dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



(Glory) เกียรติภูมิชาติทหาร ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองอเมริกาที่ชายชาติทหารตัวจริงต้องศึกษา
วันที่ 19/05/2013   20:49:32

โดย "คนเล่าเรื่อง"

 

 

 รูปสลักอนุสาวรีย์ของกองพันที่ 54 ในเมืองบอสตัน

ฉากเปิดเรื่องที่สมรภูมิที่เมืองแอนตีแทม (Antietam) รัฐแมรี่แลนด์ ในระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน ปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ.2405) เมื่อกองทหารฝ่ายสหรัฐเข้าจู่โจมค่ายทหารของฝ่ายสมาพันธรัฐหรือฝ่ายใต้ ทหารฝ่ายสหรัฐ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ฝ่ายเหนือ" ) ได้เข้าต่อสู้ด้วยความห้าวหาญ มีระเบียบวินัย ในการรบครั้งนั้น แม้ว่าจะสามารถหยุดการรุกของกองกำลังนายพลลีแห่งฝ่ายสมาพันธรัฐได้ (ซึ่งต่อไปนี้ขอเรียกว่า "ฝ่ายใต้" ) แต่ฝ่ายเหนือก็ต้องสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก ทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บจนพิการ ผู้นำทหารหน่วยหนึ่งที่สำคัญในการรบครั้งนี้คือ ร้อยเอกโรเบิร์ต กูลด์ ชอว์ (Robert Gould Shaw) ซึ่งเป็นลูกของเศรษฐีจากเมืองบอสตัน รัฐแมซซาชูเซ็ท เขาได้รับบาดเจ็บในการรบครั้งนี้ด้วย จากนั้น เขาได้ถูกส่งกลับบ้านเกิดที่บอสตัน
 
 
ภาพถ่ายของพันเอกชอว์ตัวจริง
 
 
 (ซ้ายบน) กองทหารฝ่ายใต้ในสมรภูมิแอนตีแทม
(ขวาบน) กองทหารฝ่ายเหนือในสมรภูมิแอนตีแทม
(ซ้ายล่าง) ฉากการรบอันดุเดือดในสมรภูมิแอนตีแทม
(ขวาล่าง) พันเอกชอว์ตกตะลึงในความเสียหาย
 
ที่บอสตัน ร้อยเอกชอว์ได้รับการทาบทามจากผู้ว่าการรัฐแมซซาชูเซ็ทเพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารผิวสีหน่วยแรกซึ่งก็คือ กองพันที่ 54 ประจำรัฐแมซซาชูเซ็ท รวทั้งการเลื่อนยศให้เป็นพันเอกด้วย จากนั้น เขาได้ดึงเอาเพื่อนร่วมทัพ คาบ็อต ฟอร์บส์ มาร่วมงานการจัดตั้งกองพันนี้ด้วย บรรดาคนผิวสีทั้งหลายรวมทั้งเพื่อนเก่าแก่ของพวกเขาตั้งแต่เด็กชื่อว่า โทมัส จึงได้อาสาสมัครเข้ามารับการฝึกเพื่อเป็นทหารเข้าร่วมรบในสมรภูมิที่พวกเขาเชื่อว่าจะนำเอาอิสรภาพและความเสมอภาคมาสู่คนผิวสี
 
พันเอกชอว์ทาบทามฟอร์บส์ให้เข้าร่วมหน่วย
 
โทมัสคนผิวสีเพื่อนสนิทของพันเอกชอว์
 
อย่างไรก็ตาม    การเกิดขึ้นของกองทหารผิวสีนี้เองได้นำมาซึ่งการไม่ยอมรับของบรรดาแม่ทัพนายกองฝ่ายเหนือบางนายที่ยังคงมีความคิดแบบเหยียดสีผิวอยู่ และบรรดาอาสาสมัครผิวสีเหล่านี้มักถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเสมอเกี่ยวกับเงินตอบแทน ปัจจัยอยู่อาศัย อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จนเกิดความไม่พอใจแก่อาสาสมัครเหล่านั้น พันเอกชอว์ต้องใช้กุศโลบายทุกอย่างทั้งกับเพื่อนร่วมหน่วย ทหารใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะพลทหารทริปส์ (เดนเซล วอชิงตัน) ที่ยังคงมีแนวคิดไม่เชื่อในตัวของคนขาวและมักทำตัวให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมหน่วยเสมอ รวมทั้งผู้บังคับบัญชาเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของเขาในการจัดตั้งกองทหารผิวสีหน่วยนี้
 
(ซ้ายบน) พันเอกชอว์กับบรรดาอาสาสมัครกองทหารผิวสี
(ขวาบน) การฝึกกองทหารผิวสีที่เข้มข้น
(ซ้ายล่าง) พันเอกชอว์ตรวจเยี่ยมอาสาสมัครผิวสี
(ขวาล่าง) พลทหารทริปส์ถูกโบยเนื่องหนีจากกองทัพ
 
เมื่อเสร็จสิ้นการฝึก กองพันที่ 54 จึงได้ออกปฏิบัติการรบในแนวหน้า ช่วงแรก หน่วยต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพันเอกมอนต์โกเมอรี่ ผู้บังคับบัญชากองทหารผิวสีที่มีพื้นเพมาจากทาสของรัฐฝ่ายใต้ (กองพันที่ 54 มีพื้นเพจากคนผิวสีธรรมดาสามัญหรืออาจมีการศึกษาอย่างโทมัส) กองทหารหน่วยนี้ไม่ได้มีความสามารถในการรบและไม่ได้ออกรบอย่างจริงจัง กลับมีความประพฤติไม่ต่างกับกองโจรที่ปล้นสะดมชาวบ้านภายใต้การรู้เห็นเป็นใจของผู้บังคับบัญชาและรับส่วยจากการปล้นไปในตัว (คล้ายๆ กับบางพรรคการเมืองที่เล่นการเมืองในสภาเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ใช้พวกข้างนอกสภาไปเล่นการเมืองข้างถนนอีกกว่าครึ่ง) และพวกเขายังได้รับแต่ภารกิจในการใช้แรงงานเป็นกรรมกรเป็นหลัก
 
พันเอกชอว์จึงต้องใช้เส้นสายของพ่อกับการเจรจาต่อรองกับผู้บังคับบัญชาโดยขู่ที่จะเปิดเผยเบื้องหลังความโสมมของพวกเขา เพื่อขอนำหน่วยทหารออกรบ (คงต่างจากทหารและตำรวจไทยบางนายในตอนนี้ที่ใช้เส้นสายในการต่อรองเพื่อหลีกหนีการลงไปประจำการในพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้) และแล้ว ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 ที่เจมส์ไอส์เลนด์ (James Island) รัฐเซาท์แคโรไลน่า กองพันที่ 54 จึงได้ทำการรบเป็นครั้งแรกได้อย่างห้าวหาญ และเข้มแข็งจนสามารถตีโต้กองกำลังของฝ่ายใต้จนต้องถอยร่นไป พลทหารทริปส์ได้รับคำชมเชยจากการต่อสู้อย่างห้าวหาญ แต่เขายังปฏิเสธไม่รับตำแหน่งผู้ถือธงของหน่วย แต่เขาก็ได้อุทิศตัวอย่างเต็มที่แล้วกับกองพันที่ 54
 
ในการรบที่ฟอร์ตว้ากเนอร์ (Fort Wagner)  ใกล้กับเมืองชาร์ลสตัน (Charleston) มลรัฐเซาท์แคโรไลน่า พันเอกชอว์ได้อาสาที่จะนำกองพันที่ 54 เข้าตีเป็นหน่วยแรกด้วยความมุ่งมั่น แล้วกองพันที่ 54 จึงเข้าสู้สนามรบอย่างมีเกียรติท่ามกลางกองทหารหน่วยอื่นๆ ในวันที่ 18 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1863 ช่วงเวลาเย็น กองพันที่ 54 จึงได้ทำการเข้าตีอย่างห้าวหาญไปจนดึก (ซึ่งตามประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่ากองพันที่ 54 สูญเสียกำลังไปกว่าครึ่ง มีทหารถูกฆ่าไป 116 นาย บาดเจ็บและถูกจับไป 156 นาย พันเอกชอว์เสียชีวิตในสนามรบ ไม่สามารถเอาชัยชนะได้) ทหารที่ตายในสนามรบรวมทั้งพันเอกชอว์ได้ถูกฝ่ายใต้นำมาฝังรวมกันแบบไร้พิธีการใดๆ (ปกติ ฝ่ายใต้จะให้เกียรติแก่ข้าศึก ด้วยการพิธีการฝังศพนายทหารแยกจากบรรดาพลทหาร)
 
(ซ้ายบน) กองพันที่ 54 เตรียมเข้าตี
(ขวาบน) ฉากรบอันดุเดือดที่ฟอร์ตว้ากเนอร์
(ซ้ายล่าง) การรบดำเนินต่อไปจวบจนค่ำ
(ขวาล่าง) กองพันที่ 54 ตีฝ่าเข้าไปในป้อมฟอร์ตว้ากเนอร์
 
ป้อมฟอร์ตว้ากเนอร์ไม่เคยถูกยึดได้ แต่หลังการรบ เมื่อข่าวความกล้าหาญของกองพันที่ 54 เผยแพร่ออกไป สภาคองเกรสได้อนุญาตให้จัดตั้งกองกำลังทหารผิวสีเพิ่มเติม และมีอาสาสมัครกว่า 1 แสน 8 หมื่นคน และอาสาสมัครเหล่านี้เองที่มีส่วนในการเปลี่ยนทิศทางของสงคราม
 
ทุกวันนี้ มีอนุสาวรีย์ของพันเอกโรเบิร์ต กูลด์ ชอว์และกองพันที่ 54 อยู่ใน Boston Common—Augustus Saint-Gaudens เมืองบอสตัน รัฐแมซซาชูเซ็ท
 
กลอรี่นับเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา 1 ในไม่กี่เรื่องที่สร้างภาพให้ทหารฝ่ายสหรัฐเป็นพระเอก ก่อนหน้านี้และหลังจากนั้น  ฝ่ายสหรัฐเป็นผู้ร้ายมาตลอด (แม้แต่ในเรื่องนี้ บางช่วงตอน ฝ่ายเหนือก็มีฉากเป็นผู้ร้ายด้วยจากการใช้ทหารผิวสีปล้นสะดมชาวบ้าน)
 
การที่ฝ่ายเหนือเป็นผู้ร้ายมาตลอดนั้น ถ้าผู้ใดที่ได้คลุกคลีกับสังคมอเมริกันมาตลอดจะพบว่า ที่จริงแล้ว ฝ่ายใต้หรือกลุ่มรัฐทางใต้เป็นรัฐที่ทำการเกษตรเป็นหลัก การมีทาสนับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเกษตรยุคเก่าที่เครื่องจักรและเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า การยกเลิกระบบทาสแบบฉับพลันทันใดจึงเป็นการทุบหม้อข้าวของรัฐทางใต้ซึ่งสร้างความไม่พอใจจนเกิดการแยกตัวออกเป็นประเทศอิสระ นอกจากนี้ สังคมของรัฐทางใต้ยังเป็นสังคมเกษตรกรรม มีความผูกพันสมัครสมานสามัคคีเป็นอย่างดี ภาพลักษณ์ของรัฐทางใต้จึงดูสวยงาม เป็นธรรมชาติ และเต็มไปด้วยชีวิตชีวาแบบสังคมชนบท การรุกรานของฝ่ายเหนือจึงเปรียบเสมือนกับการทำลายสังคมอันสวยงามนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการต่อสู้เพื่อรวมชาติก็ตาม (ถ้าจะพูดถึงจิตใจ ความห้าวหาญ และความชำนาญของทหารและผู้นำกองทัพฝ่ายใต้ นายพล อี ลี สมิท ก็นับว่าเหนือกว่าฝ่ายเหนือยิ่งนัก) แน่นอนครับ พฤติกรรมของทหารฝ่ายเหนือบางกองก็ไม่แตกต่างจากทหารอังกฤษในยุคสงครามประกาศเอกราชของเมริกาด้วย คือ การปล้นสะดม ทำลายบ้านเรือนและเมืองที่ยึดได้ ถึงแม้ว่าอุดมการณ์ของรัฐฝ่ายเหนือจะเป็นสิ่งที่ตรงกับปรัชญาและหลักการของการก่อตั้งประเทศอเมริกาเพียงใด ก็ยังไม่อาจลบภาพความเป็นผู้ร้ายของฝ่ายเหนือได้อยู่ดี เคยมีนักประวัติศาสตร์บางท่านวิจารณ์ว่า อับราฮัม ลินคอล์นดำเนินนโยบายผิดพลาดในการเลิกทาสอย่างกะทันหันจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง และปฏิเสธไม่ได้ว่า ท่านก็เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในทำให้เกิดสงครามครั้งนี้ และทำให้ชื่อเสียงของท่านต้องมัวหมองไปพอสมควร (ผมคาดคะเนว่า พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 คงได้ทรงศึกษาการเลิกทาสของอเมริกาพอสมควร พระองค์จึงทรงเลิกทาสโดยใช้กุศโลบายแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดการขัดแย้งจนต้องเสียเลือดเนื้อ)
 
ศพของพันเอกชอว์ถูกนำมาฝังรวมกับพลทหารกองพันที่ 54
 
แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ความเป็นพระเอกและฝ่ายถูกต้องของฝ่ายเหนือนั้นถูกสร้างไว้ในภาพยนตร์ด้วยอุดมการณ์ของพันเอกชอว์ ผู้เป็นนักการทหารซึ่งมีอุดมการณ์ทางทหารที่แข็งแกร่ง อุดมคติทางการเมืองที่แน่วแน่ ได้สร้างภาพลักษณ์ของจิตวิญญาณความเป็นอเมริกันตามเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ (ถึงแม้ว่าในภาพยนตร์ เขาจะมีบุคลิกและอารมณ์ที่อ่อนไหวแบบศิลปินจนกลายเป็นอ่อนแอไปบ้าง (ทั้งๆ ที่ช่วงต้นเรื่อง เขาเข้มแข็งเสียจนสามารถนั่งรับการรักษาพยาบาลและมองดูพลทหารร้องโหยหวนจากการถูกหมอตัดขาได้อย่างไม่สะทกสะท้าน) แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเด็ดขาดทั้งภายในและนอกหน่วยทหาร เขาก็ทำได้อย่างดี) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจเป็นการสร้างความรู้สึกและความเข้าใจอันถูกต้องต่อความห้าวหาญและอุดมการณ์ของนักรบฝ่ายเหนือได้ และยังเป็นการประกาศถึงความชอบธรรมที่ฝ่ายเหนือจะต้องทำสงครามกับฝ่ายใต้ไม่ใช่เพียงการรวมชาติ แต่เป็นการสร้างชาติใหม่ในอุดมคติที่แท้จริง
 
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคงนำเสนอก็คือ การไม่ยอมรับคนผิวสีเข้าเป็นพลพรรคร่วมรบ ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารต่างๆ ยังมองว่าสงครามอันเป็นเรื่องเกียรติภูมิของชาติทหารนั้นสมควรจะเป็นหน้าที่ของคนผิวขาว การจัดตั้งกองทหารผิวสีในเบื้องต้นเป็นเพียงการสร้างภาพประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่สุดท้าย ก็เป็นไปตามสูตร คือ กองทหารผิวขาวต้องยอมรับและสรรเสริญในความกล้าหาญของกองพันที่ 54 ในการอาสาเข้าตีค่ายฟอร์ด ว้ากเนอร์
 
ศพทหารกองพันที่ 54 ถูกนำมาทำการฝัง
 
และอีกสิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอเช่นเดียวกับภาพยนตร์สงครามแนวดราม่าทั่วไปก็คือ ความเลวร้ายของสงครามที่เต็มไปด้วยการเสียเลือดเนื้อของทหารที่ทำการรบและความทุกข์ยากของประชาชน รวมทั้ง ความขัดแย้งที่น่าจะเจรจากันได้แทนการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน
ไม่แน่ใจว่า การสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้สร้างได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มหรือองค์กรใดที่นิยมฝ่ายเหนือหรือไม่ และไม่ทราบเหมือนกันว่า ภายหลังจากที่ออกฉายได้เกิดกระแสอะไรขึ้นบ้างเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองที่ผ่านมาในสังคมอเมริกันเวลานั้น
 
อีกประการครับ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการกำกับศิลป์ที่ยอดเยี่ยมทีเดียวครับ การเลือกเอาแมททิว บรอเดอริกมารับบทผู้พันชอว์และการกำกับศิลป์ที่ยอดเยี่ยมทำให้บรอเดอริกกลายเป็นผู้พันชอว์ได้อย่างกลมกลืนมากครับ ส่วนเดนเซล วอชิงตันก็สามารถคว้ารางวัลออสการ์สาขาตัวประกอบชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จขั้นต้นในอาชีพการแสดงของเขา  การนำเสนอฉากการรบก็มีความจริงจัง รุนแรง และนองเลือด แต่ไม่ถึงกับป่าเถื่อน
 
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ สังเกตได้ว่า การรบโดยใช้ปืนไรเฟิลแบบคาบศิลาในยุคนั้น ต้องตั้งแถวยิงกันซึ่งๆ หน้า เพราะข้อจำกัดของวิถีกระสุนและประสิทธิภาพของปืนในยุคนั้น ดังนั้น ถ้ากองทหารฝ่ายใดมีความชำนาญในการบรรจุกระสุน ความแม่นยำในการยิง และที่สำคัญคือ ต้องมีระเบียบวินัยในการแปรรูปขบวนแถวเพื่อการยิงอย่างมีประสิทธิภาพ   ก็จะมีความได้เปรียบในการรบเป็นอย่างมากก่อนจะถึงขั้นตัดสินแพ้ชนะโดยการรบประชิดตัว ยุทธวิธีการรบแบบนี้วิวัฒนาการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั่นแหละครับ ด้วยประสิทธิภาพของกระสุนและอาวุธที่ร้ายแรงขึ้น ทำให้การรบไม่สามารถทำในลักษณะเผชิญหน้ากันตรงๆ หากแต่กลายมาเป็นยุทธวิธีแบบที่ใช้กันมาในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบันนี้ครับ
 
เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย
 
อ่านเพิ่มเติม
นักแสดง: Matthew Broderick, Denzel Washington, Cary Elwes, Morgan Freeman 
ผู้กำกับ: Edward Zwick 
ระบบเสียง: English 5.1 Dolby Digital, French Surround, Portuguese, Spanish Mono 
ซับไตเติ้ล: Chinese, English, French, Korean, Portuguese, Spanish, Thai 
รูปแบบวิดีโอ: Anamorphic Widescreen 16:9, Full Screen / Pan & Scan / 1.33:1, Widescreen 1.85:1 
สตูดิโอ: Columbia Tristar 
ความยาว: 2 ชั่วโมง 2 นาที 
วันที่จำหน่าย: 11.05.2004 
ปีที่ผลิต: 1989 
 
คำพูดจากภาพยนตร์
  • ช่างเป็นวันที่ยิ่งใหญ่และเจ็บปวด (A great and terrible day.) (ผู้ว่าการรัฐแอนดรูว์กล่าวกับพันเอกชอว์ก่อนทาบทามให้เป็นหัวหน้าหน่วยทหารผิวสี)
  • ถ้าทุกสิ่งยังเป็นไปอย่างย่ำแย่ ผมก็สงสัยว่าผมจะไม่ได้จบชีวิตด้วยการเป็นผู้นำกบฏของหน่วยทาสผู้ลี้ภัย (If things continue to go badly, I wonder if I might not end my day as an outlaw leader of a band of fugitive slaves.)
  • ผมอยู่ในตำแหน่งที่ถ้าหากว่าผมเป็นคนเข้มแข็ง ผมอาจทำสิ่งที่สำคัญได้ (I am placed in a position where, if I were a man of real strength. I might do a great deal.) (พันเอกชอว์รำพึงรำพันขณะออกตรวจการในหน่วย)
  • ตลอดเวลาที่ฉันฝังศพ (ทหารฝ่ายเหนือ) ฉันก็ถามตัวเองเสมอว่า โอ พระเจ้าเมื่อไร จะถึงเวลา (ได้ต่อสู้ในสงคราม) ของพวกเรา (An all the time I’m digging, I’m asking myself, “when? Oh Lord is it gonna be our time?) (จ่าสิบตรีรอว์ลินส์หัวหน้าหมู่กองทหารผิวสีกล่าวกับพลทหารทริปส์)
  •  ฉันไม่เคยมีครอบครัว แต่พวกนาย (กองพันที่ 54) เป็นครอบครัวเดียวที่ฉันมี (I ain’t never had family y’all’s (you all is) my family)
  • สิ่งที่จะเกิดในวันพรุ่งนี้ไม่มีอะไรมาก เพราะเราคือลูกผู้ชาย (ผู้กล้าหาญ) (Ain’t much matter happens tomorrow, cause we men ain’t we?) (พลทหารทริปส์กล่าวกับเพื่อนร่วมหน่วยในคืนวันก่อนออกรบที่ฟอร์ตว้ากเนอร์)
  •  ถ้าผมต้องล้ม (ตาย) จดจำสิ่งที่คุณเห็นที่นี่ด้วย (If I should fall, remember what you see here.) (พันเอกกล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนออกรบที่ฟอร์ตว้ากเนอร์)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

  • (ยังไม่มี)
     

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) จาก www.youtube.com

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



ประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก

Butch Cassidy & The Sundance Kid วันที่ 19/05/2013   20:50:40
Wyatt Earp ตำนานคาวบอย วันที่ 19/05/2013   20:51:29
Custer of the West วีรบุรุษ หรือ จอมโหด วันที่ 19/05/2013   20:52:22
The Alamo (2004) วีรกรรม ที่ต้องแต่งเติมสีให้ "ผู้ร้าย" ? วันที่ 19/05/2013   20:53:07
The Alamo (1960) ตำนานของคนกล้า วันที่ 19/05/2013   20:53:51
The Patriot ความรักชาติ หรือ ความแค้น….ที่ลูกชายถูกฆ่าตาย วันที่ 19/05/2013   20:55:06
One Man's Hero อีกด้านมืดของสหรัฐอเมริกาสมัยสงครามเม็กซิโก วันที่ 19/05/2013   20:55:53
Maverick (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:56:24 article
Dances with Wolves (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:56:54 article
แผนสังหารตำนานจอมโจร เจสซี่ เจมส์ (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   20:57:24 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (96448)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

 พึ่งได้ดูหนังจบไปเมื่อสักครู่  ถึงได้รู้ว่าอีตาทริปคนที่ถูกโบยข้อหาหนีทหารนั้น  ที่จริงแกออกจากค่ายไปหารองเท้าครับ  ช่วงแรกกองทัพยังไม่ยอมจ่ายเครื่องแบบ รองเท้า และอาวุธปืนให้ทหารผิวดำ ผู้การชอว์ต้องไฟท์อยู่พักหนึ่งถึงได้มาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-08-14 11:04:30


ความคิดเห็นที่ 2 (101769)
avatar
รอมเมล

 เคยดูนานแล้ว สมัยนั้นชอบดูซ้ำๆๆหลายเที่ยว เพราะไม่ค่อยได้ดุหนังสงครามกลางเมืองอเมริกาเลย ได้ดูแต่หนังคาวบอย กับป้อมอลาโม่ ล่าสุดแต่ไม่ล่าสุด หนังเรื่อง  God and General นับเป็นหนังที่ดีมาก แต่เป็นฝ่ายใต้

จริงๆไม่แปลกหรอกที่ศพของพันเอกชอว์ถูกนำมาฝังรวมกับพลทหาร เพราะทางผลงานยอดเยี่ยมของกองพันที่54ผิวสี ทำให้ทางฝ่ายใต้ได้ออกกฏหมายที่ไม่ยอมรับทหารผิวสี จำไม่ได้ว่ายังไงมั่ง แต่เหมือนจะยิงเชลยทหารผิวสีทิ้ง แม้แต่นายทหารผิวขาวที่คุมทหารผิวสี และไม่มีการให้เกียรติใดๆแก่พลทหารรวมถึงนายทหารด้วย แน่นอนครับพันเอกชอว์โดนแน่นอน

ผู้แสดงความคิดเห็น รอมเมล ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-13 23:07:12


ความคิดเห็นที่ 3 (101961)
avatar
คนเล่าเรื่อง

ครับ ขอให้รายละเอียดเพิ่มเติมดังที่ท่านรอมเมิลบอกไว้ครับ คือ หลังจากจัดตั้งกองพันทหารผิวสีอาสาที่ 45 แล้ว ทางฝ่ายใต้ได้ประกาศว่า จะไม่มีการจับทหารผิวสีเป็นเชลยศึกอย่างเด็ดขาด  มีแต่โทษประหารอย่างเดียว  แบบว่าทำการข่มขู่กันก่อนเลย ผู้พันชอว์ต้องนำประกาศนี้ไปบอกกับกองทหารผิวสีทุก ๆ คน  และอนุญาตให้ทุก ๆ คนถอนตัวได้  แต่ในวันรุ่งขึ้น ทุก ๆ คนก็ยังคงอยู่ในค่ายฝึกและยังยืนหยัดในการร่วมรบในสงครามต่อไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเล่าเรื่อง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-18 15:45:38



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker