dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Battle of the River Plate
วันที่ 19/05/2013   15:08:04

โดย "นายพลไอเซนฮาวน์"
 
เรือ USS Salem ผู้รับบทเป็นเรือ Admiral Graf Spee
 
เกริ่นนำ
 
เรื่มโดยเยอรมันหาจุดอ่อนของอังกฤษแล้วไปเจอปัญหาเก่าๆ ในสงครามอังกฤษต้องใช้เรือเสบียงในการทำสงครามทางทะเล หากเยอรมันจมเรือเสบียงของอังกฤษได้ อังกฤษจะไม่มีเสบียง แล้วเยอรมันจะชนะโดยง่ายดาย
 
เพราะอย่างนี้เยอรมันต้องใช้อาวุธ3อย่าง นั้นคือ กับระเบิดแม่เหล็ก เรือดำน้ำ และเรือพิฆาต
 
เรือพิฆาตลำนึงของเยอรมันชื่อว่า Admiral Graf Spee ซึ่งมีอานุภาพสูง ความเร็ว อาวุธ เหมือนเสือแห่งท้องทะเล
 
10 วันก่อนประกาศสงคราม (21 ส.ค.1939/พ.ศ.2482, เยอรมันรุกรานโปแลนด์เมื่อ 1 ก.ย. - webmaster) เรือลำนี้ออกจากท่าลับๆ แล่นผ่านชายฝั่งนอร์เวย์กลางดึก ผ่านช่องแคบเดนมาร์ก ระหว่างกรีนแลนด์กับไอซ์แลนด์ และหายไปในทะเลแอดแลนติกตอนใต้ อันอุดมไปด้วยเรืองเสบียงอังกฤษ ผ่านไปหลายเดือนไม่มีใครสงใสว่าเรือพิฆาตรออยู่ จนกระทั่งมีเรือหายไปหลายลำ
 
และนี่คือเรื่องราว
 
วันพุธ ที่ 15 พฤศจิกายน 1939 เรือเสบียงลำหนึ่งชื่อว่า แอฟริกา เชลล์ แล่นอยู่ในน่านน้ำอาณานิคมของโปตุเกสแอฟริกาตะวันออก(มหาสมุทรอินเดีย) สามารถมองเห็นชายฝั่งได้ ถูกเรือกราฟ สเป ยึดและจมโดยการส่งเรือเล็กไปรับลูกเรืออังกฤษก่อน ปล่อยกะลาสีไปชายฝั่ง และจับตัวกัปตันเรือคือกับตันโดฟ ไปเป็นเชลย และยึดเอกสารสำคัญไว้ จากนั้น จึงยิงถล่ม แอฟริกา เชลล์ สู่ท้องทะเล
 
กับตันโดฟ ไม่พอใจอย่างยิ่งกับการกระทำของกราฟ สเป แต่ลูกเรือเยอรมันบอกว่าให้ไปประท้วงกัปตันเรือเอาเอง หลังจากขึ้นเรือแล้ว กับตันโดฟถูกนำตัวไปพบกัปตันเรือกราฟ สเป คือกัปตันแลงค์ดอฟ์ฟ ผู้สุภาพ เรียบร้อย  เมื่อเจอแล้วทักทายกันแล้ว กับตันโดฟก็เรื่มประท้วงว่าเรื่อตนอยู่3ไมล์ห่างฝั่ง แล้วกัปตันแลงค์ดอฟ์ฟก็เสอให้เขียนคำประท้วง จากนั้นก็เล่าอวดเรือตนให้ฟังแล้วบอกเขาว่าจะลงใต้ แล้วให้กะลาสีพาไปชมเรือ แล้วพาไปห้องพักที่กว้างและสะอาด
 
กัปตันแลงส์ดอร์ฟพากัปตันโดฟชมวิธีการพรางเป็นเรือลำอื่น

 
วันต่อมา เรือเสบียงเยอรมันมาเพื่อให้เสบียง กัปตันแลงค์ดอฟ์ฟจึงพากัปตันโดฟ ไปดูเรือเสบียงแล้วสังเกตว่าลบชื่อเยอรมันไม่เนียน เพราะว่าชาติเป็นกลางมักรายงานสิ่งที่เห็นแล้วทำให้ดูสนใจว่าไม่ใช่เรือชื่อนี้แต่เป็นเรือชื่ออื่นๆ หลังจากนั้นเรือเสบียงจึงขนย้ายเชลย 29 คนมายังเรือกราฟ สเป เพราะว่ากราฟ สเป เสร็จภารกิจแล้วใน 3 เดือนและกลับเยอรมันก่อนคริสต์มาส
 
หลังจากขนเชลยมาแล้ว กัปตันโดฟจึงเข้าไปทักทายกับเพื่อนๆ เชลยคนอื่นๆหลังจากนั้น กราฟ สเป ก็ไปจมเรือเสบียงอีกลำคือเรือ ดอร์ริก สตาร์ คณะจมนั้นเรือลำนี้ได้ขอความช่วยเหลือไปฟอล์กแลนด์ และจับเชลยมาอีกนำโดยกัปตันสตัฟ วันที่ 12 ธันวาคม 1939 เรือกราฟ สเป ได้ฉลองวันคริสต์มาสล่วงหน้า มีของขวัญมาให้ และมีหนังสือพิมพ์ใหม่มาด้วย ได้ความว่าเรือลาดตระเวนหนัก 1 ลำ(เอ็กซีเตอร์)และเรือลาดตระเวนเบา 2 ลำ(อาแจ็ซ,อาคีลิส) ผู้บังคับบัญชาคือนาวาเอก เฮนรี่ ฮาร์วู้ด นำเรือเข้าลาดตระเวนในทะเลแอตแลนติกใต้ หลังจากนั้น เรือกราฟ สเป ได้เปลิ่ยนเส้นทางไปแอตแลนติกเหนือกลับเยอรมัน
 
กัปตันแลงส์ดอร์ฟให้คนนำสิ่งของสำหรับเตรียมฉลองคริสต์มาสมาให้เชลยอังกฤษ
 
หลังจากอังกฤษได้รับสัญญาณแล้ว ผู้การฮาร์วู้ดและกัปตันเบลล์แห่งเอ็กซีเตอร์,กัปตันวู้ดเฮ้าส์แห่งอาแจ็ซ และกัปตันปาร์ตี้แห่งอาคีลีส ได้วางแผนที่จะจัดการกับกราฟ สเป จึงได้จัดการว่าให้ลาดตระเวนพร้อมรบทั้งคืนแล้วให้การโจมตีแยกเป็น2ทาง เพื่อแบ่งการยิง อาแจ็ซ,อาคีลิส โจมตีคู่ เอ็กซีเตอร์โจมตีเดี่ยว  ผู้การฮาร์วู้ดให้อาแจ็ซเป็นเรือธง และอยู่บังคับการกับกัปตันวู้ดเฮ้าส์บนเรืออาแจ็ซ
 
"นายพราน" ทั้ง 3 คือ เรือ Ajax, Achilles และ Exeter ทั้งที่เป็นลำจริงและผู้แสดงแทน
 
ทัพเรืออังกฤษประชุมก่อนออกศึก
 
เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 1939 เวลา 4.50 น. เรือ3ลำได้ลาดตระเวนอย่างละเอียด ไม่พบอะไร จึงพักการเฝ้ามอง 6.10 น.จึงทำการเฝ้ามองต่อ กะลาสีคนบนเรืออาแจ็ซหนึ่งอู้งาน ขึ้นไปเขตนายทหาร แล้วส่องกล้องเล่นเจอเรือกราฟ สเป เข้าอย่างจัง จึงแจ้งนายทหารให้ทราบ จากนั้น จึงส่งข่าวไปยังเรือลำอื่น เอ็กซีเตอร์เรื่มแปรขบวนตามแผนทันที หลังจากทราบแน่ชัดว่าเป็นเรือรบนั้น จึงชักธงรบทันที และดาหน้าเข้าประจัญบานทันที 6.18 น. ทั้ง 2 ฝ่ายเปิดฉากยิงทันที อาแจ็ซปล่อยเครื่องบินลาดตระเวนในตอนนั้น ต่อมา กราฟ สเป โดนกระสุนรวมมิตรถล่มเต็มๆ ต่อมาเอ็กซีเตอร์โดนยิงเต็มๆ ที่หอบังคับการและป้อมหน้า กับหัวเรือ ควันกลบเต็มฟ้า คนเจ็บตายเป็นสิบๆ ไฟลุกเป็นหย่อมๆ เบลล์ต้องการถล่มกราฟ สเป ด้วยทุกอย่างที่มี โดยการตีขนาบข้างกราฟ สเป ต่อมา อาคีลิส โดน1 ลูกที่ป้อมหน้าเต็มๆ ฮารวู้ดมีความคิดดีๆ ในการถล่มด้วย "ก้อนหิมะ" แรงๆสัก 1-2 ชุด ส่วนเบลล์คิดจะใช้เอ็กซีเตอร์กามิกาเซ่ซะให้จบเรื่อง แต่ทำไม่ได้  "ก้อนหิมะ" ของฮาร์วู้ดจากอาแจ็ซและอาคีลีสโดนเต็มๆ อย่างจัง กราฟ สเปเสียหายหนัก สาดกระสุนมั่วโดนอาแจ็ซ 1 ลูก จากนั้นกราฟ สเป ก็แล่นหนีออกห่าง ฮาร์วู้ดออกคำสั่งให้เอ็กซีเตอร์หนีไปซ่อมที่เกาะฟอล์กแลนด์ทันที เป็นอันว่าเอ็กซีเตอร์แยกวงก่อนจากเพื่อน อาแจ็ซและอาคีลีสก็ไล่ตาม กราฟ สเปต่อไป จนถึงเย็นค่ำเรือกราฟ สเป หนีเข้าไปในน่านน้ำริเวอร์เพลตของอูรุกวัย แล่นเข้าอ่าวมอนเตวิเดโอ ชาติเป็นกลาง ตามกฎหมาย เชลยทุกคนเป็นอิสระเมื่อเข้าชาติเป็นกลาง
 
ความเสียหายบางส่วนของเรือ Exeter (สองภาพบน) และ Achilles (สองภาพล่าง) 
 
สถานทูตอังกฤษและเยอรมันเปิดในกลางดึก นายแลงค์แมนรัฐมนตรีเยอรมันพากัปตันแลงค์ดอฟ์ฟไปพบประธานาธิบดีอูรุกวัยคือ ด.ร.วาร์นี่ และประธานาธิบดีได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางเรือขึ้นไปตรวจสอบกราฟ สเป เท่านั้น หลังจากนั้นนายมิเดตัน เดรก รัฐมนตรีอังกฤษและ นายเดกูลา รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสได้เข้าพบ ด.ร.วาร์นี่ พูดเรื่องการประชุมเฮกในข้อที่ 17 กล่าวว่าเรือรบของคู่สงคราม ไม่สามารถซ่อมในท่าของผู้เป็น กลางได้ และไม่อานุญาตโดยเด็ดขาดให้เพื่มประสิทธิภาพการรบ และขอให้ไล่กราฟ สเป ออกจาท่าทันที วันรุ่งขึ้นชาวอุรุกวัยเป็นพันคนแห่กันมาดูเรือเยอรมันลำนี้ หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวใหญ่ หน้าสถานทูตอังกฤษ มีอาสาสมัครขอให้ความช่วยเหลือ อังกฤษมีคนคอยดูเรือกราฟ สเป คือ เรย์ มาร์ติน ทูตทหารเรืออังกฤษประจำอูรุกวัย และกัปตันแมคคอลล์ ทูตทหารเรืออังกฤษประจำบัวโนสไอเรส เขาใช้กล้องส่องบนเรือ มีการจัดงานศพและมีการปล่อยเชลยสู่อิสระ นอกฝั่งอูรุกวัย มีอาแจ็ซ อาคีลีส ดักรออยู่และมีเพื่อนมาร่วมวงคือเรือเรือซัมเบอร์แลนด์มาหนุน วันต่อมา ด.ร.วาร์นี่ เรียกให้เข้าพบและให้ข้อกำหนดว่ามีเวลา 72 ชั่วโมงในการอยู่ในอ่าวคือวันที่ 17 ธันวาคม 1939 เวลา 2 ทุ่มแต่ข้อห้ามการการประชุมเฮกครั้งที่ 13 กล่าวว่าห้ามการซ่อมที่มีจุดประสงค์เพื่อเพื่มความสามารถในการรบ วันต่อมา แมคคอลล์ขึ้นเรือเล็กออกนอกฝั่งไปหาเรืออาแจ็ซแล้วเข้าพบฮาร์วู้ด และฮารวู้ดขอร้องให้แมคคอลล์ช่วยถ่วงเวลาให้กราฟ สเป อยู่ในฝั่งให้นานที่สุดเท่าที่ช่วยได้ จากนั้น แมคคอลล์ลงเรือเล็กกลับฝั่ง และต่อมาฮาร์วู้ดได้รับโทรเลขว่าตนนั้นได้รับเลื่อนยศเป็นพลเรือจัตวา เซอร์ เฮนรี่ ฮาร์วู้ด และวู้ดเฮ้าส์ได้เป็นนาวาเอก
 
ทูตอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าพบประธานาธิบดีอุรุกวัย
 
เรือ Cumberland ที่กะจะมาร่วม "กินโต๊ะ" แทน Exeter
 
กลับมาบนฝั่ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำบัวโนสไอเรส อาเจนตินา ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากแมคคอลล์ ทั้งๆที่รู้ว่าโดนดักฟังอยู่ แต่เขาว่า เรื่องด่วนสำคัญกว่าความปลอดภัย แล้วบอกกับเอกอัครราชทูตว่าเรือรบหลวง 2 ลำจะมาเติมน้ำมันและมุ่งหน้าลงใต้เพื่อสิ่งนึง หลังจากวางหูแล้ว หนังสือพิมพ์ก่อนบ่ายออกวางแผงพาดหัวข่าวว่าครึ่งหนึ่งของกองทัพเรืออังกฤษจะมาที่พันทาเดเลสเต้ และมีเนื้อหาว่า คนเฝ้าประภาคารที่พันทาเดเลสเต้รายงานว่า เรือรบหลวงบาแฮมและหน่วยรบอื่นแห่งทัพเรืออังกฤษจะมาร่วมกับผ.บ.ฮาร์วู้ด ทั้งที่ความจริงบาแฮมอยู่บนบกที่ยิบรอลต้า 
 
ด.ร.วาร์นี่ เรียกคุณเดรกเข้าพบและถามว่าทำไมถึงอยากให้กราฟ สเป ออกล่าช้ากว่ากำหนดเขาตอบว่า  "มันเป็นกลยุทธ์"
 
บ่ายกว่าวันที่ 17 ธันวาคม 1939 เรือเสบียงฝรั่งเศสออกนอกอ่าวมอนเตวิเดโอ ตามกฎเรือเสบียงจะออก 24 ชั่วโมงก่อนหรือหลังเรือรบอีกฝ่ายตามไป ดังนั้นไม่ว่ากราฟ สเป จะออกหรือไม่ออกก็ผิดกฎหมายอยู่ดี
 
ถึงเวลา 19.50 น.เหลือเวลา 10 นาทีก็ถึงกำหนดเรือกราฟ สเป ก็ตัดสินใจออกจากท่า ประชาชนอูรุกวัยมาดูกันอย่างหนาแน่น ที่สถานทูตอังกฤษ รัฐมนตรีอังกฤษและฝรั่งเศสมาดูเรือออกจากท่า แล้วเห็นเรือเสบียงเยอรมันไปรับลูกเรือกราฟ สเป ออกจากเรือให้หมด แล้วระเบิดเรือทิ้ง ประชาชนอูรุกวัยดูอย่างตื่นเต้น เรือค่อยๆจมลงเรื่อยๆ แล้วเรือปืนอูรุกวัยเข้ามาจับกุมเรือสินค้าเยอรมันโทษฐานช่วยเหลือเรือรบในน่านน้ำอย่างเปิดเผย แล้วเจ้าหน้าที่อูรุกวัยขึ้นไปบนเรือพร้อมกับกัปตันโดฟ หากัปตันแลงค์ดอฟ์ฟ แล้วแสดงความเสียใจที่เขาถูกโดดเดี่ยว นักข่าวพูดในวิทยุว่า พวกเขาแทบไม่เชื่อว่าเรื่องจบแล้ว เป็นเหมือนนิยายซึ่งคุณวางไม่ลงเมื่ออ่านหน้าสุดท้าย เสือแห่งท้องทะเล ได้ถูกล่า และโดนเผาเป็นชิ้นๆอยู่ตรงนั้น ขณะที่ผู้ล่าซึ่งได้ต่อสู้กัน จนจนผู้ถูกล่าถึงแก่ความตาย ได้กลับไปทำงานอีกครั้ง
 
เรือ Admiral Graf Spee ระเบิดตัวเองท่ามกลางความตกตะลึงของชาวอุรุกวัยและทูตอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่เฝ้าดูอยู่
 
(เหตุการณ์ในภาพยนตร์จบเท่านี้ ถัดจากนี้คัดจากกระทู้เดิมของผู้เขียน - webmaster)
 
เพียงสามวันหลังจากที่เรือได้สิ้นสภาพลง..ผู้การเรือ นายพล Langsdorff ได้ปลิดชีวิตตัวเองด้วยกระสุนปืน ในชุดเครื่องแบบเต็มยศ และ ได้สิ้นลมลงบนธงชาติของเยอรมันที่ตัวเองปูรอเอาไว้(เขาตั้งใจใช้ธงไกเซอร์แบบเก่าที่ไม่มีเครื่องหมายสวัสดิกะ) อันเป็นการเลือกทางออกแบบชายชาตินาวี  ที่ถือว่า สิ้นเรือก็สมควรสิ้นลม การเสียชีวิตของนายพล Langsdorff ครั้งนี้ ต่างได้รับการสดุดีในความกล้าหาญจากทหารเรือทุกฝ่ายแม้กระทั่ง ฝ่ายตรงข้าม พิธีศพได้จัดทำอย่างสมเกียรติ  เพราะการสู้รบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการสู้รบกันอย่างชายชาติทหารที่มีการเคารพในกฎเกณฑ์และเต็มไปด้วยจริยธรรม

อันสมควรแก่การจารึกไว้ในประวัติศาสตร์..
 
หลัง สงคราม อาคีลีสของนิวซีแลนด์ขายให้อินเดีย ส่วนอาแจ๊ซขายให้ใครไม่ทราบ (เกือบโดนขายให้อินเดียเช่นกัน แต่เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ คัดค้าน - webmaster) แต่เอ็กซีเตอร์โดนเรือดำน้ำของยุ่นจมในแปซิฟิกตอนปี 1942 (พ.ศ.2485) ครับ

ความเห็นเพิ่มเติมจาก webmaster@iseehistory.com
เรื่องนี้เราอาจมองภาพลักษณ์ของคู่สงครามคืออังกฤษกับเยอรมันและชาติเป็นกลางคืออุรุกวัย ได้ดังนี้
  • ชาติไหนเก่งกว่ากัน? ค่อนข้างชัดเจนว่าฝ่ายเยอรมันคือเรือกราฟสเปนั้น สามารถสู้ข้าศึกได้ถึง 1 ต่อ 3 แม้เทียบกันลำต่อลำ เยอรมันจะได้เปรียบ (กราฟสเปมีอาวุธหลักคือปืน 11 นิ้ว 6 กระบอก ส่วนเรืออังกฤษทั้ง 3 มีอาวุธหลักคือปืนขนาด 8 นิ้ว ลำละ 6 กระบอก) แต่เมื่อโดนรุมแบบนี้ไม่ถือว่าได้เปรียบ เหมือนคนตัวโต 1 คน สู้กับคนปกติ 3 คน ฝ่ายอังกฤษค่อนข้างจะติดลบที่รบแบบรุมกินโต๊ะแล้วยังเสียหายหนัก ในตอนหลังยังมีความพยายามขนกองเรือมารุมกินโต๊ะกราฟสเปอีก แต่ในด้านหนึ่งก็ต้องชื่นชมความเป็นผู้นำของกัปตันทั้ง 3 ที่พยายามประคองสถานการณ์ไม่ให้เสียหายหนักไปกันใหญ่ หากไม่นิ่งจริงๆ แล้ว เรือเอ็กซีเตอร์มีสิทธิจมได้ และอีก 2 ลำ อาจเสียหายมากกว่านั้น
  • แล้วด้านคุณธรรมล่ะ? เยอรมันคล้ายจะติดลบในตอนเริ่มต้น เมื่อ กัปตันเบลล์โวยวายว่าเรืออาฟริกาเชลล์ของเขาอยู่ในน่านน้ำชาติเป็นกลาง กราฟ สเป ไม่มีสิทธิไปยิงเขา แต่เมื่อกัปตันแลงส์ดอร์ฟใช้ความสุภาพเยือกเย็นในการรับฟังและชี้แจงเรื่อง ปัญหาแผนที่ที่ต่างกัน ตลอดจนให้การต้อนรับ "เชลย" อย่างกัปตันเชลล์ และคนอื่นๆ ในภายหลังอย่างเป็นมิตร ทำให้ภาพลักษณ์ทางเยอรมันพลิกกลับขึ้นมา (แม้ เชลยอังกฤษบางคนจะบ่นเรื่องกัปตันเรือเสบียง AltMark ก็ตาม) ส่วนเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่าย คือ เยอรมันกับอังกฤษ(ที่มีฝรั่งเศสร่วมด้วย) ที่จริงคงจะกดดันประธานาธิบดีอุรุกวัยพอๆ กัน แต่ในหนังเหมือนฝ่ายหลังจะร้ายกว่าหน่อย ทางอุรุกวัยดูจะเป็นกลางได้เฉียบขาดดีจริงๆ
คำคมชวนคิด
  • " ในประวัติศาสตร์ของเรา ประเทศเล็กๆ นี้ได้รอดจากการถูกคุกคามมาหลายครั้ง เราแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราถูกรุกรานประเทศของผมก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประเทศเราเรียบง่าย มีประชากรแค่ 2 ล้าน เราเข้าใจแค่บางสิ่ง อย่างเช่น กฎหมาย ความยุติธรรม เราเข้าใจดี แต่เราไม่มีวันเข้าใจการคุกคาม เห็นไหม ตัวผมเล็ก แต่ผมมี 2 ล้านหัว" ดร.วาร์นี่ ประธานาธิบดีอุรุกวัย พูดกับเอกอัครราชทูตอังกฤษและฝรั่งเศส
  • "ความคิดเราไม่ได้เปลี่ยน แต่เปลี่ยนกลยุทธ" นายมิเดตัน เดรก เอกอัครราชทูตอังกฤษ กล่าวกับ ดร.วาร์นี่ ประธานาธิบดีอุรุกวัย
  • "ความปลอดภัยของลูกเรือต้องมาก่อน" และ "ผู้การเรือโดดเดี่ยวทุกคน" กัปตันแลงส์ดอร์ฟกล่าวกับกัปตันโดฟ
เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อันชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย
 
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ The Battle of the River Plate
ชื่อภาษาไทย เรือรบทะเลเดือด
ผู้กำกับ Michael powell และ Emeric Pressburger Production
นักแสดง
  • John Gergson as Captain Bell
  • Anthony Quayle as Commodore Sir Henry Harwood
  • Ian Hunter as Captain Woodhouse
  • Jack Gwillim as Captain Parry
  • Bernard Lee as Captain Dove
  • Perter Finch as Captain Langsdorff
นักแสดงทางเรือ
  • HMS Sheffield as HMS Ajax
  • INS Delhi  as HMNZS Achilles (ลำเดิม คนละชื่อ)
  • HMS Jamaica as HMS Exeter
  • HMS Cumberland as HMS Cumberland (ตัวเอง)
  • USS Salem as German Pocket Battleship Admiral Graf Spee

ควรอ่านเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

 
เรียนเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ (ต้องสมัครและ Login ก่อน) ผู้ชมทั่วไปหรือสมาชิกที่ต้องการโพสต์รูป เชิญร่วมแสดงความเห็นได้ที่เว็บบอร์ด "คุยกันหลังฉาก" ในกระทู้ที่มีอยู่แล้ว หรือ สร้างกระทู้ใหม่ (คลิกที่นี่) ครับ

หากเป็นสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในฟอร์มข้างล่างนี้ครับ

Bookmark and Share

ทางเว็บไม่มีนโยบายนำภาพยนตร์ฉบับ เต็มมาให้ดูออนไลน์หรือให้ดาวน์โหลดเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ มีพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์

 



สงครามโลกครั้งที่ 2 - ยุโรป

Inglourious Basterds ยุทธการเดือดเชือดนาซี วันที่ 27/05/2013   23:02:43 article
The World at War สารคดีที่ช่วยให้เห็นภาพรวมสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 19/05/2013   11:26:48
The Boy in the Striped Pyjamas เด็กชายในชุดนอนลายทาง วันที่ 19/05/2013   11:30:27
สารคดีชุด The History Channel World War II จาก BBC วันที่ 19/05/2013   11:32:15
Escape from Sobibor แหกค่ายนรกนาซี วันที่ 19/05/2013   14:49:41
Defiance วีรบุรุษชาติพยัคฆ์ (กลุ่มนักสู้ยิวในเบลารุส) วันที่ 19/05/2013   14:50:16
Brother's War ยุทธการสกัดแผนการหลังม่านเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:51:09
Life Is Beautiful ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง(?) วันที่ 19/05/2013   14:52:30
Stauffenberg ในเวอร์ชันของเยอรมันเอง วันที่ 19/05/2013   14:54:02
Valkyrie : ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   14:55:25
Kelly's Heroes การเสียดสีความเป็นวีรบุรุษของอเมริกัน วันที่ 19/05/2013   14:57:02
Enigma รหัสลับพลิกโลก วันที่ 19/05/2013   14:58:01
The Fallen หลายฝ่ายหลายชีวิตกับความไร้สาระของสงคราม วันที่ 19/05/2013   14:59:09
ป้อมปืนนาวาโรน หนามแหลมมีพิษที่ยอกอกอังกฤษ วันที่ 19/05/2013   15:02:34
La Grande Vadrouille: หนังสงครามแนวตลกชั้นครู วันที่ 19/05/2013   15:04:14
Saints and Soldiers รบกันแต่อย่าเกลียดกัน??? วันที่ 19/05/2013   15:05:31
The Devil's Brigade กองพลน้อยปีศาจลูกผสมอเมริกัน-แคนาดา วันที่ 19/05/2013   15:06:55
Das Boot U – 96 เรือล่มเมื่อจอด วันที่ 19/05/2013   15:11:04
Mosquito Squadron นิยายรักนักบิน วันที่ 19/05/2013   15:12:40
Where Eagles Dare วันที่ 19/05/2013   15:14:27
THE EAGLE HAS LANDED (แผนสิบหกอินทรีเหล็ก) วันที่ 19/05/2013   15:15:36
The Pianist ความวิปโยคจากอคติทางเชื้อชาติ วันที่ 19/05/2013   15:17:06
The Last Armored Train ว่าด้วยรถไฟหุ้มเกราะในสงครามโลก วันที่ 19/05/2013   15:18:21
Days of Glory เมื่อพี่(ฝรั่ง)เศสยังติดหนี้คนอาหรับ วันที่ 19/05/2013   15:19:32
To Hell And Back สงคราม...สร้างวีรบุรุษ วันที่ 19/05/2013   15:21:01
The Great Escape แหกค่ายมฤตยู วันที่ 19/05/2013   15:22:20
Combat! คัมแบ็คในรูปแบบ VCD วันที่ 19/05/2013   15:23:45
D-Day the Sixth of June นิยายรักวันดีเดย์ วันที่ 19/05/2013   15:24:52
D-Day 6.6.44 สารคดี จาก BBC วันที่ 19/05/2013   15:25:59
The Atlantic Wall ปราการชายฝั่งยุโรป ของ ฮิตเลอร์ วันที่ 19/05/2013   15:27:09
Saving Private Ryan วันที่ 19/05/2013   15:28:34
Von Ryan's Express ด่วนนรกเชลยศึก วันที่ 19/05/2013   15:29:52
Memphis Belle ป้อมบินเย้ยฟ้า วันที่ 19/05/2013   15:30:55
Land and Freedom ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายใน สงครามกลางเมืองสเปน วันที่ 19/05/2013   15:34:12
633 ฝูงบินมัจจุราช วันที่ 19/05/2013   15:35:21
Cross of Iron อิสริยาภรณ์ แห่ง ความกล้า กับ ความบ้าเกียรติ วันที่ 19/05/2013   15:36:41
Kill Rommel การต่อต้านสงครามด้วยมนุษยธรรม วันที่ 19/05/2013   15:37:39
The Bridge at Remagen อีกยุทธการยึดสะพานที่คำสั่งเป็นพิษ วันที่ 19/05/2013   15:38:46
Donwfall (Der Untergang) ปิดตำนานบุรุษล้างโลก (ฮิตเลอร์) วันที่ 19/05/2013   15:52:54
Band of Brothers บทเรียนเรื่อง "ภาวะผู้นำ" วันที่ 19/05/2013   15:53:55
Nuremberg: ศาลยุติธรรม ระดับโลก หรือ ปาหี่ของผู้ชนะ? วันที่ 19/05/2013   15:55:43
Sophie Scholl กับ ขบวนการต่อต้านนาซี ใน เยอรมัน วันที่ 19/05/2013   15:56:49
โอมาร์ มุกตา ผู้หาญสู้ เผด็จการ ฟาสซิสต์ อิตาลี วันที่ 19/05/2013   15:58:04
แพตตัน การรบกับข้าศึก VS การแข่งขันกับพันธมิตร วันที่ 19/05/2013   15:59:18
Hitler the Rise of Evil ชีวิตของจอมเผด็จการที่เสมือนนิยายอมตะ วันที่ 19/05/2013   16:00:23
A Bridge Too Far ศึกสะพานนรก เพราะการวางแผนผิดพลาด วันที่ 19/05/2013   16:01:54
D-Day: Men and Machines สารคดี เบื้องหลัง การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   16:03:14
ทัวร์ สงครามโลกครั้งที่สอง กับ กองพลที่ 1 สหรัฐฯ (The Big Red One) วันที่ 19/05/2013   16:04:20
Battle of the Bulge ยุทธภูมิรถถังที่อาศัยการตีความข้อมูลข่าวกรอง วันที่ 19/05/2013   16:05:30
Battle of Britain สงครามอินทรีเหล็ก วันที่ 19/05/2013   16:08:59
The Longest Day การยกพลขึ้นบก ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 19/05/2013   16:10:08
ยุทธภูมิเลือด Stalingrad วันที่ 19/05/2013   16:11:23
Enemy at the Gates : วีรบุรุษสามัญชนจากอูราลในสมรภูมิ สตาลินกราด วันที่ 19/05/2013   16:12:27
Dark Blue World (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:14:45 article
Hart's War (ยังไม่มีบทวิจารณ์) วันที่ 19/05/2013   16:15:49 article



1

ความคิดเห็นที่ 1 (89937)
avatar
จ่ากองร้อย

การรบทางเรือระหว่างราชนาวีอังกฤษกับนาวีเยอรมัน  ไม่ว่าจะเป็นครั้งนี้  หรือล้อมกรอบบิสมาคร์หรือชะตากรรมของเรืออันมีชื่อเสียงของเยอรมัน ที่ประสบชะตาเดียวกัน

คือถูกล้อมและรุมและพ่ายแพ้

การที่ฮิตเลอร์ห้ามเรือใหญ่ออกทะเลให้ใช้แต่เรือดำน้ำ ยังเป็นที่ถกเถียงว่าถูกหรือไม่?มาจนปัจจุบัน

ราชนาวีอังกฤษ  ท้ายที่สุดด้วยทรัพยากรณ์ที่มากกว่าก็เอาชนะในที่สุด

พี่น้องราชนาวีไทยวิเคราะห์เรื่องนี้หน่อยซีครับ  สู่กันฟัง

ไหนๆก็เอาใจช่วยเต็มที่ที่ราชนาวีไทย "ต้องมีเรือดำน้า"

ผู้แสดงความคิดเห็น จ่ากองร้อย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-09-23 00:13:11


ความคิดเห็นที่ 2 (97972)
avatar
ปู่หนัง

อ่านของคุณจ่ากองร้อยแล้วก็เลยให้นึกถึงยุทธนาวีรุมกินโต๊ะที่ว่าอีกเรื่องหนึ่งตอนที่บิสมาคร์ถูกอัดซะหมดสภาพ จำได้ว่าตอนเป็นเด็ก(ประมาณ 40 ก่าปีแล้ว)ตอนนั้นหนังทีวีเป็นขาวดำ มีแต่หนังคาวบอย กะ สงครามโลกนี่แหละมียุทธนาวีเรื่องหนึ่งจำได้แค่เป็นเรื่องของเรื่อหลวง Hood ของอังกฤษ(เขียนถูกป่าวไม่รู้) ถูกเยอรมันยิงถล่ม ดูเหมือนตอนนั้นส่วนประกอบของเรือจะยังมีบางส่วนที่เป็นไม้ดูด้วยละมัง๊ ฉากในหนังส่วนใหญ่มักเป็นตอนกลางคืนใช้สัญาณไฟกันวับ วูบ วับ แล้วก็มีเจ้าบิสมาคร์นี่แหละด้วยตอนหลังรู้สึกจะถูกกินโต๊ะอย่างที่ค.ห.1ว่า แต่จำชื่อหนังไม่ได้พยายามจาตามหาอยู่เป็น 20 ปีจนท้อแล้วละ webmaster พอรู้จักไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปู่หนัง ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-29 13:58:02


ความคิดเห็นที่ 3 (101585)
avatar
รอมเมล

อันนี้ต้องท้าวความถึงสงครามโลกครั้งที่1 กองเรือเยอรมันปะทะกับอังกฤษหลายครั้ง ทำให้ชื่อเสียงราชนาวีอังกฤษต้องอับอาย แถมเรือพิฆาตชื่อเอมเด็น ที่ฉายเดี่ยวโจมตีเรือเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเซียหลายต่อลำ จนกลายเป็นตำนานผลงานเกินขีดความสามารถของเรือขนาดนั้น        พอมาสงครามโลกครั้งที2 เรือที่ทำหน้าที่นี้ จึงต้องเป็นรถประจัญบานขนาดกระเป๋า กราฟ สเป ที่ความสามารถสูง ปืนขนาดใหญ่ เกราะที่หนา ซึ่งเอมเด็นขาดไป 

ดังนั้นเมื่ออังกฤษต้องมาเจอแบบนี้ ก็ไม่อยากให้เกิดประวัติสาสตร์ซ้ำแบบเอมเอ็นอีกแล้ว จึงระดมกองเรือออกล่า กราฟ สเปให้จงได้ พอล่าสำเร็จ ฮิตเลอร์รุ้สึกไม่พอใจกับการสูญเสียเรือ ฮิตเลอร์ตั้งความหวังไว้สูงเกินไป แถมเรือกลับจมตัวเองแทนที่จะสู้เพื่อทำให้เรือข้าศึกเสียหายก่อนจม

พอตั้งใจว่าเรือบิสมาคจะเป็นเรือกู้หน้ากลับมาจมอีก ฮิตเลอร์จึงประเมินว่า การใช้เรือรบไม่อาจทำให้ชนะสงครามได้ แถมเป็นการลงทุนที่มากเกินไป แต่เรืออู47 กลับจมเรือประจัญบานRoyal Oakได้เฉย ยิ่งทำให้ฮิตเลอร์ให้ความสนใจเรืออูมากกว่า เพราะผลงานช่วงแรกที่น่าเหลือเชื่อแบบนั้น ทำให้ฮิตเลอร์สั่งห้ามเอาเรือประจัญบานที่เหลือยู่ออกปฏิบัติการ จนสนิมกินทั้งที่สงครามยังดำเนินอยู่ (หลังเรืออูมีผลงานจมเรือรบขนาดใหญ่ได้อีกคือ เรือประจัญบานบาแรม และเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษอีกลำเสียหายหนัก)

ซึ่งมีการมองว่าฮิตเลอร์คิดถูกต้อง เรือขนาดใหญ่เริ่มไม่เหมาะกับสงครามสมัยใหม่แล้ว เรือรบกลับแพ้ทางเครื่องบินแล้ว แถมอังกฤษเปลี่ยนกลยุทธุ์ใหม่ ด้วยการให้เรือลำเลียง มีการคุ้มกันด้วยกองเรือรบจำนวนมาก แล้วมีกองเรืออเมริกันจำนวนมหาศาลมาเพิ่มเติมอีก มีไม้เด็ดมีเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน สามารถมาทันการปะทะ เหมือนที่กรณีบิสมาคเจอ และการสูญ้สียเรือรบจะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันประเทศนอร์เวย์ ที่มีชายทะเลที่ยืดยาวมาก แล้วยิ่งหลังๆเครื่องบินทิ้งระเบิดสัมพันธมิตรบินมาทิ้งระเบิดแผ่นดินอย่างง่ายดาย การต่อเรือรบยิ่งลำบาก จึงมองว่าฮิตเลอร์มองสถานการณืถุก และเครื่องบินเยอรมันเองก็มีพิษสงที่อังกฤาเองก็หวาดกลัว ถึงขนาดให้เครื่องบินขับไล่ติดไปกับเรือ เมื่อเจอเครื่องบินทิ้งระเบิดจะได้บินสกัดทัน และเยอรมันได้คิดค้นจรวดที่บังคับด้วยวิทยุ พุ่งใส่เรือได้อีก แบบนี้เรือรบของเยอรมันจึงถูกลดบทบาทไป

กว่าเรือรบเยอรมันจะกลับมามีบทบาทอีกก็ต้องวันที่เยอรมันบุกเกาะอังกฤษ   แต่นั่นเยอรมันต้องชนะรัสเซีย จนครองยุโรปหมดแล้วเท่านั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น รอมเมล (goh_17-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-25 21:30:54



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker