dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ

ท่านที่สนใจ  สามารถติดตามได้ที่   http://widetalks.multiply.com    ด้วย

 

จากสงครามเพนลอพพอนเนเซียนส่งผลให้รัฐกรีกต่างๆ  ตกอยู่ในความยุ่งยากทางการเมือง   การที่แต่ละนครรัฐต้องทำสงครามระหว่างกันแต่ละนครรัฐก็อ่อนกำลังกันไปเอง    ทั้งเอเธนส์  สปาร์ตา  และธีบส์  ต่างไม่สามารถที่จะรวบรวมกรีกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

 

เฉกเช่นลมเหนือพัดพิชิตดอกไม้ฤดูร้อนที่ร่วงโรยในฤดูแล้ง    

มาเซโดเนีย (Macedonia)  รัฐทางเหนือจึงแผ่อำนาจกวาดลงมาทางใต้  พิชิตนครรัฐกรีกต่างๆ และจัดตั้งฐานอำนาจเพื่อพิชิตโลกต่อไป

 

    

 

 

 

 

 

 รัฐกรีก เมื่อพุทธศักราช  ๑๖๙  (๓๖๒  ปีก่อนคริสตศักราช )

            แสดงพื้นที่อิทธิพลของรัฐต่างๆ

สีน้ำเงิน  - รัฐธีบส์    สีชมพู  - รัฐเอเธนส์    สีเหลือง  - รัฐคอรินท์    สีแดง  - รัฐสปาร์ตา

 

 

มาเซโดเนีย 

          อยู่เหนือประเทศกรีซ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา   ประชาชนชาวมาเซโดเนียน ไม่ใช่ชาวกรีก มีความทรหดอดทน และใจกล้าเป็นอุปนิสัยประจำชาติ  ชาวกรีกมองชาวมาเซโดเนียนว่าไม่เจริญ (เช่นตน)    แต่ในครั้งกระนั้น ชาวกรีกก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ในมาเซโดเนียกันมาก    ทั้งนำวิชาความรู้ความเจริญไปเผยแพร่  จนชาวมาเซโดเนียนยอมรับ แม้แต่ภาษาก็ใชัภาษากรีกกันทั่วไป    เว้นเสียแต่ในทางการเมืองการปกครอง  มาเซโดเนียปกครองด้วยระบอบกษัตริย์  มิได้เป็นรีพับลิคเช่นรัฐต่างๆ ของกรีก     แต่พระราชาของมาเซโดเนียก็ยอมรับและอุปถัมภ์วัฒนธรรมกรีก   รัฐกรีกก็นับว่ามาเซโดเนียเป็นกรีก และยอมรับให้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วย

 

 แผนที่ทางกายภาพมาเซโดเนีย  (ปัจจุบัน)  >

 

 

 

มาเซโดเนียสมัยพระเจ้าฟิลิป  ที่ ๒

พุทธศักราช  ๑๖๗ - ๒๐๗     (๓๕๖ - ๓๓๖ ปีก่อนคริสตศักราช)

 

          เจ้าชายฟิลิป เมื่อยังเยาว์วัยได้ไปศึกษาในสำนักนครรัฐธีบส์ อย่างน้อย  ๓  ปี  ทำให้ได้มีโอกาสศึกษา และสังเกตการณ์ด้านการทหาร ทั้งในเรื่องการจัดและยุทธวิธีของธีบส์  อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลโดยตรงจากเอปามินนอนดัส  (Epaminondas)  ผู้นำและแม่ทัพแห่งธีบส์ ซึ่งนำกองทัพธีบส์มีชัยชนะต่อทัพสปาร์ตา เมื่อ ปี ๓๗๑ ก่อนคริสตศักราช   ด้วยรูปขบวนขั้นบรรได จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของธีบส์  และนำมาพัฒนาระบบการทหารของมาเซโดเนียเมื่อได้เป็นกษัตริย์

          และอาจจะทราบถึงความปรารถนาที่จะรวมรัฐกรีกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  แต่ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จของเอปามินนอนดัส    เป็นเรื่องประทับใจและตั้งใจสืบทอดเจตนารมณ์ในการ รวมรัฐกรีก ต่อไป 

 

 

 อาณาจักรมาเซโดเนีย   ก่อนสมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒   (พ.ศ.๑๖๗ / ๓๕๖  ปีก่อนคริสตศักราช) 

 

เส้นสีดำ    แสดง  เขตชาติพันธุ์มาเซโดเนียนตามประวัติศาสตร์

สีแดง  - อาณาเขตมาเซโดเนีย สมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒  (๓๕๖  ปีก่อนคริสตศักราช)

สีชมภู  - มาเซโดเนียนอิสระ

สีฟ้า  - รัฐกรีก และที่ชาวกรีกยึดครองมาเซโดเนีย

สีเขียวมะกอกอ่อน  - รัฐอิลลิเรีย และที่ชาวอิลลิเรียนยึดครองมาเซโดเนีย

สีเทา  - รัฐเทรซ และที่ชาวเทรเซียนยึดครอง มาเซโดเนีย

สีเทาอ่อน  - รัฐเอปิรุส พันธมิตรของ มาเซโดเนีย

สีเหลือง  - รัฐซีเธีย

 

 

กำหนดเป้าหมายชัดเจน

          พระเจ้าฟิลิปใช้การผสมผสานด้านการฑูต  การปฏิบัติการทางทหาร ตลอดถึงการติดสินบน      เมื่อ  ๓๕๒  ปี ก่อนคริสตศักราช  ได้ปรับขยายความคิดดั้งเดิม  กำหนดเป้าหมายชัดเจน - คือ การเป็นผู้นำรัฐกรีกทั้งหมด   ซึ่งเป็นไปได้   นับแต่พระองค์ได้สร้างเสริมระบบการทหารและกองทัพมาเซโดเนีย  ทำให้พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุด    กองทัพที่เชี่ยวชาญ  ฐานะทางการเงินที่มั่นคงจากเหมืองทองคำ

          เพื่อให้เห็นว่าเพราะเหตุใดกองทัพมาเซโดเนียของพระเจ้าฟิลิปจึงมีประสิทธิภาพ  จึงขออธิบายเสียหน่อยนะครับ  

         วิธีจัดระบบทางการทหารของมาเซโดเนีย แตกต่างจากวิธีการของกรีก  คือ มีการเกณฑ์มาจากพลเมืองจัดตั้งเป็นกองทัพประจำ  และจัดการฝึกหัด ให้ชำนาญการรบเสียตั้งแต่ในสมัยที่ยังไม่มีศึกสงคราม    ครั้นเกิดศึกสงคราม เมืองที่มีไมตรี หรือเป็นพันธมิตรทางการทหารก็ส่งกองทหารมาช่วย    หากคิดว่าไม่พอที่จะไปทำศึก ก็จะใช้วิธีจ้างเพิ่มเติมให้พอแก่การ

          กองทัพพระเจ้าฟิลิปไม่เพียงแต่สะท้อนอัจฉริยะในด้านการจัดเท่านั้น  แต่ยังแสดงถึงโครงสร้างทางการเมืองอีกด้วย  กองทัพมิได้มีแต่เพียงทหารราบ และทหารม้า  แต่ยังมีพลธนู และหน่วยที่ใช้อาวุธขนาดเบาหลายแบบ    จัดเป็นฟาลังซ์แบบใหม่ด้วยการผสมผสานทหารเดินเท้าที่มีความคล่องตัวสูงกับทหารม้า  ซึ่งได้เรียนรู้การโจมตีเป็นกลุ่มก้อน    และเนื่องจากระบบการเมืองของมาเซโดเนียแตกต่างจากนครรัฐกรีกตอนใต้        กองทัพพระเจ้าฟิลิปไม่ได้จัดทหารราบหนัก (ฮอพไลท์) เป็นกำลังหลัก แต่กลับเป็นทหารม้า โดยเฉพาะทหารม้าหนัก

         กองทัพมาเซโดเนียที่จัดไว้ประจำนั้น มีหน่วยที่นับว่าดีที่สุด ได้แก่    กองทหารรักษาพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน   คือ

          - มีทหารม้าสวมเกราะ  จำนวน  ๑๕  อิโลส  (Hetairoi - กองร้อย    กองร้อยละ   ๑๘๐ - ๒๕๐ ม้า) ถือทวน  และ ดาบ   ใช้เกราะแบบทหารราบหนัก  แต่ไม่มีโล่    ทหารม้าเหล่านี้จัดจากพวกตระกูลขุนนาง    นับเป็นหน่วยที่ทีประสิทธิภาพ และทรงคุณค่าของพระเจ้าฟิลิป    กับทหารราบหนัก  (เปเซแตร์ - Pezetairoi) เช่นเดียวกับ ฮอพไลท์ - Hoplite ของกรีก   แต่ใช้หอกขนาด  ๗.๒๑ เมตร  (Sarissa) พร้อมทั้งดาบ และดั้งขนาดยาว

       - ทหารกีปาสปิสต์  (Hypaspists) เป็นทหารราบกลางเช่นเดียวกับเพลตาส์ตของกรีก  แต่ใช้หอก ไม่ได้ใช้ธนู   จัดจากพวกตระกูลขุนนางเหมือนกับทหารม้า   เป็นทหารราบชั้นดี    ในการรบ  ต้องเคลิ่อนที่เพื่อดำรงความเชื่อมต่อระหว่างทหารม้า (ซึ่งเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า) กับ ทหารราบหนัก  หรือมีบทบาทระหว่างทหารราบหนัก กับทหารราบเพลตาสต์

          นอกจากนี้ก็มีหน่วยอื่นๆ อีก  ได้แก่
 
               - ทหารราบเบา (Psiloi) ใช้หอกหรือดาบสั้น โล่ขนาดเล็กคล้ายๆ ทหารเพลตาสต์    ไม่ใช้รบแตกหัก    บางหน่วยใช้อาวุธยิง (ธนู) ใช้ทหารที่เกณฑ์มาจากเมืองขึ้น  หรือ คนส่วนใหญ่ในมาเซโดเนีย เองเป็นทหารจำพวกนี้

               - ทหารม้าหนักจากเทสซาลี   โดยปรกติจะจัดให้อยู่ทางปีกซ้าย 

               - ทหารม้ากลาง    ใช้รบบนหลังม้า และลงรบบนดินก็ได้

               - ทหารม้าเบา    ใช้อาวุธยิง  ไม่มีเกราะ

          อย่างไรก็ตาม  กองทัพมาเซโดเนียก็มีเครื่องมือสำหรับการตีเมืองไว้ด้วยอย่างพร้องมูล  เช่น  หอคอย   เครื่องกระทุ้งประตูเมือง  เครื่องยิง  และเครื่องขว้างก้อนหิน  (Ballista  -  Catapult)

 

 

 

 

 

 

Ballista                                                          Catapult

 

 

 

 

ฟาลังซ์ของมาเซโดเนีย - นวัตกรรมทางการทหาร

          ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า  กองทัพพระเจ้าฟิลิปไม่เพียงแต่สะท้อนอัจฉริยะในด้านการจัดเท่านั้น  แต่ยังแสดงถึงโครงสร้างทางการเมืองอีกด้วย  กองทัพมิได้มีแต่เพียงทหารราบ และทหารม้าแต่ยังมีพลธนู และหน่วยที่ใช้อาวุธขนาดเบาหลายแบบ    จัดเป็นฟาลังซ์แบบใหม่ด้วยการผสมผสานทหารเดินเท้าที่มีความคล่องตัวสูงกับทหารม้า  ซึ่งได้เรียนรู้การโจมตีเป็นกลุ่มก้อน    และเนื่องจากระบบการเมืองของมาเซโดเนียแตกต่างจากนครรัฐกรีกตอนใต้        กองทัพพระเจ้าฟิลิปไม่ได้จัดทหารราบหนัก (ฮอปไลท์) เป็นกำลังหลัก แต่กลับเป็นทหารม้า   โดยเฉพาะทหารม้าหนัก

          ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างฟาลังซ์แบบใหม่ กับแบบเดิมของกรีก  ได้แก่

          - ความยาวของอาวุธ (หอก)

               ทหารเปเซแตร์ใช้หอกยาว  ๒๑ - ๒๒ ฟุต  ทหารฮอปไลท์ ใช้หอกยาวเพียง ๗ - ๘ ฟุต   จึงได้เปรียบกว่ากันมาก

          - ระยะต่อ และ ระยะเคียงของทหาร

               ทหารแต่ละคนห่างกันคนละประมาณ  ๓ ฟุต  ไม่ต้องยืนไหล่ชิดกันเช่นเดิม   ทำให้สามารถเคลื่อนที่ (หัน)ไปทิศทางอื่นได้ภายในพื้นที่ของตน  (ทุกคนต้องหันไปในทิศทางเดียวกันทั้งฟาลังซ์)   

          - ความคล่องตัวของรูปขบวน

               เมื่อทหารในฟาลังซ์หันไปได้ทุกทิศทาง    ทั้งยังสามารถ เปิดระยะ ให้แถวกว้างขึ้น  และปิดระยะ  ให้แถวแคบลง  ได้คล่องแคล่ว   ก็ทำให้ฟาลังซ์เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว

 

           ลองดูนะครับว่าที่ว่าฟาลังซ์ นั้น  มีรี้พลสกลไกรสักเท่าใด

               ทหารยืนเคียงกัน  ๑๖ คน และซ้อนกัน  ๑๖  แถว  (๒๕๖ คน)      เรียกว่า    ซินตักมา    (Zyntagma)

   ๒  ซินตักมา  (๕๑๒  คน)  เรียก  โกซีอาร์ฮียา

   ๒  ตาโกซีอาร์ฮียา   หรือ  ๔  ซินตักมา  (๑,๐๒๔  คน)  เรียก  ฮีลิยาร์ฮียา   (กองพัน) 

   ๓  ฮีลิยาร์ฮียา  หรือ  ๑๒  ซินตักมา   (๓,๐๗๒  คน)  เรียก  ตักซิส    (กรม)  (Taxis)

     หลายๆ ตักซิส  อาจจะเป็น  ๕,๖  หรือ ๘ ตักซิส  จึงเรียกว่า   ฟาลังซ์  (Phalanx)

          ในชั้นต้นมาเซโดเนียมีทหาร  ๖  ตักซิส  ตามจำนวนเมืองในมาเซโดเนีย   ทำให้เข้าใจว่า  แต่ละเมืองต้องจัดทหาร  ๑  ตักซิส  (๓,๐๗๒  คน) มาเป็นทหารของมาเซโดเนีย

          แต่สำหรับทหารราบกีปาสปิสต์  หรือทหารราบกลางนั้น  จัดแถว  ๑๖  คน เหมือนกัน  แต่ซ้อนกันเพียง  ๘  แถว เท่านั้น

 

 การประกอบกำลัง และการใช้

 

             มาเซโดเนียมีกองทัพประจำการอยู่ประมาณ  ๓ หมื่น   เป็นทหารราบ ประมาณ  ๖ ส่วน  ทหารม้า   ๕ พัน  ประมาณ  ๑ ส่วน  นับได้ว่าเป็นกองทัพที่เชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพมาก   ทหารราบหนักเปแซแตร์  ทหารม้า และทหารราบกีปาสปิสต์  ใช้ชาวมาเซโดเนียน   ทหารเพลตาสต์  ทหารราบเบา  และ ทหารม้าเบา  ใช้วิธีเกณฑ์มาจากเมืองขึ้น หรือ จ้าง ประชาชนในพื้นที่ 

 

 

 

 

 ฆ้อน กับ ทั่ง

 

            ในเวลาที่เข้ารบกับข้าศึก  กองทัพมาเซโดเนียใช้วิธีเดินเป็นขั้นบรรได จากขวาไปซ้ายเข้าหาข้าศึก  โดยปีกขวา ซึ่งมีทหารม้า และทหารราบกลางรักษาพระองค์ออกเดินก่อน ซึ่งพระราชาจะควบคุมและนำกำลังส่วนนี้ไปเอง     แล้วฟาลังซ์ทหารราบหนัก จึงเดิน    ปีกซ้ายเดินหลังสุด  ทั้งกองทัพจึงเดินลดหลั่นกันลงมา เป็นขั้นบรรได   

          เมื่อถึงข้าศึกหน่วยที่เดินหน้าเข้าตีก่อน    ทหารม้ามีหน้าที่เข้าประจันบานให้ข้าศึกแตกแถวให้ได้   เมื่อข้าศึกแตกแถวแล้ว  ทหารราบกลางจึงเข้าขยายผลจากจุดนี้  จนข้าศึกแตกหนี  ทหารม้าเบาจึงออกไล่ติดตามตีให้แตกกระจัดกระจาย ต่อไป      หรือหน่วยทหารม้าอาจจะอ้อมไปโจมตีด้านหลัง (เหมือนฆ้อน)
 

          ถ้าข้าศึกเพลี่ยงพล้ำ แต่ไม่ถึงกับถอยหนี ทหารราบหนักที่ตามมาก็เข้าตีหนุนเข้าไปอีก   (เหมือนทั่ง)  

          หากปีกขวานี้พลาดท่าเสียทีทหารราบหนักก็เข้าต้านทานตั้งรับยันข้าศึกไว้    ส่วนทหารราบกลางรักษาพระองค์ (ปีกขวา ที่พลาดท่าเสียทีมา) ก็จะรีบถอยลงไปรวบรวมกำลังกันใหม่ ด้านหลังทหารราบหนัก (ฟาลังซ์)ที่กำลังปะทะอยู่     

          การจัดรูปขบวนเข้าปะทะแบบขั้นบรรไดนี้ กองทัพมาเซโดเนีย น่าจะได้มาจากวิธีการเข้าปะทะของเอปปามินนาดัส แม่ทัพธีบส์ แล้วพัฒนาขึ้นให้เหมาะกับกำลังทหารของตนซึ่งมีจำนวนมากกว่า

 

เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ 

          ทรงเป็นโอรสพระเจ้าฟิลลิปที่ ๒ แห่งมาเซโดเนีย และเจ้าหญิงโอลิมเปียส แห่งเอปิรุส  ประสูติ เมื่อ   ๒๐  กรกฎาคม  พุทธศักราช ๑๖๗  (๓๕๖  ปีก่อนคริสตศักราช)  ที่เพลลา - Pella   เมืองหลวงของ รัฐมาเซโดเนีย     เมื่อปฐมวัย  ทรงอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงสตรี ลานิซ (Lanice)  และพระมารดาสอนในเรื่องเวทย์มนต์    

          เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้ศึกษากับลีโอนีดัส  (Leonidas)  (คนละคนกับ ลีโอนีดัส  ผู้นำสปาร์ตา นำกำลังทหารสปาร์ตา  ๓๐๐ คน  ขึ้นไปยึดช่องเขาเทอร์โมพิเล Thermopylae เพื่อสู้รบกับทหารเปอร์เซีย  และต้องเสียชีวิตทั้งหมด  เมื่อ ๔๘๐  ปีก่อนคริสตศักราช)  ซึ่งเป็นครูที่เก่งกาจและเง้มงวดเรื่องวินัยอย่างยิ่ง  เช่น กำหนดให้ใช้กฏเกณฑ์ของสปาร์ตาในชีวิตประจำวัน

          อย่างไรก็ตาม  ทรงเฝ้ามองพระบิดาบำรุงกองทัพและการทหารของมาเซโดเนียจนเป็นมหาอำนาจทางการทหาร  ทำศึกได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า                   

         พระเจ้าฟิลิปทรงใช้กองทัพของพระองค์เป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจไปสู่เป้าหมาย   ในปี ๓๔๘  ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรของพระองค์ก็แผ่ขยายออกไปแทบจะกล่าวได้ว่า ทุกทิศทาง  สามารถสร้างมาเซโดเนียให้เป็นปึกแผ่น   ปลอดอิทธิพลของรัฐกรีกต่างๆ

 

อาณาจักรมาเซโดเนีย   สมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒   (พ.ศ.๑๙๕ / ๓๔๘  ปีก่อนคริสตศักราช)

 

 

เส้นสีดำ    แสดง  เขตชาติพันธุ์มาเซโดเนียนตามประวัติศาสตร์

สีแดง  - อาณาเขตมาเซโดเนีย และดินแดนที่พิชิตได้ในสมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒  (๓๔๘  ปีก่อนคริสตศักราช)

สีฟ้า  - รัฐกรีก

สีเขียวมะกอกอ่อน  - รัฐอิลลิเรีย

สีเทา  - รัฐเทรซ

สีเทาอ่อน  - รัฐเอปิรุส พันธมิตรของ มาเซโดเนีย

สีเหลือง  - รัฐซีเธีย

 

 

 

 

 

          พลูตาร์ค   (Plutarch - Lucius Mestrius Plutarchus)    นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในคริสตศักราช  ๔๖ - ๑๒๐   เล่าว่า 

 

         เมื่อ  ๓๔๔  ปีก่อนคริสตศักราช    ฟีโลนิคัส  (Philonicus)  พ่อค้าม้าชาวเทสซาเลียนได้นำม้าตัวหนึ่งสีดำสนิท หว่างคิ้วมีดวงสีขาว  ตาสีน้ำเงิน   ว่าเป็นม้าสายพันธุ์ดีที่สุดของเทสซาลีมาเสนอขายพระเจ้าฟิลิปในราคา  ๑๓  ทาเลนท์  แต่ไม่ใครสามารถขึ้นขี่ได้  

          เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ขณะนั้นพระชนม์ เพียง  ๑๐  พรรษาได้ขอทดลองขี่   โดยมีข้อตกลงว่า  หากไม่สามารถทรงขี่ได้แล้วจะต้องทรงจ่ายเงิน  ๑๓  ทาเลนท์เอง      เจ้าชายฯพูดกับม้าอย่างอ่อนโยน  และจูงให้หันหน้าไปทางดวงอาทิตย์   ด้วยเหตุนี้  ม้าจึงไม่เห็นเงาตัวเอง    และเจ้าชายฯ ก็สามารถทำได้สำเร็จ  

 

          พลูตาร์คเล่าต่อไปว่า    เหตุการณ์นี้เป็นที่ชื่นชมแก่พระบิดายิ่งนัก  ถึงกับทรงปรารภว่า อาณาจักรมาเซโดเนียนี้เล็กเกินไปสำหรับพระโอรสเสียแล้ว

 

 เจ้าชายอเล็กซานเดอร์กับม้าบูเซฟาลัส   > 

 

 

 

 

 

 

 

<  รูปหล่อทองแดง   เจ้าชายอเล็กซานเดอร์กับม้าบูเซฟาลัส    ในพิพิธภัณฑ์กรุงเอเธนส์

 

 

 

         

 

          เมื่อพระชนม์ได้  ๑๓  ปี  พระบิดาทรงให้อริสโตเติล Aristotle ปรัชญาเมธีกรีกมาเป็นพระอาจารย์   อเล็กซานเดอร์ทรงรับการศึกษา ในวรรณคดี  วาทศิลป์ และทรงสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์    เวชศาสตร์  และปรัชญา   ทรงท่องจำมหากาพย์อีเลียด และชื่นชมมหากวีโฮเมอร์   ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นความสำคัญแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ต่อมา

          ส่วนวิชาทหารได้ศึกษาจากเซโนโฟน  Arrian  Plavius  Xenophon   ผู้นำทัพกรีก  

 

 Aristotle                                                              Xenophon 

 

 

 

 

 ฉะนั้น    จึงนับได้ว่าอเล็กซานเดอร์ได้รับการอบรมเป็นอย่างดีในทุกด้าน    ทั้งยังได้แสดงความสามารถทั้งในการรบ และในทางยุทธศาสตร์ตลอดสมัยของพระองค์

 

เจ้าชายอเล็กซานเดอร์กับพระอาจารย์อริสโตเติล

 

 

อเล็กซานโดรโปลิส    Alexandropolis 

 ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ 

 

          ในปี พ.ศ.๒๐๓  (๓๔๐  ปีก่อนคริสตศักราช)  เมื่อพระเจ้าฟิลิปทรงกรีธาทัพมาเซโดเนียเข้าสู่รัฐเทรซ  (Thrace)   ทางตะวันออกของมาเซโดเนียได้ให้อเล็กซานเดอร์พระโอรส ซึ่งมีพระชนม์เพียง ๑๖    เป็นผู้สำเร็จราชการ อยู่ที่มาเซโดเนีย     เมื่อพระเจ้าฟิลลิป  ทรงนำทัพลึกเข้าไปในแคว้นเทรซ ถูกพวกแมดิต่อต้านอย่างรุนแรง จนถึงขั้นอาจเป็นอันตราย      

          อเล็กซานเดอร์ทรงรวบรวมกำลังจัดทัพขึ้นอีก  นำเข้าไปปราบพวกแมดิจนได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว สามารถยึดป้อมปราการของฝ่ายแมดิ และตั้งชื่อใหม่ว่า อเล็กซานโดรโปลิส  Alexandropolis

 

 

นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าชายฯ ได้แสดงความสามารถในการรบให้เป็นที่ประจักษ์ 

 

 

วิหารเทพพยากรณ์ออราเคิลอันศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองเดลฟีชักนำลมเหนือจากมาเซโดเนีย

          หลังจากรวบรวมอาณาจักรได้ไม่นาน  พระเจ้าฟิลิปทรงหาช่องทางที่จะขยายอำนาจลงสู่รัฐกรีกทางใต้     และแล้วสถานการณ์ก็เอื้ออำนวย  เมื่อเกิดสงครามย่อยๆ เนื่องจากรัฐโพเชียน  (Phocian) เข้ายึดวิหารเทพพยากรณ์ออราเคิลอันศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองเดลฟี (Oracle of Delphi) ในรัฐโบเธีย(Boeotia)    ท่ามกลางเรื่องยุ่งยากนี้รัฐกรีกต่างๆ เรียกร้องให้พระเจ้าฟิลิปทรงช่วยเหลือ ซึ่งทรงตอบสนองอย่างฉับพลันทันทีในบทบาทผู้ปลดปล่อย และพิทักษ์วิหารศักดิ์สิทธิ์แห่งเดลฟี  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทรากวิหารเทพอพอลโล                                                                                                           ทรากวิหารมาร์มาเรีย

 

 

 

 เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความเห็นต่างๆ ในกรีก   เช่น  

          <  เดมอสเธเนส (Demosthenes)

ผู้นำทางการเมืองมองว่าเป็นการขยายตัวของทรราช และรวมกำลังต่อต้านมาเซโดเนีย    แต่ 

          โสกราตีส (Isocrates)  > 

ก็มีความเห็นที่แตกต่าง มองว่า พระเจ้าฟิลิปจะทรงเป็นผู้รวบรวมรัฐกรีก  และกล้ากล่าวสนับสนุนในเอเธนส์ 

 

 

 

แคโรเนีย   ๓๓๘  ปี  ก่อนคริสตศักราช

      อย่างไรก็ตาม  เอเธนส์ ก็ได้ธีบส์เป็นพันธมิตรเตรียมต่อสู้อย่างแข็งแรงที่แคโรเนีย  (Chaeronea) ห่างจากเดลฟีไปทางทิศตะวันออก  ประมาณ  ๓๐ กิโลเมตร  

ศึกนี้ พระเจ้าฟิลิปได้ให้เจ้าชายอเล็กซานเดอร์พระโอรสเป็นผู้บังคับหน่วยไปในกองทัพด้วย

          ฝ่ายพันธมิตรกรีกประกอบด้วย เอเธนส์ และธีบส์  จัดกองทัพโดยใช้ทหารราบฮอพไลท์เป็นหลัก  กองทัพเอเธนส์อยู่ทางซ้าย  กองทัพธีบส์อยู่ทางขวา    และทราบดีว่าฝ่ายมาเซโดเนียจะใช้ทหารม้าโจมตีทางด้านปีก  จึงพยายามใช้ภูมิประเทศช่วยป้องกันปีก    กองทัพเอเธนส์ใช้พื้นที่สูงและเมืองแคโรเนียป้องกัน    กองทัพธีบส์ใช้ลำน้ำเป็นเครื่องป้องกัน   และมีความหวังว่าจะสามารถต้านทานขับไล่เอาชนะกองทัพมาเซโดเนียได้

           สำหรับยุทธวิธีฆ้อน และ ทั่งของมาเซโดเนีย นั้น  อยู่ที่ว่าทหารม้าต้องโจมตีอย่างรวดเร็ว  และทหารราบต้องไม่พ่ายแพ้เสียก่อนที่ทหารม้าจะสำเร็จภารกิจ    แต่ทหารม้าไม่สามารถบรรลุภารกิจได้ นอกจากจะพบทางเข้าตีทางปีกหรือด้านหลังของข้าศึก   

ดังนั้น    ฝ่ายมาเซโดเนียต้องสร้างทางเข้าตีทางปีกหรือด้านหลังแนวข้าศึกให้ได้

          พระเจ้าฟิลิปทรงบัญชาการฟาลังซ์ทางด้านขวาด้วยพระองค์เอง    ส่วนเจ้าชายอเล็กซานเดอร์บัญชาการกองทัพมาเซโดเนียทางด้านซ้าย  และทหารม้าของเทสซาลี

             เมื่อเริ่มรบปะทะ   พระเจ้าฟิลิปทรงให้ฟาลังซ์มาเซโดเนียซึ่งมีวินัยสูงและฝึกมาอย่างดีถอยอย่างเป็นระเบียบซึ่งเป็นการดำเนินกลยุทธที่ยากที่สุด  (เพราะหากทหารฝึกมาไม่ดีจริงแล้วอาจจะเสียรูปแถวและแพ้เอาจริงๆ ได้)  ฟาลังซ์ และทหารม้ามาเซโดเนีย ถอยเฉียงๆ ขึ้นลาดเชิงเขา   ล่อให้ ฝ่ายเอเธนส์ติดตามเพื่อหวังพิชิตให้ได้ จนต้องขึ้นลาดเนินไปด้วย  ขณะที่กองทัพธีบส์ยังอยู่ที่เดิม

จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกองทัพเอเธนส์ กับ กองทัพธีบส์

 

          เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงนำทหารม้าแทรกเข้าไปในช่องว่างนั้น 

          พระเจ้าฟิลิปทรงบัญชาการฟาลังซ์ให้หยุดถอย และกลับเป็นฝ่ายรุก

หลังจากนั้นไม่นาน  การรบก็ยุติ

          ทั้งสองฝ่ายมีทหารเข้าสนามรบฝ่ายละประมาณ  ๓๐,๐๐๐  แต่กองทัพมาเซโดเนียเหนือกว่าที่ฟาลังซ์คล่องตัวกว่าของพันธมิตรกรีก    และที่สำคัญฝ่ายมาเซโดเนียสามารถสร้างจุดอ่อน คือช่องว่างในแนวรบกรีกได้    กองทัพเอเธนส์สูญเสียทหารไป  ๖ พัน    กองทัพธีบส์ เหลือรอดอยู่เพียงเล็กน้อย   

          เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ได้แสดงความกล้าหาญให้เป็นที่ประจักษ์  จนทหารมาเซโดเนียสามารถทำลาย    Theban Secret Band  ซึ่งเป็นกำลังที่ดีที่สุดของกรีกได้    นักประวัติศาสตร์โบราณบางท่านบันทึกไว้ว่า 

 

การที่กองทัพมาเซโดเนียชนะในการรบนี้ต้องขอบคุณในความกล้าหาญของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์

 

 

สันนิบาตคอรินท์     The League of Corinth

      

    เมื่อได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดจากการรบที่แคโรเนียแล้ว    พระเจ้าฟิลิปทรงตกลงกับรัฐกรีกในคาบสมุทรคอรินท์จัดตั้งสันนิบาตคอรินท์  (The League of Corinth) หรือ สันนิบาต แพน - เฮเลนิค   (Pan - Hellenic league) ขึ้น  เมื่อ  ๓๓๗  ปีก่อนคริสตศักราช   ซึ่งรัฐบนแผ่นดิน และที่เป็นเกาะเข้าร่วมด้วย   ยกเว้นรัฐสปาร์ตา ซึ่งไม่ยอมเข้าร่วมสันนิบาต

 

 

 สันนิบาตคอรินท์ หรือ สันนิบาต แพน - เฮเลนิค  (สีเหลือง)  >

 

 

 

และเมื่อสิ้นรัชกาล  ในปี  ๓๓๘  ก่อนคริสตศักราช      ก็ทรงครอบครองรัฐกรีกได้ทั้งหมด (เว้นสปาร์ตา)

 

 

 

 

อาณาจักรมาเซโดเนีย   เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒   (พ.ศ.๒๐๕ / ๓๓๘  ปีก่อนคริสตศักราช)

 

 

 

 

เส้นสีดำ    แสดง  เขตชาติพันธุ์มาเซโดเนียนตามประวัติศาสตร์

สีแดง  - อาณาเขตมาเซโดเนีย และดินแดนที่พิชิตได้ในสมัยพระเจ้าฟิลิป ที่ ๒  (๓๔๘  ปีก่อนคริสตศักราช)

สีเทาอ่อน  - รัฐเอปิรุส พันธมิตรของ มาเซโดเนีย

สีฟ้า  - รัฐกรีก ที่ยังพิชิตไม่ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อนุสาวรีย์ พระเจ้าฟิลิป ที่ ๒  แห่งมาเซโดเนีย     นครเทสซาโลนิกา   กรีซ

 

 ครับ  .  .  .  ก็เมื่อดอกไม้ฤดูร้อนร่วงโรย    ครั้นลมเหนือพัดมาก็ร่วงหล่นไปตามกระแสลมนั้น

และลมเหนือนั้นยังคงมีแรงที่จะพัดต่อไป  .   .   .  สู่ตะวันออก  

 

 *     *     *     *     *     *     *     *     *     *     *     *     *     *     *

บรรณานุกรม :

          -  พงษาวดารยุทธศิลปะ    นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ    พิมพ์ครั้งที่ ๑   ในพระพุทธศักราช  ๒๔๕๙

           - เอกสารอัดสำเนาวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม  กองวิชาสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๔

               - ANCIENT  AND  MEDIEVAL  WARFARE     USMA    DEPARTMENT  OF  HISTORY    1973

               - ส่วนข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (348)
avatar
จินนี่

ข้อมูลดีมากเลยค่

ผู้แสดงความคิดเห็น จินนี่ (jinny_fifa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-07-09 22:04:17 IP : 124.121.163.53


ความคิดเห็นที่ 2 (349)
avatar
สัมพันธ์
ชอบคุณครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (deleted) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2009-07-10 18:23:51 IP : 125.25.91.9


ความคิดเห็นที่ 3 (102146)
avatar
Demetorius

 ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-23 21:39:04 IP : 124.120.20.203



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker