dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์
วันที่ 19/05/2013   19:42:39

โดย Webmaster@iseehistory.com

ในเรื่องอลาโม ทั้งในเวอร์ชัน 1960 (พ.ศ.2503) และเวอร์ชัน 2004 (พ.ศ.2547) เคยกล่าวเปรียบเทียบชาวอลาโมไว้ว่าเป็นเสมือน "บางระจันฝรั่ง" คราวนี้ถึงเวลากล่าวถึงบางระจันของไทยเองบ้างแล้ว

ชาวบ้านบางระจันเป็นวีรกรรมระดับชาวบ้านที่เกิดขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่สอง มูลเหตุโดยย่อเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้ามังระขึ้นครองราชบัลลังก์พม่า ในปีพ.ศ.2306 แล้ว แล้วไม่พอใจที่ทางกรุงศรีอยุธยาให้ความช่วยเหลือกบฎมอญอยู่เนืองๆ จึงต้องการยกทัพมาทำลายกรุงศรีอยุธยาไม่ให้ตั้งหลักเป็นราชอาณาจักรได้อีก ในปีพ.ศ.2308 จึงได้แต่งทัพยกมาสองทาง ทางเหนือให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ ทางใต้ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพ คุมพลทัพละเป็นแสนให้มาบรรจบกันกระหนาบตีกรุงศรีอยุธยา ตลอดทางทั้งสองทัพได้ดำเนินการปล้นสดมเอาทรัพย์สินและกวาดต้อนเชลย สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านชาวเมืองอย่างหนักหนาสากรรจ์ ทัพทางใต้สามารถเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาได้ตามกำหนด แต่ทัพเหนือกลับต้องมาเจออุปสรรคสำคัญ เนื่องจากชาวบ้านบริเวณสิงห์บุรี อ่างทอง วิเศษชัยชาญ ที่ไม่สามารถทนต่อการกดขี่ข่มเหงของพม่าได้รวมตัวกันต่อต้านพม่าที่หมู่บ้านบางระจัน เขตจังหวัดสิงห์บุรีในปัจจุบัน สามารถต่อต้านกองทัพพม่าได้นานถึง 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 3 ปีระกา จนถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ.2309

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันนับเป็นกรณีพิเศษที่ได้รับการจารึกในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ทั้งที่เอกสารดังกล่าวโดยปกติจะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการกล่าวขานตั้งแต่หนังสือ "ไทยรบพม่า" อันเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทย งานประวัติศาสตร์ชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ และอมตนิยายของ "ไม้ เมืองเดิม" มีการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ หลายครั้ง ซึ่งผมยังไม่มีเวลาจะค้นโดยละเอียด แต่ในครั้งนี้จะได้กล่าวถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งล่าสุดโดย ธนิตย์ จิตนุกูล เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่แจ้งเกิดให้กับดาราดังๆ ในปัจจุบันหลายท่าน

ภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน ในเวอร์ชันนี้ เท่าที่สังเกต ได้พยายามสร้างความเป็นตัวของตัวเอง คือนอกจากจะไม่ยึดกับบทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม ดังที่เคยสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครทีวีเรื่องก่อนๆ แล้ว ยังไม่เน้นการเดินเรื่องตามพระราชพงศาวดาร และมีการสอดใส่จินตนาการตามแบบของตน ซึ่งอาจเป็นความพยายามสร้างในสิ่งที่เข้าถึงคนยุคปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็มีบางจุดที่ดูเหมือนจะมีปัญหากระทั่งความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ซึ่งผมจะขอตั้งข้อสังเกตส่วนตัวประกอบการเปรียบเทียบบทภาพยนตร์กับเรื่องราวในประวัติศาสตร์เท่าที่พอจะทราบมาบ้าง ดังนี้

ชาวบ้านบางระจันระดับหัวหน้า

ในพระราชพงศาวดารได้จารึกชื่อชาวบ้านบางระจันระดับหัวหน้าไว้หลายท่าน ได้แก่ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ชาวบ้านศรีบัวทอง (หรือ สีบัวทอง) แขวงเมืองสิงห์ นายดอก ชาวบ้านกรับ และนายทองแก้ว บ้านโพธิทะเล แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ขุนสรรค์ (หรือ ขุนสัน) พันเรืองกำนัน นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ โดยนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช มาเป็นขวัญกำลังใจ

ในนวนิยายของ ไม้ เมืองเดิม ผู้ประพันธ์เลี่ยงที่จะแตะต้องบรรดาผู้มีชื่อในพระราชพงศาวดารเหล่านี้ มาสร้างเป็นตัวละครในจินตนาการ อันได้แก่ ไอ้ทัพ อีแฟง ไอ้สังข์ ไอ้ขาบ ฯลฯ ขึ้นมาเป็นตัวเดินเรื่องภายในค่ายบางระจัน และกล่าวถึงบุคคลระดับหัวหน้าดังกล่าวเป็นบุคคลที่สาม ทั้งนี้ ไม้ เมืองเดิม อาจมองว่าบรรพบุรุษจริงในประวัติศาสตร์อยู่สูงเกินกว่าจะไปแตะต้อง แต่สำหรับภาพยนตร์ชุดนี้ ผู้เขียนบทกล้าหาญชาญชัยพอที่จะสร้างหัวหน้าชาวบางระจันแต่ละคนตามจินตนาการ แล้วใช้เป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่องเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่หมิ่นเหม่ต่อภาพลักษณ์ของชาวบางระจันแต่ละท่าน เช่น ภาพของนายทองเหม็นระยะแรกอยู่ในสภาพเมาหยำเป หรือกรณีนายอินที่แอบทิ้งหน้าที่เวรยามพาพลพรรคส่วนหนึ่งไปลอบฆ่าแม่ทัพพม่า ทำให้ทหารพม่าอีกส่วนบุกมาโจมตีค่ายจนเสียหายหนัก โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบวิธีของ ไม้ เมืองเดิม ที่เลือกจะไม่แตะต้องภาพลักษณ์ของบรรพบุรุษที่มีชื่อในประวัติศาสตร์มากกว่า

ห้าเดือนกับแปดนายทัพพม่า

ตอนแรกๆ ที่พม่าถูกชาวบางระจันโจมตีนั้น ทางพม่ายังเข้าใจว่าคงเป็นแค่กองโจรเล็กๆ ประมาณว่า "โจรกระจอก" หรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ครั้นแล้วปราบไปปราบมาไม่สำเร็จสักที มีแต่จะสูญเสียหนักขึ้น จนการเดินทัพไปกรุงศรีอยุธยาต้องล่าช้าลง ต้องใช้นายทัพสำคัญนำกำลังเข้าปราบปรามถึง 8 ครั้งด้วยกันจึงสำเร็จ ดังปรากฏชื่อนายทัพในพระราชพงศาวดาร ดังนี้

  1. งาจุนหวุ่น กำลังพล 500
  2. เยกิหวุ่น กำลังพล 700
  3. ติงจาโบ กำลังพล 900
  4. สุรินทจอข้อง กำลังพล 1,000 เศษ ม้าหกสิบม้า
  5. แยจออากา กำลังพล 1,000 เศษ
  6. จิกแก ปลัดเมืองทวาย กำลังพล 100 เศษ (ทำไมน้อยจัง)
  7. อากาปันคยี กำลังพล 1,000 เศษ
  8. สุกี้พระนายกอง หรือ สุคยี กำลังพลประมาณ 2,000

ในครั้งที่ 4 เป็นครั้งที่มีการกล่าวในรายละเอียด ว่าสุรินทจอข้องท่านเล่นยืนม้ากั้นร่มเป็นสง่าในกองทัพ ชาวบางระจันของเราเห็นชัดดังนั้นก็ลุยเข้าใส่ตรงที่ท่านอยู่แบบไม่คิดชีวิต จนพม่าต้องเสียแม่ทัพในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็ทำให้นายแท่น หัวหน้าคนสำคัญคนหนึ่งถูกยิงที่เข่าได้รับบาดเจ็บจนออกรบไม่ได้อีก ทั้งสองฝ่ายรบกันตั้งแต่เช้ายันเที่ยง ต่างฝ่ายต่างหิวข้าวก็แยกย้ายกันไปเอง ฝ่ายบางระจันได้ผู้หญิงหุงหาอาหารที่เตรียมไว้แล้ว นำมาให้ผู้ชายกินได้ทันที อิ่มกันแล้วก็ลุยต่อสิครับ แต่ทางพม่ายังหุงข้าวไม่ทันสุกเลย ถูกพี่ไทยเราโจมตียับเยิน ผู้เขียนบทภาพยนตร์เวอร์ชันนี้คงประทับใจการรบครั้งนี้มาก ถึงกับนำมาสร้างเป็นฉากเปิดเรื่อง แล้วมาตอนไปขอปืนใหญ่ที่กรุงศรีอยุธยาถึงมาแต่งเรื่องให้มีการเล่าย้อนให้ชาวกรุงฟังถึงมูลเหตุของการตั้งค่าย

ใน 7 ครั้งแรกนั้น ฝ่ายไทยได้ชัยชนะอย่างงดงามมาตลอด แต่ในภาพยนตร์กลับไปแต่งเรื่องว่าในครั้งที่ 7 (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด) เกิดกรณีนายอินเล่นอ๊อฟไซต์ทิ้งเวรยามไปลอบฆ่าแม่ทัพพม่าดังที่กล่าวในหัวข้อก่อน เหมือนกลัวคนดูจะมีลุ้นน้อยไปหรือไงไม่ทราบ เอาเป็นว่าตามพระราชพงศาวดารนั้น ชาวบางระจันพึ่งจะเจอศึกหนักเอาเมื่อครั้งที่ 8 ซึ่งผมจะกล่าวรายละเอียดในตอนท้าย

พี่หม่องต้องเป็นผู้ร้ายตลอดศก?

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความโหดร้ายของกองทัพพม่าในคราวที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นี้ เป็นเรื่องที่ฝังใจคนไทยเป็นอย่างมาก จากการเขียนประวัติศาสตร์ในแนวชาตินิยม และย่อมจะมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อยด้วย แต่ปัญหาโลกแตกตลอดกาลคือ อย่างไรเสีย พม่าก็เป็นเพื่อนบ้านไทยมานมนานจนถึงปัจจุบัน แล้วในการสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่า โดยเฉพาะในยุคเสียกรุงครั้งที่สองนี้ ควรจะกล่าวถึงความโหดร้ายของทหารพม่าขนาดไหน ถึงจะพอดีๆ ในกรณีชาวบ้านบางระจันนี้ หากเกรงใจพี่หม่องมากเกินไป จนเหมือนกับพม่าไม่ได้โหดร้ายอะไรนัก การรวมตัวขึ้นสู้ของชาวบ้านบางระจันก็จะอ่อนเหตุผลลง แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ความพอดีอยู่ตรงไหนยากจะบอกได้เหมือนกันครับ

สำหรับ บางระจัน เวอร์ชันนี้ โดยส่วนตัวรู้สึกว่าสร้างความโหดร้ายของพม่ามากกว่าที่เคยอ่านหรือเคยฟังจากในประวัติศาสตร์ ลำพังฉากพม่าปล้นฆ่าชาวบ้านก็พอทำเนา มาดูฉากพม่ากับเชลยไทยในค่ายแล้ว จะเห็นพม่าเตะถีบเชลยไทยแทบจะตลอดเวลา การฆ่าคนจนกองเป็นภูเขาเลากา จนกระทั่งฉากสุดท้ายเอาหัวคนไทยมาเสียบไม้ชูข่มขวัญชาวบางระจัน ฯลฯ แม้จะไม่คำนึงถึงเรื่องความสัมพันธ์กับพี่หม่องก็ยังรู้สึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทั้งโหดและสยดสยองจนไม่อยากให้ลูกเด็กเล็กแดงดูเลย ขอฝากให้ผู้สนใจสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทยได้พิจารณาต่อไปนะครับ ว่าความพอดีควรอยู่ที่ตรงไหน

การขอปืนใหญ่กับเรื่องของพระยารัตนาธิเบศ

หัวข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องลำดับเวลาตามด้วยเรื่องของตัวบุคคล เป็นความจริงที่บันทึกไว้ว่าชาวบางระจันได้ส่งคนไปขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นช่วงที่สุกี้เริ่มรุกคืบเข้าหาค่ายบางระจันจนต้องสูญเสียหัวหน้าคนสำคัญ เช่น นายทองเหม็น นายแท่น ขุนสัน และนายจันทร์หนวดเขี้ยวไปแล้ว ไม่ใช่หลังจากศึกครั้งที่สี่อย่างในภาพยนตร์ และการรวบยอดให้หัวหน้าชาวบ้านมาตายในฉากสุดท้ายก็ไม่เป็นความจริง ส่วนกรณีพระยารัตนาธิเบศที่มาช่วยหล่อปืนใหญ่ให้ชาวบ้านนั้น มีประเด็นฝากให้คิดต่อตรงที่ หลวงวิจิตรวาทการเคยตีความพฤติกรรมหลายๆ อย่างของท่านนอกเหนือจากในเหตุการณ์บางระจันว่า เป็นคนที่ดีแต่หนีเอาตัวรอดหลายครั้งหลายคราว แต่จะจริงหรือไม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้เลือกที่จะไม่แตะต้องนอกจากกล่าวตามพงศาวดาร ซึ่งก็เป็นสิทธิของเขา ไม่ว่ากัน แต่ฝากนักค้นคว้าทั้งหลายลองคิดเป็นการบ้านว่าคนที่อุตส่าลงทุนไปช่วยหล่อปืนใหญ่ให้ชาวบางระจันนั้น เป็นคนอย่างไรกันแน่ เป็นความเสียสละ หรือรู้ไม่จริงจนชาวบ้านได้ปืนร้าว แล้วไม่รับผิดชอบ หรือ ฯลฯ ?

สุกี้กับความปราชัยของบางระจัน

นายทัพคนสุดท้ายที่พิชิตชาวบางระจันได้นี้ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ตกเป็นผู้ร้ายตลอดของประวัติศาสตร์ไทย และในภาพยนตร์เรื่องนี้ยังถูกเติมสี ตั้งแต่เปิดตัวด้วยการนำเศียรพระพุทธรูปเข้ามาในค่ายเนเมียวสีหบดี การเป็นเจ้าของความคิดในการส่งพระปลอมไปกำจัดพระอาจารย์ธรรมโชติ การเอาเชลยที่เป็นผู้หญิงและเด็กมาฆ่าแขวนที่ต้นไม้ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่ไม่มีกล่าวในพงศาวดารเลย ชัยชนะของสุกี้หรือสุคยีนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาในแง่ยุทธวิธีอย่างมาก เขาเห็นว่าชาวบางระจันตั้งค่ายอยู่ในที่ที่ชัยภูมิดี เดินทัพเข้าถึงยาก ทำให้กองทัพพม่าแต่ละครั้งถูกลอบโจมตีก่อนจะเข้าถึง จึงใช้วิธีการตั้งค่ายสลับกันรุกคืบเข้าไป ดังที่ในพงศาวดารอธิบายว่า

"...และพระนายกองยกทัพไปตีค่ายบางระจันครั้งนั้นมิได้ตั้งทัพกลางแปลง ให้ตั้งค่ายรายไปตามทางทีละสามค่าย แล้วให้รื้อค่ายหลังผ่อนไปตั้งข้างหน้าอีก แต่เดินค่ายไปตามทางทีละสามค่าย ดังนี้ถึงกึ่งเดือนจึงไปเกือบจะใกล้ค่ายบ้านระจัน พวกตัวนายค่ายบ้านระจันคุมพลทหารยกออกตีค่ายพระนายกองเป็นหลายครั้งไม่แตกฉาน และพระนายกองตั้งมั่นรับอยู่แต่ในค่ายมิได้ออกรบนอกค่าย พวกบ้านระจันเสียคนล้มตายเป็นอันมาก..."

อยากจะเห็นใจเหมือนกันว่า การจะสร้างหนังให้ได้อย่างที่อธิบายในพงศาวดารนี้คงไม่ง่ายเหมือนกัน แต่นึกไม่ออกว่าในหนังเวอร์ชันเก่าที่เคยดูตอนเด็กๆ เขาถ่ายทอดตรงนี้ไว้อย่างไร เอาเป็นว่ากลยุทธที่แท้จริงของสุกี้คือการค่อยๆ ตั้งค่ายสลับกันเข้าประชิด ไม่ผลีผลามออกมารบนอกค่าย ส่วนเรื่องปืนใหญ่หรือความโหดร้ายอะไรต่างๆ นั้นเป็นประเด็นรอง แต่ถ่ายทอดลงแผ่นฟิล์มง่ายกว่า


โดยสรุปภาพรวมของภาพยนตร์ก็คงคล้ายกับภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อีกหลายเรื่อง ที่ต้องยกย่องความปรารถนาดีในการนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาแนะนำให้เรารู้จัก แต่ความที่ผู้เขียนบทแต่งเติมเรื่องเพื่อให้ได้อรรถรสภาพยนตร์บันเทิงในทัศนะของท่าน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล ที่บรรดาผู้ชมไม่ควรด่วนสรุปตามสิ่งที่ภาพยนตร์เสนอ แต่จะต้องค้นหาข้อเท็จจริงมาประกอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย : บางระจัน

ชื่อภาษาอังกฤษ : Bang-Rajan. The Legend of the Village Warriors.

ผู้สร้าง : UNCLE

ผู้กำกำกับ : ธนิตย์ จิตนุกูล

ผู้เขียนบท : ธนิตย์ จิตนุกูล และคณะ

ผู้แสดง : วินัย ไกรบุตร, บิณฑ์ บันลือฤทธิ์, จรัญ งามดี, ชุมพร เทพพิทักษ์, บงกช คงมาลัย, ฯลฯ

(เนื่องจากวีซีดีที่ใช้ดูแสดงชื่อผู้แสดงและผู้เกี่ยวข้อง เป็นภาษาอังกฤษ จึงขอแสดงชื่อเท่าที่ผมพอจะทราบเท่านั้น)

ควรอ่านเพิ่มเติม

  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ
  • นวนิยาย "บางระจัน" ของ ไม้ เมืองเดิม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย? วันที่ 19/05/2013   19:41:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (94396)
avatar
sariddok

จะนำไปประกอบการเรียนวิชาไทยคดีศึกษา

ผู้แสดงความคิดเห็น sariddok ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-05-05 12:00:18



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker