dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Motorcycle Diaries บันทึกลูกผู้ชาย ชื่อ...เช
วันที่ 19/05/2013   20:42:51

โดย webmaster@iseehistory.com

คราวก่อนแนะนำภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของ เช เกวารา (หรือที่คนไทยออกเสียงเป็น "เช กูวารา") กันไปแล้ว คราวนี้ถึงตาภาพยนตร์เกี่ยวกับเชอีกเรื่องที่สร้างเป็นเกียรติแก่เขาโดยความร่วมมือของหลายชาติด้วยกัน ทั้งผู้กำกับชาวบราซิล นักเขียนบทชาวเปอโตริโก ร่วมผลิตโดย อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ ชิลี เปรู และฝรั่งเศส คือเรื่อง ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า The Motorcycle Diaries หรือในชื่อไทยว่า บันทึกลูกผู้ชาย ชื่อ...เช ครับ

ภาพยนตร์กล่าวถึงชีวประวัติเพียงช่วงสั้นๆ ในวัยหนุ่มของ เช หรือในชื่อเดิมว่า Ernesto Guevara de la Serna (หรือในชื่อเล่นว่า Fuser) แต่ก็เป็นช่วงสำคัญเมื่อเขาอายุ 23 เหลืออีกเทอมเดียวก็จะสำเร็จเป็นแพทย์ แต่ด้วยความรักที่จะออกไปเผชิญโลกกว้างร่วมกับเพื่อน คือ Alberto Granado (มีชื่อเล่นว่า Mial) นักศึกษารุ่นพี่ (อายุขณะนั้น 29 ย่าง 30) ในสาขาชีวะเคมี ทั้งสองจึงตกลงใจที่จะออกท่องเที่ยวให้ทั่วทวีปอเมริกาใต้ โดยมีพาหนะคือรถมอเตอร์ไซค์รุ่น 1939 Norton 500 ที่ทั้งสองขนานนามว่า The Mighty One กำหนดออกเดินทางจากบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในวันที่ 4 มกราคม 1952 (พ.ศ.2495) เดินทางลงใต้แล้ววกขึ้นเหนือเข้าประเทศชิลี เข้าไปยังประเทศเปรูเพื่อแวะที่ศูนย์โรคเรื้อน San Pablo จากนั้นผ่านโคลัมเบีย และจะไปจบการเดินทางและฉลองวันเกิดของ Mial ที่เวเนซูเอลา ในวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน

แผนที่การเดินทางโดยสังเขป (ภาพจากวิกิพีเดีย)

ถ้าจะถามว่า แค่มอเตอร์ไซค์เนี่ยนะ จะใช้เดินทางไกลขนาดนั้น แล้วจะรอดเหรอ? จากสภาพถนนหนทางของละตินอเมริกาเท่าที่เห็นในภาพยนตร์ ถนนระหว่างเมืองและระหว่างประเทศยังเป็นแค่ทางเล็กๆ รถราไม่ขวักไขว่ ไม่เหมือนทางระหว่างจังหวัดบ้านเรา โดยเฉพาะขณะนี้ อย่าว่าแต่รถมอเตอร์ไซค์เลยครับ รถเก๋งเล็กๆ ก็ยากจะรอดจากรถสิบล้อ กลับมาเข้าเรื่องการเดินทางของเชกับกรานาโด (ที่ต่อไปนี้ขอเรียกว่า "ฟูเซอร์" กับ "มีล" ตามที่เขาเรียกกันเองในเรื่อง)กันดีกว่า แม้ถนนจะดูไม่อันตรายดังที่ว่า แต่ด้วยความโทรมของรถตรงข้ามกับชื่อ The Mighty One ของมัน ทำให้ตัวมันเองไม่รอด และยังทำให้เจ้านายของมันล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายหน ดีที่ทั้งสองรอดมาได้ และอุตสาหะเดินทางต่อจนจบ กลายเป็นประสบการณ์ชีวิตครั้งสำคัญของฟูเซอร์ที่พลิกให้เขาต้องกลายมาเป็นนักปฏิวัติคนสำคัญของโลกในเวลาต่อมา

วันออกเดินทาง

ภาพยนตร์เริ่มจากสองเกลอตกลงว่าจะเดินทาง ก็จัดเตรียมข้าวของ แล้วก็ไปร่ำลาครอบครัวของฟูเซอร์กัน (ไม่ยักกล่าวถึงครอบครัวของมีลเลย) พอออกเดินทางยังไม่ทันพ้นสายตาครอบครัวเกวารา รถก็ทำท่าเหมือนจะพุ่งชนรถบัสเข้าซะแล้ว เล่นเอาใจหายใจคว่ำไปหมด พอออกนอกเมืองมาได้สักหน่อย อุบัติเหตุครั้งแรกก็ที่คูน้ำข้างทางเลยครับ แต่ก็ยังอุตส่าลากสังขารทั้งรถทั้งคนไปยังที่หมายแรก คือ Mirawa อันเป็นบ้านของชิชินา แฟนสาวของฟูเซอร์ ในวันที่ 13 มกราคม คิดเป็นระยะทาง 601 กิโลเมตร จากกำหนดเดิมที่จะแวะจีบสาวเพียง 2 วัน ก็ยืดเป็น 6 วัน โดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะทางพ่อแม่สาวเจ้าไม่ค่อยจะชอบสองหนุ่มนี้นัก และให้คุณป้าคอยกีดกันอยู่ตลอด ตัวสาวเจ้าเองแม้จะชอบฟูเซอร์อยู่บ้าง แต่ก็ไม่กล้ารับปากว่าจะรอเจ้าหนุ่มได้ตลอดไป ก่อนฟูเซอร์จะจากไปยังได้ฝากเงิน 15 ดอลลาร์อเมริกันไว้เผื่อว่าถ้าเขาได้ไปถึงอเมริกาก็ขอให้ซื้อชุดว่ายน้ำให้เธอด้วย

แวะบ้านชิชินา

ทั้งสองออกเดินทางต่อโดยมีทั้งร่วมทุกข์ร่วมสุข และมุขขำๆ จากการทะเลาะกันตามประสาหนุ่มๆ คู่หูคู่กัด ไม่ว่าเรื่องเจ้ารถ The Mighty One ที่ความจริงเป็น "อีแก่" เราดีๆ นี่เอง เรื่องเงิน 15 เหรียญของชิชินา ที่มีลขอให้ฟูเซอร์เอามาใช้ตลอดทาง เรื่องราวต่างๆ ตามที่ๆ แวะพัก ได้แก่

Piedra Aguila อาร์เจนตินา 29 ม.ค. 1,809 กม. รถล้ม ตกค่ำลมแรงจนพัดเต็นท์นอนปลิวหายไป ต้องไปอาศัยนอนในโรงเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้าน

San Martin de los Andes อาร์เจนตินา 31 ม.ค. 2,051 กม. พบชาวบ้านคนหนึ่ง มีก้อนเนื้อที่คอ ฟูเซอร์บอกไปตามประสาซื่อว่าน่าจะเป็นเนื้องอก (Tumor) มีลอ้างว่าเป็นแค่ Cyst ที่ทั้งสองรักษาได้ โดยหวังว่าจะอาศัยข้าวบ้านนี้กิน แต่ฟูเซอร์ยังพาซื่อยืนยันว่าเป็นเนื้องอกจนเกิดเถียงกันต่อหน้าเจ้าของบ้านจนเขาต้องเชิญให้ไปหาที่พักแรมกันเอาเองที่ทะเลสาบ

Estacioni de Trem de Bariloche อาร์เจนตินา 3 ก.พ. 2,270 กม. ฟูเซอร์ไม่สบาย (ในเรื่องไม่ระบุว่าเป็นไข้หรือหอบหืดกำเริบ)

Lago Frias อาร์เจนตินา 15 ก.พ. 2,306 กม. ลงเรือข้ามไปยังชิลี แล้วเดินทางข้ามเขาไปตามถนนที่เต็มไปด้วยหิมะ

The Mighty One กับความทุลักทุเลระหว่างการเดินทาง

Temugo ชิลี 18 ก.พ. 2,772 กม. ฟูเซอร์ไปให้ข่าวกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแบบเว่อ แล้วไปขอซ่อมรถฟรีที่ร้านแห่งหนึ่ง แล้วไปเที่ยวงานเต้นรำที่ City Hall จนมีเรื่องกับช่างที่ซ่อมรถเพราะไปจีบภรรยาเขาเข้า สองเกลอวิ่งเผ่นขึ้นรถหนีแทบไม่ทัน ออกจากตัวเมืองได้ไม่นาน ก็ขับรถไปชนวัวชาวบ้านเพราะเบรคแตก (ขอเขาซ่อมรถฟรีก็ยังงี้แหละ)

ขึ้นรถบรรทุกเดินทางมาถึง Los Angeles ชิลี 26 ก.พ. 2,940 กม. โชคดีพบสองสาวพี่น้องลูกของพนักงานดับเพลิงในเมือง ได้ที่พักและอาหาร ฟูเซอร์ถูกตามตัวไปดูอาการหญิงชราคนหนึ่งที่ใกล้จะตายเต็มที ที่แย่อีกประการคือช่างซ่อมรถเมืองนี้บอกว่า เจ้า Mighty One มันไปไม่ไหวแล้ว แนะนำให้ขายซากซะดีกว่า

ถัดจากนี้ไป การเดินทางของสองเกลอเริ่มเปลี่ยนจากบรรยากาศขำๆ แบบคอมเมดี้มาเป็นจริงจังแบบดรามามากขึ้น ลำพังความลำบากส่วนตัวจากการเดินเท้าสลับกับการโบกรถคงไม่เท่าไหร่ แต่จากนี้ไปการลงจากรถมอเตอร์ไซค์ทำให้สองเกลอเริ่มสัมผัสชาวบ้านผู้ทุกข์ยากมากขึ้น

คุยกับชนพื้นเมืองไร้การศึกษาที่ Cuzco

ที่ Valparaiso ชิลี 7 มี.ค. 3,573 กม. ฟูเซอร์ได้รับจดหมายจากชิชินาที่เขาอ่านแล้วก็โกรธ (เดาว่าเธอคงบอกเลิกเขาซะแล้ว)

Desierto de Atacama ชิลี 11 มี.ค. 4,960 กม. พบสองสามีภรรยาที่ยากจน ต้องร่อนเร่หนีตำรวจเพราะเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ต้องการจะไปทำงานที่เหมืองแห่งหนึ่ง

Mina de Chuguigamata ชิลี 15 มี.ค. 5,122 กม. ตามสองสามีภรรยามาที่เหมืองของบริษัทเหมืองแร่อนาคอนดา คนของบริษัทรับคนจนเพียงบางคนเข้าทำงาน ฟูเซอร์โวยที่คนงานไม่ได้รับน้ำจนเกือบมีเรื่อง

Cuzco เปรู 2 เม.ย. 6,932 กม. ชมโบราณสถานและพบปะกับชนพื้นเมืองที่ยากจน

Machupicchu เปรู 5 เมษายน 7,014 กม. ชมโบราณสถานสำคัญ

Machupicchu

Lima เปรู 12 พ.ค. 8,198 กม. ได้มาพบดร. Hugo Pesce ผู้อำนวยการโครงการบำบัดโรคเรื้อน ซึ่งมีลได้ติดต่อไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเดินทาง เขาได้ให้ความอุปการะสองเกลอทั้งที่พัก อาหาร เงิน และแนวคิดดีๆ ทางสังคม ระหว่างที่พักด้วยกันนี้ ดร.ได้นำหนังสือนวนิยายที่เขาแต่งขึ้นเองมาให้ทั้งสองอ่านเพื่อจะถามความเห็น พอถึงวันที่ทั้งสองออกเดินทางต่อไปยัง San Pablo ดร.ได้ไปส่งที่ท่าเรือ Pugallpa ก่อนลงเรือดร.คาดคั้นให้ทั้งสองแสดงความเห็นต่อนวนิยายดังกล่าว ฟูเซอร์วิจารณ์การเขียนของดร.อย่างตรงไปตรงมา เล่นเอาดร.แทบผงะ แต่ก็ไม่ถึงกับโกรธออกหน้าออกตา ตรงนี้ในสารคดีที่ผมแนะนำไว้ก่อนหน้านี้ มีล หรือ อัลเบอร์โต กรานาโด เล่าไว้ว่า เขาโกรธเชหรือฟูเซอร์ในเวลานั้นอย่างมาก ว่าดร.แกอุตส่าให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูอย่างดิบดี ไม่น่าจะไปวิจารณ์เขาแรงแบบนั้น แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่กล่าวถึงปฏิกิริยาของมีลแต่อย่างใด ตรงนี้คนขวาจัดอาจจะมองเชหรือฟูเซอร์ในทางลบ แต่ถ้าเทียบกับตอนที่ดูอาการคนที่เป็นเนื้องอกแล้ว น่าจะเป็นเพราะความจริงใจแบบตรงไปตรงมาของเขาเท่านั้น

ระหว่างเดินทางทางเรือไป San Pablo ขณะที่ฟูเซอร์มองบรรดาคนยากจนในเรือพ่วงด้วยสายตาละห้อย มีลกลับไปปิ๊งสาวที่ช่วยฟูเซอร์ขณะโรคหอบกำเริบ แม้จะทราบว่าเธอเป็นคุณตัวก็ยังมีความปรารถนาจะหลับนอนกับเธอให้ได้ มีลขอเงินดอลลาร์ของชิชินาจากฟูเซอร์ ๆ บอกว่าเขาได้ให้สองสามีภรรยาที่เหมืองในชิลีไปแล้ว มีลจึงต้องดิ้นรนหาเงินจากการเล่นไพ่จนสำเร็จ

การทำงานที่ สถาบันโรคเรื้อน San Pablo

San Pablo เปรู 8 มิ.ย. 10,225 กม. ที่นี่นับเป็นจุดไคลแม็กซ์ของเรื่องก็ว่าได้ สองเกลอได้มาช่วยงานสถาบันโรคเรื้อนที่นี่สมความตั้งใจ ในภาพรวมเหมือนที่นี่จะโอเค แต่ก็มีการแบ่งแยกและกฎเกณฑ์พิลึกๆ อยู่ คือบรรดาหมอพยาบาลและเจ้าหน้าที่จะพักอยู่ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำ บรรดาคนไข้ส่วนใหญ่จะสร้างที่พักอยู่ทางฝั่งใต้โดยมีแม่น้ำกั้นกลาง แม่ชีออกกฎให้เจ้าหน้าที่สวมถุงมือขณะอยู่ฝั่งใต้เพื่อกันการติดโรค ทั้งที่คนไข้ไม่ได้อยู่ในระยะแพร่เชื้อ ไม่เสิร์ฟอาหารกลางวันให้กับคนไม่เข้ารีต ฯลฯ แต่สองเกลอกลับปฏิเสธที่จะสวมถุงมือ และให้ความสนิทสนมเป็นกันเองกับคนไข้ ระหว่างนี้มีลได้รับหนังสือติดต่อจากคาราคัส (เวเนซูเอลา) ให้เข้าทำงาน ถึงวันที่ 15 มิ.ย. ทางสถาบันได้จัดงานเลี้ยงส่งทั้งสองที่จะออกเดินทางในวันรุ่งขึ้น รวมถึงฉลองวันเกิดให้ฟูเซอร์ (แต่ตามประวัติจริง ฟูเซอร์หรือเชเกิดวันที่ 14 พฤษภาคม) ที่ฝั่งเหนือ ฟูเซอร์กล่าวขอบคุณอย่างชื่นมื่น แต่ด้วยความรู้สึกบางอย่างที่สะสมมาตลอด ฟูเซอร์ออกมานอกอาคาร และตัดสินใจกระโดดน้ำว่ายไปยังฝั่งใต้โดยไม่สนใจคำคัดค้านของมีล ตอนแรกเกิดความตระหนกตกใจไปทั่วฝั่งเหนือ เพราะแม่น้ำทั้งกว้างและเชี่ยวกราก แต่แล้วด้วยความมุ่งมั่นของฟูเซอร์ เขาก็ว่ายไปถึงฝั่งใต้ได้สำเร็จท่ามกลางเสียงเชียร์ของคนทั้งสองฝั่ง ฉากการว่ายน้ำในคืนวันเกิดนี้ คงเป็นเสมือนการเกิดใหม่ของฟูเซอร์ที่จะเลือกอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ทุกข์ยากนั่นเอง

ฉลองวันเกิดอย่างชื่นมื่นบนบก และอย่างชุ่มฉ่ำด้วยการว่ายน้ำไปหาผู้ป่วย

วันรุ่งขึ้น ฟูเซอร์และมีลออกเดินทางโดยแพที่คนไข้ต่อไว้ให้ เดินทางไปขึ้นฝั่งที่ Cerga de Leticia โคลัมเบีย ในวันที่ 22 มิ.ย. และถึง Caracus เวเนซูเอลา ในวันที่ 26 ก.ค. จบการเดินทางด้วยระยะทาง 12,425 กม. มีลได้ไปส่งฟูเซอร์ขึ้นเครื่องบินกลับไปยังอาร์เจนตินา ก่อนขึ้นเครื่องบิน มีลชวนให้ฟูเซอร์มาทำงานด้วยกันหลังเรียนจบ แต่ฟูเซอร์กลับอ้ำอึ้งไม่รับปาก ภาพยนตร์บรรยายทิ้งท้ายว่า ในอีก 8 ปีถัดมา คือปี 1960 (พ.ศ.2503) มีล หรือ อัลเบอร์โต กรานาดา ได้รับเชิญจาก เช เกวารา หรือ ฟูเซอร์ ของเขาในอดีต ให้ไปทำงานด้วยกันในคิวบา และจากนั้น เชได้ไปเสียชีวิตในโบลิเวีย โดยที่ อัลเบอร์โต กรานาดายังคงทำงานในโรงพยาบาลกรุงฮาวานา

แล้วได้อะไรจากภาพยนตร์เรื่องนี้? ได้สองต่อเลยครับ

ด้านประวัติศาสตร์และชีวประวัติของเช เป็นเรื่องน่าคิดว่า ความอยากเผชิญโลกกว้างตามประสาวัยหนุ่มจะกลายมาเป็นจุดพลิกผันให้คนผู้หนึ่งกลายมาเป็นนักปฏิวัติในเวลาต่อมา หากดูสารคดีที่ผมแนะนำมาก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ว่าที่จริง ก่อนหน้านี้เชได้สะสมอะไรต่อมิอะไรมาไม่น้อยแล้วเหมือนกัน แต่ชีวิตของเชในช่วงนี้ก็นับว่าสำคัญ มีแกนของเรื่องและจุดเริ่มจุดจบที่สมบูรณ์ในตัว สมควรที่จะตัดตอนมาสร้างเป็นหนังเรื่องหนึ่งได้จริงๆ

และนิสัยของฟูเซอร์หรือเชในวัยหนุ่มนี้ก็บ่งบอกความเป็นคนเจ้าหลักการมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ไม่ว่าการวิเคราะห์โรคก้อนเนื้อของชายคนหนึ่งในอาร์เจนตินาอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นเนื้องอก แทนที่คล้อยตามมีลที่พยายามปลอบว่าเป็นแค่ซีสต์เพื่อหวังขอข้าวเขากินชั่วคราว การไม่ยอมนำเงินของชิชินาที่ฝากซื้อชุดว่ายน้ำมาใช้เป็นการส่วนตัว แม้ในเวลาที่หมดหวังจากเธอแล้ว ก็เอาเงินไปให้คนยากจนแทนการใช้ส่วนตัว การวิจารณ์นวนิยายของดร.Hugo Pesce ตรงๆ ความเห็นใจต่อคนยากคนจนที่พบเห็นตลอดทางรวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ San Pablo ฯลฯ ถ้าเจ้ารถ The Mighty One พาเขาไปล้มหัวฟาดหรือเสยสิบล้อที่ไหนซะก่อน เราคงไม่ได้รู้จักเขาในฐานะนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่เป็นแน่

อีกด้านหนึ่งคือการได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติและสภาพบ้านเมืองของละตินอเมริกา ที่ดูไม่หรูหรา แต่มีความงดงามอยู่ในตัวเป็นอย่างมาก

ส่วนหนึ่งของวิวทิวทัศน์อันสวยงาม

ตลอดเรื่องจะมีคำบรรยายบอกชื่อสถานที่ พร้อมด้วยวันที่และระยะทางการเดินทางตลอด เสียดายที่ได้เห็นแผนที่การเดินทางแว๊บเดียว ตอนต้นเรื่องที่สองเกลอกำลังจะออกเดินทาง มาตอนที่ถึงแต่ละที่นี่จินตนาการเองไม่ออกเลยว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องซีเรียสนัก

VCD ที่ใช้เขียนวิจารณ์เป็นฉบับพากย์ไทย แต่มีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษประกอบตลอด ในต้นฉบับเดิมจริงๆ เขาว่าเป็นภาษาสเปนกับภาษาพื้นเมืองละตินอเมริกา บทพากย์ไทยโดยทั่วไปก็พอใช้ได้ มีจุดที่ซีเรียสที่สุดตรงคำกล่าวของฟูเซอร์ในงานวันเกิดที่บอกว่า "สหรัฐอเมริกาจงเจริญ " แต่ในซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า "United America" ซึ่งหมายถึงละตินอเมริกาที่เขาฝันว่าจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวครับ คนละเรื่องกันเลย

ตลอดเรื่องไม่มีพูดถึงลัทธิการเมืองใดๆ มีแต่เรื่องปัญหาในสังคมที่พัฒนาความคิดของ "ลูกผู้ชายชื่อ...เช" โดยไม่ได้มีการยัดเยียดอุดมการณ์อะไร ใครจะเดินตามรอยนี้หรือไม่ก็คงสุดแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านครับ

คำคมชวนคิด

  • "ยิ่งฝังเพชรไว้ลึกเท่าไหร่ พวกโจรก็ยิ่งอยากได้มากเท่านั้น" (Don't your parents realize that the deeper you bury the diamonds, the more determined the pirate is to take them?) ฟูเซอร์พูดกับชิชินา
  • "ผมไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป อย่างน้อยก็ไม่ใช่คนเดียวกับที่เคยเป็น" (I am not me anymore, at least I'm not the same me I was.) ฟูเซอร์ กล่าวในบันทึกท้ายการเดินทาง
  • "นี่ไม่ใช่เรื่องราววีรกรรมอันใด เป็นเรื่องของสองชีวิตที่วิ่งมาคู่ขนานกันชั่วขณะหนึ่ง ด้วยแรงบันดาลใจและความฝันที่คล้ายคลึงกัน" (This isn't a tale of heroic feats. It's about two lives running parallel for a while, with common aspirations and similar dreams.) ฟูเซอร์กล่าวทิ้งท้ายในบันทึกการเดินทางร่วมกับมีล

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาสเปน : Diarios de motocicleta

ชื่อภาษาอังกฤษ : The Motorcycle Diaries

ชื่อภาษาไทย : บันทึกลูกผู้ชาย ชื่อ...เช

เรื่องเดิม : หนังสือชื่อเดียวกัน โดย Ernesto Che Guevara

ผู้สร้าง : Edgard Tenenbaum, Michael Nozik, Karen Tenkoff

ผู้กำกำกับ : Walter Salles

ผู้เขียนบท : Jose Rivera

ผู้แสดง :

  • Gael Garcia Bernal as Ernesto "Fuser" Guevara de la Serna
  • Rodrigo de la Serna as Alberto "Mial" Granado
  • Mercedes Moran as Celia de la Serna
  • Jean Pierre Noher as Ernesto Guevara Lynch
  • Ricardo Diaz Mourelle as Uncle Jorge
  • Diego Giorzi as Rodolfo
  • Facundo Espinosa as Tomas Granado
  • Mia Maestro as Chichina
  • Gustavo Bueno as Dr. Hugo Pesce
  • etc

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

71: Into the Fire สมรภูมิไฟล้างแผ่นดิน วันที่ 19/05/2013   20:31:42
May 18 - พฤษภาทมิฬของเกาหลีใต้ วันที่ 19/05/2013   20:32:36
CHE 2008 วันที่ 19/05/2013   20:34:01
เช! ความสำเร็จและความล้มเหลวของสงครามประชาชน วันที่ 19/05/2013   20:34:55
Exodus - อีกตำนานกำเนิดประเทศอิสราเอล วันที่ 19/05/2013   20:36:13
สี่เกล๊อะ จาไมก้า ว่าด้วยประวัติศาสตร์โอลิมปิกส์ฤดูหนาวแนวคอมเมดี้ วันที่ 19/05/2013   20:38:49
ความรุ่งโรจน์ ในโลกมืด ของ เรย์ ชาลส์ วันที่ 19/05/2013   20:39:38
Cast A Giant Shadow : ศึกรบศึกรักของขุนพลยิวอเมริกัน วันที่ 19/05/2013   20:40:41
Black Hawk Down วันที่ 19/05/2013   20:41:45
ฟอร์เรสต์ กัมป์ ยำใหญ่ประวัติศาสตร์อเมริกาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 19/05/2013   20:43:50
สารคดี Che Guevara วันที่ 19/05/2013   20:44:52
The Front Line (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:45:40 article
The Last King of Scotland (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:46:14 article
Hotel Rwanda (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:46:40 article
Apollo 13 (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:47:12 article
เท กึก กี เลือดเนื้อเพื่อฝัน วันสิ้นสงคราม (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:47:39 article
The Lady อองซานซูจี ผู้หญิงท้าอำนาจ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:48:07 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker