dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล
วันที่ 08/03/2014   08:50:05

ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม

ปี ค.ศ.๑๗๘๙ (พ.ศ.๒๓๓๒)

บรรดาสตรีชาวปารีสพร้อมใจกันเดินขบวนไปยังพระราชวัง แวร์ ซายส์ ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส พร้อมทั้งเรียกร้องเสรีภาพความเสมอภาค และภราดรภาพและเรียกร้องความคุ้มครองแก่สตรีขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ.๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐)

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม กลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีจากโรงงานทอผ้าและตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ได้พากันเดินขบวนประท้วงในกรุงนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องสิทธิในการทำงานและให้มีการรับรองสภาพการทำงานของสตรีที่ดียิ่งขึ้น โดยเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างและปรับปรุงสภาพการทำงาน แต่แล้วเหตุการณ์ก็จบลงด้วยการฆาตกรรมคนงานหญิง ๑๑๙ คน โดยการเผาโรงงานในขณะที่คนงานหญิงกำลังประท้วงอยู่

ปี ค.ศ.๑๘๖๖ (พ.ศ.๒๔๐๙)

การประชุมสมัชชาของบรรดาสมาคมผู้ใช้แรงงานนานาชาติ ครั้งที่ ๑ ได้มีการออกมติเกี่ยวกับการทำงาน อาชีพของสตรี นับว่าเป็นการท้าทายอย่างเปิดเผยต่อขนบประเพณีดั้งเดิมในสมัยนั้น ที่กำหนดให้สตรีต้องอยู่แต่เฉพาะในบ้านเท่านั้น

ปี ค.ศ.๑๘๘๙ (พ.ศ.๒๔๓๒)

เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ค.ศ.๑๘๘๙ คลาร่า เซทกิ้น ได้แสดงสุนทรพจน์เป็นครั้งแรก เรื่องปัญหาของสตรีต่อที่ประชุมผู้ก่อตั้งสภาคองเกรสสากลครั้งที่ ๒ ในกรุงปารีส โดยเรียกร้องให้สตรีมีสิทธิในการทำงาน ให้มีการคุ้มครองสตรีและเด็ก รวมทั้งยัได้เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการประชุมระดับชาติและระดับสากลอีกด้วย นับเป็นเสียงเรียกร้องที่สำคัญและมีความหมายอย่างยิ่ง

ปี ค.ศ.๑๘๙๙ (พ.ศ.๒๔๔๒)

ได้มีการจัดประชุมกลุ่มสตรีผู้ต่อต้านสงครามขึ้นที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งการประชุมดังกล่าว นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการต่อต้านสงครามที่พัฒนาและเติบโตขึ้นมาก ในช่วงศตวรรษที่ ๒๐

ปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐)

กรรมการสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วง การเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของคลาร่า เซทกิ้น โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาทำงานจากวันละ ๑๒-๑๕ ชั่วโมง ให้เหลือวันละ ๘ ชั่วโมง พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั่วโลก และส่งผลให้วิธีการแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน

ปี ค.ศ.๑๙๑๐ (พ.ศ.๒๔๕๓)

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๒ ของสมัชชานักสังคมนิยมหญิงนานาชาติ (International Conference of Socialist Woman) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมี คลาร่า เซทกิ้น นักสังคมนิยมจากเยอรมัน ในฐานะที่เป็นเลขาธิการของสตรีสากล ได้เสนอให้วันที่ ๘ มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของคนงานหญิงโรงงานทอผ้าในกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่การต่อสู้จบลงด้วยการฆาตกรรมหมู่ และก็ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้เข้าร่วมการประชุมนับร้อยจากองค์กรต่างๆ ๑๗ ประเทศ อันประกอบด้วย ออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์

มีประชาชนชายหญิงมากกว่า ๑ ล้านคนเข้าร่วมชุมนุม มีการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพิ่มเติมจากการเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมวิชาชีพ และการให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงาน

ปี ค.ศ.๑๙๑๑ (พ.ศ.๒๔๕๔)

มีการจัดวันสตรีสากลเพิ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน

ปี ค.ศ.๑๙๑๓ (พ.ศ.๒๔๕๖)

มีการจัดชุมนุมเนื่องในวันสตรีสากลขึ้นในรัสเซียเป็นครั้งแรก ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก แม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางก็ตาม

ปี ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗)

วันสตรีสากลได้จัดขึ้นโดยได้เชิดชูคำขวัญของขบวนการสันติภาพ ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านสงครามที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในยุโรป หลังจากนั้นเป็นต้นมา การฉลองวันสตรีสากลก็ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สตรีในทวีปต่างๆ ทั้งแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ต่างก็ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งร่วมกันผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่างสมบูรณ์

ปี ค.ศ.๑๙๕๗ (พ.ศ.๒๕๐๐)

องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้มีมติที่ ๓๒/๑๔๒ ในการเชิญชวนให้ทุกประเทศทั่วโลก กำหนดให้วันหนึ่งวันใดเป็นวันฉลองแห่งชาติว่าด้วยสิทธิสตรี และสันติภาพสากล โดยทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม ประเพณีและสภาพทางประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งหลายประเทศส่วนใหญ่ได้กำหนดให้ วันที่ ๘ มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล (International Woman's Day)

การริเริ่มของสหประชาชาติในการยกระดับสภาพ เงื่อนไขของสตรี มีผลทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายให้เกิดขึ้น และมีองค์กรในสหประชาชาติอีกหลายองค์กรที่ทำงานผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง โดยการทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจมากขึ้น และพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม และเจตคตที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลานาน

องค์กรที่สำคัญในระบบของสหประชาชาติที่ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิสตรี ได้แก่

(๑) คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี (UNCSW) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๔๖ (พ.ศ.๒๔๘๙) โดยเป็นองค์กรภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) มีหน้าที่กำหนดแนวทางการยกระดับสถานภาพสตรี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และด้านการศึกษา

(๒) คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๒๕) เพื่อเป็นองค์กรในการติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ องค์กรนี้มีหน้าที่ตรวจสอบว่า ประเทศภาคี อนุสัญญาฯ กว่า ๑๐๐ ประเทศ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญา หรือไม่

  • แผนกเพื่อความก้าวหน้าของสตรี เป็นหน่วยงานภายใต้ศูนย์พัฒนาสังคมและกิจการด้านมนุษยธรรม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ดำเนินการวิจัยและทำงานสนับสนุนองค์กรทั้งสองข้างต้น
  • กองทุนพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) เป็นกองทุนภายใต้โครงสร้างของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทำหน้าที่สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการผสานสตรีในกระบวนการพัฒนา ด้วยวิธีการส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมรายได้ขนาดย่อม
  • สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (INSTRAW) เป็นแหล่งให้เงินทุนอุดหนุนและมีหน้าที่ทำวิจัยเพื่อยกระดับวิธีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการพัฒนา

ประเทศไทย ริเริ่มจัดกิจกรรม เนื่องในวันสตรีสากล โดยองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ต่อมาเมื่อปี ๒๕๓๒ หน่วยงานภาครัฐได้มีการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติด้านสตรี อยู่ภายใต้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากลดำเนินเรื่อยมา ขณะนี้ หน่วยงานระดับชาติด้านสตรีอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ปัจจุบันหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐอีกหลายแห่ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันสตรีสากล ๘ มีนาคม จึงจัดให้มีกิจกรรมเป็นประจำทุกปี

 

 

ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล

คลาร่า เซทกิ้น (Clara Zetkin) ค.ศ.๑๘๕๗-๑๙๓๓ (พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๗๖)

คลาร่า เซทกิ้น เธอได้รับการขนานนามว่า มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล เป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล เธอเป็นนักการเมืองหญิงสายมารค์ซิสต์ และอิตถีนิยม ชาวเยอรมัน ชื่อเดิม คลาร่า ไอนส์เนอร์ เกิดที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ค.ศ.๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐) จบการศึกษาจากวิทยาลัยครู เมืองไลป์ซิก และพบรักกับเพื่อนนักศึกษาชาวรัสเซีย นามว่า ออพซิป เซทกิ้น และได้แต่งงานกันในเวลาต่อมา มีบุตร ๒ คน และเป็นหม้ายในปี ค.ศ.๑๘๘๙ (พ.ศ.๒๔๓๒) ในปี ค.ศ.๑๘๘๔ (พ.ศ.๒๔๒๔) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะถูกยุบโดยมหาเอกอัครเสนาบดีของปรัสเซีย (เยอรมัน) นามว่า ออทโต ฟอนบิสมาร์ค และคลาร่าได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์

ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) คือ ๘ ปีให้หลังคลาร่าได้กลับสู่เยอรมันดินแดนมาตุภูมิ คลาร่ากลับมาพร้อมกับการก่อตั้งกลุ่มนักสังคมนิยมหญิง หลังจากนั้นในปี ค.ศ.๑๙๑๐ (พ.ศ.๒๔๕๓) ได้ริเริ่มในการเสนอให้กำหนดวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล

นับจากปี ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) ในขณะที่ประเทศเยอรมันกำลังทำสงครามโลกครั้งที่ ๑ คลาร่า เซทกิ้น ได้ร่วมมือกับ โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (นักคิดสายมาร์คซิสต์หญิงคนสำคัญ) ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในนามกลุ่มสปาร์ตาซิสต์ จึงทำให้คลาร่าเดินเข้าออกจากคุกนับครั้งไม่ถ้วน

กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ (Spatarcist) เป็นกลุ่มกรรมกรในเยอรมันที่ประท้วงรัฐบาลเยอรมันสมัยนั้น ในการทำสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายใต้การนของ ๒ นักสังคมนิยมเยอรมัน โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (Rosa Luxemburg) และ คารล์ เลี๊ยบเนคท์ (Karl Liebknecht) ด้วยความคิดที่ว่า ทหารที่ส่งไปรบและล้มตายก็คือประชาชน หรือผู้ใช้แรงงาน สงครามเป็นการกระทำที่สนองตัณหาของรัฐบาลในการต้องการความยิ่งใหญ่ แต่ประชาชนมีแต่ต้องสูญเสีย (กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของสปาร์ตาคัส ผู้นำของทาสในยุคโรมันโบราณ ที่หาญกล้าขึ้นปฏิวัติล้มอำนาจของจักรพรรดิโรมันยุคโบราณ)

ในปี ค.ศ.๑๙๑๘ (พ.ศ.๒๔๖๑) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน และได้เป็นผู้แทนในสภาไรช์สตัก (สภาผู้แทนของเยอรมนยุคนั้น) ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๒๐-๑๙๓๒ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๗๕) สุนทรพจน์ครั้งสุดท้ายของคลาร่าในสภาเยอรมัน คลาร่าได้กล่าวโจมตี ประณาม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อย่างรุนแรง และเรียกร้องหาแนวร่วมที่จะช่วยกันต่อต้านพรรคนาซีเยอรมัน ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างสูงในการเมืองเยอรมัน จนเรียกได้ว่าเป็นยุคเผด็จการรัฐสภาอย่างสมบูรณ์แบบ

ปี ค.ศ.๑๙๓๓ (พ.ศ.๒๔๗๖) พรรคนาซีเยอรมันได้ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยการมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยุบเลิกระบอบรัฐสภา และให้อำนาจทุกอย่างขึ้นอยู่กับท่านฟูเร่อร์ (ผู้นำ) แต่เพียงผู้เดียว

คลาร่า เซทกิ้น จึงเป็นหนึ่งในนักการเมืองสายความคิดสังคมนิยมที่ถูกกวาดล้าง จนต้องลี้ภัยการเมืองไปใช้ชีวิตที่รัสเซีย และถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนี้

(จาก "ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน ๒๕๕๑". กรุงเทพฯ . สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, มีนาคม ๒๕๕๑ หน้า ๑๐-๑๘)

ดูประวัติของ คลาร่า เซทกิ้น เพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Clara_Zetkin

ประวัติวันสตรีสากลในวิกิพีเดีย <ภาษาไทย> และ <ภาษาอังกฤษ>




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker