dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



กรณีพิพาทอินโดจีน - มณฑลบูรพา . . . เคยได้เป็นของเรา

 ท่านที่สนใจ  สามารถติดตามได้ที่   http://widetalks.multiply.com     ด้วย

 

สถานการณ์ที่ผ่านพ้น . . . 

 ครับ . . . การรบที่ผ่านมาทั้งทางอากาศก็ดี  ทางเรือก็ดี   เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสงคราม    ยังไม่สามารถทำให้อริราชศัตรูยอมปฏิบัติตามความประสงค์ของเราได้  การสงครามก็ดำเนินต่อไป . . .  ขอทบทวนการจัดกำลังทางบกเสียหน่อย    นะครับ 

 

๑๓  พฤศจิกายน  ๒๔๘๓     ฝ่ายไทยได้แต่งตั้ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ และแม่ทัพอากาศ

กองทัพบก      ได้จัดกองทัพบกสนาม  โดยมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นแม่ทัพบก ประกอบด้วย    กองทัพบูรพา  กองทัพอีสาน  กองพลผสมปักษ์ใต้  กองพลพายัพ และกองพลผสมกรุงเทพ ฯ  มีการประกอบกำลัง ดังนี้ 

         กองทัพบูรพา   นายพันเอก หลวงพรหมโยธี  เป็นแม่ทัพ     

            มีภารกิจ    เข้าตีด้านประเทศเขมร  เพื่อเข้ายึดกรุงพนมเปญ  บรรจบกับกองทัพอิสานที่พนมเปญ    แล้วทั้งสองกองทัพกวาดล้างข้าศึกขึ้นไปทางเหนือ  ตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อบรรจบกับกองพลพายัพที่กวาดล้างลงมาทางใต้   

            ประกอบด้วย  กองพลพระนคร  กองพลลพบุรี  กองพลปราจีนบุรี  กองพลวัฒนานคร  กองพลจันทบุรี  โดยตั้งกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี 

                 กองพลพระนคร    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่  ๑, ที่ ๒  และ ที่ ๓

                 กองพลลพบุรี    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๔, ๖, ๓๗, ๑ (หนุน), ๒๙ (หนุน) และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๔  

                 กองพลปราจีนบุรี    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๕, ๘, ๔๕, ๓๑ (หนุน) (จัดแบบกองพันอัตราศึก) และ  ๑ กองพันทหารปืนใหญ่ 

                 กองพลวัฒนานคร    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ 

                 กองพลจันทบุรี      ประกอบด้วย    กองพันนาวิกโยธินที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๓, กองพันทหารม้าที่ ๔ (ม.พัน ๔ ), กองพันทหารปืนใหญ่นาวิกโยธิน,  กองทหารช่าง (ทบ.) และ กองทหารสื่อสาร (ทบ.)  

         กองทัพอีสาน    นายพันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต  เป็นแม่ทัพ     

            มีภารกิจ    เข้าตีตามแนวชายแดนด้านเขมรตั้งแต่เขตจังหวัดสุรินทร์  ไปถึงด้านลาว  ตั้งแต่เขตจำปาศักดิ์  ไปถึงด้านเหนือ  คือเวียงจันทน์    ด้านเหนือ  ให้ทำการบรรจบกับกองพลพายัพที่เวียงจันทน์   แล้วให้รุกลงมาทางใต้ตามแนวลำน้ำโขง       

            ประกอบด้วย  กองพลอุดร   กองพลอุบล   กองพลสุรินทร์  กองพลธนบุรี  กองพลนครราชสีมา หน่วยขึ้นตรงกองทัพฝ่ายกิจการพิเศษ   กองหนุนกองทัพ และหน่วยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน  

                 กองพลอุดร    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๒, ๒๒, ๒๒(หนุน), ๑ กองพันทหารปืนใหญ่, กองทหารช่าง,กองทหารสื่อสาร  และกองกำลังสำรอง    

            ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดอุดรธานี  เลย  หนองคาย  นครพนม  และสกลนคร 

                 กองพลอุบล    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๓๐, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๘, กองทหารม้าที่ ๕, หมวดรถรบ, กองทหารช่าง, กองทหารสื่อสาร, กองกำลังสำรอง  และกองพลาธิการกองพล

            ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  และศรีสะเกษ    

                 กองพลสุรินทร์    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๗,๒๙,๑๙ (หนุน),กองพันทหารม้าที่ ๓, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐, กองทหารช่าง, กองทหารสื่อสาร  และ กองกำลังสำรอง

            ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดสุรินทร์  และบุรีรัมย์

               กองพลธนบุรี    เป็นกำลังหนุนเพิ่มเติม   ตั้งขึ้นภายหลังการทำสัญญาพักรบ   

               มีภารกิจแก้ปัญหาเมื่อฝรั่งเศสไม่ปฏิบัติตามสัญญาไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น    

            ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๒๘, ที่ ๒ (หนุน), ที่ ๓ (หนุน), กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖, กองทหารสื่อสาร  และ กองกำลังสำรอง
 
               กองพลนครราชสีมา    เป็นกำลังหนุนเพิ่มเติม   ตั้งขึ้นภายหลังการทำสัญญาพักรบ   

               มีภารกิจเช่นเดียวกับกองพลธนบุรี

               ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๒๑, ที่ ๒๑ (หนุน), ที่ ๑๙ (หนุน) และ ที่ ๑๙ (หนุน)  

         กองพลผสมปักษ์ใต้   ประกอบด้วย  กองพลสงขลา และกองพลนครศรีธรรมราช  มีนายพันเอก หลวงเสนาณรงค์  เป็นผู้บัญชาการกองพล  

               กองพลสงขลา    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๕, ที่ ๔๑, ที่ ๔๒  และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๗

               กองพลนครศรีธรรมราช    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๓๘, ที่ ๓๙, ที่ ๔๐  และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓ 

          กองพลพายัพ      นายพันโท หลวงหาญสงคราม  เป็นผู้บัญชาการกองพล      

            มีภารกิจ    เข้าตีเพื่อยึดหลวงพระบาง  เวียงจันทน์     แล้วกวาดล้างข้าศึกลงมาทางใต้ ตามแนวลำน้ำโขง  เพื่อทำการยุทธบรรจบกับกองทัพอิสาน 

            ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่ ๓๐,ที่ ๓๑,ที่ ๒๘ (หนุน),ที่ ๓๐ (หนุน)  และกองทหารสื่อสาร  

          กองพลผสมกรุงเทพ ฯ    ประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่ ๑, กองพันทหารช่างที่ ๗,  กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๖,  กองสื่อสารและกองรถรบ
 
          ในเดือนมกราคม  ๒๔๘๔    การรบเป็นไปอย่างรุนแรงมากขึ้น    กำลังทางอากาศโจมตีเป้าหมายทางทหารอย่างได้ผล   มีการสู้รบทางอากาศเป็นหลายครั้ง  มีวีรชนของกองทัพอากาศหลายท่าน  นับแต่  น.ต.ศานิต  นวลมณี  เป็นต้นมา    กำลังทางบกสามารถรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก  มีการรบปะทะเป็นหลายหน  จนฝ่ายเรายึดได้ธงประจำหน่วยของข้าศึกซึ่งประดับเหรียญกล้าหาญได้จากวีรกรรมที่บ้านพร้าว    ส่วนทางทะเล  ก็เกิดยุทธนาวีที่เกาะช้าง  ในวันที่  ๑๗  มกราคม  ๒๔๘๔ . . .
 

๑๗  มกราคม  ๒๔๘๔        เกิดยุทธนาวีที่เกาะช้าง ตั้งแต่เช้าตรู่

          ส่วนกำลังทางบกนั้น  ฝ่ายฝรั่งเศสได้เคลื่อนย้ายกำลังจากเวียดนาม  และด้านอื่นๆ  เข้ามาเพิ่มเติมกำลังทางด้านศรีโสภณ    ทั้งสิ้นประมาณ   ๔  กองพัน    ประกอบด้วย    รถถังขนาดเบา  ประมาณ  ๓ - ๔  คัน    ปืนใหญ่ขนาด  ๗๕  มม.  ๓  กองร้อย  (๑๒  กระบอก)  ปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕  มม.  ๑  กองร้อย  (๔  กระบอก)  และทหารราบอีกประมาณ  ๒  กองพัน

๑๙  มกราคม  ๒๔๘๔    กองพลลพบุรีเข้ายึดแนวบ้านเขมาเสน  กับบ้านอรัญเก่าได้  โดยไม่มีการต้านทาน

๒๔  มกราคม  ๒๔๘๔    

          กองทัพอากาศ ได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๙ (ฮอร์ค ๒) จำนวน ๓ เครื่อง ขึ้นบินลาดตระเวนรักษาเขต โดยมี   เรืออากาศเอก  เฉลิมเกียรติ  วัฒนางกูร   เป็นหัวหน้าหมู่บิน ขณะปฏิบัติภารกิจอยู่บริเวณบ้านยาง อำเภออรัญประเทศ พบเครื่องบินทิ้งลาดตระเวนของข้าศึกแบบโปเตซ์ ๒๕  จำนวน ๑ เครื่อง  และเครื่องบินขับไล่แบบโมราน ๔๐๖   จำนวน ๓ เครื่อง  เรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ ฯ จึงนำหมู่บินเข้าสกัดกั้นและยิงเครื่องบินลาดตระเวนของข้าศึกตก 
 

 

 

Potez 25                                                                                       Hawk II

 

 

 

การรบทางอากาศ  เมื่อ  ๒๔  มกราคม  ๒๔๘๔    (ภาพวาดสีน้ำมัน ในพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ)

 

๒๕  มกราคม  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นเสนอตัวเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาสงบศึก

          ในช่วงแรกของการรบ  ญี่ปุ่นซึ่งมีฐานทัพอยู่ในอินโดจีนได้เฝ้าดูอยู่   โดยยังมิได้มีปฏิกิริยาใด ๆ แต่เมื่อรบกันไปได้ไม่นาน  ก็เห็นว่ากองทัพไทย สามารถรุกไล่กองทัพฝรั่งเศส ได้โดยไม่ยาก  และกำลังได้เปรียบทางการรบ    ญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวความคิดที่จะสถาปนา "ร่วมวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพา" (Greater East Asia Co - prosperity spuere)  ซึ่งประกอบด้วย  ญี่ปุ่น  แมนจูกัว  จีน  และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้      วงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพา จะบูรณาการเอเซีย  ในทางการเมือง  และเศรษฐกิจ โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำ      จึงได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำวงไพบูลย์มหาเอเซียบูรพาด้วยการเสนอตนต่อรัฐบาลไทย และรัฐบาลฝรั่งเศส   ขอเป็นคนกลาง   เพื่อไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้    

          ฝรั่งเศสซึ่งกำลังเสียเปรียบในการรบ  เห็นว่าเป็นทางออกที่ดี  

          ส่วนฝ่ายไทยก็เห็นว่า  น่าจะถึงจุดที่ฝรั่งเศสจะยอมตามข้อเรียกร้องของไทยแล้ว   ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นด้วย ยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจา     ฝ่ายไทยได้ตั้งคณะผู้แทนไปเจรจาทำความตกลงพักรบที่ไซ่ง่อน 
 
         ดังนั้น  ในระหว่างนี้ไทยเราจึงต้องพยายามรักษาดินแดนของเราไม่ให้ฝ่ายฝรั่งเศสแย่งยึดได้    และพยายามยึดดินแดนส่วนที่เราเรียกร้องให้ได้มากที่สุด

 

๒๕  มกราคม  ๒๔๘๔   การลำเลียงกำลังนาวิกโยธินจากสถานีทหารเรือสัตหีบ  ไปรักษาพระราชอาณาเขตด้านจันทบุรี - ตราด  แล้วเสร็จ  (เริ่มลำเลียง ตั้งแต่  วันที่  ๓  มกราคม)  กำลังส่วนนี้  (คือกองพลจันทบุรี) ได้เข้ารักษา ช่องทางเคลื่อนที่  อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ณ จุดต่างๆ ตามแนวชายแดน คือ บ้านคลองใหญ่  บ้านคลี่  บ้านโอลำเจียก  บ้านผักกาด  บ้านโป่งสลา  บ้านบึงชนังล่าง บ้านบึงชนังกลาง บ้านแหลม   บ้านโป่งน้ำร้อน   บ้านใหม่   บ้านนาแปลง  ส่วนกำลังทหารปืนใหญ่เข้าที่ตั้งยิงที่บ้านบึงชนัง

          ทั้งนี้    เพื่อป้องกันการยกพลขึ้นบกของข้าศึกทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และเป็นการป้องกันรักษาปีก และการตีโอบหลังกำลังทางบกของฝ่ายเรา

๒๗  มกราคม  ๒๔๘๔     กองพลลพบุรีรุกต่อไปถึงบ้านดอนเดร    และฝ่ายเราได้ล้อมจับเชลยศึกได้จำนวนมาก

          กรมโฆษณาการประกาศแถลงการณ์ของรัฐบาลว่า  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมีคำสั่งให้หยุดการรบตั้งแต่  วันที่    ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔     เวลา  ๑๐๐๐    เป็นต้นไป    เพื่อการเจรจา
 
          และในวันนี้  ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาพักรบที่ไซ่ง่อน (บนเรือลาดตระเวณญี่ปุ่น ชื่อ นาโตริ  ซึ่งจอดอยู่หน้าเมืองไซ่ง่อน)  มีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนร่วมกัน เดินทางจากพระนคร    โดยนาวาอากาศเอก  พระศิลปสัตยาคม  เป็นหัวหน้าคณะ
 
            เวลา ๑๙๔๕   กองพลจันทบุรี ได้รับคำสั่ง จากแม่ทัพ กองทัพบูรพา  ให้เคลื่อนที่เข้าตีรุกเข้าไปในดินแดนประเทศเขมร 

          กองพลจันทบุรี เมื่อได้รับคำสั่งแล้ว   จัดกำลัง เข้าตี เป็น ๒ กองรบ คือ กองรบด้านเหนือ และ กองรบด้านใต้

 

๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔        ก่อน สิบนาฬิกา - ฝนสั่งฟ้า - อำลาดินแดนเขมร  

          กองทัพอากาศ   ส่งเครื่องบิน โจมตีแบบ ๒ (นาโกย่า) จำนวน  ๙ เครื่อง ไปปฏิบัติภารกิจโจมตีทิ้งระเบิดที่บ้านไพลิน และบ้านศรีโสภณ  โดยมีเครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๑ ( Hawk 75 ) จำนวน ๓ เครื่อง บินคุ้มกัน 


 

 

 

 

 

 

 

 

เครื่องบินโจมตีแบบ ๒  (นาโกย่า)                                    เครื่องบินขับไล่ แบบ ๑๑  (Hawk 75)

 

 

การโจมตีทิ้งระเบิด เมื่อ  ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔

 

 

ภาพวาดสีน้ำมัน ในพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ

 

การปฏิบัติการครั้งนี้   สร้างความเสียหายแก่ข้าศึกอย่างหนัก

นับเป็นการปฏิบัติภารกิจทางอากาศครั้งสุดท้ายของการรบในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส
 
 
 

 

 ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔ 

           กองรบด้านเหนือ  กองพลจันทบุรีได้เริ่มเคลื่อนที่เข้าตี จากบ้านบึงชนังกลาง  มุ่งเข้าสู่ บ้านพุมเรียงล่าง ข้าศึกได้ต่อสู้อย่างรุนแรง   สามารถยึดได้  บ้านพุมเรียงล่าง

            ส่วนกองรบด้านใต้ ได้เริ่มรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก   ยึดได้บ้านบ่อหญ้าคา  โดยไม่มีการสู้รบ  และได้เคลื่อนที่ต่อไป    เข้า ยึดบ้านห้วยเขมร   ได้ปะทะกับฝ่ายฝรั่งเศส     ผลการต่อสู้    ฝ่ายข้าศึก เสียชีวิต ๑ คน บาดเจ็บ ไปหลายคน   ฝ่ายเราปลอดภัย

               กองรบด้านใต้   รุกต่อไป   ยึดได้บ้านบ่อตั้งสู้  บ้านตั้งมะไฟ และ ทางทิศตะวันตก ของไพลิน ห่างจาก ที่ว่าอำเภอไพลิน ๕ กิโลเมตร

                   การรุก ของกองพลจันทบุรี ในวันที่  ๒๘  มกราคม   ๒๔๘๔  ก่อนเวลา  ๑๐๐๐    สามารถยึดพื้นที่ ของข้าศึก ได้ ๑๒ ตำบล คือ บ้านตาเสน บ้านตามัว บ้านพุมเรียงล่าง  บ้านโป่งกระเชียง  บ้านห้วยเขมร  บ้านบ่อตั้งสู้  บ้านตั้งมะไฟ  บ้านบ่อหญ้าคา  บ้านสรอบบน  บ้านสรอบล่าง  บ้านเขาเขียว  บ้านคลองกะปุก 

          เวลา  ๑๐๐๐    หยุดการรบ  ตามคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด  

ทางด้านตะวันออก

 ๒๙  มกราคม  ๒๔๘๔    ส่วนนำของกองพลลพบุรี  ได้รุกมาถึงบริเวณบ้านชุก  หน้าภูเขาพนมแตงกวา    ทางตะวันตกของเมืองศรีโสภณ    

 

นายพันเอก หลวงพรหมโยธี  แม่ทัพบูรพา  กำลังรายงาน  นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 

 

ทางด้านอื่นๆ      กองทัพไทย มีชัยชนะกองทัพฝรั่งเศสในทุกด้าน ดังนี้
                    
          กองทัพอิสาน 

             กองพลสุรินทร์    ได้รับภารกิจ  ยึดเมืองเสียมราฐ   เคลื่อนที่ในแนว  สำโรง - จงกัล - ศรีโสภณ  บรรจบกับกองทัพบูรพาที่ศรีโสภณ  แล้วรุกต่อไปทางใต้  จาก เสียมราฐ - นครวัด - พนมเปญ      กองพลสุรินทร์ไม่ได้ปะทะกับข้าศึกเลย    สามารถยึดได้เมืองสำโรง และจงกัล    เกือบถึงเสียมราฐ  และนครวัด 

 

          กองพลอุบล    ได้รับภารกิจ  ยึดพื้นที่สามเหลี่ยมของนครจำปาศักดิ์ (ในลาว) ในทิศทาง  อ.วารินชำราบ - ปากเซ - จำปาศักดิ์

               ร.พัน ๒๑  กองพลอุบล  เมื่อรุกเข้าไปถึงบ้านดู่   ต้องทำการรบอย่างดุเดือดเหมือนกัน       แต่ในที่สุดก็ผลักดันข้าศึดออกไปได้    และกองพลอุบลก็สามารถยึดได้แคว้นนครจำปาศักดิ์

            กองพลอุดร  มีภารกิจป้องกันการเข้าตีของข้าศึกตามแนวแม่น้ำโขง  และเป็นกองหนุนของกองทัพอิสาน

          กองทัพอิสาน  สามารถเข้าครอบครองพื้นที่สามเหลี่ยมของแคว้นจำปาศักดิ์ได้โดยตลอด  และรุกเข้าไปในเขมร   ถึงชานเมืองเสียมราฐ และนครวัด

          กองพลพายัพ   ยึดได้ แคว้นหลวงพระบางบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และเมืองห้วยทราย ตรงข้ามเชียงแสน มีเมืองปากลาย  หงสา  และเชียงฮ่อน            

 

๓๑  มกราคม  ๒๔๘๔    เริ่มการเจรจาพักรบบนเรือลาดตระเวณญี่ปุ่น ชื่อ นาโตริ  ซึ่งจอดอยู่หน้าเมืองไซ่ง่อน    การเจรจาใช้เวลา   ๓ วัน

๓  กุมภาพันธ์   ๒๔๘๔     ลงนามพักรบบนเรือลาดตระเวณญี่ปุ่น ชื่อ นาโตริ  ซึ่งจอดอยู่หน้าเมืองไซ่ง่อน

 

 

 

HIJMS. NATORI

 

 

 

บนเรือรบ นาโตริ  

 

ข้อตกลงเกี่ยวกับการสงบการรบ  ระหว่าง  อินโดจีนฝรั่งเศสและไทย    มีสาระสำคัญย่อๆ คือ

          - กองทหารจะต่างถอยไปฝ่ายละ  ๑๐  กิโลเมตรจากที่มั่นอันแท้จริงซึ่งยึดอยู่  เมื่อ  ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔  เวลา  ๑๐๐๐  (เวลาท้องถิ่น)

          - การถอนทหารดังกล่าว  ต้องกระทำให้เสร็จภายใน  ๗๒  ชั่วโมง   นับตั้งแต่ขณะที่ได้ลงนามในข้อตกลงสงบการรบเป็นต้นไป  คือนับตั้งแต่   ๓๑  มกราคม  ๒๔๘๔  เวลา  ๑๘๐๐

          - การสงบการรบมีกำหนด  ๑๕  วัน    นับตั้งแต่วันที่  ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔    และเงื่อนไขของการตกลงเด็ดขาดของการพิพาทนั้น  ต้องตกลงให้เสร็จก่อนที่ระยะเวลาดังกล่าวจะสิ้นสุดไป

          - เชลยศึกซึ่งแต่ละฝ่ายจับได้  ต้องส่งคืนทันที  หลังจากการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทเด็ดขาดนั้น

                                                                          ทำที่ประเทศญึ่ปุ่น    ๓๑  ม.ค.๘๔

                                                                                          เวลา  ๑๗๐๐

 

ต่อจากนั้นรัฐบาลได้ส่งคณะผู้แทนอีกคณะหนึ่ง มีพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรวรวรรณ  ทรงเป็นประธาน  พร้อมด้วยข้าราชการทหารและพลเรือน เดินทางไปยังกรุงโตเกียว  เพื่อเจรจาเงื่อนไขของการตกลงเด็ดขาดของการพิพาท นั้น

 

พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรวรวรรณ 

 

๗  กุมภาพันธ์   ๒๔๘๔    เริ่มการประชุม เพื่อเจรจาเงื่อนไขของการตกลงเด็ดขาดของการพิพาท  ที่กรุงโตเกียวโดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานฝ่ายญี่ปุ่น   เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียว เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส

          การประชุมดำเนินไปด้วยความยากลำบาก  ต้องทำสัญญาสงบการรบต่อไปอีก  ๒  ห้วง   จึงตกลงกันได้ 

 

๖  มีนาคม  ๒๔๘๔    การเจรจาตกลงกันได้ในสาระสำคัญ   ฝ่ายไทย และฝ่ายฝรั่งเศส ตกลงยอมรับแผนการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น    สาระสำคัญ คือ

          - ไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสตามอนุสัญญา ฯ เป็นพื้นที่  ๖๙,๐๖๙  ตารางกิโลเมตร  ซึ่งได้จัดตั้งเป็น  ๔  จังหวัด

          - ไทยยอมจ่ายเงินชดเชยค่าที่ฝรั่งเศสได้สร้างทางรถไฟไว้ในอินโดจีน (เขมร)  เป็นเงิน  ๖  ล้านเปียสต์อินโดจีน  โดยแบ่งใช้มีกำหนด  ๖  ปี

 

๑๑  มีนาคม   ๒๔๘๔    พิธีลงนาม   ความตกลงกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (สัญญาสันติภาพ) โดยฝ่ายฝรั่งเศส  ยอมยกดินแดนแขวงหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง   แคว้นจัมปาศักดิ์   และแคว้นเขมร ให้แก่ไทย   ความตกลงข้อนี้เป็นที่พอใจของฝ่ายไทยทุกประการ ในการนี้รัฐบาลไทยได้ประกาศให้หยุดราชการในวันที่   ๑๒  มีนาคม   ๒๔๘๔   และได้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกมีกำหนด   ๓ วัน

 

ตำปราศรัยของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

มอบแก่ทหารของชาติ และตำรวจสนาม  บรรดาที่ได้ไปปฏิบัติการรบในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส

ฯ ล ฯ

. . . ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณอย่างเต็มเปี่ยมมายังพี่น้องและตำรวจสนาม  บรรดาที่ได้ปฏิบัติราชการรบครั้งนี้    ตลอดจนพี่น้องของเราบรรดาที่ได้สละชีพไปแล้วนั้นด้วย  จงทุกท่าน    และขอจารึกเกียรติประวัติของท่านทั้งหลายลงเป็นอนุสรณ์อันถาวรตรึงตราพื้นแผ่นดินไทยไว้ว่า    ท่านเหล่านี้  คือผู้ที่ได้กู้เกียรติอันสำคัญมาสู่ชาติไทยอันเป็นปิตุภูมิ อย่างไม่มีวันลบเลือนไปจากพื้นพิภพนี้      ข้าพเจ้าขอตั้งสัตยาธิษฐาน    อาศัยพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  เป็นที่มั่น    จงดลบันดาลให้พี่น้องทหาร และตำรวจสนามที่รักของข้าพเจ้าประสบแต่ความสวัสดี มีชั สุข เจริญในลาภ ยศ และสรรพมิ่งมงคลทั้งมวล    ตราบใดที่แสงพระอาทิตย์ยังส่องต้องพื้นพิภพ  ตราบนั้นก็ขอเกีรยติศักดิ์อันยิ่งใหญ่ของท่าน    จงสถิตย์เสถียรภาพรุ่งโรจน์อยู่เป็นคู่รัศมีตลอดไปชั่วนิรันดร

พล.ต.พิบูลสงคราม

                          ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

                                                ๑๑  มีนาคม  ๒๔๘๔

 

๒๓  เมษายน  ๒๔๘๔     กองบัญชาการทหารคสูงสุดออกแถลงการณ์ เรื่อง  รายการทหารและตำรวจสนามต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บเนื่องในการป้องกันการรุกรานของอินโดจีนฝรั่งเศส  สรุปได้  ดังนี้   

          - ทหารเสียชีวิต  ๑๖๐    คน 

          - บาดเจ็บถึงทุพพลภาพ   ๑๖   คน

          - บาดเจ็บสาหัส     ๑๐๐  คน

          - บาดเจ็บเล็กน้อย   ๓๐๗  คน

                              ฝ่ายฝรั่งเศส

           - ทหารเสียชีวิต  ไม่น้อยกว่า  ๑,๐๐๐  คน

           - บาดเจ็บ  มากมาย  คงไม่ต่ำกว่า  ๓,๐๐๐  คน  เป็นอย่างน้อย 

          (ข่าวทหาร  วันที่   ๖  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๔  ว่ามีเชลยศึก  ทั้งที่เป็นชาวยุโรป    ทหารพื้นเมืองอินโดจีน  และทหารจากอาณานิคมฝรั่งเศสในอัฟริกา   รวมทั้งสิ้น   ๔๑๘  คน) 

ฝ่ายเรายึดดินแดนได้  ดังต่อไปนี้

          ภาคบูรพา    จากเขตแดนอรัญประเทศ ถึงบริเวณหน้าเมืองศรีโสภณ เป็นระยะทางประมาณ  ๔๐  กิโลเมตร  ทางเหนือจดเขต บุรีรัมย์  และสุรินทร์    ทางใต้  จดเขตจันทยุรี

               ด้านจันทบุรี    ได้อยู่ใกล้บ้านไพลิน

          ภาคอิสาน    

               กองพลสุรินทร์   เข้ายึดดินแดนได้เป็นลำดับ  ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐ  และนครวัด ประมาณ  ๙๐  กิโลเมตร

               กองพลอุบล    เข้าครอบครองพื้นที่แคว้นจำปาศักดิ์  ตอนรูปสามเหลี่ยมได้โดยตลอด

               กองพลอุดร    คงอยู่ตามริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงตามเดิม

          ภาคพายัพ    ยึดได้แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งสิ้น   คือพื้นที่แคว้นหลวงพระบางที่ฝ่ายเราเสนอขอคืน

๒๗  เมษายน  ๒๔๘๔    ทางกองทัพสนามได้จัดให้มีการสวนสนาม ทหารบก  ทหารเรือพรรคนาวิกโยธิน  ทหารอากาศ  และตำรวจสนาม  บรรดาที่ได้ไปปฏิบัติการรบ  และได้ชัยชนะกลับมาอย่างงดงาม   เป็นการฉลองชัยชนะที่พระนคร

 

 

๓  พฤษภาคม   ๒๔๘๔   ได้ยุบเลิกหน่วยตำรวจสนาม

 

อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว

๙  พฤษภาคม   ๒๔๘๔   ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพ ณ กรุงโตเกียว  ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ซึ่งเรียกกันว่า "อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว" (Tokyu Convention)  ประเทศไทยได้ดินแดนบางส่วนจากฝรั่งเศสกลับคืนมา และจัดตั้งจังหวัดใหม่ขึ้น  ๔ จังหวัด  คือ จังหวัดนครจำปาศักดิ์   จังหวัดลานช้าง   จังหวัดพิบูลสงคราม   และจังหวัดพระตะบอง   
 
         ยุบตำแหน่ง   ผู้บัญชาการทหารสูงสุด   แม่ทัพบก   แม่ทัพเรือ   และแม่ทัพอากาศ ซึ่งตั้งขึ้นในกรณีพิพาทอินโดจีนของฝรั่งเศส

 

 

 

 

 

๓๐  พฤษภาคม  ๒๔๘๔           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคต ด้วยพระหทัยพิการ   ณ  ที่ประทับ  ประเทศอังกฤษ   พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา

๓   มิถุนายน   ๒๔๘๔        ถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ประเทศอังกฤษ


 

๒๔  มิถุนายน  ๒๔๘๔   นายพลตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ณ ต้นทางถนนพหลโยธิน บริเวณถนนพญาไท บรรจบกับถนนราชวิถี เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแต่วีรชนผู้กล้าหาญ และสละชีพเพื่อชาติทั้ง   ๑๖๐  คน 

 

 

 

 

 

หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ

 ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง ๔,  ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพล,  อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ,  เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ  และ  ความสนใจของประชาชน

          หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก    ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ  ๕๐ เมตร    ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่ บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย - ฝรั่งเศส

 

 ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ  ๕  เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน

          ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของศ.ศิลป พีระศรี

          ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น  ๑๖๐ คน   เป็นทหารบก  ๙๔ คน   ทหารเรือ  ๔๑ คนทหารอากาศ  ๑๓ คน   และตำรวจสนาม  ๑๒  คน 

 

 ๒๘   กรกฎาคม   ๒๔๘๔    กองทัพไทยได้กระทำพิธีสวนสนามรับมอบดินแดนในอินโดจีน ที่จังหวัดพระตะบอง เพื่อฉลองชัยชนะกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส    โดย นายพลโท หลวงพรหมโยธี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน 

นายพลโท หลวงพรหมโยธี 

 

           ดินแดนที่ไทยได้คืนจากฝรั่งเศสได้จัดตั้งเป็นอำเภอและจังหวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่แม่ทัพนายกองของไทย และผู้ที่เป็นหลักในการดำเนินการต่อกรณีพิพาทอินโดจีน  คือ    อำเภอไพรีระย่อเดช อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต อำเภอพรหมโยธี อำเภออธึกเทวเดช อำเภอสินธุสงครามชัย อำเภอวรรณไวทยากร อำเภออดุลย์เดชจรัส อำเภอหาญสงคราม และจังหวัดพิบูลสงคราม และได้จัดการปกครองดังนี้ 

 

 

 

 เมืองพระตะบอง (เขมร - สีแดง) ยกท้องที่เมืองนี้ขึ้นเป็น จังหวัดพระตะบอง    

          อำเภอเมืองพระตะบอง ตามเขตอำเภอพระตะบองเดิม

          อำเภอพรหมโยธี ตามเขตอำเภอสังแกเดิม

          อำเภออธึกเทวเดช ตามเขตอำเภอระสือเดิม

          อำเภอมงคลบุรี ตามเขตอำเภอมงคลบุรีเดิม

          อำเภอศรีโสภณ ตามเขตอำเภอศรีโสภณเดิม

          อำเภอสินธุสงครามชัย ตามเขตอำเภอตึกโชเดิม

          อำเภอไพลิน ตามเขตอำเภอไพลินเดิม

 

เมืองเสียมราฐ (เขมร - สีน้ำเงิน) ได้ยกฐานะท้องที่เมืองนี้ขึ้นเป็น จังหวัดพิบูลสงคราม 

          อำเภอไพรีระย่อเดช  ตามเขตอำเภอบ้านพวกเดิม

          อำเภอกลันทบุรี  ตามเขตอำเภอกลันทบุรีเดิม

          อำเภอพรหมขันธ์  ตามเขตอำเภอพรหมขันธ์เดิม

          อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต  ตามเขตอำเภอสำโรงเดิม

          อำเภอวารีแสน  ตามเขตอำเภอวารีแสนเดิม

          อำเภอจอมกระสานต์  ตามเขตอำเภอจอมกระสานต์เดิม 

 

นครจัมปาศักดิ์ (ลาว  ฝั่งขวาแม่น้ำโขง - สีเขียว) ยกท้องที่แขวงนี้ขึ้นเป็น จังหวัดนครจำปาศักดิ์

          อำเภอเมืองนครจัมปาศักดิ์  ตามเขตอำเภอเมืองนครจัมปาศักดิ์เดิม

          อำเภอวรรณไวทยากร  ตามเขตอำเภอมูลป่าโมกเดิม

          อำเภอธาราบริวัติ  ตามเขตอำเภอธาราบริวัติเดิม 

          อำเภอมโนไพร  ตามเขตอำเภอมโนไพรเดิม

          อำเภอโพนทอง  ตามเขตอำเภอโพนทองเดิม

 

 

 

หลวงพระบาง (ลาว  ฝั่งขวาแม่น้ำโขง) ยกท้องที่แขวงนี้ขึ้นเป็น จังหวัดลานช้าง 

          อำเภอสะมาบุรี ตามเขตอำเภอสะมาบุรีเดิม

          อำเภออดุลเดชจรัส ตามเขตอำเภอปากลายเดิม

          อำเภอแก่นท้าว ตามเขตอำเภอแก่นท้าวเดิม

          อำเภอเชียงฮ่อน ตามเขตอำเภอเชียงฮ่อนเดิม

          อำเภอหาญสงคราม ตามเขตอำเภอหงษาเดิม
 

 

    . . . ครับ  เมื่อได้ "มณฑลบูรพา" คืนมาแล้วก็ลองดูเพลง  "มณฑลบูรพา"  เต็มเพลง กันเลย  นะ  ครับ

 

 

                " มณฑลบูรพา      เคยได้เป็นของเรา                       

                 เสียมราฐ    พระตะบอง        บ้านพี่เมืองน้องมาช้านาน   แต่ครั้งโบราณก่อนเก่า

                 ไทย . . . ชาติไทยใจเศร้า     เลือดเนื้อเชื้อเผ่าถูกเขายื้อแย่งไป
                                                                                              
                 คอย . . . ไทยเราเฝ้าคอย     แต่กำลังเราน้อยสู้เขาไม่ไหว

                 ร่วมสามสิบปี     ทัพไทยก็มี              สมรรถภาพและเข้มแข็งยิ่งใหญ่ 

                 ทหารภาคบูรพา    ทัพพรหมโยธี        รุกไล่โจมตี   พวกไพรีแตกหนีพ่ายไป
                                                     
                 กองทัพบูรพา    องอาจเก่งกล้า          เทอดเกียรติก้องหล้า     เลือดทหารชาติไทย "

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เหตุการณ์ต่อไป . . . ๘  ธันวาคม  วันวีรไทย

เหตุการณ์ต่อไป . . . ๘  ธันวาคม  วันวีรไทย

เหตุการณ์ต่อไป . . . ๘  ธันวาคม  วันวีรไทย

 

 

บรรณานุกรม

          - ไทยกับสงครามโลกครั้งที่  ๒  โดย    ศาสตราจารย์   ดิเรก  ชัยนาม      แพร่พิทยา  กรุงเทพฯ  ๒๕๐๙

          - ประวัติกองทัพไทย  ในรอบ  ๒๐๐  ปี  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๕๒๕      กรมแผนที่ทหาร  กรุงเทพฯ  ๒๕๒๕

          - กรณีพิพาทระหว่างไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส    โดย  พันเอก  โอภาส  โพธิแพทย์ *   "วิวัฒนาการทหารปืนใหญ่"    ปีที่  ๒    ฉบับที่  ๓    มิถุนายน  ๒๕๒๒    ศูนย์การทหารปืนใหญ่    ค่ายพหลโยธิน  ลพบุรี       *(ปัจจุบันท่านได้รับพระราชยศ "พลเอก")

          -  กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส  โดย  พลเรือโท  ชาญ  วีระประจักษ์  ได้เขียนไว้ในวารสารนาวิกศาสตร์  ฉบับ ปีที่  ๘๗   เล่มที่  ๑  มกราคม  ๒๕๔๗ 

          - เว็บไซต์ ของกองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  กองทัพอากาศ  และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้ 




กรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย สัมพันธ์

วันวีรไทย - นครศรีธรรมราช
วันวีรไทย - ปัตตานี
สงครามมหาเอเซียบูรพา - ไทยประกาศสันติภาพ
สงครามมหาเอเซียบูรพา - เชียงตุง ๒๔๘๕
สงครามมหาเอเซียบูรพา - จากวันวีรไทย ถึง วันประกาศสงคราม
วันวีรไทย - บางปู ปราจีนบุรี
วันวีรไทย - สงขลา
วีรไทย - สุราษฎร์ธานี
วันวีรไทย - ชุมพร
วันวีรไทย - ประจวบคีรีขันธ์
สงครามมหาเอเซียบูรพา - ก่อนจะถึงวันวีรไทย
กรณีพิพาทอินโดจีน - ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
กรณีพิพาทอินโดจีน - วีรกรรม น.ต.ศานิต นวลมณี



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker