dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงคราม กรีก - กรีก
วันที่ 03/07/2013   23:35:38

 

ท่านที่สนใจ  สามารถติดตามได้ที่   http://widetalks.multiply.com    ด้วย

 

ความขัดแย้งระหว่างนครรัฐกรีก

สันนิบาตเดเลียน  (Delian League)

          หลังจากสงครามกรีก - เปอร์เซีย ได้จบสิ้นลง  นครรัฐต่างๆ ของกรีกเห็นแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องผนึกกำลังกันและจัดระเบียบเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซีย  ปกป้องผลประโยชน์   และสร้างความมั่นคงให้นครรัฐของตน     โดยเฉพาะ รัฐไอโอเนียนต่างๆ ในเอเซียไมเนอร์  (แถบชายฝั่งตะวันตกส่วนกลางของอนาโตเลียตุรกีในปัจจุบัน) ปฏิวัติอำนาจของเปอร์เซีย   นครรัฐกรีกที่เคยได้ร่วมทำสงครามกับเปอร์เซียต่างยื่นเสนอให้ความช่วยเหลือ
          
 

 

         

 

 

          เอเธนส์    ก้าวต่อไปอย่างรวดเร็วเพื่อจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่สนใจร่วมกัน ในการป้องกันตนเองจากเปอร์เซีย    ในปี  479 - 478 ก่อนคริสตศักราช กลุ่มพันธมิตรนี้ประชุมกันที่เกาะเดลอส (Delos)  จึงได้ชื่อว่า  สันนิบาตเดเลียน  (Delian League)  

           สปาร์ตา      ไม่มั่นใจที่จะลงทุนในพื้นที่ห่างไกล  เพราะเกรงการปฏิวัติของพวกทาส     จึงเสียความเป็นผู้นำไป

          สันนิบาตเดเลียน    เห็นด้วยกับเหตุผลของรัฐเอเธนส์ที่ว่า  การป้องกันเปอร์เซียที่ดีที่สุดคือการมีกำลังทางเรือที่เข้มแข็ง    และเป็นที่ยอมรับทั่วกันว่า  กองเรือใหญ่นี้ต้องอยู่ในบังคับบัญชาชองรัฐที่มีอำนาจทางเรือมากที่สุด (คือเอเธนส์)   รัฐสมาชิกไม่ต้องส่งเรือ และทหารเรือมาร่วม  เพียงแต่สนับสนุนทุนทรัพย์เท่านั้น    

          รัฐเหล่านี้เคยส่งส่วยให้เปอร์เซีย ก็กลับมาส่งให้เอเธนส์แทน

     เธมิสโตคริส  (Themistocres) แม่ทัพเรือที่นำทัพเรือกรีกชนะในการรบที่สลามิสได้เป็นผู้นำรัฐเอเธนส์   ได้สร้างกำแพงแห่งเอเธนส์  (The Long Wall หรือ   The Themistocleian wall) เมื่อ   ๔๗๘  ปีก่อนคริสตศักราช จากเอเธนส์  ถึง  ท่าเรือพิเรอุส (Piraeus) เป็นระบบการป้องกันข้าศึกไม่ให้เข้าปล้น หรือตัดการส่งกำลังจากท่าเรือพิเรอุส 
 
 

 

 

 

       ๔๖๖  ปีก่อนคริสตศักราช  เอเธนส์มีอิทธิพลครอบงำสันนิบาติเดเลียนซึ่งทำให้ แผ่ขยายอิทธิพล และ มีรายได้เพิ่มขึ้น    สันนิบาติเดเลียนซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากเปอร์เซีย  กลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการขยายจักรวรรดิเอเธนส์    การเติบโตของเอเธนส์   จึงเป็นที่ไม่พอใจของสปาร์ตา
   
          ๔๖๔ - ๔๕๖    ปีก่อนคริสตศักราช   สปาร์ตาต้องเผชิญกับการก่อความไม่สงบของพวกทาส    จึงไม่สามารถขัดขวางเอเธนส์อย่างเต็มที่  แต่ความขัดแย้งได้เริ่มก่อตัวและพร้อมที่จะขยายตัวเป็นสงครามอย่างเปิดเผยต่อไป

เมืองคู่แข่ง

            เอเธนส์ และ สปาร์ตา   สองนครรัฐ ซึ่งห่างกันไม่ถึง  ๑๕๐  ไมล์     สังคมทั้งสองมีที่มาเหมือนกัน   ใช้ภาษาเดียวกัน  นับถือเทพเจ้าเหมือนกัน   มีวีรบุรุษร่วมกัน    ร่วมมือกันเผชิญภัยคุกคามจากภายนอก   แต่มีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างมาก   . . . ตรงกันข้ามในวิธีคิด  และการดำรงชีวิต    หากจะเปรียบสปาร์ตา เสมือนทะเลทราย    เอเธนส์เปรียบเสมือนโอเอซิส       ผลงานหรือสิ่งที่สองนครรัฐสร้างขึ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระบบการศึกษา  

           เอเธนส์     ส่งเสริมการศึกษาอย่างกวัางขวางในทุกระดับ  และทุกสาขา   ทั้งอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ พลศึกษา   เน้นให้เป็นนักค้นคว้า  มีเสรีภาพทางความคิด  ทำให้เกิดนักปราชฌ์ หลายท่าน  ที่พวกเราได้คุ้นกันได้แก่  โสเครตีส  (Socretis)  มีชีวิตระหว่าง ๔๙๙ - ๓๙๙  ปีก่อนคริสตศักราช     เพลโต (Plato) บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่    เกิด  ในปี ๔๒๙  ก่อนคริสตศักราช    อริสโตเติล (Aristotle)  บิดาแห่งศาสตร์สมัยใหม่   เป็นชาวมาซิโดเนีย มาเป็นศิษย์เพลโต    ๓๘๔ - ๓๒๒   ปีก่อนคริสตศักราช     เป็นต้น 
     
            ความพยายามทุกประการของเอเธนส์ได้ก้าวหน้าเป็นอย่างดีและชัดเจน   จนกลายเป็นวัฒนธรรมกรีกในที่สุด     ความพยายามที่สำคัญที่สุดได้แก่การที่เอเธนส์ค่อยๆ ทดลองทางการเมืองที่ปรับเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์    ไม่เพียงแต่มีผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น    แต่ประชาชนทุกคนในเอเธนส์มีสิทธิ์ที่จะมีส่วนร่วมในนคร และในรัฐบาล    ชาวเอเธนส์ยินดีอุทิศเวลาเพื่อกิจการสาธารณะ และสังคม

          ก่อนที่จะเกิดสงคราม เพลอพพอนเนเซียน     แคว้นอัตติกา (เอเธนส์) มีประชาชนระหว่าง   ๓๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐     แต่เป็นประชาชนอัตติกาประมาณ   ๑๕๐,๐๐๐     เป็นทาสกว่า  ๑๑๕,๐๐๐  เล็กน้อย   ที่เหลือเป็นชาวต่างเมือง    พวกทาสจะทำงานประจำ  ในขณะที่ชาวอัตติกากำกับดูแล และร่วมในกิจกรรมของสังคม   และก็ร่วมลงทุนกับพวกทาสได้เป็นอย่างดี     วิถีทางทหารของเอเธนส์คือการยกระดับผู้ถูกเกณฑ์เป็นทหาร และเลือกผู้บังคับบัญชาครั้งละหนึ่งปี     แต่ทางกองทัพเรือเอเธนส์ มีอิทธิพลในทางทะเลและขยายออกไปโพ้นทะเลโดยผ่านสันนิบาตเดเลียน   

          เอเธนส์เข้าแทรกแซงกิจการภายในของพันธมิตรอย่างน้อย ๒ รัฐ   และหลายๆ กรณีที่เข้าไปสถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยให้เหมือนตน    การเข้าจัดการปกครองเป็นความขมขื่นที่รัฐที่ถูกจัดการยอมรับได้ก็จริง    แต่รัฐเหล่านั้นก็ไม่อาจแสวงหาความช่วยเหลือจากกำลังรัฐใดๆ ที่จะทำให้ได้อำนาจคืนมา  รัฐเหล่านั้นก็จำต้องภักดีต่อเอเธนส์   ในขณะที่เอเธนส์ดำเนินนโยบายขยายอำนาจต่อไป
           
          สปาร์ตา     เลือกวิถีชีวิตตามระบบทหารอย่างสุดขั้ว   กล้าหาญอย่างที่สุด   ประวัติศาสตร์ของสปาร์ตาโดดเด่นด้วยความสำเร็จด้านผู้นำทางการทหาร        แต่ไม่ปรากฏในเรื่องความคิดอย่างมีจินตนาการ        ในขณะที่รัฐอื่นสร้าง  สปาร์ตาฝึก

          ทั้งชีวิตของชาวสปาร์ตา    ได้รับคำสั่งสอนและฝึกที่มุ่งสู่การสงครามตั้งแต่อายุน้อยที่สุด    เมื่ออายุ  ๗  ขวบ  ต้องออกจากอ้อมอกบิดามารดา เข้าระบบการศึกษาที่นำสปาร์ตาไปสู่การเป็น "รัฐทหาร"   เมื่ออายุได้  ๒๐  ปี  ทุกคนต้องเป็นนักรบ   และเป็นไปจนอายุ  ๖๐  ปี   
           

          เพื่อให้เห็นภาพชาวเอเธนส์ และชาวสปาร์ตาได้ชัดเจน  ขอยกข้อความตามที่ท่านว่าไว้    ดังนี้ครับ 

Athens.

          I doubt that the world can produce a man, who where he has only himself to depend upon, is equal to so many emergencies and graced by so happy  a versatility as the Athenian.
                                                                                                                                                Pericles

Sparta.

          In action it is forbidden to retire in the face of enemy forces of  whatever strength.  Troops are to keep there formation and to conquer or die.
                                                                                                                                        Damaratus on Spartan Law              

 

สงคราม เพลอพพอนเนเซียน (The Peloponnesian War) 

สงครามเพลอพพอนเนเซียน  ครั้งที่  ๑   (457 - 446 ปีก่อนคริสตศักราช)

             เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์ กับ สปาร์ตา ดังที่ว่ามาแล้ว ซึ่งเรียกว่า  สงครามเพลอพพอนเนเซียน  ครั้งที่  ๑   (457 - 446 ปีก่อนคริสตศักราช)  การสงครางนี้ ไม่มีบทเรียนที่ทางยุทธวิธีให้ศึกษากัน   แต่ผลของสงครามคราวนี้  แบ่งนครรัฐกรีกออกเป็น ๒  ค่ายใหญ่ๆ    คือ  สันนิบาตเพลอพพอนเนเซียน   (The  Peloponnesian  League) มีรัฐสปาร์ตาเป็นผู้นำ        อีกฝ่ายหนึ่ง  เอเธนส์  และพันธมิตร    ยอดแห่งประชาธิปไตยในโลกกรีก    

 

สงครามเพลอพพอนเนเซียน  ครั้งที่  ๒  (๔๓๑ - ๔๐๔  ปีก่อนคริสตศักราช)

 

          หลังจากว่างศึกกันอยู่ได้ไม่นาน     ก็เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกในชื่อ สงครามเพลอพพอนเนเซียน  ครั้งที่  ๒  (๔๓๑ - ๔๐๔  ปีก่อนคริสตศักราช) โดยพื้นฐานแล้วการสงครามคราวนี้  คือลักษณะการต่อสู้ระหว่างผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง    ช้าง   กับ  วาฬ    

          สปาร์ตา  เน้นการรุกทางบก   

          เอเธนส์   ป้องกัน หรือตั้งรับทางบก พอไม่ให้แพ้  แต่เน้นการรบด้วยวิธีรุกทางทะเล  และดำรงการค้าระหว่างประเทศให้ได้   

          การสงครามคราวนี้  นอกจากจะได้บทเรียนทางยุทธวิธีแล้ว  ยังเต็มไปด้วยบทเรียนทางยุทธศาสตร์อีกด้วย

          แผนยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย สะท้อนและสอดคล้องการจัดหน่วยทหารของรัฐ    สำหรับเอเธนส์    หวังที่จะจะเอาชนะสงครามด้วยการรบทางทะเล  เพราะมีกองเรือที่สามารถ   แต่กำลังทางบกต้องไม่แพ้เสียก่อน   และ กำแพงแห่งเอเธนส์จะป้องกันกำลังทางบก และท่าเรือสำคัญที่พิเรอุส(Piraeus)ให้สามารถดำรงการค้าทางทะเลได้ต่อไป       สำหรับสปาร์ตา    ต้องเอาชนะสงครามทางบกให้ได้ 

 

          คุมเชิง    ๔๓๑ - ๔๒๑  ปีก่อนคริสตศักราช    (Archidamian War)

          สปาร์ตาส่งกองทัพบกเข้าไปในแคว้นอัตติกา  รอบๆ เอเธนส์  แต่ก็ไม่ได้ทำการรบกับทหารเอเธนส์ ซึ่งถอนตัวเข้าไปอยู่หลังกำแพงแห่งเอเธนส์ ได้อย่างปลอดภัย    

             เพอริคลิส  แม่ทัพเอเธนส์  สิ้นชีวิตในปี ๔๒๙  ก่อนคริสตศักราช   ผู้สืบทอดอำนาจต่อมาไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ที่เพริเครสวางไว้จึงพยายามทำการรุกทั้งทางบก และทางทะเล   

          ๔  ปี ต่อมา    ฝ่ายเอเธนส์มีชัยที่สฟัคเทอเรีย (Sphacteria)    แต่ในปี ๔๒๔   ฝ่ายเอเธนส์กลับแพ้ โบเทียน (Boeotians) ที่เดลิอุม (Delium)      ต่อมาอีก  ๒  ปี  คลีออน (Cleon) แม่ทัพเอเธนส์   และบราซิดัส (Brasidas) แม่ทัพสปาร์ตาต่างเสียชีวิตในการรบที่แอมฟิโพลิส  (Amphipolis) 
 
  
 สลับฉาก    ๔๒๑ - ๔๑๓  ปีก่อนคริสตศักราช

          ในขั้นนี้ เอเธนส์ผันปรับเปลี่ยนนโยบาย ระหว่าง การรักษาสันติภาพ ของ นิซิอัส (Nicias) และจักรวรรดินิยมของอัลสิบิอาเดส (Alcibiades) หลานของเพอริคริส      ในที่สุด    ก็เป็นโอกาสที่จะทำลายสหพันธเพลอพพอนเนเซียนโดยไม่ต้องโจมตีโดยตรง    การพ่ายแพ้ของไซราคิวส์ (Syracuse) ในซิสิลี (Sicily) ขัดขวางการค้าข้าวโพดกับฝ่ายเพลอพพอนเนส   ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอในเวลาต่อมา    แต่การปฏิบัติการก็อยู่เหนือทรัพยากรทางทหารที่หาได้

          เดือนมิถุนายน   ๔๑๕ ปีก่อนคริสตศักราช  เอเธนส์ ส่งกำลังไปเกาะซิสิลี  ๕๐,๐๐๐    แต่ต้องประสบภัยเสียหายมาก   กำลังที่ส่งไปเหลือเพียง  ๗,๐๐๐ เท่านั้น

               เหตุการณ์นี้  ทำให้ฝ่ายเอเธนส์ตกใจเป็นอย่างยิ่ง    แต่ทางฝ่ายสปาร์ตาเตรียมทำสงครามอย่างเต็มที่

 

แตกหัก    ๔๑๓ - ๔๐๔  ปีก่อนคริสตศักราช    Decelean War or Ionian War

         บัดนี้สปาร์ตาตระหนักแล้วว่าต้องการกองเรือ    อีกฝ่ายคอยที่จะสนับสนุนอยู่ . . . เปอร์เซีย   เต็มใจเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดหาเงินให้สปาร์ตาใช้ต่อเรือและเป็นค่าฝีพาย  เพื่อที่จะได้กลับมามีอำนาจเหนือรัฐกรีกในเอเซียไมเนอร์อีกครั้ง

          ในปี ๔๐๕  ก่อนคริสตศักราช  กองเรือเอเธนส์ จอดอยู่ในอ่าวเอโกสโปทามิ (Aegospotami) ในแคว้นเทรซ (Thrace)โดยไม่มีการระวังป้องกัน     ถูกไลสันเดอร์ (Lysander) นำกองเรือสปาร์ตาเข้าโจมตี  สามารถยึด และทำลายได้รวม  ๑๖๐  ลำ

          เอเธนส์ถูกล้อมในเดือน  เมษายน    ๔๐๔ ปีก่อนคริสตศักราช    

          สปาร์ตาเป็นฝ่ายชนะในการต่อสู้อันยาวนาน    ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการปฏิบัติการร่วมระหว่างกำลังทางเรือกับกำลังทางบกที่ก่อให้เกิดอำนาจทางการรบสูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 THE  PELOPONNESIAN  WARS

 

ผลของสงคราม

          ความพยายามเพื่อเป็นผู้นำในคาบสมุทรกรีกของทั้งสองฝ่ายใช้เวลาถึง  ๒๔  ปี                    

          เอเธนส์    สงครามเพโลโพนนีเซียน  เป็นเสมือนการทดลองสงครามทั้งสิ้นภายใต้เครื่องมืออันจำกัด    อำนาจทางทหารของเอเธนส์ถูกทำลาย  จึงจำต้องสร้างอำนาจทางทหารขึ้นมาใหม่  อย่างน้อยให้ทัดเทียมกับสปาร์ตาได้    

 

          อิพพิเครเตส (Iphicrates) แม่ทัพท่านหนึ่งได้ออกแบบทหารราบให้มีอาวุธเบาขึ้นคือใช้หอกที่เรียกว่า เพลตา (Pelta  หอกซัด หรือ โตมร) ซึ่งเบากว่าหอกชนิดที่ใช้อยู่เดิม และใช้พุ่งเพื่อสังหารข้าศึก   และเรียกทหารนี้ว่า เพลทาสท์ (Peltast) 

          เพลทาสท์ ใช้โล่กำบังขนาดเล็ก และเบากว่าฮอปไลท์    แต่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงกว่า     การฝึกทำให้เพลทาสท์มีวินัยอย่างสมบูรณ์    และ  การเคลื่อนที่และ อำนาจการยิง  (คือ การซัดหอก)  ในขณะที่รักษาการตั้งรับอย่างเหนียวแน่น  ทำให้ไม่หวาดกลัวเมื่อเผชิญกับทหารฮอปไลท์    พัฒนาการนี้อาจเป็นไปได้ในระบบการจ้างทหารอาชีพ      ทหารรุ่นเก่าคุ้นเคยกับการสู้รบในรูปขบวนฟาลังซ์  แต่ทหารเพลทัสท์นี้ยังต้องฝึกในรายละเอียดอีกนาน   ในสาระสำคัญ   

           การใช้เพลลาสท์ในทางยุทธวิธี  คือใช้เชื่อมต่อ หรือ อุดช่วงว่างระหว่างทหารฮอปไลท์และทหารเบาที่ไม่ได้ประจำการ

 

 เพลทาสท์   (Peltast)     >      

 

          ทางด้านสปาร์ตา    ถึงแม้ว่าจะนับว่ามีชัยต่อเอเธนส์แต่ก็อยู่ในสภาพลำบากใจ  เพราะพลเมืองได้รับการฝึกให้ทำสงครามกับเพื่อนบ้าน  แต่เมิ่อถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องมีบทบาทนำในความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่ทางทหาร ซึ่งไม่ได้มีการเครียมมาก่อน    ใช่แต่เท่านั้น  จำนวนทหารฮอปไลท์ ที่เคยมีถึง  ๕,๐๐๐ ในปี ๔๗๙  ก่อนคริสตศักราช   ก็ลดลงเหลือเพียง  ๒,๐๐๐  ใน ปี  ๓๗๑  ก่อนคริสตศักราช    หลายนครรัฐ ก็ต้องการทดสอบความยิ่งใหญ่ในแสนยานุภาพของสปาร์ตา

 

          มาถึงตอนนี้แล้วก็น่าจะนับเป็นบทเรียนทางยุทธศาสตร์ของสงครามเพลอพพอนเนเซียน  ครั้งที่  ๑ ว่านับเป็นบทเรียนชาติเอาเลยทีเดียวว่า  หากไม่ขจัดความขัดแย้งให้เรียบร้อยเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้ว  ความขัดแย้งนั้น ก็พร้อมที่จะปะทุขึ้นมายังความเสียหายร้ายแรงได้

 

 

 ธีบส์  และการรบที่ลุคตรา

          ใน  ปี  ๓๗๑ ก่อนคริสตศักราช  เกิดการปฏิวัติในรัฐธีบส์    กษัตริย์เคลโอมโบรตุส (Cleombrotus) นำกองทัพสปาร์ตาจำนวน  ๑๑,๐๐๐  เข้าไปในแคว้นโบเธีย (Boeotia) ตอนใต้  เพิ่อปราบปรามการปฏิวัติ      เอปปามินดานัส (Epaminondas) นำทัพธีบส์จำนวน ๖,๐๐๐  ออกมาสู้รบที่ลุคตรา (Leuctra)   

 

 

 

            เอปปามินดานัส    เป็นนักพัฒนา  เป็นคนที่เชื่อและปฏิบัติเหมือนกัน  เป็นนักปราศัยที่สามารถที่สุด  เป็นนักการเมืองที่ปราดเปรื่องหลักแหลม และสามารถ  เป็นผู้นำ และนายพลที่หาได้ยากที่สุด เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 

          เขาตระหนักดีว่าสปาร์ตาไม่เปลี่ยนแปลงยุทธวิธี  ซึ่งความสำเร็จขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ในรูปขบวนฟาสังซ์กับหอกเดินเข้าหาข้าศึกตรงหน้าพร้อมๆ กัน   

          จึงคิดยุทธวิธีที่จะป้องกันฟาลังซ์ดังกล่าว  โดยให้ฝ่ายตนเคลื่อนที่เฉียงออกทางขวา (ภาพ  6d) และจัดทหารที่ดีให้อยู่ในแถวขวา

 

           ที่ลุคตรา    เอปปามินดานัสเปิดฉากด้วยการให้แต่ละฟาลังซ์เดินเฉียงกันลงมาเข้าหาข้าศึก   แทนที่จะตั้งให้เดินขนานกับแถวฟาลังซ์ของข้าศึกเช่นที่เคยปฏิบัติกันมา และวางกำลังให้หนักทางปีกซ้าย  เพื่อเอาชนะปีกขวาของข้าศึกเสียก่อน    โดยให้ฟาลังซ์ทางขวาๆ เดินให้ช้าลง    แต่รูปขบวนใหม่นี้ก็มีจุดอ่อนทางปีก    จึงจัดนักรบชั้นพิเศษ  (The Sacred Band) ป้องกันปีกซ้าย    และใช้ทหารม้าป้องกันย่านกลางและด้านขวา  (ภาพ 6b)  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

 

 

 

   การปฏิบัติตามแผนของเอปปามินดานัสดำเนินไปอย่างสมบูรณ์     กำลังหลักทางปีกซ้ายสามารถผลักดันปีกซ้ายของสปาร์ตาในขณะที่ย่านกลางและด้านขวายันสปาร์ตาไว้ตรงหน้า  กองทัพธีบส์ของเอปปามินดานัสได้ชัยชนะอย่างงดงาม (ภาพ 6c)

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

เอปปามินดานัส มีความสามารถที่ริเริ่มใช้กำลังที่เหนือกว่าเข้าตีจุดวิกฤตของข้าศึกเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง   ในขณะที่ปกปิดจุดอ่อนของตนทางย่านกลาง และขวาไว้ได้    นับว่าเป็นการใช้หลักการรวมกำลัง  (Mass)   และหลักการออมกำลัง  (Economy of Force) ในประวัติการสงครามสมัยโบราณ

 

 

การเสื่อมถอยของนครรัฐกรีก

          รัฐธีบส์กลายเป็นนครรัฐที่ทรงอำนาจในหมู่นครรัฐกรีก  แต่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล   เมื่อ เอปปามินดานัส ผู้ปรารถนาที่จะรวบรวมรัฐกรีกให้เป็นปึกแผ่นต้องเสียชีวิตในการรบที่มานทิเนีย(Mantinea)  เมื่อ ๓๖๒ ปีก่อนคริสตศักราช   ธีบส์ก็ไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งอีกต่อไป  

การที่แต่ละนครรัฐต้องทำสงครามระหว่างกันแต่ละนครรัฐก็อ่อนกำลังกันไปเอง

ทั้งเอเธนส์  สปาร์ตา  และธีบส์  ต่างไม่สามารถที่จะรวบรวมกรีกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

 

 

 

 

 

 เฉกเช่นลมเหนือก็พัดพิชิตดอกไม้ฤดูร้อนที่ร่วงโรยในฤดูแล้ง  

             

มาเซโดเนีย (Macedonia) รัฐทางเหนือจึงแผ่อำนาจกวาดลงมาทางใต้  พิชิตนครรัฐกรีกต่างๆ และจัดตั้งฐานอำนาจเพื่อพิชิตโลกต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 บรรณานุกรม :

          -  พงษาวดารยุทธศิลปะ    นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ    พิมพ์ครั้งที่ ๑   ในพระพุทธศักราช  ๒๔๕๙

          - เอกสารอัดสำเนาวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม  กองวิชาสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๔

               - ANCIENT  AND  MEDIEVAL  WARFARE     USMA    DEPARTMENT  OF  HISTORY    1973

               - ส่วนข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (574)
avatar
โตโต้

เป็นการเขียนที่เยี่ยมมาก ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น โตโต้ (ptoto-at-mcu-dot-ac-dot-th)วันที่ตอบ 2010-06-12 11:25:10


ความคิดเห็นที่ 2 (577)
avatar
สัมพันธ์
ขอบคุณครับ  ท่านชมเกินไปแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-12 15:32:47


ความคิดเห็นที่ 3 (705)
avatar
ThePly
สนุกมากค่ะ :D ขอบคุณค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ThePly วันที่ตอบ 2010-12-18 14:22:39


ความคิดเห็นที่ 4 (706)
avatar
สัมพันธ์

ครับ  ก็เป็นข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์กรีก    แต่มีข้อที่ควรคำนึงคือ

การที่แต่ละนครรัฐต้องทำสงครามระหว่างกันแต่ละนครรัฐก็อ่อนกำลังกันไปเอง          นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-18 14:47:01


ความคิดเห็นที่ 5 (732)
avatar
ck
เยี่ยมมากเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ck (campo1977_-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-19 22:52:32


ความคิดเห็นที่ 6 (7333)
avatar
สัมพันธ์
ขอบคุณครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-21 08:45:26


ความคิดเห็นที่ 7 (102145)
avatar
Demetorius

 ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-23 21:30:39



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker