dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



วันวีรไทย - บางปู ปราจีนบุรี

 

 

       ครับ . . .  ผมได้คุยเรื่องวันวีรไทย ไล่เรียงจากลงไป  ตั้งแต่ที่  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร  สุราษฎร์ธานี   สงขลา  นครศรีธรรมราช  ปัตตานี    แต่จากสุราษฎร์ธานีแทนที่จะเป็นนครศรีธรรมราช  กลับข้ามไปสงขลาก่อน  แล้วย้อนกลับมาคนรฯ  เพราะเหตุว่า ทางสงขลาได้รับทราบเหตุการณ์ก่อน  และไปรษณีย์สงขลา โทรเลขมาถึงนายไปรษณีย์นครศรีธรรมราช    เลยว่าเหตุการณ์ที่สงขลาเสียก่อน  แล้วค่อยตามโทรเลขมาที่นครศรีธรรมราช   ส่วนที่สุราษฎร์ธานี  ที่ว่า  นายพันตำรวจตรี  หลวงประภัศร์เมฆะวิภาค  ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับโทรเลขจากจังหวัดปัตตานี  ว่า ญี่ปุ่นจะขึ้นบุกแน่แล้ว  นั้น  ไม่มีข้อมูลว่า  ใคร (ที่ปัตตานี) เป็นผู้ส่งโทขเลข  จึงไม่ได้ไปตามโทรเลขจากปัตตานี  ครับ

          ก็รบกันไป  ทั้งๆ ที่รู้ว่าสู้เขาไม่ได้  และก็อยากร่วมกับเขารบฝรั่ง  แต่ก็ . . . เป็นเรื่องชั้นเชิงทางการเมืองระหว่างประเทศครับ  เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ  ก็เท่านั้นเอง

          นอกจากหัวเมืองชายทะเล  ๖  เมืองที่ญี่ปุ่นส่งกำลังขึ้นบกและรบกันให้ดูดี  (แต่ตายกันจริงๆ ) ดังกล่าวแล้ว     เมืองที่ญี่ปุ่นส่งกำลังเข้ามาโดยไม่มีการปะทะกันให้เสียเลิอดเนื้อก็มี    ดังนี้ครับ
 
 

 

 ๖  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          . . .  สถานึวิทยุ บี.บี.ซี.  ของอังกฤษออกข่าวว่า  กองเรือญี่ปุ่นราว  ๒๐๐  ลำ  กำลังเคลื่อนที่ลงมาในทะเลจีนใต้

 

๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔

ทะเลจีนใต้ 

          ในตอนบ่าย       คลื่นลมแรงขึ้นทุกที     ทหารญี่ปุ่นตื่นเต้น และเป็นที่วิตกว่า การยกพลขึ้นบกในคืนนี้  (คืนวันที่ ๗ - ๘ ธันวาคม)    น่าจะเป็นไปอย่างยากลำบาก แน่นอน 

           ๒๐๐๐    สถานีวิทยุ บี.บี.ซี. ก็ออกข่าวอีกว่า   เครื่องบินลาดตระเวนของอังกฤษตรวจพบเรือรบญี่ปุ่นเคลื่อนเข้ามาในอ่าวไทย

          ในคืนนี้สถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นที่กรุงเทพฯ ได้จัดฉายภาพยนตร์สำหรับชาวญี่ปุ่น    เพื่อรวบรวมชาวญี่ปุ่น สำหรับปฏิบัติการ    ได้รวบรวมให้ลงเรือที่วัดยานนาวาและส่งชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเดินทางไปบางปู   เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กองกำลังที่ขึ้นบก  และก่อวินาศกรรมต่อระบบการสื่อสารของฝ่ายเรา

 

สะพานสุขตา  ศาลาสุขใจ

            บางปู  อยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่   อำเภอเมืองสมุทรปราการ   ริมถนนสุขุมวิท ประมาณกิโลเมตรที่   ๓๗   ห่างจากตัวเมืองประมาณ    ๑๑   กิโลเมตร  เป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมากในสมันนั้น   มีสะพานทอดลงไปในทะเลประมาณ  ๕๐๐  เมตร  ชื่อสะพานสุขตา  ที่ปลายสะพานเป็นศาลาใหญ่  ชื่อ ศาลาสุขใจ

 

 

บางปู    สมุทรปราการ    ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          ทหารญี่ปุ่นจำนวน  ๑ กองพันเพิ่มเติมกำลัง  ในบังคับบัญชาของ  พันโท  โยชิดะ  เดินทางโดยเรือสินค้าชื่อ  ซิดนีย์ มารู     เข้าสู่อ่าวไทย     จอดอยู่ห่างจากประภาคารสันดอนทางทิศตะวันออกประมาณ  ๘  กิโลเมตร  

 

          ประมาณ  ๐๓๓๐    ลำเลียงทหารลงเรือเล็กส่งขึ้นบกที่สถานตากอากาศบางปู  และจับพนักงานของสถานตากอากาศ  และอยู่กันเต็มถนนริมทะเลใกล้สะพานสุขตา

          ประมาณ  ๐๔๓๐    พนักงาน ฯ  คนหนึ่งสามารถเล็ดลอดมารายงานข่าวแก่ผู้จัดการสถานตากอากาศได้     ผู้จัดการฯ พยายามจะโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ    แต่โทรศัพท์ถูกตัดสาย  จึงวานนาย  นายจำลอง  คนขับรถประจำทางสาย  บางปู - เจริญกรุง   ให้บอกตำรวจแทน

          ประมาณ  ๐๕๐๐    นายร้อยคำรวจเอก  จินดา  โกมลสุต  รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ  รักษาการผู้บังคับกองตำรวจภูธร  อำเภอเมืองสมุทรปราการได้รับแจ้งเหตุ  จึงสั่งการให้   นายร้อยตำรวจตรี เขียน  กุญชรานุสรณ์  และ  นายร้อยตำรวจตรี  สุวิทย์  เอกศิลป์    นำกำลังตำรวจประมาณ  ๒๐  นาย  ไปแก้ไข และระงับเหตุในชั้นต้นก่อน    และได้เผชิญหน้ากับรถยนตร์บรรทุกทหารญี่ปุ่น  ๒  คัน  ที่โค้งหัวลำพู   ก่อนถึง สถานตากอากาศบางปู  ๓  กิโลเมตร      นายร้อยตำรวจตรี  สุวิทย์ ฯ  จึงให้วางกำลังไว้สองข้างทาง  และจอดรถขวางทางไว้

          ประมาณ  ๐๖๐๐    ทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งถือธงขาวมีสัญลักษณ์รูปมือสองข้างประสานกันลงจากรถมาโบกอยู่ข้างหน้า    นายร้อยตำรวจตรี  สุวิทย์ ฯ จึงเดินเข้าไปหา    พันโท  ยาฮาร่า  รองผู้ช่วยฑูตทหารบกญี่ปุ่นประจำกรุงเทพ ฯ   ได้เข้ามาแสดงตัวอ้างความตกลงระดับรัฐบาลว่าให้กองทหารญี่ปุ่นเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ   แต่  นายร้อยตำรวจตรี  สุวิทย์ ฯ   ชี้แจงว่าไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา     ต่อมา   นายร้อยคำรวจเอก  จินดา  โกมลสุต  เดินทางมาสมทบ  และให้ฝ่ายเราถ่วงเวลาไว้

          จนกระทั่ง  คณะผู้แทนรัฐบาล  ประกอบด้วย  นายพันเอก  หลวงยอดอาวุธ  (ฟ้อน  ฤทธาคนี) หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการด้านการข่าวของกองทัพบก    นายนาวาเอก  หลวงประติยัตินาวายุทธ  (เฉียบ  แสงชูโต) หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการด้านการข่าวของกองทัพเรือ และ นายร้อยคำรวจเอก  ประสาธน์  สุวรรณสมบูรณ์   ผู้แทนกรมตำรวจ   ได้เดินทางมาพบเจ้าหน้าที่คำรวจ   

 

          จากหลักฐานฝ่ายญี่ปุ่น  ว่า คณะของรัฐบาลไทยดังกล่าว  ได้ร่วมเดินทางมากับ    พันโท  ยาฮาร่า  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายกองทัพญี่ปุ่น    

          เวลา  ๐๙๐๐    ฝ่ายตำรวจไทยเปิดทางให้ส่วนหน้าของทหารญี่ปุ่นเดินทางต่อไปตามที่ คณะผู้แทนรัฐบาลได้สั่งการ    และ  นายร้อยตำรวจตรี  สุวิทย์  เอกศิลป์  เป็นผู้นำทาง     การเคลื่อนย้ายกำลังทหารญี่ปุ่นเสร็จสิ้นเมื่อเวลา  ๑๑๐๐   (น่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายจากเรือ ซิดนีย์ มารู  ขึ้นบกที่บางปู)

          ประมาณ  ๑๙๐๐    กองทหารญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายจากบางปูเข้ากรุงเทพ ฯ

 

 ญี่ปุ่นขึ้นที่บางปู  จึง . . . เรียบโร้ย . . . โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อด้วยประการ  ฉะนี้

 

 

ทางบก

          กองพลรักษาพระองค์โคโนเอะของญี่ปุ่น  ในบังคับบัญชาของ  พลโท  ทาคูโมะ  นิชิมูระ   เป็นหน่วยในกองทัพที่  ๒๕     

          ภารกิจ  เคลื่อนย้ายผ่านประเทศไทยทางบก และทางทะเล  รุกต่อไปชายแดน ไทย - มลายู  เพื่อสนับสนุนกองพลที่  ๕   และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยให้ทำการยุทธแบบก้าวกระโดด   (Leapfrog tactics)  รุกไปข้างหน้ากองพลที่  ๕     ให้จัดกำลัง  ประมาณ  ๓  กองพันทหารราบ  (๑  กรม) เคลื่อนที่ติดตามส่วนหลังของกองพลที่  ๕  ภายใน วัน ว.+ ๑๕      กำลังส่วนที่เหลือให้ติดตามส่วนใหญ่โดยเร็วที่สุด    

          (กองพลที่  ๕  กองทัพที่  ๒๕  ญี่ปุ่น   เป็นส่วนเข้าตีหลัก  ยกพลขึ้นบกที่สงขลา และปัตตานีเพื่อเคลื่อนย้ายต่อไปชายแดนไทย - มลายู  เข้าตีที่มั่นข้าศึกที่อลอร์ สตาร์  - Alor Setar เข้ายึดแม่น้ำเปรัค  และรักษาสะพานข้ามแม่น้ำเปรัค)

 

 

 

 

 

 แนวทางการเคลื่อนที่ของกองพลรักษาพระองค์โคโนเอะ

 

            กองพลรักษาพระองค์โคโนเอะเคลื่อนที่เป็นสองแนวทางคือ 

          ทางใต้ทะเลสาบเขมร  มีทางรถไฟเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่    จากเมืองโพธิสัตว์ - ตำบลสวายดอนแก้ว  อำเภออธึกเทวเดช (ระสือ เดิม)  จังหวัดพระตะบอง      

          อีกเส้นทางหนึ่งทางเหนือทะเลสาบ ฯ   ทาง อำเภอไพรีระย่อเดช  จังหวัดพิบูลสงคราม  (บ้านพวก / เสียมราฐ เดิม)  แล้วรวมกันผ่านอำเภอศรีโสภณ - อรัญประเทศ - ปราจีนบุรี - กรุงเทพฯ

 

 

 

ด้านจังหวัดพระตะบอง  (เส้นทางด้านใต้ทะเลสาบ ฯ)

          เวลา  ๐๙๔๐    กองทหารญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายด้วยรถยนตร์  ๕๐  คัน   เข้าสู่จังหวัดพระตะบอง    สามารถเข้ายึดจวนข้าหลวงประจำจังหวัด   และตั้งสถานีวิทยุ รับ - ส่ง

          เวลาประมาณ  ๑๒๐๐    กองทหารญี่ปุ่นได้ปะทะกับตำรวจไทยในเขตอำเภออทึกเทวเดช    ตำรวจไทย  ตาย  ๒    ทหารญี่ปุ่น  ตาย  ๓    บาดเจ็บฝ่ายละหลายสิบนาย

          ตอนบ่าย    กำลังญี่ปุ่นได้เคลื่อนที่ผ่านจังหวัดพระตะบอง  และได้จัดกำลังประมาณ  ๑  กองร้อยไว้รักษาสถานีรถไฟพระตะบองด้วย

 

 

ด้านจังหวัดพิบูลสงคราม  (เส้นทางด้านเหนือทะเลสาบ ฯ)

          เวลา  ๐๗๐๐    เครื่องบินญี่ปุ่น  ๒๓  เครื่องได้บินผ่านด้านจังหวัดพิบูลสงคราม  ไปทางอำเภออรัญประเทศ

          เวลา  ๐๗๓๐    ขบวน รถยนตร์บรรทุก  กองทหารญี่ปุ่น  พร้อมด้วยรถยนตร์หุ้มเกราะ   และรถจักรยานพ่วงข้าง    รวมประมาณ  ๒๕๐  คัน   ได้เคลื่อนที่เข้ามาทางอำเภอไพรีระย่อเดช
 
          เวลา  ๑๑๓๕    กองทหารญี่ปุ่นพร้อมด้วยรถรบ    ได้เตลื่อนกำลังจากจังหวัดพิบูลสงคราม    เข้ายึดอำเภอศรีโสภณ    ฝ่ายไทยระงับการต่อสู้ตามคำสั่ง ฯ    ญี่ปุ่นวางกำลังไว้ที่อำเภอศรีโสภณ ประมาณ  ๑  กองพัน    กำลังส่วนใหญ่เดินทางต่อไปอำเภออรัญประเทศ

 

จังหวัดปราจีนบุรี 

          เวลาประมาณ  ๐๙๐๐    เครื่องบินขับไล่ญี่ปุ่น  จำนวน  ๑๑  เครื่อง และเครื่องบินทิ้งระเบิด  ๖  เครื่อง  เข้าโจมตีสนามบินวัฒนานคร    ทหารอากาศไทย ส่งเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๐ (บข.๑๐) หรือ Hawk III  ขึ้นสกัดกั้น  จำนวน  ๓  เครื่อง  ปรากฏว่า . . . เรียบโร้ย

 

 

 

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ)

 

 

 

ฮอว์ค  ๓

เป็นเตรื่องขิบขับไล่ ดัดแปลงจากเครื่องบินแบบ  BF 2 C - 1  ซึงเป็นเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน

รัฐบาลไทยซื้อจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘

*   *   *   *

 

 

          ต่อมาฝ่ายไทยได้ยอมให้ญี่ปุ่นใช้สนามบินวัฒนานครด้วย

          เวลา  ๑๒๐๐    กองทหารญี่ปุ่นเตลื่อนที่ผ่านอำเภอศรีโสภณ

          เวลา  ๑๗๔๐    รถไฟบรรทุกทหารญี่ปุ่นขบวนแรก  ประมาณ  ๕ พันคน  ได้ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำกบินทร์บุรี   ส่วนขบวนที่สอง กำลังผ่านอำเภออรัญประเทศ

 

          มีหลักฐานทางญี่ปุ่นว่า

เช้าตรู่ของวันที่   ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔

กองพลรักษาพระองค์โคโนเอะ  (Konoe Imperial Guards Division)   ในบังคับบัญชาของกองทัพที่  ๒๕

ได้รุกเข้าประเทศไทยใ นเวลาเดียวกันกับการยกพลขึ้นบกของกองพลที่  ๕  ณ  จังหวัดสงขลา

โดยมิได้มีการต้านทานที่สำคัญจากฝ่ายไทย

 

 ครับ . . . การเคลื่อนที่เข้าประเทศไทยทางบกของทหารญี่ปุ่น  ก็เรียบโร้ย  ด้วยประการ  ฉะนี้ 

 

          ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นเริ่มเปิดฉาก สงครามมหาเอเซียบูรพา  หรือที่อเมริกันเรียก  สงครามภาคพื้นแปซิฟิค   และไทยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้    แม้จะประกาศความเป็นกลาง ก็ตาม    ซึ่งคณะผู้จัดการประเทศก็ตระหนัก รู้แน่แก่ในเรื่องนี้อยู่แล้ว   ดังที่  จอมพล  ป.พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี  ซึ่งมีตำแหนงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ด้วย  ได้ถามรัฐมนตรีบางนายซึ่งรับผิดชอบในการทหาร  ในการประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉิน ในเช้า  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ว่า   สู้ไหวหรือไม่  ได้รับคำตอบว่า   สู้ไม่ไหว . . . 

          ในที่สุด  นายกรัฐมนตรีจึงประกาศว่า    ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต่อต้าน  เพราะเราไม่มีกำลัง . . .   ครับ  รู้อยู่เต็มอก   และกินอยู่กับปาก  อยากอยู่กับท้อง   ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร  และ มีข้อตกลงใจ ไว้แล้ว อย่างไร  เพียงแต่ไม่ให้ทราบทั่วกัน  มิหนำซ้ำ  ยังสื่อออกมาให้ . . . สู้  สู้  สู้  สู้ตายทุกจุด    ถ้าแม้นปราชัยต่อไพรี   ให้ได้ปฐพีไม่มีคน . . .  อะไรประมาณนี้นะครับ     หน่วยที่รู้ ก็ . . . ปลอดภัย  หน่วยห่างไกลที่ไม่รู้ก็  . . . ก็ท่านบอกแล้วว่าสู้  ตายทุกจุด  คือ  ถ้าสู้ ก็ตายทุกจุด  . . . ทหาร  ตำรวจ  พลเรือน   เยาวชนคนไทย   ที่ไม่รู้ก็  สละชีพเพื่อชาติกันไป  . . . เรียบโร้ย

 

 

          แต่ในช่วงนั้น  ผมว่า  เรา  (พี่น้องชาวไทยส่วนใหญ่  และ กองทัพไทย)  กำลังเหลิง และ หลงอยู่กับชัยชนะจากกรณีพิพาทอินโดจีน  หรือชาวไทยเราคุ้นเคยในชื่อ  สงครามอินโดจีน    แต่ชัยชนะ  ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของกองทัพไทย  เฉกเช่นที่บรรพบุรุษได้เคยมีชัยชนะในถิ่นฐานย่านนี้มาก่อน นั้น    แม้ข้าศึกอริราชศัตรูของเราจะมีแม่ทัพนายกองเป็นชาวตะวันตก   แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่กองทัพไทย    ดังเช่น  พลโท  ประยูร  ภมรมนตรี   ได้บันทึกไว้ในหนังสือ  "ชีวิตห้าแผ่นดินของข้าพเจ้า" ว่า   พ.อ. เอฟ.ดับลิว. โชลล์ (Colonel  F.W. Scholl)  ฑูตทหารบกเยอรมันประจำประเทศไทย  ได้เสนอบันทึกลับเฉพาะถึง  จอมพล  ป.พิบูลสงคราม  ซึ่งมีตำแหนงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด   ให้เร่งปรับปรุงกองทัพโดยด่วน  และได้เสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับสงครามอินโดจีนที่ผ่านไปแล้วว่า    ความสำเร็จที่ไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสนั้น เป็นชัยชนะทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่    ส่วนทางด้านการทหาร  และการสู้รบยังมีข้อบกพร่องอย่างมากมาย 

 

บัดนี้  วันวีรไทยผ่านไปแล้วเป็นเวลาเกือบ  ๗๐  ปี    คงเหลือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์  และ สามารถบอกเล่า เรื่องราวที่เห็นได้  น้อยเต็มที  และยิ่งน้อยลงไปทุกวัน

 

 

 

 

    ในโอกาส  วันวีรไทยครบ  ๕๐  ปี  ๘  ธันวาคม  ๒๕๓๔    กองทัพภาคที่  ๔    ซึ่งเป็นหน่วยที่เผชิญกับกองทัพญี่ปุ่น  ตั้งแต่ ชุมพร ถึง ปัตตานี  ได้เห็นว่า

" . . . ประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ครั้งนั้นจะลบเลือนไปตามกาลเวลา  จึงจัดประชุมผู้รู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นขึ้น . . ."  และได้ทำเอกสารไว้เพื่ออ้างอิงในโอกาสหน้า   

 

 

เมื่อ (คิดว่า) เลือกดอกกุหลาบ   ก็ต้องเอาหนามกุหลาบไปด้วย
 
          น้ำใจของท่านที่เรียกตนเองว่า "ผู้นำ" นั้น   คิด "ร่วมหัวจมท้าย" กับญี่ปุ่นมานานแล้ว   ซึ่งได้ประกาศในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ  ๑๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ว่า " . . . แต่ในใจของผมเห็นว่าเมื่อเราจะเข้ากับเขาแล้ว  ก็เข้าเสียให้เต็ม  ๑๐๐ %  เขาก็คงเห็นอกเห็นใจเรา . . ."

          หลังจากที่รัฐบาลไทยยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไปโจมตีพม่า และสิงคโปร์ของอังกฤษแล้ว    ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดโจมตีประเทศไทยทั้งในภาคเหนือ  ภาคใต้  และภาคตะวันตกอยู่เสมอ    เช่น  ใน  ๒๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔    ทิ้งระเบิดที่  จังหวัดสงขลา   และประจวบคีรีขันธ์    วันรุ่งขึ้น  โจมตีจังหวัดชุมพร และ  คืน  ๒๔  มกราคม  ๒๔๘๕  ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดโจมตีกรุงเทพฯ  

 

 

 จึงเป็น "เหตุอันสมควร"  ให้

. . . ประกาศสงตรามต่ออังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในวันรุ่งขึ้น  ๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕

 

ครับ . . . เมื่อ ผมได้เล่าเรื่อง "วันวีรไทย" ครบ  ๑๐๐ % แล้ว ก็เป็น "เหตุอันสมควร" ที่ผมจะมาคุยเรื่องเหตุการณ์ต่อไปในโอกาสต่อไป     ครับ

 

 ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม

 

ท่านที่ได้ร่วมสู้รบในวันนั้น  สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็น

" วีรไทย "

ไปชั่วกาลนาน

 

จากปี ๒๔๘๔  ถึง ปีนี้  ๒๕๕๒   เกือบ  ๗๐  ปี  ที่ ท่านทั้งหลายได้สละเลือด เนื้อ และชีวิตเป็นชาติพลี   เป็นแบบฉบับให้อนุชนถือเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป 

. . . ขอท่านเป็นสุข และสงบ ในสัมปรายภพ . . . เทอญ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

          - วีระบุรุษทหารไทย    พ.ต. ม.ร.ว. ประพีพันธ์  สุบรรณ      องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  กรุงเทพฯ    พ.ศ.๒๕๐๒

          - ไทยกับสงครามโลกครั้งที่  ๒  โดย    ศาสตราจารย์   ดิเรก  ชัยนาม      แพร่พิทยา  กรุงเทพฯ  ๒๕๐๙

          - ประวัติกองทัพไทย  ในรอบ  ๒๐๐  ปี  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๕๒๕      กรมแผนที่ทหาร  กรุงเทพฯ  ๒๕๒๕

          - ๕๐ ปี  วีรไทย    กองทัพภาคที่ ๔  จัดพิมพ์เนื่องในวาระครบ  ๕๐ ปี  แห่งสงครามมหารเอเซียบูรพา  ๘  ธันวาคม  ๒๕๓๔ 

            - เว็บไซต์ ของกองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  กองทัพอากาศ  และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้

 

 







แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker