่ว่าปืนสร้างเสร็จแล้ว สร้างใหม่เพื่อความถูกต้องจะเสียหายมากมั้ยครับกับภาพยนต์แห่งสยามประเทศ ส่วนเรื่องชุดเกราะผมเห็นด้วยกับคุณBenjaminครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อ่อนน้อม (katathorn_33g3-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-07-02 23:14:23


ความคิดเห็นที่ 5 (87757)
avatar
อ่อนน้อม

ตำนานรักไอ้บุญทิ้ง จีบกันค่อนเรื่อง

ผู้แสดงความคิดเห็น อ่อนน้อม (katathorn_33g3-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-07-22 19:29:46


ความคิดเห็นที่ 6 (94598)
avatar
lungbo

ผมเคยฟังเรื่องเล่าจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนประวัติศาตร์ว่า แม่น้ำสโตงนั้นกว้างขนาดเห็นช้างเท่าหมู ซึ่งคงจะไกลมากจนในหนังต้องให้มีปืนแบบพิเศษจริงๆถึงจะยิงกันถึง แล้วจริงๆมันมีปืนขนาดนี้จริงๆหรือไม่  อีกข้อนึงที่อยากตั้งข้อสังเกตุคือ อาจารย์ที่สอนประวัติศาตร์ท่านนั้นยังบอกว่า พงศาวดารของพม่าเองบอกว่าสรกันมา นายกองพม่านั่นตายแต่ไม่ใช่โดนปืน ประมาณว่าตกใจตายหรือหัวใจวายตาย ซื่งแย้งกับพงศาวดารไทย (แล้วอยุทธยาทราบได้อย่างไรนะว่าใครตาย หรือมีสายรายงานให้ทราบภายหลัง) วานผู้รู้จริงช่วยสงเคราะห์ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น lungbo ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-05-16 00:13:27



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker