dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



จอมโจรมเหศวร โรบินฮู้ดเมืองไทย?
วันที่ 19/05/2013   19:41:12

เสือมเหศวรตัวจริง รับบทเป็นผู้ใหญ่สุก บิดาตนเอง

โดย webmaster@iseehistory.com

"เราไม่เคยคิดจะเข้ามาในวงการโจร แต่มีความจำเป็น ไม่มีทางเลือก" เป็นคำกล่าวของ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อดีต "เสือดำ" 1 ในบรรดาโจรชื่อดังหลายคนในยุคปลายสงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงคราม ที่จะฟังขึ้นหรือไม่ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่าน มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า เหตุที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุมในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากผลกระทบของสงครามทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง อาวุธสงครามแพร่หลายในตลาดมืด อำนาจรัฐที่ยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาการคมนาคมและตัวข้าราชการเองที่ไร้ประสิทธิภาพหรือบางทีก็ข่มเหงราษฎร และความเชื่อในเครื่องรางของขลังต่างๆ ทำให้คนจำนวนหนึ่งหันไปเป็นโจร ซึ่งมีทั้งประเภทที่เรียกว่า "เป็นโจรโดยสันดาน" อยู่แล้ว และรายที่ถูกข่มเหงรังแกโดยอำนาจรัฐไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้ ดังเช่น อดีตเสือดำเจ้าของคำพูดในตอนต้น และ "เสือมเหศวร" ที่มีผู้นำชีวิตของเขามาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย ในยุค "มิตร-เพชรา" ออกฉายเมื่อปีพ.ศ.2513

เมื่อผมเริ่มศึกษาหาข้อมูลประกอบการเขียนภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากปัญหาการหาเอกสารอ้างอิงในเบื้องต้น และการไม่ปรากฏวันเดือนปีที่แน่นอนของเหตุการณ์แล้ว ยังมีเรื่องของเอกสารที่ดูเหมือนขัดแย้งกันอยู่บ้าง ดังที่จะได้กล่าวต่อไป ในหนังสือเรื่อง "คนใต้หนังเหนียว" อันเป็นชีวประวัติส่วนหนึ่งของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเเดช จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฉัตรรพี ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (ผมลืมปั๊มวันเดือนปีที่ซื้อหนังสือไว้ จำได้คร่าวๆ เพียงว่าซื้อในราวปีพ.ศ.2537-2539) ลำพังเรื่องของขุนพันธ์ฯ ยังเขียนไม่จบเลย จึงไม่แปลกที่จะกล่าวถึง "เสือมเศวร" เพียงว่าเป็นสมุนมือรองคนหนึ่งของ "เสือฝ้าย" แต่อย่างน้อยก็พอจะให้ภาพของสังคมไทยเวลานั้นได้พอสมควร "คนใต้หนังเหนียว" กล่าวว่า ขุนพันธรักษ์ราชเดช ขณะมียศเป็น พ.ต.ต. ได้รับคำสั่งโยกย้ายจากผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตรไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท เมื่อ 23 มิถุนายน 2488 ขณะนั้น มีชุมโจรใหญ่ๆ ในเขตความรับผิดชอบของท่าน ได้แก่ จังหวัดชัยนาท มี เสือครึ้ม เสือย่อม เสือเห้ย เสืออ้วน และสองพี่น้อง เสือสมเสือศักดิ์ และสุพรรณบุรี มี เสือฝ้าย เสือเกลี่ย เสือดอย และเสือดำ "คนใต้หนังเหนียว" จะกล่าวถึงบรรดาเสือเหล่านี้ในทางลบเป็นส่วนใหญ่ นอกจากครั้งหนึ่ง ที่เล่าเหตุการณ์ตอนเสือครึ้มนัดให้ขุนพันธ์ฯ ไปพบเพื่อเจรจาขอมอบตัวในภายหน้า ที่สะท้อนให้เห็นว่า "เสือ" เหล่านี้มีส่วนหนึ่งที่เป็นโจรด้วยความจำใจ บทความในรุ่นหลังๆ ยังได้กล่าวถืงเสือบางคนอย่าง เสือฝ้าย เสือมเหศวร เสือใบ และเสือดำ ในด้านบวกเช่นกันว่า เดิมทีคนเหล่านี้เป็นสุจริตชนที่ถูกข่มเหงจนต้องเตลิดไปเป็นโจร เมื่อเป็นโจรแล้ว จะ "ปล้น" ด้วยวิธีการที่จะเรียกว่านิ่มนวลหรือเลวน้อยหน่อยก็แล้วแต่ทัศนะ เช่น การเลือกปล้นเฉพาะคนที่รวยมาจากการโกง ไม่ปล้นใครจนหมดตัว ไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์นอกจากรายที่ต่อสู้ขัดขืน รายได้ส่วนหนึ่งทำบุญกุศลและช่วยเหลือคนจน ฯลฯ จะเชื่อถือได้แค่ไหนก็ไม่ทราบ เนื่องจากบทความเหล่านี้จะเขียนจากปากคำของบรรดาเสือเหล่านั้นเอง แต่อย่างน้อย การที่เสือเหล่านี้ลงเอยด้วยการมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบางรายช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ปราบโจรร้ายกลุ่มอื่น เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วไม่มีเจ้าทุกข์มาชี้ตัว ก็คงพอเป็นหลักประกันความจริงได้บ้าง

ศวรขณะชกต่อยกับหัวหน้าคนงานที่อิจฉาเขา

มาเข้าเรื่องเสือมเหศวรกันเต็มๆ ซะที มเหศวร มีชื่อเดิมว่า "ศวร เภรีวงษ์" เกิด ตำบลสีบัวทอง ซึ่งระหว่างจังหวัดอ่างทองกับสุพรรณบุรี ในภาพยนตร์เราจะได้เห็นมเหศวรตัวจริงในบทของผู้ใหญ่สุก (หรือ "สุข" ก็ไม่ทราบ) บิดาของตนเอง และ มิตร ชัยบัญชา รับบทเป็นนายศวร ที่จะกลายมาเป็นเสือมเหศวรในภายหลัง เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อลูกบ้านคนหนึ่งมาแจ้งกับผู้ใหญ่สุกให้ไปตามคนร้ายที่ขโมยควาย ระหว่างทาง ผู้ใหญ่สุกได้พบกันนายศวร ลูกชายที่พึ่งปลดประจำการจากการเกณฑ์ทหาร จึงหยุดทักทายกันและสั่งให้ศวรบอกนางตลับผู้เป็นภรรยาตนและแม่ของศวร ให้ฆ่าไก่ทำอาหารไว้ฉลองการกลับมาของศวร แต่พอศวรถึงบ้านได้ไม่นาน หมื่นชน (ชื่อสมมติ) ศัตรูของผู้ใหญ่สุกที่หวังจะครอบครองที่ดินของผู้ใหญ่และเป็นใหญ่ในละแวกนั้นมานาน ได้ลอบยิงผู้ใหญ่สุกถึงแก่ความตาย ศวรวิ่งตามเสียงปืนไปพบเข้า ก็ถูกหมื่นชนกับพวกไล่ตามฆ่าด้วยอีกคน จนต้องหนีเอาชีวิตรอด

ศวรหนีไปถึงไร่แห่งหนึ่ง โฉมยาหลานสาวเจ้าของไร่ได้รับไว้เป็นคนงานในไร่ทั้งๆ ที่พิทักษ์พี่ชายไม่เห็นด้วย ศวรกับโฉมยาสนิทสนมกันมากขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจของพิทักษ์ ชิงชัยเพื่อนของพิทักษ์ที่หมายปองโฉมยา เจ้าของไร่ผู้เป็นอาของโฉมยา และคนงานอื่นๆ ที่อิจฉาริษยา ขณะเดียวกัน หมื่นชนได้ตามมาคุกคามนางตลับบังคับให้บอกที่ซ่อนของศวร ทำร้ายเธอจนได้รับบาดเจ็บที่ตาขวา และจับเธอพิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารแผ่นหนึ่ง อันเป็นการฮุบเอาที่ดินของผู้ใหญ่สุกแต่เดิมไปนั่นเอง ด้านศวรได้ออกจากไร่ไปรับจ้างถีบสามล้อ จนได้มาพบกับคนจรจัดชื่อเบี้ยว และได้พบกับพิทักษ์ชิงชัยและเจ้าของไร่โดยบังเอิญ ทั้งสามหลอกว่าโฉมยากำลังจะแต่งงานกับชิงชัย ทำให้ศวรผิดหวังเตลิดไปขอสมัครเป็นลูกน้องของเสือฝ้าย โดยมีเบี้ยวติดตามไปด้วย

ตรงนี้ขอขยายความเกี่ยวกับ "เสือฝ้าย" นอกจากที่กล่าวในภาพยนตร์ไว้สักนิด เสือฝ้ายมีชื่อเดิมว่า ฝ้าย เพ็ชนะ เคยบวชเรียนแล้วสึกออกมาเป็นผู้ใหญ่บ้าน แล้วต้องติดคุกเพราะถูกหลานเขยใส่ความว่าเป็นโจรจนต้องติดคุกถึง 8 ปี โดยทีแรกไม่ทราบความจริง จนกระทั่งหลานเขยคนเดิมพยายามใส่ความอีกครั้ง ฝ้ายจึงฆ่าทิ้งและหนีเงื้อมมือกฎหมายมาตั้งชุมโจร จนมีอิทธิพลมาก ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี แม้แต่ชุมเสืออื่นๆ ก็ให้ความเคารพยำเกรง จนได้รับสมญาว่า "พ่อเสือ" บ้าง "จอมพลเสือฝ้าย" บ้าง "ครูฝ้าย" บ้าง

ศวรและเบี้ยวมาขอสมัครเป็นลูกน้องเสือฝ้าย

กลับมาดูเรื่องในภาพยนตร์ต่อ เสือฝ้ายได้รับศวรกับเบี้ยวไว้ในชุมโจรในตำแหน่ง "จุมโพ่" ซึ่งจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น "เบ๊" ก็ว่าได้ คือ ทำหน้าที่หุงข้าว ทำอาหาร บีบนวด และจะมี "อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย" แบบราชการหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่หน้าที่ในการออกปล้น ความปรารถนาที่จะล้างแค้นทำให้ศวรอยากได้ปืนมาฝึกยิง เบี้ยวได้ช่วยเหลือจนทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาทกับเสือจอนและเสือหวิง สมุนคนสำคัญของเสือฝ้าย เสือฝ้ายเห็นฝีมือการต่อสู้ของศวรที่เหนือกว่าลูกน้องทั้งสองของตน จึงได้ทดสอบด้วยการส่งศวรปล้นโดยไม่ให้ประกาศว่าเป็นลูกน้องตน ในหนังจะตัดข้ามมายังตอนที่ศวรนำทรัพย์สินที่ปล้นได้มามอบให้เสือฝ้ายแล้ว เสือฝ้ายพอใจและแต่งตั้งให้ศวรเป็นสมุนมือขวา พร้อมชื่อใหม่ว่า "มเหศวร" แหล่งข้อมูลอื่นไม่ได้เจาะจงว่าเสือฝ้าย เป็นผู้ตั้งชื่อนี้หรือไม่ แต่มาจากชื่อพระเครื่องมเหศวรที่ศวรบูชาและคล้องคออยู่ตลอด เชื่อว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน นอกจากนี้ เล่ากันว่า เสือฝ้ายเป็นผู้สอนวิชาอาคมต่างๆ ให้กับบรรดาสมุนทั้งหลายรวมทั้งมเหศวรด้วย แต่ในภาพยนตร์ทั้งเรื่องจะไม่กล่าวถึงวิชาอาคมใดๆ เลย ปัญหาคงไม่ใช่แค่ว่าผู้สร้างจะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์นี้หรือไม่ ในตอนต้นเรื่อง ได้มีคำประกาศไว้ว่าต้องการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้เป็นอุทธาหรณ์แก่ผู้ที่กำลังเดินทางไปสู่อเวจี เรื่องเครื่องลางของขลังต่างๆ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ของเรื่อง

ต่อมา ชุมโจรเสือดำถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย นายดาบลิขิต เข้าปราบปราม เสือดำหนีเข้ามาในเขตของเสือฝ้าย ๆ ให้เสือมเหศวรนำกำลังไปกำจัดเสือดำ แต่เสือมเหศวรกลับนำคนไปล้างแค้นฆ่าหมื่นชนตาย แล้วไปเยี่ยมแม่ซึ่งมีหญิงสาวชื่อเอื้องฟ้าปรนนิบัติดูแลอยู่ และได้อ่อนใจ พี่ชายของเอื้องฟ้ามาเป็นสมุนอีกคน ผลของการไม่ทำตามคำสั่งเสือฝ้าย ทำให้เสือดำออกอาละวาดปล้นฆ่าชาวบ้านในเขตเสือฝ้าย ๆ โกรธ และขับเสือมเหศวรกับพวกให้ไปตั้งชุมโจรของตัวเองต่างหาก

เสือมเหศวรต่อสู้กับเสือจอนและเสือหวิงที่พยายามฉุดโฉมยากับศรีวรรณ

โฉมยากับเพื่อนชื่อศรีวรรณได้มาที่ชุมโจรของมเหศวรเพื่อปรับความเข้าใจกัน แต่ได้พบมเหศวรซึ่งยังไม่หายโกรธกำลังอยู่กับเอื้องฟ้า จึงงอนวิ่งหนีกลับไป ระหว่างทางถูกเสือจอนกับเสือหวิงพยายามฉุดคร่า มเหศวรกับเบี้ยวมาช่วยไว้ทัน โฉมยาจึงต้องพักอยู่ที่ชุมโจรของมเหศวรจนปรับความเข้าใจกันได้ แต่เสือจอนกับเสือหวิงได้ไปใส่ความยุยงเสือฝ้ายหาว่ามเหศวรต้องการท้ายทายอำนาจ รุ่งขึ้นมเหศวรนำโฉมยากับศรีวรรณไปส่ง เจ้าของไร่กับพิทักษ์และชิงชัยนำพรรคพวกมาพบเข้าก็พยายามรุมทำร้าย เสือฝ้ายมาพบเข้าจึงสังหารเจ้าของไร่กับพิทักษ์และชิงชัยตายหมด จากนั้นจึงสอบถามเสือมเหศวรเรื่องที่สองเสือลูกน้องตนใส่ความไว้ เสือมเหศวรเล่าความจริงโดยมีโฉมยากับศรีวรรณเป็นพยาน เสือฝ้ายจึงสังหารเสือจอนกับเสือหวิง แล้วกล่าวลาเสือมเหศวรว่า คงไม่ได้พบกันอีกแล้ว เพราะทางการได้ส่งนายร้อยตำรวจเอกคนหนึ่งมาปราบปรามตน ตรงนี้ขอแทรกเรื่องจริงที่ปรากฏนอกเหนือจากในหนังอีกทีว่า ในภายหลัง เสือฝ้ายได้กลับใจมาช่วยเหลือทางการในการปราบปรามชุมโจรอื่นๆ และเข้ามอบตัวในที่สุด แต่จะด้วยความแค้นเดิมหรือเหตุผลกลใดไม่ทราบ นายร้อยตำรวจเอกคนที่ในหนังเอ่ยชื่อนามสกุลท่านไว้ด้วยนั้น ได้กระทำวิสามัญฆาตกรรมเสือฝ้ายที่วัดโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ระหว่างทางที่คุมตัวไปยังกรุงเทพฯ เหตุผลและเรื่องราวที่แท้จริงเป็นอย่างไรคงต้องฝากให้ศึกษากันต่อไป

มเหศวรยิงต่อสู้กับเสือดำ

เหตุการณ์ต่อมา เสือมเหศวรได้พยายามล้างชุมโจรเสือดำ ๆ จับนางตลับไปเป็นตัวประกันเพื่อล่อให้เสือมเหศวรมาช่วย แล้วซ้อนกลให้ตำรวจนำกำลังมาจับ มเหศวรปะทะกับกำลังของลิขิต (ที่เลื่อนจากนายดาบเป็นผู้หมวดแล้ว) จนถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ระหว่างหนีถูกเสือดำกับพวกคอยสกัดอยู่ เมียเสือดำถูกยิงตาย ทำให้เสือดำสู้อย่างบ้าเลือด เมื่อลูกน้องเสือมเหศวรอีกส่วนหนึ่งตามมาพบได้แอบไปโจมตีเสือดำทางด้านหลัง ทำให้เสือดำกับพวกถูกยิงตายหมด ฉากนี้ที่นับว่าแปลกคือตามปกติในหนังไทยรุ่นเก่าๆ หลายเรื่องจะมีนางรองวิ่งมาบังกระสุนตายแทนพระเอก แต่เรื่องนี้เมียเสือดำกลับตายเพราะออกมาบังกระสุนตายแทนเสือดำก่อน แล้วพอเสือดำตายก็อุตส่าไปล้มทับร่างเมียพอดี ดูแล้วจะน่าอิจฉายิ่งกว่าคู่พระคู่นางซะอีก เพราะก่อนหน้านี้ก็จะมีฉากวับๆ แวมๆ ระหว่างเสือดำกับเมียอยู่สองฉากด้วย ในด้านข้อเท็จจริงนั้น เสือดำตัวจริงเมืองสุพรรณ แม้จะเป็นชุมเสือที่ไม่ยอมขึ้นกับเสือฝ้าย แต่ก็ไม่ได้เป็นเสือร้ายอย่างในหนัง และเป็นเสือกลับใจรายหนึ่งที่ยอมมอบตัวต่อทางการ โดยมีเรื่องเล่าว่าได้ปะทะกับขุนพันธรักษ์ราชเดชหลายครั้ง แต่ต่างฝ่ายต่างมีวิชาอาคมทำอะไรกันไม่ได้ จนได้มีการนัดคุยกันอย่างลูกผู้ชาย โดยที่เสือดำไม่ได้เป็นโจรโดยสันดาน จึงถูกเกลี้ยกล่อมให้มอบตัวไปในที่สุด และได้บวชเป็นพระนามว่า หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร ดังที่ผมนำคำพูดของท่านมาใช้เปิดเรื่องตอนต้น คงต้องถือซะว่าชื่อ "เสือดำ" ในที่นี้เป็นชื่อสมมติของเสือรายอื่นไป

หลังจากได้ภรรยาแล้ว ล้างแค้นเช็คบิลใครต่อใครจนหมดแล้ว ก็เป็นการเดินเรื่องไปสู่การมอบตัวของเสือมเหศวร โดยผู้หมวดลิขิตได้พยายามขอความร่วมมือจากนางตลับและเอื้องฟ้าในการเกลี้ยกล่อม มเหศวรเองก็เริ่มไม่สบายใจที่โฉมยาต้องมาตกระกำลำบากในชุมเสือ จึงได้พาเธอไปอยู่กับนางตลับผู้เป็นมารดา แล้ววันดีคืนดี อ่อนใจก็มาบอกเสือมเหศวรว่า หมวดลิขิตได้ "จับตัว" นางตลับ โฉมยา และเอื้องฟ้าไปเป็นตัวประกัน มเหศวรนำกำลังไปหมายจะไปช่วยคนทั้งสามโดยไม่กลัวว่าจะเป็นกับดัก แต่หลังจากการปะทะกันครู่หนึ่ง หมวดลิขิตและ "ตัวประกัน" ทั้งสามก็ได้ช่วยกันเกลี้ยกล่อมจนเสือมเหศวรยอมมอบตัวพร้อมกับลูกน้องทั้งหมด (ขณะนี้ผมทราบเพียงว่ามเหศวรมอบตัวในปี 2492 และถูกจำคุก 3 ปี) เหตุการณ์ช่วงนี้มีบทความในช่วงหลังอ้างคำพูดของมเหศวรเองในเชิงบ่นทำนองว่าตำรวจเล่นแรงถึงขั้นจะขู่ฆ่าแม่และเมียด้วย แน่ละครับ ตำรวจไม่ว่ายุคนั้นหรือยุคนี้ก็มีบุคคลนอกแถวที่ทำให้ภาพลักษณ์ส่วนรวมเสื่อมเสียอยู่ตลอด แต่จะรวมถึงหมวดลิขิตในเวลานั้นด้วยหรือเปล่า? คงต้องขอเดาแบบกลางๆ ไว้ก่อนว่า หากเสือมเหศวรเคยห่วงล้างแค้นส่วนตัวจนเสียงานของเสือฝ้ายจริง และเคยบุกไปช่วยแม่จนเกือบเสียที "เสือดำ" จริง หมวดลิขิตก็ย่อมเห็นว่านี่คือจุดอ่อนที่จะล่อเสือมเหศวรออกมาได้ หากหมวดลิขิตแกเลวจริงก็คงใช้แผนนี้เพื่อวิสามัญเสือมเหศวรซะเลย ไม่ใช่ล่อมาเกลี้ยกล่อมอย่างที่ปรากฏในหนัง

เสือมเหศวรยอมมอบตัวต่อหมวดลิขิต

ภาพยนตร์เรื่อง จอมโจรมเหศวร นี้ ยังมีความสำคัญต่อมเหศวรตัวจริงอย่างมาก มีเรื่องเล่าว่า หลังจากมเหศวรออกจากคุกแล้ว ต้องอยู่อย่างลำบากยากจนมาตลอด และคงจะด้วยกุศลผลบุญที่ยอมกลับตัวกลับใจอย่างแท้จริง ไม่ได้ออกจากคุกมาเป็นโจรใหม่อย่างโจรผู้ร้ายรุ่นหลัง วันหนึ่งคุณพลสัญห์ ศรีหาผล ได้ดำริที่จะนำเรื่องของมเหศวรมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในบทความเขาใช้คำว่า คุณพลสัญห์ "ขอซื้อเรื่องราวของมเหศวรเป็นเงิน 100,000 บาท" จะถือว่าเป็นค่าขออนุญาตเอาชีวิตจริงไปสร้าง ค่าตัวในการร่วมแสดง หรือค่าอะไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยได้ชี้ให้เห็นว่าผู้สร้างหนังรุ่นนั้นให้ความเคารพต่อตัวบุคคลในเหตุการณ์จริง ผิดกับผู้สร้างหนังรุ่นหลังๆ บางรายทั้งไทยและฝรั่งที่แต่งเรื่องขึ้นใหม่เอาเองละเลงตามใจชอบ อีกประเด็นที่ควรถือว่ามเหศวรเป็นแบบอย่างที่ดี คือการนำเงินก้อนนั้นมาใช้ในการสร้างหลักฐานซื้อไร่นาเลี้ยงชีวิตเยี่ยงสุจริตชน เทียบกับคนรุ่นหลังในบางวงการ ได้เงินมานับเป็นล้านๆ กลับถลงใช้หมดในเวลาอันรวดเร็ว แล้วต้องมาลำบากในภายหลัง

ประเด็นที่ว่าโจรจำใจอย่างมเหศวรนั้น จะเทียบกับโรบินฮู้ดได้หรือไม่ ตรงนี้พูดยากครับ ไม่ว่าในภาพยนตร์เรื่องนี้หรือหนังสือบทความใดๆ เกี่ยวกับเสือในยุคนั้น หากไม่เขียนจากมุมมองของตำรวจที่ทำการปราบปราม ก็มาจากมุมมองของอดีตโจรเหล่านั้น หากเราทำตัวเป็นคนเชื่อยาก คงต้องแย้งว่าใครๆ ก็พูดให้ตัวเองดูดีทั้งนั้น ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงว่าผู้ถูกปล้นเป็นใครกันบ้าง? รวยแบบโกงเขามาหรือเป็นสุจริตชนธรรมดา? โดนปล้นอย่างสุภาพอย่างที่เขาอ้างหรือเปล่า? ที่ว่าปล้นแล้วแบ่งให้คนจนนั้นให้เปล่าหรือหวังผลให้เป็นแนวร่วมป้องกันตำรวจ? แล้วคนที่นำอาวุธมาขายให้โจรเหล่านี้เป็นใครมาจากไหน? เรื่องแบบนี้ไม่มีใครศึกษาอย่างจริงจัง คนในยุคนั้นนับวันก็จะแก่เฒ่าล้มตายลงไป อีกหน่อยจะเหลือไว้แต่ตำนานที่ไม่มีใครยืนยันกับเรื่องที่แต่งกันขึ้นมาใหม่กระนั้นหรือ?

ฉากพ่อแง่แม่งอนของคู่พระคู่นางในอดีต

อีกประเด็นที่ฝากไปคิดกันเล่นๆ คือตลอดเรื่องไม่มีการกล่าวถึง "เสือใบ" เลยแม้แต่คำเดียว ทั้งที่เป็นสมุนคนสำคัญคนหนึ่งของเสือฝ้ายเช่นเดียวกับเสือมเหศวร ขอเพิ่มข้อมูลประกอบไว้ด้วยว่า เสือใบนั้นเดิมชื่อ นายใบ สะอาดดี บ้านอยู่สุพรรณบุรี เหตุที่เป็นโจรเนื่องจากตอนอายุ 30 ถูกโจรปล้น และน้องภรรยาถูกฉุดไปด้วย จึงตามไปช่วยและ ฆ่าโจรตายไป 2 ศพ และต้องเป็นโจรเสียเองแต่บัดนั้น

(2 เมษายน 2551 คืนนี้พึ่งได้ดูภาพยนตร์เรื่อง "สุภาพบุรุษเสือใบ" จบ ในเรื่องบอกว่าเสือใบเดิมชื่อ "วัน" เป็นชาวกาญจนบุรีและเนื้อเรื่องในภาพยนตร์จะต่างจากที่ผมค้นได้ทีแรกค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง "เสือใบ" อีกเรื่องที่จะต้องดู ผมจะนำทั้งสองเรื่องมาเขียนแนะนำกันในไม่ช้านี้ครับ)

ภาพยนตร์ใน DVD แผ่นนี้ จัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยขนานแท้ ไม่ว่าการดำเนินเรื่องที่มีประจวบ ฤกษ์ยามดี ในบทของเบี้ยว ที่อาจจะเรียกว่า "เสือ" ได้ไม่เต็มปากเต็มคำ ได้คอยลดความตึงเครียดของบรรยากาศในเรื่องได้โดยตลอด ลีลาการพากย์ของนักพากย์รุ่นหลังที่ "เล่น" กับ "หนังไทย" ได้อย่างเข้าอกเข้าใจจริงจริ๊ง.. มีมุกที่ผิดยุคผิดสมัยบ้าง เช่น เพลงใครๆ ก็ไม่รักผม แม้แต่พัดลมยังส่ายหน้าเมิน ภาพที่ได้ดูจะมีสีเพี้ยนและอาการที่คนสมัยก่อนเรียกว่า "ฝนตก" คือมีเส้นๆ แนวขวาง เนื่องจากความเก่าของฟิล์ม และถ้าเห็นภาพเต้นในบางตอน ก็ไม่ต้องตกใจครับ ทีวีหรือจอภาพของคุณไม่ได้เป็นอะไร เทียบกับเรื่อง มาร์โค โปโล ของชอว์บราเดอร์สที่ผมแนะนำไว้คราวก่อน ภาพของเขาชัดแจ๋วเหมือนใหม่ ไม่ทราบว่าทางเราขาดแคลนสิ่งใดหรือจงใจที่จะรักษาสภาพเดิมไว้อย่างนั้นจริงๆ ภาพยนตร์ไทยรุ่นเก่าๆ (หรือแม้กระทั่งรุ่นปัจจุบัน) อาจดูเหมือนเชยในความรู้สึกของใครหลายๆ คน แต่ถ้าเรื่องไหนมีนัยทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว จะพยายามสรรหามานำเสนอกันต่อไปครับ

เพิ่มเติม 8 มกราคม 2551

มีข้อมูลเพิ่มเติมจากประวัติของท่าน พล.ต.ท.ธนู หอมหวล ว่าในระหว่างที่ท่านกำลังศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าชั้นปีที่ 2 (น่าจะประมาณพ.ศ.2491-2492 คือท่านจบในปี 2495) ก็ได้รับข่าวร้าย เมื่อ  “จอมโจรมเหศวร” บุกปล้นบ้านกวาดทรัพย์หมดเกลี้ยงแถมทำร้ายนางทองย้อย หอมหวล มารดาบังเกิดเกล้าได้รับบาดเจ็บสาหัสตาพิการ ทำให้เกิดความแค้นฝังใจ เมื่อสำเร็จการศึกษา ได้ติดยศ ร.ต.เข้าสังกัดประจำกองพลทหารม้า จ.สระบุรี เพียง 6 เดือน จึงตัดสินใจพลิกผันชีวิตโอนย้ายมาเป็นตำรวจ ด้วยความหวังจะชำระความแค้น แต่แล้วในที่สุด ก็พบว่าเสือมเหศวรได้กลับใจบวชเป็นพระอยู่ที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จึงสิ้นความแค้นต่อกันไป (ที่มา http://www.thaispypolice.com/sonsern/thanu.doc)

เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

ชื่อเรื่อง : จอมโจรมเหศวร

เรื่องเดิม : ชีวิตของเสือมเหศวร จากการเรียบเรียงของ พ.ต.ท.ลิขิต วัฒนปกรณ์ และ พร น้ำเพชร

ผู้กำกำกับ : อนุมาศ บุนนาค

ผู้สร้าง : พลสัญห์ ศรีหาผล

ผู้เขียนบท : ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง

ผู้แสดง : มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, แมน ธีระพล, เมตตา รุ่งรัตน์, เยาวเรศ นิศากร, ชุมพร เทพพิทักษ์, มารศรี อิศรางกูร, มเหศวร เภรีวงษ์ ฯลฯ

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์ไทย

ซามูไรอโยธยา แฟนตาซีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 19/05/2013   19:28:54
ขุนรองปลัดชู : การฟื้นฟูวีรกรรมสามัญชนที่ถูกลืม วันที่ 19/05/2013   19:29:37
ฟ้าใส ใจชื่นบาน : อุดมการณ์ตกยุค หรือ อารมณ์ขันที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด? วันที่ 19/05/2013   19:30:31
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง วันที่ 19/05/2013   19:31:32
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี : "ตำนาน" ที่คงต้องรอตอนจบกันอีกนาน วันที่ 19/05/2013   19:32:48
สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ? วันที่ 19/05/2013   19:33:41
ทิพพ์ช้าง วีรกรรมท้องถิ่นที่ถูกส่วนกลางครอบงำ วันที่ 19/05/2013   19:34:33
จงอางผยอง - กำลังภายในในหนังไทยที่ลงตัว วันที่ 19/05/2013   19:35:48
มหาราชดำ วันที่ 19/05/2013   19:36:28
นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ วันที่ 19/05/2013   19:38:23
เสือใบ : แบบฉบับของยุคหนังบู๊เฟื่องฟู วันที่ 19/05/2013   19:39:11
สุภาพบุรุษเสือใบ : วีรกรรมของโจรชาวบ้าน? วันที่ 19/05/2013   19:40:14
บางระจัน อีกหนึ่งกรณีที่ต่างจากประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   19:42:39
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ วันที่ 19/05/2013   19:45:12
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา วันที่ 19/05/2013   19:46:02
สารคดี ตามรอย ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การเติมเต็มความรู้ ประวัติศาสตร์ ใน ภาพยนตร์ วันที่ 19/05/2013   19:47:11
อารีดัง : ศึกรบศึกรัก ของ ทหารไทย ใน สงครามเกาหลี วันที่ 19/05/2013   19:48:00
สุริโยไท ฉบับสมบูรณ์ ๕ ชั่วโมง วันที่ 19/05/2013   19:48:56
เบื้องหลัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 19/05/2013   19:49:39
พิชัยดาบหัก : ผู้สร้างน่าจะทำการบ้านมากกว่านี้ วันที่ 19/05/2013   19:50:22
เจ้าตาก : การไปตั้งหลักที่จันทบุรี แล้วน้องมิ้นเกี่ยวอะไรด้วย? วันที่ 19/05/2013   19:50:59
The King Maker เมื่อเราได้เห็นบทบาททหารต่างชาติสมัยอยุธยามากขึ้น วันที่ 19/05/2013   19:51:37
ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:16 article
รักสยาม เท่าฟ้า (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   19:52:54 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker