Post By นายพลไอเซนฮาวน์
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศสยามหรือว่าไทยของเรา มีเครื่องบินรบทั้งที่ผลิดขึ้นใช้เองเอย จัดซื้อมาเอย และซื้อสิทธิบัตรการสร้างมาเอย จนไทยของเรา มีนภานุภาพใหญ่เป็นอันดับ2ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่น ที่แซงหน้าเราไปอย่างไกลโขเลย เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าเรามีเครื่องบินรบแบบใดบ้างที่ใช้สู้ในสงครามอินโดจีน วันนี้ ผมจึงนำข้อมูลมาลงครับ

ภาพเครื่องบินขับไล่แบบ 10 (บข.10) หรือ Hawk III
ประเภท เครื่องบินขับไล่ปีกสองชั้น ที่นั่งเดี่ยว
ความเร็วสูงสุด 248 ไมล์ / ชม.
พิสัยบิน 577 ไมล์ / ชม.
เพดานบิน 29,700 ฟุต
อาวุธ ปืนวิคเกอร์ 8 มม. จำนวน 2 กระบอก ยิงลอดวงใบพัด
ติดระเบิด 50 กก. ใต้ปีกข้างละ 2 ลูก หรือ ระเบิดขนาด 250 กก. ใต้ลำตัว 1 ลูก
ประจำการในกองทัพอากาศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2478 – 2492
- เป็นเครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทยในช่วงสงครามอินโดจีน
- มีฉายาว่า “ฟ้าคำรน” เนื่องจากเสียงของเครื่องยนต์
- เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่ถูกนำเข้าประจำการเป็นจำนวนมาก ทั้งจัดซื้อและสร้างขึ้นเอง
.jpg)
ภาพในเหตุการณ์วันญี่ปุ่นบุก8 ธันวาคม2484 นักบินไทยชั้นครู3คน นำเครื่องบินนี้3ลำ ขึ้นสกัดกั้นข้าศึกที่มี Nakajima Ki-27-Otsu อันมีสมรรถนะเหนือกว่า สามารถทำความเร็วสูงสุดถึง470กม./ซม.ผลเป็นที่รู้กัน ทหารไทยสู้เอาเลือดทาแผ่นดิน มีเครื่องเดียวในโลกเหลืออยู่ในไทย

ภาพเครื่องบินขับไล่แบบ 11 (บข.11) หรือ Hawk 75 N
ประเภท เครื่องบินขับไล่ปีกชั้นเดียว ที่นั่งเดี่ยว
ความเร็วสูงสุด 280 ไมล์ / ชม. ที่ความสูง 3,250 ม.
พิสัยบิน 547 ไมล์ / ชม.
เพดานบิน 31,800 ฟุต
อาวุธ ปืนกลอากาศ 7.62 มม. จำนวน 1 กระบอก และ ปืนกลอากาศ 12.7 มม. จำนวน 1 กระกอบ
ยิงลอดวงใบพัด และปืนกลอากาศ 7.62 ในกระเปาะใต้ปีกข้างละกระบอก
- เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพอากาศไทยในช่วงสงครามอินโดจีน
- มีฉายาว่า “มือปืนรับจ้าง” เพราะจะถูกส่งไปเพื่อปฏิบัติการสนับสนุนในด้านที่มีการรบหนักเสมอ
- เป็นเครื่องบินขับไล่ปีกชั้นเดียวแบบแรกของกองทัพอากาศไทย
- ถูกนำเข้าประจำการทั้งหมด 12 เครื่อง เท่านั้น
เครื่องบินแบบนี้ เป็นเครื่องบินที่สหรัฐสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อขายให้ไทย

เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง แบบ ๔๑ มาร์ติน ๑๓๙ ดับเบิ้ลยู (ท. ๓) Martin
เครื่องบินทิ้งระเบิด แบบ ๓ (Martin) ซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จำนวน ๖ เครื่อง มีบทบาทปฏิบัติการรบทางอากาศในสงครามมหาเอเซียบูรพา ใช้ราชการถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ มิได้อนุรักษ์ไว้
ประเภท : เครื่องบินทิ้งระเบิด
ผู้สร้าง : บริษัท เกลน แอล มาร์ติน ( สหรัฐอเมริกา )
เครื่องยนต์ : ลูกสูบรูปดาว ไรท์ อาร์ ๑๘๒๐-๓๓ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ให้กำลังเครื่องละ ๗๗๔ แรงม้า
จำนวน ๒ เครื่อง
กางปีก : ๒๑.๕ ม. (๗๐ ฟุค ๖ นิ้ว)
ยาว : ๑๓.๖๔ ม. ( ๔๔ ฟุต ๙ นิ้ว )
สูง : ๔.๗๐ ม. ( ๑๕ ฟุต ๕ นิ้ว )
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : ๓,๓๒๒ กก. ( ๗,๓๒๔ ปอนด์ )
อัตราเร็วสูงสุด : ๓๔๓ กม./ ชม. ( ๒๑๓ ไมล์ / ชม. ) ที่ระยะสูง ๓,๔๐๐ ม. (๑๐,๐๐๐ ฟุต)
เพดานบิน : ๗,๓๖๐ กม. ( ๒๔,๒๐๐ ฟุต )
พิสัยบิน : ๑,๙๘๔ กม. ( ๑,๒๔๐ ไมล์ )
จำนวนเจ้าหน้าที่ : นักบิน เจ้าหน้าที่สื่อสาร และพลปืนหลัง รวม ๓ คน
อาวุธ : ปืนกลอากาศ ขนาด ๐.๓๐๓ นิ้ว. จำนวน ๓ กระบอก ติดตั้งที่ส่วนหัว
กระโดงหาง และใต้ท้องบรรทุกลูกระเบิดขนาดหนัก ๒,๒๖๐ ปอนด์
บรรจุประจำการในกองทัพอากาศ : พ.ศ. ๒๔๘๐ จำนวน ๖ เครื่อง
เป็นเครื่องบินที่เป็นบรรพบุรษของป้อมบินb-17

ภาพเครื่องบินโจมตีแบบ 1 (บจ.1) หรือ V-93 S Corsair
ประเภท เครื่องบินโจมตีและลาดตระเวนปีกสองชั้น สองที่นั่ง
ความเร็วสูงสุด 306 กม. / ชม.
พิสัยบิน 376 ไมล์
เพดานบิน 23,700 ฟุต
อาวุธ ปืนกลอากาศวิคเกอร์ 8 มม. จำนวน 4 กระบอก ที่ปีกบนและปีกล่าง (ปืนหน้า)
ปืนกลอากาศวิคเกอร์ 8 มม. จำนวน 1 กระบอก (ปืนท้าย)
ติดตั้งระเบิดขนาด 50 กก. ที่ใต้ปีกข้างละ 2 ลูก
เป็นเครื่องบินโจมตีหลักของกองทัพอากาศไทยในช่วงสงครามอินโดจีน และเป็นเคื่องบินที่ไทยสามารถสร้างขึ้นใช้เองได้จำนวนมาก มีเครื่องเดียวในโลกเหลืออยู่ในไทย

จ่าอากาศโท จำรัส ม่วงประเสริฐ (ยศครั้งสุดท้าย นาวาอากาศโท) นักบิน ทอ. ลำดับที่ ๔๙๖ ผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงระหว่างปฏิบัติการ “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” เป็น ๑ ใน ๕เสืออากาศไทย ที่มีโอกาสเห็นและได้ใช้เครื่องบินโจมตี1(บจ.1)เข้าทิ้งระเบิด เรือ ลามอตต์ปิเกต์ (La Motte Picquet) ในเช้าวันนั้น

เครื่องบินโจมตีKi-30 นาโกย่า
ประเภท |
: เครื่องบินโจมตีสองที่นั่ง |
ผู้สร้าง |
: บริษัทมิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น |
เครื่องยนต์ |
: ลูกสูบรูปดาว ๑๔ กระบอกสูบ นากาจิมา เอชเอ-๕ ไก ( HA-5 )
ระบายความร้อนด้วยอากาศ ให้กำลังเครื่องละ ๙๖๐ แรงม้า จำนวน ๑ เครื่อง |
กางปีก |
: ๑๔.๕๕ ม. ( ๔๗ ฟุต ๙ นิ้ว ) |
ยาว |
: ๑๐.๓๔ ม. ( ๓๓ ฟุต ๑๑ นิ้ว ) |
สูง |
: ๓.๕๔ ม. ( ๑๑ ฟุต ๑๑ ๓/๔ นิ้ว ) |
น้ำหนักเปล่า |
: - |
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด |
: ๓,๓๒๒ กก. ( ๗,๓๒๔ ปอนด์ ) |
อัตราเร็วสูงสุด |
: ๔๓๑ กม./ ชม. ( ๒๖๘ ไมล์ / ชม. ) ที่ระยะสูง ๔,๐๐๐ ม. |
อัตราเร็วเดินทาง |
: ๒๕๐ กม./ชม. |
อัตราไต่ |
: - |
เพดานบิน |
: ๘,๕๗๐ กม. ( ๒๘,๒๑๕ ฟุต ) |
พิสัยบิน |
: ๑,๐๕๐ กม. ( ๑,๖๗๘ ไมล์ ) |
อาวุธ |
: ปืนกลอากาศ ขนาด ๗.๗ มม. แบบญี่ปุ่นติดที่ปีกซ้าย ระยะยิงหวังผล ๘๐๐ เมตร
ปืนหลัง ปืนกลอากาศ ขนาด ๗.๗ มม. ลำกล้องแฝด ระยะยิงหวังผล ๘๐๐ เมตร
อัตราเร็วในการยิง ๕๐๐ - ๕๕๐ นัด/นาที
ติดลูกระเบิดขนาด ๑๒ กก. ได้ ๓๒ ลูก
หรือขนาด ๕๐ กก. ได้ ๘ ลูก
หรือขนาด ๑๐๐ กก. ได้ ๔ ลูก |
หมายเหตุ
|
- บ.จ. ๒ ที่ ทอ. จัดซื้อจำนวน ๒๕ เครื่อง ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ นั้น
สร้างจากโรงงานของบริษัทมิตซูบิชิ ที่เมืองนาโกย่า
- กองกำลังทางอากาศของกองทัพบกญี่ปุ่นในอดีต กำหนดสัญลักษณ์ของ
เครื่องบินแบบนี้ว่า nิ ๓๐ ( Ki. 30 |
Ki-30 เป็นเครื่องบินโจมตี ประเภทดำทิ้งระเบิด 3 ที่นั่ง (นักบิน,พลวิทยุและพลปืนหลัง) ประจำการในกองทัพอากาศไทยในช่วงสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา มีจำนวน 25 เครื่อง แบ่งเป็น2ฝูงมีชื่อฝูงพิเศษกว่าใครๆ ว่า "ฝูงบินพิบูลสงคราม๑" และ "ฝูงบินพิบูลสงคราม ๒"ประจำการอยู่ที่ ดอนเมือง มีชื่อเรียกตามแบบ ทอ.ไทยว่า "เครื่องบินโจมตีแบบ ๒" นักบินและทหารไทยสมัยนั้นนิยมเรียกชื่อว่า "นาโกย่า" ประวัติเด่นที่สุดคือการทิ้งระเบิดและต่อสู้เหนือนครวัตรและพระตะบอง จนกองทัพไทยมีชัยชนะ


วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔) กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบิน โจมตีแบบ ๒ (นาโกย่า) จำนวน ๙ เครื่อง ไปปฏิบัติภารกิจโจมตีทิ้งระเบิดที่บ้านไพลิน และบ้านศรีโสภณ โดยมีเครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๑ ( Hawk 75 ) จำนวน ๓ เครื่องบินคุ้มกัน การปฏิบัติการครั้งนี้ สร้างความเสียหายแก่ข้าศึกอย่างหนัก และนับเป็นการปฏิบัติภารกิจทางอากาศครั้งสุดท้ายของการรบในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส

เครื่องบินขับไล่ Hawk 2
เครื่องบิน ฮอว์ก ๒ เป็นเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศนำเข้าประจำการใน บน. ๔ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ให้ชื่อว่า แบบ ๑๘ ปัจจุบันมีชื่อรหัสว่า บ.ข. ๙ ฮอว์ก ๒ หรือ บ. แบบ ๑๘ เป็นเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งที่มีบทบาทในสงครามอินโดจีน
สมรรถนะอากาศยาน เครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๘ ฮอว์ท ๒ บ.ข. ๙
ประเภท |
: เครื่องบินขับไล่ |
ผู้สร้าง |
: บริษัท เคอร์ติส - ไรท์ (สหรัฐอเมริกา) |
เครื่องยนต์ |
: ลูกสูบลูกดาว ไรท์ไซโคลน อาร์ - ๑๘๒๐ เอฟ - ๓ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ให้กำลัง ๗๑๕ แรงม้า ที่ ๑,๙๕๐ รอบต่อนาที จำนวน ๑ เครื่อง |
กางปีก |
: ๙.๖๐ ม. ( ๓๑ ฟุต ๖ นิ้ว ) |
ยาว |
: ๖.๘๒ ม. ( ๒๒ ฟุต ๔๕/๑๖ นิ้ว ) |
สูง |
: ๒.๙๕ ม. ( ๙ ฟุต ๘๕/๘ นิ้ว ) |
น้ำหนักวิ่งสูงสุด |
: ๑,๗๗๓ กก. ( ๓,๙๔๐ ปอนด์ ) |
อัตราเร็วขั้นสูง |
: ๓๒๘ กม./ชม. ( ๒๐๕ ไมล์/ชม. ) ที่ระยะสูง ๒,๐๙๗ ม. ( ๖,๙๐๐ ฟุต ) |
อัตราเร็วเดินทาง |
: ๒๘๐ กม./ชม. ( ๒๕,๘๕๐ ฟุต ) |
พิสัยบิน เพดานบิน |
: ๒๘๐ กม./ชม. ( ๒๕,๘๕๐ ฟุต ) |
พิสัยบิน |
: ๕๘๔ กม. ( ๓๖๕ ไมล์ ) |
บรรจุประจำการใน ทอ. |
: พ.ศ. ๒๔๗๗ จำนวน ๑๒ เครื่อง |
อาวุธ |
: ปกอ. ขนาด ๘ มม. ๒ กระบอก ที่ปีกข้างละ ๑ กระบอก ติดลูกระเบิดขนาด ๕๐ กก.
ใต้ปีกได้ข้างละ ๒ ลูก |

ภาพ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๘๓- ๒๔๘๔) กองทัพอากาศ ได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๙ (ฮอร์ค ๒) จำนวน ๓ เครื่อง ขึ้นบินลาดตระเวนรักษาเขต โดยมี เรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นหัวหน้าหมู่บิน ขณะปฏิบัติภารกิจอยู่บริเวณบ้านยาง อำเภออรัญประเทศ พบเครื่องบินทิ้งลาดตระเวนของข้าศึกแบบโปเตซ์ ๒๕ จำนวน ๑ เครื่อง และเครื่องบินขับไล่แบบโมราน ๔๐๖ จำนวน ๓ เครื่อง เรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ ฯ จึงนำหมู่บินเข้าสกัดกั้นและยิงเครื่องบินลาดตระเวนของข้าศึกตก
ที่มา จาก http://www.dmbcrtaf.thaigov.net
นี่เป็นภาพเครื่องบินที่บรรพบุรุษไทยใช้สู้เพื่อเราลูกหลานของท่าน จงรักษาแผ่นดินนี้สืบไป